วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ย. 2024, 15:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือว่าพระอรหันต์ตอนละสังขารเมื่อไม่ต้องมาเกิดอีกก็ไม่มีอะไรนึกคิดในใจอีก ท่านปล่อยวางทุกๆสิ่งได้

ผิดกับจิตสุดท้ายของผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดที่ยังคงต้องระวังการคิดและคิดแต่สิ่งดีๆเพื่อหนีภพภูมิทุกขคติไปสู่ภพภูมิสุขคติ

ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้ใกล้ชิดกับผู้เจ็บป่วยใกล้เสียชีวิตควรจะพูดเตือนสติก่อนผู้เจ็บป่วยจะสิ้นสติเสียชีวิตให้ทำจิตปล่อยวางความนึกคิดทุกสิ่งไม่ต้องนึกคิดอะไรปล่อยวางความคิดให้หมดจะได้ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก อย่างนี้ดีกว่าและถูกต้องไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Soduku เขียน:
หรือว่าพระอรหันต์ตอนละสังขารเมื่อไม่ต้องมาเกิดอีกก็ไม่มีอะไรนึกคิดในใจอีก ท่านปล่อยวางทุกๆสิ่งได้ผิดกับจิตสุดท้ายของผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดที่ยังคงต้องระวังการคิดและคิดแต่สิ่งดีๆเพื่อหนีภพภูมิทุกขคติไปสู่ภพภูมิสุขคติ

ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้ใกล้ชิดกับผู้เจ็บป่วยใกล้เสียชีวิตควรจะพูดเตือนสติก่อนผู้เจ็บป่วยจะสิ้นสติเสียชีวิตให้ทำจิตปล่อยวางความนึกคิดทุกสิ่งไม่ต้องนึกคิดอะไรปล่อยวางความคิดให้หมดจะได้ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก อย่างนี้ดีกว่าและถูกต้องไหมครับ



tongue
ต้องบอกก่อนนะคะไม่ได้ตอบแทนพระอรหันต์ เพราะเราเองไม่อาจไปรู้สภาวะของท่านได้
แต่จะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์นะคะ
ความปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรนึกคิดในใจ หรือว่าไม่ต้องทำอะไรนะคะ...ยังคงมีความคิด มีการกระทำกิจต่างๆ แต่ทำไปโดยไม่มีตัวเราที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกิจที่ทำ เช่น ทำงานโดยมุ่งหวังให้ผลงานออกมาดีเป็นประโยชน์กับผู้บริหารและองค์กร แต่ไม่ได้มุ่งหวังผลเพื่อประโยชน์ตน เป็นต้น
การปล่อยวางอารมณ์คือเมื่อความนึกคิดปรากฏความพอใจ หรือความไม่พอใจ ก็ให้วางเฉยต่ออารมณ์นั้น ไม่ปรุงแต่งความพอใจไม่พอใจ เพิ่มเติมเข้าไปอีก(ไม่เพิ่มกิเลสใหม่) อารมณ์นั้นก็จะค่อยๆหมดไป...ทำซ้ำๆบ่อยๆ ความพอใจ ไม่พอใจ ในเรื่องนั้นๆก็จะหมดไปเหลือแต่ความวางเฉย...

ความคิดเป็นนามธรรม และตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเราสามารถควบคุมความคิดให้เป็นไปตามต้องการได้ เราคงไม่ต้องมาทำวิปัสสนากัน
เราอาจเข้าใจว่าความคิดเป็นของเราสามารถควบคุมได้...ใช่..แต่ชั่วคราวเท่านั้น
การวิปัสสนาเป็นการปล่อยวางในอารมณ์...ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายคนที่ไม่ได้ฝึกมาก่อน
หวังจะไปทำตอนใกล้ตายคงไม่ใช่เรื่องง่าย...โดยเฉพาะคนที่ทำแต่อกุศลมาทั้งชีวิต
จิตมันย้อมติดอยู่แต่ในอกุศล...

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 10:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
การปล่อยวางอารมณ์คือ
เมื่อความนึกคิดปรากฏความพอใจ หรือความไม่พอใจ
ก็ให้วางเฉยต่ออารมณ์นั้น
ไม่ปรุงแต่ง
ความพอใจไม่พอใจ เพิ่มเติมเข้าไปอีก(ไม่เพิ่มกิเลสใหม่)
อารมณ์นั้นก็จะค่อยๆหมดไป...

:b55: สกิดใจ...บางครั้งความวางเฉยมักดูซ้อนกันกับความเฉยเมย
เช่นเห็นเขาทำดีหรือทำไม่ดี แต่เราก็ไม่ได้ยินดียินร้ายด้วย...แบบวางเฉย
แต่ผู้อื่นอาจเห็นว่าเราเป็นคนเฉยเมย ไม่สนใจใยดีชื่นชมยินดีด้วย
ในสิ่งที่เขาได้ทำดี หรือถ้าเป็นเรื่องที่ทำไม่ดีไม่เป็นกุศลก็น่าจะ
มีการว่ากล่าวตักเตือนให้แก้ไขไม่เห็นดีในสิ่งผิดสิ่งร้ายแต่ก็วางเฉยเสียไม่ยุ่งด้วย อย่างนี้เป็นต้น
:b55: สงสัยว่า...อะไรเป็นเส้นแบ่งความหมายของคำว่า วางเฉย กับ เฉยเมย อะไรเป็นกุศลและอกุศล


ปลีกวิเวก เขียน:
ความคิดเป็นนามธรรม และตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเราสามารถควบคุมความคิดให้เป็นไปตามต้องการได้ เราคงไม่ต้องมาทำวิปัสสนากัน
เราอาจเข้าใจว่าความคิดเป็นของเราสามารถควบคุมได้...ใช่..แต่ชั่วคราวเท่านั้น
การวิปัสสนาเป็นการปล่อยวางในอารมณ์...ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายคนที่ไม่ได้ฝึกมาก่อน
หวังจะไปทำตอนใกล้ตายคงไม่ใช่เรื่องง่าย
...โดยเฉพาะคนที่ทำแต่อกุศลมาทั้งชีวิต
จิตมันย้อมติดอยู่แต่ในอกุศล
...

:b55: ด้วยเหตุนี้ใช่ไหม จึงมีหลายท่านแนะว่าผู้อยู่ใกล้ชิด
ผู้ที่กำลังจะเสียชีวิตจะมีส่วนสำคัญในการชักจูงหรือชี้นำความคิดใน
จิตสุดท้ายเป็นอย่างมาก
อย่างน้อยก็เป็นการทำบุญให้ผู้ใกล้เสียชีวิต
เพราะเชื่อหรือเห็นว่าคำพูดดีๆอาจสกิดใจทำให้เขาพ้นห่างจากอบายภูมิได้

:b55: ปัญหาต่อมาก็คือคำพูดใดจึงจะเหมาะสม จะบอกกับผู้ใกล้ตายว่าไม่ต้อง
คิดกังวลอะไรอีกสวดมนต์อย่างเดียวหรือปล่อยจิตให้ว่างลืมทุกสิ่งเลย
อย่างนี้ได้ไหม หรือว่าให้นึกถึงเรื่องบุญเรื่องกุศลดีๆ ที่ได้เคยทำไว้เพื่อ
จะได้ไปสู่สุขคติ
:b55: หรือว่าคำพูดที่ชักจูงใดๆเป็นโมฆะสูญเปล่าไม่มีผลอะไร
เพราะขัดกับเรื่องกฏแห่งกรรม หากเสี้ยวเวลาก่อนตายไม่มีกรรมใหม่ใดเกิด
การเปลี่ยนวิถีแห่งกรรมก็ไม่อาจทำได้อีกแล้ว

ทุกคนที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ต้องเสวยผลแห่งวิบากกรรมที่ได้ทำกรรมไป
อย่างเสมอภาค แม้ผู้จะตายจะนึกคิดถึงบุญบาปหรือไม่คิดอะไรก็ตาม...หรือเปล่า :b10:

ดูเหมือนยากจะเดาต้องตายแล้วถึงจะรู้...คงต้องทำอะไรได้ก็ทำไป..คิดมากเดี๋ยวเป็นอสุรกาย :b34:
:b41: :b44: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 16:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Soduku เขียน:
ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้ใกล้ชิดกับผู้เจ็บป่วยใกล้เสียชีวิตควรจะพูดเตือนสติก่อนผู้เจ็บป่วยจะสิ้นสติเสียชีวิตให้ทำจิตปล่อยวางความนึกคิดทุกสิ่งไม่ต้องนึกคิดอะไรปล่อยวางความคิดให้หมดจะได้ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีก อย่างนี้ดีกว่าและถูกต้องไหมครับ


กรรม ... มันจะส่งให้อะไร ๆ มันเป็นไป

เอกอนคิดเรื่องนี้ แต่เอกอนก็ยังไม่มีโอกาสทำอย่างที่คิดให้พ่อได้เลย

:b1:

เขาไปเป็นเกิดเป็นอะไร หรือเป็นลูกใครแล้วก็ไม่รู้ นะ

ตอนที่พ่อตาย
เอกอนเห็น กลุ่มพลังงานที่มารับพ่อ รออยู่ด้านนอก
พอเหมือนกับว่าเราต่างเห็นกัน เหมือนกับว่าเรารู้จักกัน
เขาก็ต้องไปเรียกกลุ่มพลังงานอีกกลุ่มมาเจรจากับเอกอน
เพื่อยับยั้งไม่ให้เอกอนตั้งอธิษฐานจิตเพื่อต่อชีวิตพ่อออกไป

คือ มันมีระบบบริหารงานคนเกิด/คนตายอยู่ ตามสมดุล

มันเป็นเรื่องที่แปลก กลุ่มพลังงานพวกนี้เวลาที่ปรากฎ
มันเหมือนกับว่า เราต่างรู้จักกันและกันดี อย่างกับญาติสนิท
อย่างกับเพื่อนบ้าน คือมันเหมือนจิตมันรู้แก่จิต
ไม่ใช่รู้จักชื่อ รู้จักหน้าตา แต่เป็นรัศมีที่เปล่งออกมา
คือ เราต่างไม่มีหน้าตา เราต่างไม่มีชื่อ
แต่เราจำแนกแยกกันและกันออกด้วย แสงรัศมี

เอกอนเห็น และก็จะทำเป็นลืม ๆ ให้มันผ่าน ๆ ไปไม่สนใจ
เพราะเคยผ่านตาหนังสือหลายเล่ม เวลาเล่าถึงเทวดาชั้นต่าง ๆ เขามี ชื่อ
แต่สิ่งที่เอกอนเห็น เขามีแต่แสง ไม่มีชื่อ สื่อสารกันด้วยแสง
คือ ถ้าคนที่เขียนหนังสือไม่ได้เพี้ยน ก็เอกอนนี่ล่ะ ที่เพี้ยน

:b1:

เห็นอย่างนี้ เอกอนไม่ค่อยชอบนักหรอก
เพราะเวลาที่เห็นอย่างนี้ เอกอนนึกถึงศรีธัญญา ... ทุกที :b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 17:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 23:55
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุขคติก็มีอายุ ทุกขคติก็มีอายุ หลีกหนีไป สุดท้ายก็ย้อนกลับมาที่เดิม

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว

ถึงพยายามหยุดคิดปรุงแต่ง หากยังมีความหลง ก็ยังไม่หลุดพ้น

ก่อนตายหากมีวาสนา ได้ฟังธรรมกับสัปบุรุษ เพียงไม่กี่คำ ก็อาจหลุดพ้นได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2013, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรูปะ เขียน:
สุขคติก็มีอายุ ทุกขคติก็มีอายุ หลีกหนีไป สุดท้ายก็ย้อนกลับมาที่เดิม

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว

ถึงพยายามหยุดคิดปรุงแต่ง หากยังมีความหลง ก็ยังไม่หลุดพ้น

ก่อนตายหากมีวาสนา ได้ฟังธรรมกับสัปบุรุษ เพียงไม่กี่คำ ก็อาจหลุดพ้นได้


smiley smiley :b19:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2013, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Soduku เขียน:
ปลีกวิเวก เขียน:
การปล่อยวางอารมณ์คือ
เมื่อความนึกคิดปรากฏความพอใจ หรือความไม่พอใจ
ก็ให้วางเฉยต่ออารมณ์นั้น
ไม่ปรุงแต่ง
ความพอใจไม่พอใจ เพิ่มเติมเข้าไปอีก(ไม่เพิ่มกิเลสใหม่)
อารมณ์นั้นก็จะค่อยๆหมดไป...

:b55: สกิดใจ...บางครั้งความวางเฉยมักดูซ้อนกันกับความเฉยเมย
เช่นเห็นเขาทำดีหรือทำไม่ดี แต่เราก็ไม่ได้ยินดียินร้ายด้วย...แบบวางเฉย
แต่ผู้อื่นอาจเห็นว่าเราเป็นคนเฉยเมย ไม่สนใจใยดีชื่นชมยินดีด้วย
ในสิ่งที่เขาได้ทำดี หรือถ้าเป็นเรื่องที่ทำไม่ดีไม่เป็นกุศลก็น่าจะ
มีการว่ากล่าวตักเตือนให้แก้ไขไม่เห็นดีในสิ่งผิดสิ่งร้ายแต่ก็วางเฉยเสียไม่ยุ่งด้วย อย่างนี้เป็นต้น
:b55: สงสัยว่า...อะไรเป็นเส้นแบ่งความหมายของคำว่า วางเฉย กับ เฉยเมย อะไรเป็นกุศลและอกุศล

ปลีกวิเวก เขียน:
:b41: การวางเฉย หรือจะเรียกว่า การปล่อยวางในอารมณ์ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนานั้นประกอบด้วยปัญญา รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หลักธรรมที่จะนำไปสู่ปัญญาคือ สัมมาทิฏฐิ ความรู้ในอริยสัจ4 ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในกุศล (กุศลมูล3 ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) ความรู้ในอกุศล (อกุศลมูล3 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ) กรรมดี กรรมชั่ว มีผลมีวิบาก เป็นต้น เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้แก่ องค์ธรรมอื่นๆในมรรคก็จะเจริญตามมา (จุดมุ่งหมายของมรรคคือการรู้แจ้งสัจธรรม)
องค์ธรรมของสัมมาทิฏฐิ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจากความคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือการคิดเป็น คิดถูกต้อง (ซึ่งจะมีหลักในการคิดหลายหลัก) โยนิโสมนสิการเป็นเหตุปัจจัยภายใน แต่เหตุปัจจัยภายในก็อิงอาศัยเหตุปัจจัยภายนอกคือสภาพแวดล้อมที่ดีด้วยเช่น กัลยาณมิตร
สัมมาทิฏฐิดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นด้วยการรับฟังแล้วเชื่อตามคนอื่นด้วยศรัทธา เพราะต้องรู้จักที่ตัวสภาวะเอง ต้องเอาธรรมชาติมาเป็นข้อพิจารณาโดยตรง
ดังนั้นการวางเฉยแบบเฉยเมย ไม่รู้อะไรเลย คือยังไม่มีสัมมาทิฏฐิ มีแต่ความไม่รู้เป็นอวิชชาเป็นไปเพื่ออกุศล
:b41:




ปลีกวิเวก เขียน:
ความคิดเป็นนามธรรม และตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเราสามารถควบคุมความคิดให้เป็นไปตามต้องการได้ เราคงไม่ต้องมาทำวิปัสสนากัน
เราอาจเข้าใจว่าความคิดเป็นของเราสามารถควบคุมได้...ใช่..แต่ชั่วคราวเท่านั้น
การวิปัสสนาเป็นการปล่อยวางในอารมณ์...ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายคนที่ไม่ได้ฝึกมาก่อน
หวังจะไปทำตอนใกล้ตายคงไม่ใช่เรื่องง่าย
...โดยเฉพาะคนที่ทำแต่อกุศลมาทั้งชีวิต
จิตมันย้อมติดอยู่แต่ในอกุศล
...

:b55: ด้วยเหตุนี้ใช่ไหม จึงมีหลายท่านแนะว่าผู้อยู่ใกล้ชิด
ผู้ที่กำลังจะเสียชีวิตจะมีส่วนสำคัญในการชักจูงหรือชี้นำความคิดใน
จิตสุดท้ายเป็นอย่างมาก
อย่างน้อยก็เป็นการทำบุญให้ผู้ใกล้เสียชีวิต
เพราะเชื่อหรือเห็นว่าคำพูดดีๆอาจสกิดใจทำให้เขาพ้นห่างจากอบายภูมิได้

ปลีกวิเวก เขียน:
:b41: แม้แต่องค์พระศาสดายังไม่อาจโปรดสัตว์ให้พ้นไปจาก อบายภูมิ หรือ วัฏฏะสงสารนี้ได้หมดเป็นเพราะเหตุใดเล่า...ถ้าไม่ใช่เพราะสัตว์มีกรรมเป็นของตน
ก่อนที่เราจะเชื่อว่าจะเป็นไปอย่างนั้นๆ ก็ต้องมาศึกษากันก่อนว่าเรื่องของกรรม หรือกฎแห่งกรรมนั้นเป็นอย่างไร อะไรคือกรรม องค์พระศาสดาท่านกล่าวว่า “เจตนาคือกรรม” ขยายความได้ว่า เจตนาหรือเจตน์จำนงหรือความคิดปรุงแต่ง ก่อให้เกิดการกระทำ ซึ่งเริ่มจากความคิด ความเชื่อ ความชอบ ความไม่ชอบ ฯลฯ เมื่อเห็นและเชื่อไปอย่างนั้นก็จะมีการแสดงออกมาทางกายและวาจา อบรมบ่มเพาะจนเป็นอุปนิสัย ของแต่ละบุคคล ถ้าบุคคลอบรมจิตไปในทางที่เป็นกุศล การแสดงออกมาทางกายและวาจาก็เป็นไปในทางกุศล แต่ถ้าบุคคลอบรมจิตไปในทางที่เป็นอกุศล การแสดงออกทางกายและวาจาก็จะเป็นอกุศลเช่นกัน จะเห็นได้ว่าสิ่งนี้เข้ากับหลักของ กรรมนิยามและจิตตนินาม ซึ่งมีผลกับพฤติกรรมของมนุษย์โดยตรงกรรมเป็นส่วนหนึ่งในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งแยกเป็น กิเลส กรรม และวิบาก ในปฏิจจฯ แสดงถึงกระบวนการทำกรรมและการให้ผลของกรรม พุทธศาสนาสอนหลักความจริงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
(สิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือสังขาร) ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เป็นเรื่องปัจจัยสัมพันธ์
ถ้าเข้าใจหลักนี้ก็จะเห็นได้ว่า “สัตว์มีกรรมเป็นของๆตน” และให้ผลถูกตรงตามเหตุปัจจัย
การที่เรามาเจริญวิปัสสนากันก็เพื่อเปลี่ยนจากความเห็นผิด เป็นเห็นถูกตรงตามสภาวะหรือตามกฏของธรรมชาติ :b41: ]...





:b55: ปัญหาต่อมาก็คือคำพูดใดจึงจะเหมาะสม จะบอกกับผู้ใกล้ตายว่าไม่ต้อง
คิดกังวลอะไรอีกสวดมนต์อย่างเดียวหรือปล่อยจิตให้ว่างลืมทุกสิ่งเลย
อย่างนี้ได้ไหม หรือว่าให้นึกถึงเรื่องบุญเรื่องกุศลดีๆ ที่ได้เคยทำไว้เพื่อ
จะได้ไปสู่สุขคติ
:b55: หรือว่าคำพูดที่ชักจูงใดๆเป็นโมฆะสูญเปล่าไม่มีผลอะไร
เพราะขัดกับเรื่องกฏแห่งกรรม หากเสี้ยวเวลาก่อนตายไม่มีกรรมใหม่ใดเกิด
การเปลี่ยนวิถีแห่งกรรมก็ไม่อาจทำได้อีกแล้ว

ทุกคนที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ต้องเสวยผลแห่งวิบากกรรมที่ได้ทำกรรมไป
อย่างเสมอภาค แม้ผู้จะตายจะนึกคิดถึงบุญบาปหรือไม่คิดอะไรก็ตาม...หรือเปล่า :b10:

ดูเหมือนยากจะเดาต้องตายแล้วถึงจะรู้...คงต้องทำอะไรได้ก็ทำไป..คิดมากเดี๋ยวเป็นอสุรกาย :b34:
:b41: :b44: :b8:




ปลีกวิเวก เขียน:
:b41: ความมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีงาม ถ้าอยู่ในวิสัยที่เราสามารถจะช่วยเหลือหรืออนุเคราะห์ได้ก็ควรจะทำ แต่ต้องไม่ลืมหลักคือต้องไม่เบียดเบียนตนเองด้วย ในที่นี้หมายถึงตัวเราต้องไม่เป็นทุกข์ไปกับเขาด้วยถ้าเราไม่อาจช่วยเขาให้พ้นไปจากทุกข์ได้ และต้องเข้าใจในกฎของธรรมชาติด้วยเช่นกัน :b41:...

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2013, 14:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับ...ปล่อยวาง....ต้องมีปัญญาประกอบ....

ปัญญาเห็นอริยะสัจ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2013, 02:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออภัยทุกท่านนะครับ ที่จขกท.ไม่ได้เข้ามาสนทนาที่กระทู้ ติดภาระกิจเพิ่งมีเวลาว่าง

และต้องขอขอบคุณคุณปลีกวิเวกที่ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็นมาค่อนข้างละเอียดและกระจ่างดีทำให้เข้าใจมากขึ้นครับ โดยเฉพาะเก็ตมากในข้อสรุปดังนี้
ปลีกวิเวก เขียน:
:b41: ...ดังนั้นการวางเฉยแบบเฉยเมย ไม่รู้อะไรเลย คือยังไม่มีสัมมาทิฏฐิ มีแต่ความไม่รู้เป็นอวิชชาเป็นไปเพื่ออกุศล :b41:

ปลีกวิเวก เขียน:
:b41: แม้แต่องค์พระศาสดายังไม่อาจโปรดสัตว์ให้พ้นไปจาก อบายภูมิ หรือ วัฏฏะสงสารนี้ได้หมดเป็นเพราะเหตุใดเล่า...
ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย เป็นเรื่องปัจจัยสัมพันธ์
ถ้าเข้าใจหลักนี้ก็จะเห็นได้ว่า “สัตว์มีกรรมเป็นของๆตน” และให้ผลถูกตรงตามเหตุปัจจัย
การที่เรามาเจริญวิปัสสนากันก็เพื่อเปลี่ยนจากความเห็นผิด เป็นเห็นถูกตรงตามสภาวะหรือตามกฏของธรรมชาติ :b41: ]...

:b53: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2013, 02:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

กรรม ... มันจะส่งให้อะไร ๆ มันเป็นไป
เอกอนคิดเรื่องนี้ แต่เอกอนก็ยังไม่มีโอกาสทำอย่างที่คิดให้พ่อได้เลย
:b1:
เขาไปเป็นเกิดเป็นอะไร หรือเป็นลูกใครแล้วก็ไม่รู้ นะ
ตอนที่พ่อตาย

ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ คุณเอกอน ไม่ทราบว่าได้ทันพูดจาอะไรกับคุณพ่อตอนที่ท่านเสียไหมครับ
...ตอนที่คุณพ่อผมเสียไม่ทันได้พูดจาอะไรกับท่านเลยเพราะท่านเสียที่โรงพยาบาลกระทันหัน จำได้ว่าพี่สาวเฝ้าไข้อยู่ แต่เราอยู่ที่ทำงาน

เราชาวพุทธ คงได้แต่ทำความดี ทำบุญ แผ่ส่วนบุญและกุศลให้ท่านตามประเพณี แม้จะไม่ทราบว่าท่านจะอยู่ที่ไหนแล้ว...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2013, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรูปะ เขียน:
สุขคติก็มีอายุ ทุกขคติก็มีอายุ หลีกหนีไป สุดท้ายก็ย้อนกลับมาที่เดิม
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว
ถึงพยายามหยุดคิดปรุงแต่ง หากยังมีความหลง ก็ยังไม่หลุดพ้น
ก่อนตายหากมีวาสนา ได้ฟังธรรมกับสัปบุรุษ เพียงไม่กี่คำ ก็อาจหลุดพ้นได้

เห็นด้วยกับคุณอรูปะครับ

ตัวอย่าง...

พุทธบิดานิพพาน
แนบไฟล์:
พุทธบิดานิพพาน.jpg
พุทธบิดานิพพาน.jpg [ 36.98 KiB | เปิดดู 9001 ครั้ง ]


พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชพุทธบิดา ประชวรหนัก พระพุทธองค์
ทรงพิจารณาพระชนมายุแห่งพระพุทธบิดา ทรงทราบว่าอยู่ได้อีกเพียง ๗ วันเท่านั้น จึงโปรดประทานพระธรรมเทศนาทั้งกลางวันและกลางคืน

พระพุทธบิดาทรงเจริญวิปัสสนาไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา
ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ๔ ประการ ในวันที่ ๗ แล้วทรงเอนพระองค์เข้าสู่นิพพาน พระพุทธองค์ทรงลูบพระเศียรของพระพุทธบิดาแล้วทรงยกพระบรมศพพระพุทธบิดาลงใส่หีบแก้ว ยกไปสู่ฌาปนสถานด้วยพระองค์เอง


ดูภาพยนตร์ "พระพุทธศาสดา" ในเรื่อง พุทธบิดานิพพาน...เป็นภาพยนตร์ที่บอกเกี่ยวกับชีวะประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งดูเข้าใจง่ายดี ..บังเอิญไป search เจอ
http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_02/P_02_HTML1-40/P2_29.html


แก้ไขล่าสุดโดย Soduku เมื่อ 20 ม.ค. 2013, 04:50, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2013, 04:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับ พระพุทธเจ้า จิตสุดท้ายก่อนดับขันธปรินิพพานนั้น ท่านเข้า "จตุตถฌาน" เป็นลำดับสุดท้าย
ตามท้องเรื่องที่ปรากฏตามพระไตรปิฎก

ดับขันธปรินิพพาน

ในสมัยนั้นมีปริพาชกผู้หนึ่งนามว่า สุภัททะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลชาวเมืองกุสินารา ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทูลถามข้อข้องใจในธรรม เกี่ยวกับลัทธิของครูทั้ง ๖ ซึ่งต่างอ้างว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้ธรรมสำเร็จอรหันต์นั้น สมคำปฏิญาณจริงหรือไม่ พระพุทธองค์เห็นว่าเวลาเหลือน้อย จึงตรัสห้ามและทรงแสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ โปรด สุภัททปริพาชกเกิดความเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญพระธรรมเทศนา ทูลขอบรรพชาในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุพระอรหัตผลในราตรีนั้น นับเป็นพุทธสาวกองค์สุดท้ายที่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันพระชนม์ชีพของพระบรมศาสดา

ประทานปัจฉิมโอวาท

เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดสุภัททปริพาชกแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่าให้ภิกษุทั้งหลายลงพรหมทัณฑ์ต่อพระฉันนะ อดีตมหาดเล็กผู้ถือว่าตนมีความสำคัญกว่าผู้ใด จึงเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ไม่ยอมฟังคำของพระเถระอื่นๆ การลงพรหมทัณฑ์ คือ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงให้โอวาท ไม่พึงสั่งสอน ไม่พึงเจรจาคำใด ๆ ด้วยทั้งสิ้น ภายหลังพระฉันนะจึงยอมสำนึกตัวและในที่สุดได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหัตผล ต่อมาพระพุทธองค์ได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
“เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ไม่ควรคิดว่าพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้วพระศาสดาของเราไม่มี ด้วยแท้ที่จริง ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่ตถาคตแสดงและบัญญัติไว้ จะเป็นศาสดาแทนตถาคต” (ที.มหา. ๑๐/๑๔๑/๑๗๘)
และได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ ตถาคตขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” (ที.มหา. ๑๐/๑๔๓/๑๘๐)
“ภิกษุทั้งหลาย สติ เมื่อเกิดขึ้นก็รู้ว่า ธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ ไม่มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลำดับนั้นพระโยคาวจรก็กำจัดธรรมอันไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาธรรมที่มีประโยชน์ ละธรรมที่ไม่มีอุปการะเสียถือเอาแต่ธรรมที่มีอุปการะ ดังนี้”

ดับขันธปรินิพพาน
เมื่อพระบรมศาสดาประทานปัจฉิมโอวาทเป็นวาระสุดท้ายแล้วก็มิได้ตรัสอะไรอีกเลย
ทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลม ดังนี้
ทรงเข้าปฐมฌาน (รูปฌานที่ ๑) ออกจากปฐมฌานแล้ว
ทรงเข้าทุติยฌาน (รูปฌานที่ ๒) ออกจากทุติยฌานแล้ว
ทรงเข้าตติยฌาน (รูปฌานที่ ๓) ออกจากตติยฌานแล้ว
ทรงเข้าจตุตถฌาน (รูปฌานที่ ๔) ออกจากจตุตถฌานแล้ว
ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนะแล้ว
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนะแล้ว
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนะแล้ว
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว
ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ อันเป็น นิโรธสมาบัติ ที่มีอาการสงบที่สุดถึงดับสัญญาและเวทนา คือ ไม่รู้สึกทั้งกายทั้งใจทุกประการ แม้ลมหายใจเข้าออกก็หยุดสงบยิ่งกว่านอนหลับ จากนั้นเสด็จออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ถอยเข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือถอยตามลำดับจนถึงปฐมฌาน แล้วย้อนจากปฐมฌานขึ้นไปสู่ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานเป็นลำดับสุดท้าย จึงดับขันธปรินิพพาน

หลังจากที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ได้บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหว กลองทิพย์บรรเลงเสียงกึกก้องกัมปนาท
ท้าวสหัมบดีพรหม ท้าวโกสีย์สักกเทวราช พระอนุรุทธเถระและพระอานนท์เถระ
เป็นอาทิ ได้กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ด้วยความเคารพเลื่อมใส เหล่ามหาชนพุทธบริษัททั้งหลายที่ประชุมกันอยู่ ณ สาลวันนั้นต่างก็โศกเศร้าร้องไห้ร่ำไรรำพัน พระอนุรุทธเถระและพระอานนท์เถระได้แสดงธรรมกถาปลอบ เพื่อให้คลายความเศร้าโศกโทมนัส

การถวายพระเพลิงพระบรมศพ
เหล่ามัลลกษัตริย์ทั้ง ๘ ร่วมกับพระเถระผู้ใหญ่ มีพระอนุรุทธเถระและพระ
อานนท์เถระเป็นต้น ได้ให้ตั้งพระบรมศพไว้เป็นเวลา ๗ วัน ณ อุทยานสาละ
อันเป็นสถานที่ปรินิพพานเพื่อรอพระเถระที่เดินทางมาจากทิศต่างๆ ในวันที่ ๘
จึงได้จัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพขึ้น ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ อันเป็นมงคลสถานสูงสุดของเมืองกุสินารา และได้ทำการถวายพระเพลิงใน
วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งชาวพุทธเรียกว่าวันอัฏฐมีบูชา ในครั้งแรกเมื่อจัดให้
มีการถวายเพลิงพระบรมศพปรากฏว่าไฟไม่ติด ครั้นเมื่อพระมหากัสสปเถระ
พร้อมภิกษุสงฆ์ผู้เป็นศิษย์อีก ๕๐๐องค์เดินทางจากปาวานครมาถึง ได้กราบนมัสการ พระบรมยุคลบาทแล้วได้เกิดเพลิงลุกขึ้นเองเป็นอัศจรรย์

ครั้นพิธีถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว มัลลกษัตริย์ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ สัณฐาคารศาลา อันเป็นที่ประชุมกลางเมือง ถวายสักการะเป็นเวลา ๗ วัน มีเจ้าครองนครต่างๆ ได้ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชายังเมืองของตน โทณพราหมณ์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดแบ่งให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ เมือง ดังนี้
๑. พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
๒. เจ้าลิจฉวี แห่งเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี
๓. เจ้าศากยะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
๔. ถูลิกษัตริย์ แห่งเมืองอัลลกัปปะ
๕. โกลิยกษัตริย์ แห่งเมืองรามคาม แคว้นโกลิยะ
๖. มหาพราหมณ์ แห่งเมืองเวฏฐทีปกะ
๗. มัลลกษัตริย์ แห่งเมืองปาวา แคว้นมัลละ
๘. มัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
สำหรับตุมพะ คือทะนานที่ใช้ตักแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์
ได้นำไปบรรจุในพระสถูปเรียกว่า ตุมพสถูป
แนบไฟล์:
ดับขันธปรินิพพาน.jpg
ดับขันธปรินิพพาน.jpg [ 38.2 KiB | เปิดดู 8999 ครั้ง ]

ชมภาพยนตร์ประกอบ:
http://download.buddha-thushaveiheard.c ... P2_44.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2013, 00:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 23:55
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2013, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
อะไรเป็นเส้นแบ่งความหมายของคำว่า วางเฉย กับ เฉยเมย


ในความคิดผม

เฉยเมย คือมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น แต่เลือกที่จะไม่มอง ไม่สนใจ เอาใจออกจากสิ่งนั้น ไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการคิดถึง

วางเฉย คือมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น เราเห็นอยู่ว่าเกิดขึ้น เราพิจารณาแล้วว่าเราทำอะไรต่อได้บ้าง เมื่อทำจนถึงที่สุดก็ปลงใจยอมรับว่านี่คือที่สุดแล้วแล้ว หรืออาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ถ้าพิจารณาเห็นกว่าเกินวิสัยตั้งแต่ต้น คือปรับส่วนที่ปรับได้ตามสมควร และยอมรับในส่วนที่ปรับไม่ได้ อยู่ร่วมกับสิ่งนั้นตามเป็นจริง

ดังนั้นผมว่าเส้นแบ่งอันแรกคือความสนใจ อันที่สองคือความเข้าใจ สองอันนี้ไม่เกิดขึ้นในเฉยเมย แต่จะมีเกิดขึ้นครบก่อนจะวางเฉยได้

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร