วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 01:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

สำเนาเทศน์เช้าวันธรรมสวนะ เพ็ญเดือน ๑๑
วันจันทร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐
คัดเฉพาะ “พุทธอุทาน” คาถาต้น
-------------------------------------------

อิทานิ ปณฺณรสีทิวเส สนฺนิปติตาย พุทฺธปริสาย กาจิ
ธมฺมีกถา กถิยเต สุโข วิเวโก ตฺฏฺฐสฺส สุตฺธมฺมสฺส
ปสฺสโต (สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต)
อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม สุขา วิราคตา
โลเก กามานํ สมติกฺกโม อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เวปรมํ
สุขนฺติ อิมสฺส ธมฺมปริยายสฺส อตฺโถ สาธายสฺมนฺเตหิ
สกฺกจฺจํ โสตพฺโพฯ
ณ วันนี้เป็นวันปัณณรสีดิถีที่ ๑๕ ค่ำแห่งสุกรปักษ์ และ
เป็นวันมหาปวารณา ด้วยนับว่าเป็นวันมหาสันนิบาต
ด้วยพุทธบริษัทต่างคนต่างได้ตั้งสัตยาธิษฐานไว้ตั้งแต่ต้น
เข้าพรรษาต่างกัน.......บัดนี้จะนำ “พุทธอุทาน”
ที่พระองค์ตรัสสรรเสริญชมเชยวิเวก
ในสมัยเมื่อพระองค์
ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ
ได้เปล่งพระสุรเสียงขึ้นดังๆ แต่พระองค์ผู้เดียวว่า สุโข
วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตฺธมฺมสฺส ปสฺสโต อพฺยาปชฺฌํ สุขํ
โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม สุขา วิราคตา โลเก กามานํ
สมติกฺกโม อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํเว ปรมํ สุขํ ดัง นี้ ฯ
ภายหลังเมื่อพุทธบริษัทเจริญแล้ว พระองค์จึง
ได้นำเอาพุทธอุทานนี้มาแสดงประกาศแก่พุทธสาวก
ได้รับเป็นมรดกกันมาจนบัดนี้ ฯ แปลเนื้อ
ความพุทธอุทานคาถานั้นว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส
สุตฺธมฺมสฺส ปสฺสโต วิเวก คือที่อยู่อันสงัดเป็นสุข คือ
เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขแก่ผู้ยินดีแล้ว คือว่า
ผู้เห็นธรรมอันตนได้สดับมาแล้วแจ้งประจักษ์ชัด
อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม ความ
ไม่มีพยาบาทปองร้าย คือว่ามีความสำรวมไม่เบียดเบียน
ในหมู่สัตว์ ซึ่งมีชีวิตทั้งหลายเป็นสุขในโลก สุขา
วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม ความที่ปราศจากราคะ
ความกำหนัด คือว่าเป็นผู้ก้าวล่วงเสียได้ซึ่งกามทั้งหลาย
เป็นสุขในโลก อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํเว ปรมํ สุขํ
ความที่นำอัสมิมานะ คือความถือว่าเราเป็นเรามี ออกเสีย
ให้พินาศได้ ข้อนี้เว้นเป็นสุขอย่างยิ่งฯ มีเนื้อ
ความตามพระพุทธอุทานคาถานั้นเพียงเท่านี้ ฯ
บัดนี้จะอธิบายเนื้อความแห่งพุทธอุทานนั้นต่อไป พอ
เป็นทางดำริบำรุงสติปัญญาของพุทธบริษัท ฯ ข้อที่ ๑
ซึ่งว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต วิเวก
เป็นสุขแก่ผู้ยินดีแล้ว คือว่าผู้เห็นธรรมอันตนได้สดับมา
แล้วแจ้งประจักษ์ชัด ดังนี้ มีอรรถาธิบายว่า วิเวกนั้น คือ
ความสงัด ท่านแสดงไว้เป็น ๓ ประการ
สงัดกายชื่อว่ากายวิเวก สงัดใจชื่อว่าจิตตวิเวก สงัด
จากอุปธิกิเลสชื่อว่าอุปธิวิเวก ฯ กายวิเวก
นั้นท่านหมายปันตเสนาสนะที่อยู่อันสงัด คือที่ห่าง
จากหมู่บ้านเพียง ๕๐ เส้นออกไป ชื่อว่าอารัญญิก ๑
คืออาศัยร่มต้นไม้ที่ตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านที่ปราศ
จากเสียงอื้ออึง ชื่อว่ารุกขมูล ๑ คือที่ว่างจากบ้านเรือน
จะเป็นถ้ำหรือเงื้อมเขาหรือกลางทุ่งกลางแจ้ง สุดแต่
เป็นที่อันเงียบสงัดและเป็นที่สบาย
ควรแก่เจริญสมถวิปัสสนา ชื่อว่าสุญญาคาร ๑ ที่ทั้ง ๓
สถานนี้ ชื่อว่าปันตเสนาสนะ แปลว่าเสนาสนะอันที่สงัด
ผู้อยู่ในเช่นนั้นชื่อว่าได้กายวิเวก เป็นเหตุให้ได้จิตตวิเวก
คือว่าเมื่อได้ที่วิเวก
แล้วก็ตั้งใจเจริญสมถวิปัสสนาจิตต์ก็จักสงบมีอารมณ์
เป็นอันเดียว ชื่อว่าเอกัคคตารมณ์ จิตต์สงัด
จากกามฉันทะพยาบาท ถีนมิทธิ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา ชื่อว่าได้จิตตวิเวก ฯ และเป็นเหตุให้
ได้อุปธิวิเวก อุปธินั้นได้แก่สัญญาอดีต ที่เข้าไปฝังแน่น
อยู่ในใจ เหมือนอย่างนาม รูป ธาตุ ขันต์ อายตนะ หรือ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เชื่อแน่ว่าของเหล่านั้นมี
ในตน เป็นเครื่องรกใจเป็นกิเลสอย่างละเอียด
ไม่ปรากฏมีโทษมีคุณอะไร
แต่นั่นแหละตัวต้นเหตุตัวปัจจัย สำหรับ
จะก่อกิเลสอย่างหยาบให้เกิดขึ้น เป็นผู้นำทุกข์คือ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสส อุปายาส มาให้เพราะเหตุนั้น
จึงต้องทำจิตต์วิเวกให้เกิด คือชำระใจให้สะอาดเสียก่อน
แล้วจึงน้อมใจที่บริสุทธิ์นั้นเข้ามาตรวจตรองในสกลกาย
ตามนัยปฏิจจสมุปบาทเอาอวิชชาตั้งลงเป็นหลัก
คือสกลกายของเรานี้แหละชื่อว่าอวิชชา อวิชชาแปลว่า
ความไม่รู้ คือไม่รู้ว่าตัวตนนั้นคืออะไร รู้
ได้แต่อาการของอวิชชา ๑๒ ประการ
ซึ่งปรากฎแก่ตาแก่ใจอยู่เสมอ อาการ ๑๒ นั้น คือ
สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
ตัวสัญญานามธรรมฝังแน่นอยู่ในตัวเป็นตัวสมุทัย
ตัวสมุทัยนี่แหละปิดตัวสภาวะให้มืดมิดสนิทสนมดี
อย่างก้อนเมฆปิดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ให้มืดมิดแสงฉะ
นั้นๆ ต่อเมื่อโยคาพจรเจ้าได้จิตวิเวกแล้ว
น้อมจิตต์ที่บริสุทธิ์นั้นมาตรวจตรองพิจารณาก็จะรู้จักเหตุ
และปัจจัยเหตุนั้นก็คือ สังขารวิญญาณ เป็นต้น
คืออาการ ๑๒ นั้นเองเป็นตัวเหตุ สม
ด้วยพุทธอุทานอีกนัยหนึ่งว่า ยโต ปชานาติ สาเหตุ ธมฺมํ
ในกาลใดแลพราหมณ์ผู้เพียรเพ่ง รู้ประจักษุ์ชัดซึ่งธรรม
กับทั้งเหตุในกาลนั้น
ความสงสัยของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปดังนี้ฯ ปัจจัย
นั้นมีอวิชชาอันเดียว เหตุกับปัจจัยต่างกัน เหตุเป็นตัวตั้ง
ปัจจัยเป็นแต่ผู้อุดหนุนเป็นผู้อุปการะเท่านั้น เพราะเหตุ
นั้น เมื่อญาณทัสสนะเกิดขึ้น อวิชชาดับขาด
ปัจจัยที่จักอุดหนุน สังขาร วิญญาณ ถึง ชรา มรณะ
จึงดับไปตามกันเมื่อไม่มีปัจจัยอุดหนุนแล้ว
เหตุก็พลอยดับไปด้วย สมด้วยพุทธอุทานว่า ยโตขยํ
ปจฺจยานํ อเวทิ ในกาลใดพราหมณ์ผู้เพียรเพ่ง ได้รู้แจ้ง
ซึ่งความสิ้นไปแห่งปัจจัย ในกาลนั้น
ความสงสัยของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ดังนี้
เหตุปัจจัยดับนี้ชื่อว่า นิโรธ ทีนี้ใจก็ปลอดโปร่ง
ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานสมด้วย พุทธบริหาร ว่า
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ สูโร ว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ
ในกาลนั้นพราหมณ์เพียรเพ่ง ครั้นกำจัดพระยามารกับ
ทั้งเสนามารเสียได้แล้ว
ก็รุ่งโรจน์สว่างไสวอย่างประหนึ่งว่า
แสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ในท้องอากาศนั้น
นั่นแหละชื่อว่าอุปธิวิเวกฯ พึงเข้าใจลักษณะแห่งวิเวกทั้ง
๓ โดยนัยดังแสดงมานี้ เมื่อย่นลงให้สั้น
ศีลชื่อว่ากายวิเวก คือ กายสงัดจากบาป สมาธิชื่อว่า
จิตตวิเวก คือ จิตต์สงัดจากอารมณ์
ปัญญาชื่อว่าอุปธิวิเวก คือ ใจสงัดจากกิเลสูปธิฯ ข้อที่ว่า
ผู้เห็นธรรมที่ตนได้สดับมาแล้วนั้น พึงถือเอาเนื้อความว่า
ผู้เห็นธรรมก็เห็นพระนิพพานอันเป็นผลแห่งอุปธิวิเวก
ได้แก่ เห็นสกลกายนี้เป็นสภาวธรรมพร้อมกับด้วยเหตุคือ
สังขารวิญญาณถึงชรามรณะเป็นตัวเหตุ
เมื่ออวิชชาตัวปัจจัยดับ เหตุก็พลอยดับไปตามกัน เหลือ
อยู่แต่โลกุตตรธรรม ชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้งซึ่ง
ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ความสงสัยในภพในชาติ
และมารกิเลส หมดอำนาจไม่ตามรบกวนท่านต่อไป
ใจของพระโยคาพจรเจ้าก็รุ่งโรจน์สว่างไสวอย่างประหนึ่งว่าแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์
ในท้องอากาศฉะนั้น ได้อธิบายพุทธอุทานคาถาที่ต้น คง
ได้เนื้อความตามนัยที่แสดงมาด้วยประการฉะนี้ ฯ ......
...................................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร