วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 03:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เทศนาในวันวิสาขบุรณมี

(วิสัชนาถวายตั้งแต่ยังเป็นพระเทพโมลี ตรวจพิมพ์
ใหม่เมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๘)

วิสาขปุณฺณมายํ โย .............. ชาโต อนฺติมชาติยา
ปตฺโต จ อภิสมฺโพธึ .............. อโถปิ ปรินิพฺพุโต
โลเก อนุตฺตโร สตฺถา ............ ทฺยาญาณณฺณวาสโย
นายโก โมกฺขมคฺคสฺมึ ............ ติวิธตฺถูปปเทสโก
มหาการุณิกํ พุทฺธํ ................ มยนฺตํ สรณํ คตา
อามิเสหิ จ ปูเชนฺตา .............. ธมฺเม จ ปฏิปตฺติยา
ปูชารเห ปูชยโต .................. พุทฺเธ ยทิจ สาวเก
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต ................ ติณฺณโสกปริทฺทเว
เต ตาทิเส ปูชยโต ................ นิพฺพุเต อกุโต ภเย
น สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตํ ........... อิเมตฺตมปิ เกนจิ
เอวํ อจินฺติยา พุทฺธา .............. พุทฺธธมฺมา อจินฺติยา
อจินฺติเย ปสนฺนานํ ................ วิปาโก โหตฺยจินฺติโยติ.
..........บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา
พระธรรมเทศนาในบูชามัยกุศล อันผู้เลื่อมใส
ในพระรัตนตรัยแล้ว บำเพ็ญให้เป็นไป และ
จะรับพระราชทานวิสัชนา พระพุทธคุณกถาโดยย่อ
ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี
เพิ่มพูนพระราชสัทธาทิคุณ
ตามสมควรแด่พระราชกุศลบูชามัย
บุญญาธิการกิจ พอสมควรแด่กาลเวลา
ด้วยสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ทรงพระราชศรัทธา
อุตสาหะประกาศอุบาสกปฏิบัติพร้อม
ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
และเสวกามาตย์ราชบริพาร
ทรงบำเพ็ญธรรมานุวัตร ให้เป็นนิพัทธกุศล
ในอภิลักขิตสมัยวิสาขบุรณมีที่พระโบราณาจารย์เจ้าหากนิยม
ไว้ว่า เป็นวันที่ประสูติ
ในปัจฉิมชาติแห่งสมเด็จพระบรมโลกนารถสัมมาสัมพุทธเจ้า
และ
เป็นวันที่พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
และเป็นวันที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ควรเป็นที่ระลึก
ถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์
บัดนี้มาถึงแล้วตามกาลซึ่งวิสาขนักขัตฤกษ์ คล้ายกับ
๓ สมัยกาลนั้น
สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า มาระลึก
ถึงพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ปรินิพพานนานนักแล้ว โดยศาสนายุกาลล่วงไป
ถึง ๒๔๕๘ ปี พระคุณเครื่องระลึก
ยังดำรงประดิษฐานอยู่ ควรเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
และความเลื่อมใส จึงได้มากระทำอาการแห่ง
ผู้เลื่อมใสแล้ว ให้ตกแต่ง
ซึ่งสักการบูชาภัณฑ์เครื่องนบนอบนับถือมีประการต่างๆ
รวมมาตั้งเรียงรายไว้ ณ ภายใน ภายนอก
เป็นมหาสักการบูชา ในพระสถูปปฏิมาฆรสถานที่นี้
ควรให้เกิดความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
เมื่อพร้อมด้วยสันนิบาตประชุมฉะนี้แล้ว
จักกระทำการสดับพระธรรมเทศนา
เพราะเหตุบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งผู้เลื่อมใสแล้ว
และกระทำ อาจเป็นกุศลสมบัติอันไพศาล
ตามอาคตสถานที่มาว่า ปูชารเห ปูชยโต พุทฺเธ ยทิจ
สาวเก เป็นต้น ความว่า บุคคลบูชาซึ่งท่านผู้ควรบูชา
คือพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกที่
ได้ก้าวล่วงกิเลสอันให้สัตว์เนิ่นช้าเสียได้
ด้วยประการทั้งปวง ผู้มีโศกและร่ำไรอันข้ามได้
แล้ว ผู้มีเครื่องร้อนคือกิเลสอันดับแล้ว ผู้ไม่มีภัย
ไม่มีเวรแต่ที่ใดที่หนึ่ง
บุญของบุคคลผู้บูชาซึ่งท่านผู้พิเศษเช่นนั้น ๆ น สกฺกา
ปุญฺญํ สงฺขาตํ ใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อจะนับว่า บุญนี้
เท่านี้ ๆ บุญนั้นเป็นอสงไขยกุศล อันบุคคล
ไม่พึงนับพึงประมาณได้ อนึ่งท่าน
ได้กล่าวสรรเสริญไว้ว่า เอวํ อจินฺติยา พุทฺธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันบุคคลไม่พึงคิดได้
โดยพระคุณอย่างนี้ ๆ พุทฺธธมฺมา อจินฺติยา ธรรม
ทั้งหลายแห่งพระพุทธเจ้าก็เป็นอจินไตย อันบุคคล
ไม่พึงคิดได้ทั่วไปเหมือนกัน อจินฺติเย ปสนฺนานํ
เมื่อเทพดามนุษย์ทั้งหลาย ที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
และพระธรรมซึ่งเป็นอจินไตยแล้ว วิปากโก
โหตฺยจินฺติโย ผลที่สุกพิเศษก็เป็นอจินไตยวิจิตรนัก
พ้นที่จะพึงคิดพึงประมาณ
ด้วยพระรัตนตรัยทั้งสามเป็นปสีทนียวัตถุ
ควรเลื่อมใสโดยส่วนเดียว
เพราะมีคุณอย่างยิ่งที่จริงที่แท้ ซึ่ง
เป็นวิสัยแก่ปัญญาของบัณฑิตจะพึงตรองตาม ให้เกิด
ความเลื่อมใสเชื่อลงได้โดยสนิท ตามเหตุที่ตั้งอยู่
ในวิสัยแห่งวิจารณปรีชาญาณ และพระรัตนะทั้ง
๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น
จะมีคุณมหัศจรรย์ควรเลื่อมใสฉันใด จะ
ได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในกถามรรคนั้น
เป็นการอนุโมทนาพระราชกุศลธรรมจริยานุวัตร
ซึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ทรงพระราชปรารภให้เป็นไปอยู่ ณ บัดนี้
พอสมควรแด่อารัพภสมัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 03:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.......... อโหสิ โข โส ภควา มชฺฌิเมสุ ชนปเทสุ
อริยเกสุ มนุสฺเสสุ อุปฺปนฺโน สมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เมื่อสัตว์อันอวิชชาโมหะหุ้มห่อรึงรัดอยู่โดยรอบ
แล้ว พระองค์อาศัยเหตุสัมปทา ล่วงวิสัยอันบุคคล
ไม่พึงประมาณได้ หากมาอุปถัมภ์พระองค์เป็นผู้มี
ความไม่หลงเป็นธรรมดา ได้บังเกิดขึ้นแล้ว
ในโลก ณ เหล่าอริยกชนพ้นมิลักขชาติ ณ
มัธยมชนบท พระองค์เป็นกษัตริย์โดยชาติ เป็นโคตมะ
โดยพระโคตร
เป็นโอรสแห่งสักยกษัตริย์อสัมภินทวงศ์
ออกบรรพชาแต่สักยตระกูล
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอัจฉริยมนุษย์
ควรเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างยิ่ง เพราะ
เป็นพระศาสดาผู้สอนให้ผู้ประพฤติตาม ได้ประสบ
ความสุขทั้งในโลกีย์โลกอุดร
เพราะพระองค์ทรงคุณสมบัติอันไพศาล
มีสัมปทาคุณและอรหัตตาทิคุณเป็นต้น
ในพระคุณอย่างอื่นจะยกไว้
จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาในสัมปทาคุณทั้ง ๓
คือ เหตุสัมปทา ผลสัมปทา สัตตูปการสัมปทา เพื่อ
ให้สำเร็จประโยชน์เป็นที่ตั้งแห่งปสาทการ
และพุทธานุสสติฏฐานโดยสมควร
ในเหตุสัมปทานั้นแบ่งเป็น ๒ คือ พระมหากรุณา
ได้แก่หวังสุขประโยชน์เพื่อตน และเพื่อผู้อื่นอยู่
เป็นนิตย์ ๑ การเพิ่มพูนพุทธการกธรรม
มีทรงบำเพ็ญพระบารมี ๑๐ ประการ มีทานบารมี
เป็นต้นให้สมบูรณ์ นับด้วยโกฏิแห่งกัปเป็นอันมาก
ชื่อว่าเพิ่มพูนโพธิสมภารให้เต็ม ๑ เพราะสัมปทาทั้ง ๒
นี้เป็นพลวเหตุ พระองค์จึงสมบูรณ์ด้วยผล
คือมีพระกายอันสมบูรณ์ด้วยพระกำลังประกอบ
ด้วยมหาปุริสลักษณะ และมีพระชาติอันสูง
มีพระโคตรอันอุดม
มีพระปรีชาญาณอันเฉียบแหลม และเจริญอยู่
ด้วยความสุขอันไพบูลย์
ทั้งโหรทำนายว่าถ้าอยู่ครองเคหสถาน จะได้สำเร็จ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ถ้าออกอภิเนษกรมณ์
จะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
เกียรติคุณที่พระเจ้าจักรพรรดิจะพึงได้
และกามสุขที่พระเจ้าจักรพรรดิจะพึงเสวย
จะมีที่สุดเพียงไร อันใคร ๆ ก็อาจแลเห็นได้ แต่
ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็มิได้หลง ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไป
โดยพุทธธรรมดา อาศัยเหตุที่พระองค์เป็นผู้มีความ
ไม่หลงเป็นธรรมดานั้นเอง บันดาล
ให้พระองค์เห็นชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
เป็นเพลิงเครื่องร้อนเผาตนและสัตว์อื่นอยู่เป็นนิตย์
จะเกลียดก็ไม่ชอบ จะรักก็ไม่ควร ชวน
ให้พระองค์แสวงหาทางแก้อยู่เป็นนิตย์
เป็นนิมิตแห่งพระกรรมฐาน
เมื่อวิปัสสนาปัญญาแก่กล้าขึ้นเห็นโทษ
ในกามสุขเห็นคุณของอภิเนษกรมณ์ว่าเป็นทางที่
จะดับทุกข์ได้ และเห็นประโยชน์ในทางพุทธจักร ว่า
เป็นทางแห่งความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทั้งส่วนโลกีย์และโลกอุดร เป็นประโยชน์อันยิ่ง
ใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุด และจักเป็นมรดกตั้งอยู่ถาวร
ในโลก พระองค์จึงได้สละกามสุข
เสด็จออกประพฤติพรตพรหมจรรย์
แสวงหาสันติวรบททางแห่งธรรมเป็นเครื่องระงับ
กล่าวคือพระนิพพาน
อาศัยประโยคพยายามมนสิการทำในจิตโดยชอบ
เมื่อจิตประกอบด้วยสมาธิธรรม กำจัดนิวรณ์กิเลส
ให้ห่างไกลได้แล้ว จึงน้อมจิตสู่วิปัสสนา
ยกปฏิจจสมุปบาทธรรม ธรรมเป็นแดนอาศัยซึ่งกัน
และกันเกิดขึ้น มา
เป็นที่ตั้งแห่งพระกรรมฐานภาวนา ยกชาติ ชรา
พยาธิ มรณะ ซึ่ง
เป็นสิ่งอันพระองค์เคยตรึกตรองมามากแล้ว
ตรวจดูเหตุและผลจนเห็นชัดว่า ชรา พยาธิ
มรณะ มาแต่ชาติ ชาติมาแต่ภพ ภพมาแต่อุปาทาน
ตลอดลงไปถึงอวิชชาเป็นที่สุด
จนเห็นชัดว่าอวิชชาอันเดียวเท่านั้นดับลงได้แล้ว
สังขาร วิญญาณ ฯลฯ มรณะ ก็ดับตามกันไปสิ้นดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 03:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ถ้าหากจะมีปุจฉาเข้ามาแทรกในที่นี้ว่า
ที่ว่าอวิชชาสังขารเป็นต้นดับไปนั้น จะสูญหายไปหรือ
หรือจะไปอยู่ที่ไหนฉะนี้ไซร้ ควรจะบริหารว่าจะ
ได้สูญหายไปทีเดียวหามิได้ คือ อวิชชาดับกลาย
เป็นวิชชาขึ้น (๑) (* ดูในหมายเหตุท้ายเรื่องนี้)
สังขารดับกลายเป็นสัมมาสังกัปโปขึ้น (๒)
พึงถือเอาใจความว่า อวิชชาเป็นธรรมชาติของสมุทัย
สังขารซึ่งอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น จึงเป็นสมุทัย สิ่ง
อื่นคือวิญญาณ นามรูปเป็นต้น ที่อาศัยสังขารเกิดขึ้น
ก็เป็นสมุทัยไปตามกันหมด (๓)
ส่วนวิชชาเป็นธรรมชาติของมรรคคือสัมมาทิฏฐิ
สังขารที่อาศัยวิชชาเกิดขึ้น จึงเป็นสัมมาสังกัปโป
เป็นองค์แห่งมรรค ตามสัมมาทิฏฐิไปเท่านั้น สิ่ง
อื่นคือสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต เป็นต้น
ที่อาศัยสัมมาสังกัปโปเกิดขึ้น จึงเป็นมรรคไปตาม
กันหมด (๔)
อธิบายว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้ทรงสั่งสอน
ให้สาวกเกลียดสังขาร ละสังขารเสียให้หมดก็หามิ
ได้ คือว่าสังขารส่วนใดที่อาศัยอวิชชาเกิดขึ้น ส่วน
นั้นแหละพระองค์ทรงสอนให้ละเพราะเป็นสมุทัย
สังขารส่วนใดที่อาศัยวิชชาเกิดขึ้น
เป็นชาติปุญญาภิสังขาร ดังทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ มรรค ผล เป็นต้น พระองค์จะได้สอน
ให้ละหามิได้ (๕) มีแต่ทรงสั่งสอนให้สาวกประกอบ
ให้เป็นให้มีขึ้น เป็นตัวปฏิปทาตรงทีเดียว ได้ใจความ
โดยย่อฉะนี้
เมื่อพระองค์พิจารณาปัจจยาการนี้เป็นอนุโลม
ปฏิโลม ทั้งส่วนสมุทัยวารและนิโรธวาร ในยามทั้ง
๓ แห่งราตรีวันวิสาขบุรณมีดิถีเพ็ญคล้ายกับวันนี้
ในปัจฉิมยามส่วนที่สุดแห่งราตรีวันนั้น พระองค์ได้
ให้วิปัสสนาญาณมีโคตรภูญาณเป็นที่สุดบังเกิดขึ้น
แล้ว จึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นวิสุทธขันธสันดานขึ้นในโลก
ในระหว่างกาลเพียงเท่านี้
ชื่อว่าโพธิสมภารสัมภรณะ เป็นเหตุสัมปทา
ส่วนพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระอริยสัจทั้งสี่
และทศพลญาณ สัพพัญญุตญาณ เป็นต้น
ชื่อว่าญาณสัมปทา ที่พระองค์เป็นวิสุทธขันธสันดานนั้น
แสดงว่าปหานสัมปทาอาศัยญาณและปหานะทั้ง ๒
นี้มีกำลังกล้า พระองค์จึงมีอำนาจด้วยวิถีจิต
ชื่อว่าอานุภาวสัมปทา ทั้งพระกายสมบูรณ์
ด้วยพระมหาปุริสลักษณะด้วย
ชื่อว่ารูปกายสัมปทา สัมปทาทั้งสี่นี้
เป็นผลสำเร็จมาแต่เหตุ คือพระกรุณา
และโพธิสมภารสัมภรณะ
พระคุณสมบัติคือผลสัมปทาทั้งสี่นี้ เป็นเหตุ
ให้พระองค์สำเร็จเป็นพระบรมศาสดา
เป็นอุบายเครื่องทรมานเวไนยสัตว์ อันมีจริตต่าง ๆ
กัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 03:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ผู้เป็นทิฏฐิจริตได้มาทราบพระญาณ
และการมละการบริสุทธิของพระองค์ ก็เกิด
ความเลื่อมใส ผู้เป็นตัณหาจริต เมื่อมาเห็นอานุภาพ
และมาเห็นพระรูปของพระองค์ ก็เกิด
ความเลื่อมใส
เพราะเหตุที่พระองค์ทรงพระคุณสมบัติ
เป็นอุบายแห่งทางทรมานเวไนยสัตว์บริบูรณ์
โดยรอบฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า สตฺถา
เทวมนุสฺสานํ ด้วยประการฉะนี้
เหตุนั้นจึงมีนิยมในมคธภาษาว่า นิโคฺรธปริมณฺฑโล
พุทฺโธ(๖) ว่าพระพุทธเจ้ามีปริมณฑล
ดังมณฑลแห่งไม้นิโครธดังนี้ มณฑลของไม้นิโครธ
นั้นก็คือกิ่งก้านสาขา
เป็นธรรมชาติของไม้มีปริมณฑลใหญ่ เป็นที่
เข้าระงับร้อนของสรรพสัตว์ประเภทหนึ่ง
มณฑลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ก็คือพระคุณสมบัติดังที่พรรณนาแล้ว หรืออย่าง
อื่นมีโพธิปักขิยธรรมเป็นต้น
เปรียบดังกิ่งก้านสาขาใบอ่อน ใบแก่
สำหรับปกคลุมลำต้น กล่าวคือตนของพระองค์
ให้เยือกเย็นอยู่เป็นนิตย์ เป็นนิมิตให้เวไนยสัตว์ได้
เข้าพึ่งพาอาศัย ระงับกระวนกระวาย หาย
ความเดือดร้อนได้
แท้จริงต้นโพธิก็ควรนับว่าเป็นต้นไม้มีมณฑล
ใหญ่เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น เมื่อพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสรู้ ก็ต้องไปอาศัยโพธิ
บางทีโพธิต้นนั้นจะเป็นต้นไม้มีปริมณฑลใหญ่
การที่อาศัยต้นโพธิเป็นที่ตรัสรู้นั้น บางที
จะหมายเหตุ ๒ ประการ ประการที่ ๑
เป็นอุบายชี้ทางแก่สาวก ว่ารุกขมูล
เป็นสิ่งสำคัญแก่บรรพชิต ประการที่ ๒ ดูเหมือน
จะบอกอุบายว่า ตนเองเป็นของสำคัญ ต้นโพธิ
เป็นต้นไม้อันอุดมด้วยกิ่งก้านสาขาใบอ่อนใบแก่
ชอุ่มพุ่มพวงมีร่มเงาอันเย็นสนิท ยังลำต้นของตน
ให้เย็นอยู่ทุกเมื่อด้วย จึงเป็นเหตุให้สัตว์เข้าอาศัยได้รับ
ความเยือกเย็นได้
ข้อนี้ฉันใด แม้พุทธสาวกทั้งหลายผู้หวังความสุข
ความเย็นแก่หมู่คณะ ก็พึงทำตนให้มี
ความสุขเยือกเย็นเสียก่อน จะได้เฉลี่ยความสุข
ความเย็นนั้นแก่บริษัทต่อไป ดูเหมือนจะชี้อุบาย
ไว้อย่างนี้ ถึงแม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ก็ทรงประพฤติเช่นนั้นเหมือนกัน
เมื่อพระองค์ยังร้อนอยู่
ด้วยอำนาจแห่งกิเลสมารเพียงไร พระองค์ก็ยังมิ
ได้ประกาศตนเป็นพระศาสดา ต่อเมื่อพระองค์
ได้ตรัสรู้ของจริงอันประเสริฐ คืออมตธรรม
สมบูรณ์ด้วยญาณและปหานและอานุภาวคุณ
ปราบมารกิเลสได้แล้ว พระองค์
ได้เสวยวิมุตติสุขอันไม่เจือด้วยอามิสเต็มที่แล้ว
พระองค์จึงทรงประกาศพระศาสนา เฉลี่ย
ความสุขความเย็นซึ่งเป็นของมีในพระองค์แก่สัตวโลก
อาศัยพระคุณสมบัติดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามา
ทั้งปวงนี้ เป็นเหตุให้พุทธบริษัทระลึก
ถึงพระคุณนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
พระองค์สมควรเป็นผู้สอนของเทพดาและมนุษย์
โดยแท้ ด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 04:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........
ในเทศนานัยที่รับพระราชทานถวายวิสัชนามานี้ ก็
เป็นแต่พรรณนาพระคุณสมบัติ คือเหตุและผลอัน
เป็นไปในส่วนพระองค์
ส่วนพระธรรมที่พระองค์ทรงแนะนำสั่งสอนเวไนยสัตว์
เป็นพระคุณสมบัติ คือสัตตูปการสัมปทานั้น ถ้า
จะบรรยายตามอาการแล้ว ต้องนับว่ามีมากที่สุด
แต่พระองค์ทรงประกอบพุทธกิจ
คือทรงแนะนำสั่งสอนให้สาวกมณฑลแพร่หลาย
ในพระธรรมวินัย สิ้น ๔๕ พรรษาเป็นกำหนด
พระองค์จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน มีปริยายมิ
ใช่อันเดียว เพราะพระองค์เป็นผู้ฉลาดในวิธีเทศนา
แต่โอวาทที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้น พระองค์
ได้ทรงประพฤติให้เป็นไปให้มีในพระองค์
เป็นพุทธจริยาทุกอย่าง คือ
ไม่เหลือวิสัยของกุลบุตรจะพึงทำตามได้
ในพุทธโอวาททั้งปวงนั้น ถ้าจะว่าโดยย่อเป็นข้อสำคัญ
อยู่ก็คือทรงสอนให้รู้จักอวิชชาและวิชชา ๒ อย่าง
เท่านั้น
ถ้าจะชี้ตามหลักในปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงเห็นว่า
เป็นเหตุด้วย เป็นปัจจัยด้วย ก่อให้เกิดสังขาร
เป็นลำดับไปจนถึงชาติ ชรา มรณะเป็นที่สุด อวิชชา
ในที่นี้ก็ดูเหมือนจะชี้ว่าไม่รู้จักตัวตนนั่นเอง แท้จริง
การที่ไม่รู้จักตนย่อมทำประโยชน์ให้เสื่อมเสียได้
ทั้งคดีโลกคดีธรรม ดังผู้ไม่รู้จักตนว่าเป็นอะไร
มีกำลังความสามารถเพียงไร
ควรแก่กิจการงานอย่างไร เพียง
เท่านี้ก็อาจทำกิจการงานในหน้าที่นั้น ๆ ให้เสื่อมเสียไป
ได้
ผู้รู้ตัวรู้ตน ชื่อว่าวิชชาตรงทีเดียว
ถ้ารู้ตนดีเพียงไร ก็อาจรักษากิจการงาน
ในหน้าที่ของตนให้ดีได้เพียงนั้น
ส่วนคดีธรรมตามพุทธประสงค์ บทว่าอวิชชา
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ก็หมายความว่าไม่รู้ตัว เหตุที่
ไม่รู้ตัวนั้นเอง จึงหลงไปในอำนาจแห่งสังขาร
ไปถือเอาอาการของสังขาร
คือวิญญาณนามรูปอายตนะเป็นต้น ว่าเป็นตัวเป็นตน
ผิดพุทธประสงค์ จึงต้องหมุนอยู่ในข่ายของอวิชชา
หาทางออกจากวิจิกิจฉามิได้
เดิมของตนก็เป็นอวิชชาอยู่แล้ว
ครั้นมาศึกษาตามพุทธภาษิตว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ว่าสังขารทั้งสิ้นไม่เที่ยง สังขารทั้งสิ้นเป็นทุกข์
ธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนดังนี้
ก็ไปเห็นเสียว่าธรรมทั้งสิ้น
เป็นอนัตตาสูญเปล่าไปหมด แต่ก็ไม่รู้ว่าอาการสูญ
นั้นเป็นอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 04:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ความจริง คำที่ว่าอนัตตาสูญเปล่าไม่ใช่ตัวตน
นั้น ท่านหมายส่วนสังขารธรรม ซึ่งเป็นของไม่มี
อยู่แต่เดิม ดังทองไม่มีในภูเขาทอง หรือดังแก้วไม่มี
ในกำแพงแก้วฉะนั้นต่างหาก ใช่ว่าภูเขาและกำแพง
จะสูญไปด้วยก็หาไม่ ข้อนี้ฉันใด แม้ส่วนสภาพธรรมที่
เป็นของมีอยู่แต่เดิม คือวิสังขารที่เป็นคู่กับอนัตตานั้น
จะสูญเปล่าไปอย่างไร
เมื่อเห็นสูญเห็นเปล่าไปเสียหมดแล้ว จะเอาอะไรมา
เป็นคู่กับอนัตตาเล่า จะมิเอาความสูญความเปล่านั้น
หรือมาเป็นพระนิพพานมาเป็นสรณะ ความสูญ
ความเปล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นของไม่มีอยู่แล้ว ถ้าของ
ไม่มีก็คงเป็นอันไม่รู้ เอาสิ่งที่ไม่มีไม่รู้มาเป็นอารมณ์
จะมิกลับตกคืนไปสู่ห้วงของอวิชชาอีกหรือ
ผู้ไม่รู้ตัวย่อมทำประโยชน์คุณความดี
และมรรคผลที่ตนควรได้ควรถึง
ให้เสื่อมเสียไปอย่างนี้
การที่รู้ตนอย่างต่ำเพียงแต่ว่าเราเป็นมนุษยชาติ
ภพชาติแห่งมนุษย์นี้เป็นชั้นสูงแม้ในพุทธภาษิตก็ได้ตรัส
ไว้ว่า กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์
มิใช่จะเป็นของได้ด้วยง่ายดังนี้ เพราะว่ามนุษยชาตินี้
เป็นต้นทางแห่งภพแห่งชาติทั้งปวง
ผู้จะได้รับทุกข์โทษในทุคติสถานมีอบายภูมิทั้ง ๔
เป็นต้น ก็ต้องไปจากมนุษย์นี้เอง ผู้จะได้เสวยสุขสมบัติ
ในสุคติสถาน เป็นเทวดา อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ก็
ต้องไปจากมนุษยชาตินี้เอง ผู้จะได้เสวยสุขสมบัติ
ในมนุษย์ แต่ชั้นต่ำตลอดขึ้นไปถึงชั้นสูง
มีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่สุด ก็ได้ในอัตภาพ
เป็นมนุษย์นี้เอง ผู้จะ
ได้บรรลุโลกุตรธรรมชั้นต่ำเพียงชั้นโสดาบันตลอดขึ้นไป
ถึงชั้นสูง มีพระสยัมภูสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุดนั้นก็ดี
ก็ต้องได้ในอัตภาพเป็นมนุษย์นี้เอง
และเห็นว่ามนุษยชาตินี้เป็นชาติกายสิทธิ์แท้
เจตนากรรมเป็นของอาจให้สำเร็จกิจตามประสงค์
ได้ทุกนาที ต่างกันอยู่ก็ด้วยอำนาจกุศลากุศล แต่ง
ให้สำเร็จยิ่งและหย่อนตามชั้นตามภูมิของตนเท่านั้น
เมื่อเห็นได้อย่างนี้ก็เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม
เพราะมีตนที่เป็นปัจจุบันนี้เป็นพยาน คือสุข ทุกข์ มี จน
ได้ เสีย ซึ่งเป็นอยู่นี้สำเร็จมาแต่เหตุ
ได้แก่กิจการงานที่ตนทำมาด้วยเจตนาดีและเจตนาชั่ว
นั้น
เมื่อเห็นอดีตกรรมในชาตินี้ได้แล้ว
ก็อาจเล็งเห็นกรรมส่วนอดีตได้โดยอนุมานว่า
ภพชาติของมนุษย์นี้เป็นชั้นสูง ที่สัตว์จะพึ่งได้ก็
ต้องอาศัยเจตนากรรมที่สูง มีกุศลกรรมบถ
หรือทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น เป็นผู้ตกแต่ง
ให้ประณีตและเลวทรามตามชั้นตามภูมิของตน
โดยไม่ต้องสงสัย
เมื่อเห็นอดีตได้แล้ว จะเล็งไปในอนาคตก็
ต้องดูปัจจุบันเป็นพยานเหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 04:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........เมื่อเราตั้งอยู่ในสุจริตอย่างนี้
และหมั่นประกอบกิจการงานอยู่อย่างนี้ ถึงแม้เรา
จะมีชีวิตยืนอยู่เพียงใด ก็คงจะได้รับผลเป็นสุข
อยู่เพียงนั้นโดยไม่ต้องสงสัย ถ้าเห็นอนาคตในชาตินี้ได้
แล้ว ถึงแม้อนาคตต่อภพต่อชาติไปก็พอจะเล็งเห็นได้
โดยอนุมาน ว่าความดีที่เราให้เป็นอยู่ในชาตินี้
เป็นตัวเหตุจะแต่งให้ผลเป็นชั่วไป ข้อนั้นมิใช่วิสัย คือ
เป็นไปไม่ได้เป็นแท้ เมื่อเชื่อเหตุเชื่อผลอย่างนี้ก็
เป็นตัวกัมมัสสกตาญาณโดยชัดเจน
เมื่อเชื่อแน่ว่ากรรมเป็นของของตนเช่นนั้น ก็อาจทำตน
ให้เป็นที่พึ่งแก่ตนทั้งชาตินี้ชาติหน้า
การที่รู้ตนเพียงชั้นต่ำ ๆ เท่านี้ ก็อาจทำที่พึ่งแก่ตน
ได้ตามภูมิของตน จึงชื่อว่า ความรู้ตนเป็นตัววิชชาแท้
ถ้ารู้ตนชั้นสูง ก็คือโลกุตรวิชชาตรงทีเดียว ไม่
ต้องสงสัย รับพระราชทานแก้ไขในอวิชชา
และวิชชาโดยสังขิตนัยพอเป็นธรรมสวนานิสงส์
ให้จบลงโดยกถามรรคเพียงเท่านี้
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ............อุตฺตมํ ธมฺมมชฺฌคา
มหาสงฺฆํ ปโพเธสิ ............. อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ ..... นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
อญฺญมญฺญาวิโยคาว ......... เอกีภูตมฺปนตฺถโต
พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา ...... ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต
สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส ..... อิจฺเจกาพทฺธเมวิทํ
วิสุทฺธํ อุตฺตมํ เสฏฐํ ........... โลกสฺมึ รตนตฺตยํ
สํวตฺตติ ปสนฺนานํ .............. อตฺตโน สุทฺธิกามินํ
สมฺมา ปฏิปชฺชนฺตานํ ......... ปรมาย วิสุทฺธิยา
วิสุทฺธิ สพฺพเกลเสหิ .......... โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ
นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ ...........นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน ............ สุวตฺถิ โหตุ สพฺพทา
รตนตฺตยานุภาเวน ............ รตนตฺตยเตชสา
อุปทฺทวนฺตรายา จ ............ อุปสคฺคา จ สพฺพโส
มา กทาจิ สมฺผุสึสุ ............ รฏฺฐํ สฺยามานเมวิทํ
อาโรคิยสุขญฺเจว .............. ตโต ทีฆายุตาปิจ
ตพฺพตฺถูนญฺจ สมฺปตฺโย ...... สุขํ สพฺพตฺถ โสตฺถิ จ
ภวนฺตุ สมฺปวตฺตนฺตุ ........... สฺยามานํ รฏฺฐปาลินํ
เต จ รฏฺฐปาลีหิ ............... ธมฺมามิเสหิ ปูชิตา
สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ .......... สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ .......... สมฺปสาทนเจตโส.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 04:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้บรรลุธรรมอันอุดมแล้ว ยังสงฆ์หมู่ใหญ่
ให้ตรัสรู้ตาม ตื่นจากกิเลสนิทรา เบิกบาน
ด้วยปรีชาคุณขึ้นได้ ๓ นี้เป็นพระรัตนตรัย
อันอุดมสูงสุดกว่ารัตนะอื่นๆ พระรัตนตรัยนั้นแม้ถึง
จะต่างโดยวัตถุว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ดังนี้ก็จริงอยู่แล
แต่ไม่แยกจากกันได้
เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระธรรมก่อน
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม พระธรรมเล่าพระสงฆ์
ได้จำทรงไว้แล้ว
พระสงฆ์เล่าก็สาวกของพระพุทธเจ้า รัตนะทั้ง ๓
เนื่องเป็นอันเดียวกันฉะนี้ รัตนะทั้ง ๓ นี้บริสุทธิ์สูงสุด
ในโลก ย่อมเป็นไปด้วยดีเพื่อความบริสุทธิ์อย่างยิ่งแก่
ผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ใคร่ความบริสุทธิ์แก่ตนปฏิบัติอยู่
โดยชอบ ความบริสุทธิ์หมดจากกิเลส เป็นนิพพุติดับ
จากทุกข์ทั้งหลาย นิพพานเป็นธรรมชาติสูญ
จากกิเลสอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ด้วยสัจจวาจาภาษิตที่กล่าวอ้างคุณพระรัตนตรัยนี้
ขอสิริสวัสดิพิพัฒนชัยมงคล
พระชนมสุขอิฐวิบุลผล
จงเกิดมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
กับทั้งพระบรมราชวงศ์และรัฐจังหวัด
ด้วยเดชานุภาพพระรัตนตรัย จงเป็นปฏิพาหโนบาย
กางกั้นซึ่งอุปัทวันตรายและอุปสรรคขัดข้อง
ทั้งหลาย อย่าได้ถูก
ต้องพ้องพานสยามรัฐมหาชนบทนี้ในกาลไหน ๆ
จงปราศไกลด้วยประการทั้งปวง ขอความเป็นผู้
ไม่มีโรคและความสุขสำราญ และความเป็น
ผู้มีอายุยืนนาน และความถึงพร้อมแห่งวัตถุทั้งหลาย
อันจะเกื้อกูลแก่ความไม่มีโรคและความเป็นสุข
ความเป็นผู้มีอายุยืนนาน
ทั้งสุขโสมนัสสวัสดิสุภวิบุลผล
จงเกิดมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
กับทั้งบรมราชวงศ์
ซึ่งอภิบาลดำรงสยามรัฐมหาชนบทนี้ในที่ทุกสถาน
ขอเทพเจ้าผู้อภิบาลสยามรัฐมณฑล
ตั้งต้นแต่เทพเจ้าผู้สิงสถิตในพระบรมราชนิเวศน์
ที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
และพระบรมราชวงศ์
ผู้ดำรงสยามรัฐมหาชนบทนี้ ได้บูชาแล้ว
ด้วยธรรมพลีและอามิสพลี
จงตั้งไมตรีจิตอภิบาลรักษาสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
กับทั้งพระบรมราชวงศ์
และสยามรัฐราชอาณาจักรให้สถาพร
ดำรงมั่นพ้นสรรพพิบัติอุปัทวันตราย
เป็นนิตย์นิรันดร
สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ ..... สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ ..... สมฺปสาทนเจตโส
ขอผลที่อภิปรายนี้ จงเป็นผลสัมฤทธิ์ จง
เป็นผลสัมฤทธิ์ จงเป็นผลสัมฤทธิ์
แด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ผู้มีพระราชหฤทัยเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้
สมพระบรมราชประสงค์ทุกประการ
สมฺมาธารํ ปเวจฺฉนฺโต ..... กาเล เทโว ปวสฺสตุ
อนึ่ง ขออานุภาพพระรัตนตรัยอันอุดมสูงสุด
และอานุภาพทานศีลภาวนามัย
และอานุภาพอิทธิวิสัยแห่งเทพเจ้าทั้งปวง
จงบันดาลมหาเมฆให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
เพิ่มพรรษธารทั้งพสุธาดล ให้มนุษยนิกร
และสรรพสัตว์ซึ่งอาศัยแผ่นดินพึ่งฝน ได้เลี้ยงชีพ
ด้วยปุพพัณณาปรัณณผลและมูลผลาหาร
สมบูรณ์โดยสะดวกทุกสถานทั่วเมทนีมณฑล อย่า
ให้พิบัติพิการด้วยธัญญาหาร
และพฤกษวัลลีลดาผลเกิดมีขึ้นได้
และจงอภิบาลสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ให้ทรงพระสถาพรนฤมลในพระสิริราชสมบัติ
ทรงเจริญ
ด้วยพระชนมสุขพระราชสิริสวัสดิพัฒนมงคลศุภอรรถอิฐวิบุลผล
ดังพระราชหฤทัยประสงค์ทุกประการ
ดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามา
ด้วยประการฉะนี้
รับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา
พอสมควรแก่กาลเวลา ขอถวายพระพร.
...........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร