วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 23:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

โพธิปักขิยธรรมวิภาค

(เรียบเรียงตั้งแต่ยังเป็นพระราชกวี ตรวจพิมพ์
ใหม่เมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๘)
หนังสือเล่มนี้ คือในพรรษาที่ ๓๔ ปีจอโทศก ร.ศ.
๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ที่ได้ให้พระสงฆ์
ผู้ใคร่ต่อทางวิปัสสนา ศึกษาในโพธิปักขิยธรรม แต่ง
เป็นปัญหาคำถามเป็นหมวด ๆ ตามวันที่ว่างมีโอกาส
ให้พระนักเรียนตอบ เมื่อแต่งปัญหาคำถามแจก
ให้พระนักเรียนไปแล้ว ส่วนตนก็ต้องแต่งคำตอบ
ในปัญหานั้นไว้ฉบับหนึ่ง
สำหรับวินิจฉัยคำตอบของพระนักเรียน
ถ้าพระนักเรียนองค์ใดตอบเรียบร้อย ตรง
กับคำตอบของอาจารย์ก็ได้รับรางวัล ในที่สุด
ได้เลือกคัดเอาข้อปัญหาเหล่านั้น ๒๑ ข้อมาตั้ง
เป็นหลักสูตรสำหรับสอบไล่ให้พระนักเรียนตอบ
ตั้งพิกัดคะแนนได้และตกไว้เป็นหลัก แล้วสอบไล่
กันอีกวาระหนึ่ง
การที่เล่าเรียนและสอบไล่กันอย่างนี้
เห็นว่ามีประโยชน์แก่นักเรียนเป็นอันมาก เพราะเหตุ
นั้น จึงได้คัดคำถามและคำตอบส่วนของอาจารย์ไว้
เป็นลำดับ เพื่อจะได้เป็นแบบศึกษาต่อไป.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 23:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมออกวันที่ ๑
๑. ถามว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ จัดเป็นกี่หมวด
อะไรบ้าง ?
๒. หมวดใดเท่าใด ?
๓. สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง ?
๔. อะไรชื่อว่า กาย ?
๕. อะไรชื่อว่า เวทนา ?
๖. อะไรชื่อว่า จิต ?
๗. อะไรชื่อว่า ธรรม ?
๘. อะไรชื่อว่า สติ ?
๙. เหตุใด กาย เวทนา จิต ธรรม จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน
๔ ?
คำตอบปัญหาวันที่ ๑
๑. ท่านจัดเป็น ๗ หมวดคือ สติปัฏฐาน ๑ สัมมัปปธาน ๑
อิทธิบาท ๑ อินทรีย์ ๑ พละ ๑ โพชฌงค์ ๑
อัฏฐังคิกมรรค ๑
๒. สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อัฏฐังคิกมรรค ๘
๓. คือ กาย ๑ เวทนา ๑ จิต ๑ ธรรม ๑
๔. ความประชุมแห่งธาตุ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ
วิญญาณ ชื่อว่า กาย
๕. ความรู้ชัด สุข ทุกข์ อุเบกขา หรืออาการของเย็น
ร้อน อ่อน แข็ง ชื่อว่า เวทนา
๖. ความรู้คิด รู้นึก รู้ตรึก รู้ตรอง ชื่อว่า จิต
๗. ความเป็นอยู่ตามสภาพของตน เคยทรง
อยู่อย่างไรก็คงที่อยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ธรรม
๘. ความรู้อยู่ ตื่นอยู่ ระลึกอยู่ สำคัญอยู่ ที่กาย
ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม ชื่อว่า สติ
๙. เหตุว่า กาย และ เวทนา และ จิต และ ธรรม
เป็นที่ตั้งของสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน สติมีอันเดียว กาย
เวทนา จิต ธรรม ๔ อย่างนั้น เป็นอารมณ์ของสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 23:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมออกวันที่ ๒ :
มหาภูตรูปกายานุปัสสนา
๑. ถามว่า คำตอบในข้อ ๔ (ในปัญหาธรรมออกวันที่
๑) ว่าความประชุมธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ
วิญญาณ ชื่อว่ากายนั้น
อาการของธาตุดิน ซึ่งมีในกายนี้ ท่านกำหนดไว้เท่าไร
คืออะไรบ้าง ?
๒. ธาตุน้ำ ท่านกำหนดไว้เท่าไร คืออะไรบ้าง ?
๓. ธาตุไฟ ท่านกำหนดไว้เท่าไร คืออะไรบ้าง ?
๔. ธาตุลม ท่านกำหนดไว้เท่าไร คืออะไรบ้าง ?
๕. ธาตุอากาศ ท่านหมายที่ไหน ?
๖. ธาตุวิญญาณ ท่านกำหนดด้วยอย่างไร ?
คำตอบปัญหาวันที่ ๒
๑. ท่านกำหนดไว้ ๒๐ ประการ คือ เกสา ผม ๑ โลมา
ขน ๑ นขา เล็บ ๑ ทนฺตา ฟัน ๑ ตโจ หนัง ๑ มํสํ เนื้อ ๑
นหารู เอ็น ๑ อฏฺฐิ กระดูก ๑ อฎฺฐิมิญฺชํ เยื่อ
ในกระดูก ๑ วกฺกํ ม้าม ๑ หทยํ เนื้อหัวใจ ๑ ยกนํ ตับ ๑
กิโลมกํ พังผืด ๑ ปิหกํ ไต ๑ ปปฺผาสํ ปอด ๑ อนฺตํ ไส้
ใหญ่ ๑ อนฺตคุณํ ไส้น้อย ๑ อุทริยํ อาหารใหม่ ๑
กรีสํ อาหารเก่า ๑ มตฺถเกมตฺถลุงฺคํ สมองในศีรษะ
๑ อาการ ๒๐ นี้ ชื่อว่า ปฐวีธาตุ
๒. ท่านกำหนดไว้ ๑๒ ประการ คือ ปิตฺตํ น้ำดี ๑ เสมฺหํ
น้ำเสลด ๑ ปุพโพ น้ำหนอง ๑ โลหิตํ น้ำเลือด ๑
เสโท น้ำเหงื่อ ๑ เมโท น้ำมันข้น ๑ อสฺสุ น้ำตา ๑ วสา
น้ำมันเหลว ๑ เขโฬ น้ำลาย ๑ สิงฺฆานิกา น้ำมูก ๑
ลสิกา น้ำไขข้อ ๑ มุตฺตํ น้ำมูตร ๑ อาการ ๑๒ นี้ชื่อว่า
อาโปธาตุ
๓. ท่านกำหนดไว้ ๔ ประการ คือ สนฺตปฺปคฺคิ ไฟเผา
ให้กายอบอุ่นอยู่เสมอ ๑ ปริทยฺหคฺคิ ไฟเผา
ให้กายร้อนกระวนกระวายในเวลาป่วยไข้ ๑
ปริณามคฺคิ ไฟเผาอาหารให้ย่อย ๑ ชิรณคฺคิ ไฟเผา
ให้กายคร่ำคร่า ๑ อาการทั้ง ๔ นี้ชื่อว่า เตโชธาตุ
๔. ท่านกำหนดไว้ ๖ ประการ คือ อุทฺธํคมาวาตา
ลมพัดแต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงศีรษะ ๑ อโธคมาวาตา
ลมพัดแต่ศีรษะลงไปถึงพื้นเท้า ๑ กุจฺฉิสยาวาตา
ลมพัดอยู่ในท้อง ๑ โกฏฺฐาสยาวาตา ลมพัดอยู่
ในลำไส้ ๑ องฺคมงฺคานุสารีวาตา ลมพัดซ่านไป
ทั่วสรรพางค์กาย ๑ อสฺสาสปสฺสาสวาตา ลมหายใจ
เข้าออก ๑ อาการทั้ง ๖ อย่างนี้ชื่อว่า วาโยธาตุ
๕. ท่านหมายที่ช่องว่าง คือ ช่อง โสต ช่อง จมูก
หรือที่ช่องว่างในท้องในลำไส้ ชื่อว่า อากาศธาตุ
๖. ท่านกำหนดหมายด้วยความรู้สึก ซึ่งมีอยู่
ทั่วไปตามกายชื่อว่า วิญญาณธาตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมออกวันที่ ๓ อุปาทายรูป
๑. ถามว่า ใน อุปาทายรูป ๒๔ ท่านจัดไว้เป็นกี่หมวด ๆ
ไหนเท่าไร มีชื่อว่ากระไร คืออะไรบ้าง ? จงตอบมา
ให้ครบ
คำตอบปัญหาธรรมวันที่ ๓
๑. ท่านจัดไว้เป็น ๑๐ หมวด
หมวดที่ ๑ มี ๕ ชื่อ ปสาทรูป คือ จักขุประสาท ๑
โสตประสาท ๑ ฆานประสาท ๑ ชิวหาประสาท ๑
กายประสาท ๑
หมวดที่ ๒ มี ๔ ชื่อ โคจรรูป คือ รูป ๑ เสียง ๑ กลิ่น
๑ รส ๑
หมวดที่ ๓ มี ๒ ชื่อ ภาวรูป คือ อิตถีภาวรูป
แสดงเพศหญิง ๑ ปุริสภาวรูป แสดงเพศชาย ๑
หมวดที่ ๔ มี ๑ ชื่อ หทยรูป คือน้ำเลี้ยงหัวใจ ๑
หมวดที่ ๕ มี ๑ ชื่อ ชีวิตรูป คือชีวิต
ความสดชื่นเลี้ยงร่างกาย ๑
หมวดที่ ๖ มี ๑ ชื่อ อาหารรูป คือกวฬิงการาหาร ๑
หมวดที่ ๗ มี ๑ ชื่อ ปริเฉทรูป
คือช่องว่างตามร่างกาย ๑
หมวดที่ ๘ มี ๒ ชื่อ วิญญัตติรูป คืออาการไหวกาย
ชื่อว่า กายวิญญัติ ๑ อาการไหววาจา ชื่อว่า วจีวิญญัติ ๑
หมวดที่ ๙ มี ๓ ชื่อ วิการรูป
คืออาการว่องไวของรูป ชื่อ รูปสฺส ลหุตา ๑
คืออาการอ่อนไม่กระด้างของรูป ชื่อ รูปสฺส มุทุตา
๑ คือ อาการดีควรแก่การงานของรูป ชื่อว่า
รูปสฺส กมฺมญฺญตา ๑
หมวดที่ ๑๐ มี ๔ ชื่อ ลักขณรูป
คืออาการที่สะสมตั้งขึ้นแห่งรูป แต่แรกปฏิสนธิมาจน
ถึงเกิดจักขุ โสต เป็นต้น ชื่อ รูปสฺส อุจฺจโย ๑
คืออาการที่สืบติดต่อกันไปแห่งรูป จนถึงตายเป็นที่สุด
ชื่อ รูปสฺส สนฺตติ ๑
คืออาการแก่คร่ำคร่าทรุดโทรมแห่งรูปนั้น ชื่อ
รูปสฺส ชรตา ๑ คืออาการแปรไปแห่งรูปนั้น ชื่อ
รูปสฺส อนิจฺจตา ๑
ในอุปาทายรูป ได้ความตามที่ท่านแจกไว้อย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมออกวันที่ ๔
แสดงรูปกลาป
รูปกลาป ๒๑ คือ กัมมัชชกลาป ๙ จิตตกลาป ๖
อุตุชชกลาป ๔ อาหารรัชชกลาป ๒ รวมเป็น ๒๑
หมวด
กัมมัชชกลาป เกิดภายใน ๙ คือ จักขุทสกะ ๑
โสตทสกะ ๑ ฆานทสกะ ๑ ชิวหาทสกะ ๑ กายทสกะ ๑
อิตถีทสกะ ๑ ปุริสทสกะ ๑ วัตถุทสกะ ๑ ชีวิตนวกะ ๑
เป็น กรรมสมุฏฐาน
จิตตกลาป เกิดภายใน ๖ คือ สุทธัฏฐกะ ๑
กายวิญญัตตินวกะ ๑ วจีวิญญัตติศัปททสกะ ๑
ลหุตาทิไตรเอกาทสกะ ๑
กายวิญญัตติลหุตาทิไตรทวาทสกะ ๑
วจีวิญญัตติศัปทลหุตาทิไตรเตรสกะ ๑ เป็น
จิตตสมุฏฐาน
อุตุชชกลาป เกิดภายใน ๔ คือ สุทธัฏฐกะ ๑ ศัปทนวกะ
๑ ลหุตาทิไตรเอกาทสกะ ๑
ศัปทลหุตาทิไตรทวาทสกะ ๑ เป็น อุตุชชสมุฏฐาน
อาหารัชชกลาป เกิดภายใน ๒ คือ สุทธัฏฐกะ ๑
ลหุตาทิไตรเอกาทสกะ ๑ เป็น อาหารสมุฏฐาน
คำถามในกลาปวันที่ ๔
๑. ถามว่ารูปที่ชื่อว่า นวกะ และ ทสกะ นั้น ท่าน
จะผสมรูปประเภทไหน ? จงตอบมาให้ครบทั้ง ๙
หมวด
๒. รูปที่เกิดแต่จิตตสมุฏฐาน ๖ หมวดนั้น หมวดที่ ๑
ซึ่งว่า สุทธัฏฐกะ นั้น ท่านหมายรูปประเภทไหน ?
๓. หมวดที่ ๒ ที่ว่า กายวิญญัตตินวกะนั้น
ท่านหมายรูปประเภทไหน ?
๔. หมวดที่ ๓ ที่ว่า วจีวิญญัตติศัปททสกะนั้น
ได้แก่รูปประเภทไหน ?
๕. หมวดที่คำรบ ๔ ที่ว่า ลหุตาทิไตรเอกาทสกะนั้น
ได้แก่รูปประเภทไหน ?
๖. หมวดที่ ๕ ที่ว่า
กายวิญญัตติลหุตาทิไตรทวาทสกะนั้น
ได้แก่รูปประเภทไหน ?
๗. หมวดที่ ๖ ที่ว่า
วจีวิญญัตติศัปทลหุตาทิไตรเตรสกะนั้น
ได้แก่รูปประเภทไหน ?
๘. รูปที่เกิดแต่อุตุสมุฏฐาน ๔ นั้น หมวดที่ ๑ ชื่อว่า
สุทธัฏฐกะ หมวดที่ ๒ ชื่อ ศัปทนวกะ หมวดที่ ๓ ชื่อ
ลหุตาทิไตรเอกาทสกะ หมวดที่คำรบ ๔ ชื่อ
ศัปทลหุตาทิไตรทวาทสกะนั้น จะ
ได้แก่รูปประเภทไหน ต่างกัน
กับรูปที่เกิดแต่จิตตสมุฏฐานหรือไม่ ?
๙. รูปเกิดแต่อาหารสมุฏฐาน ๒ หมวดที่ ๑ ชื่อ
สุทธัฏฐกะ หมวดที่ ๒ ชื่อ ลหุตาทิไตรเอกาทสกะนั้น
ได้แก่รูปประเภทไหน ต่างกัน
กับรูปเกิดแต่อุตุสมุฏฐานหรือไม่ ? จงตอบมาให้ได้
ความชัดเจนทุกข้อ
คำตอบรูปกลาป ๒๑ หมวด วันที่ ๔
๑. อวนิโภครูป ๘ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส
โอชะ ท่านเรียกว่าสุทธรูปคงไว้ เติมชีวิตรูปเข้าอีก ๑
เป็น ๙ ท่านให้ชื่อว่า ชีวิตนวกะ แปลว่ามีชีวิตรูป
เป็นคำรบ ๙ รูปที่ชื่อว่า ทสกะ นั้น คือให้ตั้งรูป
ที่ชื่อชีวิตนวกะนั้นไว้เป็นหลัก เติมจักขุรูปเข้าเป็นที่
๑๐ ชื่อว่าจักขุทสกะ แปลว่ามีจักขุรูปเป็นที่ ๑๐
เติมโสตรูปเข้าเป็นที่ ๑๐ ชื่อโสตทสกะ เติมฆานรูป
เข้าเป็นที่ ๑๐ ชื่อ ฆานทสกะ เติมชิวหารูปเข้าเป็นที่ ๑๐
ชื่อชิวหาทสกะ เติมกายรูปเข้าเป็นที่ ๑๐ ชื่อกายทสกะ
เติมอิตถีรูปเข้าเป็นที่ ๑๐ ชื่ออิตถีทสกะ เติมปุริสรูป
เข้าเป็นที่ ๑๐ ชื่อปุริสทสกะ เติมหทยรูปเข้าเป็นที่ ๑๐
ชื่อวัตถุทสกะ
นวกะ ๑ หมวด ทสกะ ๘ หมวด
รวมรูปเกิดแต่กัมมสมุฏฐาน ๙ หมวด ๆ หนึ่ง ๆ ท่าน
ให้ชื่อว่ากลาปหนึ่ง กลาปหนึ่ง แปลว่ามัด ๑
หรือฟ่อน ๑
๒. ท่านหมาย อวินิโภครูป ๘ นั้นเอง
ด้วยว่าอวินิโภครูปนั้น ท่านให้ชื่อว่าสุทธรูปบ้าง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงจัดเอาอวินิโภครูปนั้นเอง
ให้ชื่อว่า สุทธัฏฐกะ ความว่า หมวดรูปบริสุทธิ์ ๘
๓. ท่านหมาย อวินิโภครูป ๘ เติม กายวิญญัตติรูปเข้า
๑ เป็น ๙ ให้ชื่อว่า กายวิญญัตตินวกะ
๔. ได้แก่ อวินิโภครูป ๘ เติม วจีวิญญัตติรูป ๑
ศัปทรูป ๑ เข้าเป็น ๑๐ ให้ชื่อว่า วจีวิญญัตติศัปททสกะ
๕. ได้แก่ อวินิโภครูป ๘ เติม ลหุตาทิไตร ๓ คือ
อุตุรูป ๑ จิตตรูป ๑ อาหารรูป ๑ เข้าเป็น ๑๑
ให้ชื่อว่า ลหุตาทิไตรเอกาทสกะ
๖. ได้แก่ อวินิโภครูป ๘ เติม กายวิญญัตติรูป ๑
ลหุตาทิไตร ๓ เข้าเป็น ๑๒ ให้ชื่อว่า
กายวิญญัตติลหุตาทิไตรทวาทสกะ
๗. ได้แก่ อวินิโภครูป ๘ เติม วจีวิญญัตติรูป ๑
ศัปทรูป ๑ ลหุตาทิไตร ๓ เข้าเป็น ๑๓ ชื่อว่า
วจีวิญญัตติศัปทลหุตาทิไตรเตรสกะ
รวมรูปเกิดแต่จิตตสมุฏฐาน ๖ หมวด ๆ หนึ่ง ๆ
ให้ชื่อว่ากลาปหนึ่ง ๆ
๘. รูปไม่ต่างกัน ต่างกันแต่สมุฏฐานเท่านั้น
หมวดที่ ๑ ก็คือ อวินิโภครูป นั้นเอง ท่านให้ชื่อว่า
สุทธัฏฐกะ
หมวดที่ ๒ ก็ชื่อว่า อวินิโภครูป ๘ เติม ศัปทรูป ๑ เป็น
๙ ให้ชื่อว่า ศัปทนวกะ
หมวดที่ ๓ ก็คือ อวินิโภครูป ๘ ลหุตาทิไตร ๓ เป็น
๑๑ ให้ชื่อว่า ลหุตาทิไตรเอกาทสกะ
หมวดที่ ๔ ก็คือ อวินิโภครูป ๘ ศัปทรูป ๑
ลหุตาทิไตร ๓ เป็น ๑๒ ให้ชื่อว่า
ศัปทลหุตาทิไตรทวาทสกะ
รวมรูปที่เกิดแต่อุตุสมุฏฐาน ๔ หมวดหนึ่ง ๆ
ให้ชื่อว่ากลาปหนึ่ง ๆ
๙. รูปไม่ต่างกัน ต่างแต่สมุฏฐานเท่านั้น
หมวดที่ ๑ ก็คือ อวินิโภครูป ๘ นั้นเอง ท่านให้ชื่อว่า
สุทธัฏฐกะ
หมวดที่ ๒ ก็คือ อวินิโภครูป ๘ เติม ลหุตาทิไตร ๓
เข้าเป็น ๑๑ ให้ชื่อว่า ลหุตาทิไตรเอกาทสกะ
รวมรูปที่เกิดแต่อาหารสมุฏฐาน ๒ หมวด ๆ หนึ่ง ๆ
ให้ชื่อว่ากลาปหนึ่ง ๆ
จบอาการ กายานุปัสสนาโดยสังเขป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อถามปัญหาธรรมวันที่ ๕
เวทนานุปัสสนา
๑. อะไรชื่อว่าเวทนา ?
๒. อาการของสุข เป็นอย่างไร ?
๓. อาการของทุกข์ เป็นอย่างไร ?
๔. อาการของไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอย่างไร ?
๕. อาการของโสมนัส เป็นอย่างไร ?
๖. อาการของโทมนัส เป็นอย่างไร ?
๗. เวทนาทั้ง ๕ นั้น เราจะหมายรู้ว่ามีอยู่ที่ไหน ?
๘. ทำอย่างไรเราจึงจะรู้ได้ว่า เวลานี้เรา
เป็นเวทนาอันใดอยู่ จงตอบมาให้ได้ความ
โดยชัดเจนทุกข้อ ?
คำตอบวันที่ ๕
๑. ความรู้สุข รู้ทุกข์ รู้ไม่สุขไม่ทุกข์ ความรู้โสมนัส
รู้โทมนัส ชื่อว่า เวทนา
๒. อาการของสุขนั้นคือ เมื่อได้สัมผัสอิฏฐารมณ์
ให้เกิดความรู้สึก สุขกายสบายจิต
เบิกบานยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นลักษณะ
๓. อาการของทุกข์นั้น คือ เมื่อได้สัมผัสอนิฏฐารมณ์
ให้เกิดความรู้สึกทุกข์กายไม่สบายจิต มีความคับแ
ค้นขุ่นเคืองเป็นลักษณะ
๔. อาการของไม่สุขไม่ทุกข์นั้น คือเมื่อ
ได้สัมผัสอารมณ์อย่างไรก็ตาม กายและจิตเสมออยู่
ไม่ยินดียินร้ายไปตามอารมณ์นั้น ๆ เป็นลักษณะ
๕. อาการของโสมนัสนั้น คือ เมื่อได้สัมผัสอิฏฐารมณ์
ให้เกิดความชื่นชมยินดีเบิกบานในดวงจิตเป็นลักษณะ
๖. อาการของโทมนัสนั้น คือ เมื่อ
ได้สัมผัสอนิฏฐารมณ์ ก็ให้เกิดความโศกเศร้า คับแ
ค้นอัดอั้นตันใจเป็นลักษณะ
๗. ต้องหมายรู้ว่ามีอยู่ที่กายที่ใจของตนนี้เอง
๘. จะรู้ได้ก็ด้วย
ความสังเกตตามลักษณะอาการของเวทนานั้น ๆ ซึ่ง
เป็นไปอยู่กับกายกับใจ ของตนนั้นเอง
จบเวทนานุปัสสนาโดยสังเขป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อถามปัญหาธรรมวันที่ ๖
จิตตานุปัสสนา
๑. อะไรชื่อว่า จิต ?
๒. จิต ที่ท่านจัดไว้โดยสังเขปมีเท่าไร ?
๓. ท่านจัดไว้โดยภูมิ กี่ภูมิ คืออะไรบ้าง ?
๔. ภูมิใดมีเท่าใด จงตอบมาให้ครบ ?
๕. กามาวจรภูมิ ๕๔ นั้น คืออะไรบ้าง จงตอบมา
ให้ครบ ?
คำตอบวันที่ ๖
๑. ความรู้คิด รู้นึก ความรู้สึกอยู่นี้เอง ชื่อว่าจิต
๒. มี ๘๙ ดวง
๓. ท่านจัดโดยภูมิมี ๔ ภูมิ คือ กามาวจรภูมิ ๑
รูปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑ โลกุตรภูมิ ๑
๔. กามาวจรภูมิ มี ๕๔ รูปาวจรภูมิ ๑๕
อรูปาวจรภูมิ ๑๒ โลกุตรภูมิ ๘ รวมเป็นจิต ๘๙
ดวง โดยสังเขป
๕. คือโลภมูล ๘ โทสมูล ๒ โมหมูล ๒ อกุศลวิบาก
๗ กุศลวิบากอเหตุกะ ๘ อเหตุกกิริยาจิต ๓ โสภณจิต
๒๔ คือ มหากุศล ๘ มหาวิบาก ๘ มหากิริยา ๘ รวม
เป็น ๕๔ ดวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามปัญหาธรรมวันที่ ๗ กามาวจรจิต
๑. โลภมูล ๘ คือ อะไรบ้าง จงแจกอาการมา
ให้ครบ ?
๒. โทสมูล ๒ คือ อะไร ?
๓. โมหมูล ๒ คือ อะไร ?
ตอบวันที่ ๗
๑ . โลภมูล
๑.๑ จิตที่ ๑ คือ จิตที่เป็นบาป ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นไปกับด้วยโสมนัสเวทนา กล้าโดยลำพังตนเอง หา
ผู้ชักนำมิได้ ชื่อว่าอสังขาริก
๑.๒ เหมือนกับจิตที่ ๑ แต่ไม่กล้าโดยลำพังตนเอง
ถ้ามีผู้ชักนำจึงทำได้ ชื่อว่าสสังขาริก
๑.๓ คือ จิตที่เป็นบาป แต่ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นไปกับด้วยโสมนัสเวทนา กล้าโดยลำพังตนเอง หา
ผู้ชักนำมิได้ ชื่อว่าอสังขาริก
๑.๔ เหมือนจิตที่ ๓ แต่ไม่กล้าโดยลำพังตนเอง ต้องมี
ผู้ชักนำจึงทำได้ ชื่อว่าสสังขาริก
๑.๕ คือ จิตที่เป็นบาป ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นไป
กับด้วยอุเบกขาเวทนา กล้าโดยลำพังตนเอง หา
ผู้ชักนำมิได้ ชื่อว่าอสังขาริก
๑.๖ เหมือนจิตที่ ๕ แต่ไม่กล้าโดยตนเอง ต้องมีผู้ชักนำ
จึงทำได้ชื่อว่าสสังขาริก
๑.๗ คือ จิตที่เป็นบาป แต่ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
เป็นไปกับด้วยอุเบกขาเวทนา กล้าโดยตนเอง หา
ผู้ชักนำมิได้ ชื่อว่าอสังขาริก
๑.๘ เหมือนจิตที่ ๗ แต่ไม่กล้าโดยตนเอง ต้องมีผู้ชักนำ
จึงทำได้ ชื่อว่าสสังขาริก
จบโลภมูล
๒. โทสมูล ที่ ๑ คือ จิตที่ประกอบไป
ด้วยโทมนัสเวทนา เป็นไปกับด้วยปฏิฆะ ความคับแค้นใจ
กล้าโดยลำพังตนเอง หาผู้ชักนำมิได้
ชื่อว่าอสังขาริก
โทสมูล ที่ ๒ ก็เหมือนจิตที่ ๑ แต่ไม่กล้าโดยตนเอง
ต้องมีผู้ชักนำจึงทำได้ ชื่อว่าสสังขาริก
จบโทสมูล
๓. โมหมูล ที่ ๑ คือจิตประกอบด้วยวิจิกิจฉา
ความสงสัยเป็นไปกับด้วยอุเบกขาเวทนา
โมหมูลที่ ๒ คือ จิตประกอบด้วยอุทธัจจะ
ความฟุ้งซ่านเป็นไปกับด้วยอุเบกขาเวทนา
จบโมหมูล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 00:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๘ กามาวจรจิต
๑. อกุศลวิบาก ๗ นั้น มีอาการอย่างไรบ้าง จงแจกมา
ให้ครบ ?
๒. กุศลวิบากอเหตุกะ ๘ นั้น มีอาการอย่างไรบ้าง ?
๓. อเหตุกกิริยา นั้น คืออะไรบ้าง จงแจก
ให้ครบทุกข้อ ?
ตอบวันที่ ๘
๑. อกุศลวิบาก
๑.๑ คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอนิฏฐารมณ์ อาศัยจักขุทวาร
เป็นไปกับด้วยอุเบกขา
๑.๒ คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอนิฏฐารมณ์ อาศัยโสตทวาร
เป็นไปกับด้วยอุเบกขา
๑.๓ คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอนิฏฐารมณ์ อาศัยฆานทวาร
เป็นไปกับด้วยอุเบกขา
๑.๔ คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอนิฏฐารมณ์ อาศัยชิวหาทวาร
เป็นไปกับด้วยอุเบกขา
๑.๕ คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอนิฏฐารมณ์ อาศัยกายทวาร
เป็นไปกับด้วยอุเบกขา
๑.๖ คือจิตที่รับรองซึ่งอนิฏฐารมณ์ อาศัยทวารทั้ง
๕ เป็นไปกับด้วยอุเบกขา
๑.๗ คือจิตที่พิจารณาซึ่งอนิฏฐารมณ์ อาศัยทวารทั้ง
๕ ประกอบด้วยอุเบกขา
จบอกุศลวิบาก ๗
ข้อ ๒ ในกุศลวิบากอเหตุกะ ๘ นั้น
๑. คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยจักขุทวาร
ประกอบด้วยอุเบกขา
๒. คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยโสตทวาร
ประกอบด้วยอุเบกขา
๓. คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยฆานทวาร
ประกอบด้วยอุเบกขา
๔. คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยชิวหาทวาร
ประกอบด้วยอุเบกขา
๕. คือจิตที่รู้แจ้งซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยกายทวาร
ประกอบด้วยอุเบกขา
๖. คือจิตที่รับรองซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยทวารทั้ง ๕
ประกอบด้วยอุเบกขา
๗. คือจิตที่พิจารณาซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยทวารทั้ง ๕
ประกอบด้วยโสมนัส
๘. คือจิตที่พิจารณาซึ่งอิฏฐารมณ์ อาศัยทวารทั้ง ๕
ประกอบด้วยอุเบกขา
จบกุศลวิบาก ๘
ข้อ ๓ ในอเหตุกกิริยาจิต ๓ นั้น
๑. คือ จิตประกอบด้วยอุเบกขา สำหรับพิจารณา
ค้นอารมณ์ในทวารทั้ง ๕ ชื่อ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
๒. คือ จิตที่ประกอบด้วยอุเบกขา สำหรับพิจารณา
ค้นธรรมารมณ์ในมโนทวาร ชื่อ
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
๓. คือ จิตที่ประกอบด้วยโสมนัส ยิ้มแย้มมี
ในพระอรหันต์ ชื่อว่า หสิตุบาท ๑
จบอเหตุกกิริยา ๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๙ กามาวจรโสภณ
๒๔
๑. ที่แบ่งเป็นมหากุศล ๘ นั้น คืออะไรบ้าง ?
๒. ที่แบ่งเป็นมหาวิบาก ๘ นั้น คืออะไรบ้าง ?
๓. ที่แบ่งเป็นมหากิริยา ๘ นั้น คืออะไรบ้าง ?
๔. มหากุศล มหาวิบาก มหากิริยา มีอาการต่าง
กันอย่างไร จงตอบมาให้ได้ความ ?
คำตอบวันที่ ๙
ข้อที่ ๑ ในมหากุศล ๘ นั้น แบ่งดังนี้
๑. คือ จิตที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นไปกับด้วยโสมนัส
กล้าทำกุศลโดยลำพังตนเองได้ ชื่อว่า อสังขาริก ๑
๒. เหมือนจิตที่ ๑ แต่ไม่กล้าทำกุศลโดยตนเองได้
ต้องอาศัยผู้อื่นชักนำ ชื่อว่าสสังขาริก ๑
๓. คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่เป็นไปกับ
ด้วยโสมนัส กล้าทำกุศลโดยตนเองได้
ชื่อว่าอสังขาริก ๑
๔. เหมือนจิตที่ ๓ แต่ไม่กล้าทำกุศลโดยตนเองได้
ต้องอาศัยมีผู้ชักนำ ชื่อว่าสสังขาริก ๑
๕. คือ จิตที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นไปกับ
ด้วยอุเบกขาเวทนา กล้าทำกุศลด้วยตนเองได้
ชื่อว่าอสังขาริก ๑
๖. เหมือนจิตที่ ๕ แต่ไม่กล้าทำกุศลโดยตนเองได้
ต้องอาศัยมีผู้ชักนำ ชื่อว่าสสังขาริก ๑
๗. คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นไปกับ
ด้วยอุเบกขาเวทนา กล้าทำกุศลโดยตนเองได้
ชื่อว่าอสังขาริก ๑
๘. เหมือนจิตที่ ๗ แต่ไม่กล้าทำกุศลโดยตนเองได้
ต้องอาศัยมีผู้ชักนำ ชื่อว่าสสังขาริก ๑
มหากุศลจบ
ข้อ ๒ มหาวิบาก ๘ ก็แจกออกไปเหมือนกัน
ข้อ ๓ มหากิริยา ๘ ก็แจกออกไปเหมือนกัน
ข้อ ๔ ต่างกันอย่างนี้ มหากุศล เป็นผู้แต่งภพแต่งชาติ
มหาวิบาก เป็นผู้เสวย มหากิริยา เป็นผู้แสดงอาการ
ได้ใจความดังนี้
จบกามาวจรโสภณ ๒๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๐ รูปาวจร
อรูปาวจร โลกุตระ
๑. รูปาวจรจิต ๑๕ นั้น คืออะไรบ้าง แบ่งเป็นกุศล
และวิบาก กิริยา อย่างไร ?
๒. อรูปาวจรจิต ๑๒ นั้น คืออะไรบ้าง แบ่งเป็นกุศล
และวิบาก กิริยา อย่างไร ?
๓. โลกุตรจิต คืออะไรบ้าง จงตอบมาให้ครบ ?
คำตอบวันที่ ๑๐
ข้อ ๑ รูปาวจรจิต ๑๕ นั้น
๑. ปฐมฌานจิตมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข
เอกัคคตา
๒. ทุติยฌานจิตมีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌานจิตมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌานจิตมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๕. ปัญจมฌานจิตมีองค์ ๒ คือ เอกัคคตา อุเบกขา แบ่ง
เป็นกุศล ๕ เป็นวิบาก ๕ เป็นกิริยา ๕ แบ่งตามอาการ
กุศลเป็นผู้แต่ง วิบากเป็นผู้เสวย กิริยาเป็นผู้แสดง
จึงรวมเป็น ๑๕
จบรูปจิต
ข้อ ๒ ในอรูปาวจรจิต ๑๒ นั้น
๑. คือ อากาสานัญจายตนะ ๒. คือ วิญญาณัญจายตนะ
๓. คือ อากิญจัญญายตนะ ๔. คือ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ แบ่งเป็นกุศล ๔ เป็นวิบาก ๔
เป็นกิริยา ๔ ตามอาการ กุศลเป็นผู้แต่ง วิบากเป็น
ผู้เสวย กิริยาเป็นผู้แสดง จึงรวมเป็น ๑๒
จบอรูปจิต
ข้อ ๓ ในโลกุตรจิต ๘ นั้น
๑. แบ่งเป็นกุศล ๔ คือ โสดามรรค ๑
สกิทาคามรรค ๑ อนาคามรรค ๑ อรหัตมรรค

๒. แบ่งเป็นวิบาก ๔ คือ โสดาผล ๑ สกิทาคาผล ๑
อนาคาผล ๑ อรหัตผล ๑
จบโลกุตรจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาวันที่ ๑๑ ถามซ้ำในภูมิ ๔
จิตที่ท่านแบ่งไว้เป็น ๔ ภูมินั้น เราจะรู้ว่าจิตนี้เป็นภูมินี้
ๆ ด้วยเครื่องหมายอะไร คือกำหนดอย่างไร
จงตอบมาให้ครบทั้ง ๔ ภูมิ ให้ได้ความโดยย่อ ๆ ?
คำตอบวันที่ ๑๑
จะรู้ได้ก็ด้วยอารมณ์เป็นเครื่องหมาย ใจ
ความว่าเมื่ออารมณ์ยังแตกต่างกันอยู่ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ยังแสดงตนเป็นอิฏฐารมณ์
และอนิฏฐารมณ์อยู่ตราบใด ก็สังเกตได้ว่าจิต
เป็นกามาวจรอยู่ เพราะอารมณ์ ๕
เป็นลักษณะเครื่องหมายของกามาวจร
ส่วนรูปาวจรนั้น อารมณ์ทั้ง ๕ รวมเป็นหนึ่ง
คือคงเหลืออยู่ แต่รูปเท่านั้น รูปที่เหลืออยู่นั้น ก็
ไม่อาจแสดงตนเป็นอนิฏฐารมณ์ได้ คงเป็น
ได้แต่อิฏฐารมณ์เท่านั้น เพราะรูปฌาน
เป็นลักษณะแห่งรูปาวจร
ส่วนอรูปาวจรนั้น รูปารมณ์ที่เป็นวิสัยของรูปฌาน
ทั้ง ๕ นั้นดับไป คงเหลือ
อยู่แต่รูปที่ละเอียดเหลือเกิน ไม่
เป็นวิสัยของรูปฌานได้ จึงมีนามว่าอรูปฌาน ๔ คือ
อากาศวิญญาณ ความว่างความประณีต จะว่ามีหรือ
ไม่มีก็ไม่ใช่ แต่ก็คงไม่ปราศจากรูป ท่านจึงให้ชื่อว่า
ปฐมารูปจิต ทุติยารูปจิต ตติยารูปจิต
จตุตถารูปจิต แต่
เป็นรูปละเอียดพ้นวิสัยของรูปฌาน ท่านจึง
ให้ชื่อว่าอรูปฌาน
ส่วนโลกุตระ นั้น หมายเอาจิตที่พ้นไปจากภูมิ ๓
กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ
จิตที่เกาะเกี่ยวอยู่ในภูมิทั้ง ๓ นั้น ท่านให้ชื่อว่า
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อจิตสงัดจากตัณหา
๓ นั้น จึงจะเป็นโลกุตรจิต เพราะความดับตัณหา
เป็นนิโรธ
จบประเภทจิตตานุปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๒ ธัมมานุปัสสนา
๑. อะไรชื่อว่าธรรมทั้งหลาย ?
๒. ธรรมเหล่านั้น มีลักษณะอาการต่าง
กันอย่างไร ?
๓. ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น หมายความว่า
อยู่ที่ไหน ?
๔. ทำอย่างไรจึงจะรู้ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
พอเป็นที่ตั้งแห่งสติ ?
คำตอบวันที่ ๑๒
๑. กุศล อกุศล อัพยากฤต ชื่อว่าธรรมทั้งหลาย
๒. มีลักษณะอาการต่างกันอย่างนี้ กุศลมี
ความสุขความสบายเป็นลักษณะ ความสุขความสบาย
เกิดแต่เหตุแต่ปัจจัยที่พ้นจากโทษอันนักปราชญ์
พึงติเตียน มีอาการต่างกันเป็นอาการ
๓. หมายความว่าอยู่ที่ตัวของเรานี้เอง
๔. รู้ได้ด้วยลักษณะอาการ ที่เนื่องมาแต่กาย
แต่เวทนา แต่จิตที่สัมปยุตด้วยกุศล อกุศล อัพยากฤต
ดังที่แสดงมานั้นเอง เพราะว่า กุศล อกุศล อัพยากฤต
เป็นธรรม คือ สภาวธรรม ทรงปรกติของตน
อยู่เสมอก็จริง แต่ต้องปรากฏขึ้นที่ตนจึง
เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ได้ ถ้าปรากฏนอกจากกาย
วาจา ใจแล้ว ไม่นับ
เป็นอารมณ์ของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเลย
จบธัมมานุปัสสนา
แสดงประเภทแห่งสติปัฏฐาน ๔ เพียงเท่านี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๓ สัมมัปปธาน ๔
๑. เพียรละอกุศล ที่มีอยู่แล้วให้สิ้นไป
๒. เพียรละอกุศล ที่ยังไม่มีไม่ให้มีขึ้น
๓. เพียรทำกุศล ที่ยังไม่มีให้มีขึ้น
๔. เพียรทำกุศล ที่มีอยู่แล้วให้เจริญยิ่งขึ้น
อธิบายความว่ากระไร ? จงตอบมาพอให้ได้ความ
โดยชัดเจน
คำตอบวันที่ ๑๓
๑. อธิบายความว่า บาปธรรมทั้งหลาย คือ โมโห
ความหลง ๑ อหิริกํ ความไม่ละอายต่อบาป ๑
อโนตฺตปฺปํ ความไม่สะดุ้งต่อบาป ๑ อุทฺธจฺจํ ความฟุ้งซ่าน
๑ โลโภ ความโลภ ๑ ทิฏฺฐิ ความเห็นผิด ๑ มาโน
ความมีมานะ ๑ โทโส ความโกรธ ๑ อิสฺสา ความริษยา
๑ มจฺฉริยํ ความตระหนี่ ๑ กุกฺกุจฺจํ ความรำคาญ ๑
ถีนํ ความง่วงเหงา ๑ มิทฺธํ ความเคลิ้มหลับ ๑
อกุศลเจตสิกทั้ง ๑๔ นี้ แต่อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่
แล้วในตน ก็พากเพียรกำจัดเสีย
ชื่อว่าเพียรละอกุศลที่มีอยู่แล้วให้สิ้นไป
๒. อกุศลเหล่านั้นส่วนใดที่ยังไม่มี ก็พากเพียรเพื่อมิ
ให้มีขึ้นได้ ชื่อว่าเพียรละอกุศลที่ยังไม่มีไม่ให้มีขึ้น
๓. อธิบายความว่า สทฺธา ความเชื่อ ๑ สติ ความระลึก
๑ หิริ ความละอายต่อบาป ๑ โอตฺตปฺปํ
ความสะดุ้งต่อบาป ๑ อโลโภ ความไม่โลภ ๑ อโทโส
ความไม่โกรธ ๑ ตตฺรมชฺฌตา
ความมัธยัสถ์ต่ออารมณ์ ๑ กายปสฺสทฺธิ ความสงบกาย
๑ จิตฺตปสฺสทฺธิ ความสงบจิต ๑ กายลหุตา
ความเบากาย ๑ จิตฺตลหุตา ความเบาจิต ๑ กายมุทุตา
ความอ่อนกาย ๑ จิตฺตมุทุตา ความอ่อนจิต ๑
กายกมฺมญฺญตา ความที่ควรแก่การงานของกาย ๑
จิตฺตกมฺมญฺญตา ความควรแก่การงานของจิต ๑
กายปาคุญฺญตา ความคล่องของกาย ๑
จิตฺตปาคุญฺญตา ความคล่องของจิต ๑ กายุชุคตา
ความตรงของกาย ๑ จิตฺตุชุคตา ความตรงของจิต ๑
วิรติตา คือสมฺมาวาจา ตั้งเจตนาจักกล่าวชอบ ๑
สมฺมากมฺมนฺโต ตั้งใจจะทำดีด้วยกาย ๑ สมฺมาอาชีโว
ตั้งใจหาเลี้ยงชีพโดยชอบ ๑ อปฺปมญฺญา ๒ คือ กรุณา
มีใจเอ็นดูแก่สัตว์ ที่ตกทุกข์ได้ยากทั่วไป ๑ มุทิตา
ความบันเทิงร่าเริงยินดี ต่อสุขสมบัติของท่านผู้อื่น ๑
ปญฺญินฺทฺริยํ มีปัญญาเป็นใหญ่ในกิจการงานทั่วไป ๑
โสภณเจตสิก ๒๕ นี้ชื่อว่ากุศลธรรม
เมื่อกุศลธรรมเหล่านี้ ส่วนใดที่ยังไม่เกิดไม่มี
ก็พากเพียรทำให้เกิดให้มีขึ้น ชื่อว่าเพียรทำกุศลที่ยัง
ไม่มีให้มีขึ้น
๔. เมื่อกุศลธรรมเหล่านั้น ส่วนใดที่เคยเกิดเคยมี
อยู่แล้ว ก็พากเพียรประคองรักษาไว้ให้เจริญยิ่ง ๆ
ขึ้นไป ชื่อว่าเพียรทำกุศลที่มีอยู่แล้วให้เจริญยิ่งขึ้น
จบสัมมัปปธาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๔ อิทธิบาท ๔
๑. ฉนฺทิทฺธิปาโท ที่ตั้งแห่งความสำเร็จคือความพอใจ
๒. วิริยิทฺธิปาโท ที่ตั้งแห่งความสำเร็จคือความเพียร
๓. จิตฺติทฺธิปาโท ที่ตั้งแห่งความสำเร็จคือจิต
๔. วิมํสิทฺธิปาโท ที่ตั้งแห่งความสำเร็จคือปัญญา
จะถือเอาเนื้อความเป็นข้อปฏิบัติอย่างไร
จงอธิบายมาพอให้ได้ความ ?
คำตอบวันที่ ๑๔
๑. อธิบายความว่า ความพอใจ คือ ความรัก
ความชอบใจเป็นไปมั่น ในวัตถุสิ่งใด ในวิชชาสิ่งใด
ในธรรมประเภทใด ย่อมให้กิจที่ประสงค์
นั้นสำเร็จได้ตามความปรารถนา จึงชื่อว่า
ฉนฺทิทฺธิปาโท
๒. อธิบายว่า ความเพียร คือ
ความหมั่นอุตสาหะต่อกิจที่ตนประสงค์นั้นเป็นไปกล้า
ไม่ท้อถอยอ่อนแอ ย่อมให้วัตถุที่ตนประสงค์
หรือวิชาศิลปศาสตร์ หรือธรรมประเภทที่ตน
ต้องการนั้นสำเร็จได้ตามความปรารถนา จึงชื่อว่า
วิริยิทฺธิปาโท
๓. อธิบายว่า จิต คือความคิดความนึก
ความมั่นหมายมุ่งหวังนี้เป็นข้อสำคัญส่วนหนึ่ง เมื่อ
จะประกอบกิจสิ่งใดและมีความตั้งอกตั้งใจฝักใฝ่
ผูกพันอยู่ในกิจสิ่งที่ตนประกอบนั้นโดยความมั่นคง ย่อม
ให้กิจนั้นสำเร็จ ได้ตามความปรารถนา จึงชื่อว่า
จิตฺติทฺธิปาโท
๔. อธิบายว่า ปัญญา คือ
ความพิจารณาเลือกเฟ้นตรวจตราให้รู้คุณ
และโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์
อ่อนกล้าหนักเบาต่อกิจการงานที่ตนทำนั้น ย่อม
ให้กิจที่ตนประสงค์นั้นสำเร็จตลอดได้
โดยเรียบร้อยทุกประการ จึงชื่อว่า วิมํสิทฺธิปาโท
แต่จะถือเอาเป็นข้อปฏิบัติต้องเข้าใจว่า ธรรมทั้ง ๔ นี้
เป็นอัญญมัญญปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกัน คือ ฉันทะ
ความพอใจ มีแล้วก็ให้เกิดวิริยะ ความเพียร ๆ มี
แล้วก็ให้เกิดจิตตะ ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วก็
ให้เกิดวิมังสา ความพิจารณาเกิดปัญญา ธรรมทั้ง ๔
พลัดพรากจากกันและกันไม่ได้ ถ้า
ยังแตกต่างเกิดคนละครั้งละคราวไม่เป็นอิทธิบาท
ธรรมทั้ง ๔ ต้องเป็นสามัคคี อาศัยซึ่งกันและกัน
เป็นไปจึงควรนับว่าเป็นอิทธิบาท ๔ ได้
จบอิทธิบาท ๔


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร