วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 00:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อริยธนกถา

(เรียบเรียงตั้งแต่ยังเป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี
ตรวจพิมพ์ใหม่เมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๘)
ยสฺส สทฺธา ตถาคเต ............... อจลา สุปติฏฐิตา
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ .............. อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ............. อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ ................. อโมฆนฺตสฺส ชีวิตนฺติ.
..........บัดนี้จักพรรณนาทรัพย์ ๔ ประการ
อันพระอริยเจ้าพึงสงวน แม้พวกเราเหล่าพุทธบริษัท
ก็ควรจะสำเหนียกจำทรงไว้ แล้วบำรุงให้เกิดให้มีในตน
เพราะเป็นทรัพย์ภายใน ด้วยว่าทรัพย์ภาย
ในย่อมสำคัญกว่าทรัพย์ภายนอก
ทรัพย์ภายนอกคือแก้วแหวนเงินทองสรรพวัตถุทั้งสิ้น
เป็นเหตุแห่งสุขก็ได้ เป็นเหตุแห่งทุกข์ก็ได้
โดยที่สุดแต่ร่างกายของเรา ก็ต้องนับว่า
เป็นทรัพย์ภายนอกได้เหมือนกัน
กุศลากุศลจึงควรนับว่าเป็นวัตถุภายในแท้
เพราะว่าวัตถุภายนอกทั้งสิ้นเป็นคติแห่งสังขาร บางคราว
ได้บางคราวเสีย บางคราวสมประสงค์ บางคราว
ไม่สมประสงค์ ถ้าสมประสงค์ก็ได้ความยินดีชื่นอกชื่อใจ
ถ้าไม่สมประสงค์ก็ได้รับความเศร้าโศกเสียใจ
แม้ร่างกายของเรานี้ก็เช่นเดียวกัน บางคราวก็สมประสงค์
บางคราวก็ไม่สมประสงค์
ส่วนความแก่ความป่วยไข้ความตาย ๓ ประเภทนี้ อัน
ผู้ปรารถนาจะไม่พึงได้สมประสงค์อย่างเอก แม้สิ่ง
อื่นหมื่นแสนสมประสงค์ทุกประการ เมื่อความ
ไม่สมประสงค์คือ ความป่วยไข้หรือ
ความตายแต่อย่างเดียวมาถึงเข้า ก็จะพึงตัด
ความประสงค์อย่างอื่นตั้งหมื่นตั้งแสนให้สิ้นสูญไป
ได้หมด
พระบรมศรีสุคตผู้เป็นพระบรมศาสดาจารย์ จึง
ได้ตรัสประทานพระบรมพุทโธวาทไว้ในปัพพโตปมสูตร
ยกชรามรณะขึ้นเปรียบด้วยภูเขามีใจความว่า ภู
เขาศิลาแท่งทึบทั้งใหญ่ทั้งสูงจดนภากาศ
กลิ้งหมุนบดสรรพสัตว์เข้ามาทั้ง ๔ ทิศ
ไม่ว่างเว้นแก่สัตว์จำพวกไหน หมู่
อยู่ห่างออกไปก็ละเอียดไปก่อน หมู่อยู่ใน
เข้ามาหน่อยก็ละเอียดตาม ๆ กันเข้ามา ไม่ยกเว้น
ให้หลอเหลือ
ข้ออุปมานี้ฉันใด ความแก่ความตายก็ครอบงำย่ำยีสัตว์
ทั้งหลายไม่มีส่วนยกเว้น จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์
ศูทร จัณฑาล คนมั่งมีหรือคนยากจน ไม่ถือว่าเด็กหรือผู้
ใหญ่ คนพาลหรือบัณฑิต ย่อมครอบงำย่ำยีเสียสิ้นทั้งนั้น
เช่นเดียวกันกับภูเขาอันท่านเปรียบไว้ฉะนั้น ถึงจะแก้ไข
ด้วยการสู้รบชิงชัยหรือถ่ายถอนด้วยทรัพย์เป็นอัน
ไม่สำเร็จด้วยประการทั้งปวง
เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิตเมื่อพิจารณาตาม
เห็นว่าตนเป็นสัตว์ตกอยู่ในอำนาจแห่งชราและมรณะเช่น
นั้น พึงหยั่งความเลื่อมใสลงในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นการแน่นอน
ผ่อนผันกายวาจาใจของตนให้พ้นจากกรรมอันลามก ที่
เป็นเหตุนำมาซึ่งความเศร้าหมอง
ผู้ประพฤติสุจริตกิจชอบด้วยกายวาจาใจได้แล้ว
ตนของตนก็จะพึงเกิดความยินดี โดยเห็นว่าไม่เสียทีที่
ได้ภพ ได้ชาติมาเป็นมนุษย์ แม้บัณฑิตผู้มีปัญญาก็
จะพึงสรรเสริญ ผู้ที่ได้รับความสุขและ
ความสรรเสริญแต่นักปราชญ์ในชาตินี้ แม้ละโลกนี้ไป
แล้วก็จักได้ความสุขสำราญชื่นชมยินดีในโลกเบื้องหน้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 00:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลผู้จักประพฤติสุจริตด้วยกายวาจาใจได้ ก็
ต้องอาศัยศรัทธาความเชื่อ คือเชื่อต่อกรรม
เชื่อผลของกรรม และเชื่อว่ากรรมเป็นของของตนแท้
การที่จะเชื่อนั้นเล่า ก็ต้องอาศัยด้วยการคบหาสมาคม
ด้วยกัลยาณมิตร ได้รับภาษิตอันท่านที่เป็นบัณฑิต
ช่วยแนะนำตักเตือนแล้ว อาศัยตรองตามเห็นจริงแล้ว
ตั้งใจปฏิบัติจนเห็นผลในความปฏิบัติของตนเอง
ความเชื่อก็ตั้งมั่นขึ้น
ความเชื่อนี้จึงเป็นอริยทรัพย์ประการหนึ่ง
ตามประเภทแห่งอริยทรัพย์ซึ่งได้ยกอุเทศขึ้นไว้
ในเบื้องต้นว่า ยสฺส สทฺธา ตถาคเต เป็นอาทิ ความว่าผู้
ใดมีศรัทธา ความเชื่อเป็นไปมั่น ในคุณ
ความตรัสรู้แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยสิ้นสงสัยว่าพระองค์เป็นพระ อรหัง ผู้ไกลกิเลส แม้
ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงคุณธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นอาทินี้
และเชื่อว่าพระองค์เป็นพระ สัมมาสัมพุทโธ
ด้วยเหตุที่พระอริยสัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ
มรรค อันศาสดาอื่นในโลกไม่มีใครสามารถ
จะยกขึ้นบัญญัติชี้แจงแสดงได้ พระองค์เป็นผู้
สามารถยกขึ้นชี้แจงแสดงได้
และเชื่อว่าพระองค์เป็น วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ผู้สมบูรณ์
ด้วยวิชชาและจรณะ ด้วยเหตุที่วิชชา ๓ และวิชชา ๘
และจรณธรรม ๑๕ ประการ เป็นตัวคุณธรรมประกาศ
ในพระองค์ให้โลกแลเห็นว่า
พระองค์ทรงพระคุณธรรมอย่างนี้
และเชื่อว่าพระองค์เป็น สุคโต ผู้ไปดีแล้ว
ด้วยเหตุที่พระองค์เมื่อยังมีพระชนม์อยู่ เสด็จไป
ยังประเทศใด และพระราชอาณาจักรใด ย่อม
ไม่ไปขัดขวางต่อการปกครอง
และขนบธรรมเนียมของประเทศนั้น ๆ และอาณาจักรนั้น
ๆ และได้ทรงประกาศโอวาทคำสั่งสอนให้ประชุมชน
ในประเทศนั้น ๆ ได้รับปฏิบัติตาม แล้ว
ได้บรรลุมรรคผลสุขประโยชน์ตามความสามารถของตน
ๆ ประเทศใดที่พระองค์เสด็จไปแล้วก็อยาก
ให้เสด็จไปอีก ประเทศที่พระองค์ยัง
ไม่เคยเสด็จก็อยากเชิญเสด็จไป
เพราะพระองค์เสด็จไปดีอย่างนี้
และเชื่อแน่ว่าพระองค์เป็น โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก แม้
ด้วยเหตุที่โลกต่าง ๆ มีหลายอย่างหลายประการ คือ
สัตวโลก ธาตุโลก อากาศโลก หรือกามโลก รูปโลก
อรูปโลก อุตรโลก เป็นอาทิ ย่อมแจ่มแจ้งแก่พระองค์
ทั่วไปดังนี้
และเชื่อว่าพระองค์เป็น อนุตฺตโร ปุริสทมฺสารถิ ผู้
เป็นดังนายสารถีทรมานบุรุษและสตรี ยิ่งกว่าสารถีใด ๆ
หมด แม้ด้วยเหตุที่ผู้ได้รับทรมานแล้วเห็นผลด้วยตน
ดังพุทธบริษัทผู้ได้รับทรมานด้วยทาน ด้วยศีล ด้วยสมาธิ
ด้วยปัญญา เห็นผลจำเพาะตนแล้ว ไม่มีถอยหลัง
มีแต่ก้าวขึ้นไปเบื้องหน้าร่ำไป เว้นแต่ผู้ที่ยังไม่
ได้รับทรมาน ถึงความจริงเท่านั้น
และเชื่อแน่ว่าพระองค์เป็น สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พระองค์
เป็นศาสดาผู้สั่งสอน เป็นหัวหน้าของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุที่พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ ซึ่ง
เป็นพุทธบัญญัติ พุทธโอวาทประกาศแก่เหล่าพุทธบริษัท
เป็นพยานอยู่อย่างนี้
และเชื่อว่าพระองค์เป็น พุทโธ ผู้ตรัสรู้แล้ว แม้ด้วยเหตุที่
ผู้รับศาสนทายาท ได้รับปฏิบัติเห็นผลแจ้งประจักษ์แก่ตน
จนพุทธศาสนาล่วงไปแล้วถึง ๒๔๐๐ ปีเศษ ก็ยัง
ไม่มีอาการเสื่อมทรามแก่ผู้ปฏิบัติ เห็นปรากฏอยู่อย่างนี้
และเชื่อแน่ว่าพระองค์เป็น ภควา ผู้มีภาคคือธรรม
เป็นเครื่องแจกจ่าย แม้ด้วยเหตุที่ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
อันพุทธบริษัทได้รับแจกนำไปปฏิบัติทั่วหน้ากัน
เป็นเครื่องหมายประกาศให้รู้ทั่วกันอยู่อย่างนี้
พระคุณนามทั้ง ๙ ประการนี้ จะให้เกิด
ความเชื่อแก่พุทธบริษัทเป็นอจลศรัทธา ก็
เพราะอาศัยคบสัตบุรุษ ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ตรองตามธรรมของสัตบุรุษ ปฏิบัติตามธรรมของสัตบุรุษ
เห็นผลขึ้นในตน เชื่อตนว่าพระคุณธรรมทั้ง ๙
ประการนี้มีที่ตน ตนเป็นผู้มาทรงไว้แม้ด้วยเหตุนี้ ๆ
อย่างนี้จึงเป็น อจลา สุปติฏฺฐิตา เป็นศรัทธาตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว เป็น สทฺธาธนํ ประการที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 00:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ผู้
ใดมีกัลยาณศีล คือ ศีลดี
ศีลงามที่พระอริยเจ้ารักใคร่สรรเสริญ เมื่อย่นลงให้สั้น
ได้แก่ จตุปาริสุทธิศีล ศีลมีส่วนบริสุทธิ์ ๔
คือปาฏิโมกขสังวรศีล ๑ อินทรียสังวรศีล ๑
ปัจจัยสันนิสิตศีล ๑ อาชีวปาริสุทธิศีล ๑
ในศีล ๔ ประเภทนี้ ถ้าจะให้สาธารณะทั่วไป
คือรักษาเต็มได้ทุกหมู่เหล่า ต้องยกกายกรรม ๓ วจีกรรม
๔ ขึ้น ในส่วนปาฏิโมกขสังวรศีล ระวังทวารทั้ง ๖
เป็นอินทรียสังวรศีล พิจารณาปัจจัยแล้วจึงบริโภค
เป็นปัจจัยสันนิสิตศีล ให้ชีวิตเป็นอยู่โดยความบริสุทธิ์
เป็นอาชีวปาริสุทธิศีล ในที่นี้กล่าวไว้แต่โดยเพียงเท่านี้
ผู้อ่านผู้ฟังพึงตรองให้เข้าใจ คือให้เห็นขึ้น
ในตนทุกประเภท
จะอธิบายโดยย่อพอเป็นทางตรึกตรองไว้สักประเภทหนึ่ง
ในข้อ ๔ ที่ว่าอาชีวปาริสุทธิศีล คือ ศีลที่ให้ชีวิตเป็นอยู่
โดยความบริสุทธิ์นั้น พึงเข้าใจว่าสัมมาอาชีโว
เป็นยอดศีล คือเป็นอริยศีล อริยมรรค
เพราะว่าร่างกายนี้เป็นอยู่ด้วยอาหาร ถ้าอาหารเป็นบาป
ร่างกายเราก็เป็นบาป ถ้าอาหารเป็นบุญ ร่างกายเราก็
เป็นบุญ เพราะว่าร่างกายเป็นขึ้นด้วยอาหาร เป็นอยู่
ด้วยอาหาร ถ้าแสวงหาเป็นบาป ได้มาเป็นบาป
คือเบียดเบียนความสุขของผู้อื่นได้มา ชื่อว่าได้มา
เป็นบาป ถ้าเราบริโภคของที่ได้มาด้วยการทำบาป
นั้นชื่อว่ากินบาป เนื้อหนังร่างกายทั้งสิ้น เกิดแต่อาหารที่
เป็นบาป ก็เกิดเป็นเนื้อบาปหนังบาปด้วยกันสิ้น ชื่อว่า
มิจฉาอาชีโว
ถ้าเราแสวงหาเป็นบุญ ได้มาเป็นบุญ คือแสวงหา
ด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เว้นจากการเบียดเบียนท่านผู้อื่น
อาศัยการซื้อหาแลกเปลี่ยน โดยทางสุจริต เขา
ได้ของเราไปเขาก็ดีใจ เราได้ของเขามาเราก็ดีใจ อย่างนี้
ชื่อว่าแสวงหาบุญ ถ้าเราบริโภคอาหารที่ได้มา
เป็นบุญอย่างนี้ ชื่อว่า กินบุญ
เนื้อหนังร่างกายที่อาศัยอาหารซึ่งเป็นบุญเกิดขึ้น ก็
เป็นเนื้อบุญหนังบุญไปตามกันหมด เมื่อร่างกายเป็นบุญ
แล้ว ใจก็ต้องเป็นบุญไปตามกัน จึงชื่อว่าสัมมาอาชีโว
ถ้ากายวาจาใจเป็นอาชีวปาริสุทธิศีลได้เมื่อไร
ผู้ปฏิบัติก็รู้ตนเห็นตน รู้ศีลรู้ธรรมที่ตนอย่างนี้ ชื่อว่า
สีลธนํ เป็นอริยทรัพย์ประการที่ ๒
.......... สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ผู้ใดมีความเลื่อมใส
ในคุณความประพฤติปฏิบัติดีของพระสงฆ์โดยแน่นอน
ก็คือเห็นข้อปฏิบัติคือสีลวิสุทธิอันตนได้บำเพ็ญมาแล้ว
ดังประเภทอริยกันตศีลที่ได้แสดงมาแล้วนั้น มีในตน
เป็นพยานในตน ก็เห็นคุณของพระสงฆ์ว่า
ท่านปฏิบัติดีอย่างนี้ ปฏิบัติตรงอย่างนี้ จึง
เป็นของควรอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริง ไม่มีการดูถูกดูหมิ่น
ได้ เพราะเห็นคุณความปฏิบัติดีของพระสงฆ์ปรากฏขึ้น
ในตนอย่างนี้ จึงมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ยิ่งนัก ชื่อว่า
สงฺฆปสาทนํ เป็นอริยทรัพย์ประการที่ ๓
..........อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงต่อธรรมตาม
เป็นจริงแล้ว อย่างไรคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
พระสังฆคุณ ซึ่งตนได้ถึงแล้วให้เกิดผลขึ้นแก่ตน
ด้วยประการใด ตนได้รับผลคือความสุขด้วยประการใด
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เกี่ยวเนื่องกัน
เป็นอันเดียวด้วยประการใด ตนก็รู้จริงเห็นตามความ
เป็นจริงอย่างนั้น อย่างนี้ชื่อว่าเห็นตรงต่อธรรม เป็น
ปญฺญาธนํ เป็นอริยทรัพย์ประการที่ ๔
..........ทรัพย์ทั้ง ๔ ประการนี้ คือ สทฺธาธนํ
ทรัพย์คือศรัทธา ๑ สีลธนํ ทรัพย์คือศีล ๑ สงฆปสาทนํ
ทรัพย์คือความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ๑ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
ทรัพย์คือความเห็นตรงธรรม ชื่อ ปญฺญาธนํ ๑ ทรัพย์ทั้ง
๔ ประการนี้มีบริบูรณ์ในบุคคลผู้ใด นักปราชญ์ในโลก
มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานได้กล่าวไว้แล้วว่า
อทลิทฺโท เป็นผู้ไม่ยากไม่จน อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ชีวิตของ
ผู้นั้นไม่เปล่าจากประโยชน์ดังนี้ อธิบายว่า บุคคลผู้ใด
ถ้ามีอริยทรัพย์เหล่านี้ในตน ชื่อว่าบริบูรณ์
ด้วยสมบัติภายในเป็นสมบัติอันถาวร ถึงสมบัติภายนอก
ไม่มีกะเขาบ้างเลยก็ไม่อดตาย อาจบำรุงน้ำจิตให้ชุ่มชื่น
อยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์
สมบัติคืออริยทรัพย์นี้ ไม่มีเวลาที่จะนำ
ความโศกเศร้าเสียใจมาให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของเลย
หากบุคคลผู้ใดมีอัชฌัตติกสมบัติ คืออริยทรัพย์นี้เต็มที่
ซ้ำมีพาหิรสมบัติ คือสมบัติภายนอกมาประกอบกันเข้า
ด้วย ก็ยิ่งมีความสุขเป็นมหาเศรษฐีใหญ่
ถ้ามีแต่พาหิรสมบัติอย่างเดียว ถึงจะมีมากเท่าไร ก็กัน
ความเป็นคนยากจนไม่ได้ สมบัติที่มีอยู่นั่นแล จะนำเอา
ความโศกเศร้าเสียใจมาให้สักวันหนึ่งเป็นแน่นอน
..........เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
ผู้มีปัญญาพึงแสวงหาอริยทรัพย์ให้มีในตน ก็จะพ้นจาก
ความเป็นคนยากคนจนทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ดังวิสัชนามาด้วยประการฉะนี้แล.
................................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร