วันเวลาปัจจุบัน 07 ต.ค. 2024, 02:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 121 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง
สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับ สิ่งที่เรียกว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อยแล้วแต่ความ
สามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่า โดยเนื้อแท้แล้ว บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น
คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม ตามความหมาย ของรูปศัพท์แห่งคำ
สองคำ นี้ทีเดียว


แก้ไขล่าสุดโดย หญิงไทย เมื่อ 07 ต.ค. 2013, 10:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดีครับดี เดี๋ยวสนุก :b20:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


บางทีก็สงสัยว่า การกินเจจะได้บุญจริงหรือ
ในเมื่อหลายๆคนที่กินเจ ยังทำอาหารเจ ที่สมมุติว่าเป็นเนื้อสัตว์
พะโล้เจ ไก่เจ หมูเจ หมูแดงน้ำเจ ฯลฯ

การกินเจ จะมีบุญไปได้อย่างไร ในเมื่อ "ใจ" ยังยึดติดกับเนื้อสัตว์หรือสิ่งเหล่านั้น
แม้ว่า "รูป" อาจจะไม่ใช่ แต่ "เนื้อแท้จริง" คืออะไร

คนเรากินเจ เพื่อทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
แล้วสิ่ง "สมมุติ" ในอาหารเจที่สร้างขึ้นมา
ก็ยังไม่พ้น การเบียดเบียนสัตว์โลกอย่างอื่นเลย
แล้วแบบนี้ "อะไรที่บริสุทธิ์ใจ" ในการกินเจกันแน่
ในเมื่อ อาหารเจ ล้วนยังยึดติดกับเนื้อสัตว์เหล่านั้น

grinny2545
http://pantip.com/topic/31061114


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ดีครับดี เดี๋ยวสนุก :b20:


:b14: :b14: :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
บางทีก็สงสัยว่า การกินเจจะได้บุญจริงหรือ
ในเมื่อหลายๆคนที่กินเจ ยังทำอาหารเจ ที่สมมุติว่าเป็นเนื้อสัตว์
พะโล้เจ ไก่เจ หมูเจ หมูแดงน้ำเจ ฯลฯ

การกินเจ จะมีบุญไปได้อย่างไร ในเมื่อ "ใจ" ยังยึดติดกับเนื้อสัตว์หรือสิ่งเหล่านั้น
แม้ว่า "รูป" อาจจะไม่ใช่ แต่ "เนื้อแท้จริง" คืออะไร

คนเรากินเจ เพื่อทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
แล้วสิ่ง "สมมุติ" ในอาหารเจที่สร้างขึ้นมา
ก็ยังไม่พ้น การเบียดเบียนสัตว์โลกอย่างอื่นเลย
แล้วแบบนี้ "อะไรที่บริสุทธิ์ใจ" ในการกินเจกันแน่
ในเมื่อ อาหารเจ ล้วนยังยึดติดกับเนื้อสัตว์เหล่านั้น

grinny2545
http://pantip.com/topic/31061114


หาดใหญ่ยามนี้..เต็มไปด้วยธงเหลืองๆ ที่เรียกกันว่า “ธงเจ” เต็มไปหมด เตรียมรับกระแสเทศกาลกิจเจที่กำลังจะมาถึง หลายคนมีคำถามในใจมากมาย ไม่รู้ว่าการกินเจที่จริงแล้วเป็นอย่างไร โดยหลักแล้วการกินเจก็เป็นการงดเนื้อสัตว์ เมื่องดเนื้อสัตว์ เราก็จะไม่เบียดเบียน ความมงคลก็จะเกิดในชีวิต...เพราะเราได้งดเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หันมากินผัก แล้วยังได้สุขภาพดีๆกันอีก

แล้ว “ เจ” กับ “มังสวิรัติ” คืออะไร ต่างกันอย่างไร “มังสวิรัติ” เป็นคำสมาส แปลว่าการงดเว้นจากเนื้อสัตว์ มีที่มาจากคำสองคำคือ มังสะ แปลว่าเนื้อ กับวิรัติ แปลว่า

ส่วนเจนั้น แปลว่า "อุโบสถ" คำว่า "กินเจ" ตามความหมายที่แท้จริงคือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน ดังเช่นที่ชาวพุทธในประเทศไทยถือ "อุโบสถศีล" หรือ "รักษาศีล 8" จะไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีล ของชาวพุทธฝ่ายมหายานไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมเรียก "การไม่กินเนื้อสัตว์" ไปรวมกันคำว่า "กินเจ" ซึ่งเป็นการถือศีลไปด้วย อาหารเจเป็นอาหารที่ปรุงขึ้นโดยไม่มีเนื้อสัตว์ ส่วนประกอบที่มาจากสัตว์ทุกประเภทและไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุ้ยช่าย และใบยาสูบ (บ้างเชื่อว่าผักเหล่านี้เพิ่มความกำหนัดหรือมาจากเลือดของสัตว์ตามตำนานจีน ทำให้อาหารเจไม่มีกลิ่นคาว เนื่องจากการงดเนื้อสัตว์ ทำให้ผู้ที่กินเจหันมาบริโภคธัญพืชในธรรมชาติเพื่อให้ได้มาซึ่งโปรตีน ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

ตามร้านขาย "อาหารเจ" เราจะพบเห็นตัวอักษร คำนี้อ่าน "ไจ" (เจ) แปลว่า "ไม่มีของคาว" เขียนด้วยสีแดงบนพื้นสีเหลืองเสมอ ในช่วงเทศกาลกินเจเดือน 9 จะเห็นตัวอักษรนี้เขียนบนธงสีเหลือง ปักอยู่ตามแผงขายอาหารเจมองเห็นเป็นที่สะดุดตาแก่คนทั่วไป ชาวจีนถือว่าสีแดงเป็นสีแห่งสิริมงคลแก่ชีวิต สีเหลืองเป็นสีของผู้ทรงศีล ดังนั้นผู้ตั้งใจถือศีลบำเพ็ญตนให้บริสุทธิ์ ตัวอักษรนี้ย่อมเป็นเครื่องหมายเตือนสติให้ระลึกไว้เสอมว่า "การกินเจงดเว้นเนื้อสัตว์ของคาวคือ การปฏิบัติธรรม รักษาศีลของความเป็นมนุษย์ เป็นการเจริญมหาเมตตากรุณาธรรมโดยแท้ อันจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และก่อให้เกิดสันติสุขแก่ทุกชีวิตบนโลก"

แล้วกินเจอย่างไรให้ได้บุญ ….

เป็นวิธีง่ายๆ ที่หลายๆคนมองข้าม และคิดไม่ถึง

1.กินเพราะอยากกิน

แค่เราอยากกิน มีจิตตั้งใจ อยากจะงดเนื้อเพื่ออุทิศกุศลกรรมแก่บรรดาสัตว์ที่เราเคยเบียดเบียน ที่ล่วงลับไปแล้วแค่นี้ก็ได้บุญแล้ กินแล้วระลึกว่ากินเพื่ออะไร กินแล้วได้อะไร กินไปทำไม กินให้มีความสุขมีความเต็มใจ มีกุศลจิต อยากกิน ไม่ใช่ใครบังคับ หรือกินตามกระแสเพราะเขากินกัน

2. กินแล้วไม่บ่น

บางคนตามกระแส อยากกินเพื่อเกาะกระแส กินไปได้มือสองมื้อเริ่มบ่น ไม่อยู่ท้องบ้างล่ะ ไม่อิ่มบางล่ะ หิวบ่อยบ้างล่ะ ไม่อร่อยบ้างล่ะ กินไปบ่นไปแบบนี้ก็ไม่ไหว เพราะใจไม่บริสุทธิ์แล้ว ก็คงไม่มาสารถสร้างกระแสบุญได้ แต่ถ้ากินด้วยจิตใจอดทน มุ่งมั่น เพราะตั้งใจที่ยอมละจากสิ่งที่เรานิยม เพื่อสร้างสมความดีทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ นี้สิถึงจะสร้างกระแสบุญได้ แล้วสิ่งดีๆก็จะก่อเกิด

3.กินแล้วไม่เสียทรัพย์

อาหารเจมีขายทั่วบ้านทั่วเมือง แต่อย่าลืมอาหารตามเทศกาล จะแพงมาก นี้เป็นอีกมาเหตุที่ทำให้หลายคนเลิดกินไปกลางคัน แต่ลองหันมาทำกินเองดู ได้ฝึกวิชาการทำอาหาร และไม่เบียดเบียนตัวเอง ใจก็บริสุทธิ์ ทำครั้งหนึ่งก็แบ่งปันได้หลายคนอีก กระจายกระแสบุญออกไปได้อีก ทำไม่เป็นใน Google ก็มีให้ค้นหาสูตรได้ แต่ถ้าทำอาหารไม่เป็นหรือไม่ไหวจริงๆ ก็มีแบบสำเร็จรูป ไปซื้อตามงานก็ดูราคาด้วยละกัน แต่จะให้ดี ซื้อกินด้วยเจตนาบริสุทธิ์ เงินที่เสียไปถือเป็นทาน แบบนี้ก็ได้บุญเหมือนกันครับ

4.กินเป็นกิจวัตร

กินต่อเนื่อง กินเป็นประจำ แบบนี้ได้บุญเต็มๆ มากกว่าการตามกระแสไปกินในช่วงเทศกาลอีกนะ ลองมองในอีกมุมหนึ่ง การกินในช่วงเทศกาลนั้น เหมือนเราไปช่วยส่งเสริมให้คนมาแสวงหากำไรจากเทศกาลแต่ถ้ากินเป็นกิจวัตร วันละมื้อก็ยังดี

5.กินให้สนุก

กินด้วยความรู้สึกสนุก หมดกังวล ละลดความติดยึดที่มีอยู่ในตัวตนออกไป แล้วผลบุญมันจะบริสุทธิ์ อยากไปกังวล อาหารเจมีหลากหลายลองไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้ว่าการกินเจมันสนุกแค่ไหน

6. ต้องรักษาศีลภาวนา

การกินเจเป็นเทศกาลสั้นๆ ไหนๆ ก็พยายามละกิเลสด้วยการกินเจแล้ว ในเทศกาลอย่างนี้ควรถือ โอกาสรักษาศีลให้เคร่งครัด และหัดภาวนากันเสียด้วย ถือโอกาสขัดเกลากิเลสและยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมให้สูงขึ้น กินเจอย่างนี้จึงได้บุญ

สุดท้ายแล้วจะได้บุญมั้ย มันอยู่ที่จิตเจตนา ถ้าใจบริสุทธิ์ มันก็พ้องกับหลักพุทธที่ว่า ทำดี เว้นชั่ว ใจบริสุทธิ์ ทำอะไรอย่าไปฝืนทำ อย่าไปทำแล้วเป็นทุกข์

ขอให้สนุกกับเทศกาลเจ และการกินเจครับ

http://www.cityvariety.com/citydhamma-8278.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,
ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมาย
เช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง

บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจพอใจชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม
แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก ในกรณีที่
ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกัน แม้จะ
เป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เพื่อเอาบุญกันจริงๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่า ตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์
มีความปรารถนาอย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่
การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออก
ไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ
อย่างไรก็ตาม ฉะนั้น ความหมายของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจ
และ เวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้

ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง
ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่ง
สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพัน อยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้ว
เกิดอีก และมีจุดมุ่งหมาย กวาดล้างสิ่งเหล่านั้นออกไปจากตัว ในเมื่อบุญต้องการ
โอบรัด เข้ามาหาตัว ให้มีเป็น ของของตัว มากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญยึดถือ
อะไรเอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น ฝ่ายที่ถือข้างกุศล ก็เห็นว่า การทำอย่างนั้น
เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไป กอดรัดงูเห่า ทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า
ฉลาด นั้น ต้องการจะ ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่น ให้ปล่อยวาง หรือ
ผ่านพ้นไปด้วยกัน ฝ่ายข้างกุศล จึงถือว่า ฝ่ายข้างบุญนั้น ยังเป็นความมืดบอดอยู่

แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำ
ทางภายนอกอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหลในคำสองนี้อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้
เข้าใจกันง่ายๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่างต่างๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริงๆ คือ
ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะเอาหน้าเอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทน เป็นกำไร
หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่ เพื่อให้บังเกิดในสวรรค์ อย่างนี้
เรียกว่า ให้ทานเอาบุญหรือได้บุญ แต่ถ้าให้ทาน อย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ
เพื่อขูดความขี้เหนียว ของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือให้เพื่อค้ำจุนศาสนา เอาไว้
เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ ของโลก หรือ ให้เพราะ เมตตาล้วนๆ
โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญญาเป็นผู้ชี้ขาดว่า
ให้ไปเสีย มีประโยชน์มากกว่าเอาไว้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทานเอากุศล หรือได้กุศล
ซึ่งมันแตกต่างๆ ไปคนละทิศ ละทางกับการให้ทานเอาบุญ เราจะเห็นได้กันสืบไป
อีกว่า การให้ทานเอาบุญนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการฟุ่มเฟือยขึ้นในสังคม ฝ่ายผู้รับทาน
จนกลายเป็นผลร้ายขึ้น ในวงพระศาสนาเอง หรือในวงสังคมรูปอื่นๆ เช่น มีคน
ขอทานในประเทศมากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน ถูกนักคิดพากันวิพากษ์วิจารณ์
ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญนี้เอง ส่วนการให้ทานเอากุศลนั้นอยู่สูง
พ้นการที่ถูกเหยียดอย่างนี้ เพราะว่ามีปัญญาหรือเหตุผลเข้าควบคุม แม้ว่าอยากจะ
ให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผลว่า
ควรให้ ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ไปในรูปละโมบบุญหรือเมาบุญ เพราะว่ากุศล
ไม่ได้เป็นสิ่งที่หวานเหมือนกับบุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้เกิดการเหลือเฟือ
ผิดความสมดุลขึ้นในวงสังคมได้เลย นี่เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ
ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร

ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือรักษาไปทั้งที่ไม่รู้จัก
ความมุ่งหมายของศีล เป็นแต่ยึดถือในรูปร่างของการรักษาศีล แล้วรักษาเพื่ออวด
เพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่ นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนากันไว้
หรือ ทำอย่างละเมอไปตามความนิยมของคนที่มีอายุล่วงมาถึงวัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น
ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้น เท่านั้น ยิ่งมีความ
ยุ่งยากในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ เพราะ ความเคร่งครัด
ในศีลของบุคคลประเภทนี้อย่างนี้ เรียกว่ารักษาศีลเอาบุญ ส่วนบุคคลอีกประเภท
หนึ่ง รักษาศีลเพียงเพื่อให้เกิดการบังคับตัวเอง สำหรับจะเป็นทางให้เกิดความ
บริสุทธิ์ และความสงบสุขแก่ตัวเองและเพื่อนมนุษย์เพื่อใจสงบ สำหรับเกิดปัญญา
ชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล รักษามีจำนวน เท่ากัน ลักษณะเดียวกัน ในวัด
เดียวกัน แต่กลับเดินไป คนละทิศละทาง อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะ แห่ง
ความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล คำว่า กุศลนั้น ทำอย่างไรเสีย ก็
ไม่มีทางตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ และกินเข้าไป มากเท่าไร
ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ ในขณะที่ คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น คำว่า
กุศล แปลว่า ความฉลาดหรือ เครื่องทำให้ฉลาด และ ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์

ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญ ก็ได้ เอากุศลก็ได้
สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ ที่โลกอื่น ตามที่ ตนกระหาย จะทำให้
เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิ เพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า
สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมัน
นั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้อง รับการรักษา
เป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หาย จนตลอดชีวิต ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้
มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุดก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสาร
ตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิ ที่มีความมุ่งหมาย
เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิตให้
ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมา ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็น
ทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล
ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึง
ตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ

ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัว
ปัญญานั้น เป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์
อย่างเดียว แม้ยังจะต้อง เกิดในโลกอีก เพราะยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความ
รู้สึกตัว เดินออกนอกวัฎสงสาร มีทิศทางดิ่งไปยังนิพพานเสมอ ไม่วนเวียน
จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า
ปัญญาในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทาง
อาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น

ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริง ที่เกี่ยวกับ การกระทำ ของพวกเราเอง
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอ หรือ ถึงกับหลงเอา
บุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสนอลเวง
เพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัวสิ่งที่เราต้องการ จนเกิดความยุ่งยากสับสน
อลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัทเองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำสุ่มสี่สุ่มห้า เอา
ของสองอย่างนี้ เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า
"บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับ
การทำบุญกุศล นี้ ให้ลุล่วงไป ด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสาน ก็ได้

ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้งอกงาม หรือ
ปรากฏ หมดอำนาจบุญเมื่อใด บาปก็จะโผล่ออกมา และงอกงามสืบไปอีก

ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัด รากเหง้าของบาป อยู่เรื่อยไป จนมันเหี่ยวแห้ง
สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความต่างกัน อย่างยิ่ง ย่อมมีอยู่ ดังกล่าวนี้

คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล
และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น
และจะสมัครใจ จะปรารถนาอย่างไร ได้เช่นนี้ เมื่อใดจึงจะชื่อว่า
พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทางแห่งการก้าวหน้า และ
ทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็นของที่ไม่อาจจะเอามาเป็นอันเดียวกัน
ได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่า

คัดจาก หนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระ พุทธทาสภิกขุ
พิมพ์ ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

http://www.buddhadasa.com/freethinkbook/boonkusol.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันว่านะคะ ใครจะคิดยังไงกับการกินเจ สำหรับดิฉันคิดว่าการกินเจ
เป็นการละเว้นจากการฆ่า ลดการเบียดเบียนนี่ถือว่าเป็นสิ่งควรแก่การ
อนุโมทนาแล้ว และยังเป็นการรักษาศีลข้อปาณาได้อีกด้วย และโดย
ส่วนมากคนกินเจจะไม่ไดื่มสุรา นี่รักษาข้อสุราได้อีก 1 ข้อ โดยธรรม
ชาติของผู้ที่กินเจจะละเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย นี่รักษาได้อีก 1 ข้อ
ส่วนอีก 2 ข้อที่เหลืออาจมีบ้าง แต่คิดว่าน้อยนะ เพราะส่วนมากของ
คนกินเจย่อมต้องการที่จะรักษาศีลด้วยเช่นกัน เพราะฉนั้นผู้ที่กินเจจะ
พยายามหลีกเลี่ยงการผิดศีลไปในตัวอยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 10:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าผิดจากทาน ศิล ภาวนา นอกนั้นไม่ใช่บุญในพระศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


ศาสนาพุทธไม่ห้ามการกินเนื้อสัตว์

แล้วฉะนั้นการกินเจ....ได้บุญจริงหรือ ?????


รูปภาพ


ช่วงนี้เป็นเทศกาลกินเจ ทุกครั้งที่ถึงเทศกาลกินเจมักจะมีคนสองฝั่งออกมาถกเถียงกันเสมอว่า กินเจได้บุญจริง หรือเป็นเพียงกระแสนิยม เราลองมาสืบสาวราวเรื่องกันดูว่าพระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร

ย้อนกลับไปในช่วงพรรษาที่ ๓๗ ที่พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระศาสนา ครั้งนั้นพระเทวทัตได้กราบทูลพระศาสดาเสนอให้พระพุทธองค์ทรงเพิ่มวินัยสงฆ์ ๕ ข้อ คือ

๑. ให้ภิกษุอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าละแวกบ้านต้องมีโทษ

๒. ให้ภิกษุบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ภิกษุใดรับนิมนต์ไปฉันตามบ้านต้องมีโทษ

๓. ให้ภิกษุใช้แต่ผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดรับจีวรที่เขาถวายต้องมีโทษ

๔. ให้ภิกษุอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าสู่ที่มุงต้องมีโทษ

๕. ให้ภิกษุงดฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันต้องมีโทษ

พระผู้มีพระภาคสดับแล้วตรัสว่า "ดูก่อนเทวทัต ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ละแวกบ้านก็จงอยู่ในละแวกบ้าน ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาตก็จงเที่ยวบิณฑบาต ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ก็จงรับนิมนต์ ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสกุล ก็จงใช้ผ้าบังสกุล ผู้ใดปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวรก็จงรับคฤหบดีจีวร เราอนุญาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ ตลอด ๘ เดือน ที่มิใช่ฤดูฝน เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือ เนื้อที่ไม่ได้เห็น เนื้อที่ไม่ได้ยิน เนื้อที่ไม่ได้รังเกียจ"

เนื้อสัตว์ ๓ อย่าง ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ได้แก่

๑. เนื้อที่ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็นเขาฆ่าเนื้อนั้นเพื่อปรุงอาหารมาถวาย

๒. เนื้อที่ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินเขาบอกกันว่าฆ่าเนื้อนั้นเพื่อปรุงอาหารมาถวาย

๓. เนื้อที่ไม่ได้รังเกียจ คือ ไม่เป็นเนื้อที่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อปรุงอาหารมาถวายโดยเฉพาะ

เว้นจากเนื้อ ๓ ชนิดนี้แล้ว ภิกษุสามารถฉันได้ ไม่มีโทษ สรุปว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงห้าม และไม่ตำหนิ เรื่องการกินเนื้อ แต่ก็ไม่ได้สรรเสริญด้วย จึงสรุปไม่ได้ว่าการงดบริโภคเนื้อสัตว์โดยการกินเจนั้นได้บุญ

กินเจ แม้ไม่ได้บุญแต่ก็ไม่บาป

กระต่าย หรือวัวควาย กินแต่หญ้า สัตว์เหล่านี้ได้บุญหรือเปล่า

ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ บอกว่า บุญได้จาก การให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา ไม่ได้บอกเลยว่าบุญได้จากการไม่กินเนื้อสัตว์ แม้ขยายความเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แล้วก็ยังไม่มีส่วนไหนบอกว่าการไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจะได้บุญ

รูปภาพ


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่

๑. ทานมัย - ทำบุญด้วยการให้

๒. สีลมัย - ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี

๓. ภาวนามัย - ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา

๔. อปจายนมัย - ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม

๕. เวยยาวัจจมัย - ทำบุญด้วยการช่วยเหลือขวนขวายงานที่ควร

๖. ปัตติทานมัย - ทำบุญด้วยการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น

๗. ปัตตานุโมทนามัย - ทำบุญด้วยการอนุโมทนาการทำบุญของผู้อื่น

๘. ธัมมัสสวนมัย - ทำบุญด้วยการฟังธรรม

๙. ธัมมเทสนามัย - ทำบุญด้วยการสอนธรรม

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ - ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกให้ตรง

การกินเจไม่อยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ดังนั้น กระต่าย หรือวัวควาย จึงไม่ได้บุญจากการกินหญ้า และมนุษย์ก็ไม่ได้บุญจากการกินเจด้วย

แต่การกินเจเป็นการงดการทำลายชีวิตสัตว์อื่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม แม้จะไม่ได้บุญเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นการไม่สร้างบาปเพิ่มขึ้นเหมือนกัน อย่างน้อยการกินเจก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้

กินเจอย่างไรจึงได้บุญ

ไหนๆ ก็กินเจกันแล้ ว ตั้งใจอดรสดีรสอร่อยกันแล้ว ก็ควรจะหาวิธีว่าทำอย่างไรการกินเจจึงจะได้บุญ

๑. กินเจด้วยจิตเมตตา

ตั้งเจตนาว่าการที่เรากินเจนี้ เป็นเพราะเรามีเมตคาต่อเหล่าสัตว์ ไม่ปรารถนาเป็นผู้ปลงชีวิต หรือมีส่วนในการปลงชีวิตสัตว์อื่นเพื่อเป็นอาหารของเรา ด้วยเจตนาที่กอรปด้วยเมตตาอย่างนี้ทำให้การกินเจได้บุญ

๒. กินเจด้วยจิตต้องการละ

รสอร่อยเป็นกามคุณอารมณ์อย่างหนึ่ง ทำให้ติดสุข อาหารเจส่วนใหญ่รสไม่อร่อย เพราะเป็นรสที่ไม่คุ้นเคย ทำให้กินได้น้อย จึงควรคิดว่าการกินเจนั้นเรากำลังละความอยาก ทำลายความอยาก ความยึดติดในรสชาดของอาหาร เรากำลังทำลายความข้องอยู่ในกามคุณอารมณ์ เรากำลังหลีกหนีกามสุขัลลิกานุโยค ความสุขความพอใจในกาม เรากินเพียงต้องการบำรุงธาตุขันธ์ให้ดำรงอยู่ได้เท่านั้น เจตนาอย่างนี้ทำให้การกินเจได้บุญ

แต่หากใครกินเจแล้วยังเที่ยววิ่งหาอาหารเจรสอร่อย มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเนื้อสัตว์จริงๆ อาหารเจร้านนี้ดี ย่านนั้นอร่อย จะกลายเป็นว่ากิเลสตัณหาเรื่องอาหารนั้นรุนแรงกว่าช่วงไม่กินเจเสียอีก เพราะปกติเวลากินอาหารคงไม่ค่อยเดือดร้อนกันเท่าไหร่ว่ารสชาดต้องเป็นอย่างนั้น หน้าตาอาหารต้องเป็นอย่างนี้ ต้องวิ่งไปกินกันแถวนี้ การกินเจอย่างนี้จึงไม่ได้บุญเลย

๓. พิจารณาอาหารเจเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ในเมื่ออาหารก็ไม่อร่อยแล้ว ควรถือโอกาสนี้พิจารณาเสียเลยว่าอาหารเป็นเพียงปฏิกูล เป็นของน่ารังเกียจ ไม่สะอาด เป็นของโสโครก ไหลเข้า ต่อไปก็จะไหลออก ลองพิจารณาดูว่าเมื่ออาหารเข้าปากเคี้ยวแล้วคายออกมายังน่าดูน่ากินอยู่อีกไหม พิจารณาแล้วก็คลายความรู้สึกติดใจ อยากได้ อยากมี อยากกิน ออกเสีย การกินเจด้วยการพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้จึงได้บุญ

๔. พิจารณาอาหารว่าเป็นเพียงแค่ธาตุ

ลองพิจารณาดูว่าอาหารเจไม่ใช่อะไรเลย เป็นเพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม มาประชุมรวมกัน เหมือนกับร่างกายเรานี้ที่เป็นผู้บริโภคก็ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน พิจารณาอย่างนี้จึงได้บุญ

๕. พิจารณาให้เท่าทันไตรลักษณ์

พิจารณาว่าอาหารทั้งหลายก่อนจะมาถึงเรา ข้าวก็เกิดจากต้น เป็นเม็ดเป็นรวง เขาเก็บมานวดมาขัดมาสีจึงกลายเป็นข้าวสาร นำมาต้มมาปรุงเป็นข้าวสวยข้าวสุก เรากินเข้าไปแล้วก็จะย่อยสลาย ขับถ่ายออกมาคืนสู่ดิน คืนสู่ธรรมที่เป็นจริง อาหารจึงเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วดับไป กายของเรานี้ก็เหมือนกันไม่เที่ยงเลย เกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ชั่วขณะ ในที่สุดก็จะดับสลายไป ขณะที่อยู่ก็มีแต่ทุกข์ ทุกข์เพราะอยากได้ อยากมี อยากเป็น จะห้ามไม่ให้ทุกข์ก็ไม่ได้ จะบังคับให้มีแต่สุขก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้บุบสลายเจ็บป่วยล้มตายก็ไม่ได้ ร่างกายไม่อยู่ในบังคับของเราเลย เพราะกายนี้ไม่ใช่เรา กายนี้ไม่เป็นของเรา พิจารณาอย่างนี้จึงได้บุญ

๖. รักษาศีลภาวนา

การกินเจเป็นเทศกาลสั้นๆ ไหนๆ ก็พยายามละกิเลสด้วยการกินเจแล้ว ในเทศกาลอย่างนี้ควรถือโอกาสรักษาศีลให้เคร่งครัด และหัดภาวนากันเสียด้วย ถือโอกาสขัดเกลากิเลสและยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมให้สูงขึ้น กินเจอย่างนี้จึงได้บุญ

นางสาวบุณยรัตน์ สุวิชา
http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=6998


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ถ้าผิดจากทาน ศิล ภาวนา นอกนั้นไม่ใช่บุญในพระศาสนา


ก็แล้วแต่นะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ถ้าผิดจากทาน ศิล ภาวนา นอกนั้นไม่ใช่บุญในพระศาสนา



นี่ถ้าจะถามว่า ทาน ศีล ภาวนา ทำยังไง ออกทะเลอีก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




b6d5f10e8777aa0ae60f2c3b03bfa69c.gif
b6d5f10e8777aa0ae60f2c3b03bfa69c.gif [ 4.35 KiB | เปิดดู 8155 ครั้ง ]
ลองแหย่ๆดูหน่อยดิ บุญ ตามนิยามของอเมสซิ่ง เป็นไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 11:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลองแหย่ๆดูหน่อยดิ บุญ ตามนิยามของอเมสซิ่ง เป็นไง

ก็ทาน ศิล ภาวนาไง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 11:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


การกินเจไม่ได้งดการฆ่า การรักษาศืลต่างหากงดการฆ่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2013, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


หญิงไทย เขียน:
ศาสนาพุทธไม่ห้ามการกินเนื้อสัตว์

แล้วฉะนั้นการกินเจ....ได้บุญจริงหรือ ?????


รูปภาพ


ช่วงนี้เป็นเทศกาลกินเจ ทุกครั้งที่ถึงเทศกาลกินเจมักจะมีคนสองฝั่งออกมาถกเถียงกันเสมอว่า กินเจได้บุญจริง หรือเป็นเพียงกระแสนิยม เราลองมาสืบสาวราวเรื่องกันดูว่าพระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร

ย้อนกลับไปในช่วงพรรษาที่ ๓๗ ที่พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระศาสนา ครั้งนั้นพระเทวทัตได้กราบทูลพระศาสดาเสนอให้พระพุทธองค์ทรงเพิ่มวินัยสงฆ์ ๕ ข้อ คือ

๑. ให้ภิกษุอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าละแวกบ้านต้องมีโทษ

๒. ให้ภิกษุบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ภิกษุใดรับนิมนต์ไปฉันตามบ้านต้องมีโทษ

๓. ให้ภิกษุใช้แต่ผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดรับจีวรที่เขาถวายต้องมีโทษ

๔. ให้ภิกษุอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าสู่ที่มุงต้องมีโทษ

๕. ให้ภิกษุงดฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันต้องมีโทษ

พระผู้มีพระภาคสดับแล้วตรัสว่า "ดูก่อนเทวทัต ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ละแวกบ้านก็จงอยู่ในละแวกบ้าน ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาตก็จงเที่ยวบิณฑบาต ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ก็จงรับนิมนต์ ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสกุล ก็จงใช้ผ้าบังสกุล ผู้ใดปรารถนาจะรับคฤหบดีจีวรก็จงรับคฤหบดีจีวร เราอนุญาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ ตลอด ๘ เดือน ที่มิใช่ฤดูฝน เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือ เนื้อที่ไม่ได้เห็น เนื้อที่ไม่ได้ยิน เนื้อที่ไม่ได้รังเกียจ"

เนื้อสัตว์ ๓ อย่าง ที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ได้แก่

๑. เนื้อที่ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็นเขาฆ่าเนื้อนั้นเพื่อปรุงอาหารมาถวาย

๒. เนื้อที่ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินเขาบอกกันว่าฆ่าเนื้อนั้นเพื่อปรุงอาหารมาถวาย

๓. เนื้อที่ไม่ได้รังเกียจ คือ ไม่เป็นเนื้อที่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อปรุงอาหารมาถวายโดยเฉพาะ

เว้นจากเนื้อ ๓ ชนิดนี้แล้ว ภิกษุสามารถฉันได้ ไม่มีโทษ สรุปว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงห้าม และไม่ตำหนิ เรื่องการกินเนื้อ แต่ก็ไม่ได้สรรเสริญด้วย จึงสรุปไม่ได้ว่าการงดบริโภคเนื้อสัตว์โดยการกินเจนั้นได้บุญ

กินเจ แม้ไม่ได้บุญแต่ก็ไม่บาป

กระต่าย หรือวัวควาย กินแต่หญ้า สัตว์เหล่านี้ได้บุญหรือเปล่า

ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ บอกว่า บุญได้จาก การให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา ไม่ได้บอกเลยว่าบุญได้จากการไม่กินเนื้อสัตว์ แม้ขยายความเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แล้วก็ยังไม่มีส่วนไหนบอกว่าการไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจะได้บุญ

รูปภาพ


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่

๑. ทานมัย - ทำบุญด้วยการให้

๒. สีลมัย - ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี

๓. ภาวนามัย - ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา

๔. อปจายนมัย - ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม

๕. เวยยาวัจจมัย - ทำบุญด้วยการช่วยเหลือขวนขวายงานที่ควร

๖. ปัตติทานมัย - ทำบุญด้วยการแบ่งส่วนบุญให้ผู้อื่น

๗. ปัตตานุโมทนามัย - ทำบุญด้วยการอนุโมทนาการทำบุญของผู้อื่น

๘. ธัมมัสสวนมัย - ทำบุญด้วยการฟังธรรม

๙. ธัมมเทสนามัย - ทำบุญด้วยการสอนธรรม

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ - ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกให้ตรง

การกินเจไม่อยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ดังนั้น กระต่าย หรือวัวควาย จึงไม่ได้บุญจากการกินหญ้า และมนุษย์ก็ไม่ได้บุญจากการกินเจด้วย

แต่การกินเจเป็นการงดการทำลายชีวิตสัตว์อื่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม แม้จะไม่ได้บุญเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นการไม่สร้างบาปเพิ่มขึ้นเหมือนกัน อย่างน้อยการกินเจก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้

กินเจอย่างไรจึงได้บุญ

ไหนๆ ก็กินเจกันแล้ ว ตั้งใจอดรสดีรสอร่อยกันแล้ว ก็ควรจะหาวิธีว่าทำอย่างไรการกินเจจึงจะได้บุญ

๑. กินเจด้วยจิตเมตตา

ตั้งเจตนาว่าการที่เรากินเจนี้ เป็นเพราะเรามีเมตคาต่อเหล่าสัตว์ ไม่ปรารถนาเป็นผู้ปลงชีวิต หรือมีส่วนในการปลงชีวิตสัตว์อื่นเพื่อเป็นอาหารของเรา ด้วยเจตนาที่กอรปด้วยเมตตาอย่างนี้ทำให้การกินเจได้บุญ

๒. กินเจด้วยจิตต้องการละ

รสอร่อยเป็นกามคุณอารมณ์อย่างหนึ่ง ทำให้ติดสุข อาหารเจส่วนใหญ่รสไม่อร่อย เพราะเป็นรสที่ไม่คุ้นเคย ทำให้กินได้น้อย จึงควรคิดว่าการกินเจนั้นเรากำลังละความอยาก ทำลายความอยาก ความยึดติดในรสชาดของอาหาร เรากำลังทำลายความข้องอยู่ในกามคุณอารมณ์ เรากำลังหลีกหนีกามสุขัลลิกานุโยค ความสุขความพอใจในกาม เรากินเพียงต้องการบำรุงธาตุขันธ์ให้ดำรงอยู่ได้เท่านั้น เจตนาอย่างนี้ทำให้การกินเจได้บุญ

แต่หากใครกินเจแล้วยังเที่ยววิ่งหาอาหารเจรสอร่อย มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเนื้อสัตว์จริงๆ อาหารเจร้านนี้ดี ย่านนั้นอร่อย จะกลายเป็นว่ากิเลสตัณหาเรื่องอาหารนั้นรุนแรงกว่าช่วงไม่กินเจเสียอีก เพราะปกติเวลากินอาหารคงไม่ค่อยเดือดร้อนกันเท่าไหร่ว่ารสชาดต้องเป็นอย่างนั้น หน้าตาอาหารต้องเป็นอย่างนี้ ต้องวิ่งไปกินกันแถวนี้ การกินเจอย่างนี้จึงไม่ได้บุญเลย

๓. พิจารณาอาหารเจเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ในเมื่ออาหารก็ไม่อร่อยแล้ว ควรถือโอกาสนี้พิจารณาเสียเลยว่าอาหารเป็นเพียงปฏิกูล เป็นของน่ารังเกียจ ไม่สะอาด เป็นของโสโครก ไหลเข้า ต่อไปก็จะไหลออก ลองพิจารณาดูว่าเมื่ออาหารเข้าปากเคี้ยวแล้วคายออกมายังน่าดูน่ากินอยู่อีกไหม พิจารณาแล้วก็คลายความรู้สึกติดใจ อยากได้ อยากมี อยากกิน ออกเสีย การกินเจด้วยการพิจารณาเนืองๆ อย่างนี้จึงได้บุญ

๔. พิจารณาอาหารว่าเป็นเพียงแค่ธาตุ

ลองพิจารณาดูว่าอาหารเจไม่ใช่อะไรเลย เป็นเพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม มาประชุมรวมกัน เหมือนกับร่างกายเรานี้ที่เป็นผู้บริโภคก็ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหมือนกัน พิจารณาอย่างนี้จึงได้บุญ

๕. พิจารณาให้เท่าทันไตรลักษณ์

พิจารณาว่าอาหารทั้งหลายก่อนจะมาถึงเรา ข้าวก็เกิดจากต้น เป็นเม็ดเป็นรวง เขาเก็บมานวดมาขัดมาสีจึงกลายเป็นข้าวสาร นำมาต้มมาปรุงเป็นข้าวสวยข้าวสุก เรากินเข้าไปแล้วก็จะย่อยสลาย ขับถ่ายออกมาคืนสู่ดิน คืนสู่ธรรมที่เป็นจริง อาหารจึงเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วคราว แล้วดับไป กายของเรานี้ก็เหมือนกันไม่เที่ยงเลย เกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ชั่วขณะ ในที่สุดก็จะดับสลายไป ขณะที่อยู่ก็มีแต่ทุกข์ ทุกข์เพราะอยากได้ อยากมี อยากเป็น จะห้ามไม่ให้ทุกข์ก็ไม่ได้ จะบังคับให้มีแต่สุขก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้บุบสลายเจ็บป่วยล้มตายก็ไม่ได้ ร่างกายไม่อยู่ในบังคับของเราเลย เพราะกายนี้ไม่ใช่เรา กายนี้ไม่เป็นของเรา พิจารณาอย่างนี้จึงได้บุญ

๖. รักษาศีลภาวนา

การกินเจเป็นเทศกาลสั้นๆ ไหนๆ ก็พยายามละกิเลสด้วยการกินเจแล้ว ในเทศกาลอย่างนี้ควรถือโอกาสรักษาศีลให้เคร่งครัด และหัดภาวนากันเสียด้วย ถือโอกาสขัดเกลากิเลสและยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมให้สูงขึ้น กินเจอย่างนี้จึงได้บุญ

นางสาวบุณยรัตน์ สุวิชา
http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=6998


การกินเจ บุญ นั้นไม่ได้มาจากการกิน แต่มาจากเจตนาในการกิน เช่น
กินเพื่อลด ละเว้นจากการฆ่า คือเราไม่มีส่วนใดๆในการฆ่า นี่คือทาน
การให้ทานแก่ชีวิต ซึ่งโดยธรรมชาติของคนกินเจแล้ว คนกินเจจะรักษา
ศีลประกอบไปด้วย อย่างน้อยก็ศีล 5 ส่วนภาวนาก็มีบ้างเป็นรายบุคคล
ไป

ขอให้เข้าใจว่าบุญไม่ได้มาจากการกิน แต่อย่างน้อยการกินด้วยเจตนาที่
บริสุทธิ์ย่อมทำให้การปฏิบัติรักษาศีล ภาวนามีกำลังมากขึ้น

อย่างน้อยที่สุดคนกินเจก็ได้รักษาศีล 1 ข้อแล้วคือข้อ ปาณาติปาตา ผู้ที่
กล่าวตำหนิ มีอคติ จับผิด บาปย่อมตกแก่เขาผู้นั้น เพราะนอกจากจะไม่ส่ง
เสริมผู้ที่คิดดี ปฏิบัติชอบแล้วยังเป็นการขัดขวางทางเจริญของผู้อื่นอีกด้วย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 121 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron