วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

สัปปุริสธรรม โดยปุจฉา และวิสัชนา

(เรียบเรียงตั้งแต่ยังเป็นพระราชกวี ตรวจพิมพ์
ใหม่ เมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๘)
หนังสือสัปปุริสธรรมทั้ง ๒ ประเภท ซึ่งพิมพ์ขึ้นนี้
เป็นแบบแต่งขึ้นใหม่ สำหรับสอนพระนักเรียน คือ
ในพรรษาศก ๑๓๑ (พ.ศ.๒๔๕๕) นี้ ได้ให้พระภิกษุ
ผู้มีพรรษาแต่ ๕ ขึ้นไป ศึกษาในชั้นสัปปุริสธรรม
แล้วตอบปัญหาเป็นข้อ ๆ แต่ห้ามมิให้นำแบบแผนตำรา
และความรู้ของผู้อื่นมาตอบ ให้ตอบตามความรู้
ความเห็นของตนเอง ส่วนข้าพเจ้าก็แต่งตอบขึ้น
ไว้สำหรับสอน แต่ก็แต่งขึ้นโดยอัตโนมัติเหมือนกัน
ส่วนปัญหาที่พระนักเรียนตอบในภาคต้นนั้น
ได้บ้างเสียบ้าง ไม่ควรจะพิมพ์แจกกันดูได้
จึงเรียบเรียงแต่ส่วนตัวอย่างสำหรับตัดสินขึ้นไว้
เพราะเป็นการสอบซ้อมศึกษาภาค ๒ ตอนปลาย
ตั้งข้อปัญหาขึ้น ๗ ข้อ สอบไล่ตรวจดูความรู้อีก
ส่วนหนึ่ง ในตอนนี้ได้พิมพ์ทั้งคำถาม คำตอบ
และคำตอบของนักเรียนที่ตอบดี
ได้รางวัลชั้นที่หนึ่งไว้ด้วย เพราะเห็นว่าจะ
เป็นประโยชน์แก่บางคน เพราะตอบ
โดยชั้นสัปปุริสธรรมแท้ เพื่อให้
เป็นธรรมทานต่อไป มีประสงค์จะบำรุงทางปัญญา
ความคิด ความตรองให้เกิดขึ้นในตน คือให้ถ่ายเอา
ความรู้ในแบบแผนและในการสดับตรับฟังกลับ
เข้ามาสู่ตน จะได้ไม่หลงไปตามตำรา เชื่อไปตาม
เขาว่า เป็นตุจฉโปฏฐิล หาสาระหรือสรณะในตนมิ
ได้ พวกเราควรตรวจตรองค้นดูให้พบสาระ
หรือสรณะในตนให้จงได้ จะได้ไม่เสียทีที่
ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 20:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรม
ถามว่า ธัมมัญญู ผู้รู้ธรรม รู้อย่างไร
จึงชื่อว่ารู้ธรรม ? จงอธิบายมาให้ได้ความ
ตอบว่า คือ รู้สกลกายนี้เองว่าเป็นปริยัติธรรม
เป็นปฏิบัติธรรม เป็นปฏิเวธธรรม จึงชื่อว่า ธัมมัญญู
รู้ธรรม
ถามว่า รู้อย่างไรจึงชื่อว่ารู้สกลกายอันนี้
เป็นปริยัติธรรม ?
ตอบว่า คือ รู้สกลกายอันนี้ว่า บริบูรณ์ด้วย นาม
รูป ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็นต้น
คือรู้สิ่งหนึ่งก็เต็มรอบสกลกายอันนี้
ดังรู้ว่านามก็เต็มรอบ
รู้ว่ารูปก็เต็มรอบสกลกายอันนี้
รู้อย่างนี้แหละชื่อว่ารู้สกลกาย อันนี้
เป็นปริยัติธรรม
ถามว่า รู้อย่างไร
จึงชื่อว่ารู้สกลกายอันนี้ว่าเป็นปฏิบัติธรรม ?
ตอบว่า คือ รู้ สัมมาปฏิบัติ ซึ่งประพฤติเป็นไป
อยู่ของสกลกายอันนี้ ตรงกับพระพุทธภาษิตว่า ศีล
สมาธิ ปัญญา
รู้อย่างนี้แหละชื่อว่ารู้สกลกายอันนี้ว่าเป็นปฏิบัติธรรม
ถามว่า รู้อย่างไร
จึงชื่อว่ารู้สกลกายอันนี้ว่าเป็นปฏิเวธธรรม ?
ตอบว่า คือ รู้สกลกายอันนี้ว่าเป็น อสังขตธรม
เพราะเพิก สังขตธรรม ออกได้แล้วด้วยวิชชา
เห็นสกลกายอันนี้เป็น วิสังขาร ตรงทีเดียว คือรู้จัก
อวิชชา นั้นเองเป็นตัว วิชชา เป็นตัว วิสังขาร
รู้อย่างนี้แหละชื่อว่ารู้สกลกายอันนี้ว่า
เป็นปฏิเวธธรรม
ถามว่า รู้เท่านี้หรือชื่อว่า ธัมมัญญู รู้ธรรม ?
ตอบว่า รู้เท่านี้ก็จัดได้ว่าผู้รู้ธรรมโดยสังเขป
เพราะพระธรรมมีมากถึง ๘๔,๐๐๐
พระธรรมขันธ์
ถามว่า อัตถัญญู ผู้รู้เนื้อความของธรรม
รู้ประโยชน์ของธรรมคือรู้อย่างไร ?
จงอธิบายมาให้ได้ความ
ตอบว่า คือ รู้สกลกายอันนี้ว่าเป็นธรรม โดยธาตุก็
เป็น ธรรมธาตุ โดยขันธ์ก็เป็น ธรรมขันธ์
โดยอายตนะก็เป็น ธรรมายตนะ โดยนามก็เป็น
นามธรรม โดยรูปก็เป็น รูปธรรม หรือเป็น
สภาวธรรม อันนี้เป็นตัวเหตุจึงรู้ผล คือ
สัมมาปฏิบัติ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิญาณทัสสนะ
ทั้งรู้ทั้งเห็นว่า ธาตุ ขันธ์ อายตนะ นาม รูป
เป็นตัวทุกข์แท้ ก็กำหนดทุกข์ได้ และรู้ชัดว่า ธาตุ
ขันธ์ อายตนะ นาม รูป ส่วนที่เป็นอดีตอนาคตนี้
เป็นชาติสัญญา ตัวสมุทัย คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา แท้ เมื่อรู้เท่าตัณหา ตัณหาก็ดับไปเอง
ชื่อว่าละตัณหา และรู้ชัดว่า ความดับไปแห่งตัณหา
นั้นเองเป็นลักษณะแห่ง นิโรธ ได้ทำให้แจ้งแล้ว
และรู้ชัดว่า ธาตุ ขันธ์ อายตนะ นาม รูป เป็นทุกขสัจ
จะด้วยอาการนี้ เป็นสมุทัยสัจจะด้วยอาการนี้
เป็นนิโรธสัจจะด้วยอาการนี้ เป็นมรรคสัจจะ
ด้วยอาการนี้ แม้ตัวผู้เห็นนี้ก็ไม่ใช่อื่น คือ ธาตุ ขันธ์
อายตนะ นาม รูป นั่นเอง แต่ว่าเป็น ธรรมธาตุ
ธรรมขันธ์ เป็น ธรรมายตนะ เป็นนามธรรม
เป็นรูปธรรม หรือเป็นสภาวธรรมเสียแล้ว
จึงชื่อว่าสกลกายเห็นสกลกาย
คือสัมมาทิฏฐิเห็นตัวเอง ได้แก่มรรคเห็นมรรค
เป็นมรรคสัจจะ ได้ทำให้เป็นขึ้นแล้ว
ที่จะรู้ว่าสกลกายเป็นอริยมรรค ก็
เพราะสกลกายประดับด้วยองคคุณทั้ง ๘ ประการ
คือ ความเห็นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริก็
เป็นสัมมาสังกัปโป เจตนาทางวาจาก็เป็นสัมมาวาจา
เจตนาทางกายก็เป็นสัมมากัมมันโต
เจตนาทางเลี้ยงชีพก็เป็นสัมมาอาชีโว ความเพียรก็
เป็นสัมมาวายาโม ความระลึกก็เป็นสัมมาสติ
ความตั้งใจก็เป็นสัมมาสมาธิ คือ รู้อาการของธรรม
ได้แก่ความประพฤติเป็นไปอยู่ของสกลกายนี้
โดยทางสัมมาปฏิบัติ ว่ามีคุณมีประโยชน์อย่างนี้ ๆ
นี้แล ชื่อว่า อัตถัญญู รู้เนื้อความของธรรม
รู้ประโยชน์ของธรรม เป็นผลเผล็ดมาจากเหตุ
คือธัมมัญญูนั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 21:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า อัตตัญญู ผู้รู้ตน รู้อย่างไรชื่อว่ารู้ตน ?
ตอบว่า คือ รู้ธรรม รู้อรรถนั้นเองเป็นเหตุ
จึงรู้ผลซึ่งสำเร็จมาแต่สัมมาปฏิบัติที่ตนประพฤติมา
แล้ว และประพฤติอยู่ คือกายกรรมของตน
เป็นของบริสุทธิ์ วจีกรรมของตนก็เป็นของบริสุทธิ์
มโนกรรมของตนก็เป็นของบริสุทธิ์
อาชีวะการเลี้ยงชีพของตนก็เป็นของบริสุทธิ์
เป็นปัจจักขสิทธิขึ้นแก่ตน ท่านก็รู้ตนว่าตนเป็นสัตบุรุษ
แล้วด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ๆ ผู้รู้เหตุผล
อยู่ทุกเมื่ออย่างนี้แหละชื่อว่า อัตตัญญู รู้ตน คือตรง
กับคำว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ นั้นเอง
ถามว่า มัตตัญญู ผู้รู้มาตรา รู้ประมาณ รู้อย่างไร
จึงชื่อว่า มัตตัญญู ?
ตอบว่า คือ ผู้ที่รู้ตนว่าเป็นสัตบุรุษ เพราะ
ความบริสุทธิ์สำเร็จมาแต่สัมมาปฏิบัติให้ผล คือ
ให้ตนได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ความสุข ล้วน
เป็นของบริสุทธิ์ น้อยบ้าง มากบ้าง
ตามชั้นตามภูมิของตน คืออัตตัญญูนั้นเองเป็นตัวเหตุ แต่
นั้นไป สติสังวร ญาณสังวร เป็นเครื่องอยู่
เป็นเครื่องกำกับ สำหรับตนของท่านมีอยู่เสมอทุกเมื่อ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงรู้มาตราในการทั้งปวง คือ
จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน จะไป จะอยู่ ก็รู้ประมาณ
จะพูดจาสนทนาในทางโลกและในทางธรรม
ส่วนวจีกรรมของท่านก็รู้ประมาณ
จะประกอบกิจการงานด้วยกาย
ส่วนกายกรรมท่านก็รู้ประมาณ ควรน้อย
หรือควรมาก ควรหนักหรือควรเบา ท่านก็รู้
คือท่านเป็นผู้ฉลาดเต็มที่ จึงชื่อว่า มัตตัญญู
ผู้รู้มาตรา คือสติสัมปชัญญะนั้นเอง
เป็นผลสำเร็จมาแต่อัตตัญญู รู้ตนเป็นข้อสำคัญ
ถามว่า กาลัญญู ผู้รู้กาล รู้อย่างไร
ชื่อว่ารู้กาล ?
ตอบว่า คือ มัตตัญญู รู้มาตราเป็นเหตุ ท่านย่อมเป็น
ผู้รู้กาลอยู่เอง คือ รู้ว่ากาลนี้ควรนั่ง
กาลนี้ควรนอน กาลนี้ควรยืน กาลนี้ควรเดิน
กาลนี้ควรไป กาลนี้ควรอยู่
กาลนี้ควรพูดคดีโลก กาลนี้ควรพูดคดีธรรม
กาลนี้ควรพูดน้อย กาลนี้ควรพูดมาก
กาลนี้ควรทำนวกรรม กาลนี้ควรทำสังฆกรรม
กาลนี้ควรทำสมถะและวิปัสสนา
กาลนี้ควรแสดงธรรม
กาลนี้ควรไต่ถามข้ออรรถข้อธรรมที่ตน
ยังสงสัยอยู่อย่างนี้เป็นต้น คือว่าเมื่อเป็น
ผู้รู้กาลรู้สมัย รู้เวลาเช่นนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่เก้อ
ไม่ขวยเขินในหน้าที่ทั้งปวง จึงชื่อว่า กาลัญญู
ผู้รู้กาล เป็นผลสำเร็จมาแต่มัตตัญญูนั้นเอง
ถามว่า ปริสัญญู ผู้รู้บริษัท รู้อย่างไร
จึงชื่อว่ารู้บริษัท ?
ตอบว่า เพราะรู้มาตรา รู้กาลนั้นเป็นเหตุ ท่าน
จึงฉลาดต่อที่ประชุมคือหมู่ คือคณะ คือรู้ว่า
หมู่นี้อสัตบุรุษ หมู่นี้สัตบุรุษ หมู่นี้เจ้าทิฏฐิอย่างนี้
หมู่นี้เจ้าลัทธิอย่างนี้ หมู่นี้คฤหบดี หมู่นี้พราหมณ์
หมู่นี้กษัตริย์ เมื่อ
เข้าไปสู่สมาคมแห่งบริษัทนี้ควรนั่งอย่างนี้
ควรยืนอย่างนี้ ควรกล่าวถ้อยคำอย่างนี้
หรือควรต้อนรับบริษัทนี้
ด้วยอาการอย่างนี้พอเหมาะพอควร การที่รู้อำนาจ
และกำลังของบริษัท ย่อมเข้าสมาคม
หรือปฏิสันถารโดยความสง่าเรียบร้อยไม่เก้อเขิน
อย่างนี้แลชื่อว่า ปริสัญญู รู้บริษัท
เป็นผลสำเร็จมาแต่มัตตัญญู กาลัญญู นั้นเอง
ถามว่า ปุคคลัญญู ผู้รู้จักบุคคล รู้อย่างไร
จึงชื่อว่ารู้บุคคล ?
ตอบว่า คือ รู้บุคคลยิ่งและหย่อน โดยชาติ
โดยตระกูล โดยศิลปวิทยา โดยโภคทรัพย์
และยศศักดิ์บริวาร รู้จักคบพาลและบัณฑิต
เมื่อรู้เช่นนั้น ย่อมปฏิบัติตนให้สมควรแก่คนเหล่า
นั้นตามชั้นตามภูมิ ในสมัยที่ตนเข้าไปสู่ไปหา หรือ
ในสมัยที่ตนจะพึงต้อนรับ และอาจที่
จะเลือกคบหาสมาคมในบุคคลที่ตนหวังประโยชน์
การที่รู้บุคคลยิ่งและหย่อนโดยอาการอย่างนี้
ชื่อว่า ปุคคลัญญู เป็นผลสำเร็จมาแต่มัตตัญญูกาลัญญู เหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 21:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า ผู้มีสัปปุริสธรรมบริบูรณ์ในตนเช่นนี้
จะรับรองได้ไหมว่าจะต้องเป็นผู้พ้นจากเวรภัย
และโทษทัณฑ์ ความผิดต่าง ๆ ได้ ?
ตอบว่า รับรองได้ ถ้าผู้บริบูรณ์
ด้วยสัปปุริสธรรมในตนเช่นนี้ ส่วนตนของท่าน
ย่อมพ้นจากเวรและภัยและโทษทัณฑ์ความผิดต่างๆ
ได้ตลอดชีวิต แต่ส่วนความผิดเกิดจากผู้อื่นรับรอง
ไม่ได้ ต้องยกไว้แก่ธรรมดาโลก
ถามว่า ความยังไม่แจ่มแจ้ง ขอเล่าสอบสักหน่อย คือว่า
สัตบุรุษย่อไม่ก่อเวรภัยโทษทัณฑ์ และความผิดต่าง
ๆ ใส่ตน คือส่วนตนเป็นอันไม่ทำผิด รับรองได้ส่วนนี้
แต่เวรภัยโทษทัณฑ์ และความผิดต่าง ๆ ที่ผู้ไม่ชอบ
กัน หรือผู้ไม่รู้เก็บมาใส่ให้ ชื่อว่าเป็นโทษของวัฏฏะ
ต้องยกให้เป็นธรรมดาของโลก คือว่า จะ
เป็นสัตบุรุษ หรืออสัตบุรุษก็ตาม เป็นต้อง
ได้รับนินทาและสรรเสริญ ตามชั้นตาม
ส่วนตามภูมิของตน ๆ จะหาธรรมอะไรมาป้องกันได้
เป็นอันไม่มี อย่างนั้นหรือ ?
ตอบว่า ก็อย่างนั้นซี แต่พระจันทร์ พระอาทิตย์
มีคุณแก่โลกสักเพียงไร ท่านยังต้องโดน
เขายกโทษติเตียนนินทาว่าร้ายต่าง ๆ เกือบจะไม่เว้นวัน
ถามว่า สัปปุริสธรรม ที่แสดงนี้ น่าตรึกตรองจริง
ถ้ารู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้เป็นอย่างนี้ สมควรกับรูป
ความที่ว่าสัปปุริสธรรมแท้ แต่จะมีธรรมอะไร
เป็นเหตุ สัปปุริสธรรมผู้ผลจึงบังเกิดขึ้นได้ ?
ตอบว่า ก็สัปปุริสธรรมนั่นเองเป็นเหตุ แต่
ต้องยกประเภทสัปปุริสธรรม ส่วนที่มีมา
ในจรณธรรม คือ
สัทธา ความเชื่อ ๑
หิริ ความละอายต่อบาป ๑
โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป ๑
พาหุสัจจะ ความสดับตรับฟังพุทธโอวาทมาก ๑
วิริยารัมภะ ความปรารภความเพียร ๑
สติ ความระลึก ๑
ปัญญา ความรู้ทั่ว ๑
ธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ ก็ได้ชื่อว่า
สัปปุริสธรรมเหมือนกัน แต่ว่าเพียงชั้นจรณะเท่า
นั้น คือ เป็นบาทเป็นเบื้องต้น
ที่ดำเนินขึ้นสู่สัปปุริสธรรมชั้นสูง ถ้าจะกล่าว
โดยบุคลาธิษฐาน สัตบุรุษชั้นนี้เพียงอจลสัทธา คือ
ถึงพระไตรสรณคมน์เท่านั้น สัปปุริสธรรมชั้นนี้
จึงชื่อว่าเป็นเหตุ ถ้ามีพรักพร้อมอยู่ในบุคคลจำพวก
ใด บุคคลจำพวกนั้นก็
จะบรรลุสัปปุริสธรรมชั้นสูง เป็นตัววิชชาแท้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า ในสัปปุริสธรรมประเภทที่ ๒ นั้น ข้อที่ ๑ คือ
สัทธา ความเชื่อ เชื่ออย่างไร จึงนับว่าเป็นสัทธา
ในสัปปุริสธรรมนี้ จงอธิบายมาให้ได้ความชัดเจน ?
ตอบว่า ตามที่มาต่าง ๆ ว่า
เชื่อต่อปัญญาเครื่องตรัสรู้แห่งพระพุทธเจ้าว่าพระองค์
เป็นพระอรหันต์เป็นต้น แม้ด้วยเหตุนี้
และเชื่อต่อพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นสวากขาตธรรมจริง และเชื่อต่อพระสงฆ์
ว่าเป็นสุปฏิปันโนจริง
และเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมจริง
ชื่อว่าสัทธา
ถ้าจะให้อธิบายตามความพอใจ ต้องถือเอาเนื้อ
ความว่าเชื่อต่อสัมมาปฏิบัติ ซึ่งมีในตนดังศีลเป็นต้น
คือเมื่อตนมีศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นต้น ตนก็
ได้รับผล คือสิ้นภัยความกลัว ซึ่งจะเกิดขึ้นแต่เวร
นั้น ๆ ย่อมนั่ง นอน ยืน เดิน เป็นสุข เพราะพ้นจากภัยพ้น
จากเวร ซึ่งเกิดแต่โทษ คือศีลวิบัตินั้น ๆ เมื่อ
ได้รับผลด้วยตนเช่นนี้ ก็ย่อมเกิดความเชื่อต่อกรรม
คือ เจตนาที่ตนคิดงดเว้นจากโทษนั้น ๆ
และเชื่อต่อผลของกรรม คือ ศีลซึ่งเป็นไปในตน
ซึ่งมีในตน ซึ่งตนได้รับความสุขอยู่เป็นพยานแก่ตน
ถึงสมาธิและปัญญาซึ่งมีในตน และให้ผลแก่ตน
ด้วยประการใด ตนก็รู้ด้วยประการนั้น สมาธิ
และปัญญา ก็ย่อมสำเร็จมาแต่เจตนา
เป็นตัวกรรมเหมือนกัน ที่นั้นก็
จะเห็นคุณพระอริยสงฆ์ที่ว่าสุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน
ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติตรง ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง เช่น
นั้นมามีขึ้นแล้วในตน คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั้นเอง
ส่วนศีล สมาธิ ปัญญานั้นเล่า ก็ไม่ใช่อื่น คือ
สวากขตธรรม เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสดี
แล้วนั้นเอง เมื่อรู้สึกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นพระธรรม คือว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
และรู้ชัดว่าปัญญาที่มารู้พระธรรม คือ ศีล
สมาธิ ปัญญา รู้เจตนากรรม รู้ผลของกรรม
ความรู้นี้เป็นพระพุทธคุณมามีขึ้นพรักพร้อมแล้ว
ในตัวของเรา ดังนี้
อธิบายว่า ปัญญาเครื่องรู้ว่าพระธรรม คือ ศีล
สมาธิ ปัญญา และเจตนาเป็นตัวกรรม
และผลของเจตนากรรม ปัญญานี้
เป็นลักษณะแห่งพระพุทธคุณ พระธรรม คือ ศีล
สมาธิ ปัญญา กรรมเจตนา ผลของกรรมเจตนา
ผู้รับรู้ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ส่วนนี้
เป็นลักษณะแห่งพระธรรมคุณ
ความประพฤติแห่งกายวาจาใจ ที่ให้ตรงต่อศีล สมาธิ
ปัญญานี้เอง เป็นสุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน
เป็นลักษณะแห่งสังฆคุณ
เมื่อคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
มีพรักพร้อมในตนเช่นนี้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้
ถึงไตรสรณคมน์ เป็นอุบาสก อุบาสิกา ชื่อว่าผู้
ถึงอจลสัทธา เป็นสัตบุรุษ
ผู้เชื่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจริง ความเชื่ออย่างนี้
จึงนับว่าเป็น สัทธา ในสัปปุริสธรรมนี้
ถามว่า ข้อที่ ๒ หิริ ความละอายต่อบาป
คือละอายอย่างไร ?
ตอบว่า ผู้ถึงไตรสรณคมน์เป็นอจลสัทธาเช่นนั้น
ย่อมรู้สึกว่าพระรัตนตรัยมีในตน เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงไม่กล้าทำกรรมอันเป็นบาปด้วยกาย มีฆ่าสัตว์
เป็นต้น ด้วยวาจามีพูดคำเท็จเป็นต้น
ด้วยน้ำใจมีอิจฉาพยาบาทเป็นต้น ทั้งที่ลับและที่แจ้ง
เพราะละอายพระรัตนตรัยซึ่งมีอยู่
คือละอายตนเอง เพราะรู้สึกว่าตนเป็นผู้ถึงพระ
แล้ว ธรรมดาพระย่อมเป็นผู้ไม่มีบาป
อย่างนี้ชื่อว่ามีความละอายต่อบาป
ถามว่า ข้อ ๓ โอตตัปปะ ความสะดุ้งต่อบาป คือ
สะดุ้งหวาดเสียวอย่างไร ?
ตอบว่า เพราะผู้ถึงพระไตรสรณคมน์
เป็นอจลสัทธาเช่นนั้น
ท่านย่อมเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม เพราะเหตุ
นั้น เมื่ออกุศลกรรมอันใดมาบังเกิดขึ้นจำเพาะหน้า
ท่านย่อมมีสติสะดุ้งหวาดเสียวกลัวกรรมกลัวเวร
จะเป็นเผ่าพันธุ์ติดตามตนไป เพราะเหตุนั้นท่านจึง
ไม่กล้าทำกรรมอันเป็นบาปเป็นอกุศล ด้วยกาย
วาจา ใจ ทั้งที่ลับที่แจ้ง ด้วยเห็นชัดว่ากรรมเจตนา
เป็นของของตน ตนทำอย่างใด ตนต้องได้อย่างนั้น
เพราะเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมเป็นเหตุ ท่าน
จึงสะดุ้งหวาดเสียวต่อกรรมอันเป็นบาป
อย่างนี้แลชื่อว่าความสะดุ้งหวาดเสียวต่อบาป
ถามว่า ข้อ ๔ พาหุสัจจะ ความฟังพุทธโอวาทมาก
คือฟังพุทธโอวาทอย่างไรบ้าง จึงจะนับว่าพาหุสัจจะ ?
ตอบว่า สกลํ เตปิฎกํ พุทฺธวจนํ พระไตรปิฎก
ทั้งสิ้นชื่อว่าพุทธวจนะพุทธโอวาท คือพระวินัย
พระสูตร พระปรมัตถ์ พระวินัยคือ
ชี้อุบายกำจัดสิ่งที่ชั่วออกเสียจากกาย วาจา ใจ
พระสูตรคือ ชี้เนื้อความแห่งพระปรมัตถ์
ให้แผ่ออกไปให้กว้างออกไป ประสงค์จะให้เห็นเนื้อ
ความแห่งพระปรมัตถ์นั้นโดยง่าย ส่วนพระปรมัตถ์
นั้นคือชี้อรรถ อันสุขุมลุ่มลึกไปตามลำดับ
ดังแสดงจิตเจตสิกและรูปตลอดถึงนิพพาน
ผู้ฟังพระวินัยจึงรู้สึกว่า ศีลเป็นวินัย
เพราะนำกิเลสออกจากกายวาจาใจได้ สมาธิเป็นวินัย
เพราะนำกิเลสอย่างกลางมีกามฉันท์พยาบาท
เป็นต้นออกจากใจได้ ปัญญาเป็นวินัย
เพราะนำกิเลสอย่างละเอียด มีสัสสตทิฏฐิ
และอุจเฉททิฏฐิเป็นต้น ออกจากใจได้
อย่างนี้แลชื่อว่าพาหุสัจจะในพระวินัย
ผู้ฟังพระสูตร
จนรู้สึกว่าอาการที่แจกสกลกายออกไปเป็นแผนก ๆ
ดังอาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น หรือ
โดยรูป มีมหาภูตรูปเป็นต้น หรือโดยนาม
มีเวทนาสัญญาเป็นต้น หรือโดยธรรม
มีกุศลากุศลและอัพยากตธรรมเป็นต้น
อาการที่จำแนกแจกสกลกายอันเดียวนี้ ให้เป็นส่วน
เป็นแผนกกว้างออกไป แผ่ออกไป
เป็นลักษณะแห่งพระสูตร ฟังอย่างนี้ชื่อว่าพาหุสัจจะ
ในพระสูตร
ผู้ฟังพระปรมัตถ์จนรู้สึกว่าสกลกายอันนี้
เป็นของจริง คือจริงชั้นสมมติเพียงนี้
จริงชั้นปรมัตถ์เพียงนี้ จริงชั้นอริยสัจเพียงนี้
จริงชั้นนิพพานเพียงนี้ อย่างนี้แลชื่อว่าพาหุสัจจะ
ในพระปรมัตถ์
การฟังพระพุทธโอวาทคือพระวินัย พระสูตร
พระปรมัตถ์ จนได้ความชัดในสกลกายอย่างนี้
คือฟังด้วยใจเกิดความรู้ขึ้นที่ตน ฟังหยุด ฟัง
ไม่ฟุ้งไปตามเสียง ถึงฟังน้อยก็ชื่อว่าฟังมาก
ถ้าฟังเพลินไปตามเสียง เอาความในตัวไม่ได้
ไม่นับว่าฟังมาก นับว่าฟุ้งมาก ถึงจำได้มากก็
ไม่มีประโยชน์อะไรนัก ฟังพุทธวจนะเข้าใจในตัวได้
จึงนับว่าเป็น พาหุสัจจะ ในสัปปุริสธรรมนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 22:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า วิริยารัมภะ การเริ่มความเพียร คือ เริ่ม
ความเพียรอย่างไร ?
ตอบว่า ธรรมดาผู้ฟังพุทธวจนะมาก จนได้
ความชัดเช่นนั้น ท่านย่อมมีความเชื่อต่อคุณความดีที่ถึง
แล้วแก่ตน และเชื่อต่อคุณในเบื้องบนที่ตนยังไม่ได้ไม่
ถึง ว่าเป็นของมีจริงและเป็นของไม่ล่วง
ความเพียรไปได้จริง
เพราะเหตุนั้นเมื่อท่านรู้ว่าศีลของตนยังไม่ถึงความ
เป็นวิสุทธิ ท่านก็ปรารภความเพียรให้
เป็นสีลวิสุทธิขึ้น เมื่อรู้ว่าจิตของตนยังไม่เป็นวิสุทธิ
ท่านก็ปรารภความเพียรให้เป็นจิตวิสุทธิขึ้น เมื่อรู้ว่า
ความเห็นของตนยังไม่เป็นวิสุทธิ ท่านก็ปรารภ
ความเพียรให้เป็นทิฏฐิวิสุทธิขึ้น เมื่อรู้ว่าปฐมมรรค
ทุติยมรรค ตติยมรรค จตุตถมรรค ส่วนใด
ส่วนหนึ่งซึ่งยังไม่มีในตน ท่านก็เริ่มปรารภ
ความเพียรให้มรรคนั้น ๆ บังเกิดขึ้นแก่ตน
อย่างนี้แลชื่อว่า วิริยารัมภะ ในสัปปุริสธรรมนี้
ถามว่า ข้อ ๖ สติ ความระลึก คือระลึกอย่างไร
จึงชื่อว่าสติ ?
ตอบว่า ผู้ปรารภความเพียรเพื่อคุณความดีในชั้นใด
คือศีล หรือสมาธิ หรือปัญญา สติ ความระลึกก็
เป็นไปในคุณความดีชั้นนั้น ถ้าจะชี้ความให้สั้น บรรดา
ผู้ปรารภความเพียรทั้งสิ้น ย่อมรวมลง
ในสกลกายของตน เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงแสดงสติปัฏฐาน ๔ ไว้ เป็นสติกลาง
คือแยกประเภทแห่งสกลกายอันนี้ออกเป็น ๔ คือ
เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม
การที่ว่ามีสตินั้นก็คือให้ระลึกอยู่ที่กาย ที่เวทนา
ที่จิต ที่ธรรมเท่านั้น ชื่อว่าผู้มีสติ ถ้าระลึกออกไป
จากนั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีสติ เพราะความเพียรย่อม
เป็นไปในกาย เป็นไปในใจเท่านั้น สติก็ต้องระลึก
อยู่ตื่นอยู่ที่กายที่ใจเท่านั้น จึงจะนับว่าเป็น สติ
ในสัปปุริสธรรมนี้
ถามว่า ข้อ ๗ ปัญญา ความรู้ทั่ว รู้อย่างไร
จึงชื่อว่าปัญญา ?
ตอบว่า คือรู้ทั่วในสัปปุริสธรรมนี้เอง ให้ชื่อว่ารู้ตัว
เพราะการรู้ตัวเป็นลักษณะแห่งสัมมสนญาณ
คือรู้ว่าคุณพระรัตนตรัยได้มีแล้วในเรา
ด้วยอาการเพียงเท่านี้ ๆ ศรัทธาความเชื่อ
ในคุณพระรัตนตรัย เป็นปัจจักขสิทธิขึ้น
แล้วแก่เราด้วยอาการเพียงเท่านี้ ๆ หิริ
ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความสะดุ้งต่อบาป
ได้มีขึ้นแล้วในเรา พาหุสัจจะ
ความสดับตรับฟังพุทธวจนะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากจนซึมทราบ
แล้วในเรา วิริยารัมภะ การเริ่มความเพียร
เป็นไปในกาย เป็นไปในใจ ได้มีขึ้นแล้วแก่เรา สติ
ความระลึกเป็นไปในใจ ได้มีขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญา
ความรู้ทั่วในองคคุณมีศรัทธาเป็นต้นได้มีขึ้น
แล้วแก่เรา
อาการที่รู้ตน
คือรู้ว่าสัปปุริสธรรมเหล่านี้บริบูรณ์แล้ว
ในตน และรู้ตนว่าตนเป็นสัตบุรุษแล้ว
ด้วยคุณธรรมเพียงเท่านี้ ๆ และรู้ผลที่ตนได้
ด้วยสัปปุริสธรรมชั้นนี้เพียงเท่านี้
ธรรมชั้นสูงยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่
เมื่อรู้อย่างนี้ท่านก็บำรุงศรัทธาให้มีกำลังกล้า
อุดหนุนความเพียรและปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป
ก็อาจบรรลุคุณธรรมชั้นสูงต่อ ๆ ไปได้
เพราะเหตุนั้น สัปปุริสธรรมชั้นนี้ จึงชื่อว่า
เป็นบาทเบื้องต้น
เป็นเครื่องดำเนินขึ้นสู่สัปปุริสธรรมชั้นสูง มี
ธัมมัญญู อัตถัญญู เป็นต้น ปัญญาความรู้ตัวนี้แหละ
ชื่อว่าเป็น ปัญญา ในสัปปุริสธรรมนี้
ถามว่า คาถาในคัมภีร์พระธรรมบท ทั้งเนื้อ
ความดังต่อไปนี้ : -
โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ... ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตมานี ... เสฺว พาโลติ วุจฺจติ.
คนพาลใด รู้สึกตนว่าเป็นพาล ด้วยเหตุที่รู้สึกตน
นั้น คนพาลนั้น จะกลับเป็นบัณฑิตได้บ้าง
ส่วนคนพาลที่มีมานะว่าตนเป็นบัณฑิต
นั่นแหละเรากล่าวว่าเป็นคนพาลแท้ ๆ
เนื้อความในคาถานี้เกี่ยวกับสัปปุริสธรรม บางคน
จะเห็นไปว่า การที่รู้สึกตนว่าเป็นสัตบุรุษ จะมิ
เป็นอสัตบุรุษไปหรือ ?
ตอบว่า เป็นอสัตบุรุษไปไม่ได้ อสัตบุรุษ หมาย
ความว่าไม่ใช่บุรุษผู้สงบระงับ คนพาล หมาย
ความว่าคนผู้มีความรู้ในตนอ่อน สัตบุรุษ หมาย
ความว่า คนผู้มีตนอันสงบระงับแล้ว บัณฑิต หมาย
ความว่าผู้ฉลาดรักษาตนผู้รู้ตน คนพาล
กับอสัตบุรุษถือเอาเนื้อความอย่างเดียวกัน บัณฑิต
กับสัตบุรุษถือเอาเนื้อความอย่างเดียวกัน
จะอธิบายลักษณะแห่งชนพาลให้เข้าใจ คนจำพวกใด
ไม่รู้จักคุณบิดามารดา ไม่รู้จักคุณครูบาอาจารย์
ไม่รู้จักคุณพระเจ้าแผ่นดิน
ไม่รู้จักคุณพระรัตนตรัย ซึ่งมีอยู่
ในตนที่ตนรับผลอยู่ คือทำให้ผิด
ความประสงค์ของบิดามารดาในทางดี ทำให้ผิดความ
ต้องการของครูบาอาจารย์ในทางชอบ ทำ
ให้ผิดพระราชกำหนดกฎหมาย ไม่ทำตามพุทธบัญญัติ
ไม่ทำตามพุทธโอวาท ทำแต่กรรมอันลามกทุจริต
ด้วยกาย วาจา ใจ หาความร้อนมาใส่ตัว และใส่ตัวผู้
อื่น
แม้ประพฤติทางธรรมเล่า ก็มิได้ไตร่ตรอง
ให้เห็นผิดและชอบด้วยตนเอง ถือเอาแต่เสียงเขาว่า
เป็นประมาณ ถือตาม ๆ เขาไป เป็นคนอ่อนความคิด
อ่อนปัญญา อย่างนี้แหละเป็นลักษณะแห่งคนพาล
เมื่อคนพาลผู้มีคติเช่นนั้น มาสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต ก็
ต้องนับได้ว่าเป็นคนพาลแท้ ๆ
ส่วนบัณฑิตผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นสัตบุรุษนั้น หมายความว่า
ผู้มีสัปปุริสธรรมในตน
อย่างต่ำเพียงชั้นอจลศรัทธาเสียแล้ว อย่างสูงก็
ถึงชั้น ธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู เป็นอริยธรรม
จะกลายเป็นอสัตบุรุษไปอย่างไรได้

คำถามคำตอบจัดไว้คนละตอน เอาคำตอบตัวอย่าง
กับคำถามของนักเรียนผู้ได้ชั้นที่ ๑ มาลงพิมพ์ไว้สู่
กันฟังดังต่อไปนี้ : -
ปัญหาธรรม
๑ ถามว่า ธัมมัญญู ผู้รู้ธรรม คือรู้ว่าตนเป็นธรรม
ธรรมเป็นตน ส่วน อัตตัญญู ผู้รู้ตน จะมิเป็นอันเดียว
กันหรือ หรือจะมีอาการต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ให้ได้ความ ?
๒ ถามว่า ในพระธรรมคุณว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ
วิญญูหิ พระธรรมนั้น ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้จำเพาะตัว
อาการที่รู้จำเพาะตัวนั้นจะตรงกับ ธัมมัญญู หรือ
จะตรงกับ อัตตัญญู หรือจะตรงทั้ง ธัมมัญญู
อัตตัญญู ทั้งสอง ลักษณะที่ตรงกันนั้นเป็นอย่างไร
จงอธิบายให้ได้ความ ?
๓ ถามว่า มัตตัญญู รู้มาตรา กาลัญญู รู้กาล
จะมีอาการต่างกันอย่างไร จงอธิบายมาให้ได้ความ ?
๔ ถามว่า ศรัทธา ความเชื่อ เชื่ออย่างไรจึงจะนับได้ว่า
เป็นอจลศรัทธา ?
๕ ถามว่า หิริ ความละอายบาป โอตตัปปะ
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป จะมีอาการต่างกันอย่างไร
จงหาเครื่องเปรียบมาชี้แจงให้เข้าใจ ?
๖ ถามว่า สติ ในสัปปุริสธรรมนี้ จะต่างกัน
กับสติปัฏฐานอย่างไร จงอธิบายมาให้ได้ความ ?
๗ ถามว่า ปัญญา ในสัปปุริสธรรมนี้ จะต่างกันกับ
ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ อย่างไร จงอธิบายมาให้ได้ความ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 22:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบปัญหาไว้ตัดสิน
๑ ตอบว่า มีอาการต่างกัน ธัมมัญญู รู้เหตุ อัตตัญญู
รู้ทั้งเหตุทั้งผลที่ตน คือความสำเร็จมาแต่ ธัมมัญญู
อัตถัญญู นั้นเอง
๒ ตอบว่า ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตัวนั้น ก็หมาย
ความว่ารู้ผล คือตัวเป็นผลซึ่งเผล็ดมาแต่เหตุ
คืออริยมรรคนั้นเอง จึงตรง
กับสัปปุริสธรรมบทว่า อัตตัญญู
๓ ตอบว่า มัตตัญญู ผู้รู้มาตรานั้นเป็นเหตุ กาลัญญู
ผู้รู้กาลนั้นเป็นผล ต่างกันด้วยลักษณะเป็นเหตุ
เป็นผลแห่งกันและกันเท่านั้น
๔ ตอบว่า จะนับได้ว่าเป็น อจลศรัทธา ก็เพราะเหตุ
และผลเผล็ดขึ้นที่ตน ทั้งรู้ทั้งเห็นว่าที่กรรม
ที่ผลของกรรม ที่ปรากฏในตน คือเชื่อตนนั้นเอง
เป็นลักษณะของ อจลศรัทธา
๕ ตอบว่า หิริ ความละอายบาป คือเห็นกรรมที่
เป็นบาปนั้น ไม่สมควรแก่ตน ไม่กล้าทำทั้งที่ลับที่แจ้ง
เปรียบเหมือนคนแก่ไม่กล้าแต่งกาย ที่เห็นว่า
ไม่สมควรแก่ตน ดังประดับสายสร้อยตุ้มหูเป็นต้น
เพราะละอายต่อวัยของตน ผู้มีหิริละอายต่อบาป
ก็มีอาการเช่นนั้น โอตตัปปะ ความสะดุ้งต่อบาปนั้น คือ
เกลียดกลัวต่อกรรมที่เป็นบาป ด้วยเห็นชัดว่า
กรรมที่เป็นบาปที่ตนทำลงนั้น ย่อมเป็นภัยเป็นเวร
เป็นโทษสำหรับติดตัวไป ไม่กล้าทำลงได้
เปรียบเหมือนผู้นุ่งห่มแต่งกายอันสะอาด
กลัวต่อที่อันสกปรกไม่สะอาด ไม่กล้านั่งนอนลงไป
ได้ หรือเปรียบเหมือนผู้กลัวอสรพิษ
เมื่อเดินไปเจออสรพิษ ย่อมสะดุ้งกลัว
ไม่กล้าเดินต่อไปได้ ผู้มีโอตตัปปะ
สะดุ้งกลัวต่อบาปก็มีอาการเช่นนั้น
๖ ตอบว่า สติ ในสัปปุริสธรรมนี้ คือเป็นผู้ตื่นอยู่
ด้วยสัปปุริสธรรมทั้ง ๗ ทุกเมื่อ เป็นสติแก่รอบ ไม่
ต้องทำ เผล็ดมาแต่สติปัฏฐาน ส่วนสติปัฏฐานนั้น คือตื่น
อยู่ระลึกอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น ยังเป็นบาท
เป็นเบื้องต้น คือต้องทำจึงตั้งอยู่ได้ มีอาการต่างกัน
ด้วยอ่อนและแก่เท่านั้น
๗ ตอบว่า ปัญญา ในสัปปุริสธรรมนี้
หมายเอาปัญญาที่รู้ทั่วในสัปปุริสธรรม
ซึ่งมีปรากฏพรักพร้อมในตน คือตัววิปัสสนาญาณ
ส่วนปัญญินทรีย์ ก็รู้ทั่วแต่ในอินทรีย์ ๕ ซึ่งเป็น
ส่วนของตนเท่านั้น ส่วนปัญญาพละ ก็รู้ทั่วแต่
ในพละคือกำลังทั้ง ๕ ซึ่งเป็นส่วนของตนเท่านั้น คือ
ยังเป็นชั้นสมถะอยู่ มีอาการต่างกันอย่างนี้

คำตอบของนักเรียนที่ได้รับรางวัลที่
๑ ปัญหาธรรม
๑ ตอบว่า ธัมมัญญู ผู้รู้ธรรมนั้น คือเป็น
ผู้เห็นมรรคาอันเอกแล้ว ส่วน อัตตัญญู ผู้รู้ตนจึง
ได้เดินตามมรรคา คือมิได้เข้ารกเที่ยวบุก
ให้หนามเกี่ยวอีกต่อไป จึงรู้ตนว่าตนเป็นผู้เดินตรง
แล้วด้วยกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์เรียบร้อย
แล้วเพียงชั้นนี้ ๆ ต่างกันด้วยธัมมัญญู เป็นเหตุ
อัตตัญญูเป็นผลด้วยอาการดังนี้
๒ ตอบว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ นั้น ตรงกับ
ธัมมัญญู ด้วยว่ารู้ธรรมเป็นตน ตนเป็นธรรมนี้ รู้
ได้เฉพาะตัว ส่วนอัตตัญญูนั้น ออกมารู้ถึงกาย วาจา ใจ
คือรู้ว่ากายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์
การเลี้ยงชีพก็บริสุทธิ์ อย่างนี้ยังหยาบอยู่
ส่วนปัจจัตตังนั้นละเอียดจนไม่มีที่ไปที่มา
๓ ตอบว่า มัตตัญญู รู้ประมาณ คือรู้ว่าตนเพียงแค่นี้ ๆ
เพียงสีลวิสุทธิ์ก็ได้รับความสุขอย่างนี้ ๆ
ตามชั้นตามภูมิของตน ๆ คือมีสติรู้อยู่ทุกอย่าง
ส่วนกาลัญญูนั้น รู้กาล รู้สมัย
ว่ากาลนี้ควรแก่อย่างนี้ ๆ เพราะมัตตัญญูเป็นผู้มีสติ
อยู่ทุกเมื่อ จึงได้รู้กาลรู้สมัย ว่าควรมิควรสิ้น
ทั้งปวง ต่างกันด้วยอาการอย่างนี้
๔ ตอบว่า เชื่อต่อสัมมาปฏิบัติที่มีในตน คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา ตนได้รับผลความสุขตามชั้นตามภูมิของตน
และคุณพระรัตนตรัย ก็ไม่อื่นจากศีล สมาธิ
ปัญญา ตนได้เห็นแล้วเป็นปัจจักขสิทธิ ไม่ต้องเชื่อแต่ผู้
อื่นเลย เชื่อตนของตนเพราะมีพยานในตน
ความเชื่ออย่างนี้แหละเป็นอจลศรัทธา
๕ ตอบว่า คือเป็นผู้ถึงคุณพระรัตนตรัยแล้ว
และรู้ว่าตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตนแล้ว
จะทำบาปก็อายตนะของตนเอง ส่วนโอตตัปปะนั้น มี
ความสะดุ้งหวาดเสียวกลัวต่อบาป ด้วยเห็นว่าตน
ไม่บริสุทธิ์ก็จะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ
เพราะเห็นตนที่บริสุทธิ์ เป็นทางหักเสียซึ่งวัฏฏะ
เพราะเหตุนี้จึงได้กลัวต่อบาป สะดุ้งต่อบาป ทำบาปไม่
ได้เลย
๖ ตอบว่า สติปัฏฐานนั้น คือยังต้องทำสติอยู่ ส่วนสติ
ในสัปปุริสธรรมนี้เต็มบริบูรณ์อยู่ หนึ่ง
ไม่มีอาการไปและอาการมา ต่างกันด้วยอ่อน
และแก่เท่านั้น
๗ ตอบว่า ปัญญินทรีย์ และปัญญาพละ คือความรู้
ในข้อปฏิบัติแต่ยังเป็นปัญญาโลกีย์อยู่ ส่วนปัญญา
ในสัปปุริสธรรมนี้เป็นโลกุตรปัญญา
เป็นญาณทัสสนะ เห็นเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกขสัจ
เป็นสมุทัยสัจ เป็นนิโรธสัจ เป็นมรรคสัจ
ตรงทีเดียว มีอาการต่างกันอย่างนี้.
...............................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร