วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 18:20
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูธรรมมะแล้ว พระท่านนึงบอกประมาณนี้ครับ
บอกว่า การที่เราเอาอาหารให้มัน
เท่ากับมันไม่ได้เจอวิบากหรืออะไรนี่แหละครับ

อยากศึกษาเพิ่มเติมว่าผมเข้าใจอะไรผิดครับ ?

ขอบคุณมากๆ ครับ ปล. อโศกครับช่องที่ผมดู


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 16:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าบอกว่า
"เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาคือกรรม"


เจตนาเกิดที่ไหนก่อน ต้องเกิดที่ใจก่อน
เจตนาคือกรรม ฉะนั้นกรรมก็เกิดที่ใจก่อน มโนกรรมเกิดก่อน
แล้วจึงขยายผลไปเป้นวจีกรรม กายกรรม

กิจกรรมทางใจนั่นแหละ คือกรรม
คือต้นกำเนิดของกรรม


ตัวกรรมนั้น พระพุทธเจ้าท่านแบ่งเป็น 3 หมวด
หมวดแรกเรียกว่า กุศลกรรม หรือที่รู้จักกันในชื่อ "บุญ"
หมวดที่สอง ท่านเรียกว่า "อกุศลกรรม" หรือที่รู้จักกันในชื่อ "บาป"
หมวดที่สาม ท่านไม่ตรงตรัสว่าเป็นบุญหรือบาป เรียกว่าอัพยากตธรรม

ทีนี้ พอเกิดกรรมขึ้นมาแล้ว มันต้องเกิด"ผลของกรรม"

"ผลของกรรม" นั่นแหละ คือคำว่า "วิบาก"

ผลของกรรมดี ผลของบุญ เรียกว่า กุศลวิบาก
ผลของกรรมชั่ว ผลของบาป เรียกว่า อกุศลวิบาก

ผลของบุญ เป็นความสุขเสมอ ... เรียกว่า สุขเวทนา
ผลของบาป เป็นความทุกข์เสมอ ... เรียกว่า ทุกขเวทนา

(.... เวทนา แปลว่า ความรู้สึกทางร่างกายหรือความรู้สึกทางใจ หรือทั้งสองอย่าง

ปกติแล้วคนเรามีความรู้สึกทางกาย มันก็ต้องเนื่องไปถึงใจด้วย
เช่นกล้ามเนื้อขามันล้า เป้นตะคริวขึ้นมา นี่ก็เรียกว่า เวทนา
แต่พอใจไปรู้เข้า เรียกว่าเกิดความรู้สึกทางใจขึ้นมาแล้ว
ถ้าใจชอบตะคริว ก็เรียกว่าเกิดสุขเวทนาทางใจ
ถ้าใจเกลียดตะคริว ก้เรียกว่าเกิดทุกขเวทนา

อย่างเวลานอนหลับ แล้วนอนกรน นี่เรียกว่าร่างกายมีเวทนา
แต่ใจเรามันไม่ได้รู้นี่ ว่าเรานอนกรน เลยไม่ได้ให้ค่าอะไรกับร่างกายที่กำลังกรน
เลยไม่เกิดสุข หรือทุกข์ทางใจ ไม่ได้มีความชอบหรือไม่ชอบการนอนกรน....)


ทีนี้ คนเขาไม่ค่อยจะพูดภาษาพระกัน
เวลาเราได้ยินคำว่าวิบาก เราก็เลยนึกถึงแต่เรื่องร้ายๆ
เป้นที่มาของคำว่า วิบากกรรม
คนเขาไม่นิยมเรียกผลของบุญว่า "วิบากกรรม"
มักจะไปเข้าใจว่า "วิบากรรม" เป็นเรื่องของผลร้าย


เรื่องที่คุณเล่ามา มันไม่ค่อยชัด เลยอธิบายไม่ถูก

เอาเป้นว่า ผมเล่าของผมไปเรื่อยแล้วกัน

ตัวหมากินข้าว นับว่าเป็นกายกรรม มีผลคือกายของมันระงับความหิว
วิบากที่กายกรรมของหมาได้รับคือความอิ่ม

แม้กระบวนการที่หมากินข้าว จะเป็นกายกรรม
แต่หมาได้กินแล้ว"เกิดความสุขที่ใจ"ของหมา
นี่เรียกว่าเกิดเวทนาทางใจแล้ว เป็นเวทนาชนิดมีความสุข เรียกว่าสุขเวทนา
กล่าวได้ว่า หมากำลังเสวยวิบากคือความสุข


คนที่ให้ข้าวหมากิน
เห้นหมากินเอากินเอา ก็มีความสุขใจ
ตาเห้นรูปอากัปกริยาของหมา ใจปรุงไปว่าหมาคงมีความสุข
ความสุขก้บังเกิดขึ้นที่ใจคน
ในข้อนี้ การที่ใจเราไปเห้นภาพแล้วปรุงแต่ง นี่เรียกว่าเป้นเหตุ
ได้ผลลัพธืคือมีความสุขใจ

ที่จริงเรื่องพวกนี้ พูดกันยากนะ
เพราะต้องพูดกันเป็นขณะจิต

แต่พูดแบบมองภาพรวมๆ ก็ประมาณนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 18:20
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือตอนที่ผมดู
มีคนเขาส่ง จม. ไปถามพระท่านครับ
ว่าให้อาหารนก นี่บาปไหม

รู้สึกคำถามนี้ใกล้เคียงกับเรื่องที่ผมทำคือ

เพราะบางทีผมก็ชอบให้เศษอาหารกับหมาในซอยบ้านผมเหมือนกัน
หมาไม่มีเจ้าของครับ มันชอบอยู่ท้ายซอย ก็ไปให้ข้าวมันกิน

ทีนี้ คำตอบขอบพระ
พระท่านว่า "ไม่บาป" ครับ
แต่เขาพูดว่า เหมือนเราไปขวางวิถี วิบาก ที่หมาหรือนก ควรเจอ

แล้วก็ยกตัวอย่างประมาณว่า ตัวอะไรถูกงูกินนี่แหละ
แล้วเราก็ไปช่วยตัวนั้น ทำนองนี้อ่ะครับ

เคยได้ยินบ้างไหมครับ ?

ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับทุกคำตอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงลำพัง เขียน:
คือตอนที่ผมดู
มีคนเขาส่ง จม. ไปถามพระท่านครับ
ว่าให้อาหารนก นี่บาปไหม

รู้สึกคำถามนี้ใกล้เคียงกับเรื่องที่ผมทำคือ

เพราะบางทีผมก็ชอบให้เศษอาหารกับหมาในซอยบ้านผมเหมือนกัน
หมาไม่มีเจ้าของครับ มันชอบอยู่ท้ายซอย ก็ไปให้ข้าวมันกิน

ทีนี้ คำตอบขอบพระ
พระท่านว่า "ไม่บาป" ครับ
แต่เขาพูดว่า เหมือนเราไปขวางวิถี วิบาก ที่หมาหรือนก ควรเจอ

แล้วก็ยกตัวอย่างประมาณว่า ตัวอะไรถูกงูกินนี่แหละ
แล้วเราก็ไปช่วยตัวนั้น ทำนองนี้อ่ะครับ

เคยได้ยินบ้างไหมครับ ?

ขอบคุณมากๆ ครับ สำหรับทุกคำตอบ



อ๋อ
การให้ท่าน หลวงปู่เทสก์ท่านว่า แม้ให้เพราะตัดความรำคาญ ก็ยังเรียกว่าทำทานแล้ว ยังไงเสียก็ได้ผลของทานแน่นอน
แต่ก่อนผมเลือกทำทานนะ เพราะคิดว่าบางคนเราไม่ทำดีกว่า
แต่พอเจอหลวงปู่เทสกืว่าอย่างนี้นะ ใครมาขอทาน ผมควักหมด
คือพอเห็นแล้วใจมันอยากให้ เราก้ให้เลย ไม่คิดอะไร แล้วก็อยู่กับใจ
บางทีให้เกิน 3-5 บาทเองนะ เศษติดกระเป่า แต่ว่าเดินยังไม่ทันพ้นขอทานเลย ปาดน้ำตาแล้ว
มันเป้นความสุข นี่ถ้าไปคิดว่าอย่างนี้อย่างโน้น คงไม่ต้องทำพอดี


เรื่องงูกินหนู

ถ้าไม่รู้ไม่เห็น ก็อย่าไปคิดครับ
แต่ถ้าเห็นควรช่วย

ถ้าเห้นว่าหนูคาปากงูแล้ว เราช่วยอะไรทันครับ
นี่เราต้องอุเบกขา

พูดตามตรงเถอะ คนเรามันไปเห้นใจงูเหรอว่ากำลังพยามจะฆ่าหนู
มันไม่จริงหรอกครับ เอาเรื่องสมุติมาพูด มันจะไม่ได้ของจริงหรอก
เอาเรื่องจริงๆมาพูดดีกว่า

เช่น พระพุทธเจ้าทราบว่า ญาติฝ่ายพ่อ เป้นกษัตริย์ ชื่อพระเจ้าอะไรน๊า ที่เป้นเลือดผสมของนางทาสี
กำลังจะไปฆ่าญาติฝ่ายแม่ (ฝ่ายไหนเป้นว่ายไหน ผมก้จำไม่ได้นะ)
สรุปว่า ญาติข้างหนึ่งเป้นญาติของพ่อ ญาติข้างหนึ่งเป็นญาติของแม่
ฝ่ายหนึ่งกำลังจะยกทัพไปล้างโคตรอีกฝ่ายหนึ่ง

พระพุทธเจ้า ห้าม 3 ครั้ง

ครั้งที่ 4 ท่านเล็งแล้งว่า ห้ามไม่ได้แล้ว
จึงทรงอุเบกขา

ตั้งแต่นั้น ตระกูลพระพุทธเจ้า หายไปจากโลกเลย คือล้างโคตรสมัยนั้น ล้างกันจริงๆนะ
ล้างแบบล้างหายไปเลย

นี่ พระพุทธเจ้าท่านก็ทำให้ดูอยู่ว่า
ถ้าช่วยได้ ให้ช่วย
ถ้าดูแล้วว่าช่วยไม่ได้ ให้วางเฉย เพราะเต้นแร้งเต้นกาไปก็แก้ไขอะรไม่ได้


การช่วยเหลือก็เหมือนกัน เมตตาแล้ว กรุณาแล้ว มุทิตาแล้ว ต้องมีอุเบกขาครับ
คุณคิดว่าพระพุทธเจ้าเอาคำว่าอุเบกขา มาใส่ไว้ตรงท้ายสุดทำไม
ก็เพราะ... ที่สุดแล้ว ต้องอุเบกขา


ทำทาน ทำไปเถอะครับ อย่าคิดมาก
นกกาหากิน มันหากินตามธรรมชาติ ไม่ใช่ปัญหาของเรา
ถ้ามันมีกินในที่สงบ ในป่าในเขา มันจะมาในที่อึกทึกไหม
ก็เพราะเรารุกถิ่นหากินของมัน ทำลายอาหารของมัน

ขอทานเต็มเมือง ก็ไม่ใช่ปัญหาของเรา
มันเป้นปัญหาของนักบริหารบ้านเมืองที่เรียนจบมาสูงเสียเปล่า
ประเทศเราอุดมสมบูรณ์จะตายไป ไม่มีปัญญาจะบริหารให้เขามีที่ทำกิน จะได้ไม่ทิ้งถิ่นฐาน
ไม่รู้จักจัดสรรทรัพยากรให้ทั่วให้ถึง คนก็แห่กันมากรุงเทพ
มีอะไรก็เทลงกรุงเทพ น่าเบื่อหน่ายพวกควายใส่สูทร

อย่าให้ผมเป็นนายกนะ
ถ้าผมเป็นนายก.... ไก่ก็คงจะออกลูกเป้นตัว
(ฮาาาา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 18:20
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆก่อนหน้าที่จะได้ยิน พระพูดผมก็ไม่คิดมากครับ
คิดว่าก็ช่วยให้มันมีอาหารกิน สงสารมันครับ

แต่พอพระพูดแบบนี้ ผมเลยไม่สบายใจเลย
น่าเสียดายที่ดูทางทีวี
ถ้าถามกลับได้ ผมคงถามกลับว่า ใส่บาตรให้พระ เกี่ยวด้วยหรือเปล่า :b26:

ขอโทษนะครับ หาก ประโยคท้ายดูไม่ค่อยสุภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย เพียงลำพัง เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 15:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงลำพัง เขียน:
ดูธรรมมะแล้ว พระท่านนึงบอกประมาณนี้ครับ บอกว่า การที่เราเอาอาหารให้มัน
เท่ากับมันไม่ได้เจอวิบากหรืออะไรนี่แหละครับ

อยากศึกษาเพิ่มเติมว่าผมเข้าใจอะไรผิดครับ ?

ขอบคุณมากๆ ครับ ปล. อโศกครับช่องที่ผมดู

ธรรมของพระพุทธเจ้า บางครั้งคนสอนก็สอนแบบไม่รู้
หรือผู้สอนสอนแบบรู้จริงแต่คนคนฟังกลับไม่เข้าใจ

เรื่องของคุณที่พระท่านบอกว่าอย่าไปยุ่งกับวิบากของคนอื่น
เหตุผลที่จริงแล้ว เขาจะสื่อว่า การไปแก้วิบากให้กับสิ่งหนึ่ง
ผลที่ตามมาอาจจะไปกระทบกับอีกสิ่งหนึ่ง การทำบุญอาจกลายเป็นทำบาปไปได้
เช่นการไปยุ่งกับวงจรชีวิตของสัตว์ การเข้าไปช่วยชีวิตสัตว์ที่กำลังต้องเป็นเหยื่อของสัตว์
อีกชนิดหนึ่ง มันไม่สมควร เพราะจะมีผู้ที่เดือดร้อนต่อการกระทำของเรา แม้เราจะตั้งใจดีก็ตาม
การที่สัตว์ฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร มันเป็นเรื่องธรรมชาติไม่เกี่ยวกับศีล หรือบาปบุญ

อย่างกรณีของคุณก็เช่นกัน การไปให้อาหารสัตว์ไม่มีเจ้าของ ต้องดูว่าสัตว์เหล่านั้นไป
ทำความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านละแวกนั้นหรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่แหละครับ วิบากกรรม :b13:
:b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 18:20
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อย่างกรณีของคุณก็เช่นกัน การไปให้อาหารสัตว์ไม่มีเจ้าของ ต้องดูว่าสัตว์เหล่านั้นไป
ทำความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านละแวกนั้นหรือไม่


ผมรบกวนขอสอบถามเพิ่มเติมครับ

ว่าถ้าสร้างความเดือดร้อน หรือ ไม่สร้างความเดือดร้อน มันจะมีผลต่างกันอย่างไรหรือไม่ครับ

สำหรับผมถ้าคิดเอาเอง
ถ้าสร้างความเดือดร้อน : ก็เหมือนเราไปสนับสนุนมันใช่ไหมครับ ? เหมือนเราไปสนับสนุนสิ่งไม่ดีใช่เปล่าครับ?

แต่ถ้า มันไม่สร้างความเดือดร้อน แล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับเรื่องวิบากครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงลำพัง เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อย่างกรณีของคุณก็เช่นกัน การไปให้อาหารสัตว์ไม่มีเจ้าของ ต้องดูว่าสัตว์เหล่านั้นไป
ทำความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านละแวกนั้นหรือไม่


ผมรบกวนขอสอบถามเพิ่มเติมครับ

ว่าถ้าสร้างความเดือดร้อน หรือ ไม่สร้างความเดือดร้อน มันจะมีผลต่างกันอย่างไรหรือไม่ครับ

ที่ถามว่าจะมีผลต่างกันอย่างไร ก็คือ ผลของวิบากกรรมมันจะย้ายเปลี่ยนแปลง จากผู้หนึ่งไป
อีกผู้หนึ่งโดยมีคุณเป็นผู้กระทำกรรมใหม่ หมายความว่า คุณเป็นคนช่วยให้สุนัขไม่หิวโหย
เมื่อมันมีอาหารมันก็จะยึดที่นั้นเป็นที่อยู่อาศัย เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าสุนัขไม่มีเจ้าของมันทำ
ความเดือดร้อนมาก ไหนจะขี้ ไหนจะฉี่ไม่เป็นที่ เห่าหอน พิษสุนัขบ้าฯลฯ

พูดแบบทางโลกนะครับว่า ความแตกต่างมันอยู่ที่ ผลของการกระทำของคุณครับคือ
1.สุนัขพ้นจากความหิวจะเรียกว่าวิบากหรือไม่ก็ไม่รู้ล่ะ
2.ชาวบ้านได้รับวิบากกรรมมาแทน
3.ผลของวิบากที่ชาวบ้านได้รับ ก็จะส่งผลมาถึงตัวคุณคือ ได้รับความไม่พอใจจากชาวบ้าน
อาจมีเรื่องด่าทอทะเลาะเบาะแว้ง

ผมเคยได้ยินคนแถวบ้านผมเขาด่ากันครับว่า"เฮ้ย!ใจบุญนักทำไมไม่เอาไปเลี้ยงที่บ้านเลยล่ะ"
เพียงลำพัง เขียน:
[สำหรับผมถ้าคิดเอาเอง
ถ้าสร้างความเดือดร้อน : ก็เหมือนเราไปสนับสนุนมันใช่ไหมครับ ? เหมือนเราไปสนับสนุนสิ่งไม่ดีใช่เปล่าครับ?

แต่ถ้า มันไม่สร้างความเดือดร้อน แล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับเรื่องวิบากครับ

จะว่าสนับสนุนสิ่งไม่ดีก็ไม่ใช่ เพียงแต่ว่าเราขาดความรอบคอบคิดแค่สั้นๆ
เราคิดแต่เพียงว่าอยากช่วยสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า คิดว่าเป็นกรรมดีเพียงกรรมเดียว
แต่ที่ไหนได้มันเกิดกรรมซ้อนขึ้นโดยไม่รู้ตัวครับ

ผมก็ไม่เข้าใจกับคำว่าวิบากของคุณ เอาเป็นว่า ถ้าเอาความหมายว่าวิบากแปลว่าผลกรรมที่ไม่ดี
เดือดร้อน ถ้าไม่มีผู้ได้รับผลกระทบนี้ การกระทำของคุณก็ไม่เข้าข่ายวิบากกรรมครับ
แต่มันเป็นกุศล มีเมตตากรุณาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตคิดช่วยเหลือ เวลานั้นเมตตากรุณา อันเป็นกุศลเกิดขึ้น ขนะนั้นหาความเป็นบาปหรือโทษไม่มีเลย..หน้าที่หรืองานของกุศลเกิดขึ้นแล้วสำเร็จลงด้วยดี....ส่วนเรื่องที่คนในละแวกจะเดือดร้อนนั้น หาได้เป็นเรื่องที่มาจากกุศลกรรมที่คุณเพียงฯทำไม่ แต่มาด้วยบาปเก่าของคนเหล่านั้นเองทั้งสิ้น ที่จัดแจงให้วิบากมาส่งผลให้เขาต้องได้ยินได้เห็นได้พบ สิ่งหรืออารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลาย..จะเห็นได้ชัดว่า แม้คุณเพียงฯเองก็อาศัยในละแวกหมู่ชนนั้น หากสุนัขจะทำความเดือดร้อนให้ ..คุณเพียงฯหรือคนที่ให้อาหารสุนัขก็ย่อมเข้าถึงความเดือดร้อนเช่นกัน เพราะสุนัขไม่มีปัญญาแยกแยะว่า"เราจะเห่าหอน ทำความเดือดร้อนแก่ชนทั้งหลาย ยกเว้นคุณเพียงฯหรือคนให้อาหารแก่เราเท่านั้น "..เป็นต้น เรื่องนี้ จึงสรุปได้ว่าที่ชาวบ้านเดือดร้อนนั้น มาจากบาปเก่าของเขาเองจัดแจงมา ใครคนอื่นไม่อาจทำให้เกิดขึ้นเลย..

ในเมื่อคุณเพียงฯไม่ได้ตั้งเจตนาหรือปรารภว่า "ข้าพเจ้าจะให้เศษอาหารแก่สุนัขจรจัดเพื่อให้มันทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ชาวบ้าน หรือสร้างความเดือดร้อนนานาประการแก่ใครๆ..."เป็นต้น บาปกรรมจะมีหรือเกิดแก่คุณเพียงฯได้อย่างไร??!..ข้อนี้พึงเข้าใจเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักแห่งกรรมและวิบาก จะได้ไม่เดือดร้อนใจหรือไขว้เขวคิดว่าทำบุญแล้วได้บาปซึ่งไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย..

...ขอให้ยุติความเดือดร้อนใจทั้งปวงไปเสีย กุศลที่ทำเสร็จแล้ว มีผลตั้งขึ้นทันที เพียงรอปัจจัยที่จะนำผลส่งให้เสวย....เมื่อคิดถึงบุญนั้นแล้ว ยินดีในบุญนั้นต่อ เรียกว่าบุญสำเร็จในกาลภายหลัง ย่อมยังกุศลนั้นให้มีผลไพบูลย์ขึ้น

:b47: :b48: :b47: อนึ่ง การทำบุญที่มีผลมากคือ
ผู้ให้มีเจตนาดี จิตใจเลื่อมใสแช่มชื่นเบิกบานทั้ง ๓ กาล คือก่อนให้ (ปุพพเจตนา) ขณะให้(มุญจนเจตนา) และเมื่อให้แล้ว( อปราปรเจตนา) :b47: :b48: :b47:

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาแล้วว่า การทำบุญนั้น จะนำมาซึ่งความเดือดร้อนดังทีีท่านโฮฮับแนะนำไว้ ก็ ก็พึงเลี่ยงไปทำบุญอื่นๆที่มีถึง๑๐อย่างให้ทำ เรียกว่าบุญยกิริยาวัตถุ๑๐(ดูที่นี่..http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A% ... 6%E0%B8%B8)


หากเกิดเรื่ิองเดือดร้อนตามมาหลังจากทำบุญใดๆ ไม่ควรเข้าใจผิดว่าผลร้ายที่มาสู่ตน เพราะเกิดจากการทำบุญนั้นๆ ข้อนี้ไม่อาจเป็นไปได้ เพราะบุญนำมาแต่ความสุขและผลที่น่าปรารถนาเท่านั้น ส่วนผลร้ายย่อมมาจากบาปเก่่าทั้งสิ้น... เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว เห็นว่าการทำเ่ช่นนั้นๆ อาจนำภัยเดือดร้อนมาสู่ตน ก็พึงเลี่ยงไปทำบุญอื่นๆที่มี...การพิจารณาด้วยดีเสียก่ิอนโดยรอบแล้วจึงทำบุญ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญครับ


เรื่องของกรรมและวิบากนั้น ลึกซึ้งซับซ้อนเกินปัญญาของสรรพสัตว์ทั้งหลาย.. เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้เท่านั้นที่จะทรงทราบโดยตลอดถ่องแท้ แต่อาศัยคำสอนของพระพุทธองค์ เราก็พออนุมานแนวทางที่จะเข้าใจได้ และไม่ตกไปสู่ความมีทิฏฐิคลาดเคลื่อนอันเป็นโทษแก่ตน.. :b46: :b47: :b48:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 18:20
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ทุกๆ ความเห็นนะครับ

เท่าที่ผมอ่านดูรู้สึกความเห็นในเรื่องการให้ข้าวหมา
แล้วสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน

มีความเห็นที่แตกต่างกัน
ระหว่างคุณ -dd- และคุณ โฮฮับ อยู่ นะครับ
เลยไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว

ผมเป็นคนทำให้ชาวบ้านเดือนร้อน (เพราะให้ข้าวหมา ให้มันมีแรงเห่า)
หรือ
เป็นเวณกรรมเดิมของชาวบ้านเสียเอง

:b5: ยิ่งคิดยิ่งลึกซึ้งนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงลำพัง เขียน:
ขอบคุณ ทุกๆ ความเห็นนะครับ

เท่าที่ผมอ่านดูรู้สึกความเห็นในเรื่องการให้ข้าวหมา
แล้วสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน

มีความเห็นที่แตกต่างกัน
ระหว่างคุณ -dd- และคุณ โฮฮับ อยู่ นะครับ
เลยไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว

ผมเป็นคนทำให้ชาวบ้านเดือนร้อน (เพราะให้ข้าวหมา ให้มันมีแรงเห่า)
หรือ
เป็นเวณกรรมเดิมของชาวบ้านเสียเอง

:b5: ยิ่งคิดยิ่งลึกซึ้งนะครับ

ในเรื่องนี้ในเบื้องต้นคุณยังไม่รู้ถึงผลสุดท้ายมันก็ยังไม่เข้าค่ายนี้ครับ
แต่ถ้าเรารู้ดีอยู่แล้วว่า ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไรถ้ายังฝืดทำอยู่มันก็ผิดครับ

พระพุทธเจ้าท่านมีหลักธรรมอยู่เรื่องหนึ่งเหมาะสำหรับ ผู้ที่ปฏิบัติธรรม นั้นคือปฎิจจสมุบาท
ธรรมนี้จะทำให้เรารู้แล้วนำมาเปรียบเทียบ กับการกระทำของเราได้ครับ มันเกี่ยวกับเรื่อง
เหตุปัจจัยครับ เหตุนี้เกิดจากเหตุนี้มันยาวสืบเนื่องกันเป็นวงกลม ทำให้เราเข้าใจว่า การกระทำแม้
เพียงอย่าเดียวก็สามารถถ่ายทอดไปได้อีกมากครับ

แล้วอีกเรื่องที่อยากแนะนำให้ คุณและสมาชิกไปหาอ่านและทำความเข้าใจ ก็คือเรื่อง
ศีลพรตปรามาสครับ เรื่องนี้สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมที่ถูก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเคร่งอยู่
ในศีลครับ ต้องมีความเข้าใจในหลักธรรมอื่นและปฏิบัติให้ถูกด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 20 ส.ค. 2010, 10:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมเป็นคนทำให้ชาวบ้านเดือนร้อน (เพราะให้ข้าวหมา ให้มันมีแรงเห่า)
หรือเป็นเวณกรรมเดิมของชาวบ้านเสียเอง


ประเด็นที่จะชี้คือ การเป็นบุญหรือบาปในการเลี้ยงอาหารสุนัขของคุณเพียงฯ ซึ่งได้ตอบไปแล้วอย่างชัดเจน ตามหลักพระอภิธรรม..



โดยหลักพระอภิธรรมมีว่า สิ่งทั้งปวงไหลมาจากเหตุทั้งสิ้น และไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้ด้วย[b]เหตุใดเพียงเหตุเดียว.
..แต่มาจากเหตุปัจจัยมากมายที่ประชุมพร้อมจึงปรากฏผลได้..

ดังนั้น การเกี่ยวข้องของสรรพสัตว์จึงเป็นการทำเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อกันได้เสมอ ทั้งโดยเจตนา และไม่มีเจตนา

จากปัญหาข้างบน การกระทำของคุณเพียงฯอาจ เป็นปัจจัยใหม่ที่เป็นอุปการะแก่การเสวยอกุศลวิบากของชาวบ้าน ก็จริง แต่คุณเพียงฯไม่ได้เจตนา จึงไม่ชื่อว่าบาปในส่วนตัวคุณเพียงฯ..นอกจาก[b]คุณเพียงฯ[/b]ตั้งเจตนาว่า "เอาละ เราจะให้อาหารสุนัขเหล่านี้ เพื่อให้มันรบกวนชาวบ้านด้วยประการต่างๆ"..คราวนั้นบาปกรรมย่อมตั้งขึ้นในใจคุณเพียงฯแล้ว มีผลเป็นทุกข์เดือดร้อนตามมาในภายหน้า..หากสุนัขจะทำความเดือดร้อนชาวบ้าน คุณเพียงฯหาได้เกี่ยวข้ิองในแง่บาปกรรมไม่ คุณเพียงฯไม้ได้มีอำนาจ ควบคุมสุนัขหรือแม้แต่ตัวเอง เพราะไม่ใช่อัตตาตัวตนที่จะบังคับได้ คุณเพียงฯและสิ่งทั้งปวงเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามการปรุงแต่งของเหตุปัจจัยมากมายเท่านั้น..

หากยังไม่เข้าใจก็ขอแนะนำให้ศึกษาพระอภิธรรม เพื่อความเข้าใจสภาพธรรมที่ถูกต้อง มีประโยชน์แก่ชีวิตอย่างยิ่งครับ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าอย่าประมาทในบุญแม้เล็กน้อยทั้งหลาย ...เราเองยังต้องเดินทางไปในสังสารวัฏอันหาที่สุดไม่ได้ ยังมีสิทธิ์เกิดเป็นสุนัขจรจัด ถึงเวลานั้น เราคงอยากได้อาหาร ไม่อยากอดและคงนึกไม่เป็นว่า "ใครๆไม่ควรให้อาหารเราเพราะเราจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน"เป็นต้น..
:b47: :b47: :b47:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 12:21
โพสต์: 637

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามมีว่า

ดูธรรมมะแล้ว พระท่านนึงบอกประมาณนี้ครับ
บอกว่า การที่เราเอาอาหารให้มัน
เท่ากับมันไม่ได้เจอวิบากหรืออะไรนี่แหละครับ

ตอบว่า

วิบาก แปลว่า ผลแห่งกรรมที่ทำไว้แต่ก่อน
ใช้ได้ทั้งกรรมดี ผล คือบุญ และกรรมชั่ว ก็มีวิบากของกรรมชั่ว

กรรมเกิดได้ทั้งกาย วาจา และใจ ดังนั้นเพียงแต่คิด ก็มีวิบาก คิดดี ได้บุญแล้ว
คิดชั่ว ถ้ากระทำต่อคนที่มีบุญมาก เช่น คิดร้าย คิดชั่ว ดูถูก ปรามาส
ต่อ คุณ พ่อคุณแม่ หรือพระสงฆ์ พระอริยเจ้า พระพุทธเจ้า
ก็ตกนรกได้แล้ว เช่นกันครับ

อีกประการ ปกติ เวลาเราทำบุญ จะไม่คิดไปมาก หลายชั้นว่า การทำนั้น เท่ากับส่งเสริม

บุญจะได้ทันทีที่ทำ เพียง แต่มีอานิสงส์ไม่เท่ากัน

เช่น ทำกับ ผู้ทุศีล ไม่ได้บุญเท่าผู้มีศีล
เราจะไม่คิดว่า ทำกับโจร อย่างนี้ทำให้โจรมีกำลัง อย่างนี้ก็บาปนะสิ จะไม่เป็นเช่นนั้น

เช่นหมอรักษาคนไข้ ให้หาย บังเอิญเขาเป็นโจร หมอนั้นก็ยังได้บุญ
ไม่ใช่ว่า บาป เพราะทำให้โจรมีแรงไปปล้นต่อ

แม้สุนัขเห่าก็เช่นกันครับ
ทำกับสุนัขก็ได้บุญ แต่อานิสงส์ไม่เท่าคน เท่านั้นเองครับ


มาคิดให้ลึกซึ้งอีก เช่น สุนัขมีวิบากให้อดอาหาร

แต่เราให้ทาน เขาจึงไม่ต้องรับกรรมนี้

ถูกต้องนะครับ เป็นเราให้ เขาจึงได้ นั่นเอง

เราก็ได้บุญ สุนัขก็ได้ความสุข มีแต่ได้ ด้วยกันทั้งสิ้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่นให้อาหารกับสุนัขเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เป็นกุศลจิต
การที่สุนัขไม่เจอวิบากกรรมที่ควรเจอ อาจจะเพราะหลายเหตุผลที่ในที่สุดก็มีคนให้อาหารเพราะมีกรรมดีจากชาติปางก่อนไม่ถึงกับอดเสียทีเดียว
มีเมตตาจิตต่อสัตว์นั้นดีแล้วครับ
แม้พระพุทธเจ้าก็เคยช่วยชีวิตนก อย่างในหนังที่เราดู

คำว่าวางเฉยคงเอามาใช้กับ คนทั่วไปที่ไม่ชอบให้คุณทำแบบนั้นเช่นชาวบ้านในละแวกนั้น
เราวางเฉยกับคำด่าว่าของคนดีกว่าวางเฉยกับการหิวโหยของหมาแมวตามถนน

การวางเฉยก็คือไม่ถือโทษโกรธคนที่ไม่รักสัตว์เหมือนเรา
คนไม่ใยดีต่อสัตว์เราก็วางเฉยไม่ไปโกรธเคือง แต่ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร