วันเวลาปัจจุบัน 10 ก.ย. 2024, 16:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




92.jpg
92.jpg [ 77.18 KiB | เปิดดู 6968 ครั้ง ]
คติเกี่ยวกับสังฆทาน


สังฆทาน

ทาน คือ การให้ ในทางพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๒ อย่างคือ

ให้แก่บุคคลหรือให้เจาะจงจำเพาะตัวผู้นั้น เรียกว่า ปาฏิปุคคลิกทาน

และให้แก่สงฆ์ หรือให้มุ่งเพื่อส่วนรวม เรียกว่า สังฆทาน

คำสอนในเรื่องนี้มีว่า สำหรับการให้แก่บุคคล

การให้แก่คนชั่วหรือคนมีคุณความดีน้อย มีผลน้อย

การให้แก่คนมีคุณความดีมาก มีผลมาก

แต่การให้แก่ส่วนรวมหรือสงฆ์ มีผลมากกว่าการให้แก่บุคคลไม่ว่ากรณีใดๆ

พระพุทธเจ้าทรงแยกประเภทปาฏิปุคคลิกทาน หรือ การให้แก่บุคคลออกไป เช่น

ให้แก่พระพุทธเจ้า

ให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ให้แก่พระอรหันต์สาวก ตลอดลงไปจนถึงให้แก่ปุถุชนมีศีล

ปุถุชนทุศีล

และให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน

ทรงเปรียบเทียบว่า ให้แก่สัตว์ดิรัจฉานมีคุณความดีเป็นร้อย

ให้แก่ปุถุชนทุศีล มีคุณความดีเป็นพัน

ให้แก่ปุถุชนมีศีล มีคุณความดีเป็นแสน

ให้แก่นักบวชภายนอกที่ไม่มีราคะ มีคุณความดีเป็นโกฏิ

ให้แก่พระโสดาบัน มีคุณเป็นอสงไขย

ให้แก่บุคคลมีคุณความดียิ่งกว่านั้นไปเป็นอันไม่ต้องพูดถึง

ส่วนของที่ให้เพื่อสงฆ์ก็อาจจะถวายแก่สงฆ์สองฝ่าย (ภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์)

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งนับว่าเป็นสังฆทานขั้นครบถ้วนที่สุด

ถัดจากนั้น ก็อาจถวายแก่สงฆ์สองฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว

ตลอดลงมา จนถึงถวายโดยให้จัดภิกษุหรือภิกษุณี จำนวนเท่านั้นเท่านี้จากสงฆ์มารับ

(เป็นตัวแทนสงฆ์โดยไม่เจาะจงว่าองค์นั้นองค์นี้)

หรือแม้แต่เมื่อกาลเวลาล่วงไปนาน ธรรมวินัยจวนจะสิ้น

จะถวายแก่พวกพระทุศีลเหลือแต่ผ้าเหลืองห้อยคอ แต่ถวายในนามของสงฆ์ ก็มีผลมากมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงสรุปว่า

“เราไม่กล่าวว่า ปาฏิปุคคลิกทาน (ให้แก่บุคคล) มีผลมากกว่าของที่ให้แก่สงฆ์ โดยปริยายใดๆเลย”

(ม.อุ.14/710-713/458-461 ฯลฯ)


พระพุทธเจ้าเคยทรงสนทนากับคฤหบดีคนหนึ่งในเรื่องนี้

พระองค์ตรัสถามว่า

“นี่แนะท่านคฤหบดี ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ?


คฤหบดีทูลตอบว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังให้อยู่ และ ทานนั้น

ข้าพระองค์ให้ในพระภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร

ถือบิณฑบาตเป็นวัตร

ถือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ซึ่งเป็นพระอรหันต์หรือบรรลุอรหัตมรรค”


พระพุทธเจ้า ได้ตรัสแนะนำว่า

ท่านคฤหบดีเป็นคฤหัสถ์ อยู่ครองเรือน ยุ่งอยู่กับครอบครัว

ยากที่จะรู้ได้ว่า พระองค์ไหนเป็นพระอรหันต์ หรือบรรลุอรหัตมรรค

ไม่ว่าพระอยู่ป่าหรือพระอยู่ถิ่นบ้าน

ไม่ว่าพระถือบิณฑบาตหรือรับนิมนต์

ไม่ว่าพระถือห่มผ้าบังสุกุล

หรือพระห่มจีวรที่คฤหบดีถวาย

ถ้าเป็นคนฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อเหิม ปากกล้า พูดเลอะ สติเฟือน ไม่มีสัมปชัญญะ ใจไม่ตั้งมั่น

จิตพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์ ก็น่าติเตียนทั้งนั้น

ถ้าไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่เห่อเหิม ไม่ปากกล้า ไม่พูดเลอะ มีสติมั่น มีสัมปชัญญะ

ใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ ก็น่าสรรเสริญทั้งนั้น

แล้วตรัสเชิญชวนคฤหบดีให้ให้ทานในสงฆ์

เมื่อให้ทานในสงฆ์ จิตจักผ่องใส

เมื่อจิตผ่องใส ตายก็ถึงสุคติ


(องฺ.ฉกฺก.22/330/437)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ต.ค. 2009, 19:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความว่า การแสดงออกและการปฏิบัติของพระภิกษุ

นอกจากมุ่งเพื่อฝึกอบรมตนแล้ว พึงคำนึงถึงประโยชน์สุขของสงฆ์และประชาชน

อย่างน้อยที่สุด

ในขั้นต้น จะต้องทำให้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับตน หรือ คนที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง

มีจิตใจปลอดโปร่งเบิกบาน ผ่องใสด้วยข้อปฏิบัติทางวินัย

ขั้นต่อไป ถ้าสามารถยิ่งกว่านั้น ก็พึงทำให้เขาเจริญงอกงามขึ้นโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

และปัญญา ด้วยการแนะสั่งสอน

พูดอีกอย่างหนึ่ง พระภิกษุมีหน้าที่เพื่อชาวบ้านอยู่ ๒ ด้าน

หน้าที่ทางวินัย ได้แก่ทำจิตใจของประชาชนให้ผ่องใสด้วยศีลวัตร และหน้าที่ทางธรรม

ได้แก่ นำเอาความจริง ความดีงามไปเผยแผ่ให้เขาเจริญยิ่งขึ้นไป

ส่วนคฤหัสถ์ คือชาวบ้าน เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับพระภิกษุ พึงมุ่งเพื่อประโยชน์ทางจิตใจ

ที่จะได้รับสิ่ง ซึ่งทำให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในธรรม

และเมื่อจะอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุ พึงคำนึงถึงประโยชน์ที่สงฆ์จะได้รับ

แม้ในกรณีที่เป็นปาฏิบุคลิก เมื่อจะเลือกเกี่ยวข้องหรือบำรุงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ก็พึงทำด้วยประสงค์ ที่จะให้สงฆ์ดำรงอยู่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก

ตลอดกาลยาวนาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเคารพในสงฆ์ การถือสงฆ์และกิจของสงฆ์เป็นใหญ่

การถือความเจริญมั่นคงของสงฆ์ หรือ ประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นสำคัญ

และการมีความรับผิดชอบอย่างสูงต่อสงฆ์และประโยชน์สุขของสงฆ์

เจตนารมณ์นี้ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัตินำเป็นแบบอย่างไว้แล้ว

ความเคารพในสงฆ์ มีความหมายเนื่องอยู่ด้วยกันกับความเคารพในธรรม

และความเคารพในวินัย หรือความเคารพธรรมวินัย เพราะการรับผิดชอบต่อสงฆ์และปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์สุขแห่งสงฆ์ ก็คือการปฏิบัติที่ชอบด้วยธรรม และเป็นไปตามวินัย

การมีความรับผิดชอบต่อสงฆ์และประโยชน์สุขของสงฆ์

มีความหมายเนื่องอยู่ด้วยกันกับการปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของมหูชน เพราะสงฆ์หมาย

ถึงส่วนรวมและสงฆ์ได้มีขึ้นก็เพื่อประโยชน์สุขของพหูชน

พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำในการปฏิบัติเช่นนี้ ดังพุทธพจน์ว่า

“ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง

สักการะเคารพ นอบน้อมธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นตราชู เป็นธรรมาธิปไตย

จัดการรักษา คุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม แก่ภิกษุ...ภิกษุณี...อุบาสก...อุบาสิกาทั้งหลาย

โดยนัยว่า กายกรรม...วจีกรรม...มโนกรรม..อาชีวะ...คามนิคม อย่างนี้ควรเสพ

อย่างนี้ไม่ควรเสพ”

(องฺ.ปญฺจก.22/133/168 ฯลฯ)


“เราสักการะ เคารพ อาศัยธรรมที่ได้ตรัสรู้นั่นเองเป็นอยู่ และเมื่อใดสงฆ์ประกอบด้วยความเติบใหญ่

เมื่อนั้น เราย่อมมีความเคารพแม้ในสงฆ์”


(องฺ.จตุกฺก.21/21/27)


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


ด้วยเหตุนี้เมื่อมีภิกษุจำนวนมากขึ้น เจริญด้วยความรู้และประสบการณ์

คณะสงฆ์แพร่หลายขยายกว้างขวางออกไป

พระพุทธเจ้าจึงได้บัญญัติสังฆกรรมประเภทต่างๆขึ้น และทรงมอบอำนาจให้ที่ประชุมสงฆ์

เป็นใหญ่ในสังฆกรรมเหล่านั้น

เริ่มแต่ทรงยกเลิกการให้อุปสมบทโดยพระองค์เองและโดยพระสาวกรายบุคคล

เปลี่ยนเป็นการให้อุปสมบทโดยสงฆ์ เป็นต้น


(วินย. 4/85/103)


ดังนั้น เมื่อนางมหาปชาบดีโคตมี นำคู่ผ้าชุดใหม่ที่ทรงตัดเย็บเอง

เข้ามาถวายแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

“ดูกรพระนางโคตมี โปรดทรงถวายแก่สงฆ์เถิด

เมื่อท่านถวายสงฆ์ ทั้งเราทั้งสงฆ์ จักเป็นอันได้รับการบูชา”


(ม.อุ.14/707/457)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 04 ต.ค. 2009, 21:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุอวดอุตริมนุสสธรรมมีที่มา... ?



บทบัญญัติในวินัยซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ที่มุ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ให้ความสำคัญแก่สงฆ์

ที่ควรกล่าวไว้ในที่นี้ได้แก่ พุทธบัญญัติไม่ให้ภิกษุอวด อุตริมนุสสธรรม คือคุณวิเศษ

หรือการบรรลุธรรมอย่างสูงสุดที่เกินปกติของมนุษย์สามัญ เช่น สมาธิ ฌาน สมาบัติ มรรคผล

ถ้าอวดโดยที่ตนไม่มีคุณวิเศษนั้นจริง คือหลอกเขา ย่อมต้องอาบัติปาราชิก

ขาดจากความเป็นภิกษุ - (วินย. 1/227-231/165-171) แต่ถึงแม้ว่าจะได้บรรลุคุณวิเศษนั้น

จริง

ถ้าพูดอวดหรือบอกกล่าวแก่ชาวบ้าน หรือผู้อื่นใดที่มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี ก็ไม่พ้นเป็นความผิด

เพียงแต่เบาลงมา เป็นอาบัติปาจิตตีย์ -(วินย.2/304-5/208-211)

ต้นเหตุที่จะให้มีพุทธบัญญัตินี้ เกิดจากในคราวทุพภิกขภัย

ภิกษุพวกหนึ่ง คิดหาอุบายจะให้พวกตนมีอาหารฉันโดยไม่ลำบาก จึงกล่าวสรรเสริญกันและกัน

ให้ชาวบ้านฟังตามที่เป็นจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ว่าท่านรูปนั้นได้ฌาน

ท่านรูปนี้เป็นโสดาบัน

ท่านรูปนั้นเป็นพระอรหันต์

ท่านรูปนั้นได้อภิญญา ๖ เป็นต้น

ชาวบ้านพากันเลื่อมใสพากันบำรุงเลี้ยงภิกษุกลุ่มนั้นอย่างบริบูรณ์

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นห้าม โดยทรงติเตียนว่าไม่สมควร

ที่จะอวดอ้างคุณความดีพิเศษกันเพราะเห็นแก่ท้อง และสำหรับผู้ที่อวดอ้างโดยไม่เป็นจริง

ทรงติเตียนอย่างรุนแรงว่า เป็นมหาโจรที่เลวร้ายที่สุดในโลก เพราะบริโภคอาหารของชาวบ้านชาวเมือง

โดยฐานขโมย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 17:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทรงบัญญัติอีกข้อหนึ่ง ในจำพวกห้ามอวดอุตริมนุสสธรรม คือ สิกขาบทที่มิให้ภิกษุแสดง

อิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน

ภิกษุใดแสดงภิกษุนั้นมีความผิด ต้องอาบัติทุกกฎ - (วินย.7/29-33/12-16)

ต้นเหตุเกิดจากเศรษฐีท่านหนึ่ง เอาบาตรไม้จันทร์แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่

แล้วประกาศท้าพิสูจน์ว่า ใครเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์จริงก็ขอถวายบาตรนั้น

แต่ให้เหาะไปเอาลงมาเอง

พระปิณโฑลภารัทวาชะได้ยินคำท้า ประสงค์จะรักษาเกียรติของพระศาสนา

จึงเหาะขึ้นไปเอาบาตรลงมา ทำให้ชาวบ้านตื่นเต้นเลื่อมใสกันมาก

พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม โดยทรงตำหนิว่า ไม่สมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ซึ่งเป็นธรรมล้ำสามัญมนุษย์ เพราะเห็นแก่บาตรที่เป็นของมีค่าต่ำ

ทรงเปรียบการทำเช่นนั้นว่า เป็นเหมือนสตรีที่เผยอวัยวะที่สงวนให้เขาดูเพราะเห็นแก่เงินทอง

ของต่ำทราม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามเรื่องที่เกิดขึ้น เหตุผลส่วนที่ปรากฏชัด ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปรารภก่อน

ที่จะบัญญัติสิกขาบทเหล่านี้ ก็คือ เป็นการไม่สมควรที่จะอวดคุณความดีและความเก่งกล้าสามารถ

พิเศษของตน เพราะเห็นแก่ลาภ สักการะ หรือ ผลประโยชน์ต่างๆ

แต่ในเวลาที่ทรงบัญญัติจริง ปรากฎว่าทรงเปิดกว้างให้สิกขาบทนั้น มีขอบเขตครอบคลุมเหตุจูงใจ

ทุกอย่าง ไม่จำกัดเฉพาะการอวดหรือแสดงเพราะเห็นแก่ลาภ สักการะ และผลประโยชน์

ที่จะได้เท่านั้น

ในเรื่องนี้ เพื่อเสริมความเข้าใจให้กว้างขึ้น สมควรที่จะพิจารณาถึงเจตนารมณ์ที่ลึกซึ้งลงไปอีกด้วย

เช่น การที่ไม่ทรงประสงค์ให้ประชาชนตื่นเต้นหลงใหลกับสิ่งที่เข้าใจว่าสูงส่งเกินวิสัยของตน

แล้วหันไปคิดพึ่งพาฝากความหวังไว้กับผู้อื่น สิ่งอื่น จนละเลยการเพียรพยายามทำตามเหตุผล

ที่เป็นวิสัยของตน ดังนี้เป็นต้น

แต่สิ่งที่ควรพูดถึงในที่นี้ก็คือ เจตนารมณ์ที่คำนึงถึงสงฆ์

ตามหลักการของพระพุทธศาสนา การดำรงอยู่แห่งธรรมวินัย เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกนั้น

ขึ้นอยู่กับสงฆ์ที่เป็นส่วนรวม

การที่จะสืบต่อพระศาสนาหรือรักษาธรรมวินัย จึงต้องทำให้สงฆ์คงอยู่ยั่งยืน

พูดอย่างชาวบ้านว่า พระพุทธเจ้าทรงฝากธรรมวินัยไว้กับสงฆ์ มิใช่ไว้กับบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง

ซึ่งไม่อาจคงอยู่ได้นาน

พระพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมายให้ประชาชนทำนุบำรุงภิกษุทั้งหลายและสัมพันธ์กับภิกษุทั้งหลาย

ในฐานะที่เป็นสงฆ์

ให้ทานบำรุงและสัมพันธ์กับพระภิกษุ ในฐานะที่ท่านเป็นภิกษุรูปหนึ่งหรือ เป็นตัวแทนผู้หนึ่ง

ของสงฆ์ ไม่ใช่ในฐานะบุคคลชื่อ ก. ชื่อ ข. ชื่อ ค.

แม้ว่าภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหรือบางรูปเก่งกล้าสามารถหรือบรรลุธรรมวิเศษ

ความสัมพันธ์ของท่านกับประชาชนก็จะแสดงออกทางสงฆ์ หรือผ่านสงฆ์

ให้สงฆ์มีส่วนร่วมในผลสำเร็จของท่านด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำพูดนี้พอจะมองเห็นได้ไม่ยาก ในกรณีที่ภิกษุรูปหนึ่งมีความดีงามความสามารถพิเศษ

ถ้าความดีงามความสามารถนั้นเป็นไปในฐานะที่ท่านเป็นภิกษุรูปหนึ่ง

ผลได้ที่มีมาถึงภิกษุรูปนั้นจะมีมาถึงสงฆ์ด้วย หรือสงฆ์จะมีส่วนได้รับผลด้วย

สงฆ์จะเจริญงอกงามไปกับภิกษุรูปนั้น

แต่ในทางตรงข้าม ถ้าความดีงามความสามารถของภิกษุรูปนั้น

แสดงออกในฐานะบุคคลผู้มีชื่อนี้โดยเฉพาะ เป็นพวกกลุ่มนั้นกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

ภิกษุนั้นจะเจริญเติบโตขึ้น แต่เป็นเจริญเติบโตส่วนตัว หรือ เฉพาะกลุ่มของตัว

ที่บั่นรอนให้สงฆ์ซูบโทรมอ่อนแอลง

การอวดคุณวิเศษของภิกษุ ย่อมทำให้ประชาชนรวมจุดความสนใจไปที่ภิกษุนั้น

และหันไปทุ่มเทความอุปถัมภ์บำรุงให้

ในเวลาเดียวกัน สงฆ์จะด้อยความสำคัญลง

ภิกษุส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเอาใจใส่ ขาดผลได้ และสงฆ์ส่วนรวมก็จะอ่อนกำลังลง

ด้วยเหตุนี้ จึงมีตัวอย่างพระอรหันต์บางท่านในสมัยพุทธกาล เมื่อความดีเด่นและความสามารถพิเศษ

ของท่านปรากฏเป็นที่รู้ขึ้น และในเมื่อความสนใจต่อตัวท่านเปลี่ยนจากความสนใจ

ในฐานะภิกษุรูปหนึ่ง กลายเป็นความผูกพันในตัวบุคคล พร้อมกับมีลาภผลติดตามมา

ตัวท่านกลายเป็นที่รวมความสนใจแทนสงฆ์ หรือเป็นเหตุให้ความสนใจต่อภิกษุส่วนมาก

และความสำคัญของสงฆ์ลดลง

ท่านก็จะหลีกออกไปเสียจากที่นั้น *


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

*พิจารณาเรื่อง พระอิสิทัตตะ และพระมหกะ ใน สํ.สฬ.18/546-557/349-358;

องฺ.อ.1/417 เป็นตัวอย่าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC01694.jpg
DSC01694.jpg [ 44.92 KiB | เปิดดู 6769 ครั้ง ]
กล่าวโดยสรุป การอวดหรือบอกกล่าวอุตริมนุสสธรรม คือ คุณวิเศษของตนแก่ชาวบ้าน

แม้จะเป็นจริงก็มีผลเสียหายที่สำคัญแก่ส่วนรวมดังนี้


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


๑. ทำให้ชาวบ้านตื่นเต้นระดมความสนใจมารวมที่บุคคลผู้เดียว หรือกลุ่มเดียว

แทนสนใจสงฆ์ดังได้กล่าวแล้ว และชาวบ้านผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจก็จะคิดเปรียบเทียบ

เกิดความรู้สึกดูถูกดูแคลนท่านอื่น กลุ่มอื่น อย่างถูกต้องบ้าง ผิดพลาดบ้าง

เป็นโทษแก่ตนเอง และแก่พระศาสนาโดยส่วนรวม

ความข้อนี้สัมพันธ์กับข้อต่อๆไปด้วย

๒. เมื่อมีการอวดกันได้ ไม่เฉพาะท่านที่รู้จริงได้จริงเท่านั้นที่จะอวด

ท่านที่สำคัญตนผิดก็จะอวด แต่ที่ร้ายแรงยิ่งก็คือ เป็นช่องให้ผู้ไม่ละอายทั้งหลาย

พากันฉวยโอกาสอวดกันวุ่นวาย

ชาวบ้านซึ่งไม่ได้รู้ไม่ได้มีประสบการณ์เอง ก็แยกไม่ถูกว่าอย่างไหนจริงอย่างไหนเท็จ

บางคราวที่เท็จมองในสายตาชาวบ้าน กลับเห็นเป็นอัศจรรย์น่าเชื่อถือกว่า

ดังที่ผู้เชียวชาญการหลอกหรือเล่นกลลวงชาวบ้านได้สำเร็จกันมามาก

ข้อนี้สัมพันธ์กับข้อต่อไปอีก

๓. ชาวบ้านระดับโลกียปุถุชนทั้งหลาย มีความพอใจนิยมชมชอบต่างๆกัน

ตื่นเต้นในต่างสิ่งต่างระดับกัน และผู้ที่บรรลุธรรมวิเศษ ก็มีบุคลิกลักษณะคุณสมบัติ

และความสามารถด้านอื่นๆ ต่างๆกันไป

มิใช่จะมีคุณสมบัติที่พร้อมจะเป็นผู้นำตามรอยบาทพระศาสดาได้เหมือนกัน

บางท่านบรรลุธรรมวิเศษแล้วพูดสอนกลับอธิบายไม่เป็น คล้ายกับพระปัจเจกพุทธะ

สู้แต่พระพหูสูตที่ยังไม่บรรลุไม่ได้ เปรียบได้กับคนที่ได้ไปเที่ยวถิ่นห่างไกลเห็นมาด้วยตนเอง

กลับมาแล้วบางคนพูดคุยเล่าให้คนอื่นฟังไม่จับจิตจูงใจ


ส่วนบางคนไม่เคยไปจริงเลย แต่เล่าได้เป็นคุ้งเป็นแควน่าตื่นเต้นเหมือนอย่างคุณครูบางท่าน

สอนวิชาภูมิศาสตร์เมืองฝรั่งเก่งทั้งที่ตนเองไม่เคยไป

หรือในด้านบุคลิกลักษณะ บางท่านสำเร็จอริยผลแล้วก็จริง แต่รูปร่างไม่ชวนเลื่อมใส

เช่นพระอรหันต์ชื่อลกุณฏกภัททิยะ ผู้มีร่างเตี้ยค่อม ถูกพระหนุ่มเณรน้อยคอยล้อเลียนเย้าแหย่

อยู่เสมอ จนพระพุทธเจ้าต้องทรงช่วยอนุเคราะห์ (สํ.สิ. 16/704/325 ฯลฯ)


ในกรณีเช่นนี้ท่านที่บรรลุจริงนั่นแหละ เมื่ออวดแล้วกลับจะทำให้คนไม่เชื่อ หรือถ้าเชื่อเข้าก็เลยหมด

หรือคลายความเลื่อมใสในพระศาสนาลงไป

ส่วนคนที่ไม่ได้จริง แต่พูดคล่อง หลอกเก่ง ลักษณะดี กลับนำฝูงชนสู่ทางผิดไปได้จำนวนมาก

๔. เมื่อท่านที่บรรลุจริง สอนเก่ง อวดแล้วสอนบ้าง

ท่านที่บรรลุจริง สอนไม่เป็น แล้วพูดออกมาบ้าง

ท่านที่มีรู้จริงสำคัญตนผิดคิดว่าบรรลุแล้วเที่ยวบอกเล่าไว้บ้าง

ท่านที่ไม่บรรลุ แต่ชอบหลอกพูดลวงเขาไปบ้าง

ต่อไปหลักพระศาสนาก็จะสับสนปนเปฟั่นเฟือน ไม่รู้ว่าอันใดแท้อันเทียม

บางท่านมีส่วนรู้จริงในประสบการณ์บางแง่บางอย่าง แต่ทำอรรถกับพยัญชนะให้เคลื่อนคลาด

จากกัน เพราะหย่อนความรู้ทางปริยัติ ก็ทำให้หลักธรรมสับสน

เสียเอกภาพแห่งคำสอนของพระศาสดา


ความจริงนั้น การยืนยันความตรัสรู้เป็นภารกิจของพระศาสดา ซึ่งเป็นผู้นำ

ในเมื่อจะทำหน้าที่ตั้งพระศาสนาและปกป้องพระศาสนานั้น พร้อมทั้งหมู่สาวก

ส่วนหมู่สาวกภายหลัง เมื่อสมัครเข้ามาก็คือยอมรับคำสอนของพระศาสดาแล้ว

การยืนยันหรืออ้างอิงจึงไปอยู่ที่องค์พระศาสดาและคำสอนของพระองค์

ความรับผิดชอบในการสอนไม่อยู่ที่อ้างการบรรลุของตน แต่อยู่ที่สอนให้ตรงกับคำสอน

ของพระศาสดา หรือสอนตัวพระพุทธศาสนาแท้ๆ

ดังนั้น สาวกทั้งหลาย จึงมุ่งว่าจะสอนให้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

เอาความซื่อตรงต่อคำสอนของพระศาสดาเป็นเกณฑ์วัดความถูกต้องของการสอนพระพุทธศาสนา

ไม่จำเป็นต้องอ้างการบรรลุของตนเป็นหลักเกณฑ์ตัดสิน จึงทำให้ดำรงเอกภาพแห่งคำสอน

และเอกภาพแห่งพระพุทธศาสนาทั้งหมดเอาไว้ได้

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

อนึ่ง เมื่ออวดคุณวิเศษออกไปแล้ว มีผู้เลื่อมใส เอาลาภสักการะมาถวาย ของถวายนั้น

กลายเป็นของที่ได้มาเพราะการพูดอวดนั้นเอง ทางพระวินัยถือว่าเป็นลาภไม่บริสุทธิ์


พูดให้ลึกลงไปอีก ท่านว่า ไม่ต้องกลัวว่าผู้บรรลุอริยผลแล้วจะมาพูดอวดอ้างหรือป่าวประกาศ

เพราะเป็นธรรมดาของพระอริยะทั้งหลายเองที่ว่าท่านไม่อวด

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ที่อวดว่าตนเป็นพระอริยะ ก็คืออวดว่าไมได้เป็นอริยะนั่นเอง

ผู้ที่อวดคุณวิเศษที่มีจริง จะมีก็แต่ปุถุชนซึ่งได้คุณวิเศษขั้นโลกีย์ เช่น ฌานสมาบัติเป็นต้น

(ดู วินย. อ.2/304)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร