วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 16:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 21:50
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


เราเห็นคนตกทุกข์ได้ยากเกิดกุศลจิตรใช้ปฏิจจสมุปบาทอธิิบายว่าทำไม่จึงเป็นอย่างนี้

ขอบคุณมากนะคะ ช่วงนี้สอบหลายวิชาเลยอ่านไม่ทันจริงๆ ช่วยหน่อยนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


gigy เขียน:
เราเห็นคนตกทุกข์ได้ยากเกิดกุศลจิตร


ตกทุกข์ ได้ยาก น่าจะเกิด กุศลจิต นะครับ

gigy เขียน:
ใช้ปฏิจจสมุปบาทอธิิบายว่าทำไม่จึงเป็นอย่างนี้
ขอบคุณมากนะคะ ช่วงนี้สอบหลายวิชาเลยอ่านไม่ทันจริงๆ ช่วยหน่อยนะคะ


ครูถามยากจัง นี่เป็นของยากที่สุดอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาเลยนะครับ
มีลิงก์ให้
http://www.nkgen.com/1mainpage1024.htm


แต่แนะนำว่า เวลาใครตกทุกข์ได้ยาก แล้วไปเลคเชอร์ปฏิจจสมุปบาทนี่ น่าเป้นห่วง
ต่อให้ไม่ตกทุกข์ ก้จะตกทุกข์ตอนฟังเลคเชอร์เรื่องปฏิจสมุปบาทแน่ๆเลยครับ
ควรดูว่าเขามีความพอใจจะฟังไหม (ฉันทะ)
ต้องพิจารณาดุว่าเขาอยู่ในสภาวะแบบไหน แล้วเราควรจะพูดอะไร
รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักธรรม รู้จักคน รู้จักกาละเทศะ
อย่างนี้ถึงเรียกว่าฉลาดในการแนะนำ

ดังนั้นที่ว่า เห็นใครตกทุกข์ได้ยาก ไปแนะนำปฏิจสมุปบาท อันนี้ให้ระวัง

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เคยอ่านพบ ในพระไตรปิฎก ว่า

1.ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องกรรม

2.กรรมจะบังเกิดเมื่อมีผัสสะ ไม่ว่าจะไปในทาง บุญ(กรรมขาว) หรือ บาป(กรรมดำ) หรือ ทั้งบุญปนบาป(กรรมดำปนขาว) หรือ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป(กรรมไม่ดำไม่ขาว)

ปฏิจจสมุปบาท สอนให้ ฉลาดในเรื่องผัสสะ.... ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะเกิดบุญได้มาก

3.ปฏิจจสมุปบาทสายสมุทัยวาร เป็นเหตุให้กระทำบุญ หรือ บาป หรือ ทั้งบุญปนบาป หรือ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป

ปฏิจจสมุปบาทสายนิโรธวาร เป็นการออกจากกรรมทั้งปวง หรือ การอยู่เหนือกรรม



ส่วนที่อ้างอิง ลองค้นเอาเองครับ จากพระไตรปิฎกน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบน้อง gigy ดังนี้ครับ

อาจารย์เขาให้เราทำการบ้าน เราควรจะทำการบ้านเองนะครับ การบ้านนั้นใช้เพื่อให้เรารู้จักประยุกต์ความรู้ที่อาจารย์สอน หรือไปค้นคว้าหาความรู้ แล้วเราจะได้ทำข้อสอบจริงๆ ได้ครับ

แต่ไม่เป็นไร พี่จะไม่บอกคำตอบให้ แต่ว่าจะแนะนำตัวอย่างที่พอจะให้น้องนำไปพิจารณาแล้วประยุกต์หาคำตอบของการบ้านเองได้ต่อไปครับ

เรื่องปฏิจสมุปบาทนี้เป็นเรื่องยากในพระพุทธศาสนาก็จริง แต่จะปรากฏชัด ตลอดสายแก่ผู้เจริญโยนิโสมนสิการแล้ว คือ รู้จักพิจารณาโดยแยบคาย อย่างในกรณีนี้ อาจารย์เขารู้จักให้เราคิดแบบ "สืบสาวหาเหตุปัจจัย" จากสภาวจิตอันเป็นกุศลที่เกิดขึ้น ณ เหตุการณ์จำลอง สืบสาวไปว่าน่าจะเกิดมาจากปัจจัยอะไรเป็นทอดๆ จนถึงวนกลับมาที่เดิม แต่เราไม่ต้องไปเอาขนาดนั้นก็ได้ เพราะขนาดนั้นแบบครบวนมารอบเดิมเหมือนเที่ยวรอบโลกอย่างนี้สำหรับผู้ที่มุ่งปฏิบัติตรัสรู้ธรรม ไม่ใช่พูดไปแล้วจะฟังเข้าใจกันได้ง่ายๆ ต้องลองนำไปปฏิบัติตามจึงจะกระจ่างแจ้ง จึงเอาแค่บางส่วนพอตอบเป็นการบ้านของอาจารย์ก็พอครับ ดังนั้นยกตัวอย่างให้น้อมไปเจริญโยนิโสมนสิการเทียบเคียงเอาดังต่อไปนี้

จากวงจรเต็ม :

อวิชชา -> สังขาร -> วิญญาณ -> นามรูป -> สฬายตนะ -> ผัสสะ -> เวทนา -> ตัณหา -> อุปทาน -> ภพ -> ชาติ -> ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส -> (วนกลับไป อวิชชาอีก)

เราย่อลงมาเท่าที่ให้เห็นตั้งแต่กระบวนการรับรู้จนเกิดการปรุงแต่งจิตได้ว่า

สฬายตนะ -> ผัสสะ -> เวทนา -> ตัณหา -> อุปทาน -> ภพ -> ชาติ

วงจรนี้เป็นวงจรตั้งแต่รับรู้สิ่งต่างๆ จนกระทั่งแสดงออกมา เกิดขึ้นทุกขณะที่เราดำเนินชีวิตไป ขอยกตัวอย่างให้เห็นในชีวิตจริง ดังนี้

ถาม : เมื่อเราเข้าไปชมคอนเสริ์ตได้ยินเสียงเพลงก็เต้นไปตามเสียงเพลง เหตุการดังกล่าวเกิดมาจากปฏิจสมุปบาทอะไรบ้าง

ตอบ :

1. สฬายตนะ = หู กับ เสียง ทำงานร่วมกัน จึงเกิด "การได้ยิน" ขึ้น
2. ผัสสะ = เมื่อเกิดการได้ยินก็เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น จำได้ว่านี่คือ เสียงเพลงอะไร จำสืบไปได้อีกว่านี้เป็นเพลงของใคร อย่างนี้สนุก ไพเราะ สนุกสนาน
3. เวทนา = เมื่อเกิดการรับรู้ทางหูขึ้น จึงเกิดเวทนา คือ สุขเวทนาทางใจเกิดขึ้นในเสียงเพลงนั้น
4. ตัณหา = เมื่อเกิดสุขเวทนาทางใจเกิดขึ้น จึงเกิดตัณหา คือ อยากได้สุขเวทนาอย่างนั้นๆ ขึ้นอีก อยากรับรู้เสียงเพลงมาขึ้นอีก อยากให้หูได้ยินเสียงเพลงมากขึ้นอีก อยากให้ร่างกายได้สนุกไปกับเพลงมากขึ้นอีก เรียกว่าอกุศลจิต คือ ราคะ
5. อุปทาน = เมื่อเกิดความอยากอย่างนั้นๆ ขึ้นจึงเกิดอุปทาน ไปยึด ไปติดเอาทฤษฏีบางอย่างที่เราคิดว่าจะทำให้เราตอบสนองต่อตัณหา ให้ตัณหาสำเร็จผลได้ มาเข้าไว้ เหมือนกับนำมาวางไว้เตรียมพร้อม (Stand by) ซึ่งทิฐิ ทฤษฏีในที่นี้ได้แก่ "การลุกออกไปเต้น ไปเต้นใกล้ๆ หน้าเวทียิ่งดี" (เรารู้มาอย่างนั้น)
6. ภพ = จึงเกิดภพ คือ เจตนา คิดว่าจะทำอย่างที่เราตั้งยึดทฤษฏีเอาไว้ จึงได้เริ่มทำ คือ ลุกออกไปเต้น เดินออกไปเต้นตามเสียงเพลง
7. ชาติ = เมื่อเริ่มทำแล้วทันใดนั้นจะเกิด "ชาติ" คือ ตัวตน-ของตน ตัวกู-ของกู รูปแบบใหม่ ว่าเป็นนักเต้นรำ ขาแด็นซ์ (Dance) นักท่องราตรีนี่คือตัวเรา เพลงนี้เป็นเพลงของเรา ตัวตน-ของตนอย่างนี้จะมีอยู่ในจิตใจ เราไม่ใช่คนสงบเสงี่ยมอย่างเดิมแบบแต่ก่อน ณ ขณะนั้นๆ คนนั่งนิ่งๆ เฉยๆ แบบเดิมได้ตายไปชั่วขณะก่อน หรือหากคนแก่ๆ ก็จะเรียกว่า "ปล่อยแก่ ขอเป็นเด็กสักหนึ่งวัน"


เท่าที่บอกมาเป็นการทำให้เห็นกระบวนการเกิดขึ้นของปฏิจสมุปบาทตั้งแต่เราเริ่มฟังเสียงเพลงไปจนกระทั่งเต้น ซึ่งหากจะให้อธิบายไปละเอียดกว่านั้นก็ได้ คือ ตั้งแต่ อวิชชา เพียงแต่ว่าหากตอบไปจะเป็นการเพิ่มความสับสนขึ้นให้กับเราได้ และอยากให้รู้เองมากกว่า และหากตอบดีเกินไป อาจารย์เขาอาจจะไม่เชื่อก็ได้ว่าทำเองครับ จึงตัดเอาเท่าที่พอจะทำความเข้าใจได้ง่าย ตอบการบ้านได้ พัฒนาต่อไปได้ ประยุกต์ได้ง่ายต่อไปมาให้

หวังว่าจะลองอ่านทบทวนทำความเข้าใจ และใช้โยนิโสมนสิการพิจารณาโดยแยบคาย สืบสาวหาเหตุปัจจัยตามแนวนี้ แนะนำเทคนิคอย่างหนึ่งว่า ให้ลองไปทำตามเหตุการณ์ที่อาจารย์ถามดู แล้สังเกตุตอนขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้นจริงๆ นะครับ แล้วน้อมจิต เพ่งพินิจตามไป คิดสืบสาวหาเหตุปัจจัย จากเหตุการณ์ และองค์ประกอบที่มีอยู่ต่างๆ ทั้งหมด แล้วจะกระจ่าง รู้แจ้ง ตอบคำถามได้ในที่สุด หากไม่เข้าใจสงสัยตรงไหนก็ถามเพิ่มเติมได้ครับ

ขอให้เจริญในธรรมและการเรียนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุโมทนากับ คุณตรงประเด็น คุณศิรัสพล และคุณน้องคามิน ด้วยค่ะ :b8:

ขอเสริมข้อมูลที่ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้เพิ่มเติมจากกระทู้นี้นะคะ
เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์มากขึ้นทั้งในแง่ของการศึกษาทางโลก
(ซึ่งต้องค้นคว้าเพิ่มเติม และเรียบเรียงด้วยตนเอง...อีกนะคะ)

และการศึกษา & ปฏิบัติธรรมของน้อง gigy ในอนาคตค่ะ :b4:

(ป.ล คุณครูให้การบ้านไม่ง่ายเลยนะคะ...อยากรู้จังเรียนอยู่ชั้นไหนเอ่ย?!?!) :b12:

:b43: :b43: :b43:

ปั จ จ ย า ก า ร ใน ป ฏิ จ ส มุ ป บ า ท : อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16144

ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท : หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (พันธ์ อินทผิว)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=19676


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 21:50
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนอยู่ปี2ค่ะ ลงวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาเลือก อาจารย์สอนสนุกดี แต่บางหัวข้อก็ไม่เข้าใจจริงๆ :b23:

อย่างเรื่องที่หนูถามว่าเห็นคนตกทุกข์ได้ยากแล้วยากช่วยเหลือ
หนูไม่เข้าใจว่าแล้วจะเกิดอุปทานยังไงคะ
หนูเข้าใจว่าอุปทาน หมายถึง การยึดมั่นด้วยกิเลสในความเชื่อ,ความคิดของตัวของตน
แต่ไม่รู้เกี่ยวกับการอยากช่วยเหลือคนยังไง หนูติดตั้งแต่ข้ออุปทานลงไปเลยยังทำไม่เสร็จเลยคะ

:b18: ขอบคุณทุกคนมากนะคะที่ช่วยตอบ ขอบคุณจริงๆค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ gigy ศึกษาปฏิจจสมุปบาท(สิ่งที่อาศัยกันและกันเกิด) ลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14841

หากสงสัยตรงไหนถามใหม่ครับ ตามลิงค์ยังลงไม่จบ

อุปาทาน คือ ความยึดติดถือมั่น รวมหมดครับทั้งกุศลอกุศล (ดี,ไม่ดี) หากไปยึดเข้าละก็เป็นอุปาทานทั้งสิ้น
นี่ประเด็นธรรมชาตินะครับ

แต่หากเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือทางด้านจริยธรรม เราจะสอนในคนยึดมั่นการทำดีทำประโยชน์ได้
ดีกว่าไปยึดอกุศล หรือยึดไนสิ่งที่ไม่ดีไม่เป็นประโยชน์

จะต้องแยกเป็นสองประเด็นดังนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร