วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 00:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ธรรมคุณกถา
(แสดงทางออกจากโลกโดยทางวิปัสสนา)

อิทานิ อฏฺฐมีทิวเส สนฺนิปติตาย พุทฺธปริสาย กาจิ
ธมฺมีกถา กถิยเต สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโมติอาทิกํ
ธมฺมคุณกถํ อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ภาสิสฺสามีติ อิมสฺส
ธมฺมปริยายสฺส อตฺโถ สาธายสฺมนฺเตหิ สกฺกจฺจํ
โสตพฺโพติ.
..........ณ วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีที่ ๘
ค่ำแห่งปักขคณนา พุทธบริษัทได้มาสันนิบาตประชุม
กันในธรรมสวนมณฑลนี้ เพื่อประสงค์
จะสมาทานอุโบสถศีลและเบญจเวรวิรัติ
และสดับพระธรรมเทศนาอัน
เป็นพระโอวาทคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา
เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ในส่วนปฏิบัติบูชาของตน ๆ
การที่ได้มารักษาอุโบสถศีลและเบญจเวรวิรัติ
ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาเหล่านี้ ชื่อว่าเป็น
ส่วนปฏิบัติบูชา ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
อย่างสูงสุด เมื่อพร้อมด้วยสันนิบาตเช่นนี้แล้ว
เบื้องหน้าแต่นี้เป็นโอกาสที่จะสดับพระธรรมเทศนา
ด้วยการที่ท่านทั้งหลายได้ตั้งกติกาอธิษฐานไว้
ในใจของตนว่า ถึงวันพระหนึ่ง ๆ จะพากันสะสมคุณ
ความดี มีให้ทานและรักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น เมื่อ
ได้ตั้งกติกาไว้อย่างไร ข้อนั้นก็ได้พา
กันประพฤติปฏิบัติสำเร็จตลอดมาได้ จนบัดนี้ก็จวน
ใกล้จะออกพรรษาแล้ว การที่ตั้งเจตนาไว้อย่างใด ก็
ได้ทำให้สำเร็จตามอย่างนั้น อันนี้ควรจะโสมนัสยินดี
การที่ได้พากันอบรมความดีต่างๆ มีให้ทาน รักษาศีล
และสดับพระธรรมเทศนาเป็นต้นนี้ นับว่าเป็นการ
ได้ทำความดีให้เกิดให้มีขึ้นในตน เป็นส่วนที่จริงที่แท้
สามารถจะยึดเอาเป็นสรณะที่พึ่งของตนได้ และ
ได้ชื่อว่าได้กระทำหลักฐานไว้แก่ตน ทำตนให้
เป็นคนมีหลักฐานในกาลต่อไป
ด้วยว่าโลกคือหมู่สัตว์ไม่คงที่เป็นปกติอยู่เสมอได้
ทั้งโรคภัยไข้เจ็บก็ไม่มีนิมิตเครื่องหมายว่า
จะมีมาเมื่อไร ถึงแม้เราอยู่ต่อ ๆ ไป ก็ไม่รู้ว่าจะได้รับ
ความสุขสักเพียงไร แล้วให้หวนคิดเพ่งดูหมู่สัตว์
ทั่วโลก ซึ่งได้รับความเดือดร้อนลำบากรำคาญ
เกิดแต่เหตุภายใน ดังโรคภัยไข้เจ็บเป็นต้น
เกิดแต่เหตุภายนอก ได้แก่การเบียดเบียนซึ่งกันและ
กัน มีทั่วไปในหมู่มนุษย์และสัตว์ หาที่ว่างที่เว้น
ไม่มีเลย
ด้วยชีวิตและความสุขเนื่องอยู่ด้วยหมู่คณะ ต้องอยู่
ด้วยกันมากๆ จึงจะมีความสุข ครั้นเมื่อมา
อยู่มากหมู่มากคณะหนักเข้า ก็เกิดความเดือดร้อนขึ้น
ในระหว่างพวกของตัวนั้นเอง
เพราะต่างคนต่างแสวงหาความสุข
ทีนี้ก็เกิดข่มเหงแย่งชิงสถานที่และทรัพย์สมบัติกันขึ้น
ผู้มีอำนาจมากก็ข่มเหงผู้มีอำนาจน้อย
ผู้มีอำนาจน้อยสู้ทางนี้ไมได้ ก็หาอุบายทางอื่นแก้แ
ค้นแก่ผู้มีอำนาจมาก ต่างฝ่ายต่างก็ถือดีแก่กันและกัน
จนถึงมีพระราชามหาอำมาตย์ช่วยป้องกัน คอยระงับ
ความเดือดร้อน ถึงปานนั้นก็ยังไม่สงบจริงจัง
เป็นแต่เพียงเบาบางลงเท่านั้น ซึ่งทำ
ให้ต่างหมู่ต่างคณะที่เข้ามาระคนปน
กันมากหมู่มากคณะขึ้นนั้น ได้พึ่งพาอาศัยกัน นำ
ความสุขความสำราญมาสู่มากขึ้น แต่ส่วน
ความเดือดร้อนรำคาญก็ยิ่งทวีมากขึ้นอีกเหมือนกัน
เพราะต่างฝ่ายก็ต่างจะเอาเปรียบแก่กันในทางหา
ความสุขแก่พวกของตัวนั้นแล จน
ถึงแก่ก่อการวิวาทบาดหมางฆ่าฟันทุบตีกัน
ในระหว่างหมู่ระหว่างคณะตลอดขึ้นไปจน
ถึงประเทศต่อประเทศ
มองดูในระหว่างหมู่มนุษย์ด้วย
กันก็น่าสังเวชน่าเบื่อหน่ายเหลือทน
ต่างถือชาติถือตระกูล
ถือพวกถือเหล่าถือประเทศบ้านเมืองจนไม่รู้สึกว่าตน
เป็นมนุษย์ชาติเดียวกันทั้งโลก มีสมบัติในตัวก็เท่ากัน
แต่เหตุไฉนจึงต้องเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับ
ความเดือดร้อน แท้ที่จริง ความสุขที่มนุษย์ทั่วโลก
จะพึงได้ ก็ต้องได้ด้วยสุจริตคือความประพฤติดี
ด้วยกาย วาจา ใจ ที่สัมปยุตด้วยเมตตากรุณาโดยแท้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 00:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ครั้นแลไปดูสัตว์หมู่อื่นนอก
จากมนุษย์พวกเรานี้ ก็อีกแหละ สัตว์บางพวก
ต้องกินสัตว์ที่มีชีวิตเหมือนกับตัวเป็นอาหาร สัตว์
ใหญ่กินสัตว์น้อย สัตว์น้อยกินสัตว์ใหญ่
สัตว์ที่กินต้นไม้ต้นหญ้า
เป็นอาหารก็พลอยถูกสัตว์พวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร
จับกินเสียด้วย สัตว์จำพวกที่กินต้นไม้ใบหญ้า
เป็นอาหารก็เบียดเบียนกันในหมู่ของตัว ด้วยการหา
ความสุขใส่ตัวในทางอาหารบ้าง ในทางกามสุขบ้าง
มองดูบรรดาสัตว์ในน้ำและบนบก
โดยที่สุดแต่สัตว์ที่เหาะไปได้ในท้องอากาศ
จะหาจำพวกใดที่จะพ้นไปจากความเบียดเบียนแก่กัน
และกันไม่มีเลย ข้อสำคัญก็คือ อาหารนี้แหละ
เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดเบียดเบียนกัน
รองลงมาก็กามสุข ส่วนการแสวงหาอาหารนี้
ในหมู่สัตว์ทั่วโลกไม่ร้ายแรงเหมือนหมู่มนุษย์ เพราะ
ไม่สู้จะมีสัตว์จำพวกที่สะสม
เพียงแต่หาพออิ่มท้องวันหนึ่ง ๆ เท่านั้นโดยมาก
ส่วนหมู่มนุษย์นี้อาหารอยู่ข้างจะยุ่งมาก ต้องสะสม
ด้วยได้เท่าไรก็ไม่พอ หามาใส่ตุ่มใส่ไหใส่โอ่งใส่อ่าง
ใส่หีบใส่กระป๋อง ย่างด้วยไฟ ผึ่งด้วยแดดให้
เป็นของแห้งไว้บ้าง ดูไปเถอะ
นับอย่างอาหารของหมู่มนุษย์ไม่ถ้วน เป็นต้นว่าผลไม้
ทั้งปวง ใบไม้ทั้งปวง ต้นไม้รากเหง้าของต้นไม้
และเถาวัลย์ที่ไม่เบื่อไม่เมา เป็นอาหารของมนุษย์ได้
ทั้งสิ้น ในหมู่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าสัตว์น้ำสัตว์บกสัตว์
อยู่ถ้ำอยู่รู สัตว์เดินไปได้ในท้องอากาศ
ไม่เลือกว่าสัตว์ตัวใหญ่ตัว
เล็กเพื่อนกินตะพึดตะพือไปทีเดียว
ถ้าจะว่าไปโดยความจริง หมู่มนุษย์เรามีปัญญามาก
ควรจะให้ความสุขแก่สัตว์ทั่วโลกเป็นการสมควรแท้
แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ บรรดาหมู่สัตว์ในโลก ได้รับ
ความเบียดเบียนแต่หมู่มนุษย์มากมายเหลือส่วนที่
จะพึงประมาณ ใช่จะเบียดเบียนแต่ในหมู่สัตว์เพียง
เท่านั้นก็หาไม่ ยังเบียดเบียนในหมู่มนุษย์ด้วย
กันก็เหลือล้น จนถึงพวกพ้องพี่น้องตลอดลงไปจน
ถึงสามีภรรยาก็เบียดเบียนข่มเหงกัน เมื่อเพ่งดู
แล้วก็น่าสังเวชสลดใจเหลือเกิน
..........ส่วนที่กินเนื้อเป็นอาหารนั้น
จะมาโทษเอาหมู่มนุษย์ทุกวันนี้ทีเดียวก็ไม่ได้
เพราะของเป็นมาแล้วแต่บุรพบุรุษมีเนื้อสัตว์
เป็นอาหารสืบกันมาแก้ไม่ไหว
แม้แต่ญาณของพระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นว่าไม่มีทางแก้
เมื่อทรงเห็นโทษแล้ว จึงต้องเลิกจำเพาะตน
และพรรคพวกของตนเท่านั้น
การทรงแต่งตั้งสิกขาบทแห่งศีล
ทั้งปวงยกปาณาติบาตให้เว้นการฆ่าสัตว์เป็นประธาน
เท่ากับประกาศทางเมตตากรุณาแก่หมู่สัตว์ทั่วโลก
เมื่อพุทธบริษัทเพ่งดู เห็น
ความปั่นป่วนวุ่นวายของหมู่สัตว์ทั่วโลกเช่นนี้ ก็สมควร
จะเกิดความเบื่อหน่ายบ่ายหน้าหาทางหลีกเลี่ยง
ให้พ้นไปเสียจากโลกเป็นการชอบยิ่ง
ถ้าหากยังยินดีอยู่ในโลก ก็ควรหาอุบายที่จะแก้ไม่
ให้เบียดเบียนข่มเหงกัน ต่างคนต่างอยู่พอสบาย ๆ
ตลอดชีวิต เป็นการชอบแท้ อุบายทางแก้นอก
จากโอวาทของพระพุทธเจ้าแล้วเป็นอันไม่มี ที่ปกครอง
กันอยู่ได้โดยเรียบร้อยทุกวันนี้ ก็
เพราะพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์โดยแท้
คือในหมู่มนุษย์เราอยู่เป็นสุขด้วยกันทุกวันนี้ ก็
ด้วยเมตตากรุณาแก่กันและกันเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 00:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเมตตากรุณานั้น
เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้
ในหมู่มนุษย์เรา
ถ้าต่างคนต่างอิจฉาพยาบาทโกรธเคืองแก่กันทั่วโลก
โลกก็แตกเท่านั้น โดยที่สุดแต่พวกเราที่อยู่
ในศาลานี้ต่างคนต่างเกลียดกัน โกรธกันทุก ๆ คน
ศาลาก็แตกทนไม่ไหวเท่านั้น ที่พวกเราพากันอยู่
เป็นสุขนี้ ก็ด้วยอำนาจเมตตาปรานีกัน คือพา
กันประพฤติตามคำสอนของพระองค์เช่นนี้ ควรแล้วที่
จะต้องรู้จักคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ผู้รู้จักคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว
จะควรประพฤติตนอย่างไร คือจะต้องประพฤติอย่างนี้
เมื่อจะประกอบการกุศลใด ๆ ถ้ามีโอกาส
ต้องทำวัตรไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เสียก่อน
มีโอกาสสวดมนต์ให้สวดมนต์เสียก่อน จึงสมาทานศีล
หรือจะให้ทานก็ดี จะฟังพระธรรมเทศนาก็ดี
จะเจริญสมถวิปัสสนาก็ดี ก็
ให้ไหว้พระสวดมนต์เสียก่อน เป็นการสมควร แต่ต้อง
ให้เหมาะแก่โอกาส ควรย่อหรือควรพิสดาร
พระโอวาทของพระพุทธเจ้านั้น ทรงแนะนำสั่งสอน
ให้บริจาคทานเป็นเบื้องต้น เพื่ออบรมดวงจิต
ให้สัมปยุตด้วยเมตตากรุณาจาคเจตนา
หัดบริจาควัตถุภายนอกก่อน ครั้นจาคเจตนาแก่ขึ้น
จึงรักษาศีล บริจาควัตถุภายใน คือกิเลส ซึ่งได้แก่
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ส่วนหยาบที่ออกมาทางกายทางวาจา เพราะทาน
และศีลมีเมตตากรุณาและจาคเจตนาเหมือนกัน
ครั้นทานศีลบริบูรณ์แล้ว ก็เป็นภาคพื้นแห่งสมาธิ
และปัญญาอยู่เอง ผู้ปฏิบัติ
ได้เพียงชั้นโลกิยะปฏิบัติตามนัยที่แสดงมานี้ ก็พ้น
จากการวุ่นวายข่มเหงเบียดเบียนกัน จะพากันอยู่เย็น
เป็นสุขตลอดชีวิต ไม่ต้องมีความสงสัย
ถ้าเป็นผู้เบื่อโลกจริงจัง อยากจะออกให้พ้นโลก
ถ้าเช่นนั้นในสองวันพระก่อนได้แสดงทางออกจากโลก
ไว้สองทาง ทางหนึ่ง
ให้ปฏิบัติตรงต่อพระอัฏฐังคิกมรรค บำรุงสีลขันธ์
สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ให้เป็นอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา
ให้องค์ของมรรคสามัคคีกันในสกลกายนี้ ก็
เป็นทางออกจากโลกได้
วันพระหลังได้แสดงทางออกจากโลกหรือออก
จากทุกข์ด้วยทางวิสุทธิมรรค ก็คือ
ต้องออกอาศัยไตรสิกขาเหมือนกัน ทางทั้งสองนั้น
ถ้ารู้แล้วก็เป็นอันเดียวกัน
..........วาระนี้ จะแสดงทางออกอีกทางหนึ่ง
เป็นทางวิปัสสนา เพื่อจะ
ให้กว้างขวางเหมาะแก่อุปนิสัยของพุทธบริษัท
และเพื่อให้เป็นทางที่พุทธบริษัทจะเลือกดำเนินตาม
ให้เหมาะแก่อุปนิสัยของตน เพราะพระธรรมที่
จะแสดงต่อไปนี้ก็เป็นสวากขาตธรรม
เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วทั้งนั้น
ทางวิปัสสนานั้น ควรแก่ผู้มีสีลาจารวัตรบริบูรณ์แล้ว
จะพึงเจริญ เรียกว่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านแสดงไว้
โดยอเนกนัย คือมิใช่อย่างเดียว ในที่นี้ จะยกเอาใจ
ความในธรรมนิยามสูตรมาแสดง พอ
เป็นนิทัศนะอุทาหรณ์พอ
ให้เห็นทางแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 00:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจความในธรรมนิยามสูตรนั้นว่า
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งสิ้นเป็นของไม่เที่ยง
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งสิ้นเป็นทุกข์
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา คือไม่
ใช่ตัวตน
อถนิพฺพินฺทติ ทุกฺเข ครั้นเมื่อพิจารณาเห็นสังขารธรรม
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเช่นนั้น
ก็เกิดนิพพิทาญาณความหน่ายในทุกข์ เห็นว่าความ
ไม่เที่ยงก็เป็นตัวทุกข์ ทุกข์ความทนยากก็เป็นตัวทุกข์
อนัตตาไม่ใช่ตัวตนก็เป็นตัวทุกข์ (
คือเห็นโทษของสังขาร)
เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย
ในสังขารทั้งหลาย เพราะเป็นตัวทุกข์ อันนี้
เป็นวิสุทธิมรรค เป็นทางที่ให้ถึงความบริสุทธิ์
ในสุตตันตนัยตรัสเป็นการรับรองว่า อุปฺปาทา วา
ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา
ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นในโลก
หรือไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสังขารธรรมทั้งหลาย
ย่อมเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เป็นธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม คือตั้งอยู่
เป็นธรรมดาอย่างนั้น ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น
เป็นแต่เราตถาคตตรัสรู้ดีแล้ว
นำมาแนะนำสั่งสอนกระทำให้ตื้นขึ้นเท่านั้น คงได้ใจ
ความตามนัยพระสูตรดังนี้
..........ต่อนี้จักแสดงตามมติของตน
โดยทางไต่สวนพระพุทธภาษิต เพื่อ
ให้สะกิดใจของพุทธบริษัทผู้เห็นภัยแจ้งชัด
ในวัฏสงสาร มุ่งหาทางที่จะออกจากวัฏทุกข์
ทางวิปัสสนานี้เป็นทางสำคัญอย่างยิ่ง แต่
ต้องอาศัยศีลสมาธิเป็นภาคพื้นมาแล้ว จึงจะเป็นทาง
ให้สำเร็จได้ วิปัสสนาแปลว่าเห็นแจ้งเห็นจริง
คือเห็นจริงตามสภาวะที่เป็นอยู่อย่างไรแห่งธรรมนั้น ๆ
เหมือนอย่างในธรรมนิยามสูตรที่ท่านแสดงว่า สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ดังนี้
ทางไต่สวนควรสงสัยว่า ไฉนหนอท่าน
จึงแสดงว่าสังขารทั้งสิ้นเป็นของไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งสิ้นเป็นทุกข์ ทำไมจึงไม่แสดงว่าสังขารทั้งสิ้น
เป็นอนัตตา เหตุใดจึงแสดงว่าธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา
สังขารทั้งสิ้นกับธรรมทั้งสิ้นนั้น จะมีอาการต่าง
กันอย่างไร สังขารก็ชื่อว่าธรรมเหมือนกัน
คือสังขตธรรม
คงได้ความว่า สังขารมีนัยเดียว ส่วนธรรมนั้นมีสองนัย
คือสังขตธรรมหนึ่ง อสังขตธรรมหนึ่ง ที่แสดงว่า “
สพเพ ธมฺมา อนตฺตา” หมายทั้งสังขตธรรม
และอสังขตธรรม มีอาการต่างกันคือ สังขตธรรม มี
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เต็มที่ ส่วนอสังขตธรรม
อนิจจัง ทุกขัง ไม่มี มีแต่อนัตตาอย่างเดียว คือไม่
ใช่ตัวตน เป็นธรรมต่างหาก
แสดงทางวิปัสสนาต้องแสดงในสกลกายนี้อย่างเดียว
แสดงนอกออกไปไม่ได้
ต้องตรวจดูหน้าตาของสังขตธรรมและอสังขตธรรม
ในสกลกายนี้ให้เห็นชัดว่าสังขตธรรมมีที่สุดเพียงไร
ต้องตรวจดูหน้าตาของสังขารทั้งสิ้นเสียก่อน
สังขารในปฏิจจสมุปบาท สังขารในเบญจขันธ์
ท่านหมายเจตสิกสังขาร คือปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขารเหมือนกัน
ถึงกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ก็เกี่ยว
ด้วยเจตสิกสังขารเหมือนกัน จึงรวมสังขารทั้งสิ้น
เป็นสอง คืออุปาทินนกสังขาร ๑ อนุปาทินนกสังขาร ๑
ชื่อว่าสังขารทั้งสิ้น
สังขารทั้งสองนี้มีเต็มโลกด้วยกัน จะชี้แจง
ไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ปฏิบัติจะเห็นเอง จะชี้พอเป็นอุทาหรณ์
เพื่อเป็นทางดำริเท่านั้น
ในสกลกายนี้เต็มไปด้วยสังขารทั้งสอง ท่าน
จึงตั้งชื่อว่าสังขารร่างกาย แต่เท่านี้ก็ไม่พอใช้
จึงตั้งชื่อต่อออกไปให้ชื่อว่าสกลกายบ้าง นามรูปบ้าง
ขันธ์บ้าง ธาตุบ้าง อายตนะบ้าง เป็นต้น เป็นตัวอย่าง
แล้วแจกอาการของชื่อตั้งนั้นๆ
ดังสกลกายแจกอาการออกไปตามลักษณะของธาตุ ๔
ปฐวีธาตะ ๒๐ มีเกสาโลมาเป็นต้น อาโปธาตุ ๑๒ มี
ปตฺตํ เสมฺหํ เป็นต้น ถ้าแจกแต่สองธาตุนี้เป็นอาการ
๓๒ ถ้าแจกเตโชธาตุ ๖ มีสันตัปปัคคิเป็นต้น
และแจกวาโยธาตุ ๔ มีอุทธังคมาวาตาเป็นต้น ประสม
เข้าเป็นอาการ ๔๒ ชื่อว่า สกลกาย
รวมสกลกายให้ชื่อว่านามรูป ใจชื่อว่านาม กาย
ทั้งสิ้นชื่อว่ารูป กายกับใจประชุมกันเข้าเป็นหมวด
เป็นก้อนชื่อว่าขันธ์ แจกอาการของขันธ์เป็น ๕
รวมอาการของกายเข้าเป็นหนึ่งชื่อว่ารูป
ส่วนใจแจกอาการเป็น ๔ คือ เป็นเวทนา ๑ สัญญา ๑
สังขาร ๑ วิญญาณ ๑ ขันธ์อันเดียวนั่นแหละ
แต่มีอาการ ๕ อย่าง จึงชื่อว่าขันธ์ ๕
สกลกายอันเดียวนี้แหละท่านตั้งชื่อว่าธาตุ
แจกอาการของธาตุในที่นี้ออกเป็น ๖ คือธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ๕ อย่างนี้เป็นรูป
ธาตุวิญญาณอีก ๑ นี้เป็นนาม จึงรวมกันเป็นธาตุ ๖
สกลกายอันเดียวนี้แหละ ท่านตั้งชื่อว่าอายตนะ
แจกอาการของอายตนะเป็น ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้
ส่วนรูปแจกเป็น ๕ ใจนี้ส่วนนามคงเป็น ๑ จึงรวม
เป็นอายตนะ ๖
สกลกายอันเดียวนี้แหละ ท่านตั้งชื่อว่าชาติความเกิด
๑ ชราความแก่ ๑ มรณะความตาย ๑
แจกอาการของชาติเป็น ๒ คือเป็นปฏิจฉันนชาติ
ความเกิดกำบัง คือตั้งแรกแต่ปฐมปฏิสนธิวิญญาณมา
ก็ชื่อว่าชาติ ความเกิดเรื่อยไปจนถึงวันตาย ผู้
ไม่พิจารณาไม่เห็น จึงชื่อว่าความเกิดกำบัง ๑
อัปปฏิจฉันนชาติ ความเกิดเปิดเผยรู้ทั่วกัน
คือคลอดออกจากครรภ์ของมารดา ๑
แจกชราความแก่เป็น ๒ คือปฏิจฉันนชรา
ความแก่ปกปิดกำบัง คือความแก่มีมาแต่วันแรกเกิดจน
ถึงวันตาย แก่ตามวันคืนเดือนปีไปจนถึงวันตาย
เป็นที่สุด อัปปฏิจฉันนชรา ความแก่เปิดเผยได้แก่ผู้ตั้ง
อยู่ในปัจฉิมวัย เกิดพิการในร่างกาย มีผมหงอกฟันหัก
เป็นต้น ๑
แจกมรณะความตายเป็น ๒ คือปฏิจฉันนมรณะ
ความตายปกปิดกำบัง ได้แก่
ความตายที่มีมาแต่แรกเกิด คือตายเรื่อยไปจน
ถึงวันตายอันเป็นที่สุด ๑ อัปปฏิจฉันนมรณะ
ความตายเปิดเผย ได้แก่สิ้นลมหายใจต้องเข้าโลงกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 00:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ที่บรรยายมาพอเป็นสังเขปนี้
เป็นเรื่องของอุปาทินนกสังขารทั้งสิ้น เป็นโลก
จะตั้งชื่อว่าสังขารโลกก็ควร เพราะโลกประชุม
กันตั้งขึ้น แต่พึงเข้าใจว่า อุปาทินนกสังขารทั้งสิ้น
ต้องอาศัยอนุปาทินนกสังขารทั้งสิ้นเกิดขึ้น
ส่วนอุปาทินนกสังขารทั้งสิ้น เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ตรงตามธรรมนิยามสูตรทั้งสิ้น
ถ้าพิจารณาเห็นสังขารทั้งสิ้นเป็น อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารเหล่านั้น
ส่วนตัวความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความเป็นอนัตตาไม่
ใช่ตัวตนนั้น ก็ตัวสังขารอีกเหมือนกัน ต้องเบื่อ อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา อีก จึงจะชอบ
ตรงนี้แหละผู้ปฏิบัติจนมุมกันมาก มาติด
กันเพียงสังขารุเบกขาญาณหาทางออกไม่ได้ ตกลง
กันว่า เห็นนามรูปเบญจขันธ์ไม่ใช่ตัวแล้วก็หมดเรื่อง
กันเท่านั้น ตกลงยกตนเป็นพระโสดาฯ
เพราะละสักกายทิฏฐิได้ แต่นามรูปก็ไม่ดับ
เบญจขันธ์ก็ไม่ดับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไม่ดับ
เป็นพระโสดาฯ กันดื้อๆ อย่างนั้นเอง
ถ้าอย่างนี้คล้ายกับเอาอนัตตาเป็นโลกุตรธรรม
อนัตตาเป็นสังขารจะเป็นโลกุตรธรรมอย่างไรได้
ต้องพยายามตรวจตรองให้เห็น
ความดับแห่งอุปาทินนกสังขารให้แจ่มแจ้ง อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา ก็อยู่ในพวกอุปาทินนกสังขารเหมือน
กัน ตัวสัญญาอดีตทั้งนั้น
ต้องเข้าใจว่าบรรดาอุปาทินนกสังขาร
เป็นชาติสัญญาอดีตทั้งนั้น เป็นตัวสมุทัยอริยสัจทั้งสิ้น
เมื่อตัวของเรายังเป็นสมุทัยอยู่ตราบใด ตัวของเราก็
เป็นทุกข์อยู่ตราบนั้น ต้องตรองแก้ให้สมุทัยดับ
ทางแก้ก็มีแต่อริยมรรคทางเดียว อริยมรรค
เป็นข้าศึกแก่สมุทัย สมุทัยมีกำลังน้อยสู้อริยมรรคไม่
ได้ อริยมรรคก็คือศีล สมาธิ ปัญญา สมุทัยละเอียด
เข้าไปเพียงใด ต้องบำรุงอริยมรรคให้ละเอียดตาม
เข้าไป ให้ควรแก่ประหารกันได้
อย่าวิตกกลัวว่าสังขารจะดับไม่ได้ ทางดับสังขารพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยอเนกนัย
ดังในคาถาสำหรับบังสุกุลกันอยู่นี้เป็นตัวอย่าง “
อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา
นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข” ความว่า สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและความดับเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น จะเอาความสุขมาแต่ไหน
ความสงบระงับดับไปแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านี้
เป็นสุขดังนี้
สังขารดับในที่นี้ ท่านไม่หมายคนตาย ท่านหมายคน
เป็น ๆ เรานี้แหละ สังขารเป็นตัวกิเลสเป็นสมุทัย
เมื่ออริยมรรคปัญญาเกิดขึ้น สังขารก็ดับไปเท่านั้น
เมื่อเห็นสังขารดับเมื่อใดก็เห็นนิโรธเมื่อนั้น
เรื่องสังขารดับจะยกตัวอย่างมาแสดงไว้
ในที่นี้อีกนัยหนึ่ง ดังปฏิจจสมุปบาท
ในสมุทัยวารแสดงว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ วิญญาณ
เป็นปัจจัยแก่นามรูป เป็นปัจจัยต่อ ๆ กันไปจน
ถึงชรามรณะ
คงได้ความว่า อวิชชาความไม่รู้ตัวจริงของตัวนี้เอง จึง
เป็นปัจจัยอุดหนุนแก่สังขารทั้ง ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ปัจจัยไม่ใช่เหตุ
เป็นแต่เพียงอุดหนุนให้มีกำลังเท่านั้น
ความจริงอาการทั้ง ๑๒ ประการ มีสังขารเป็นต้น
มีมรณะเป็นที่สุด เป็นอาการของอวิชชาเป็นตัวเหตุ
ทั้งสิ้น คือเป็นตัวสัญญาอดีต เป็นชาติสมุทัยด้วยกัน
ทั้งนั้น เป็นอุปาทินนกสังขารด้วยกันทั้งนั้น มีอวิชชา
เป็นตัวเหตุด้วย เป็นปัจจัยด้วย สังขารเหล่านั้นจึงตั้ง
อยู่ได้
ครั้นถึงวาระที่ท่านแสดงนิโรธวาร แสดงอย่างนี้ “
อวิชฺชายเตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ”
สังขารดับโดยไม่เหลือเพราะความคลายความดับ
โดยหาเศษมิได้แห่งอวิชชานั้นสิ่งเดียวดังนี้ คงได้เนื้อ
ความว่า อวิชชาดับสิ่งเดียวเท่านั้น สังขาร วิญญาณ
นามรูป ตลอดไปถึงชรามรณะดับตามกันไปหมด
ที่แสดงความดับแห่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป
เป็นต้น ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ไม่ได้หมายคนตาย
หมายดับที่คนเป็น ๆ เรานี้เองมีพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นตัวอย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2014, 00:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...........สมัยที่พระองค์
จะตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ได้ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นทางวิปัสสนา
เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป
ตลอดถึงชรามรณะดับหมด แต่พระองค์หาได้นิพพาน
ไม่ ยังอยู่โปรดเวไนยสัตว์ถึง ๔๕ พรรษา จึงเสด็จ
เข้าสู่พระนิพพาน
เมื่อสังขารดับหมดแล้ว ตนของพระองค์ก็ยังเต็มที่ แต่
ส่วนที่เหลืออยู่นั้นจะเรียกว่า วิสังขารก็ได้
จะเรียกว่าอสังขตธรรมก็ได้ จะเรียกว่าสังขารธรรมก็
ได้ จะเรียกว่าโลกุตรธรรมก็ได้ ไม่เห็นเป็นปัญหาอะไร
กับชื่อทรามนามกร ข้อสำคัญคือตัวอวิชชาดับเกิด
เป็นวิชชาขึ้นเท่านั้น ส่วนธรรมที่เหลืออยู่นี้
เป็นธรรมพิเศษ ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง คงมี
อยู่แต่อนัตตาเท่านั้น เพราะไม่ใช่ตัวตน
เป็นธรรมต่างหาก
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดับไปตามอุปาทินนกสังขาร
ถ้าไตรลักษณ์อย่างนี้ไม่ดับ ไม่รู้จักวิโมกข์ ๓
แสดงวิโมกข์ ๓ ไม่ได้ แสดงได้ก็ไม่ได้ความ
ถ้าสังขารไม่ดับ แสดงนิโรธก็ไม่ได้ แสดงได้ก็ไม่ได้
ความเหมือนกัน ถ้ายังแสดงว่าตัวของตัว ยังเป็น
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ตราบใด พึงรู้เถิดว่าตัว
ยังจมอยู่ในกองทุกข์ตราบนั้น
เพราะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นตัวทุกข์ เพราะ
เป็นสังขาร เมื่อสังขารดับหมดแล้ว ยังเหลือ
อยู่แต่วิสังขาร เป็นนาถกรณธรรม คือทำตนให้
เป็นแก่นสาร เกิดศรัทธาความเชื่อตนขึ้น
เป็นอจลศรัทธา ไม่งมงายหลงเชื่อแต่คนอื่น คนเรา
โดยมากมักเชื่อแต่ตำราเชื่อตามเขาว่า หา
ได้น้อมธรรมเข้ามาในตนให้เห็นจริงที่ตน เกิด
ความเชื่อขึ้นในตนไม่ จึงออกจากสมมติไม่ได้
ติดสมมติตายอยู่นี้เอง
สมมติกับสังขารอันเดียวกัน จะแสดง
ความดับแห่งสังขารหรือดับแห่งสมมติไว้เป็นตัวอย่าง
ความจริงสังขารหรือสมมติเป็นของไม่มีอยู่แต่เดิมจึง
เป็นของดับได้ เปรียบเหมือนไฟฟ้าที่ติดอยู่
ในศาลาหลังนี้ เมื่อดูไม่เป็น เปิดสวิตช์ไฟก็เกิด
ปิดสวิตช์ไฟก็ดับ ก็รู้อยู่แต่เพียงเกิด ๆ ดับ ๆ เท่านั้น
ถ้าดูเป็น สาวไปถึงวัดราชบูรณะ ก็จะเห็นความไม่เกิด
ไม่ดับกันเท่านั้น
เมื่อรู้ไม่จริงก็จักรู้อยู่ว่าไฟฟ้า คือเข้าใจว่าไฟมาแต่ฟ้า
ถ้าสาวหาเหตุตามสายไป จนถึงวัดราชบูรณะ
ก็จักเห็นว่าไฟแกลบเรานี้เอง หาใช่ไฟฟ้าไม่
ไฟฟ้าที่ใจของเรานั้นก็ดับ รู้จริงว่า
เป็นไฟธรรมดาเรานี้เอง เขาสมมติให้
เป็นไฟฟ้าต่างหาก ความจริงไฟฟ้าไม่มีอยู่แต่เดิม
ดับของไม่มีนั่นเอง แต่ก็คงเรียกไฟฟ้าตาม
เขาอย่างเดิม เป็นผู้ไม่หลงติดสมมติ คือรู้เท่าสมมติ
สมมติก็ดับเป็นวิมุตติขึ้นเท่านั้น
แม้นามรูป ธาตุ ขันธ์ อายตนะก็เหมือนกัน ที่เราเรียน
เข้าไว้จำเข้าไว้ ในชั้นแรกเป็นสมมติ ครั้นมา
ค้นพบตัวจริงเข้า ก้อนนี้ไม่ใช่นามรูป ธาตุ ขันธ์
อายตนะเสียแล้ว เป็นอยู่เพียงสมมติเท่านั้น ความจริง
เป็นสภาวธรรมต่างหาก เขาเคยเป็นอยู่อย่างใด ก็คง
เป็นอยู่อย่างนั้น เมื่อรู้เห็นความจริงอย่างนี้ สมมติก็ดับ
เมื่อสมมติดับไปแล้วก็คงเรียกนามรูป ธาตุ ขันธ์
อายตนะอยู่อย่างเดิม
ส่วนนี้เป็นบัญญัติเป็นพุทธบัญญัติเหมือนกัน แต่ไม่ได้
ใช้ทั่วกัน ใช้จำเพาะแต่พวกท่านที่บรรลุวิมุตติแล้ว และ
เป็นบัญญัติไม่มีอาชญา
พุทธบัญญัติอีกแผนกหนึ่งคือบัญญัติสิกขาบท
ส่วนนี้มีอาชญาระวางโทษหนักเบาตามควร เหมือนกัน
กับพระราชบัญญัติของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้รู้ผู้ไม่รู้ก็ตาม
ถ้าล่วงต้องได้รับโทษตามบัญญัติ
ผู้ที่เพิกสมมติออกจากตนได้แล้ว เป็น
ผู้รู้คติของธรรมดา โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส
ตัวผลดับหมด เป็นผู้
ไม่มีโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส
เพราะเหตุภายนอก เพราะเหตุภายใน อันนี้
เป็นตัวอานิสงส์
แสดงทางออกจากโลกโดยทางวิปัสสนานัยไว้เพียง
เท่านี้ แต่ให้พึงเข้าใจว่าไม่อื่นไปจากศีล สมาธิ
ปัญญาทางเดียวกันนั้นเอง ต่างแต่อาการเท่านั้น
วิปัสสนานัยที่แสดงมานี้เป็นสวากขตธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว และเป็น
สนฺทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะเห็นด้วยตน และเป็น อกาลิโก
ผู้ปฏิบัติไม่ต้องอ้างกาล เพราะตนมีอยู่ทุกเมื่อ และ
เป็น เอหิปสฺสิโก ผู้ปฏิบัติอาจท้าทายอวดเขาได้
เพราะเป็นของจริง และเป็น โอปนยิโก
ผู้ปฏิบัติอาจน้อมมาสู่ตนได้ เป็น ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ
วิญฺญูหิ ผู้รู้คือผู้ปฏิบัติจะพึงรู้แจ้งจำเพาะที่ตน
..........ได้แสดงธรรมกถา โดยทางวิปัสสนานัย พอ
เป็นทางบำรุงสติปัญญาของพุทธบริษัท เมื่อท่าน
ทั้งหลายได้สดับแล้ว พึงโยนิโสมนสิการ
แล้วอุตสาหะประพฤติปฏิบัติตาม ก็จักได้รับ
ความงอกงามในพระพุทธศาสนา โดยนัยดังแสดงมา
ด้วยประการฉะนี้.
.........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร