วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 13:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๑
�����
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อ
ความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
ในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ
ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจ
ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง
เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรม นั้นเป็นความรู้ในสัจ
จะคือความจริง ซึ่งมีอยู่เป็นไปอยู่ในตน รวมเข้าก็ในสัจ
จะทั้ง ๔ คือ ในทุกข์ ในสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ในนิโรธ
ความดับทุกข์ และในมรรคทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ ล้วนเป็นสัจจะคือความจริงที่มีอยู่ในตน
ทุกข์ก็มีอยู่ในตน สมุทัยก็มีอยู่ นิโรธและมรรคก็มีอยู่
เมื่อปฏิบัติให้มีขึ้นก็มีอยู่ในตน
แต่ในขณะที่ยังมิได้ปฏิบัติใน มรรค
คือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ยังไม่พบนิโรธ
ความดับทุกข์ ทุกข์และสมุทัยก็ย่อมปรากฏอยู่ เป็นไป
อยู่ในตน ดังจะพึงเห็นได้ในเมื่อพินิจพิจารณาดู ก็
จะพบสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
เอาจำเพาะที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นไว้ คือตัณหา
ความดิ้นรนทะยานอยากต่างๆ ก็มีอยู่เป็นไปอยู่ปรากฏ
ให้เห็นได้
และทุกข์อันเป็นผล เป็น
ความทุรนทุรายเดือดร้อนต่างๆ เป็นความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจต่างๆ ก็ปรากฏให้เห็นได้
สุขในทุกข์
แต่ว่าอาศัยที่สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
ยกเอาตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากนั้น ก็
เป็นสิ่งที่มีเกิดมีดับ ถึงจะไม่ได้ปฏิบัติธรรมะก็มีเกิดมีดับ
เมื่อเป็นดั่งนี้จึงได้พบความดับซึ่งเป็นคติธรรมดา ดั่งนี้
สลับกันไปอยู่เสมอ ความไม่สบายกายไม่สบายใจอัน
เป็นผลที่เกิดขึ้นก็ดับไปอยู่เสมอ แต่แล้วก็เกิดขึ้นอีก
กับทั้งบุคคลได้รับความสุขโสมนัสอัน
เป็นผลของการได้ในสิ่งที่ปรารถนาต้องการ จึงทำ
ให้รู้สึกสบายกายสบายใจในคราวหนึ่งๆ
ความสบายกายสบายใจนั้นก็หายไป ก็ได้ความ
ไม่สบายกายไม่สบายใจมาเกิดสลับ เพราะต้องพบกับ
ความปรารถนาไม่สมหวัง ก็เป็นอันว่าได้สุข
ได้ทุกข์สลับกันไป ทำให้ไม่มองเห็นในสัจจะซึ่ง
ความจริง ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงชี้ในทุกขสัจ
จะสภาพที่จริงคือทุกข์ ยังมองเห็นเป็นความสุข
และก็ติดอยู่ในสุขที่ได้นั้นเป็นครั้งเป็นคราว
ความยากในการที่จะเห็นสัจจะคือ
ความจริงว่าเป็นทุกข์จึงอยู่ตรงนี้
อยู่ตรงที่เพลิดเพลินยินดีติดอยู่ในสุขโสมนัส หรือ
ความสุขที่ได้เพราะสมหวัง เพราะสมปรารถนา
ในบางครั้งบางคราว สลับกันไปกับที่ไม่สมหวังอัน
เป็นทุกข์เดือดร้อน แต่เพราะตัวตัณหานี้เองที่ทำให้มี
ความหวัง แม้จะอยู่ในทุกข์เดือดร้อนแต่ก็มีความหวัง
หวังในความสุขที่จะได้ต่อไป หวังว่า
ความทุกข์เดือดร้อนจะหายไป ซึ่งทุกข์เดือดร้อน
นั้นก็หายไป คือดับไปตามคติของธรรมดาบ้าง กับ
ได้รับความสุขขึ้นมาใหม่ อันเป็นผลที่ได้จากการ
ได้มาทดแทนบ้าง เมื่อเป็นดั่งนี้จึงมองไม่เห็นทุกข์
เหมือนอย่างร่างกายอันนี้เมื่อเกิดหิวขึ้นมา
จึงรู้สึกเป็นทุกข์
เมื่อบริโภคอาหาร
เข้าไปก็อิ่มหนำสำราญก็รู้สึกเป็นสุข และเพราะเหตุที่
ได้มีอาหารบริโภคอิ่มหนำสำราญ กับทั้ง
ได้รับกายบริหาร ทั้งที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และ
ทั้งที่การบำรุงให้มีขึ้น ร่างกายมีอนามัยมีผาสุก
ก็รู้สึกว่าเป็นสุข
อโรคยา ปรมาลาภา
เพราะฉะนั้นในสมัยพุทธกาลนั้น จึง
ได้มีแสดงถึงพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เอามือลูบกายของตน
ซึ่งเป็นกายที่มีอนามัยจึงมีความแข็งแรง ไม่รู้สึกว่า
เป็นโรคอะไร ว่านี่แหละคือนิพพาน ก็คือหมายเอา
ความที่ไม่มีโรคทางกายปรากฏ กายจึงแข็งแรง
พราหมณ์ก็ถือว่านี่แหละคือนิพพาน ฝ่ายพระพุทธเจ้าก็
ได้ตรัสเป็นพระพุทธภาษิตไว้ว่า อโรคยะ ปรมาลาภา
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง หรือลาภทั้งหลายมี
ความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง แต่ว่าทรงมุ่งหมายเอา
ถึงโรคคือกิเลส เป็นต้นว่า
ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ สิ้นกิเลสจึงจะเป็น
อโรคยะ คือความไม่มีโรค
ความไม่มีโรค
เป็นลาภอย่างยิ่งทางพุทธศาสนาจึงมุ่งถึงความ
ไม่มีโรคคือกิเลส ก็คือจิตว่างกิเลส ที่เรียกว่าจิตว่าง อัน
ความว่างกิเลสนี้ได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้เช่น
นิพพานัง ปรมัง สุญญัง นิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง
ก็หมายถึงความว่างกิเลส
สุญญตาคือความว่าง
และได้มีศัพท์ธรรมะอีกคำหนึ่งเรียกว่า
สุญญตา คือความว่าง อันสุญญตาคือ
ความว่างนี้พระบรมศาสดาก็ได้ทรงแสดงไว้
นับตั้งแต่สุญญตาคือความว่างตั้งแต่เบื้องต้น อัน
เป็นขั้นสมาธิขึ้นไปโดยลำดับจนถึงที่สุด
ดังที่มีเรื่องที่แสดงไว้ในพระสูตรที่แสดง
ถึงสุญญตาคือความว่าง รวมความ
เข้ามาตั้งแต่เบื้องต้นว่า
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ได้ประทับอยู่ในบุพพาราม ของนางวิสาขามิคารมารดา
ในกรุงสาวัตถี ท่านพระอานนท์ได้เข้าเฝ้าในเย็นวันหนึ่ง
และได้กราบทูลว่า เมื่อครั้งที่พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ในสักกะชนบท
ในนิคมแห่งศากยะทั้งหลายอันชื่อว่านครกะ
ท่านพระอานนท์ได้ฟังพระพุทธดำรัสที่ตรัส
ไว้ว่าเราก็คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าได้ประทับอยู่
โดยมากในบัดนี้ด้วยสุญญตาวิหาร อันแปลว่าธรรมะ
เป็นเครื่องอยู่คือสุญญตาความว่าง
พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสรับรองว่า
เมื่อก่อนนี้ก็ดี ในบัดนี้ก็ดี พระองค์คือพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ได้ทรงอยู่โดยมาก
ด้วยสุญญตาวิหาร ธรรมะเป็นเครื่องอยู่คือสุญญตา
ความว่าง ต่อจากนั้นก็ได้ตรัสแสดง
ถึงการปฏิบัติธรรมสุญญตาคือความว่างไปโดยลำดับ
ตั้งแต่ในเบื้องต้นเป็นข้อๆ ไปโดยลำดับ
สุญญตาข้อแรก
ข้อแรกได้ทรงแสดงว่า ในปราสาทคือ
ในสิ่งก่อสร้างที่เป็นชั้นๆ ในบุพพาราม
ของนางวิสาขามิคารมารดานี้ เป็นที่ว่าง
จากช้างม้าโคกระบือ จากเงินทอง จากสันนิบาตคือ
ความประชุมของชายหญิงทั้งหลาย ก็คือว่าว่างจากบ้าน
ว่างจากมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเป็นอารามฉันใด ก็
ให้ปฏิบัติมนสิการทำไว้ในใจกำหนดไว้
ในใจเหมือนอย่างนั้น
กล่าวคือไม่ใส่ใจกำหนดว่าเป็นบ้าน ไม่
ใส่ใจกำหนดว่าเป็นป่า ไม่ใส่ใจกำหนดว่าเป็นมนุษย์ ไม่
ใส่ใจกำหนดว่าเป็นบ้าน ไม่ใส่ใจกำหนดว่า
เป็นมนุษย์คือผู้คน
แต่ว่ามนสิการใส่ใจกำหนดเสียว่า
เป็นป่าปราศจากบ้าน ปราศจากมนุษย์ผู้คน เมื่อกล่าว
โดยอุปมาข้างต้น บุพพารามนั้นว่างจากบ้าน ว่าง
จากมนุษย์คือผู้คนดังกล่าว แต่ว่าไม่ว่าง
อยู่สิ่งหนึ่งก็คือภิกษุสงฆ์ เพราะภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่
ในบุพพารามนั้น
แม้ความที่ไม่ใส่ใจว่าเป็นบ้านว่า
เป็นมนุษย์ผู้คน แต่ว่าใส่ใจว่าเป็นป่าดังกล่าวนั้น ก็
เป็นสุญญตาคือความว่าง เป็น
ความที่หยั่งจิตลงสู่สุญญตาคือความว่าง แต่ว่าก็ยัง
ไม่ว่างอยู่อีกสิ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน ก็คือว่า
ยังมีแผ่นดินที่ประกอบไปด้วยที่ลุ่มที่ดอน ต้นไม้ภูเขา
ห้วยหนอง เป็นต้น อันรวมเรียกว่าเป็นป่านั้นนั่นเอง
นี้
เป็นข้อแรกของการปฏิบัติหัดทำจิตที่ทรงสั่งสอน และ
เป็นข้อที่ผู้ปฏิบัติธรรมะทางสมาธิพึงถือเป็นหลักปฏิบัติ
ได้ กล่าวคือแม้จะอยู่ในบ้าน อยู่ในหมู่มนุษย์ที่
เป็นชาวบ้านด้วยกันก็สามารถทำสมาธิได้ กล่าวคือไม่
ใส่ใจกำหนดหมายว่าเป็นบ้าน ไม่ใส่กำหนดหมายว่า
เป็นหมู่คน แต่ว่าใส่ใจกำหนดหมายว่าเป็นป่า
เหมือนอย่างไม่มีบ้าน เหมือนอย่างไม่มีผู้คน ป่านั้นก็
เป็นสถานที่ประกอบด้วยต้นไม้ภู
เขาห้วยหนองคลองบึงที่ลุ่มที่ดอน ตลอดจนถึงสัตว์ป่า
ทั้งหลาย ไม่มีบ้านไม่มีผู้คน ใส่ใจกำหนดลงว่า
เป็นป่าดั่งนี้ ก็เป็นอันว่า
ได้ปฏิบัติหยั่งจิตลงไปสู่สุญญตาคือความว่างขั้นแรก
และเมื่อเป็นดั่งนี้ก็สามารถทำจิตให้สงบได้เหมือนอยู่
ในป่า ก็เป็นสุญญตาคือความว่าง เพราะว่างจาก
ความกำหนดหมายว่าเป็นบ้าน ว่าเป็นหมู่คนนั้นเอง
เป็นสุญญตาในข้อนี้
ฉะนั้น จึงแสดงว่าความสำคัญนั้น
อยู่ที่จิตใจ เมื่อจิตใจไม่กำหนดไม่ใส่ใจถึงสิ่งอันใด
สิ่งอันนั้นก็ว่างไปเหมือนไม่มี แม้จะมีก็เหมือนไม่มี แม้ว่า
จะเข้าไปอยู่ในป่าจริงๆ ไม่มีบ้านไม่มีผู้คน ถ้าจิตใจ
ยังคำนึงถึงบ้านคำนึงถึงผู้คน บ้านและผู้คนก็มาตั้งอยู่
ในจิตใจ แม้กายจะอยู่ในป่าก็ตาม ก็เป็นอันว่าจิตใจก็คง
ไม่สงบอยู่นั่นเอง กลับตรงกันข้ามกายอยู่ในบ้านอยู่กับ
ผู้คนทั้งหลาย แต่ว่าจิตใจไม่ใส่ใจถึง กำหนดว่าเป็นป่า
ป่าก็ตั้งขึ้นในจิตใจ จิตใจก็มีความสงบได้
เพราะฉะนั้นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
ให้ปฏิบัติเป็นข้อแรกนี้ ... (จบ ๑/๑) ( ข้อ
ความขาดนิดหน่อย) (เริ่ม ๑/๒) ... ก็ย่อมมาเป็นนั่น
เป็นนี่ ตั้งอยู่ในจิตใจ จิตใจก็ไม่ว่างจากสิ่งเหล่านั้น
หากจิตใจวางได้ ไม่ใส่ใจถึง ไม่หมกมุ่นถึง ไม่คิดถึง
ไม่ดำริถึง สิ่งนั้นๆ ก็ไม่มาตั้งอยู่ในจิตใจ เพราะฉะ
นั้นการปฏิบัติรักษาจิตใจนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ อยู่ที่ไหนๆ
เมื่อปฏิบัติรักษาจิตใจได้ ก็ปฏิบัติในศีลได้ ในสมาธิได้
ในปัญญาได้
สุญญตาข้อ ๒
ต่อจากข้อนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็
ได้ตรัสสอนต่อไป ให้ไม่ใส่ใจกำหนดว่าเป็นป่า
ซึ่งประกอบไปด้วยต้นไม้ภูเขาห้วยหนองคลองบึง
ที่ลุ่มที่ดอนเป็นต้น ซึ่งรวมเรียกว่าป่านั้น แต่ให้
ใส่ใจกำหนดว่าเป็นแผ่นดินล้วนๆ ปราศจากต้นไม้ภู
เขาห้วยหนองคลองบึงที่ลุ่มที่ดอน
เป็นแผ่นดินที่ราบเรียบไปทั้งหมด
เหมือนอย่างแผ่นหนังสัตว์ที่ได้มาจัดการทำ
ให้ราบเรียบดีแล้ว เหมือนอย่างหนังหน้ากลองผืน
ใหญ่ราบเรียบไปตลอดทั้งหมด ดั่งนี้ ก็เป็นอันว่า
ได้หยั่งลงสู่สุญญตาคือความว่างขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
แต่ว่าก็ยังไม่ว่างอยู่อีกสิ่งหนึ่งก็คือตัวแผ่นดินนั้นเอง
ยังมีอยู่
ในข้อนี้เป็นอันได้ตรัสสอน
ให้กำหนดทำสุญญตาคือความว่างที่สูงขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง
สูงขึ้นมาจากป่ามาเป็นกำหนดว่า
เป็นแผ่นดินที่เรียบราบไปตลอดทั้งหมด
เหมือนอย่างหนังหน้ากลองดังกล่าวนั้น เมื่อ
เป็นดั่งนี้จิตก็ย่อมจะได้ความสงบ
เป็นสมาธิขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง แม้ในข้อนี้ก็ย่อมเป็นข้อที่ผู้
ต้องการปฏิบัติสมาธิพึงเห็นว่าปฏิบัติได้
ในที่ทุกสถานเช่นเดียวกัน และเมื่อได้หัดปฏิบัติ
ใส่ใจกำหนดให้ได้ว่าเป็นป่าซึ่งเป็นข้อที่ ๑ นั้นแล้ว ก็
ให้มาใส่ใจกำหนดให้เห็นว่า
เป็นแผ่นดินที่ราบเรียบไปตลอดทั้งหมดต่อไป
และในสองข้อนี้ก็ควรที่จะทำความ
เข้าใจเพิ่มเติมอีกว่า ข้อแรกความตั้งใจกำหนดว่าเป็นป่า
ไม่มีบ้านไม่มีผู้คนนั้น ย่อมรวมถึงไม่มีรูป ไม่มีเสียง
ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีโผฏฐัพพะ อัน
เป็นกามคือกามคุณ หรือวัตถุกาม คือ
เป็นสิ่งที่รักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย เพราะว่ากาม
หรือกามคุณ หรือวัตถุกามทั้งปวงนี้ ย่อมรวมอยู่
ในคำว่าบ้าน รวมอยู่ในคำว่าผู้คน
ฉะนั้นเมื่อจิตใจไม่กำหนดถึงว่าเป็นบ้าน
ไม่กำหนดถึงว่าเป็นผู้คน ก็คือไม่กำหนดว่า เป็นรูป
เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส เป็นโผฏฐัพพะ
ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย อันรวมทั้งที่
ไม่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลายด้วย คือ
ไม่มีอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความยินร้ายทั้งปวง อันอารมณ์
ทั้งปวงดังกล่าวนี้ย่อมรวมอยู่ในคำว่าบ้าน รวมอยู่
ในคำว่าผู้คน รวมอยู่ในคำว่าเงินทองทรัพย์สินเป็นต้น
ซึ่งเป็นบ้านนั้นเอง
เพราะฉะนั้นเมื่อไม่ใส่ใจกำหนดว่า
เป็นบ้าน ก็คือไม่ใส่ใจกำหนดไปในอารมณ์ทั้งหลาย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีความยินร้ายทั้งสิ้น
มากำหนดหมายว่าเป็นป่า คือว่าเห็นต้นไม้เห็นภู
เขาเห็นบึงคลองหนองที่ลุ่มที่ดอนต่างๆ อันรวมความว่า
เป็นป่า ไม่มีรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะเป็นต้น
ทั้งที่น่ารักใคร่ ทั้งที่ไม่น่ารักใคร่ อันเป็นเรื่องของบ้าน
อันเป็นเรื่องของผู้คน เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเรียกว่า
ใส่ใจกำหนดหมายว่าเป็นป่า จิตจึงสงบจากกามฉันท์
จากพยาบาทเป็นต้น อันเป็นนิวรณ์ ดั่งนี้ จึงเป็นสมาธิ
และกรรมฐานที่เป็นอารมณ์ของสมาธินั้นก็คือว่าป่า
นั้นเอง
ฉะนั้นจะต้องทำจิตกำหนดในบ้านในผู้คน
เป็นต้นนี่ว่าเป็นป่าให้ได้ จึงจะได้สมาธิตั้งแต่ในขั้นต้น
ถ้าหากว่ายังสงบกำหนดลงไปว่าเป็นป่าไม่ได้ ใจ
ยังฟุ้งซ่านไปในนิวรณ์ทั้งหลาย เรื่องนั้นเรื่องนี้ คน
นั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างดั่งนี้แล้ว
ก็แปลว่ายังกำหนดอยู่ในบ้านในผู้คน ทรัพย์สิน
ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งของยินดียินร้าย
ตลอดถึงหลงซึ่งเป็นตัวนิวรณ์ ก็
เป็นสมาธิไม่ได้ จะต้องกำหนดลงไปว่าเป็นป่าให้ได้
เห็นแต่ต้นไม้ภูเขาห้วยหนองคลองบึงที่ลุ่มที่ดอน ล้วน
เป็นป่าทั้งนั้น ไม่มีอารมณ์อันเกี่ยวกับบ้านเกี่ยวกับผู้คน
ที่น่าชอบใจบ้าง ไม่น่าชอบใจบ้าง นี่คือป่าที่ให้กำหนด
ให้ตั้งอยู่ในจิตใจ ก็สงบนิวรณ์ได้ จิตก็รวมเข้ามา
เป็นสมาธิได้
กำหนดให้เห็นธรรมชาติธรรมดา
เพราะฉะนั้นแม้การปฏิบัติในสติปัฏฐาน
กาย เวทนา จิต ธรรม ว่าเป็นกายเป็นเวทนาเป็นจิต
เป็นธรรมนั้น คือกำหนดให้เห็นว่าเป็นธรรมชาติธรรมดา
ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ถ้ายังเห็นว่า
เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอยู่ ก็ไม่เป็นกาย ไม่
เป็นเวทนา ไม่เป็นจิต ไม่เป็นธรรม ยังไม่
เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน เพราะว่ายัง
เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ยังเป็นตัวเราเป็นของเรา
เป็นตัวเขาเป็นของเขา
เพราะฉะนั้น
ถ้าหากว่าการพิจารณากายเวทนาจิตธรรมข้อ
ใดข้อหนึ่งก็ตาม มองเห็นเป็นตัวเราเป็นของเรา เป็นตัว
เขาเป็นของเขา เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ก็เท่า
กับว่าเป็นบ้านเป็นหมู่คน ยังเป็นกาม เป็นกามคุณ
เป็นวัตถุกาม ต่อเมื่อมามองเห็นว่าเป็นสักแต่ว่ากาย
เป็นสักแต่ว่าเป็นเวทนา เป็นสักแต่ว่าเป็นจิต
เป็นสักแต่ว่าเป็นธรรม
เป็นธรรมชาติธรรมดาที่ปรากฏที่ประกอบกัน ดั่งนี้
ก็คือว่า เท่ากับว่ากำหนดใส่ใจเห็นว่าเป็นป่า ป่ากาย
ป่าเวทนา ป่าจิต ป่าธรรม เหมือนอย่าง
เป็นป่าต้นไม้ชนิดนั้น ชนิดนี้ ชนิดโน้น เป็นภูเขา
เป็นห้วยหนองคลองบึง ที่ลุ่มที่ดอนเป็นต้น ไม่มา
เป็นที่ตั้งของสัตว์บุคคล หรือตัวเราของเรา
อันที่จริงนั้นบ้านก็มาจากป่านั้นเอง
คนก็ไปตัดเอาไม้มาจากป่า เอามาสร้างเป็นบ้าน
เป็นวัตถุเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับอยู่อาศัย ต้นไม้
นั้นเองเมื่อเอามาสร้างเป็นบ้านก็กลายเป็นบ้านขึ้น
แต่อันที่จริงก็มาจากต้นไม้ ยกเป็นตัวอย่าง
คือป่านั่นเองแล้วมา
เป็นบ้านขึ้นตามที่บุคคลมาปรุงแต่งขึ้น
ฉันใดก็ดีป่ากายป่าเวทนาป่าจิตป่าธรรมนี้
ก็เป็นธรรมชาติเป็นธรรมดา เหมือนอย่างต้นไม้ภูเขา
ในป่านี้แหละ แต่ว่าบุคคลนี้เองเอากายเวทนาจิตธรรมนี้
มาแต่งตั้งขึ้นว่าเป็น นาย ก. นาย ข. นาง ก. นาง ข.
เป็นเราเป็นของเรา คนเราทั้งนั้นมาแต่งตั้งขึ้น แต่งตั้ง
ให้ป่านี้มาเป็นบ้านขึ้น ก็มาเป็นบ้าน เป็นตัวเรา
เป็นของเรา เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติสติปัฏฐานนั้น
ข้อแรกจึงต้องให้เป็นป่าเสียก่อน ให้เป็นป่ากาย
กับป่าเวทนา ป่าจิต ป่าธรรม แล้วจะได้สติปัฏฐานเป็น
ความสงบ สงบกาม สงบอกุศลธรรมธรรมทั้งหลาย
สงบนิวรณ์
ธาตุข้อเดียว
คราวนี้เมื่อต้องการให้
ความสงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ก็กำหนดป่านั่นแหละ ว่า
เป็นแผ่นดินที่ราบเรียบไปทั้งหมด ต้นไม้ก็ไม่มี ภูเขาก็
ไม่มี เป็นแผ่นดินที่ราบเรียบไปทั้งหมด ดั่งนี้ก็คือว่าเมื่อ
ยังมีการจำแนก เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม
อยู่ ก็ง่ายที่จะยึดถือไปเป็นบ้าน เหมือนอย่างเมื่อ
ยังมีต้นไม้อยู่ ก็ยังง่ายที่จะตัดต้นไม้ไปสร้างเป็นบ้าน
เมื่อยังมีกายมีเวทนามีจิตมีธรรมอยู่ ก็เป็นการง่ายที่
จะยึดถือเอาไปเป็นตัวเราเป็นของเรา
ฉะนั้นในขั้นต่อไปที่ตรัสสอนให้
ใส่ใจกำหนดว่าเป็นแผ่นดินผืนเดียว ที่ราบเรียบไป
ทั้งหมด ต้นไม้ก็ไม่มี ภูเขาก็ไม่มี ห้วยหนองคลองบึงก็
ไม่มี ดั่งนี้ ก็เท่ากับว่าไม่ต้องคำนึงว่าเป็นกาย
เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม แต่สักแต่ว่าเป็นธาตุ
เป็นธาตุข้อเดียว และยกเอามาเป็นประธานก็คือว่า
เป็นธาตุดินไปทั้งหมด หากว่าจะรวมเข้าก็เป็นธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ธาตุลม ดั่งนี้ ก็ทำให้จิตสงบยิ่งขึ้น และก็ไกล
จากที่จะน้อมน้าวไปเป็นบ้าน เป็นกาม ดังกล่าวนั้นด้วย
ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และ
ตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 14:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๒
�����
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อ
ความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
ในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ
ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจ
ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง
เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ กาย เวทนา
จิต ธรรม ก็กายเวทนาจิตธรรมนี้เองเมื่อยังมี
ความยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา ก็เท่ากับว่าเป็นบ้าน
เป็นหมู่คนชายหญิง เป็นกามคุณ
หรือวัตถุกามที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย
แต่เมื่อได้ใส่ใจกำหนดว่าเป็นสักแต่ว่ากาย สักแต่ว่า
เป็นเวทนา สักแต่ว่าเป็นจิต สักแต่ว่าเป็นธรรม ระงับ
ความใส่ใจกำหนดยึดถือต่างๆ ดังกล่าว
กายเวทนาจิตธรรมนี้ก็เท่ากับว่าเป็นป่า ป่ากาย
ป่าเวทนา ป่าจิตป่าธรรม
กายเวทนาจิตธรรมสักแต่ว่าเป็นธาตุ
และเมื่อ
ได้กำหนดละลายกายเวทนาจิตธรรมลงไปว่าสักแต่ว่า
เป็นธาตุ ยกเอาปฐวีธาตุ ธาตุดิน เป็นที่ตั้ง
แต่อันที่จริงก็รวมทั้ง ดิน น้ำ ไฟ ลม
แต่ยกเอาธาตุดินขึ้นเป็นที่ตั้ง สักแต่ว่า
เป็นธาตุดิน ที่เป็นแผ่นดินราบรื่นเป็นหน้ากลอง
ไม่มีต้นไม้ ไม่มีภูเขาเป็นต้น อันเรียกว่าป่า เมื่อ
เป็นดั่งนี้จิตก็ได้สมาธิกับ
ทั้งปัญญาที่สงบยิ่งขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ดังที่ได้แสดงแล้ว
พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้
ใส่ใจกำหนดว่าเป็นป่าก็ย่อมได้สุญญตาคือความว่าง
ว่างจากความกำหนดหมายว่าเป็นบ้าน ว่าเป็นผู้คน ว่า
เป็น วิญญาณกทรัพย์ ทั้งหลายเป็นต้น และเมื่อได้
ใส่ใจกำหนดว่าเป็นแผ่นดินที่ราบรื่นเป็นหน้ากลอง
ไม่กำหนดว่าเป็นป่า ก็ย่อมได้สุญญตาคือ
ความว่างที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก
แต่ว่าในชั้นแรกเมื่อตั้งใจกำหนดว่า
เป็นป่า แม้จะได้สุญญตาคือความว่าง ว่างจาก
ความกำหนดหมายว่าเป็นบ้าน ว่าเป็นผู้คน แต่ก็ยังมี
ไม่ว่างอยู่คือยังมีป่า และเมื่อไม่กำหนดหมายว่าเป็นป่า
กำหนดหมายว่า ปฐวี
ปฐวี เป็นแผ่นดินที่ราบเรียบไป
เป็นหน้ากลอง ก็ได้สุญญตาคือความว่างจาก
ความกำหนดหมายว่าเป็นป่า ว่างจากป่า แต่ก็มาเหลือ
ไม่ว่างอยู่ คือเหลือเป็นแผ่นดินที่ราบเรียบ
เป็นหน้ากลองนั้น
สุญญตาข้อที่ ๓
เพราะฉะนั้นพระบรมศาสดาจึง
ได้ตรัสสอนให้ไม่กำหนดหมายว่าเป็นแผ่นดิน แต่
ใส่ใจกำหนดหมายว่าเป็นอากาศคือช่องว่าง
ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่กำหนดหมายว่าเป็นป่า
ไม่กำหนดหมายว่าเป็นแผ่นดิน ความ
ใส่ใจกำหนดหมายว่าเป็นอากาศไม่มีที่สุดนี้ ก็คือ
เป็นช่องว่างไม่มีที่สุด คือเป็นช่องว่างไปทั้งหมด ว่าง
จากแผ่นดิน หรือจะกล่าวว่าว่างจากปฐวีคือแผ่นดิน
อาโปคือแผ่นน้ำ เตโชคือไฟ วาโยคือลม ว่างจากดิน
จากน้ำ จากไฟ จากลมทั้งหมด มาเป็นอากาศคือ
เป็นช่องว่าง ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลมทั้งหมด
ความใส่ใจกำหนดลงไปว่าอากาศคือช่องว่างดั่งนี้ ย่อม
จะทำให้จิตสงบตั้งมั่น ละเอียดขึ้นอีกชั้นหนึ่งคือว่างไป
ทั้งหมด
จิตที่กำหนดว่าอากาศไม่มีที่สุดคือ
เป็นช่องว่างไปทั้งหมดดั่งนี้ ย่อมห่างไกลจากวัตถุอัน
จะดึงจิตใจให้ยึดถือยิ่งขึ้น ... (จบ ๑/๒ ) (ข้อ
ความขาดไปนิดหน่อย) ( เริ่ม ๒/๑ ) ...
ก็ย่อมมีต้นไม้มีภูเขา มีห้วยหนองคลองบึงเป็นต้น
อันรวมเรียกว่าเป็นป่านั้น ใจก็จะน้อมไปสู่ป่า
และเมื่อใจน้อมไปสู่ป่าอีกขั้นหนึ่งก็น้อมไปสู่บ้าน
เป็นบ้านเป็นหมู่คน เมื่อใจเข้าบ้านใจเข้าหมู่คน กาม
และอกุศลธรรมทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นได้ง่าย
ฉะนั้น เมื่อได้หัดกำหนดให้ละเอียดขึ้น
โดยลำดับ มากำหนดว่าเป็นป่า มากำหนดว่า
เป็นแผ่นดิน จึงเพื่อที่จะให้ความกำหนดของจิตนี้ ห่าง
ไกลจากวัตถุซึ่งเป็นเครื่องดึงไปสู่นิวรณ์ คือกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย ให้ห่างไกลยิ่งขึ้น จึง
ได้ตรัสสอนให้ไม่กำหนดว่าเป็นแผ่นดิน มากำหนดว่า
เป็นอากาศคือเป็นช่องว่าง ว่างไปทั้งหมดไม่มีที่สุด
ไม่มีแผ่นดิน ไม่มีป่า เมื่อเป็นดั่งนี้จึงได้สุญญตาคือ
ความว่าง ว่างจากป่า ว่างจากแผ่นดิน แต่ว่าก็ยังมี
ความไม่ว่างคือยังมีอากาศนั้นเอง ช่องว่างไม่มีที่สุด
นั้นเองยังเป็น อสุญญตา คือเป็นความไม่ว่างอยู่
สุญญตาข้อที่ ๔
เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสสอนยิ่งขึ้นไปอีก
ให้ไม่ใส่ใจกำหนดว่าเป็นป่า ไม่ใส่ใจกำหนดว่า
เป็นแผ่นดิน ไม่ใส่ใจกำหนดว่าเป็นอากาศคือ
เป็นช่องว่าง ว่างไม่มีที่สุด ว่างไปหมด มา
ใส่ใจกำหนดว่าวิญญาณไม่มีที่สุด
อันวิญญาณนั้นกล่าวเข้าใจง่ายๆ
ก็คือตัวรู้ หรือความรู้ วิญญาณที่ตรัสแสดงไว้
ในที่ต่างๆ เช่นวิญญาณในธาตุ ๖ ได้แก่ธาตุรู้
วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ วิญญาณในขันธ์ ๕ ได้แก่รู้เห็น รู้
ได้ยิน เป็นต้น ในเมื่ออายตนะภายใน
อายตนะภายนอก มีตากับรูป หูกับเสียง
เป็นต้นมาประจวบกัน ก็เห็น ก็ได้ยิน
อันการเห็นการได้ยินนั้นก็คือตัว
ความรู้อย่างหนึ่งนั้นเอง เห็นก็คือรู้เห็น ได้ยินก็คือรู้
ได้ยิน เป็นความรู้ของวิญญาณธาตุ คือธาตุรู้
ที่รู้ทางอายตนะ เพราะฉะนั้นในที่นี้วิญญาณจึงหมาย
ถึงตัววิญาณธาตุ คือธาตุรู้ นั้นเองก็ได้ หมายถึง
ความรู้ของวิญญาณธาตุคือธาตุรู้นั้น ซึ่งรู้ทางอายตนะ
อันมีลักษณะเป็นเห็นเป็นได้ยิน ดังกล่าวเป็นต้นนั้นก็ได้
แต่เพื่อให้รวบรัดก็แสดงว่า ความรู้ หรือตัวรู้ ความรู้
หรือตัวรู้ไม่มีที่สุด
อันอากาศคือช่องว่างไม่มีที่สุด คือว่างไป
ทั้งหมดนั้น ก็จะพึงกล่าวได้ว่าเป็นความว่างในภายนอก
คราวนี้จึงไม่ใส่ใจกำหนดถึงตัวความว่างซึ่ง
เป็นภายนอกนั้น มากำหนดตัวความรู้ในภายในว่า
ไม่มีที่สุด เพราะว่าอันความว่างหรือช่องว่าง
ไม่มีที่สุดอันเป็นภายนอกนั้น ก็เพราะมีตัวรู้หรือมี
ความรู้ อันกำหนดอยู่ในช่องว่างอันไม่มีที่สุดนั้นเอง ถ้า
ไม่มีตัวรู้ หรือไม่มีความรู้ซึ่งเป็นภายในแล้ว ก็
เป็นอันว่าไม่รับรู้อะไรทั้งนั้น
แม้ว่าจะมีทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างในภายนอก
จะมีป่าจะมีแผ่นดิน ตลอดจนถึงมีอากาศคือช่องว่าง
แต่ว่าถ้าไม่มีวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นธาตุรู้ เป็นตัวรู้ เป็น
ความรู้ ของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ก็รู้อะไรไม่ได้ทั้งนั้น
แต่ว่าที่รู้อะไรได้นั้นก็เพราะมีธาตุรู้ มีตัวรู้ มีความรู้อยู่
จึงรู้อะไรๆ ได้ และเมื่อธาตุรู้ หรือตัวรู้ หรือ
ความรู้มากำหนดอากาศคือช่องว่าง ว่าไม่มีที่สุด คือ
เป็นช่องว่างไปทั้งหมด จึงรู้ รู้ว่าเป็นช่องว่างไปทั้งหมด
ไม่มีที่สุด ฉะนั้นจึงไม่กำหนดสิ่งที่รู้ คืออากาศนั้น
มากำหนดตัวความรู้ข้างใน คือนำสติมากำหนดตัวรู้
ความรู้ซึ่งเป็นภายในนี้ ไม่กำหนดสิ่งที่รู้คืออากาศ
มากำหนดตัวความรู้ หรือตัวรู้ ซึ่งตั้งอยู่ในภายใน
และแม้ตัวรู้ หรือความรู้นี้ก็
ไม่มีที่สุดเช่นเดียวกันกับอากาศที่ไม่มีที่สุด
เพราะมีตัวรู้ หรือมีความรู้ที่ไม่มีที่สุด
จึงกำหนดอากาศคือช่องว่างว่าไม่มีที่สุดได้
อากาศคือช่องว่างที่ไม่มีที่สุดนั้น จะรู้
ได้ก็เพราะมีตัวรู้ หรือมีธาตุรู้ มีความรู้
ที่ครอบคลุมอากาศคือช่องว่างไม่มีที่สุดนั้น เพราะฉะ
นั้น แม้ตัวความรู้ก็เป็นสิ่งไม่มีที่สุดเช่นเดียวกัน
เช่นเดียวกับอากาศที่ไม่มีที่สุด เมื่อเป็นดั่งนี้ ความ
ใส่ใจกำหนดจึงน้อมเข้ามาถึงตัวรู้ หรือธาตุรู้ ความรู้ที่
เป็นภายใน ว่าไม่มีที่สุด ดั่งนี้ก็เป็นสมาธิจิตอันประกอบ
ด้วยญาณคือความหยั่งรู้ หรือปัญญาซึ่ง
เป็นตัวรอบรู้ที่สูงขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง
สุญญตาข้อที่ ๕
เมื่อกำหนดได้ดั่งนี้ ก็เป็นอันว่า
ได้สุญญตาคือความว่าง ว่างจากบ้าน ผู้คน ว่างจากป่า
ว่างจากแผ่นดิน ว่างจากอากาศไม่มีที่สุด แต่ว่าก็ยังมี
ความไม่ว่าง คือตัววิญญาณ คือตัวรู้หรือธาตุรู้นั้นเอง
เพราะฉะนั้น พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสสอนให้ไม่
ใส่ใจกำหนด แม้ว่าวิญญาณ ธาตุรู้ ตัวรู้ หรือความรู้
ไม่มีที่สุด มากำหนดว่าน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี
ความกำหนดดั่งนี้ เป็นความกำหนดที่ทำให้
ไม่มีกังวลห่วงใย
เพราะว่าเมื่อเพ่งดูเข้าไปในอากาศที่
ไม่มีที่สุดก็ดี ในตัวรู้ ธาตุรู้ หรือความรู้ที่ไม่มีที่สุดก็ดี
ย่อมไม่พบว่ามีอะไรแม้แต่น้อยหนึ่งนิดหนึ่ง ไม่มีแผ่นดิน
แผ่นน้ำ ลม ไฟ อันเป็นวัตถุแม้แต่น้อยหนึ่งนิดหนึ่ง
ไม่มีป่าแม้แต่น้อยหนึ่งนิดหนึ่ง ไม่มีบ้านไม่มี
ผู้คนแม้แต่น้อยหนึ่งนิดหนึ่ง เพราะว่า
เป็นอากาศคือช่องว่าง ว่างไปทั้งหมด
และแม้อากาศคือช่องว่างนั้นก็ไม่มีอีกเหมือนกัน
เพราะว่ามีแต่ตัวธาตุรู้ หรือตัวรู้ หรือความรู้ อัน
ไม่มีที่สุด และแม้ตัวธาตุรู้ ความรู้ ตัวรู้ นั้นก็
ไม่มีอีกเหมือนกัน เพราะเป็นความว่าง
อะไรสักน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี
เมื่อกำหนดเข้ามาถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันว่าได้
ความว่างอันเรียกว่าสุญญตา คือความว่าง ว่างจากบ้าน
ว่างจากผู้คน ว่างจากป่า ว่างจากแผ่นดิน ว่าง
จากอากาศที่ไม่มีที่สุด ว่างจากวิญญาณที่ไม่มีที่สุด
แต่ว่าก็ยังมีไม่ว่าง
อยู่ที่ว่าอารมณ์ที่ว่าน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีนั้น เพราะฉะ
นั้นพระบรมศาสดาจึงได้ตรัสสอน ให้
ไม่กำหนดอารมณ์ว่าน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีนั้น มาตั้งทำ
ความสงบอยู่ในภายใน ไม่
ต้องกำหนดว่าน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี เพราะ
ความกำหนดว่าน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีนั้น ก็ยัง
เป็นตัวอารมณ์ อารมณ์ที่กำหนด
สุญญตาข้อที่ ๖
เพราะฉะนั้นจึง
ไม่กำหนดอารมณ์ว่าน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีนั้น
มากำหนดตั้งสงบอยู่ในภายใน ความสงบที่ตั้งอยู่
ในภายในนี้ก็ละเอียดประณีต ไม่มีอารมณ์ว่ารูป
ไม่มีอารมณ์ว่าเสียง ไม่มีอารมณ์ว่ากลิ่น
ไม่มีอารมณ์ว่ารส
ไม่มีอารมณ์ว่าโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้อง
และยังมีธรรมารมณ์ อารมณ์คือธรรมะ
เป็นที่ตั้งอยู่เป็นอย่างละเอียด ไม่ใช่รูป ไม่ใช่เสียง ไม่
ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ไม่ใช่โผฏฐัพพะ เพราะฉะ
นั้นอาการของจิตที่เป็นสัญญาคือความกำหนดหมาย
จึงสงบลงไปเป็นส่วนมากไม่มี รูปสัญญา
ความกำหนดหมายว่าเป็นรูป สัทสัญญา
ความกำหนดหมายว่าเป็นเสียง ฆานสัญญา
ความกำหนดหมายว่าเป็นกลิ่น รสสัญญา
ความกำหนดหมายว่าเป็นรส โผฏฐัพพะสัญญา
ความกำหนดหมายว่าเป็นโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้อง
และตลอดจนถึง ธรรมสัญญา ความกำหนดหมายว่า
เป็นธรรมารมณ์ อย่างหยาบก็ไม่มี เป็นอย่างละเอียด
สำหรับเป็นที่หมายอยู่ ตั้งอยู่ในจิตใจ
และเมื่อเป็นดั่งนี้ จึงเรียกว่ามีสัญญาก็ไม่
ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็คือว่า
ไม่มีรูปสัญญา สัทสัญญาเป็นต้น ไม่มีก็ไม่ใช่คือว่า
ยังมีอยู่แต่ว่าน้อย ละเอียดมาก
เป็นธรรมสัญญาอย่างละเอียดที่กำหนดอยู่ เมื่อกำหนด
ถึงขั้นที่ตรัสสอนไว้นี้ ก็เป็นอันว่าได้สุญญตาคือ
ความว่างมาโดยลำดับ ว่างจากบ้าน ว่างจากผู้คน ว่าง
จากป่า ว่างจากปฐวีแผ่นดิน ว่างจากอากาศ ว่าง
จากวิญญาณ ว่างจากอารมณ์ที่ว่าน้อยหนึ่งนิดหนึ่ง
มาตั้งสงบอยู่ในภายใน เหมือนอย่างไม่มีสัญญาอะไร
แต่ว่าก็มีสัญญา คือความที่กำหนดหมาย
อยู่ดั่งนี้ อันเป็นตัวสัญญาความกำหนดหมาย
กำหนดหมายอยู่ว่าไม่มีอะไร ตั้งสงบอยู่ในภายใน ก็
เป็นความว่างที่ตรัสสอนอีกชั้นหนึ่ง
เพราะฉะนั้นตามที่ตรัสสอนไว้นี้
เป็นการตรัสสอนให้ฝึกหัดปฏิบัติทำสมาธิ พร้อมทั้ง
ได้ปัญญาคือความรู้ไปด้วยกัน จิตก็ได้สมาธิที่เป็นตัว
ความสงบตั้งมั่น และได้ปัญญาที่เป็นตัวความรู้
และเมื่อละเอียดยิ่งขึ้นสติก็ตื่นสว่างโพลงยิ่งขึ้น
ปัญญาก็รู้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น จิตก็ตั้งมั่นสงบ
และผ่องใสแจ่มใสยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ ปราศจากนิวรณ์
ทั้งหลาย เป็นความสว่างโพลง เป็นความตื่น เป็น
ความผ่องใสใจอยู่ภายใน เป็นความตั้งมั่นสงบอยู่
ในภายใน ยิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งนี้ก็
ต้องอาศัยการปฏิบัติทางสติปัฏฐาน
กายเวทนาจิตธรรมมาโดยลำดับนั้นเอง
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 14:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๓
�����
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อ
ความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
]
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
ในการปฏิบัติอบรมจิตในเบื้องต้นก็ขอ
ให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจ
ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิ
ในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ได้แสดงสุญญตาคือความว่าง
ที่พระบรมศาสดาได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าทรงอยู่
โดยมากด้วยสุญญตาวิหาร ธรรมะเครื่อง
อยู่คือสุญญตาความว่างทั้งเมื่อก่อนแต่นี้ และทั้ง
ในเวลานี้คือเวลาที่ตรัสเล่าเรื่องนี้และพระองค์ก็
ได้ทรงแสดงถึงวิธีปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง
ตั้งแต่เบื้องต้นขึ้นไปโดยลำดับ
ก็โดยที่บุคคลสามัญทั่วไปนั้นในขณะที่
อยู่เฉยๆ มิได้ทำอะไรในบางคราว ก็รู้สึกว่าว่างอัน
เป็นที่รำคาญ ไม่ผาสุกแต่หากให้ทำอะไรต่างๆรู้สึกว่า
ไม่ว่าง ก็ทำให้เพลินไปในการงานต่างๆ ที่ทำ
นั้นแต่อันที่จริงในขณะที่ต้องมาอยู่ว่าง เช่น
ในขณะที่เจ็บป่วยก็ดี หรือในขณะที่ลาเข้ามาบวช
พักการพักงานชั่วระยะหนึ่งก็ดี ที่รู้สึกว่าว่าง ไม่มีอะไร
จะทำ น่ารำคาญ และมีความทุกข์ ไม่สบายอยู่กับ
ความว่าง ไม่มีอะไรจะทำดังกล่าวนั้น
แต่อันที่จริงความว่างที่เข้าใจว่าว่างอันทำ
ให้รำคาญนี้หาได้ชื่อว่าสุญญตา คือความว่าง อัน
เป็นธรรมปฏิบัติในพุทธศาสนาไม่เพราะว่า จิตใจไม่ว่าง
เต็มไปด้วยนิวรณ์ต่างๆ ว่าถึงนิวรณ์ ๕ ก็เป็น กามฉันท์
ความยินดีรักใคร่อยู่ในกามบ้าง เป็น พยาบาท
ความหงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคืองต่างๆบ้างเป็น
ถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มบ้าง เป็น อุทธัจ
จะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญบ้าง เป็น วิจิกิจฉา
ความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ บ้าง
ใจจึงไม่สงบเพราะมีอาลัยความผูกพัน
ติดอยู่ในสิ่งนั้นบ้าง ในสิ่งนี้บ้างในบุคคลนั้นบ้าง
ในบุคคลนี้บ้าง ซึ่งโดยปรกตินั้นเมื่อมี
ความอาลัยผูกพันอยู่ดั่งนี้ก็มัก
จะไปหาสิ่งที่มีอาลัยผูกพัน หรือบุคคลที่มีอาลัยผูกพัน
อยู่ได้ (จบ ๒/๑)(ข้อความน่าจะไม่ต่อเนื่อง)
( เริ่ม ๒/๒) แล้วก็มีอารมณ์ ที่ไม่ดีก็เป็นโกรธ เป็น
ไม่พอใจ เหล่านี้เป็นต้น ใจไม่ว่าง ใจไม่สงบเพราะฉะ
นั้นความว่างก็คือตัวความสงบ และคือตัวอุเบกขา
ความที่รู้วางไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่งใจสงบ ใจวาง แม้รู้
อยู่ก็สงบได้ วางได้ ดั่งนี้ จึงจะเป็นสุญญตาคือ
ความว่าง
สุญญตา ความว่าง
และสุญญตาคือ
ความว่างที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
นั้นหากหัดปฏิบัติไปตามที่ทรงสั่งสอนตั้งแต่ในเบื้องต้น
ก็ย่อมจะทำได้สะดวกจะทำให้จิตใจนี้ว่าง
จากอารมณ์ที่ปรุงใจ ว่างจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ
ไปโดยลำดับเพราะฉะนั้นจะอยู่ที่ไหน จะป่วยหรือ
ไม่ป่วย จะบวชหรือไม่บวชก็สามารถที่จะพบ
กับสุญญตาคือความว่างตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
ไว้ได้หากไม่ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน ก็จะไม่
ได้พบสุญญตาคือความว่างเจ็บป่วยก็ไม่
ได้พบสุญญตาคือความว่าง บวชก็ไม่ได้พบสุญญตาคือ
ความว่างเป็นคฤหัสถ์ก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง
เป็นบรรพชิตก็ไม่ได้พบสุญญตาคือความว่าง
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมะ จึง
ต้องฝึกหัดปฏิบัติทำสุญญตา คือ
ความว่างตามที่ทรงสั่งสอนดั่งที่ได้แสดงมาแล้ว
โดยลำดับ แต่ว่าจะได้แสดงทบทวนในตอนท้ายซึ่งจะ
เป็นทางนำการปฏิบัติไปด้วย
ความหมายของเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ก็ได้แสดงมาถึงที่ตรัสสอนให้ มนสิการ
คือทำใจกำหนดในจิตอย่างละเอียด จน
ถึงปล่อยอารมณ์ทั้งหมดทั้งที่เป็น รูปารมณ์ อารมณ์ที่
เป็นรูป หรือดังที่เรียกว่ารูปฌาน รูปสมาบัติกับทั้ง
อรูปารมณ์ อารมณ์ที่ไม่มีรูป ดังที่เรียกว่าอรูปฌาน
หรืออรูปสมาบัติ แต่ก็ไม่หมดทีเดียว ถึง
ไม่หมดก็ละเอียดที่สุด เกือบจะหมด คือ
ในข้อที่ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
คือมีสัญญาอยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก แม้
เป็นสัญญา คือความกำหนดหมายที่ละเอียดมาก
จิตนี้ก็สว่างโพลง ตั้งมั่น มีความรู้อยู่เต็มที่ มีความ
เข้าไปเพ่งอยู่เต็มที่ คือเข้าไปเพ่งอยู่กับสิ่งที่ไม่มีนั้น
แต่ว่าอันที่จริงนั้นก็ยังมีอยู่อีกหน่อยหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มีไป
ทั้งหมด
คล้ายๆ กับว่า รู้สึกว่าจะมีคนหลบอยู่
ในห้องๆ หนึ่งก็เข้าไปในห้องนั้น แล้วก็ค้นหาว่ามีใคร
อยู่ในห้องนั้น ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง ก็
ไม่พบใครสักคนหนึ่ง จึงมีความเข้าใจว่าไม่มีใครอยู่
ในห้องนั้น แต่อันที่จริงนั้นลืมนึกไปถึงว่า มีตัวเองอยู่
ในห้องนั้นอีกหนึ่งคน คือตัวเองซึ่งเป็นผู้ค้นหานั้น
เพราะฉะนั้นไม่มีใครอื่น เรียกว่าไม่มีอารมณ์ทั้งที่
เป็นรูป ทั้งที่เป็นอรูป อื่นๆ ทั้งหมดแต่ว่าก็ยังมีตัวเรา
อยู่ อันเป็นที่ยึดถืออยู่ และในการค้นหานั้นก็ยัง
เป็นการค้นซึ่งแสดงว่ายังไม่เสร็จกิจ ยังต้องค้น ยัง
ต้องปรุงแต่งการค้น
เพราะฉะนั้นที่ว่า มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่นั้น ก็หมายความว่ามีสัญญา
อยู่เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดมาก ไม่ถึงจะกล่าวว่าเป็น
รูปสัญญา กำหนดหมายในรูป
สัทสัญญา กำหนดหมายในเสียง หรือ
ในอากาศ ช่องว่าง ในวิญญาณที่เป็นตัวรู้หรือในอะไรๆ
ที่แม้น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ในสิ่งที่เป็นช่องว่างนั้นแต่ก็
ยังมีตัวสัญญาที่กำหนดอยู่นั่นแหละ คือกำหนดว่าไม่มี
ความกำหนดว่าไม่มีนั้นเองก็เป็นสัญญา
ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงว่า
แม้หัดปฏิบัติมาถึงขั้นนี้ก็ยังมีเหลือ
อยู่อย่างหนึ่งคือกายนี้ที่มีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิต
เป็นปัจจัยกับทั้งยังมีตัวสัญญาที่แม้ว่าจะไม่ชัดเจน
เพราะเป็นความกำหนดอยู่ว่า น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี
ตัวความกำหนดนั้นก็ยังเป็นตัวสัญญา แต่
เป็นอย่างละเอียด
อนิมิตเจโตสมาธิ
ฉะนั้นในขั้นต่อไป จึงได้ตรัสสอนให้ไม่
ใส่ใจถึงความกำหนดหมายอัน
เป็นตัวสัญญาที่ละเอียดดังกล่าว แต่ให้ใส่ใจ
ถึงข้อที่เรียกว่า อนิมิตเจโตสมาธิ คือสมาธิแห่งใจที่
ไม่มีนิมิตสำหรับกำหนดหมายอัน อนิมิตเจโตสมาธิ
สมาธิแห่งใจที่ไม่มีนิมิตเป็นเครื่องกำหนดหมายนี้
เป็นสิ่งที่ละเอียดมากและโดยปรกติก็แสดง
ในขั้นสูงสุดของการปฏิบัติ
และพระอาจารย์โดยมากก็แสดงอธิบาย
เป็นวิปัสสนากรรมฐานไปทีเดียวว่า
คือปัญญาที่พิจารณานิมิต คือสิ่งที่กำหนด
ทั้งหมดของจิตใจหรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า ขันธ์ ๕
ก็ดี นามรูปก็ดีหรือว่ารูป หรือว่ากาย เวทนา จิต ธรรม
ก็ดี หรือว่าอายตนะ หรือว่าธาตุก็ดีซึ่งทั้งหมดก็มีอยู่
ในกายและใจอันนี้ทั้งหมด ไม่กำหนดยึดถือ
ในสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นอัตตาคือเป็นตัวเราของเราแต่ทั้งหมดเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ตั้ง
อยู่คงที่ไม่ได้เป็นอนัตตาไม่ใช่อัตตาตัวตน
และเมื่อได้พิจารณาจนได้ปัญญา
ในไตรลักษณ์ดั่งนี้จึงไม่มีนิมิต คือไม่มี
ความยึดถือของจิตที่กำหนดในอะไรๆทั้งสิ้นว่าเที่ยง
เป็นสุข เป็นอัตตาตัวตน ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ
อนึ่ง ก็อาจพิจารณา
ได้อีกว่าอนิมิตเจโตสมาธินั้น สูงกว่าขั้นที่กำหนด
ในสัญญาอย่างละเอียดเป็นสัญญาที่กำหนดในความ
ไม่มี น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มีซึ่งเป็นตัวสัญญาเหมือนกัน
ละเอียดจนถึงว่าไม่ถนัดที่จะเรียกว่ามีสัญญา แต่ก็
ไม่อาจจะเรียกได้ว่าไม่มีสัญญา เพราะมีเหมือนกัน ซึ่ง
ในขั้นอนิมิตนี้ก็เป็นอันว่าเลิกสัญญากันทั้งหมด จิต
เข้าสู่ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตนั้นคือ
เป็นวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ เป็นอภัสรธาตุ
คือธาตุที่ผ่องใส ทั้งสองนี้เป็นธรรมชาติของจิต รู้
และผ่องใส
ในขั้นอนิมิตเจโตสมาธินี้ จิตจึงตั้งสงบ
อยู่ภายใน ประกอบด้วยความรู้ประกอบด้วย
ความผ่องใส ไม่ออกมากำหนดอะไรๆ ทั้งหมด
หยุดสงบอยู่ในภายในจึงไม่มีสัญญาในอะไรๆ ทั้งหมด
ตั้งสงบอยู่ในภายใน แต่ว่ารู้ รู้และผ่องใส
อนิมิตเจโตสมาธิในภาวะปรกติธรรมดา
อาจจะเป็นอนิมิตเจโตสมาธิในขณะที่ยัง
อยู่เป็นปรกติธรรมดานี้ก็ได้ เช่นว่า ไม่ได้นั่งเข้าที่
เข้าทางอะไร ตาก็ลืม หูก็ฟัง จมูก ลิ้น กาย ก็รับ กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ แต่ว่า มโน คือใจ นั้นไม่ออก ตั้งสงบอยู่
ด้วยความรู้และความปภัสร คือผุดผ่องเท่านั้น
อะไรผ่านเข้ามาทางตาก็รู้ก็เห็น เสียงอะไรดังขึ้นก็
ได้ยิน เหล่านี้เป็นต้น แต่ว่าจิตรู้แล้วก็แล้วไป เห็นก็
แล้วไป ได้ยินก็แล้วไป ไม่ออกมายึด
ไม่ออกมากำหนด ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนดทั้ง
ในทางที่ก่อกิเลส ก่อโลภะ ก่อโทสะ ก่อโมหะ ทั้ง
ในทางที่เป็นกรรมฐาน เช่น กำหนดลมหายใจเข้าออก
กำหนดผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กำหนดธาตุ ๔ เป็นต้น
ที่เรียกว่าออกมากำหนดเป็นกรรมฐาน
ไม่ออกมากำหนดทั้งหมด เห็นอะไร
ได้ยินอะไร ก็รู้รูป รู้เสียงเป็นต้น ก็แล้วไปเท่า
นั้นจิตตั้งสงบอยู่ในภายในด้วยความรู้ และด้วย
ความผ่องใส
นิมิต อนิมิต
ดั่งนี้แหละคือเป็นตัวอุเบกขาอย่างแท้จริง
ในขั้นนี้จิตตั้งสงบอยู่ดั่งนี้ จึง
ไม่มีนิมิตคือเครื่องกำหนดอะไร เพราะ
ไม่ออกไปกำหนด เมื่อจิตออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่ง
นั้นจึงเป็นนิมิตขึ้นมา แต่เมื่อจิตไม่ออกไปกำหนดในสิ่ง
ใด สิ่งนั้นก็ไม่เป็นนิมิต เพราะฉะนั้นอาการที่จิตตั้งสงบ
อยู่ภายใน ดั่งนี้เรียกว่าเจโตสมาธิ สมาธิของใจ
และตั้งสงบอยู่ไม่ออกไปกำหนดอะไร ทางตา ทางหู
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางมนะคือใจ ทั้งหมด
ตั้งสงบอยู่เฉยๆ อะไรมาก็เห็น อะไรมาก็
ได้ยินเห็นหมดได้ยินหมดอย่างธรรมดานี่แหละ
แต่ว่าตั้งสงบอยู่เฉยๆ ไม่ออกมากำหนดอันนี้แหละเป็น
เป็นตัวเป็นอนิมิต เป็นอนิมิตเจโตสมาธิในความรู้
นั้นอาจจะประกอบด้วยไตรลักษณญาณ รู้
ในไตรลักษณ์ก็ได้หรือว่าไม่ได้นึกถึงว่าเป็น อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา อะไร ก็ได้รู้สงบอยู่ภายในเฉยๆ ดั่งนี้
เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ
และแม้ได้ในขั้นนี้ซึ่งเป็นสุญญตา
ในขั้นปฏิบัติอย่างสูงสุดแต่ก็ยังมีเหลืออยู่ที่กายนี้
อันมีอายตนะทั้ง ๖ และมีชีวิตเป็นปัจจัยอันที่จริงนั้นไม่
ใช่เหลืออยู่เพียงกายนี้เท่านั้น
ยังมีอวิชชาตัณหาอุปาทานเหลืออยู่
ด้วยเหมือนอย่างตัวอย่างที่กล่าวแล้วเมื่อกี้นี้ ใช้
เป็นตัวอย่างอันเดียวกันได้ว่าเข้าไปค้นหาใครอะไร
ในห้องๆหนึ่ง ก็ไม่เห็นอะไร ไม่เห็นใคร ว่างไป
ทั้งหมดก็รู้สึกว่าว่าง ไม่มีใคร ไม่มีอะไร แต่อันที่จริงนั้น
ยังมีตัวเราอยู่ซึ่งเป็นผู้เข้าไปค้นนั้นและการค้นนั้นก็
เป็นการปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าเป็นสังขาร คือความปรุงแต่ง
และเมื่อน้อมเข้ามาว่าจิต ก็เป็นความปรุงแต่งจิตใจ
ปรุงแต่งให้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิขึ้นเช่นเดียว
กับปรุงแต่งในขั้นที่แสดงมาโดยลำดับ เป็นขั้นๆ ขึ้นมา
เหมือนอย่างการขึ้นบันใดขึ้นมาทีละขั้น
ก็ต้องปรุงแต่งการขึ้นๆ มา คือเดินขึ้นมาไม่ปรุงแต่งคือ
ไม่เดิน ก็ขึ้นบันใดมาไม่ได้การจะขึ้นได้ก็ต้องเดิน
การเดินนั้นก็เป็นการปรุงแต่ง คือปรุงแต่งการเดินฉัน
ใดก็ดี ในข้อนี้ก็ต้องเป็นการปรุงแต่ง
คือการปรุงแต่งการปฏิบัติเพราะฉะนั้น เมื่อยัง
เป็นการปรุงแต่ง สิ่งใดที่เป็นการปรุงแต่ง สิ่งนั้นก็
เป็นอนิจจะคือไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา คือ
เป็นสิ่งเกิดดับ
ความปล่อยวาง
เพราะฉะนั้น ในขั้นต่อไปจึงตรัสสอน
ให้หยุดปรุงแต่งดูเข้ามาในภายในเท่านั้น ไม่ปรุงแต่ง
หยุดปรุงแต่งเพราะว่าปรุงแต่งขึ้นมาจนถึงขั้นที่สุดแล้ว
เหมือนอย่างก้าวขึ้นบันใดมาถึงขั้นที่สุดแล้วก็เป็นอันว่า
ไม่ต้องก้าวขึ้นต่อไป หยุดก้าว เพราะว่าถึงขั้นที่สุด
แล้วเมื่อหยุดปรุงแต่งดั่งนี้ ก็คือความปล่อยวาง
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ผู้ที่
ไม่ปรุงแต่งจิตจึงพ้นจากกามาสวะ
อาสวะคือกามภวาสวะ อาสวะคือภพ อวิชชาสวะ
อาสวะคืออวิชชา อาสวะนั้นเป็นกิเลสที่ดองสันดาน
ซึ่งตรัสจำแนกออกเป็นกามคือความรักความใคร่
ความปรารถนาเป็นภพคือความเป็น ตั้งต้นแต่เป็นเรา
เป็นของเรา และเป็นนั่นเป็นนี่ต่างๆ เป็นอวิชชาคือ
ความไม่รู้ คือไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริงโดยตรง
ก็ในอริยสัจจ์ตามที่ตรัสสั่งสอนเหล่านี้
เป็นกิเลสที่ดองสันดานทุกๆ สัตว์บุคคล
หรือเรียกว่าสัตว์โลก
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติทางพุทธศาสนาที่
จะเสร็จกิจนั้นจึงต้องปฏิบัติให้สิ้นอาสวะดังกล่าว
จึงเรียกท่านผู้ที่สิ้นอาสวะว่าพระขีณาสวะ
หรือพระขีณาสพ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
หรือว่าสิ้นอาสวะกิเลสที่ดองสันดาน และเมื่อเป็นดั่งนี้
จึงบรรลุถึงนิพพาน ธรรมะหรือธรรมชาติที่ไม่มีกิเลส
เป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหมด
นิพพาน
อันนิพพานนั้นมาจากคำว่า นิ ที่แปลว่า
ไม่มี หรือแปลว่าออกกับ วานะ ที่แปลว่ากิเลส
เป็นเครื่องร้อยรัดกันโดยมาก แต่บางทีก็แปล
กันว่าลูกศร วานะคือกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด
หรือลูกศรนี้ เป็นลูกศรที่เสียบจิตใจ ก็คือตัวความรัก
ความใคร่ความปรารถนาบ้าง ความเป็นเรา
เป็นของเราบ้าง ตัวความไม่รู้ในสัจจะที่เป็นตัว
ความจริง อันทำให้หลงยึดถือต่างๆ ต่อไปบ้าง เหล่านี้
เป็นกิเลสที่เหมือนลูกศรเสียบจิต
บางทีก็ยกเอามาอันเดียวว่า
ลูกศรที่เสียบจิตนี้ คือตัณหาความทะยานอยาก หรือ
ความดิ้นรนทะยานอยาก เพราะว่าเป็นอาการที่กำหนด
ได้ง่าย จะเป็นกิเลสตัวไหนก็ตาม เมื่อมีอยู่แล้ว
เสียบจิตใจอยู่แล้ว ก็ทำให้จิตดิ้นรนทั้งนั้นไม่สงบ น้อย
หรือมาก ตัณหาจึงเป็นตัวลูกศรที่เสียบจิตหาก
ยังถอนลูกศรที่เสียบจิตนี้ไม่ได้ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้
ตัณหา นันทิ
แต่บุคคลเรานั้นมักจะ
ไม่ชอบถอนลูกศรที่เสียบจิตตัวนี้ออก ยังเพลิน ยังยินดี
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ตัณหานี้ไป
ด้วยกันกับนันทิ คือความเพลินมีความยินดียิ่งๆ
เพราะฉะนั้นจึงมักชอบที่จะหาตัณหามาเสียบจิตกัน
อยู่เสมอ มีตัณหาเสียบจิตอยู่แล้ว ก็ไปหามาเสียบจิต
เข้าอีก เป็นบุคคลบ้าง เป็นสิ่งของบ้างเป็นอะไรบ้าง
ไม่หยุด เมื่อเป็นดั่งนี้จึงพ้นทุกข์ไม่ได้แต่เพิ่มทุกข์
ให้มากขึ้น
ฉะนั้นในทางปฏิบัติที่จะให้ถึงนิพพาน
นั้นก็คือว่า ปฏิบัติถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ออกนั้นเอง
ที่มีอยู่ยังถอนไม่ได้ ก็ไม่หามาเพิ่มเข้าอีก
และพยายามถอนที่เสียบอยู่แล้วให้หลุดไปโดยลำดับ
ดั่งนี้ ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้หมดเมื่อไร ก็
เป็นนิพพานเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่นิพพาน
อยู่ที่ไหน นิพพานก็อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่นิพพานก็
อยู่ที่จิตนี่แหละ ไม่ใช่ที่ไหน มีตัณหาเสียบจิตอยู่ก็ไม่
ใช่นิพพาน ถอนตัณหาที่เสียบจิตออกได้แล้วก็
เป็นนิพพาน
วิธีที่จะถอนตัณหาเสียบจิต
พระพุทธเจ้าได้มีพระมหากรุณา
ทรงแสดงสั่งสอนวิธีที่จะถอนตัณหาที่เสียบจิตนี้ไว้
ด้วยคำสั่งสอนทุกข้อทุกบทที่ทรงสั่งสอน และ
โดยเฉพาะในข้อสุญญตานี้ได้ทรงสั่งสอนไว้ตั้งแต่
ในขั้นต้น ผู้ต้องการปฏิบัติก็ปฏิบัติตามแนวสติ... (จบ
๒/๒ ) (ข้อความขาดนิดหน่อย) (เริ่ม ๓/๑ )
เพราะฉะนั้นก็
ต้องหัดกำหนดที่กายเวทนาจิตธรรมนี่แหละว่าเป็นป่า
ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ผู้คน ก็เป็นการกำหนดที่เรียกว่า
อรัญสัญญา กำหนดป่าขึ้นมา แต่เมื่อ
ยังมีกายมีเวทนาจิตธรรมอยู่ก็ง่ายที่จะน้อมน้าวจิตไป
เป็นบ้าน เป็นผู้เป็นคนกำหนดอีกทีหนึ่งก็ ปฐวีสัญญา
กำหนดให้เป็นแผ่นดินขึ้นมา เรียบราบเป็นหน้ากลอง
ไม่มีภูเขา ต้นไม้ ห้วยหนองคลองบึง ไม่มีกาย
ไม่มีเวทนา ไม่มีจิต ไม่มีธรรม เป็นธรรมชาติธรรมดา
หรือเป็นธาตุไปทั้งหมด ขั้นนี้ก็สูงขึ้นมาไกลกิเลสอีก
และต่อจากนี้ก็ตรัสสอนให้กำหนดเพิกแผ่นดินออกเสีย
ทั้งหมด เป็นอากาศคือเป็นช่องว่างไปทั้งหมด
ขึ้นไปสูงขึ้นไปก็น้อมเข้ามาว่าเป็นวิญญาณคือตัวรู้ไป
ทั้งหมดสูงขึ้นไปอีก ก็กำหนดว่าในช่องว่างและ
ในตัวรู้ที่แผ่ไปในช่องว่างนั้นน้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี
สูงขึ้นไปอีกก็กำหนดดูว่าความที่กำหนดดั่งนั้น
เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่เป็นสัญญาก็ไม่ใช่ ละเอียดมาก
อีกทีหนึ่งก็ อนิมิตเจโตสมาธิ จิตรวม
เข้ามาสงบตั้งอยู่ภายใน ประกอบด้วยธาตุของจิต ๒
อย่างคือธาตุรู้ และธาตุที่ปภัสรคือผุดผ่อง รู้อะไร
ได้ยินอะไรเป็นต้นก็ไม่กำหนด จึงเป็น อนิมิตะ
อีกขั้นหนึ่งก็คือว่าทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นสังขารคือ
ความปรุงแต่ง ยังต้องปรุงจิตปรุงใจเพราะฉะนั้น ก็
ไม่ยึดถือ วางความปรุงแต่ง
ความว่างที่เป็นปรมุตระ
ตอนนี้เองที่จิตพ้นได้
จากอาสวะกิเลสที่ดองสันดานทั้งหลาย
ถอนตัณหาออกจากจิตใจได้ ถอนได้เมื่อไรก็
เป็นนิพพานสิ้นทุกข์กันเมื่อนั้น จึงได้ตรัสว่าในข้อท้ายนี้
เป็นสุญญตาคือความว่างที่เป็น ปรมุตระ ปรมะ
ก็คือบรม อย่างยิ่ง อนุตระ ก็คือว่าไม่มีสุญญตาอื่น
จะยิ่งขึ้นไปกว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีกายนี้
ซึ่งมีอายตนะ ๖ อยู่เท่านั้น แต่
ไม่มีกิเลสดองสันดานก็ทะนุบำรุงร่างกายนี้ไปจนกว่า
จะนิพพาน คือดับขันธ์ในที่สุด นี้เป็น
ความที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้
ในพระสูตรที่ว่าสุญญตานี้
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด
และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 14:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๔
�����
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
]
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
ในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ
ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจ
ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง
เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
สติปัฏฐานการปฏิบัติตั้งสติ เพื่อ
ให้สติตั้ง และเพื่อให้ได้ปัญญาหรือญาณความหยั่งรู้ใน
กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสติปัฏฐานในกาย เวทนา
จิต ธรรม เป็นโพชฌงค์ในกาย เวทนา จิต ธรรม และ
เป็นญาณความหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ก็ในกาย เวทนา
จิต ธรรม ทั้งหมดนี้ก็รวมอยู่ที่จิตนี้เอง มิใช่ที่อื่น
สติก็ตั้งขึ้นที่จิต โพชฌงค์ที่เป็นตัว
ความรู้ก็ตั้งขึ้นที่จิต ญาณคือความหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง
๔ ก็ตั้งขึ้นที่จิต แม้ว่าจะมีศัพท์แสงธรรมะ
อยู่มากดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว แต่ผู้ปฏิบัติเมื่อ
ได้ปฏิบัติตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ให้ได้สติในลมหายใจ ให้เป็นสติปัฏฐานในลมหายใจ
เมื่อได้สติขึ้นมาใจรวมเป็นสมาธิ ก็จะ
ได้ปัญญาขึ้นมาเป็นโพชฌงค์ และจะได้ญาณคือ
ความหยั่งรู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดทุกข์ รู้จัก
ความดับทุกข์ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ขึ้น
ด้วยตนเอง
ความรู้เห็นที่เป็นกายสักขี
และหาก
ได้อาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นแสงสว่างนำทาง ก็ยิ่งจะทำให้ได้สติปัฏฐาน
ได้โพชฌงค์ ได้ญาณในอริยสัจจ์ ง่ายสะดวกขึ้นไปอีก
และแม้ว่าจะได้ขั้นของธรรมดังกล่าว ถึงจะไม่
ต้องรู้จักชื่อเสียง แต่ก็เป็นอันว่าได้ว่าถึง
เหมือนอย่างเมื่อมีแสงสว่างส่องทาง
และคนเดินทางก็มีตาลืมดูทาง
ก็เดินไปตามทางที่แสงสว่างส่อง เห็นต้นไม้นานาชนิด
มีดอกนานาชนิด ที่อยู่สองข้างทาง แม้จะ
ไม่รู้จักว่าต้นไม้นี้ชื่อนั่น ต้นไม้นี้ชื่อโน่น แต่ก็รู้ก็เห็น
เห็นต้น เห็นดอก เห็นใบ เป็นต้น โดยไม่ต้องรู้จักชื่อ
ก็รู้ก็เห็น ดั่งนี้ เรียกว่าเป็น กายสักขี คือ
เป็นเหมือนอย่างเป็นสักขี พยานทางกาย มองเห็น
ดั่งนี้แหละคือความรู้ความเห็นธรรมะ
แม้ว่าจะได้เล่าเรียน
ให้รู้จักชื่อเสียงของธรรมะ แต่ไม่ได้เดินไป
ในสวนของธรรมะเอง ถึงจะรู้จักว่ามีต้นไม้ชื่อนั้นชื่อนี้
ลักษณะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็สักแต่ว่ารู้ตามตำราเท่า
นั้น หรือตามที่ฟังมาเท่านั้น ไม่ได้เห็นด้วยตนเอง
บางทีเมื่อไปเห็นเข้าด้วยตนเองแล้ว ก็ไม่รู้จักเสียด้วย
ซ้ำว่าชื่อต้นอะไร ตามที่ฟังมา ตามที่เรียนมา
ดั่งนั้น การปฏิบัติให้ได้สติ ได้โพชฌงค์
ได้ญาณในอริยสัจจ์ขึ้นมาด้วยตนเอง โดยตั้งต้นปฏิบัติ
กำหนดจิตเข้ามากำหนดดูลมหายใจเข้า
ลมหายใจออกนี้แหละ ให้ได้สมาธิ และเมื่อได้สมาธิขึ้น
แล้ว ความรู้ความเห็นจะเป็นไปเอง และก็
เป็นดังกล่าวเมื่อได้มีความรู้
ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าช่วย ก็ยังจะทำให้ได้รับ
ความสะดวกในการปฏิบัติยิ่งขึ้น
ความสุขในการปฏิบัติธรรม ๔ ประการ
พระพุทธองค์ได้ทรงสอนให้รู้จัก
ความสุข ซึ่งประสงค์ในการปฏิบัติธรรม
และทรงสั่งสอนให้รู้จักวิมุติคือความหลุดพ้น ดังที่
ได้ตรัสเรียกว่า เนกขัมมะสุข ความสุขที่เกิด
จากเนกขัมมะคือการออก ปวิเวกกะสุข ความสุขที่เกิด
จากความสงัดสงบ อุปสมะสุข ความสุขที่เกิดจาก
ความสงบรำงับ สัมโพธิสุข ความสุขที่เกิดจาก
ความรู้พร้อม ดั่งนี้
อันความสุขที่ได้ตรัสชี้ไว้เหล่านี้ เพื่อ
ความเข้าใจง่าย จึงได้ยกเอาคุณลักษณะแห่งความสุข
นั้นกำกับไว้ด้วย เช่นที่ตรัสเรียกว่า เนกขัมมะสุข
เป็นต้น ผู้ปฏิบัติธรรมะหากได้ตั้งใจฟัง และ
ได้ทราบพระพุทธาธิบายตามสมควร ก็ย่อมจะมี
ความรู้สึกว่า แม้ว่ายังไม่สามารถจะได้พบกับ
เนกขัมมะสุข อย่างสมบูรณ์ได้ แต่ว่าก็จำที่จะต้องให้
ได้ความสุขเช่นนี้ แม้น้อย เพราะว่าหากไม่ได้เสียเลย
แล้ว จะไม่ได้รับความสุขอันแท้จริง ซึ่ง
เป็นผลอันประเสริฐสำหรับตนเองเลย
เนกขัมมะสุข
เนกขัมมะสุข ความสุขที่เกิดจากการออก
ก็หมายถึงว่าออกจากเรื่องวุ่นวายทั้งหลาย อันเนื่องมา
จากความกังวลพัวพัน เป็นต้น ซึ่งเรียกรวมว่ากิเลส
แม้ว่าทุกคนผู้ที่ยังละกิเลสไม่ได้ ยังมีกิเลสอยู่ และไม่
สามารถจะโยนทิ้งได้ เพราะอย่างไรๆ ก็ยังมีกิเลส
แต่แม้เช่นนั้นถ้าหากว่าให้กิเลสครอบงำโดยไม่มี
ความว่างเว้นแล้ว ก็จะมี
ความกังวลห่วงใยยุ่งเหยิงสับสน หาความว่างมิได้ เมื่อ
เป็นดั่งนี้ แม้จะมีความบริบูรณ์สมบูรณ์
ด้วยทรัพย์สินภายนอกต่างๆ แต่ว่าจิตใจของบุคคลเอง
นั้นไม่ได้รับความสุขอันแท้จริงเลย เพราะฉะนั้นจึง
ต้องหัดปฏิบัติทำจิตใจ ให้ออกได้
จากเครื่องกังวลผูกพันทั้งหลาย น้อยหรือมาก ไม่ยอม
ให้เรื่องทั้งหลายเข้ามาผูกพัน รึงรัด ครอบงำ
เสียจนหาความว่าง ความสบาย ความสงบ ใดๆ มิได้
นิยานิกธรรม
เพราะฉะนั้น พระบรมศาสดาจึง
ได้ตรัสสอนให้ปฏิบัติ นำตนออก
จากเครื่องผูกพันห่วงใยเป็นต้นเหล่านี้ไปโดยลำดับ
ธรรมะที่ทรงสั่งสอนจะเป็นขั้นทานก็ตาม ขั้นศีลก็ตาม
ขั้นภาวนาคือสมถะวิปัสสนา หรือสมาธิปัญญาก็ตาม
ทุกข้อทั้งหมดทุกบทย่อมเป็นการสั่งสอนที่นำออกทั้ง
นั้น เพราะฉะนั้น
การปฏิบัติธรรมะของพระพุทธเจ้าทุกข้อทุกบท จึง
เป็นการปฏิบัตินำออกไปจากเครื่องผูกพันอาลัยห่วงใย
รวมเข้าก็คือว่าออกจากกิเลสและกองทุกข์เป็นเปลาะๆ
เป็นเรื่องๆ ไปโดยลำดับ และเมื่อเป็นดั่งนี้
ปฏิบัติตนออกไปได้เท่าใด ก็จะทำให้ได้ความสุขเท่า
นั้น ออกได้มากก็ได้ความสุขมาก ออกได้น้อยก็ได้
ความสุขน้อย เพราะฉะนั้น ความสุขที่เกิด
จากการออกดั่งนี้คือ เนกขัมมะสุข และเมื่อมีความ
เข้าใจว่าเป็นสุขสำหรับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นพระไม่ว่า
จะเป็นคฤหัสถ์ ไม่ว่าจะเป็นชายไม่ว่าจะเป็นหญิง ก็จะ
ต้องมีการปฏิบัติออกไปได้ จึงจะได้ความสุขอันแท้จริง
ดั่งนี้คือ เนกขัมมะสุข
เพราะฉะนั้น ธรรมะที่
เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงได้เรียกว่า
นิยานิกธรรม ธรรมะที่เป็นเครื่องนำออกไป
คือนำออกไปจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งนั้น ไม่มีที่จะนำ
เข้ามาสู่กิเลสและกองทุกข์เลยสักข้อเดียว เพราะฉะ
นั้น ผู้ปฏิบัติธรรมะที่เป็นนิยานิกธรรมนี้ จึง
ได้การออกไปจากกิเลสและกองทุกข์ เป็นเรื่องๆ
เป็นข้อๆ เป็นเปลาะๆ ไปโดยลำดับดั่งนี้คือ
เนกขัมมะสุข
ปวิเวกกะสุข
และแม้สุขอื่น อันที่จริงก็มีอรรถคือเนื้อ
ความเป็นอันเดียวกันนี่แหละ แต่ว่าแยกเรียกว่า
ปวิเวกกะสุข ความสุขที่เกิดจากความสงัด
ก็คือหมายความว่าทำตนให้สงัดสงบ
จากเครื่องพัวพันทั้งหลาย จากการคลุกคลีทั้งหลาย
เพราะว่าการที่จะออกไปได้นั้นก็จะต้อง ทำตน
ให้สงบสงัดจากการคลุกคลีทั้งหลายด้วย ถ้าหากว่า
ยังมีการคลุกคลีอยู่ด้วยเรื่องนั้นๆ ด้วยสิ่งนั้นๆ ก็
ยังออกไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องไม่คลุกคลีอยู่ด้วยสิ่ง
นั้นๆ ด้วยเรื่องนั้นๆ ตลอดจนถึงด้วยบุคคลนั้นๆ
ในทางที่ก่อให้เกิดความกังวลห่วงใย ให้เกิดกิเลส
ให้เกิดความทุกข์ต่างๆ
กายวิเวก จิตตวิเวก อุปาทิวิเวก
เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้มีแสดงถึง
กายวิเวก ความสงัดทางกาย จิตตวิเวก
ความสงัดทางจิตใจ อุปาทิวิเวก ความสงัดกิเลส ไป
โดยลำดับ เพราะฉะนั้น เมื่อสามารถปฏิบัติตนไม่
ให้คลุกคลี แต่ให้ได้พบกับความสงัดสงบดังกล่าว ก็
เป็นอันว่าออกได้ และก็ได้ความสุขที่แยกชื่อเรียก
ได้อีกว่า ปวิเวกกะสุข ความสุขที่เกิดจากความวิเวก
คือความสงัดสงบ
อุปสมะสุข
อนึ่ง ยังเรียกชื่ออย่างอื่นได้อีก
แต่ก็มีอรรถคือความก็เป็นทางเดียวกัน เป็นอันเดียวกัน
คือ ความสงบรำงับ เพราะว่า เมื่อมีความสงบรำงับ
หรือปฏิบัติให้จิตใจสงบระงับได้ คือ
ให้โลภโกรธหลงสงบระงับลงได้
หรือว่าราคะโทสะโมหะสงบระงับลงได้ น้อยหรือมาก
ก็จะทำให้ความคลุกคลีลดลง จะทำ
ให้การผูกพันลดลง เพราะฉะนั้น จึง
ต้องมีการปฏิบัติกายวาจาใจนี่แหละ ให้สงบกาย
สงบวาจา สงบใจ โดยตรงก็คือว่าต้องคอยสงบรำงับ
ราคะ โทสะ โมหะ หรือว่า โลภ โกรธ หลง
สงบระงับอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของราคะโทสะโมหะ
หรือว่าโลภโกรธหลง เหล่านี้ด้วย เมื่อเป็นดั่งนี้ จึงจะ
ได้ความสงบระงับทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ซึ่งทำให้เกิดความสุข อันเรียกว่า อุปสมะสุข สุขที่เกิด
จากความสงบรำงับ
ซึ่งความสงบนี้เองพระบรมศาสดา
ได้ตรัสสอนว่าเป็นเหตุให้เกิดความสุข ที่ไม่มีสุขอื่น
จะยิ่งขึ้นไปกว่า ในพุทธภาษิตที่เราทั้งหลายก็ทราบกัน
อยู่โดยมาก ว่าความสุขที่ยิ่งไปกว่าความสงบไม่มี
หรือว่าความสงบเป็นสุขอย่างยิ่ง ดั่งนี้
สัมโพธิสุข
และในบรรดาการปฏิบัติเหล่านี้
การปฏิบัติให้ได้ปัญญาที่เป็นตัว สัมโพธิ คือ
ความรู้พร้อม ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ
พระพุทธเจ้าทรงละกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้นได้ก็
เพราะพระสัมโพธิปัญญา ปัญญาคือความตรัสรู้พร้อม
เพราะฉะนั้นจึงละกิเลสและกองทุกข์ได้ทั้งหมด
สัมโพธิคือความรู้พร้อมนี้เป็นตัววิชชา
ความรู้แจ่มแจ้งตามความเป็นจริง และโดยตรงก็คือ
ความรู้ในสัจจะที่เป็นตัวความจริง
สัจจะที่เป็นตัวความจริงนี้ ซึ่ง
เป็นอย่างยิ่งก็คืออริยสัจจ์ เพราะทำให้ผู้รู้ละกิเลส
และกองทุกข์ เป็นอริยบุคคล บุคคลผู้ประเสริฐได้
ก็คืออริยสัจจญาณ ความหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔
นั้นเอง อันเป็นหลักสำคัญที่สุดในพุทธศาสนา และเมื่อ
ได้ปัญญาละกิเลสได้ ก็ได้ความสุข (เริ่ม ๓/๒) อัน
เป็นความสุขอย่างยิ่ง เพราะเมื่อได้ปัญญาละกิเลสได้ก็
จะทำให้ได้ความสงบระงับ ซึ่งเรียกว่า อุปสมะ ได้
ความสงัดกาย สงัดจิต สงัดกิเลส ทั้งหมด อันเรียกว่า
ปวิเวกะ ได้ เนกขัมมะ คือการออกทั้งหมด ออก
จากกิเลสและกองทุกข์ได้ทั้งหมด
เพราะฉะนั้นสัมโพธิสุข ความสุขที่เกิด
จากความรู้พร้อมนี้จึงเป็นข้อสำคัญ เหล่านี้เป็น
ความสุขอันแท้จริง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้เอง
และทุกๆ คนที่จะได้ความสุขอันแท้จริงนั้น ก็จะต้องมี
ส่วนได้ความสุขเหล่านี้ แม้น้อยก็ตาม คือว่าจะต้องได้
ความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติให้ออกได้ ไม่ให้ติดขัด
อยู่ในเครื่องผูกพันทั้งหลาย ปฏิบัติ
ให้สงัดกายสงัดจิตสงัดกิเลสได้ ปฏิบัติให้สงบรำงับ
โดยตรงก็คือสงบระงับโลภโกรธหลง
หรือว่าราคะโทสะโมหะได้ ปฏิบัติให้ได้ปัญญาที่
เป็นตัวรู้หยั่งลงถึงในสัจจะที่เป็นความจริง
อันขจัดกิเลสและกองทุกข์ได้ น้อยหรือมาก และเมื่อ
ได้น้อยก็ได้ความสุขอันแท้จริงน้อย ได้มากก็ได้
ความสุขอันแท้จริงมาก
วิมุติสุข
และบรรดาสุขเหล่านี้ อีกคำหนึ่งก็คือ
วิมุติสุข ความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้น
เพราะว่าเมื่อออกได้ก็เป็นอันว่าพ้นได้ เมื่อสงัดได้ก็
เป็นอันว่าพ้นได้เช่นเดียวกัน เมื่อสงบระงับได้ก็
เป็นอันว่าพ้นได้เช่นเดียวกัน เมื่อมีปัญญาที่รู้เข้าถึงสัจ
จะที่เป็นตัวความจริง ก็ทำให้พ้นได้เช่นเดียวกัน คือทำ
ให้พ้นได้จากเครื่องติดขัดทั้งหลาย จากเครื่องผูกพัน
ทั้งหลาย จากพันธนาการทั้งหลาย ให้พ้นได้จาก
ความคลุกคลีทั้งหลาย ให้พ้นได้จากโลภโกรธหลง
หรือราคะโทสะโมหะ ให้พ้นได้จากกิเลสและกองทุกข์
น้อยหรือมาก ความพ้นเหล่านี้ก็คือวิมุติ และเมื่อพ้นได้
เท่าใดก็เป็นสุขเท่านั้น ดั่งนี้ก็เป็นวิมุติสุข
พระพุทธเจ้า
ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสแสดงไว้เองว่า ทรงอยู่
ด้วยวิชชาวิมุติ วิชชาก็คือรู้ วิมุติก็คือพ้น รวมกัน
เข้าก็คือรู้พ้น ทรงอยู่ด้วยความรู้พ้น ทรงรู้ทุกๆ อย่าง
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ทางมนะคือใจ ซึ่งรูปทั้งหลาย ซึ่งเสียงทั้งหลาย
ซึ่งกลิ่นทั้งหลาย ซึ่งรสทั้งหลาย ซึ่งโผฏฐัพพะ
ทั้งหลาย ซึ่งเรื่องราวทั้งหลาย และทรงรู้
ได้มากยิ่งกว่าสามัญชนทั่วไป
เพราะทรงรู้อดีตรู้อนาคตรู้ปัจจุบันยืดยาวกว้างขวาง
แต่ว่ารู้เท่าใดก็พ้นเท่านั้น ไม่เก็บเอามา
เป็นพันธนาการผูกพัน ไม่คลุกคลี และไม่วุ่นว่าย และ
ไม่หลง
เพราะฉะนั้น จึงทรงมีความรู้พ้น
อยู่ตลอดเวลาทั้งปวง เมื่อเรียกเป็นศัพท์แสงก็เรียกว่า
วิชชาวิมุติ วิชชาคือรู้ วิมุติคือพ้น
พูดอย่างธรรมดาก็คือว่ารู้พ้น ไม่ใช่รู้ติด ไม่ใช่รู้ผูกพัน
เป็นต้น แต่เป็นรู้พ้น
รู้มากที่สุด รู้อดีตไกลที่สุด รู้อนาคต
ไกลที่สุด รู้ปัจจุบันทั่วหมด แต่ว่าพ้นหมด ไม่มีติดข้อง
ไม่มีกังวล ไม่มีที่จะพันธนาการในเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงพบกับความสุขที่สมบูรณ์
ไม่มีบกพร่องเป็นวิมุติสุข
สุญญตา
อาการของความสุขดังกล่าวมานี้
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือสุญญตาความว่างนั้นเอง
คือว่าว่างจากกิเลส ว่างจากกองทุกข์ เพราะว่าออกได้
เพราะว่าสงัดได้ไม่คลุกคลี เพราะว่าสงบระงับได้
เพราะว่ารู้พ้น คือไม่รู้หลงไม่รู้ยึดทุกๆ อย่าง จึงเป็น
ความว่าง ว่างกิเลส ว่างทุกข์ทั้งหมด
ยกเอากายขึ้นมาว่าก็คือว่ากายว่าง
ยกเอาวาจาขึ้นมาว่าก็คือวาจาว่าง ยกเอาใจจิตขึ้นมาว่า
ก็ว่าใจว่างจิตว่าง กายวาจาจิตใจว่าง ว่างกิเลส
และกองทุกข์ทั้งหมด ว่างด้วยความรู้พ้น ไม่ใช่ว่างด้วย
ความไม่รู้ หรือความรู้หลง แต่ว่าว่างด้วยความรู้พ้น
ดั่งนี้ คือว่าใจว่าง หรือจิตว่าง หรือว่าความว่าง อัน
เป็นตัวสุญญตา
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึง
ได้ทรงแสดงทางให้บรรลุถึงความว่างดังกล่าวนี้
ตั้งต้นแต่การปฏิบัติตนไม่ให้คลุกคลีอยู่ด้วยบุคคล
หรือว่าอยู่ด้วยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ
เรื่องราวที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ หรือว่าที่
ไม่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย อันความคลุกคลี
อยู่ด้วยเรื่องราว หรือด้วยบุคคลดังกล่าวมานี้ ไม่
ใช่หมายความว่าอยู่กับใครๆ ไม่ได้ อยู่ในบ้านในเมือง
ไม่ได้ แต่หมายความว่าความรู้จักที่จะปฏิบัติทำจิตใจ
ให้รู้จักออก ให้รู้จักสงัด ให้รู้จักสงบรำงับ
ให้รู้จักรู้ปล่อย รู้วาง รู้พ้นนั้นเอง
เมื่อเป็นดั่งนี้แล้ว แม้จะอยู่ในบ้าน อยู่
ในเมือง อยู่ในป่า อยู่ในที่ไหนก็ตาม ตลอดจน
ถึงมาประชุมกันฟังธรรมปฏิบัติธรรมในที่นี้ ก็มาอยู่ด้วย
กันจำนวนมาก ดั่งนี้ไม่เรียกว่าคลุกคลี เพราะว่าไม่ใช่
เป็นการมาก่อกิเลส และก่อกองทุกข์อย่างใดๆ ทั้งสิ้น
มาร่วมกันฟังมาร่วมกันปฏิบัติธรรมะ
เพื่อที่จะออก เพื่อที่จะสงัด เพื่อที่จะสงบระงับ เพื่อที่
จะรู้พ้นตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ดั่งนี้ไม่
ใช่คลุกคลี แต่ที่เรียกว่าคลุกคลีด้วยบุคคล
ด้วยหมู่คณะ ด้วยสิ่งทั้งหลายนั้น หมาย
ความว่าคลุกคลีในทางสร้างกิเลสและกองทุกข์
ให้บังเกิดขึ้นในทางต่างๆ ดั่งนี้
เริ่มปฏิบัติด้วยเว้นการคลุกคลี
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึง
ได้ทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติเว้นการคลุกคลีดังกล่าว โดยที่
ได้ทรงแสดงชี้ให้เห็นว่าบรรดาสิ่งทั้งหลาย
ยกตัวอย่างเช่นรูป อันหมายรวมถึงเสียง ถึงกลิ่น
ถึงรส ถึงโผฏฐัพพะ ถึงธรรมะคือเรื่องราวทั้งปวง
ซึ่งประสบพบพาน ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ มนะ
คือ ใจ
ยกเอารูปขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งมี
ความยินดีติดอยู่ รูปที่ยินดีติดอยู่เหล่านี้ ซึ่งจะไม่
เป็นเหตุให้เกิดความโศก ความปริเทวะ ความ
ไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ นั้นหามีไม่
เพราะเหตุว่ารูปทั้งปวงนั้นจะ
ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นเมื่อมี
ความผูกพันยินดีติดอยู่ ครั้นสิ่งที่ผูกพัน
นั้นแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีความทุกข์ต่างๆ
จึงไม่พ้นทุกข์ไปได้ ดั่งนั้น จึงไม่ควรที่จะคลุกคลี
ผูกพัน หัดปฏิบัติที่จะนำจิตใจออกไปได้ สงัดได้
สงบระงับได้ และข้อสำคัญนั้นให้รู้จักทำใจให้รู้พ้น
ให้รู้ปล่อย ให้รู้วางได้ตามสมควร และเมื่อเป็นดั่งนี้
แล้ว จึงจะได้พบกับสุญญตาคือความว่างดังที่กล่าวมา
นั้น อันเป็นเหตุให้บังเกิดความสุขที่แท้จริง สุดแต่ที่
จะปฏิบัติได้เพียงไร
พระบรมศาสดาเองก็ได้ทรงเข้า
ถึงสุญญตาคือความว่างนี้ เพราะไม่ทรงใส่พระทัย
ถึงนิมิตอะไรๆ อันหมายความว่าถึงจะทรงเห็นอะไร
ทรงได้ยินอะไรเป็นต้น ซึ่งรูปซึ่งเสียงทั้งหลายเป็นต้น
แต่ก็ไม่ผูกพันยึดถือทั้งหมด
หรือว่ายึดถือบางส่วน ว่าเป็นอย่างนั้น ว่าเป็นอย่างนี้
เมื่อเป็นดั่งนี้ สิ่งที่เห็นสิ่งที่ได้ยินนั้นก็พ้นไปๆ พระองค์
จึงอยู่กับสุญญตาคือความว่าง และเมื่อว่างกิเลส
ว่างยินดี ว่างยินร้าย ว่างความยึดถือ ก็
เป็นอันว่าว่างทุกข์ด้วย
เพราะฉะนั้นจะมีใครมาเฝ้าก็ตาม จะ
เป็นบริษัท ขัตติยะบริษัท พราหมณ์บริษัท
แพศย์บริษัท ศูทรบริษัท ใครๆ
ก็ตามทรงแสดงธรรมะสั่งสอน ธรรมะที่ทรงสั่งสอน
ทั้งปวงนั้น จะเป็นข้อไหนบทไหนก็ตาม จึง
เป็นนิยานิกธรรม ธรรมะที่นำออกทั้งหมด ออก
จากกิเลส ออกจากกองทุกข์ทั้งหมด ไม่มีที่
จะสั่งสอนนำเข้ามาสู่กิเลสสู่กองทุกข์
เพราะว่าพระองค์ทรงอยู่ด้วยสุญญตา คือความว่าง
เพราะไม่ใส่ใจในนิมิตทั้งหมด ตลอดเวลาก็ทรงอยู่ด้วย
ความรู้พ้นดังที่ตรัสแสดงนั้น
ข้อปฏิบัติให้มีอารมณ์อันเอก
เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงสั่งสอนต่อไปว่า
เมื่อต้องการจะเข้าถึงสุญญตาคือความว่างดั่งนี้ ก็
ให้ปฏิบัติทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ให้นั่งสงบอยู่
ในภายใน และในการปฏิบัติดั่งนี้
จะปฏิบัติทางสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ทั้งนั้น
เพราะเมื่อมาตั้งสติกำหนดในสติปัฏฐาน ในกาย
ในเวทนา ในจิต ในธรรม ทุกข้อทุกบท ย่อม
เป็นการปฏิบัติที่ทำจิตให้ตั้งสงบอยู่ในภายในทั้งนั้น
ให้นั่งสงบอยู่ในภายในทั้งนั้น
ให้มีอารมณ์อันเอกคืออันเดียวผุดขึ้นทั้งนั้น คือให้ใจ
เป็นหนึ่งทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อได้ดั่งนี้แล้ว ก็จะ
ได้สุญญตาคือความว่างขึ้นไปโดยลำดับ และเมื่อ
ได้สมาธิที่ดีขึ้นๆ ก็จะได้ขึ้นไปจนถึงขั้นฌานโดยลำดับ
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำ
ความสงบสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 14:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๕
�����
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อ
ความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
]
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
ในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ
ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจ
ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง
เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นย่อมทำให้
ได้สุญญตาคือความว่าง หรือว่าจิตว่างใจว่างจากกิเลส
ทั้งหลายได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปกว่าสมาธิเท่านั้น แต่แม้สมาธิ
ในพุทธศาสนาก็เป็นสมาธิเพื่อสุญญตาคือ
ความว่างดังกล่าวเช่นเดียวกัน นับตั้งแต่ว่างนิวรณ์
คือกิเลสที่บังเกิดขึ้น กลุ้มกลัดจิตใจ จึงทำ
ให้จิตใจฟุ้งซ่านไป ในอารมณ์คือเรื่องทั้งหลาย ปรากฏ
เป็นความทุรนทุรายไม่สงบ
ก็ต้องอาศัยสมาธิทำจิตใจให้สงบ
จากอารมณ์ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งของกิเลสทั้งหลาย
ตามวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ เมื่อเป็นดั่งนี้จิต
จึงสงบสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็น
ส่วนอารมณ์ และทั้งที่เป็นส่วนกิเลส
สมถกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า
ได้ทรงสั่งสอนไว้ทุกข้อ ก็เป็นไปเพื่อความสงบสงัด
จากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายดังกล่าว ทั้งนี้ก็
ได้ทรงสั่งสอนให้ตั้งจิตไว้ใน สมาธินิมิต นิมิตของสมาธิ
หรือว่าที่ซึ่งเป็นที่กำหนดหมายแห่งสมาธิ
เป็นนิมิตที่กำหนดหมายในจิตใจ ความที่ทำจิตใจ
ให้กำหนดหมายอยู่ในที่กำหนดหมายนั้น ก็ชื่อว่าทำสมาธิ
ในพุทธศาสนา
สมาธินิมิต กิเลสนิมิต
สมาธินิมิต ในพุทธศาสนาดังกล่าวนั้น
ย่อมตรงกันข้ามกับ กิเลสนิมิต ที่กำหนดหมาย หรือ
ความกำหนดหมายแห่งจิต ซึ่งเป็นฝ่ายกิเลส ดังเช่น
สุภะนิมิต กำหนดหมายว่างดงาม ก็เป็นที่ตั้งของกามฉันท์
คือกิเลสกองราคะ กองกาม หรือกองโลภ ปฏิฆะนิมิต
กำหนดหมายแห่งความกระทบกระทั่ง ก็ก่อ
ให้เกิดกิเลสกองโทสะ และนอกจากนี้ก็เป็น โมหะนิมิต
กำหนดหมายให้เกิดโมหะคือความหลง เหล่านี้
เป็นกิเลสนิมิต ซึ่งบุคคลสามัญทั่วไปก็ย่อมมีกิเลสนิมิตนี้
เป็นที่ตั้งของจิต เป็นที่อาศัยของจิต ดั่งนี้เรียกว่า
กิเลสวิหาร วิหารคือที่อยู่ของกิเลส หรือ อสุญญตาวิหาร
วิหารคือที่อยู่ของอสุญญตาความไม่ว่าง
เพราะว่าเต็มยั้วเยี้ยไปด้วยอารมณ์และกิเลสทั้งหลาย
แต่ว่าเมื่อมาปฏิบัติ
ในสมาธินิมิตของพระพุทธเจ้า โดยการปฏิบัติ
ในกรรมฐานที่พระองค์ได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ จะ
เป็นสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ก็ดี จะเป็นกรรมฐานที่ทรงสั่งสอน
ไว้โดยประการอื่นก็ดี ดังที่พระอาจารย์ได้ประมวล
ไว้ว่ากรรมฐาน ๔๐ ประการ เป็นต้น
หรือว่าที่พระอาจารย์ได้แสดงไว้อีกเท่ากับธรรมขันธ์
กรรมฐาน ๘๔๐๐๐ ก็ตาม ซึ่ง
เป็นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ ก็ล้วน
เป็นสุญญตาวิหารคือที่อยู่แห่งสุญญตาคือความว่างทั้ง
นั้น ก็คือว่างตั้งต้นแต่จากกามจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะว่ากรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
ทั้งปวงนั้น ล้วนให้ตั้งจิตกำหนด
เป็นนิมิตคือที่กำหนดหมายของจิต เพื่อสุญญตาคือ
ความว่างทั้งนั้น และโดยตรงก็กำหนดให้ตั้งเข้ามาในภาย
ใน ให้จิตนั่งอยู่ในภายใน ให้กำหนดอยู่
ในสมาธินิมิตเพียงข้อเดียว เพียงอย่างเดียว ดังที่เรียก
เป็นภาษาธรรมะว่ามีข้อเดียวประการเดียวผุดขึ้นปรากฏขึ้น
นี่แหละคือสมาธินิมิตของพระพุทธเจ้า
กำหนดอารมณ์ภายใน ภายนอก
และแม้ว่าจะกำหนดไป
ในอารมณ์ของกรรมฐานที่เป็นภายนอกก็ได้
เพราะอารมณ์ของกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง
ไว้นั้นกำหนดในภายใน เช่นกำหนดลมหายใจ
เข้าลมหายใจออก กำหนดอิริยาบถเดินยืนนั่งนอน
กำหนดอาการผมขนเล็บฟันหนังเป็นต้น กำหนดธาตุ ๔
เหล่านี้ กำหนดภายในกายนี้ทั้งนั้น
อีกอย่างหนึ่งกำหนด
ในภายนอกเช่นกำหนดใน กสิณ กำหนดดิน กำหนดน้ำ
กำหนดไฟ กำหนดลม กำหนดสีต่างๆ ซึ่งเป็นทางกสิณ
ในภายนอก เหล่านี้เรียกว่าภายนอก แต่ก็ต้องเข้าใจว่า
ทั้งภายนอก ทั้งภายในนั้น .. (จบ ๓ /๒) (ข้อ
ความขาดนิดหน่อย) (เริ่ม ๔/๑) ...อยู่ ก็ต้องรวม
เข้ามาตั้งไว้ในจิตทั้งนั้น เป็นแต่เพียงว่า
ส่วนที่ตั้งจิตกำหนดทีแรก เป็นภายในบ้าง
เป็นภายนอกบ้าง แต่เมื่อได้เริ่มกำหนดจากภายในก็ตาม
จากภายนอกก็ตาม ก็ต้องให้มาตั้งอยู่ในจิตทั้งนั้น
ให้จิตกำหนดอยู่เป็นสมาธินิมิตขึ้นในจิต ให้
เป็นข้อเดียวตั้งขึ้นในจิต ดั่งนี้ จึงจะได้พบกับสุญญตาคือ
ความว่าง
แต่ว่าในการปฏิบัตินั้น เมื่อปฏิบัติไป
ในบางคราวจิตก็ไม่ตั้งแนบแน่น อยู่
ในสมาธินิมิตที่กำหนดนั้น
ในบางคราวจิตก็ตั้ง ก็เป็นธรรมดา จึงต้อง
ไม่เว้นความเพียร ไม่ละความเพียร ไม่ทิ้งความเพียร
ต้องมีความเพียรปฏิบัติต่อไป ทำความรู้ตัว ทำสติ
ให้มากขึ้น และคอยกำจัดความยินดี
ความยินร้ายที่บังเกิดขึ้น
ความยินดียินร้ายในการปฏิบัติ
อันความยินร้ายนั้นคือยินร้ายในการปฏิบัติ
เพราะเหตุที่ทำจิตให้ตั้งเป็นสมาธิไม่ได้ จิตไม่น้อมไปตั้ง
อยู่ในสมาธินิมิต ก็ต้องละความยินร้ายนี้เสีย
กำหนดพิจารณาว่า เมื่อยังอ่อนเพียร อ่อนสติ
อ่อนสัมปชัญญะ ก็จะต้องเป็นเช่นนั้น จึงต้องทำ
ความเพียร ทำสติ ทำสัมปชัญญะ สืบต่อไป บางทีก็ได้
ความยินดีในสมาธิ เช่นเมื่อได้ผลของสมาธิ เป็นปีติ
เป็นสุข ก็มีความยินดีในผลของสมาธินั้น ก็จะเป็นเหตุ
ให้ติดอยู่ในปีติสุขของสมาธิ ดั่งนี้ก็ต้องละความยินดี
นั้นเสีย ไม่พะวงอาลัยอยู่กับปีติสุข แต่ทำ
ความเพียรทำสติ ทำสัมปชัญญะ ในการปฏิบัติสมาธิ
ให้ยิ่งขึ้นไป บางทีก็เป็นนิวรณ์ภายนอกโผล่เข้ามา
แทรกแซงเข้ามา ดึงจิตให้ยินดีให้ยินร้ายไป ดั่งนี้ก็
ต้องคอยละเสีย
ต้องไม่ละความเพียร
เพราะฉะนั้น แม้ว่า
ในการปฏิบัติหลายครั้งหลายคราว จิตไม่น้อมไป ไม่ตั้ง
อยู่ในสมาธินิมิต ก็ต้องไม่ละความเพียรดังกล่าว ต้องทำ
ความเพียรเรื่อยไป ทำสติสัมปชัญญะให้ยิ่งขึ้น คอยละ
ความยินดีความยินร้ายอยู่เสมอ ทำใจให้เป็นอุเบกขา
อันหมายความว่าวางเฉยจากความยินดีความยินร้าย
เมื่อยินดียินร้ายเกิดขึ้น ก็วางเสียไม่รักษาเอาไว้ และ
ไม่วุ่นวายไปเพราะความยินดีความยินร้าย เฉยเสียได้
วางเสียได้ จากความยินดีความยินร้าย ดั่งนี้คืออุเบกขา
และเมื่อเป็นดั่งนี้แล้วจิตก็จะน้อมไปตั้งอยู่
ในสมาธินิมิตได้ จะได้สุญญตาคือความว่างที่เป็นภายใน
อันหมายความว่าจากอารมณ์ที่เป็นภายใน จะได้สุญญตา
ในภายนอก อันหมายความว่าจากอารมณ์ที่เป็นภายนอก
ในเบื้องต้นเป็นกสิณดังกล่าวนั้น จะได้สุญญตาทั้งภายใน
ทั้งภายนอก จะได้สุญญตาที่ไม่หวั่นไหวยิ่งขึ้นไป
โดยลำดับ ดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าได้สร้างสุญญตาวิหารขึ้น
ในจิตใจ
สุญญตาวิหารภายใน
สุญญตาวิหาร
ในจิตใจนี่แหละคือวัดใจวิหารใจ อันควบคู่กันไป
กับวัดกายวิหารกาย วัดกายวิหารกายนั้นเป็นภายนอก
ดั่งวัดวาอารามทั้งหลายที่เข้าใจกัน
แต่ว่าวัดใจวิหารใจนี้ก็คือว่าสุญญตาวิหารซึ่งเป็นภายในนี้
วิธีปฏิบัติเดินจงกรม
เพราะฉะนั้นพระบรมศาสดาจึง
ได้ตรัสสอนต่อไป ให้เดินยืนนั่งนอนอยู่
ด้วยสุญญตาวิหารนี้ เดินนั้นก็เรียกว่าจงกรม จะ
เป็นจงกรมคือเดินโดยปรกติก็ตาม จะจงกรมที่
เป็นการปฏิบัติ ดั่งเรียกว่าเดินจงกรมก็ตาม
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้เองว่าให้ตั้งจิตกำหนด ว่าเรา
จะจงกรมคือเดิน โดยที่มิให้ความยินดี
ความยินร้ายบังเกิดขึ้นครอบงำจิตใจ เราจะยืนโดยที่ไม่
ให้ความยินดีความยินร้ายบังเกิดขึ้นครอบงำจิตใจ เรา
จะนั่งโดยที่มิให้ความยินดี
ความยินร้ายบังเกิดขึ้นครอบงำใจ เราจะนอนโดยที่มิให้
ความยินดีความยินร้ายบังเกิดขึ้นครอบงำใจ เมื่อ
เป็นดั่งนี้ก็ชื่อว่าได้เดินอยู่ในสุญญตาวิหาร ได้ยืน ได้นั่ง
ได้นอน อยู่ในสุญญตาวิหาร อันเป็นวิหารใจอันเป็นวัดใจ
อันนี้แหละเป็นเงื่อนสำคัญของ
ผู้ปฏิบัติธรรมะ ซึ่งมักจะมีปัญหาถามกันอยู่เสมอๆ ว่า
เดินจงกรมจะให้ทำใจยังไง ในที่นี้
จึงนำเอาพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เอง
ในพระสูตรนี้ มาเล่าให้ฟังว่าท่านสอนไว้ยังงี้ ว่า
ให้ทำจิตใจอย่างนี้ ในอิริยาบถเดินก็ตาม ยืนก็ตาม
นั่งก็ตาม นอนก็ตาม ด้วยตั้งใจว่าเราจะมิให้ความยินดี
ความยินร้ายบังเกิดขึ้นครอบงำจิตใจ จึงเป็นอันว่า
ได้เดินยืนนั่งนอนอยู่ในสุญญตาวิหาร ในวัดสุญญตา
ในวิหารสุญญตา ซึ่งตั้งอยู่ในจิตใจ เมื่อปฏิบัติดั่งนี้ก็
เป็นอันว่า
ได้จงกรมคือเดินยืนนั่งนอนตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
ติรัจฉานกถา กถาวัตถุ
และแม้ว่าจะพูดก็ตาม ก็ให้ตั้งใจว่า จะเว้น
จากวาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้งหลาย ดังเช่นที่เรียกว่า
ติรัจฉานกถา ถ้อยคำที่เป็นดิรัจฉาน
คือที่ขัดขวางต่อธรรมะปฏิบัติ เพื่อสุญญตาดังกล่าว
เป็นถ้อยคำที่พูดจากันก่อให้บังเกิดกิเลสทั้งหลาย
กองราคะบ้าง กองโทสะบ้าง กองโมหะบ้าง ดั่งนี้
เป็นวาจาที่ควรเว้น เพราะว่าส่อถึงใจที่ไม่มีสุญญตาคือ
ความว่าง จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อใจ
เป็นอย่างไรก็พูดออกมาอย่างนั้น
จึงให้พูดแต่ถ้อยคำที่เรียกว่า กถาวัตถุ
คือถ้อยคำที่ควรพูด อันจะนำให้จิตใจได้สุญญตาคือ
ความว่างจากกิเลสทั้งหลาย เช่นพูดจา
กันปรารภธรรมะที่ทำให้ปรารถนาน้อย ให้เกิด
ความสันโดษเป็นต้น ที่จะชักนำให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ดั่งนี้ก็ชื่อว่าได้พูดจาอยู่ในสุญญตาวิหารเหมือนกัน
ถ้าไปพูดที่เป็นติรัจฉานกถาทั้งหลาย ก็เป็นอันว่าไปพูด
กันนอกสุญญตาวิหาร นอกวัดสุญญตา ไม่ได้อยู่
ในวัดสุญญตา
วิตก ความตรึกนึกคิด
และแม้ว่าจะมีความตรึกนึกคิดในจิตใจ ก็
ให้ตรวจตราพิจารณาระมัดระวัง ห้ามจิตใจไม่
ให้คิดนึกไปในทางที่เรียกว่ากามวิตก ตรึกนึกคิดไป
ในกาม พยาบาทวิตก ตรึกนึกคิดไป
ในทางพยาบาทปองร้าย วิหิงสาวิตกตรึกนึกคิดไป
ในทางเบียดเบียน
แต่ว่าสนับสนุนจิตใจให้คิดนึกไป
ในทางเนกขัมมะ การออกจากเครื่องผูกพันทั้งหลาย ไม่
ให้เข้ามารึงรัดผูกมัดจิตใจ อันเรียกว่าเนกขัมมะวิตก
ให้ตรึกนึกคิดไปในทางไม่พยาบาท ประกอบด้วยเมตตา
ตรึกนึกคิดไปในทางไม่เบียดเบียน ประกอบด้วยกรุณา
เป็นต้น ดั่งนี้ ก็เป็นเนกขัมมะวิตก อัพพยาบาทวิตก
อวิหิงสาวิตก ระวังจิตใจมิให้นึกคิดไปในทางอกุศลวิตก
ที่เป็นกามวิตกเป็นต้น แต่ให้ตรึกนึกคิดไปในทางที่
เป็นกุศลอันเรียกว่ากุศลวิตก มีเนกขัมมะวิตก
เป็นต้นดังกล่าวนั้น เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ชื่อว่าได้ตรึกนึกคิดอยู่
ในวัดสุญญตา ในวิหารสุญญตา เช่นเดียวกัน
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงสั่งสอน
ให้คอยตรวจพิจารณาจิตใจของตนอยู่เสมอ
ว่ามีนิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่งอยู่หรือไม่ เมื่อมีอยู่ก็ให้รู้ว่ามี
และก็ให้รู้ว่ายังละไม่ได้ และเมื่อตรวจพิจารณาดูว่าไม่มี
ก็ให้รู้ว่าไม่มี ตามความเป็นจริง ถ้ายังมีอยู่ ปล่อย
ให้นิวรณ์ครอบงำจิตใจอยู่แล้ว ก็เป็นอันว่าออกไป
จากวัดสุญญตา ออกไปจากวิหารสุญญตาเช่นเดียวกัน
แต่ว่าเมื่อนิวรณ์สงบลงได้ก็เป็นอันว่าได้เข้าวัดสุญญตา
เข้าวิหารสุญญตา
กำหนดพิจารณาขันธ์ ๕
และได้ตรัสสั่งสอนไว้ให้ปฏิบัติ
ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น
โดยที่กำหนดพิจารขันธ์ ๕ ให้เห็น
ความเกิดความดับของขันธ์ ๕ ว่ารูปเป็นอย่างนี้ ความดับ
ความเกิดของรูปเป็นอย่างนี้ ความดับของรูปเป็นอย่างนี้
เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความเกิดของเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับของเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเป็นอย่างนี้
เมื่อมาปฏิบัติพิจารณาให้เห็นความเกิดความดับของขันธ์
๕ อยู่ อัสมิมานะคือความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็น
หรือว่าเป็นเราเป็นของเรา ก็ย่อมจะไม่บังเกิดขึ้นในขันธ์
ทั้ง ๕
แต่ถ้าขาดปัญญาที่มองเห็นเกิดดับในขันธ์
๕ ก็ย่อมจะต้องมีอัสมิมานะคือ
ความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็น ยึดถือว่าเรามีเราเป็น
ยึดถือว่าตัวเราของเราอยู่ในขันธ์ ๕ และเมื่อเป็นดั่งนี้
แม้ว่าจะได้สมาธิมาโดยลำดับสูงเท่าไรก็ตาม เมื่อ
ยังมีอัสมิมานะอยู่ก็เป็นอันว่ายังไม่เข้าถึงวัดสุญญตา
หรือวิหารสุญญตาที่เป็นขั้นละเอียดที่สุด
หรือที่บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ยังเสื่อมได้ ต่อเมื่อ
ได้มาหัดปฏิบัติให้ได้ปัญญามองเห็นเกิดดับ
แห่งรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ
ละอัสมิมานะดังกล่าวได้ ก็เป็นอันว่าได้พบวัดสุญญตา
วิหารสุญญตา อันเป็นวัดที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ สูงสุด
ในพุทธศาสนา
ฉะนั้น ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอน
ไว้ดังที่แสดงเล่ามานี้ จึงเป็นข้อที่ผู้ปฏิบัติธรรมะ
จะพึงทราบ และพึงสนใจ ใฝ่แสวงหาวัดสุญญตา
หรือวิหารสุญญตาในจิตใจ ให้พบ แม้ว่าจะ
เป็นวัดสุญญตาหรือวิหารสุญญตา ที่ยังเป็นชั้นนอก
อยู่ก็ตาม หากว่าได้พบวัดสุญญตาวิหารสุญญตาเช่นนี้
ในจิตใจของตนเองแล้ว ก็จะทำให้ได้พบกับความสุขดังที่
ได้กล่าวมาแล้ว อันเรียกว่าเนกขัมมะสุข ปวิเวกสุข
อุปสมะสุข สัมโพธิสุข วิมุติสุข ตั้งแต่เบื้องต้นได้
แต่หากว่ายังไม่ได้พบวิหารสุญญตา หรือวัดสุญญตา
ในจิตใจของตนเองบ้างแล้ว
แม้จะเข้ามาสู่วัดสู่วิหารที่เป็นของภาย
ในภายนอก จะตั้งอยู่ในบ้านก็ตาม ตั้งอยู่ในป่าก็ตาม
ที่ไหนก็ตาม เป็นอันว่ายังไม่ได้พบกับวัดสุญญตา
วิหารสุญญตา อันเป็นพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ซึ่ง
เป็นที่สถิตย์ของพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์ ยังไม่
ได้พบพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์อย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติให้
ได้พบวัดสุญญตาวิหารสุญญตา แม้จะ
เป็นชั้นนอกชั้นต่ำก็ตามที ก็เป็นอันว่าได้เริ่มพบกับ
ความสุข ได้เริ่มพบกับพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์
ได้เริ่มพบกับพระพุทธศาสนา
เพราะฉะนั้น สุญญตาวิหาร
หรือวัดสุญญตาวิหารสุญญตานี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ
สติปัฏฐานก็อยู่ในวัดนี้ ธรรมะอื่นๆ เป็นต้นว่า
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นโพธิปักขิยธรรมทั้งสิ้น
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งหมดก็อยู่
ในวัดสุญญตาวิหารสุญญตานี้ทั้งหมด เข้าไปได้แล้วจะ
ได้พบท่านทั้งนั้น
ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำ
ความสงบสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2014, 15:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา ๖
�����
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อ
ความขาดนิดหน่อยระหว่างหน้าเทป
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
]
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรม
ในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ
ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระ
ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจ
ถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง
เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นต้องอาศัยจิตที่บริสุทธิ์
โดยมีศีลเป็นที่รองรับหรือเป็นพื้น ท่าน
จึงเปรียบศีลเหมือนอย่างแผ่นดิน อันเป็นที่ดำรง
อยู่ของสรรพสัตว์ในโลก และของสิ่งทั้งปวง ศีล
เป็นเหมือนแผ่นดินก็เพราะเป็นที่รองรับกุศลธรรม
ทั้งหลาย จะต้องมีศีลเป็นแผ่นดินที่รองรับ กุศลธรรม
ทั้งหลายจึงจะตั้งขึ้นได้ และก็ต้องมีสมาธิอันทำจิต
ให้บริสุทธิ์จากนิวรณ์ทั้งหลาย เป็นบาทของปัญญาคือ
เป็นเท้าของปัญญา
หากจะเปรียบเหมือนอย่างร่างกาย สมาธิก็
เป็นส่วนเท้าอันเป็นที่ตั้งของลำตัวและศีรษะ ฉะนั้นจึง
ต้องมีสมาธิเป็นเท้าเป็นที่รองรับลำตัว คือสมาธิ
คือปัญญาต้องมีสมาธิเป็นเท้า
เป็นที่รองรับลำตัวคือปัญญา
เพื่อวิมุติคือความหลุดพ้น อัน
เป็นเหมือนอย่างศีรษะ ฉะนั้นศีลสมาธิปัญญาทั้ง ๓ นี้ กับ
ทั้งวิมุติอันเป็นส่วนผลจึงต้องอาศัยกัน เหมือนอย่าง
เป็นแผ่นดิน เป็นเท้า เป็นลำตัว เป็นศีรษะ การปฏิบัติจึง
ต้องปฏิบัติให้มีศีลด้วย มีสมาธิด้วย มีปัญญาด้วย
ประกอบกันไป และปัญญาในธรรมนั้นดั่งที่ได้กล่าวแล้ว
ต้องอาศัยจิตที่บริสุทธิ์ คือจิตที่เป็นสมาธิที่บริสุทธิ์
จากนิวรณ์ทั้งหลาย จึงจะได้ปัญญามองเห็นสัจจะธรรม
ธรรมะที่เป็นตัวความจริง
สัจจะธรรม
อันสัจจะธรรม ธรรมะที่เป็นตัว
ความจริงนี้ก็มีหลายชั้น ที่เป็นความจริงทั่วๆ ไปก็
เป็นชั้นสามัญ ขึ้นมาเป็นความจริงเกี่ยวแก่กรรม
และผลของกรรม หรือเรียก
เป็นคำสามัญว่าเกี่ยวแก่บาปบุญ คุณโทษประโยชน์มิ
ใช่ประโยชน์ต่างๆ ก็เป็นสัจจะคือความจริงที่ละเอียดเข้า
สูงขึ้นเป็นความจริงที่เป็นอริยสัจจะคือ ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์ ก็เป็นความจริงที่ต้องใช้จิตอันเป็นสมาธิ
สงบสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพ่งพินิจพิจารณาจึงจะมองเห็นได้ถนัดฉะนั้น
การทำสมาธิเพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์จากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเป็นข้อที่ผู้ต้องการปัญญา
ในธรรมพึงปฏิบัติ ... (จบ ๔/๑) (ข้อความขาดนิดหน่อย
น่าจะในทำนองว่า ศีลก็เป็นสุญญาตาคือความว่าง ...) (
เริ่ม ๔/๒) อันเป็นผลของอกุศลกรรมที่ก่อภัยเวรนั้นๆ
สมาธิก็เป็นสุญญตาคือความว่าง ว่าง
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายในจิตใจ จิตบริสุทธิ์
ด้วยอุเบกขา คือความที่วางกามวางอกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เป็นนิวรณ์ เฉยคือไม่วุ่นวายเพราะกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเข้าไปเพ่งพินิจอยู่ ดูอยู่ รู้
อยู่ในภายใน สงบอยู่ในภายใน ปัญญานั้นก็
เป็นสุญญตาคือความว่าง ว่างจากอวิชชาโมหะ ความ
ไม่รู้ความหลง ยึดถือ
วิมุติก็เป็นความว่างจากกิเลสทั้งหลาย
เป็นต้น อวิชชา ตัณหาอุปาทาน ทั้งปวงฉะนั้น สุญญตา
คือความว่างในพุทธศาสนานั้น จึงว่างจากอกุศลกรรม
จากกิเลส ทั้งที่เป็นอย่างหยาบ อย่างกลาง
อย่างละเอียด ไปโดยลำดับ จนถึงว่างกิเลสทั้งหมด ท่าน
จึงว่างกิเลสทั้งหมด คือพระพุทธเจ้า
และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย มีแสดงว่าท่านอยู่
ด้วยสุญญตาคือความว่าง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอยู่
ด้วยวิชชาความรู้ และวิมุติคือความหลุดพ้น ในอิริยาบถ
ทั้ง ๔
และเมื่อท่านจะพูด ท่านก็พูด
ด้วยสุญญตาคือความว่าง หรือพูดด้วยวิชชาวิมุติดังกล่าว
ดังจะพึงเห็นได้ว่าวาจาของพระพุทธเจ้า
และของพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ที่ท่านได้ทรงจำ
กันมา จนถึงได้จารึกลงเป็นตัวอักษร เป็นคัมภีร์
ทุกคำทุกข้อทุกบทล้วนเป็นคำสั่งสอน
ให้ปฏิบัติเพื่อว่างกิเลสว่างอกุศลดังกล่าวแล้วทั้งนั้น และ
ให้ปฏิบัติเพื่อวิชชาวิมุติทั้งนั้น ไม่มีที่จะสั่งสอนให้หมกมุ่น
คลุกคลี ให้ทำอกุศล ให้ก่อกิเลสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
จึงเป็นคำสั่งสอนประกอบด้วยสุญญตาคือความว่าง หรือ
ด้วยวิชชาวิมุติทั้งนั้น และเมื่อท่านจะมีความตรึกนึกคิด
ก็มีความตรึกนึกคิดอันประกอบด้วยสุญญตา
ด้วยวิชชาวิมุติเช่นเดียวกันทั้งหมด
เพราะฉะนั้น สุญญตา จึง
เป็นวิหารธรรมของท่าน วิชชาวิมุติ
เป็นวิหารธรรมของท่าน ท่านอยู่ในสุญญตาวิหาร
วิชชาวิมุติวิหาร หรือวัดสุญญตา วัดวิชชาวิมุติ
ตลอดเวลาทั้งหมด และก็อยู่ด้วยความสุข
เป็นสุญญตาสุข วิชชาวิมุติสุข
หรืออีกอย่างหนึ่งดั่งที่เรียกว่า เนกขัมมะสุข สุข
จากการออก ปวิเวกสุข สุขจากความสงัด อุปสมะสุข
สุขจากความสงบรำงับ สัมโพธิสุข สุขจากความรู้พร้อม
คือรู้ไม่บกพร่อง รู้บริบูรณ์ ท่านผู้ที่จะบรรลุ
ถึงสุขดังกล่าวนี้ จะต้องปฏิบัติในศีล ในสมาธิในปัญญา
เพื่อวิมุติคือความหลุดพ้นทางเดียว
คือปฏิบัติเพื่อสุญญตาคือความว่าง จะต้อง
เข้าวัดสุญญตา จึงจะพบสุขดังกล่าวนี้
และก็พึงเข้าใจว่าอันความสุขดังกล่าวนี้นั้น
ไม่ใช่หมายความว่าจะได้จะถึงในเมื่อเป็นพระอรหันต์
หรือเมื่อเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปแล้ว
ผู้ปฏิบัติแม้ตั้งแต่เบื้องต้นเบื้องต่ำ คือสามัญชนทั่วไป
ผู้ปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญา ก็ย่อมจะได้
ความสุขดังกล่าวนี้ทั้งนั้น ปฏิบัติเมื่อใดก็ได้เมื่อนั้น
แต่ว่าจำที่จะต้องหัดกำหนดดูให้รู้จัก
เพราะเหตุว่า ในขณะที่ปฏิบัติตั้งแต่เบื้องต้นเบื้องต่ำนั้น
ยังมีกิเลสและกองทุกข์พอกพูนอยู่ในจิตใจมาก
จึงมักมองไม่เห็นความสุขที่เป็นของละเอียด อันเกิด
จากศีลสมาธิปัญญาที่ปฏิบัติ เพราะว่ามีกิเลส
และกองทุกข์ทั้งหลายปกคลุมอยู่ ผลของกิเลส
และกองทุกข์นั้นปรากฏชัดเจนกว่า คนจึงมอง
ไม่เห็นผลของความดีในปัจจุบัน และก็ไปเข้าใจว่าจะต้อง
ได้รับผลของความดีในอนาคต บางทีในชาตินี้ก็ไม่ได้
ต้องไปได้ในชาติหน้า เมื่อเห็นผลของความดีห่าง
ไกลออกไปดั่งนี้ จึงพอใจที่จะฉวยผลของความชั่ว
ทั้งหลาย ผลของกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งได้
ในปัจจุบัน ปรากฏในปัจจุบัน กันมากกว่า และมักจะไป
เข้าใจในปัจจัยเครื่องแวดล้อมทั้งหลาย ว่าเป็นตัวความดี
มองไม่เห็นตัวความดีที่แท้จริง มองไม่เห็นตัว
ความชั่วที่แท้จริง เพราะฉะนั้นจึงได้กล่าวข้างต้นว่า จะ
ต้องทำจิตให้บริสุทธิ์ด้วยสมาธิ น้อยหรือมาก จึงจะ
ได้ปัญญาในธรรมที่เป็นตัวความจริง
เป็นต้นว่าดีจริงชั่วจริงอย่างไร ทุกข์จริงสุขจริงอย่างไร
บุถุชน
ฉะนั้นสามัญชนในโลกนี้ที่ยังมีกิเลส
และกองทุกข์ปกคลุมจิตใจอยู่เป็นอันมาก จึงได้เรียก
กันว่าบุถุชน คนที่หนาแน่น
อันหมายความว่ามีกิเลสหนา มีทุกข์หนา มี
ความชั่วหนา หนาแน่น และเมื่อหนาอยู่ดั่งนี้ ปัญญาจึงยัง
ไม่ปรากฏที่จะมองเห็นสัจจะที่เป็นตัวความจริง ฉะนั้นจึง
ต้องทำใจให้สงบก่อน แม้ว่าจะยังมีกิเลสและกองทุกข์
เมื่อกิเลสและกองทุกข์นั้นไม่กำเริบขึ้นมาครอบงำจิตใจ
ทำจิตใจให้กลัดกลุ้ม วุ่นวายกระสับกระส่ายมาก
เป็นกิเลสและกองทุกข์ที่สงบอยู่ภายในจิต
กิเลส ปัญญา
เหมือนอย่างผู้ที่ปฏิบัติธรรมะ ที่เป็นศีล
เป็นสมาธิเป็นปัญญา กิเลสก็หลบหน้าซ่อนหาย เหมือน
ไม่มีกิเลส แต่อันที่จริงยังมีอยู่ เมื่อยังละไม่ได้ก็มีอยู่ ตก
เป็นตะกอนลงไป เพราะฉะนั้น แม้ได้จิตสงบดั่งนี้ ก็ย่อม
ได้ปัญญามองเห็นสัจจะคือความจริงทั้งหลายขึ้น รู้จัก
ความดีรู้จักความชั่ว รู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ
รู้จักมรรค ถนัดชัดเจนขึ้น แต่เมื่อกิเลสที่ยังละไม่ได้
นั้นฟุ้งขึ้นมาใหม่ ความรู้แจ่มแจ้งที่เคยได้นั้นก็เสื่อมไป
จิตจะถูกกิเลสครอบงำ นำไปได้
ให้ประกอบกรรมชั่วต่างๆ ได้ ตามอำนาจของกิเลส
และบางทีก็ทั้งรู้อยู่ว่าไม่ดีแต่ว่าก็ทำ
เพราะเหตุว่ากำลังของจิตในด้านดีนั้นมีไม่พอที่จะห้าม ไม่
เป็นตัวสติตัวปัญญาที่จะห้ามได้ แต่ว่าราคะโทสะโมหะ
นั้นแรงกว่าก็นำจิตใจไปได้ สติปัญญาไม่ได้จิตใจไว้
กิเลสดึงเอาไป กิเลสก็นำเอาไปให้ทำโน่นทำนี่
แต่เมื่อกิเลสสงบ สติปัญญาแจ่มขึ้นมา สติปัญญาก็นำไป
ให้ทำโน่นทำนี่
เพราะฉะนั้น จิตของบุคคลนี้เมื่อพิจารณาดู
แล้ว ก็จะเห็นชัด ว่าบางคราวก็ถูกกิเลสดึงเอาไปใช้ต่างๆ
บางคราวก็ได้ธรรมะเช่นสติปัญญานำไปใช้ต่างๆ
ก็กลับไปกลับมากันอยู่ดั่งนี้ ผู้ที่ได้กระทำกรรมอันใด
ไว้บ่อยๆ เสมอๆ ถ้าเป็นฝ่ายชั่ว จิตก็จะน้อมไป
ในฝ่ายชั่วมาก ถ้าหากว่ากรรมที่ทำเสมอๆ บ่อยๆ นั้นเป็น
ความดี ความดีก็จะดึงจิตให้น้อมไปได้มาก จิตจะน้อมไป
ได้มากในทางดี ดั่งนี้เป็นธรรมดา
เนกขัมมสุข กามสุข
เพราะฉะนั้น การละความชั่วกระทำความดี
อยู่เสมอๆ จึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะนำให้จิตน้อมไป
ในทางดีได้เสมอ จะทำให้ได้สุญญตาคือความว่าง
อยู่เสมอ และเมื่อเป็นดั่งนี้เมื่อจิตดีขึ้น มีสมาธิดีขึ้น
สงบดีขึ้น ปัญญามองเห็นธรรมะที่เป็น
ความจริงชัดเจนขึ้น เรียกว่าได้สุญญตามากขึ้น ก็ย่อม
จะนำจิตให้น้อมไปในทางดีมากขึ้นไปโดยลำดับ และ
จะพบตัวความสุขดังที่ได้กล่าวมา
ดั่งที่เรียกว่าเนกขัมมะสุขเป็นต้น บ่อยๆ ขึ้น มากขึ้น
ชัดเจนขึ้น ทำให้เปรียบเทียบกันได้กับความสุขที่ได้มา
ในขณะที่ยังมีกิเลสหนา ดังที่เรียกว่ากามสุข สุขอันเกิด
จากรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจต่างๆ
สุขที่เกิดจากลาภยศสรรเสริญสุขต่างๆ อันเป็นที่
ต้องใจพอใจ เป็นที่เพลิดเพลินของสัตว์โลกทั่วไป
ของสามัญชนทั่วไป
และเมื่อปฏิบัติมาจนถึงได้สุขเกิด
จากสุญญตาดังกล่าวมากขึ้นๆ ก็จะได้ข้อเปรียบเทียบเอง
จะมองเห็นได้ถนัดขึ้นว่า อันสุขชนิดที่เป็นสุญญตาสุข กับ
ความสุขที่เป็นกามสุขนั้นต่างกันอย่างไร อันไหนเป็น
ความสุขที่แท้จริง ที่เป็นความสุขจริงๆ จะมองเห็นได้เอง
เทียบกันได้มากขึ้น และเมื่อหมั่นที่
จะตรวจสอบดูลักษณะของความสุขดังกล่าวนี้อยู่เสมอๆ
สุญญตาสุข หรือเนกขัมมะสุขเป็นต้นนั้นก็จะชัดขึ้น จิต
จะน้อมไปเพื่อความสุขที่ละเอียดนี้มากขึ้น
หัดพิจารณาให้รู้จักสุญญตาสุข
เพราะฉะนั้น ในขั้นนี้ก็ควรที่จะหัดพินิจดู
ให้รู้จักสุญญตาสุข หลังจากที่
ได้ปฏิบัติกรรมฐานทุกคราว
เพราะว่าเมื่อปฏิบัติกรรมฐานทุกคราวนั้น จิตจะต้อง
ได้สุข น้อยหรือมาก จากศีลจากสมาธิ
จากปัญญาที่ปฏิบัติต้องได้
แม้ว่าจะมีทุกข์กลบอยู่มาก มีกิเลสกลบ
อยู่มากก็ตาม หากว่าสอดส่องพิจารณาดูแล้วก็จะพบ
จะพบลักษณะก่อน อันลักษณะนั้น จะ
ต้องมีลักษณะที่ออก จะต้องมีลักษณะที่สงัด จะ
ต้องมีลักษณะที่สงบ จะต้องมีลักษณะที่รู้
ลักษณะที่ออกนั้นก็คือว่าจะต้องออกได้
จากเครื่องผูกพันทั้งหลาย จากพันธนาการทั้งหลาย
จากรูป จากเสียง จากกลิ่น จากรส จากโผฏฐัพพะ อัน
เป็นที่ตั้งของกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
เป็นที่ตั้งของทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งโดยปรกตินั้นจะ
เป็นอาลัยที่ผูกพันจิตใจอยู่ จิตออกไม่ได้ แต่เมื่อทำ
ให้จิตเป็นสมาธิได้จะออกได้ แม้ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ
นั้น และเมื่อออกได้ จิตก็จะได้สุญญตาคือว่าง ว่าง
จากเครื่องพันธนาการ ว่างจากที่ตั้งของทุกข์ทั้งหลาย
ในขณะดังกล่าวนี้เรียกว่าออกได้
และเมื่อออกได้แล้วก็เป็นสุขขึ้นทันที เป็น
ความปลอดโปร่ง ฉะนั้นจึงเรียกว่าเนกขัมมะสุข สุขที่เกิด
จากการออก ดูที่การออก จิตออกได้มั้ย เทียบเคียงกับที่
ยังเป็นทุกข์กลุ้มกลัดอยู่ เพราะอะไร ก็เพราะว่าออกไม่
ได้ สิ่งนั้นๆ ยังผูกพันจิตใจ ดึงจิตใจให้วุ่นวาย ให้อยู่ไม่
ได้ ต้องไปโน่นไปนี่ ทำนั่นทำนี่อะไรต่างๆ ซึ่ง
เป็นที่ตั้งของทุกข์ ถ้าเป็นที่ตั้งของสุขก็แล้วไป นี่
เป็นที่ตั้งของทุกข์ จิตออกไม่ได้จึงเป็นทุกข์ จิตออกได้ก็
เป็นสุข เป็นความปลอดโปร่ง และนั่นแหละคือเป็น
ความสงัด
ที่ไม่สงัดนั้นก็คือว่า มีสิ่งต่างๆ เหล่า
นั้นคลุกคลี คลุกเคล้า วุ่นวายยั้วเยี้ยอยู่ในจิตใจ
ดั่งนี้เรียกว่าไม่สงัด แต่เมื่อออกได้ก็สงัด
คือสิ่งที่คลุกเคล้าวุ่นวายยั้วเยี้ยอยู่นั้นหายไปหมด เป็น
ความสงัด และเมื่อสงัดก็เป็นความสงบ จิตสงบไม่วุ่นวาย
ไม่กระสับกระส่าย
ไม่มีอารมณ์และกิเลสที่จะดึงออกไป
ให้กระสับกระส่ายให้วุ่นวาย จึงสงบอารมณ์ สงบกิเลส
ด้วย สงบความวุ่นวายต่างๆ ซึ่งเป็นผลด้วย ดั่งนี้เป็นสงบ
และก็ต้องประกอบกันเป็นตัวรู้ รู้พร้อม รู้ที่ไม่บกพร่อง
รู้ที่ละได้ หรือว่ารู้พ้น เพราะว่าเป็นเรื่องของรู้ทั้งนั้น
ความรู้หลง
ในขณะที่เป็นทุกข์
มีพันธนาการเครื่องผูกพัน ผูกใจอยู่ ดึงใจอยู่ กักขังจิตใจ
อยู่ ก็ไม่ใช่ว่าไม่รู้ รู้ ..แต่ว่าก็เป็นรู้ที่มีความชอบใจที่จะ
อยู่กับเครื่องผูกพันนั้น กับทุกข์นั้นก็รู้ ..
คลุกคลีวุ่นวายยั้วเยี้ยไปในจิตหมด เรื่อง
นั้นเรื่องนี้อะไรต่างๆ ก็รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ วุ่นว่ายก็รู้ ไม่ใช่ไม่รู้
แต่ว่ายังเป็นความรู้ที่บกพร่อง ไม่ใช่เป็นความรู้ที่พร้อม
เพราะยังมีตัวหลง ซึ่งเมื่อหลงก็เรียกว่าไม่รู้นั่นเอง คือ
ไม่รู้สัจจะที่เป็นตัวความจริงประกอบอยู่ ไม่รู้พร้อม เป็น
ความรู้หลง เป็นความรู้ผิด เพราะฉะ
นั้นเมื่อมาปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
ตามหลักของศีลสมาธิปัญญาวิมุติ ก็เป็นการปฏิบัติที่จะ
ได้ทำตัวรู้นี้เอง ให้เป็นรู้ที่สมบูรณ์ ให้เป็นรู้ที่ถูกต้องขึ้น
เท่านั้นเอง
สมุทัยเหตุแห่งทุกข์
เมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะเริ่มรู้จักว่าที่ผูกพันจิตใจ
กักขังจิตใจ ดึงจิตใจ อยู่นั้น เป็นตัวสมุทัยที่
เป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่ใช่เป็นของที่ทำ
ให้เกิดสุขที่แท้จริงอะไร และก็รู้ว่าที่คลุกเคล้ายั้วเยี้ยอยู่
ในจิตใจ วุ่นวายไปหมดนั้น ก็เป็นตัวสมุทัยเหตุ
ให้เกิดทุกข์ ไม่ใช่ให้เกิดสุขอะไร ก็รู้ว่าที่วุ่นวายไม่สงบ
ก็เป็นตัวสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ คือเรียกว่ารู้จัก ... (จบ
๔/๒) (ข้อความน่าจะต่อกันได้) (เริ่ม ๕/๑) คลาย
ความติดใจยินดีในสิ่งที่ยึดถือไว้นั้นๆ เมื่อยึดถือไว้ก็
เป็นอุปาทาน และสิ่งที่ยึดถือนั้นก็มาเป็นอุปาทิทรงใจ
ครอบงำใจ
แต่ว่าเมื่อหน่ายเพราะมองเห็นว่า
เป็นสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ ก็ทำให้วางความยึดถือ
วางลงเสีย และเมื่อวางลงได้ ก็ออกได้ ก็สงัดได้ ก็สงบ
ได้ และความรู้ก็เป็นความรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่ใช่เป็น
ความรู้หลงดังกล่าวนั้น
เพราะฉะนั้นอันนี้เองจึงเป็นตัววิมุติ
ความหลุดพ้น ไม่ใช่อะไรอื่น ปฏิบัติเมื่อใดก็ได้เมื่อนั้น
แต่ดูให้รู้จัก เอารู้นี่แหละแก้รู้ คือเอารู้ถูกแก้รู้ผิด เมื่อ
เป็นดั่งนี้ก็จะพบตัวความสุขที่เรียกว่าเนกขัมมะสุขเป็นต้น
อันต้องอาศัยสุญญตาคือ
ความว่างตามหลักของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติ
ในสติปัฏฐานทุกข้อทุกบทก็รวมเข้าในสุญญตาคือ
ความว่างนี้เหมือนกัน
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำ
ความสงบสืบต่อไป


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร