วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 04:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี“กิเลสเพียงดังเนิน”
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้

เรานั้นจึงน้อมจิตไปเพื่อ “จุตูปปาตญาณ”
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด
ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี

ด้วย“ตาทิพย์” อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ที่เป็นไปตามกรรมว่า
“หมู่สัตว์ที่ประกอบ....
“กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต”
กล่าวร้ายพระอริยะ
มี“ความเห็นผิด” และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด

พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน“อบาย ทุคติ วินิบาต นรก”


และหมู่สัตว์ที่ประกอบ....
“กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต”
ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ
มี“ความเห็นชอบ” และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นชอบ
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน“สุคติ โลกสวรรค์ ”

เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด
ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
คือรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ที่เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล

เราบรรลุ“วิชชาที่ ๒” นี้ ใน“มัชฌิมยาม” แห่งราตรี

กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น
กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




001.jpg
001.jpg [ 22.09 KiB | เปิดดู 3437 ครั้ง ]
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี“กิเลสเพียงดังเนิน”
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้

เรานั้นจึงน้อมจิตไปเพื่อ “อาสวักขยญาณ”

ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า .........
....นี้ทุกข์
....นี้ทุกข์สมุทัย
....นี้ทุกขนิโรธ
....นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

....เหล่านี้อาสวะ
....นี้อาสวสมุทัย
....นี้อาสวนิโรธ
....นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้น .......
แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า
“หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี”

เราบรรลุ“วิชชาที่ ๓” นี้ ใน“ปัจฉิมยาม” แห่งราตรี

กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น
กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




001.jpg
001.jpg [ 22.09 KiB | เปิดดู 3435 ครั้ง ]
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี“กิเลสเพียงดังเนิน”
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้

เรานั้นจึงน้อมจิตไปเพื่อ “อาสวักขยญาณ”

ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า .........
....นี้ทุกข์
....นี้ทุกข์สมุทัย
....นี้ทุกขนิโรธ
....นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

....เหล่านี้อาสวะ
....นี้อาสวสมุทัย
....นี้อาสวนิโรธ
....นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้น .......
แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า
“หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี”

เราบรรลุ“วิชชาที่ ๓” นี้ ใน“ปัจฉิมยาม” แห่งราตรี

กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น
กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุรุษนั้นเป็นบัณฑิตในที่ทุกสถานก็หาไม่

แม้สตรีผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์

ก็เป็นบัณฑิตได้ในสถานที่นั้น ๆ

วิมุติญาณทัสนะมีในบุรุษได้อย่างไร

สตรีก็ยังวิมุติญาณทัสนะให้สำเร็จได้อย่างนั้นแล



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะชื่อสักระ
ในแคว้นสักกะของชาวศากยะทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์เทียวนะ พระเจ้าข้า.





ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น
ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว

ดูกรอานนท์
อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.



เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 28 พ.ย. 2009, 19:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง

สิ่งที่เป็นเบื้องต้นเป็นนิมิตมาก่อน
เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ
คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ
เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น
เพื่อความไม่เสื่อมสูญ
เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?




ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรอานนท์
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.





ดูกรอานนท์
ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้

ด้วยว่า
เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ
ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร

ดูกรอานนท์
ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว
พึงประพฤติสม่ำเสมอ
เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม
มีปกติประพฤติประเสริฐ
วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก,
บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




6-3.gif
6-3.gif [ 80.48 KiB | เปิดดู 3341 ครั้ง ]
:b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: :b41: :b45: :b45: tongue


ราคะ แล โทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ
ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยอง
เกิดแต่อัตภาพนี้

ความตรึกในใจเกิดแต่อัตภาพนี้แล้ว
ดักจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น






รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: กาลใดฝึกจิตได้ :b42: :b42: ถูกตรง :b42: หมดจด
ละฝุ่นหมกมุ่นลง :b42: :b42: :b42: :b42: ไป่ได้
ราคะโกรธและหลง :b42: :b42: :b42: มิอยู่ :b42: ในใจ
กาลนั่นความหวลให้ :b42: :b42: :b42: โศกเศร้าสิ้นแล

:b41: บัณฑิตจิตมั่นล้วน :b42: :b42: ทรงฌาน :b42: มิห่าง
เพียรก่อส่งเสริมญาณ :b42: :b42: :b42: เพิ่มแล้ว
ปีติสุขในกาล :b42: :b42: :b42: :b42: มากยิ่ง :b42: อินทรีย์
พละที่ก่อเกิดแก้ว :b42: :b42: :b42: แจ่มจ้าคือญาณ





:b41: ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ
ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก
พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
พึงเข้าไปตัดความตรึก
และตัดธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: บัณฑิตจิตมั่นล้วน :b42: :b42: ศิลา
บ่ หวั่นแรงลมพา :b42: :b42: :b42: :b42: โยกได้
กิเลสและตัณหา :b42: :b42: :b42: :b42: ฤๅกร่อน :b42: จิตตน
กลับก่อนาบุญให้ :b42: :b42: :b42: :b42: มนุษย์นั้นเก็บบุญ

:b41: อรรถธรรมนิรุติข้อ :b42: :b42: เทศนา
โดยสดับถ้อยนั้นมา :b42: :b42: :b42: ใส่เกล้า
ปฏิบัติวิปัสสนา :b42: :b42: :b42: :b42: จากพุทธ์ :b42: วาที
ญาณย่อมน้อมธรรมเจ้า :b42: :b42: :b42: มั่นตั้ง บ่ คลอน




[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ
... จากสัญญาธาตุ
... จากสังขารธาตุ
... จากวิญญาณธาตุ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่
เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี




:b41: เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ

หากว่าวาจาแม้ตั้งพัน

ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้

บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่ง

ที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประเสริฐกว่า



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มากจาก กองดอกไม้แม้ฉันใด
มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มากฉันนั้น.

กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์หรือกลิ่นกฤษณาและกลัมพักก็ฟุ้งไปไม่ได้
แต่กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้
กลิ่นจันทน์ก็ดีแม้กลิ่นกฤษณาก็ดี
กลิ่นอุบลก็ดี
กลิ่นมะลิก็ดี
กลิ่นศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาตนั่น.

กลิ่นนี้ คือกลิ่นกลัมพัก และกลิ่นจันทน์เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย
ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลายเป็นกลิ่นชั้นสูง
ย่อมหอมฟุ้งไปในเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์.

มารย่อมไม่ประสบทางของท่านผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว
มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบเหล่านั้น.

ดอกบัวมีกลิ่นดี
พึงเกิดในกองหยากเยื่ออันบุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่
ดอกบัวนั้นพึงเป็นที่ชอบใจฉันใด
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อปุถุชน
เป็นดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว
ย่อมไพโรจน์ล่วงซึ่งปุถุชนผู้มืดทั้งหลายด้วยปัญญาฉันนั้น.



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร