วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 08:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 64, 65, 66, 67, 68, 69, 70 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้อยคำอย่างเช่น เหมือนกัน ต่างกัน สมุหภาพ ปัจเจกภาพ ล้วนเป็นแต่ละขั้นบันได เราต้องไต่ขึ้นไปทีละขั้น แต่อย่าไปหลงในพลความนั้นๆ

ถ้าเราหลงในถ้อยคำ ความคิด หรือพลความต่างๆ เสียแล้ว เราจะขึ้นไม่ถึงมิติแห่งความเป็นปรมัตถ์

ใช้คำสอนเรื่องทะลุทะลวงเข้าไปตามที่ปรากฎในอวตัมสกสูตร เราอาจไขกุญแจประตูไปสู่สัจภาวะได้ โดยทิ้งถ้อยคำที่ผูกเราให้ติดไว้ในโลก

ความคิดต่างๆที่เรามานิยามสัจภาวะจำต้องปลาสนาการไป เรารู้ว่าเรามีปอดไว้สำหรับหายใจเข้าและออก แต่เมื่อเรามองให้ลึกลงไป เราก็จะเห็นว่าในปอดเรานั้นมีภูเขาต่างๆ และป่าต่างๆรวมอยู่ด้วย ถ้าปราศจากสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เราจะหายใจเข้าออกได้อย่างไร

เรามีหัวใจที่ใช้งานได้ดี และเราก็รู้ว่าถ้าหัวใจไม่ทำงาน เราก็ย่อมจักไม่มีชีวิตอีกต่อไป แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปก็จะเห็นได้ว่า พระอาทิตย์ก็คือหัวใจที่สองของเรา ถ้าพระอาทิตย์หยุดทำงาน เราก็จะตายภายในทันที ดุจดังหัวใจหยุดทำงานด้วยเช่นกัน

เราเห็นว่าร่างกายของเราคือร่างกายของจักรวาล และจักรวาลคือร่างกายของเรา

เรารู้ได้อย่างลึกซึ้งก็ต่อเมื่อเราเห็นมิติต่างๆ ทั้งภายในภายนอก ทั้งตัวเราและผู้อื่น

เวลาเรามองตามสายตาของอวตัมสกสูตร เราก็จะเห็นสกลจักรวาล และสรรพธรรมในตาข่ายของพระอินทร์ พลันเราก็จะเข้าใจว่า แนวคิดในรื่อง หนึ่งกับหลาย ไปกับมา สมุหภาพและปัจเจกภาพ บนกับล่าง รวมถึงเป็นกับไม่เป็น ฯลฯ ว่าเอามาใช้กับปรมัตถสัจไม่ได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า "นี่มี เพราะนั่นมี" นับว่าเป็นคำสอนที่เรียบง่ายและลึกซึ้ง

หมายความว่าทุกสิ่งโยงใยไปยังทุกๆสิ่ง ทุกอย่างเกิดขึ้น ก็เพราะทุกอย่างอื่นๆเข้ามารวมอยู่ด้วย

แสงแดดทะลุทะลวงมายังพืชผัก พืชผักทะลุทะลวงไปยังสัตว์ และทะลุทะลวงไปยังกันและกัน

ในหนึ่ง เราเห็นทั้งหมด

ในทั้งหมด เราเห็นหนึ่ง

เวลาเราสัมผัสหนึ่ง เราสัมผัสทั้งหมด

เวลาเราสัมผัสทั้งหมด เราสัมผัสหนึ่ง

นี้แลคือคำสอนของ อวตัมสกสูตร นับเป็นคำสอนที่ลึกซึ้งที่สุดของพระพุทธศาสนาในเรื่องการโยงใยถึงกันและกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-071129085622060&PageNo=10&Other=

สำหรับวิธีการในการ Demonstrate ของพระสังฆปรินายกฟาจั้งในการอธิบาย "สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวคือสรรพสิ่ง" แห่งอวตังสกะแด่พระนางบูเช็คเทียนครั้งนั้น

ก็ได้กระทำโดยพระสังฆปรินายกฟาจั้ง ให้ศิษย์นำคันฉ่อง (กระจก) 8 บานมาหันเข้าหากันเป็นรูป 8 เหลี่ยม ส่วนอีกสองบานให้วางไว้ที่เบื้องล่างบานหนึ่ง อีกบานหนึ่งกั้นไว้ข้างบนให้ขนานซึ่งกันและกัน แล้วเอาพระพุทธรูปเข้ามาประดิษฐานไว้ ณ ตรงกลาง

การนี้เอง ได้ก่อให้เกิดภาพที่สุดวิจิตรอลังการ ด้วยนอกจากคันฉ่องแต่ละบานได้สะท้อนองค์พระพุทธรูปองค์หลักตรงกลางแล้ว ก็ยังได้สะท้อนภาพพระพุทธรูปที่ปรากฏอยู่ในคันฉ่องบานอื่นๆอีกมากมายมหาศาล เหลือที่จะคณานับให้สิ้นสุดได้อีกด้วย

ด้วยประการดังกล่าว พระนางอู่จ้าวบูเช็คเทียนจึงได้ทรง GET เข้าพระทัยในสัจธรรมแห่งอวตังสกะที่ว่า "สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวคือสรรพสิ่ง" ในสัจจะความจริงที่มีอยู่ในสิ่งทั้งปวง และสรรพสิ่งล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ดุจรัตนชาลาข่ายแก้วที่ร้อยเรียงประดับอยู่บนวิมานแห่งท้าวสักกเทวราช โดยแสดงผ่านมาในรูปแห่งพระไวโรจนะที่นับเป็นสิ่งแทนของธรรมชาติ คือความสว่างที่แผ่ออกไปอย่างไม่มีขอบเขตด้วยลักษณาการเช่นนี้แลฯ ..

------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------

http://hselearning.kku.ac.th/UserFiles/chapter-6(1).pdf

เปรียบเหมือนพระพุทธรูปในกระจก

เมื่อนํากระจกมาสิบแผ่น ให้กระจกแปดแผ่นหันหน้าเข้าหากันเป็นรูปแปดเหลี่ยม แผ่นหนึ่งอยู่บนและอีกแผ่นหนึ่งอยู่ล่าง แล้วนําพระพุทธรูปไปตั้งอยู่ตรงกลาง พวกสานุศิษย์ไม่เพียงแต่เห็นกระจกสะท้อนภาพจากพระพุทธรูปเท่านั้น หากกระจกยังสะท้อนภาพจากภาพสะท้อนในกระจกอื่นๆด้วย

และกระจกอื่นๆ ต่างก็สะท้อนภาพสะท้อนซึ่งกันและกัน ทําให้เห็นพระพุทธรูปมากมายเหลือที่นับได้

พระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ตรงกลางเปรียบเหมือนความจริงสูงสุด ส่วนภาพสะท้อนในกระจกเปรียบเหมือนปรากฏการณ์

ปรากฏการณ์ย่อมสามารถสร้างปรากฏการณ์ขึ้นมาใหม่ได้ แต่ปรากฏการณ์ทั้งหมดย่อมมีคุณสมบัติของความจริงสูงสุดอยู่ด้วยอย่างครบถ้วนเสมอ

ดังนั้น ปรากฏการณ์หนึ่ง ย่อมรวมเอาคุณสมบัติของปรากฏการณ์อื่นทั้งหมดไว้ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิกายอวตังสกะ ชื่อเพราะๆ แปลเป็นไทยคือ นิกายพวงดอกไม้ ผมอ่านผลงานหลวงปู่ติช นัท ฮันต์ ท่านกล่าวๆ ถึงพระสูตรนี้บ่อยๆ

พอมาอ่าน รู้สึกว่า เขาบรรยาย ภาวะ ศูนยตา ได้พิศดาร ล้ำลึกมาก ศูนยตา แบบ อิทัปจจยตา มี พลังเคลื่อนไหว กิน พื้นที่ และ เวลา

ถ้าไป ติดภาษาธรรม ติดบุคคลาธิษฐาน ความอลังการของมันก็ตื่นตาตื่นใจดี ช่วงแรกๆ ที่แตะอารมณ์ประมาณนี้ อ่านไปดีๆ ทางมหายานเขาขยาย พุทธคุณ พุทธวิสัย โพธิสัตว์บารมี ให้ดูวิจิตร อลังการ เพื่อดึงมหาชน

แต่ ลึกๆ ใน พระสูตรมันแสดง สภาวะธรรม 1. ศูนยตา 2. อิทัปจจยตา (แต่มันเคลือบด้วยบุคคลาธิษฐาน สุดอลังการเท่านั้น) เนื้อแท้มันตีลงตรงการปฏิบัติ วิปัสสนา เจริญสติ ไม่ต่างจากเถรวาทเลย

คำว่า เอกสัตย์ธรรมธาตุ มีอยู่ในตัวทุกคน และทุกสิ่งๆ เห็นรูป เห็นลักษณะ แต่ไม่ติดในรูป ไม่ติดในลักษณะ คือจบ

หลัก ตรีกาย ธรรมกาย สัมโภคกาย นิรมาณกาย โลกธาตุ สุดวิจิตร แตกเป็น หมื่นแสน พัน สุดพิศดาร โยงใยถึงกัน ถ้าท่านติดอักษร ติดคำว่าเถรวาท ท่านจะแอนตี้ ดูเหมือนนอกรีต ตรงนี้มันแค่ขยายหลักธรรม ข้อ อิทัปจจยตา มาในรูป พระตถาคตเนรมิต

สุดท้าย ทำลายสัมโภคกาย ทำลายนิรมาณกาย ทำลายรูปกายพระพุทธเจ้าเป็นอนันต์ ทิ้งดิ่งลงธรรมกาย เอกสัตย์ธรรมธาตุ ธรรมกายที่ว่าอยู่ใน วัชรสูตร กับ หฤทัยสูตร

มหายานทุกนิกาย สุดท้าย รวมอยู่ที่เซน คือสุดท้ายให้ ปฏิบัติ เอาปัญญา เอาปรมัตถ์ ทางเถรวาท คือ เจริญสติ วิปัสสนา

ที่มา , อีกฟากฝั่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dharma-gateway.com/misc/misc_tao_of_physics_01.htm

เต๋าแห่งฟิสิกส์, ฟริตจอฟ คาปรา เขียน, วเนช แปล

ปราชญ์หลายท่านได้กล่าวว่า ความคิดฝ่ายพุทธะได้ถึงจุดสูงสุดในนิกายอวตังสก ซึ่งยึดพระสูตรชื่อเดียวกันเป็นหลัก

พระสูตรนี้ถือกันว่าเป็นแก่นของพระพุทธศาสนาแบบมหายาน และได้รับการยกย่องจากสึซึกิ (http://en.wikipedia.org/wiki/D._T._Suzuki) ด้วยคำพูดซึ่งแสดงถึงแสดงถึงศรัทราอย่างแรงกล้าว่า

“อวตังสกสูตรนับเป็นสุดยอดแห่งความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์แบบพุทธ สำหรับใจข้าพเจ้านั้น ไม่มีคัมภีร์ศาสนาเล่มใดที่เข้าถึงความยิ่งใหญ่ของความคิดความลึกซึ้งแห่งอารมณ์ และความมโหฬารแห่งองค์ประกอบ ได้เท่ากับพระสูตรนี้ เป็นน้ำพุแห่งชีวิตซึ่งพวยพุ่งอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจิตใจซึ่งแสวงหาธรรมดวงใดเมื่อได้ดื่มน้ำพุนี้แล้ว จะกลับกระหายหรือพึงพอใจเล็กน้อย”

พระสูตรนี้ได้เป็นแรงเร้าที่สำคัญต่อชาวจีนและญี่ปุ่น ในเมื่อพุทธศาสนาแบบมหายานได้แพร่ไปทั่วเอเชีย ความแตกต่างระหว่างชาวจีนและญี่ปุ่นกับชาวอินเดียมีมาก จนกล่าวกันว่าทั้งสองฝ่ายเปรียบได้กับสองด้านซึ่งแตกต่างกันในจิตใจมนุษย์

ในขณะที่ชาวจีนและญี่ปุ่นมีจิตใจที่เป็นนักปฏิบัติ เอาจริงเอาจังและถูกหล่อหลอมโดยสังคม ชาวอินเดียกลับมีจิตใจที่เต็มไปด้วยจินตนาการสนใจในอภิปรัชญา และเรื่องลึกซึ้งพ้นวิสัยสามัญ

เมื่อนักปรัชญาจีนและญี่ป่นเริ่มแปลและตีความอวตังสกสูตร ซึ่งเป็นคำภีร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประพันธ์ขึ้นโดยอัจฉริยะทางธรรมชาวอินเดีย ซึ่งสองด้านของจิตใจได้หล่อหลอมรวมกันเป็นเอกภาพซึ่งมีลักษณะเป็นพลวัตอันใหม่ กลายเป็นปรัชญา ฮัว-เอี้ยน ในจีน และปรัชญา คีกอน ในญี่ปุ่น ซึ่งสึซึกิ ถือว่าเป็น “จุดยอดของความคิดแบบพุทธซึ่งได้รับการพัฒนามาในตะวันออกไกลในระยะเวลาสองพันปีที่ผ่านมา”

แก่นกลางของพระสูตรนี้คือ เอกภาพและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสรรพสิ่งและเหตุการณ์

ความคิดนี้มิใช่เป็นแก่นแท้ของโลกทัศน์แบบตะวันออกเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานอันหนึ่งของโลกทัศน์ซึ่งพัฒนามาจากฟิสิกส์สมัยใหม่

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อวตังสกสูตรอันเป็นคัมภีร์โบราณเล่มนี้ เสนอแนวคิดซึ่งคู่ขนานไปกับแบบจำลองและทฤษฎีของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะที่สำคัญที่สุดหรือแก่นแท้ของโลกทัศน์แบบตะวันออกก็คือ การตระหนักรู้ในความเป็นเอกภาพ และความสัมพันธ์เนื่องกันของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งมวล

คือประสบการณ์แห่งการหยั่งรู้ ว่าปรากฏการณ์ทั้งหลายในโลกล้วนเป็นปรากฏแสดงของความเป็นหนึ่งเดียว สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นส่วนประกอบของเอกภาพ ซึ่งต้องอิงอาศัยกันอย่างไม่อาจแยกจากกันได้ สรรพสิ่งเป็นการปรากฏแสดงในแง่มุมต่าง ๆ ของสัจจะสูงสุดอันเดียวกัน

ในศาสนาตะวันออกได้กล่าวอยู่เสมอถึงสัจจะสูงสุดอันไม่อาจแบ่งแยก ซึ่งปรากฏแสดงอยู่ในสรรพสิ่ง
และซึ่งสิ่งทั้งหลาย ล้วนเป็นส่วนประกอบของมัน ฮินดูเรียกว่า พรหมัน พุทธศาสนาเรียกว่า ธรรมกาย และลัทธิเต๋าเรียกว่า เต๋า

เนื่องจากสัจจะนี้อยู่เหนือแนวคิดและการแบ่งแยกทั้งมวล ชาวพุทธจึงเรียกสัจจะนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ตถตา หรือความเป็นเช่นนั้นเอง

ความเป็นเช่นนั้นเองแห่งวิญญาณ ก็คือความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่งทั้งมวล เป็นมหาธาตุซึ่งรวมทุกสิ่งไว้

ในชีวิตสามัญ เรามิได้ตระหนักถึงเอกภาพแห่งสรรพสิ่งที่ว่านี้ แต่กลับแบ่งแยกโลกนี้ออกเป็นวัตถุและเหตุการณ์ต่างๆ กัน

การแบ่งแยกดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และและจำเป็นสำหรับการเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในประจำวัน ทว่ามันไม่ได้เป็นลักษณะพื้นฐานของสัจจะ เป็นเพียงการย่อสรุปของความคิดแยกแยะแจกแจง

การเชื่อ และการยึดในความคิดที่เห็นเหตุการณ์และสิ่งต่างๆแยกจากกันว่าเป็นความจริงของธรรมชาตินั้น เป็นเพียงภาพลวง

ชาวฮินดูและชาวพุทธถือว่า ภาพลวงดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก อวิชชา ความไม่รู้ เกิดกับจิตใจซึ่งอยู่ใต้อำนาจสะกดของ มายา

ศาสนาตะวันออกจึงมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การปรับสภาพจิตใจเสียใหม่ โดยการควบคุมจิตใจให้รวมอยู่ที่จุดเดียวและสงบจากความรบกวนต่าง ๆ โดยผ่านการทำสมาธิภาวนา

คำว่า “สมาธิ” ในภาษาสันสกฤตมีความหมายตามตัวอักษรว่า “สมดุลทางใจ” ซึ่งแสดงถึงความสมดุลและความสงบของจิตใจ อันหยั่งรู้ถึงความเป็นเอกภาพของจักรวาล

เมื่อเข้าสู่สมาธิที่บริสุทธิ์ (เราย่อมได้) ญาณซึ่งชำแรกสู่ความเป็นหนึ่งเดียวอันสมบูรณ์แห่งจักรวาล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


10.1 การตีความของโคเปนฮาเกน

ความเป็นหนึ่งเดียวแห่งจักรวาลมิใช่เป็นเพียงแกนกลางของประสบการณ์ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่เช่นกัน

ปรากฏชัดเจนในการศึกษาในระดับอะตอม และยิ่งแสดงตัวมันเองชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเราศึกษาลึกลงไปในวัตถุจนถึงระดับอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม

ความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งจะเป็นหัวข้อเปรียบเทียบระหว่างวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่และปรัชญาตะวันออกตลอดการพิจาณาของเรา

เมื่อเรายิ่งศึกษาแบบจำลองต่าง ๆ ของวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม มันจะแสดงให้เห็นแล้วเล่าในแง่มุมที่ต่างๆกันว่า องค์ประกอบของสสารวัตถุและปรากฏการณ์พื้นฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับมัน ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และอิงอาศัยกัน

เราไม่อาจจะเข้าใจมันแต่ละสิ่งได้อย่างโดด ๆ แต่จะเข้าใจมันได้ เมื่อมันเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด ...

ในระดับอะตอม สสารวัตถุในทัศนะของวิชาฟิสิกส์ดั้งเดิมได้กลายเป็นแบบแผนแห่งความอาจเป็นไปได้ และแบบแผนดังกล่าว มิได้แสดงความอาจเป็นไปได้ของสิ่งต่างๆมากกว่า

ทฤษฎีควอนตัมได้ทำให้เราเห็นว่า จักรวาลมิใช่การรวมกันของวัตถุทางฟิสิกส์ แต่เป็นข่ายใยอันซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของจักรวาลทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นวิธีการที่นักปรัชญาตะวันออกหยั่งรู้โลก และบางท่านได้สะท้อนประสบการณ์นั้นออกมาในคำพูด ซึ่งเกือบจะเหมือนกับคำพูดของนักฟิสิกส์ผู้ค้นคว้าเรื่องอะตอมดังตัวอย่างนี้

"สสารวัตถุ กลายเป็นบางสิ่งซึ่งต่างไปจากที่เราเห็นกันในปัจจุบัน มิใช่วัตถุโดดๆ ซึ่งอยู่ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ แต่เป็นส่วนซึ่งไม่อาจแยกออกได้จากทั้งหมด

และในแง่มุมที่ลึกซึ้งแล้ว มันเป็นการปรากฏแสดงของความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งซึ่งเราเห็นนั้น สิ่งต่างๆคงสภาพและธรรมชาติของมันได้โดยการอิงอาศัยกัน และไม่มีความหมายในตัวของมันเอง"


หากว่าข้อความเหล่านี้อาจนำมาใช้แสดงทัศนะของวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอะตอม ข้อความอีกสองข้อความต่อไปนี้จากนักฟิสิกส์ ก็อาจจะใช้เป็นคำอธิบายการหยั่งรู้ธรรมชาติ ของปราชญ์ทางตะวันออกได้ในทำนองกลับกัน

"อนุภาคมิใช่สิ่งซึ่งดำรงอยู่อย่างอิสระ และไม่อาจวิเคราะห์แยกแยะได้ โดยแก่นแท้มันเป็นกลุ่มของความสัมพันธ์ ซึ่งรวมเอาสิ่งอื่นเข้าไว้ด้วย

โลกปรากฏเป็นเสมือนใยเยื่ออันซับซ้อนของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมเอาลักษณะความสัมพันธ์ชนิดต่างๆ ไม่ว่าสลับซ้อน หรือเชื่อมต่อกันเข้าไว้ ความสัมพันธ์เหล่านี้ จึงกำหนดลักษณะของทั้งหมด"


...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพุทธศาสนา ภาพของข่ายใยแห่งเอกภพมีบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีก

แก่นคำสอนของ อวตังสกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญสูตรหนึ่งของมหายานก็คือ การอธิบายว่าโลกเป็นข่ายใยอันสมบูรณ์แห่งสหสัมพันธ์ โดยที่เหตุการณ์และสิ่งทั้งหลายมีปฏิกิริยาต่อกันและกันอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ

ชาวพุทธมหายานได้สร้างสรรค์ตำนานและเรื่องราวต่าง ๆ มากมายเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเชื่อมโยงถึงกันหมดของทุกสิ่งในจักรวาล

ข่ายใยแห่งเอกภพ เป็นแกนกลางของคำสอนในพุทธศาสนานิกายตันตระ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของมหายานที่ถือกำเนิดในอินเดียในราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล และในปัจจุบันเป็นสายสำคัญของพุทธศาสนาแบบทิเบต

คัมภีร์ของสายนี้เรียกว่า ตันตะ มีรากเดิมในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่า “ถักทอ” อันแสดงถึงการประสานสัมพันธ์และอิงอาศัยกันของสิ่งต่างๆ และเหตุการณ์ทั้งมวล ...

10.6 ลืมทุกสรรพสิ่ง

ความคิดในเรื่อง “การเข้ามีส่วนร่วม แทนที่จะเป็นการสังเกต" ได้ถูกคิดค้นในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่เมื่อไม่นานมานี้เอง

แต่มันเป็นความคิดที่รู้จักกันดีในหมู่นักศึกษาศาสนา

ความรู้ในทางศาสนาไม่อาจได้มาด้วยเพียงแต่การสังเกต แต่โดยการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับชีวิตจิตใจทั้งหมดของแต่ละบุคคล

ความคิดเรื่องผู้มีส่วนร่วม จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดในโลกทัศน์แบบตะวันออก และได้ไปถึงจุดสูงสุดในศาสนาตะวันออก ซึ่งผู้สังเกตและผู้ที่ถูกสังเกต ผู้กระทำและถูกกระทำ ไม่เพียงแต่ไม่อาจแยกจากกันเท่านั้น หากทว่าไม่แตกต่างกันอีกด้วย

ต่างจากวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยอะตอม ซึ่งถึงแม้ผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกตไม่อาจแยกจากกัน แต่ทว่ายังแตกต่างกันอยู่

พวกนักปฏิบัติในศาสนาไปไกลยิ่งกว่านั้น ในสมาธิที่ลึกซึ้ง พวกเขาบรรลุถึงจุดที่ความแตกต่างระหว่างผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกตได้สูญเสียความหมายอย่างสิ้นเชิง ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำได้หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันดียวกัน ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อุปนิษัทว่า

ณ ที่ใดซึ่งทวิภาวะดำรงอยู่ ณ ที่นั้นบุคคลย่อมเห็นผู้อื่น ย่อมได้กลิ่นผู้อื่น ย่อมได้ลิ้มรสผู้อื่น ….

ณ ที่ใดซึ่งสรรพสิ่งได้กลายเป็นตัวตนเองแล้ว ณ ที่นั้นบุคคลที่จะเห็นใครด้วยอะไร จะได้กลิ่นใครด้วยอะไร

นี้เป็นความเข้าใจในความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง จะบรรลุได้ในสภาวะแห่งสำนึก ซึ่งปัจเจกภาพของบุคคลได้มลายลงสู่ภาวะอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ไปพ้นโลกแห่งความรู้สึกและความคิดเรื่อง "สิ่งทั้งหลายถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง" ดังที่ขงจื้อกล่าวไว้ว่า

ความเกี่ยวพันของข้าพเจ้ากับร่างกายและส่วนต่างๆสลายลง อวัยวะในการรับรู้ของข้าพเจ้าถูกละทิ้ง ปล่อยให้วัตถุธาตุก่อรูปและกล่าวคำอำลาต่อความรู้ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ากลายเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่แผ่ไพศาลอันยิ่งใหญ่นั้น สิ่งที่เรียกว่าข้าพเจ้านี้ กำลังนั่งและลืมสรรพสิ่ง

จบบทที่ 10


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง

เมื่อนักปราชญ์ตะวันออกกล่าวว่า ท่านนั่งรู้สรรพสิ่ง และเหตุการณ์ทั้งมวลเป็นการแสดงออกของเอกสภาวะอันเป็นพื้นฐาน นั่นมิได้หมายความว่าท่านเห็นทุกสิ่งเสมอเหมือนกันไปหมด

ปัจเจกภาพของแต่ละสิ่งยังคงดำรงอยู่ ทว่าในขณะเดียวกันท่านเหล่านั้นก็ตระหนักรู้ว่าข้อแตกต่างและข้อขัดแย้งทั้งหมดเป็นสิ่งสัมพัทธ์ ดำรงอยู่ในความเป็นเอกภาพ

และเนื่องจากความเป็นเอกภาพของสิ่งที่ขัดแย้งกัน และโดยเฉพาะความเป็นเอกภาพของสิ่งที่ตรงกันข้ามนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้โดยยากในสภาวะความรับรู้อย่างสามัญของเรา จึงทำให้ปรัชญาตะวันออกยังคงดูลึกลับน่าพิศวง

อย่างไรก็ดี สิ่งนี้คือญาณทัศนะซึ่งเป็นรากฐานของโลกทัศตะวันออก

ชาวพุทธก็ได้เสนอทัศนะเดียวกันเมื่อกล่าวเรียกสัจธรรมสูงสุดว่า ศูนยตา “ความว่าง” และแสดงให้เห็นว่ามันเป็นความว่างซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของรูปทุกรูปในโลกแห่งปรากฏการณ์นี้

ผู้นับถือเต๋า ถือว่าเต๋าทรงสภาพเป็นอนันต์นิรันดร์เช่นเดียวกัน และเรียกมันว่า ความว่าง

กวนจื้อ (Kua-tzu) กล่าวว่า “เต๋าแห่งสวรรค์ไร้รูปและว่างเปล่า” และเหล่าจื้อก็ได้แสดงอุปมาหลายประการเกี่ยวกับความว่างนี้

เหล่าจื้อมักจะเปรียบหุบเขาที่กว้างไพศาลนี้ หรือภาชนะซึ่งว่างเปล่าอยู่เสมอ และดังนั้นสามารถที่จะบรรจุสิ่งต่างๆ นับด้วยอนันต์

นักปราชญ์ตะวันออกได้อธิบายความหมายของ พรหมัน สุญญตา หรือ เต๋า ว่ามิได้หมายถึงความว่างเปล่าอย่างสามัญ แต่ตรงข้ามกัน มันเป็นความว่างเปล่าซึ่งทรงศักยภาพเป็นเอนกอนันต์

ดังนั้นความว่างในศาสนาตะวันออกจึงอาจนำมาเปรียบเทียบกับสนามควอนตัมในฟิสิกส์ที่ว่าดัวยอะตอม

จากความว่างได้ก่อกำเนิดแก่รูปลักษณ์ทั้งหลาย ทำให้มันคงอยู่และในที่สุดก็ได้ดูดกลืนมันกลับไป ในคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวไว้ว่า

สงบ จงบูชามัน

จากสิ่งนั้นที่เขามา

สู่สิ่งนั้นที่เขาจักต้องมลายไป

ด้วยสิ่งนั้นที่เขาหายใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นเดียวกับอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ปรากฏการณ์ต่างๆที่ปรากฏขึ้นจากความว่างในทางศาสนา มิใช่สิ่งซึ่งอยู่นิ่งและถาวร แต่มีลักษณะที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงและไม่คงตัว เกิดขึ้นและดับไปในการเริงรำอันเป็นนิรันดร์ของการเคลื่อนไหวและพลังงาน

เช่นเดียวกับโลกของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมของนักฟิสิกส์ โลกแห่งปรากฏการณ์ของศาสนาตะวันออกเป็นโลกแห่งสังสารวัฏ แห่งการเกิดและตาย เนื่องจากมีสภาพเป็นเพียงการปรากฏแสดงชั่วครั้งชั่วคราวของความว่าง สิ่งต่างๆ ในพิภพนี้จึงไม่มีเอกลักษณ์พื้นฐานใดๆ

ความคิดนี้เด่นชัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งปฏิเสธการดำรงอยู่อย่างแท้จริงของสสารวัตถุทั้งหลาย และสอนว่า “ตัวตน” ที่เที่ยงแท้ และเป็นผู้รับรู้ประสบการณ์ต่างๆของชีวิตนั้นเป็นเพียงภาพลวง

ชาวพุทธมักจะเปรียบเทียบภาพลวงตาของสสารวัตถุและตัวปัจเจกบุคคล กับปรากฏการณ์ของคลื่นน้ำ ซึ่งการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงของอนุภาคของน้ำทำให้เราเชื่อว่า “ส่วน” ของน้ำเคลื่อนที่ไปตามพื้นผิว

น่าสนใจที่ว่านักฟิสิกส์ก็ได้ใช้อุปมาเดียวกันในเรื่องของทฤษฎีสนาม เพื่อชี้ให้เห็นภาพลวงของสสารวัตถุที่กำเนิดจากอนุภาคกำลังเคลื่อนไหว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(จากหนังสือ เธอคือศานติ เขียนโดย ติช นัท ฮันห์ (พระภิกษุเวียดนาม นิกายเซน) แปลโดย สันติสุข โสภณศิริ สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง ๔๑๑-๓๗๗๔)

อวตัมสกสูตร บอกแก่เราว่า เธอไม่สามารถชี้ระบุได้เลยว่าสิ่งใดไม่มีความสัมพันธ์กับกระดาษแผ่นนี้

ดังนั้นเราจึงกล่าวว่า "กระดาษแผ่นหนึ่งสร้างขึ้นด้วยปัจจัยซึ่งไม่ใช่กระดาษ"

ก้อนเมฆเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่กระดาษ ป่าไม้เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่กระดาษ แสงอาทิตย์เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่กระดาษ กระดาษแผนนี้สร้างขึ้นด้วยมวลปัจจัยซึ่งไม่ใช่กระดาษ

จนกระทั่งว่าหากย้อนกลับคืนสู่ปัจจัยซึ่งไม่ใช่กระดาษ ไปสู่แหล่งเดิมของสิ่งเหล่านั้นแล้ว กล่าวคือ คืนก้อนเมฆสู่ท้องฟ้า คืนแสงอาทิตย์สู่ดวงตะวัน คืนคนตัดไม้ไปสู่พ่อของเขา ดังนี้แล้วกระดาษย่อมเป็นสิ่งว่างเปล่า

ว่างเปล่าจากอะไรหรือ ? ว่างเปล่าจากตัวตนหนึ่ง ซึ่งแยกขาดจากสิ่งอื่นๆ

ตัวตนย่อมประกอบขึ้นด้วยปัจจัยทั้งมวลซึ่งไม่ใช่ตัวตน ปัจจัยซึ่งไม่ใช่กระดาษ

และถ้าหากปัจจัยทั้งมวลซึ่งไม่ใช่กระดาษนี้ถูกแยกออกไป กระดาษก็กลายเป็นสิ่งว่างเปล่าอย่างแท้จริง

ว่างเปล่าจากการเป็นตัวตนอิสระ

ว่างเปล่าในแง่นี้ หมายถึงกระดาษแผ่นนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยทุกสิ่ง ประกอบขึ้นด้วยจักรวาลทั้งมวล

การปรากฎของกระดาษแผ่นเล็กๆนี้ เป็นการพิสูจน์ยืนยันแห่งการปรากฏของจักรวาลทั้งจักรวาล

ในลักษณะเดียวกัน ปัจเจกภาพย่อมประกอบขึ้นด้วยปัจจัยซึ่งไม่ใช่ปัจเจกภาพ เมื่อเธอเข้ามาอยู่ในศูนย์ปฏิบัติธรรม ความทุกข์ซึ่งเธอพกพาไว้ในจิตใจของเธอ ก็คือตัวสังคมนั่นเอง เธอทำเพื่อสังคมทั้งหมด เธอแสวงหาคำตอบให้แก่ปัญหาของเธอ ไม่ใช่เพื่อตัวเธอ หากเพื่อพวกเราทุกคนด้วย

เรามักมองข้ามใบไม้ว่าเป็นเพียงลูกๆของต้นไม้ .. ใช่ ใบไม้เหล่านั้นเป็นลูกของต้นไม้ กำเนิดมาจากต้นไม้ แต่ใบไม้เหล่านั้นก็เป็นแม่ของต้นไม้ด้วยเช่นกัน ใบไม้จะสังเคราะห์วัตถุดิบ น้ำและแร่ธาตุเข้ากับแสงอาทิตย์และอากาศ แล้วแปรเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นแม่ของต้นไม้

เราทุกคนล้วนเป็นลูกของสังคม แต่เราก็เป็นแม่ของสังคมได้ด้วยเช่นกัน เราต้องบำรุงหล่อเลี้ยงสังคม หากเราถอนรากออกจากสังคม เราก็ไม่สามารถเปลี่ยนสังคมให้กลายเป็นสถานที่น่าอยู่มากขึ้นสำหรับเรา และสำหรับลูกหลานของเราได้ ใบไม้เชื่อมโยงกับต้นไม้โดยอาศัยลำต้น ลำต้นนั้นสำคัญมาก

ฉันทำสวนอยู่ในชุมชนของเราเป็นเวลาหลายปีแล้ว และฉันรู้ว่า บางครั้งเป็นการยากลำบากที่จะปักชำกิ่งที่ตัดมาแล้ว พันธุ์ไม้บางชนิดไม่อาจขึ้นได้ง่ายๆ ดังนั้นเราจึงใช้ฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง เพื่อช่วยให้กิ่งชำเหล่านั้นงอกรากลงในดินได้ง่ายขึ้น

ฉันสงสัยว่าจะมีผงอะไรสักชนิดหนึ่ง หรือมีอะไรบางสิ่งไหม ซึ่งอาจจะพบได้ในการปฏิบัติภาวนา อันสามารถช่วยเหลือผู้คนที่ขาดราก ให้หยั่งรากลงในสังคมอีกครั้ง

การภาวนาไม่ใช่การหลีกหนีออกจากสังคม การภาวนาเป็นการสร้างเสริมบุคคลให้มีสมรรถนะที่จะกลับเข้าไปประสานกับสังคมได้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยให้ใบไม้สามารถหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนจะจบในส่วนของอวตังสกสูตร ขอปิดท้ายด้วยคำเทศน์ขององค์หลวงปู่หา หรือที่เรียกชื่อท่านโดยติดปากกันอีกชื่อหนึ่งว่า หลวงปู่ไดโนเสาร์ แห่งภูกุ่มข้าวกันนะครับ :b8: :b46: :b44:

คำเทศน์ของท่าน มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่งในการชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์ เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันของทั้งรูปธรรมและนามธรรม โดยเฉพาะเหตุปัจจัยแห่งการปฏิบัติที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อเข้าถึงโลกุตรธรรมนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:

------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------ :b46: :b39: :b46: ------

ปัญหาเกี่ยวกับพุทโธ

โยม : หลวงปู่ครับผมได้ยินพระบางรูปหรืออาจารย์บางท่าน สอนว่าพุทโธพาเราไปได้แค่พรหม ไม่สามารถพาเราไปนิพพานได้นี่ถูกต้องไหมครับ

หลวงปู่ : คุณดูนั้น (ท่านชี้มือไปที่ต้นสะเดาข้างอุโบสถ) คุณว่าต้นมะขามที่ขึ้นอยู่ข้างต้นสะเดา มันจะกลายเป็นต้นสะเดาได้ไหมหล่ะ

โยม : ไม่ได้ครับหลวงปู่

หลวงปู่ : หือ ไม่ได้หรอ เอาใหม่นะ ถ้าต้นมะขามออกใบ ออกดอก ออกผล แล้วร่วงหล่นลงมาที่โคนของต้นสะเดา ย่อยสลายกลายเป็นธาตุอาหารในดิน รากของต้นสะเดาก็ดูดเอาปุ๋ยนั้นไปหล่อเลี้ยงลำต้น ออกเป็นใบสะเดา ดอกสะเดา ผลสะเดา ผลสะเดาก็ตกลงมาเป็นต้นสะเดาเล็กๆ หลวงปู่ถามคุณอีกครั้งว่า มะขามกลายเป็นสะเดาได้ไหม

โยม : ได้ครับผมหลวงปู่

หลวงปู่ : เออ พุทโธ ที่คุณว่า ไม่พาคุณไปนิพพานหรอ แต่คุณต้องอาศัยพุทโธพาคุณไปนิพพาน

นิพพานหน่ะประตูไม่กว้างนะและก็ไม่แคบ พอดีตัวคุณเลยหล่ะ คุณจะเอาอย่างอื่นเข้าไปด้วยไม่ได้ บุญก็เข้าไม่ได้ บาปก็เข้าไม่ได้ ศีลก็เข้าไม่ได้ ธรรมก็เข้าไม่ได้ พุทโธก็เข้าไม่ได้ คุณต้องทิ้งหมด ทั้งดีทั้งชั่ว เข้าไปแค่ตัวคุณคนเดียว พุทโธ เป็นบาทเป็นฐาน เป็นสมถะที่เข้าสู่วิปัสสนา วิปัสสนาตัวปัญญานั้นถึงจะพาคุณตัดกิเลสได้ แต่วิปัสนาของคุณต้องอาศัยพุทโธ อาศัยสมถะ วิปัสนาเป็นรถ สมถะเป็นน้ำมัน รถที่ขาดน้ำมัน มันจะวิ่งไหมหล่ะ พองหนอ ยุบหนอก็ดี นะ มะ พะ ธะ ก็ดี สัมมาอรหังก็ดี ล้วนแต่เป็นปุ๋ยให้พระนิพพานเหมือนกันหมด เหมือนต้นมะขามที่กลายเป็นสะเดานั้นไง เข้าใจนะ


พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร)
เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2014, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

พอดีนึกอะไรขึ้นได้ ก่อนจะจบส่วนปูพื้นด้วยตัวอย่างในพระสูตรของมหายาน และไปต่อกันที่ภาคปฏิบัติอันเนื่องมาจากปรัชญามหายานในพระสูตรดังกล่าว :b47: :b48: :b47:

ขอแถมท้ายด้วยบทสวดพร้อมคำแปลในปรัชญาปารมิตาสูตรและมหากรุณาธารณีสูตร ที่เชื่อว่าส่วนใหญ่เคยได้ยินได้ฟังผ่านหูกันบ่อยๆ แต่อาจจะไม่ค่อยทราบในความหมายของธรรมที่ประณีตลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่งกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

และสำหรับการฟังบทสวดมนต์ที่เป็นทำนองเพลง (หรือเพลงบรรเลงผ่อนคลายเบาๆ) นี้นั้น อาจจะเหมาะกับฆราวาสบางท่าน ที่พึ่งเริ่มต้นฝึกว่ายน้ำเพื่อข้ามโอฆะด้วยการใช้เพลงบรรเลง หรือบทสวดทำนองเพลง ให้เป็นเสมือนห่วงยางหรือ swimming board สำหรับเป็นอุปกรณ์ให้จิตไว้เกาะและพยุงตัวในช่วงแรก :b48: :b49: :b50:

โดยเป็นการฟังเพื่อกล่อมจิตให้สงบ ผ่อนคลาย เกิดศรัทธา ปีติ สุข และสมาธิ :b48: :b49: :b47:

แต่ถ้าจะให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป ก็ต้องค่อยๆทิ้งห่วงยาง ทิ้ง swimming board ค่อยๆหัดวาดแขนตีขา จนว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว และข้ามฝั่งเป็นได้เอง :b49: :b48: :b55:

เพราะสำหรับการปฏิบัติในขั้นลึกๆแล้ว ห่วงยางหรือบทเพลงนี้เอง ถึงแม้โดยเนื้อหาจะเป็นบทสวดก็ตาม กลับจะกลายเป็นภาระขัดขวาง เกิดเป็นสัญญาอาการฟุ้งเข้ามาในจิต ทำให้ไม่สามารถตั้งสมาธิให้มั่นได้ในระดับลึก :b44: :b50: :b45:

ทั้งการมีจิตที่ตั้งมั่นระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน หรือระหว่างการทำสมาธิในเวลาและรูปแบบที่กำหนด :b49: :b48: :b54:

(ซึ่งการฟังหรือการสวดมนต์ประกอบด้วยทำนองตรงนี้ พระบรมครูถึงกับทรงระบุไว้ว่าเป็นโทษอันเป็นเหตุให้สมาธิไม่ตั้งมั่น คือ "สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป" ไม่ว่าผู้ฟังหรือผู้สวดก็ตาม พร้อมกำหนดเป็นข้อห้ามในพระวินัยของพระภิกษุโดยตรงเลยนะครับ
:b1: :b46: :b39:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=152&Z=173
ดูขยายความได้ในพระอรรถกถา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=1

ส่วนเสขะฆราวาสที่ยังดูหนังฟังเพลงอยู่ เมื่อปฏิบัติจากขั้นสกทาคามีไปสู่ขั้นอนาคามี จะเห็นโทษของการดูหนังฟังเพลงได้เองอย่างลึกซึ้งเลยว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขวางทางไปสู่มรรคผลที่สูงขึ้นไป เป็นสิ่งที่ควรละ เพราะทำให้จิตฟุ้งไม่ตั้งมั่น :b49: :b55: :b49:

ซึ่งปัญญาที่เห็นโทษจากประสบการณ์ปฏิบัติโดยตรงตรงนี้ ก็จะส่งผลให้มีศีลแปดข้อที่เจ็ด (นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสะนา ฯลฯ) อยู่ได้อย่างเบิกบานเป็นปรกติจิต โดยไม่ต้องฝืนต้องถือให้เป็นภาระหนักขึ้นในใจ) :b48: :b49: :b50:

อีกทั้งสำหรับการกล่อมจิตสร้างศรัทธาจากบทสวดทำนองเพลง ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องแปรศรัทธาที่เกิดจากการฟังบทสวดในช่วงแรกนั้น ให้กลายเป็นศรัทธาที่เกิดจากการปฏิบัติผ่านการเรียนรู้กายใจ

จนสามารถก้าวข้ามศรัทธาไปได้เพราะเกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง สามารถเข้าใจในความหมายของบทสวดได้อย่างลึกซึ้ง จนจิตว่างจากตัวตนและทรงสมาธิตั้งมั่น สามารถรับรู้โลก และอยู่กับความบีบคั้นทางโลกได้ด้วยจิตที่ทรงอุเบกขาอย่างปรกติ เป็นกลาง และเบิกบาน "ด้วยปัญญา" ได้โดยไม่ต้องอาศัยบทเพลงเข้ามาเพื่อชักจูงและกล่อมจิตในที่สุดนะครับ
:b1: :b46: :b39:

ปล. คำสวดและคำแปลไทย พยายามเรียบเรียง สืบค้น และสอบทานจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ความหมายใกล้เคียงที่สุด ถ้าผู้รู้ผู้ใดพบเจอที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน รบกวนแจ้งให้ทราบด้วยนะครับเพื่อจะได้ทำการแก้ไขต่อไป :b8: :b46: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 10 ต.ค. 2014, 23:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2014, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




ป รั ช ญ า ป า ร มิ ต า ห ฤ ทั ย สู ต ร

(พระสูตรแห่งปัญญา อันเป็นหัวใจที่นำพาไปให้ถึงฝั่ง คือพระนิพพาน)

คเต คเต ปาระคเต .. ปาระสังคเต โพธิ สวาหา
ไปเถิด ไปเถิด ไปสู่ฝั่งโน้นเถิด .. สู่ความเป็นโพธิ .. คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เขาคิชคูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ และพระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงฝึกสมาธิชื่อว่าคัมภีร์ราวสังโฆแท้

อารยาวะ โลกิเตศวรา โพธิสัตตจัว
สมัยนั้นแล พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

กรรมบิรัม ปรัชญา ปารมิตา จารัม จารา มาโน
ทรงประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง

วียาวะ โลกิติสมา ปัญจะ สขันธา อะสัตตะสัจวา สวภาวะ ศูนิยะ ปาสัสติสมา
พิจารณาอยู่อย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าไม่เป็นสัตว์บุคคลตัวตน มีความสูญ ว่างเปล่าจากตัวตนโดยสภาพ,
จึงข้ามพ้นไปจากความทุกข์ทั้งหลาย

ลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวต่อ พระอริยะอวโลกิเตศวโพธิสัตว์ด้วยพุทธานุภาพว่า
กุลบุตร หรือ กุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้งนั้นจะพึงศึกษาอย่างไร
พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์อันท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้วได้กล่าวตอบท่านสารีบุตรว่า

อีฮา สารีปุตรา
ท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง
เขาพึงพิจารณาอย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าไม่เป็นสัตว์บุคคลตัวตน มีความสูญ ว่างเปล่าจากตัวตนโดยสภาพ

รูปัง ศูนยะ .. ศูนิยะตา อีวารูปัง
รูปคือความสูญ .. ความสูญนั่นแหละคือรูป

รูปานา เวทะศูนิยะตา .. ศูนยา นายะนา เวทะซารูปัง
รูปไม่อื่นไปจากความสูญ .. ความสูญไม่อื่นไปจากรูป

ยารูปัง สา ศูนิยะตะยา .. ศูนิยะตา ซารูปัง
รูปอันใดความสูญก็อันนั้น .. ความสูญอันใด รูปก็อันนั้น

อีวัม อีวา เวทนา สัญญา สังขารา วิญญาณัม
อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือความสูญ ว่างเปล่าจากตัวตน เช่นเดียวกัน

อีฮา สารีปุตรา สรรพะธัมมา ศูนิยะตะ ลักษณา
ท่านสารีบุตร ธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีความสูญ มีความว่างเปล่าจากตัวตน เป็นลักษณะ

อนุตปันนา .. อนิรูปยา
ไม่เกิด .. ไม่ดับ

อะมะลา .. อะวิมาลา
ไม่มัวหมอง .. ไม่ผ่องแผ้ว

อะนุนา .. อาปาริปุนา
ไม่เพิ่ม .. ไม่ลด, ไม่หย่อน .. ไม่เต็ม ดังนี้

ตัสมาตะ สารีปุตรา .. ศูนิยะตายะ นารูปัง
เพราะฉะนั้นแหละ ท่านสารีบุตร .. ในความสูญ ในความว่างเปล่าจากตัวตน จึงไม่มีรูป

นาเวทนา นาสัญญา นาสังขารา นาวิญญานัม
ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ

นาจักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มานา
ไม่มีตา ไม่มีหู ไม่มีจมูก ไม่มีลิ้น ไม่มีกาย ไม่มีใจ

ซานะรูปัง สัพพะ กันดา รัสสัส สปัตตา วียะธัมมา
ไม่มีรูป ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีโผฏฐัพพะ ไม่มีธรรมารมณ์

นาจักษุ ธาตุ ยาวันนะ มโนวิญญานัม ธาตุ
ไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนวิญญาณธาตุ

นาวิทยา นาอวิทยา .. จาโย ยาวันนา
ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา .. ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และไม่มีความสิ้นไปแห่งอวิชชา

จาระ มรณัม .. นาจาระมรณัม จาโย
จนถึงไม่มีความแก่ ไม่มีความตาย .. ไม่มีความสิ้นไปแห่งความแก่และความตาย

นาทุกขา สมุทายา นิโรคา มรรคา
ไม่มีทุกข์ ไม่มีสมุทัย ไม่มีนิโรธ ไม่มีมรรค

นาญานัม นาปรัปติ นาอะบิส สะมะยัง
ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ

ตัสมานา ปรัตติตวา โพธิสัตวานัม ปรัชญา ปารมิตา
เพราะไม่มีอะไรจะให้บรรลุ หรือไม่บรรลุ ดังนั้น ผู้ดำเนินตามปรัชญาปารมิตาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว

อาสริตยะ วิหะรัตยะ จิตตา อะวะระณะ
จิตย่อมไม่สับสนมืดมัว

จิตตา อะวะระณา นัสติ ตวานะ ทรัสโต
เพราะจิตไม่สับสนมืดมัว จึงไม่มีความสะดุ้งกลัว

วิปาริยาซา อาติกันตา นิสทรา นิรวาณัม
อยู่เหนือความหลอกลวง ก้าวล่วงความขัดข้อง ไม่มีกิเลสห่อหุ้มจิต สำเร็จพระนิพพานได้

ตรียาวะ เรียวะ สิทธะ สาวา พุทธา ปรัชญา ปารมิตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงผู้ตั้งอยู่ในกาลทั้งสาม ทรงดำเนินตามปรัชญาปารมิตา

อาสวิชชะ อนุตตะระ สัมยัก สัมโพธิ อะปี สัมโพธา
จึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ตัสมาตะ เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา
เพราะฉะนั้น จึงทราบมหามนต์ ในปรัชญาปารมิตา

มหาวิทยะมันทรา อนุตตระมันทรา อสมา สมาธิมันทรา
อันเป็นมหาวิทยามนต์ (มนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่) อนุตตระมนต์ (มนต์แห่งความรู้แจ้ง)
อะสัมมสมาธิมนต์ (มนต์สูงสุดที่หาใดเปรียบได้ไม่)

สัพยา ทุกขา ปรัชญา มานา สักยัง อามิ เจีย จวา
ที่ซึ่งสรรพทุกข์ สามารถดับได้ด้วยปัญญานี้ อันเป็นสัจจธรรม ที่ไม่ผิดพลาด

ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติยะตา
ฉะนั้นจึงป่าวประกาศ ตามที่ท่านกล่าวไว้ในปรัชญาปารมิตามนต์ นั้นคือ

คเต คเต ปาระคเต .. ปาระสังคเต โพธิ สวาหา
ไปเถิด ไปเถิด ไปสู่ฝั่งโน้นเถิด .. สู่ความเป็นโพธิ .. คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


ท่านสารีบุตร สัตว์ผู้จะตรัสรู้ พึงศึกษาจริยาในปรัชญาปารมิตาอย่างนี้
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว
ได้ประทานสาธุการ แก่พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่า
ถูกแล้ว ถูกแล้ว กุลบุตร ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กุลบุตร จริยาในปรัชญาปารมิตา อันลึกซึ้งนั้น
อันบุคคลพึงประพฤติอย่างนี้ พระตถาคตอรหันต์เจ้าทั้งหลาย
ย่อมทรงอนุโมทนาอย่างที่ท่านยกขึ้นแสดงแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้จบลงแล้ว ท่านพระสารีบุตร พระอริยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
บริษัทอันมีประชุมชนทุกเหล่า และสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ก็มีใจเบิกบาน
ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้ แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2014, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คาถาหัวใจมหากรุณาธารณีสูตร (ทิเบต)

นะ โม รัตนะ ตรา ยา ยะ / นะ โม อริยา ชยา นะ / สัก กา รา / ไว โร จา นะ
ขอนอบน้อมสักการะแด่พระรัตนตรัย ขอนอบน้อมสักการะแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากกิเลสบาปอกุศล

โย กะ ระ ชา ยะ / ตะ ถา กะ ตา ยะ / อะ ระ หะ เต / สัม ยัค สัม พุท ธา ยะ
ผู้เป็นธรรมะราชา ผู้ไปเช่นนั้น ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้เป็นพุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

นะ โม สัต ตะ วา ตะ ถา คะ เต เป / อะ ระ หะ เต เป / สัม ยัค สัม พุท เธ เป
ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต ผู้ไปเช่นนั้น ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้เป็นพุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

นะ โม อริ ยะ อวะ โล กิ เต ศว ระ ยา / โพ ธิ สัต วา ยะ / มหา สัต วา ยา / มหา กรุ ณิ กา ยะ
ขอนอบน้อมแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้เป็นมหาสัตว์ ผู้มีพระมหากรุณาอันไม่มีประมาณ

กา ริ ยะ ถา / โอม ธา รา ธา ระ / ถิ ริ ถิ รี / ธุ รู ธุ รู
ดังนั้น ด้วยคำว่า โอม อันเป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์ เป็นมูลฐานของธารณี (การทรง( พระธรรม) ไว้ คือบทสวด) ทั้งมวล เป็นศูนย์รวมที่มั่นคงแห่งสรรพสิ่ง เป็นเครื่องรับภาระเพื่อสรรพสัตว์

อิท ธิ เว อิท ธิ ชา เล ชา เล / กุ ระ ชา เล กุ ระ ชา เล / กุส สุ เม กุส สุ มา วา เร /
อิ ริ มิ ริช / ชิ ติ ชวะ รัม / อะ ปะ ระ ยะ สวาหา

มีพลังทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยรอบ ปลุกมนุษย์ให้ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่ นำพาเข้าสู่พระสัทธรรมอันเป็นมงคลบริสุทธิ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2014, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




มหากรุณาธารณีสูตร (จีน)

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)

“นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี

ซูตัน นอตันเซ
นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
นำมอ นอลา กินซี

ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
สะพอ ออทอ เตาซีพง
ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา

ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน

กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี

ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ

ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย

ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ

นำมอห่อลาตัน นอตอลาเหย่เย
นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
งัน สิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ”


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 64, 65, 66, 67, 68, 69, 70 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร