วันเวลาปัจจุบัน 12 ก.ย. 2024, 21:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ



เมตฺตญฺจ หมายถึง การแสดงเมตตากรุณา
ต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั่วไป
โดยความปรารถนาที่จะช่วยให้เขาเป็นสุข
ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันด้วยกายวาจาใจ


คำว่า "เมตตา" มาจาก "มิตตะ"
แปลว่า "ความสนิท คุ้นเคย หรือหวังดี"
เราต้องแสดงความเป็นผู้สนิท คุ้นเคย
หวังดีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
ตลอดทั้งโลกเบื้องสูง
โลกท่ามกลาง และโลกเบื้องต่ำ
ด้วยเมตตากายกรรม
เมตตาวจีกรรมและเมตตามโนกรรม


โลกเบื้องสูง ได้แก่ บิดา มารดา เจ้านาย ครูอาจารย์
และท่านผู้ที่อยู่สูงกว่าเราโดยคุณธรรม,
วิชาความรู้, ชาติสกุล, อายุ, ทรัพย์ เป็นต้น

บุคคลเหล่านี้เราจะต้องแสดงความเมตตาต่อท่าน
ด้วยการส่งเสริมค้ำชูให้ท่านสูงขึ้นไป
ด้วยการบำเพ็ญคุณประโยชน์
ช่วยเหลือแก่ท่านเท่าที่จะทำได้

โลกท่ามกลาง ได้แก่ มิตรสหายเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง
มีความเป็นอยู่ที่ทัดเทียมเสมอกับตัวเรา

บุคคลเหล่านี้เราก็ไม่เบียดเบียนเขา
ต้องหวังดีเอื้อเฟื้อต่อเขาเสมอ
เช่นเดียวกับทำให้แก่ตัวเราเอง

โลกเบื้องต่ำ ก็คือ ผู้ที่เขามีวิชาความรู้
สติปัญญาและความประพฤติต่ำกว่าเรา
มีทรัพย์น้อยกว่าเรา หรือมีอายุน้อยกว่าเรา
มีความเป็นอยู่ต่ำต้อยกว่าเรา
โลกเบื้องต่ำที่สำคัญที่สุด ก็คือ คนที่เป็นศัตรูของเรา

ที่เขาคอยเบียดเบียนทำลายเรา
เราต้องแผ่เมตตาจิตให้แก่เขาให้มากที่สุด
ต้องไม่โกรธเกลียด พยาบาทตอบเขา
บุคคลประเภทนี้เราจะต้องช่วยฉุดให้เขาเป็นคนดี
สูงขึ้นจนมาทัดเทียมเสมอกับเรา
มีหนทางใดที่พอจะช่วยเหลือเกื้อกูลเขาได้
ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ หรือกำลังปัญญา
เราก็ช่วยเหลือเขาให้มีความสุข
และแนะนำให้เขาทำความดีด้วย

"เมตตากายกรรม" คือ เราไม่เบียดเบียนใครด้วยกาย
เป็นผู้มีศีล ๕ และกัลยาณธรรม
กายของเรา เราก็จักรักษาไว้ให้สุจริต
ไม่แสดงมารยาทที่ไม่ดีขึ้นในสังคมใดๆ

"เมตตาวจีกรรม" วาจาของเราก็เป็นไปด้วยความสุจริต
เยือกเย็น กล่าวแต่วาจาที่ไพเราะ
และเป็นคุณ เป็นประโยชน์
ไม่กล่าววาจาที่เป็นคำเท็จ
คำเบียดเบียน ประหัตประหารใคร

"เมตตามโนกรรม" ใจของเราก็สุจริต
ไม่มุ่งพยาบาทคิดร้ายต่อใคร
มีความยินดีในความสุขของผู้อื่น

ในเมตตา ๓ ประการนี้
"เมตตามโนกรรม" เป็นสิ่งสำคัญที่สุด



:b47: :b47:


คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร

มกราคม,๒๕๕๓. หน้า ๑๑-๑๓



:b46: รวมคำสอนพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38679

:b46: ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21381

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2015, 12:22 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
:b8:
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร