วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

นิสสัยโกศลนวกานุศาสน์

นมตฺถุ รตนตฺยสฺเสว สิริจนฺโทตินามโก
นิสฺสยเภทํ ปวกฺขามิ สิสฺสานํ สุขโพธิยา.
บัดนี้จักแสดงนิสสยประเภท พอ
เป็นทางศึกษาแห่งภิกษุสามเณรซึ่งบรรพชาอุปสมบทใหม่
เมื่อเข้าใจแล้วจะได้ปฏิบัติตาม คำที่ว่านิสัย ๆ นั้น
เป็นของละเอียดสุขุมยากที่จะเข้าใจได้
ในเบื้องต้นควรศึกษาพุทธนิสัยก่อน
ด้วยเราบรรพชาอุปสมบท ย่อมเพ่งเฉพาะพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ หรืออุทิศเฉพาะพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ สามรัตนะว่าเป็นที่พึ่ง แต่พุทธนิสัยนั้น
เป็นของละเอียดสุขุมภัมภีรภาพ
เหลือปัญญาของพวกเราที่เป็นปุถุชนจะพรรณนาได้
จะพรรณนาได้ก็แต่เพียงกำลังความรู้ของตน ๆ
รู้มากพรรณนาได้มาก รู้น้อยพรรณนาได้น้อย ที่จะ
ให้สิ้นสุดนั้นเป็นอันเหลือวิสัย
ที่จะแสดงต่อไปนี้ในส่วนที่เป็นมุขปฏิบัติ พอที่
จะตรองตามได้ เพราะเป็นบุรพนิสัย บุรพนิสัยนั้นมี ๑๐
ประการ คือ
๑. ทาน การให้การสละ
๒. ศีล การระวังอินทรีย์
๓. เนกขัมมะ การออกจากกาม
๔. ปัญญา เจตสิกธรรมเครื่องรู้จริงตามสภาพ
๕. วิริยะ การอาจหาญต่อความเพียร
ไม่ลุอำนาจแห่งโกสัชชะ
๖. ขันติ การอดทน
๗. สัจจะ การประพฤติจริง
๘. อธิฏฐานะ การตั้งจิตมั่น
๙. เมตตา การเผื่อแผ่ความสุขทั่วไป
๑๐. อุเบกขา การเป็นกลางต่ออารมณ์ทั่วไป
ธรรมประเภท ๑๐ อย่างนี้ พระพุทธเจ้า
ได้ทรงบำเพ็ญมาเต็มที่ คืออย่างต่ำ อย่างกลาง
อย่างอุกฤษฏ์ จึงมีนามปรากฏว่าพระบารมี ๓๐ ทัศ
เมื่อเข้าใจว่าพระบารมี ๓๐ ทัศนี้ มีในพระพุทธเจ้าจริง ก็
จะรู้จักนิสัยของพระพุทธเจ้า
เมื่อรู้ชัดว่าพระพุทธเจ้ามีนิสัยอย่างนี้ ปรารถนา
จะถือนิสัยของพระองค์ ก็ต้องทำตามอย่าง คือทำให้นิสัย
นั้น ๆ มีในตน ถ้าทำได้เพียงอย่างต่ำอย่างกลาง ก็
เป็นแต่โพธิสัตโต ถ้าทำตามได้อย่างอุกฤษฏ์ ก็คง
เป็นพุทธะตามพระองค์ เรียกว่า สาวกพุทธะ
ความเป็นจริงธรรม ๑๐ ประการนี้ ย่อม
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เกื้อกูลอุดหนุนซึ่งกันและกัน
เป็นองค์อวัยวะแห่งพระอริยมรรค ใช่อื่นคือ ศีล สมาธิ
ปัญญานั้นเอง ทานศีลคงย่นลงในสีลขันธ์ วิริยะ ขันติ สัจ
จะ อธิฏฐานะ เมตตา อุเปกขา คงย่นลงในสมาธิขันธ์
เนกขัมมะ ปัญญา คงย่นลงในปัญญาขันธ์
เมื่อเข้าใจว่า สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ทั้ง ๓ นี้
เป็นขันธ์ของพระพุทธเจ้า ทีนั้นก็จะรู้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
นั้นเอง เป็นนิสัยของพระพุทธเจ้า ปรารถนา
จะถือพุทธนิสัย ก็ต้องทำกายวาจาใจของตนให้
เป็นสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
เมื่อปัญญาเจตสิกอันสัมปยุต
ด้วยสัมมาทิฏฐิญาณทัสสนะบังเกิดขึ้น วินิจฉัยตัวเอง
ได้ว่า สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ซึ่งเป็นของ
เนื่องมาแต่พระพุทธเจ้า ได้มาสู่กายวาจาใจของตนแล้ว ที
นั้นก็จะรู้ด้วยตนว่า นิสัยพระพุทธเจ้าได้ติดแก่ตนแล้ว ตน
ได้ขันธ์ของพระพุทธเจ้ามาไว้เป็นที่พึ่งแล้ว เบื้องหน้าแต่
นั้นไป ก็ต้องตั้งใจรักษาขันธ์ทั้ง ๓ ซึ่งตนได้มาด้วย
ความลำบากนั้น ให้เป็นปกติตามสภาพ ให้
เป็นสุปฏิปันโนบุคคลไป การที่
จะตรวจตรองนิสัยพระพุทธเจ้านั้นเป็นของยากยิ่งนัก
เพราะนิสัยของพระพุทธเจ้าละเอียด นิสัยของเราหยาบ
เหตุนั้น จึงต้องศึกษาตรวจตรองตามนิสัยที่จะพอแลเห็น
ด้วยง่าย ดังที่แสดงมาแล้วมีบารมี ๑๐ เป็นต้น จนถึง ศีล
สมาธิ ปัญญา
สีลขันธ์ กำจัดโลภ โกรธ หลง ซึ่ง
เป็นอกุศลมูลกิเลสอย่างหยาบ มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น ออก
จากกายวาจาใจได้
สมาธิขันธ์ กำจัดโลภ โกรธ หลง ซึ่ง
เป็นอกุศลมูลกิเลสอย่างกลาง มีกามฉันท์เป็นต้น ออก
จากกายวาจาใจได้
ปัญญาขันธ์ กำจัดโลภ โกรธ หลง ซึ่ง
เป็นอกุศลมูลกิเลสอย่างละเอียด ชื่ออนุสัย ซึ่งตามนอน
อยู่ในขันธสันดาน ออกจากกายวาจาใจได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อตรองตามเห็นความจริงชัดใจขึ้น สิ้นสงสัย
เห็นอำนาจแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ว่า
เป็นเครื่องกำจัดกิเลส ทำให้ขันธสันดานของพระพุทธเจ้า
ถึงความบริสุทธิ์ได้จริง เมื่อชัดใจอย่างนี้แล้ว
พระคุณนามทั้ง ๙ ประการ มีอรหังเป็นต้น
ที่เคยเล่าบ่นไหว้พระสืบ ๆ กันมา ก็จะส่องเนื้อ
ความชี้พยานขึ้นในตน ดังคำว่า “อิติปิ โส ภควา อรหํ”
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์เป็นพระอรหันต์
ผู้ควรเคารพ หรือผู้ควรรับการเคารพ แม้เหตุนี้ คือ
ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา นี้เป็นเหตุ
ทำกายวาจาใจของพระองค์ให้ถึงความบริสุทธิ์ คือให้
เป็นพระอรหังดังนี้ ทีนั้นก็จะรู้ว่าอรหังนี้
เป็นวิสุทธนิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
เพราะวิสุทธนิสัยคืออรหัง มีในพระองค์ พระองค์
จึงทรงพระนามว่า “สมฺมาสมฺพุทฺโธ” ผู้ตรัสรู้อริยสัจธรรม
ด้วยตนเองโดยชอบ ทีนั้นก็จะรู้ว่า สัมมาสัมพุทโธนี้
เป็นปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
เพราะปัญญานิสัย คือสัมมาสัมพุทโธมีในพระองค์
พระองค์จึงทรงพระนามว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” ผู้
ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชามีปุพเพนิวาสเป็นต้น
และจรณะมีศีลสังวรเป็นต้น ทีนั้นก็จะรู้ว่า วิชชา
และจรณะนี้ก็เป็นปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
เพราะปัญญานิสัยคือวิชชาและจรณะมีในพระองค์
พระองค์จึงทรงพระนามว่า “สุคโต” ผู้ดำเนินด้วยกาย
วาจา ใจ ตรงดีแล้ว ทีนั้นก็จะรู้ว่าสุคโตนี้
เป็นปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
เพราะปัญญานิสัยคือสุคโต มีในพระองค์ พระองค์
จึงทรงพระนามว่า “โลกวิทู” ผู้รู้แจ้งซึ่งขันธาทิโลก ทีนั้นก็
จะรู้ว่าโลกวิทูนี้เป็นปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
เพราะปัญญานิสัยคือโลกวิทูมีในพระองค์ พระองค์
จึงทรงพระนามว่า “อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ”
ผู้ดังนายสารถี ทรมานบุรุษสตรีให้เรียบร้อยไม่มีสารถี
อื่นจะยิ่งกว่า ทีนั้นก็จะรู้ว่าปุริสทัมมสารถินี้ ก็
เป็นปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
เพราะปัญญานิสัยคือปุริสทัมมสารถิ มีในพระองค์
พระองค์จึงทรงพระนามว่า “สตฺถา เทวมนุสฺสานํ”
ผู้ศาสดาของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย ทีนั้นก็จะรู้ว่า
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ นี้ ก็เป็นปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้า
ส่วนหนึ่ง เพราะปัญญานิสัยคือ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ มี
ในพระองค์ พระองค์จึงทรงพระนามว่า “พุทโธ”
ผู้เบิกบานแล้วด้วยพุทธกิจเต็มที่ ทีนั้นก็จะรู้ว่า พุทโธ นี้
เป็นกรุณานิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
เพราะกรุณานิสัยคือพุทโธนี้ มีในพระองค์ พระองค์
จึงทรงพระนามว่า “ภควา” พระผู้มีพระภาค คือ
มีธรรมสำหรับแจกจ่ายแก่สัตว์โลก ทีนั้นก็จะรู้ว่า ภควา นี้
ก็เป็นกรุณานิสัยของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง เมื่อ
เข้าใจนิสัยของพระพุทธเจ้าทั้ง ๙ ประการ ฉะนี้ ก็
จะเห็นว่าพระพุทธเจ้ามีนิสัยมาก พ้นปัญญาที่เรา
จะพรรณนา แต่คงย่นลงพอตรองตามได้เพียง ๓ ประการ
คือ วิสุทธนิสัย ๑ ปัญญานิสัย ๑ กรุณานิสัยเหล่านี้ ๑ เท่า
นั้น
เมื่อตรวจดูเข้าใจชัดเจนในพุทธนิสัยเหล่านี้แล้ว ประสงค์
จะถือนิสัยของพระองค์ ก็จงทำกายวาจาใจของตน
ให้บริบูรณ์ด้วยวิสุทธและปัญญาและกรุณานิสัยทั้ง ๓
นั้นอย่างพระองค์
เมื่อปัญญาเจตสิกสัมมาทิฏฐิญาณสัมปยุตผุดขึ้น
ในขันธสันดาน วินิจฉัยตนของตน
ได้ว่านิสัยของพระพุทธเจ้า ได้มาสู่กายวาจาใจของตน
แล้วด้วยดี แต่นั้นพึงตั้งใจรักษานิสัยของพระองค์
ให้สำเร็จประโยชน์ เป็นสุปฏิปันโนบุคคลไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 18:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อกุลบุตรมาศึกษาพุทธนิสัย ให้เข้าใจชัดเจนแล้ว ก็
จะรู้จักพระธรรมในพระธรรมคุณ ตามบทบาลีที่ไหว้กัน
อยู่ทุกวันนี้ มีบทว่า “สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” เป็นต้น
ซึ่งมีเนื้อความว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วด้วยดี
คือเป็นของจริงไม่เหลวไหล มีพยานในตนได้แก่ศีล
สมาธิ ปัญญา ส่วนศีล สมาธิ ปัญญาเล่า ก็ไม่ใช่อื่น
จากกาย วาจา ใจ ส่วนกายวาจาใจเล่า ก็ไม่ใช่อื่น
จากเบญจขันธ์ ส่วนเบญจขันธ์เล่าก็ไม่ใช่อื่นจากนามรูป
ส่วนนามรูปเล่า ก็ไม่ใช่อื่นจากตน
เพราะชี้ตนคือชี้กายวาจาใจ หรือเบญจขันธ์ หรือนามรูป
หรือชาติ ชรา มรณะ ส่วนที่เป็นของจริง คือ
เป็นตัวปัจจุบันธรรมให้ชัดใจ เมื่อเห็นกายวาจาใจเป็นต้น
ส่วนเป็นธรรมมีขึ้นเมื่อไร ก็เป็น สนฺทิฏฐิโก เห็นเอง
หรือเห็นด้วยตน เพราะตนซึ่งเป็นธรรมนั้นเป็นของมีอยู่
จึงเป็น สนฺทิฏฺฐิโก ได้ เพราะธรรมเป็น สนฺทิฏฺฐิโก ได้
นั้นเอง จึงเป็น อกาลิโก ไม่อ้างกาล ด้วยว่าตนเป็นของมี
อยู่ทุกเมื่อ จึงไม่ต้องเลือกเวลาเห็น เพราะเป็น อกาลิโก
นั้นเอง จึงเป็น เอหิปสฺสิโก ด้วยชี้ตนซึ่งเป็นของมี ไม่
ได้ชี้ของเปล่า จึงควรกล่าวว่าท่านจงมาดูได้ เพราะเป็น
เอหิปสฺสิโก นั้นแหละ จึงเป็น โอปนยิโก ควรจะน้อมธรรม
นั้นมาสู่ตนได้ ไม่ได้น้อมธรรมนั้นไปไว้ในที่อื่น เพราะเป็น
โอปนยิโก นั้นแหละจึงเป็น ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ผู้รู้
ทั้งหลายพึงรู้แจ้งจำเพาะตน คือ กลับรู้ตนเห็นตน ได้ใจ
ความตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตน
แต่พึงเข้าใจว่าตนชั้นอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น
เมื่ออวิชชาดับตนชั้นนั้นก็ต้องดับไปด้วย แต่ปัจจัตตัง
อัตตะในที่นี้ดูเหมือนท่านจะหมายเอาตน ที่วิชชา
เป็นปัจจัย เหมือนชาติ ชรา มรณะ ที่อวิชชาเป็นปัจจัย
ดังเมื่อพระองค์ได้เห็นคราวยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่นั้น
พออวิชชาดับ ชาติ ชรา มรณะชั้นนั้นก็ดับไปด้วยกัน
โดยเนื้อความในนิโรธวารแห่งปฏิจจสมุทปบาท ส่วนชาติ
ชรา มรณะที่วิชชาเป็นปัจจัย ก็ปรากฏขึ้นเป็นตัวทุกขสัจ
เป็นธรรมทีเดียว เมื่อเห็น ชาติ ชรา มรณะ เป็นธรรมได้
แล้ว ก็สิ้นสงสัยในคำสอนของพระผู้มีพระภาค คำที่ว่า
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ หรือ อตฺตทีปา หรือ อตฺตสรณา
หรือ อตฺตมนา เต ภิกฺขู หรือ ปัจจัตตัง หรือคำที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ภัททวัคคิยกุมาร ซึ่งตาม
ค้นหาสตรีแพศยา ณ ป่าไร่ฝ้ายในครั้งปฐมพุทธกาลว่า “
ท่านทั้งหลายจะตามค้นหาตัวดี หรือจะตามค้นหาสตรี
นั้นดีเล่า” ดังนี้ คำทั้งหลายเหล่านี้ จะ
เป็นพยานร้องบอกรับสมอ้างสิ้นด้วยกัน ทีนั้น
กัมมสกตาญาณ ก็จะชัดใจเห็นแน่ว่า ดีชั่ว สุขทุกข์ ตนทำ
ทั้งสิ้น
เมื่อเห็นธรรมชัดใจแล้วก็จะต้องรู้จักคุณพระสงฆ์
ตามที่ว่ามา สุปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติดี อุชุปฏิปนฺโน
ผู้ปฏิบัติตรง ญายปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติเพื่อจะรู้
สามีจิปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง
เพราะท่านรู้จักของจริงสิ้นสงสัยว่าดีชั่ว
เป็นของของตนจริง สุขทุกข์จะมีมาเพราะตน
เป็นเหตุแน่แท้ เมื่อเห็นจริงตามความเป็นจริงอย่างนั้น
แล้ว จะอาจทำชั่วได้หรือ เมื่อเห็นตนแล้วจะไม่รักตนมีอยู่
หรือ อาศัยวิชชาความรู้จริงนั้นเองเป็นเหตุ ท่าน
จึงปฏิบัติดีด้วยกายวาจาใจ เพราะท่านเห็นกายวาจาใจ
เป็นมรรคาแท้ ส่วนกายวาจาใจซึ่งเป็นมรรคนั้นเล่า ก็
เป็นของมีชี้พยานในตัวของท่าน เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงรู้วิสุทธิมรรคา เมื่อรู้จักวิสุทธิมรรคาแล้ว จะไม่เดินตาม
จะวิ่งหนีทางบริสุทธิ์ เข้าไปเหยียบขวากเหยียบหนามจะมี
อยู่หรือ ผู้เห็นคุณพระสงฆ์ชัดใจอย่างนี้แล้ว ก็จะมี
ความเลื่อมใสในพระสงฆ์อย่างยิ่ง
แล้วพึงรู้ว่าคุณพระสงฆ์มี สุปฏิปนฺโน เป็นต้นนั้นได้มีขึ้น
แล้วในตน หรือตนได้ถึงคุณแห่งพระสงฆ์แล้ว
นิรามิสสุขตนได้ดื่มแล้ว ตนเป็นที่พึ่งแก่ตนได้แล้ว ไม่
ต้องเชื่อแต่ผู้อื่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย จึงชื่อว่า
เป็นผู้มีไตรสรณคมน์อันได้แล้วอันถึงแล้ว ความรู้
ความเห็นอย่างที่บรรยายมานี้ ถ้าเป็นปัจจักขสิทธิก็จะสิ้น
ความสงสัยทีเดียว เป็นแต่อนุมานสิทธิก็ยังดี แต่ไม่สิ้น
ความสงสัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 18:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้ จะอธิบายวิธีปัจจเวกขณะญาณ
ตรวจพุทธนิสัยอีกวาระหนึ่ง คือเมื่อกุลบุตรผู้บวช
ด้วยศรัทธา ได้ตรวจตรองในเรื่องพุทธนิสัยเห็นชัด
ด้วยญาณจักษุ จนเกิดศรัทธาความเชื่อความจริงใจสิ้น
ความสงสัยลงแล้ว แต่นั้นพึงตรวจนิสัยของตนสอบ
กับนิสัยของพระพุทธเจ้า เพื่อจะรู้ว่านิสัยอันใดตรงกัน
แล้ว นิสัยอันใดยังไม่ตรงกัน เพื่อจะได้แก้ไขให้ตรง
กันตามสมควรแก่วาสนาของตน จนสิ้นความสามารถ
ให้ตรวจไปแต่ปุพพนิสัยดังนี้ :-
ทาน การให้การสละ คือบำเพ็ญจาคจิตเป็นพุทธนิสัย
ท่านได้ทรงบำเพ็ญมา มีมหาบริจาค ๕ ประการ
เป็นปรมัตถทานเป็นที่สุดนับด้วยโกฏิแห่งกัลป์เป็นอันมาก
เพราะจาคจิตที่พระองค์เคยอบรมบ่มดวงจิตมาช้านาน
เป็นเหตุเป็นปัจจัย มีกำลังกล้า ครั้นมาถึงปัจฉิมชาติ
พระองค์จึงสละกามสุขรัตนนารีและโภคทรัพย์
ทั้งอิสริยยศปริวารยศ ซึ่งโลกควรนิยม
ออกประพฤติพรตวิสุทธิพรหมจรรย์
เป็นจาคะอย่างเอกอย่างสูง ยากที่สามัญบุรุษในโลก
จะประพฤติได้ เมื่อทรงบรรพชาแล้วต้องอาศัยภิกขาจาร
คือเที่ยวขอทานผู้อื่นเลี้ยงชีพตามอริยยาจนวิสัย แสดง
ให้ปรากฏแก่โลกว่า ทานเป็นของเลิศ
เป็นของประเสริฐจริง ถึงการขอทานนั้นเล่า ก็
เพราะจาคจิตที่ทรงบำเพ็ญมานั้นหากอุปถัมภ์ จึง
ให้การเลี้ยงชีพสำเร็จโดยสะดวกได้ เมื่อได้ความฉะนี้
แล้ว พึงตรวจดูในตัวของเราว่า
บัดนี้ เราสละกิเลสกามพัสดุกามได้แล้วหรือ? เรายินดี
ในการให้การบริจาคอยู่หรือ? อาจที่จะขอทานผู้
อื่นเลี้ยงชีพตามสมณวิสัยได้อยู่หรือ? เมื่อเห็นว่าสิ่งใด
ยังบกพร่องอยู่ ยังไม่เต็มบริบูรณ์ก็รีบแก้ไข
ให้ตรงพุทธนิสัยขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 18:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรวจศีล
ศีล การสังวรอินทรีย์ ให้คงตามสภาพ ไม่
ให้สัญญาวิปลาสพัดพาไปได้ ให้กายวาจาใจดำรงอยู่
ด้วยสติทุกเมื่อ ข้อนี้เป็นพุทธนิสัย เพราะศีลนิสัยมี
ในพระองค์ทุกเมื่อ ครั้งจะตรัสเทศนาพระธรรมจักร
พระองค์จึงตรัสแนะนำให้เบญจวัคคีย์ ซึ่งยัง
ไม่เชื่อพระญาณของพระองค์ระลึกเหตุหนหลังว่า
วาจาอย่างนี้ คือที่กล่าวว่า อมตาธิคม
อลมริยญาณทัสสนะ เราได้ถึงแล้วอย่างนี้ ท่าน
ทั้งหลายเคยได้ยินได้ฟังเรากล่าวบ้างแลหรือ?
เหล่าท่านเบญจวัคคีย์ตอบว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังดังนี้
ข้อนี้ยกมาชี้ให้เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าของเรามีไตรทวาร
มิได้พิรุธวิการเป็นชาติศีลอยู่ทุกเมื่อ ก่อนแต่
ได้ตรัสรู้มาทีเดียว
เมื่อตรวจดูรู้ศีลนิสัยของพระพุทธเจ้าแล้ว
ให้ตรวจดูศีลของตน ถ้ายังไม่บริบูรณ์ด้วยข้อใด
ก็รีบแก้ไขให้มีให้เป็นขึ้นตามพระองค์


ตรวจเนกขัมมะ
การออกจากกามด้วยกาย ออกจากกามด้วยใจ
เป็นนิสัยของพระพุทธเจ้าแท้ กามหมายสิ่งที่ใคร่ของใจ
สิ่งที่ยั่วยวนใจ สิ่งที่อาบใจ สิ่งที่ซาบซ่านใจ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ๕ อย่างนี้เป็นวัตถุของกาม ถ้ายินดี
ในวัตถุทั้ง ๕ นี้ด้วยจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส ชื่อว่าผู้ติดกามด้วยกาย
ผู้งดเว้นหลีกละไม่เกี่ยวเกาะวัตถุกามนั้นด้วยกาย
แต่ใจผูกพันเกี่ยวเกาะอยู่ในวัตถุทั้ง ๕ นั้น
ด้วยอำนาจแห่งสัญญา ส่วนธรรมารมณ์คู่ของใจ ก็ชื่อว่า
ผู้ยังติดกามอยู่ด้วยใจ ผู้สกัดกั้นสิ่งทั้ง ๕ นั้นออกจากใจ
หรือสกัดกั้นใจออกจากสิ่งทั้ง ๕ นั้นได้ ชื่อว่าผู้ออก
จากกามด้วยใจ การออกจากกามด้วยกายด้วยใจนั้น
เป็นเนกขัมมนิสัยแห่งพระพุทธเจ้าแท้
เมื่อทราบพุทธนิสัยฉะนี้แล้ว ให้ตรวจดูนิสัยของตน
ถ้าเห็นว่ายังติดกามอยู่ แม้อย่างต่ำเพียงแต่ใจเท่านั้น ก็
จะพึงตัดสินตนได้ว่าตนยังเป็นกามสัตว์อยู่ ส่วนรูปาวจร
อรูปาวจรก็ยังก้าวไม่ถึง ส่วนเนกขัมมพุทธนิสัยนี้
เป็นโลกุตระ เรายังห่างไกลกับพุทธนิสัยมาก
ก็เร่งรีบบำเพ็ญเนกขัมมคุณ ตามเสด็จให้เต็มความ
สามารถ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 18:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรวจปัญญา
ปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้านั้น เป็นของลึกซึ้งสุขุม
ยากที่เราจะรู้ได้ เพราะภูมิวาสนาผิดกัน ส่วนพระองค์
เป็นพุทธภูมิ ส่วนเราเป็นแต่สาวกภูมิ เพราะเหตุนั้น จำ
ต้องตรวจตรองดูตามที่ท่านแสดงไว้ในที่มาต่างๆ
ชั้นโลกิยปัญญา ปัญญาชั้นโลกีย์ต่ำ ๆ ดังเมื่อพระองค์ยัง
เป็นโพธิสัตว์ครองสุขสมบัติอยู่ เมื่อได้เห็นคนชรา
คนอาพาธและคนตาย ได้ทรงพระดำริว่า ของเหล่านี้
เป็นเพลิงของร้อนเผาตนและสัตว์อื่นอยู่เป็นนิตย์ จะว่า
เป็นของน่ารักน่าชังก็ไม่ชอบ ทำไฉนเราจะพ้นได้
ธรรมเครื่องคู่คือไม่ต้องชราอาพาธและไม่ต้องตายคง
จะมีเป็นแน่แท้ เพราะของในโลกย่อมเป็นคู่ ๆ กัน ดังร้อน
และเย็น มืดและสว่างเป็นต้น ถ้ากระไรเรา
ได้บรรพชาเพศ ถึงกายวิเวก จิตตวิเวกเมื่อใด เราคง
จะประสบธรรมที่ไม่แก่เจ็บตายเป็นมั่นคง พระองค์
จึงออกภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญวิชชาและจรณะให้มีขึ้น
ส่วนโลกุตรปัญญา ปัญญาอย่างสูง ดังที่ท่านแสดงไว้
ในปฏิจจสมุปบาท ส่วนนิโรธวารว่า อวิชชาดับ สังขาร
วิญญาณ ตลอดถึงชาติ ชรา มรณะ ส่วนที่มีอวิชชา
เป็นปัจจัยดับไปตามกันหมด ดังที่มา
ในพระธรรมจักกัปปวัตตนะสูตร
คำปฏิญาณยถาภูตญาณทัสสนะ ซึ่งมีแล้วในพระองค์ว่า
“อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว” เป็นต้น มีใจความว่า
ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้นนี้ เป็นทุกขอริยสัจ พระองค์
ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่กาลก่อนเลย เป็นญาณจักษุ
ปัญญาวิชชา ความรู้แจ้งแสงสว่างได้บังเกิดขึ้น
แล้วแก่พระองค์ อธิบายความว่า ปัญญาที่เห็นชาติ ชรา
มรณะ แต่เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์นั้น
เป็นแต่ปัญญาของอวิชชาเท่านั้นไม่ได้ความจริง
ส่วนปัญญาที่เห็นชาติ ชรา มรณะ ในสมัยที่ตรัสรู้แล้ว
ดังที่ทรงปฏิญาณในพระธรรมจักรว่า ชาติ ชรา มรณะ
เป็นทุกขอริยสัจ นี้เป็นปัญญาของวิชชาได้ความจริง
เพราะเห็นตัวคือปัจจุบันธรรม ชาติ ชรา มรณะ
ส่วนอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น ถึงเรา
จะตรวจตรองดูอย่างไรก็คงจะไม่เห็น เพราะเป็นของ
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ถ้าเราจะดูชาติ ชาติก็เป็นอดีตไป
ครั้นจะดูชรา มรณะ ๆ ก็เป็นอนาคตไป จะเห็นได้ก็
เป็นแต่ยึดเอาของคนอื่นเขาเข้ามาไว้ดูเท่านั้น ถ้าไปวุ่น
กับเรื่องคนอื่นแล้ว จะต้องโดนทุกขสมุทัยทุกที ส่วนชาติ
ชรา มรณะ ที่มีวิชชาเป็นปัจจัยนั้น อาจที่จะตรองให้เห็น
ได้ เพราะเป็นของจริงของเที่ยงเป็นตัวอมตะ มีอยู่ที่ตน
ไม่ต้องไปยึดเอามาแต่ผู้อื่น จึงเป็น ปจฺจตฺตํ ได้ ถ้าจะมี
ความสงสัยว่า อตฺตา ที่ไหนมี แบบแผนท่านว่า “สพฺเพ
ธมฺมา อนตฺตา” ทั้งนั้น ต้องรับว่าจริง แต่
เป็นอนัตตาของเรา หาเป็นอนัตตาของธรรมไม่
เมื่อเข้าใจปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้าตามที่มาต่าง ๆ
อย่างนี้แล้ว พึงตรวจดูปัญญาของตน ยังตกอยู่ในภูมิไหน
ในภูมิอวิชชาหรือในภูมิวิชชา เมื่อเห็นว่ายังบกพร่องอยู่
ด้วยอาการใด ก็รีบบำเพ็ญเพียร
ให้เหมือนปัญญานิสัยของพระพุทธเจ้าขึ้น ตามกำลัง
ความสามารถแห่งตน ปัญญานิสัยเป็นของละเอียดจริง
แต่ถึงอย่างนั้น ที่เราจะทอดธุระเสียว่า ช่างเถอะ
อย่างนี้ก็ไม่ชอบ ถ้าหากว่า
เป็นธรรมชาติเหลือปัญญาของมนุษย์จริง
ท่านแต่ก่อนทำไมท่านจึงได้เป็นสาวกพุทธะ
กันตั้งหมื่นตั้งแสน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 19:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรวจ วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐานะ
นิสัย ๔ อย่างนี้ เป็นอัญญมัญญปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกัน
ถ้าวิริยะมีในที่ใด ขันติ สัจจะ อธิษฐาน ต้องมีในที่นั้น
จึงสำเร็จเป็นอิทธิบาท มีนิทัสสนนัย
ดังเมื่อวันพระพุทธเจ้าของเราจะ
ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ วิสาขปุรณมี
เวลาเย็น ทรงนิสีทนาการ
ด้วยบัลลังก์สมาธิบนกองหญ้าคา ณ โคนโพธิ
ผินพระพักตร์สู่บูรพทิศ ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าเราไม่
ได้ตรัสรู้อมตธรรมตราบใด เราจักไม่ลุกขึ้น
จากอาสนะอันนี้เลย ถึงแม้เนื้อและเลือดกระดูกและเอ็น
จะเหือดแห้งย่อยยับเป็นผุยผงประการใดก็ตามเถิด
แล้วก็ทรงสำเร็จอิริยาบถอันเดียวตลอดคืนยังรุ่ง
ในที่สุดแห่งปัจฉิมยามวันนั้น พระองค์ก็
ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จ
เป็นวิสุทธขันธสันดาน
ความตั้งจิตมั่นว่า ถ้าเราไม่ได้ตรัสรู้อมตธรรม จัก
ไม่ลุกขึ้นเป็นอธิษฐานะ ความนั่งจริงจนได้ตรัสรู้เป็นสัจจะ
ความอดทนไม่เกี่ยวข้องด้วยความเหน็ดเหนื่อยนั้น
เป็นขันติ ความกล้าไม่ท้อถอยจนให้กิจสำเร็จได้เป็นวิริยะ
เมื่อพระองค์เป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็มีธรรม ๔ อย่างนี้เป็นนิสัย
อยู่ทุกเมื่อ ถึงเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
ทรงบำเพ็ญพุทธกิจทั้งปวงก็มีธรรม ๔ อย่างนี้เป็นนิสัย
อยู่ทุกเมื่อ จึงให้กิจนั้น ๆ สำเร็จบริบูรณ์ได้ เมื่อตรวจดู
เข้าใจตามได้แล้ว สอบนิสัยของตนดู ถ้ายังไม่ตรง
ด้วยข้อใดก็รีบแก้ไข ให้ตรงตามพุทธนิสัยขึ้น
ส่วนเมตตาและอุเบกขา ๒ นิสัยนี้ เป็นของละเอียดและมี
อยู่ในพระองค์ทุกเมื่อ การที่ทรงบำเพ็ญนิสัยอื่น ๆ นั้น
ก็มีนิสัยทั้ง ๒ นี้เป็นเหตุ ด้วยเมตตาอุเบกขาทั้ง ๒ นี้มี
ในพระองค์ คือพระองค์ได้รับความสุขความเย็น
เพราะพระทัยเป็นกลาง ความสุขความเย็นมีในพระองค์
อยู่ทุกเมื่อ จึงชื่อว่าพระองค์ประกอบด้วยพระเมตตา
พระกรุณา คือทำเพลิงราคะ เพลิงโทสะ เพลิงโมหะ
ให้ดับไปจากพระสันดานได้ด้วยอริยมรรคปัญญา
ส่วนเพลิงชาติ เพลิงชรา เพลิงมรณะนั้น กลาย
เป็นเพลิงสภาพมีจำเพาะแต่ปัจจุบัน ไม่มีพิษ เผาพระองค์
ให้ร้อนไม่ได้ พระองค์จึงชื่อว่าเป็นผู้จืดสนิท เย็นสนิท
เพราะคุณสมบัตินั้น ๆ มีในพระองค์ พระองค์จึงเป็นผู้
สามารถแจกแบ่งเผื่อแผ่คุณสมบัตินั้น ๆ มีความสุข
ความเย็นเป็นต้น ทั่วไปได้ สำเร็จด้วยอำนาจศีล สมาธิ
ปัญญา คือบารมี ๑๐ ประการ ดังบรรยายมานี้
เมื่อกุลบุตรผู้มีศรัทธา ตรวจตรองดู
ในพุทธนิสัยตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงวิสุทธินิสัย ปัญญานิสัย
กรุณานิสัย ชัดใจสิ้นความสงสัยแล้ว
ต่อไปพึงพากเพียรแก้ไขนิสัยของตน
ให้ตรงตามพุทธนิสัยจงทุกประการตามกำลังความ
สามารถแห่งตน
เมื่อถึงพุทธนิสัยได้เพียงชั้นใด ก็ชื่อว่า
ถึงพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งในชั้นนั้น เพราะว่าผู้
ใดรู้จักพุทธนิสัย ชื่อว่าเป็นผู้รู้จักพระพุทธเจ้า
ผู้ถือนิสัยพระพุทธเจ้าชื่อว่าผู้ถึงพระธรรม
เพราะพระธรรมนั้นเองเป็นนิสัยของพระพุทธเจ้า ผู้
ถึงพระธรรมคือผู้ถือนิสัยของพระพุทธเจ้า
นั้นเองชื่อว่าพระสงฆ์ เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ต่างกันโดยวัตถุมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน ดังที่มา
ในรตนัตตยปภาวาภิยาจนคาถา ท้ายเจ็ดตำนานว่า “
พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
อญฺญมญฺญาวิโยคาว เอกีภูตมฺปนตฺถโต พุทฺโธ ธมฺมสฺส
โพเธตา ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
อิจฺเจกาพทฺธเมวิทํ” ดังนี้ กุลบุตร
ผู้บรรพชาอุปสมบทประพฤติพรตพรหมจรรย์ทุกหมู่เหล่า
พึงมีสติดำรงอยู่ด้วยปัญญา บำรุงปัจจเวกขณญาณ
ให้รู้ตนอยู่ทุกเมื่อ ว่าเราได้ละกามารัมมณกิจออกมานี้
อุทิศเฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง ซึ่ง
จะมาลุ่มหลงอยู่ด้วยหมู่คณะลัทธิทิฏฐิต่าง ๆ
ตามอย่างของบุคคลนั้น ๆ จะไม่ชอบกล ควร
จะตรวจตรองดูธรรมวินัยซึ่งเป็นพุทธนิสัย
ให้เหมาะแก่จิตของตนทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด อย่า
ให้เสียทีที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์บุรุษสตรี และ
ได้ประสบพบพระพุทธศาสนาด้วยดี พึงยังตน
ให้มีพุทธนิสัยเป็นเขมสรณคมน์จงทุกเมื่อเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 19:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัดนี้ จักแสดงลักษณะถือนิสัยอุปัชฌายะอาจารย์ต่อไป
ด้วยกุลบุตรผู้จะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
ต้องแสวงหาอุปัชฌายะอาจารย์
ผู้ควรรับนิสัยมีพรรษาแต่ ๑๐ ขึ้นไป มีใจ
ความตามที่มาแห่งพระวินัยว่า เมื่อกุลบุตรจะถือนิสัยอยู่
ในสำนักท่านผู้ใด พึงไปอยู่ปฏิบัติท่านผู้นั้นโดยเอื้อเฟื้อ
สอบสวนดูจนเกิดความเลื่อมใส แล้วจึงขอนิสัยอยู่ด้วย
ส่วนผู้จะเป็นอุปัชฌายะหรืออาจารย์เล่า ก็
ต้องสังเกตสอบสวนผู้จะเป็นสัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิก
ให้เห็นว่าพอจะแนะนำสั่งสอนได้จึงค่อยรับ เมื่อรับแล้ว
ต้องเอาเป็นภาระแนะนำสั่งสอนจริง ๆ ส่วนสัทธิวิหาริก
หรืออันเตวาสิก เมื่อได้รับนิสัยอยู่กับท่านผู้ใดแล้ว ก็
ต้องปฏิบัติท่านผู้นั้นให้ถูกต้องตามนิสัยของท่านทุกอย่าง
จนที่สุดท่านผู้อุปัชฌายะอาจารย์ไม่ชอบกับบุคคลผู้ใด
ไม่ควรทำสามีจิกรรมกับบุคคลผู้นั้น ได้ใจความ
โดยย่อตามวินยานุญาตดังนี้
ต่อไปนี้ เป็นคำอธิบายโดยมติของตนพอ
เป็นทางดำริแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา
ใคร่ต่อการศึกษาสืบไป
จักบรรยายนิสสยประเภท คำที่ว่านิสัย ๆ นั้น
เป็นภาษามคธถือเอาเนื้อความได้ด้วยยาก ถ้าจะให้ได้
ความตามสยามภาษาแล้ว ต้องแปลว่าอัธยาศัย หรือน้ำใจ
หรือใจคอ หรือความประพฤติ เป็นเครื่องอาศัยของตน
ชื่อว่านิสัย
เมื่อได้เนื้อความดังนี้แล้ว ประสงค์จะถือนิสัยอยู่
กับท่านองค์ใด ซึ่งตนเห็นว่าเป็นครุฐานียะควรเคารพ
ก็พึงไปสอบสวนดู เมื่อเห็นนิสัยของท่าน
เป็นที่ชอบใจของตน จึงขอรับนิสัยอยู่ด้วย
นิสัยนั้นมีอาการหลายอย่างต่าง ๆ กัน จะยกมาชี้พอ
เป็นตัวอย่าง บางท่านมีสีลวิสุทธิเป็นนิสัย
คือพอใจศึกษาสอบสวนตามวินยานุญาต เข้าใจ
แล้วก็ปฏิบัติตาม มักเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย
ประกอบด้วยอินทรียสังวร มักพอใจประพฤติ
อยู่แต่เพียงสีลสิกขา
บางท่านมีสมาธิ คือ จิตตวิสุทธิเป็นนิสัย
คือพอใจศึกษาทางสมถะ ทำขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ
อัปปนาสมาธิ ให้เกิดให้มี พอใจในข้อวัตรน้อยใหญ่
มักเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย ประกอบ
ด้วยอินทรียสังวร มักพอใจประพฤติ
อยู่แต่เพียงจิตตสิกขา
บางท่านมีปัญญา คือ ทิฏฐิวิสุทธิเป็นนิสัย
คือพอใจศึกษาทางวิปัสสนา ตรวจตรองพิจารณานาม รูป
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ให้เห็นจริงตามสภาพ มักพอใจอยู่
ด้วยความไม่ประมาท มักเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย
ประกอบด้วยอินทรียสังวร มักพอใจประพฤติ
อยู่เพียงปัญญาสิกขา
บางท่านมีราคะเป็นนิสัย คือจะทำสิ่งใดก็มักแต่สวย ๆ
งาม ๆ อวด ๆ โถง ๆ และมีความเคารพต่อธรรมวินัย
มักมีสิ่งทำจิตให้เพลิดเพลินเป็นเครื่องอยู่ มักเห็นภัย
ในโทษมีประมาณน้อย ประกอบด้วยอินทรียสังวร
มักพอใจอยู่ด้วยความไม่ประมาท
บางท่านมีโทสะเป็นนิสัย คือทำสิ่งใดชอบจู้จี้จุกจิก
ดุคนโน้นด่าคนนี้ พยาบาทผูกเวรแก่คนโน้นคนนี้
มักยอตัวข่มท่าน ชอบเพ่งโทษของผู้อื่น ส่วนตัวหา
ความผิดไม่มี ชอบประทุษร้ายความสุขของผู้อื่น
ส่วนตัวก็ไม่บำรุงให้เกิดความสุขความเย็น แต่มักเห็นภัย
ในโทษมีประมาณน้อย ประกอบด้วยสีลสังวร มักพอใจ
อยู่ด้วยความไม่ประมาท
บางท่านมีโมหะเป็นนิสัย จะทำสิ่งใดมักพลั้ง ๆ เผลอ ๆ
หลง ๆ ลืม ๆ ไม่ชอบความสะอาด มักขี้เกียจขี้คร้าน
แต่มักเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย ประกอบ
ด้วยสีลสังวร มักพอใจอยู่ด้วยความไม่ประมาท
บางท่านมีศรัทธาเป็นนิสัย คือเป็นคนเชื่อง่าย ได้ยิน
เขาพูดอย่างไรก็เชื่อ ได้เห็นแบบแผนตำราว่ากระไรก็เชื่อ
ไม่พอใจตรึกตรองให้เห็นด้วยปัญญาแห่งตน
บางท่านมีญาณะเป็นนิสัย คือได้เห็นได้ยินได้ฟังอะไร ๆ
มักสอบสวนให้เห็นจริงด้วยปัญญาของตนก่อนจึงเชื่อ
บางท่านมีวิตกเป็นนิสัย คือจะทำสิ่งใดมักไม่แน่นอนแก่ใจ
สงสัยสิ่งนั้นสงสัยสิ่งนี้ อย่างนั้นก็จะได้อย่างนี้ก็จะได้
ไม่ค่อยจะเป็นหนึ่งลงในสิ่งอะไรได้
จะบรรยายเรื่องนิสัยของบุคคลแล้วก็มากอย่างต่าง ๆ กัน
เมื่อจะย่นลงให้สั้นแล้วก็คงมี ๒ อย่าง คือปัณฑิตนิสัย ๑
พาลนิสัย ๑ เท่านั้น ผู้ลุอำนาจแห่งโลภะ โทสะ โมหะ
มักประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ไม่เคารพพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคารพต่อไตรสิกขา
และอัปปมาทธรรม เห็นแก่ความได้ ความมี ความดี
ความชอบในปัจจุบัน ผู้ประกอบด้วยอกุศลต่างๆ อย่างนี้
เป็นนิสัย เรียกชื่อว่าพาลนิสสัย
ผู้ไม่ลุอำนาจแห่งโลภะ โทสะ โมหะ คือ
พอใจประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ มี
ความเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เคารพต่อไตรสิกขาและอัปปมาทธรรม ผู้มีอัปปิจฉตา
และสันตุฏฐิตาเป็นวิหารธรรม เห็นธรรมวินัยเป็นสรณะ
อยู่ทุกเมื่อ ผู้มีกุศลเป็นนิสัยอย่างนี้
เรียกชื่อว่าปัณฑิตนิสัย
เมื่อเข้าใจนิสัยทั้ง ๒ อย่างนั้นแล้ว เราชอบใจพาลนิสัยก็
ต้องไปขออยู่กับท่านผู้เป็นพาลนิสัย เมื่ออยู่
ในสำนักของท่านแล้ว ต้องปฏิบัติให้ตรงกับนิสัยของท่าน
ท่านประพฤติอย่างไร เราต้องหัดประพฤติตาม ให้ตรง
กับนิสัยของท่านทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่สิ่งที่เหลือวิสัย
จะทำได้ ถ้าแกล้งไม่ทำตามอุปัชฌายะอาจารย์ด้วยข้อ
ใด นิสัยนั้นก็ขาด ไม่อาจจะติดต่อกันเข้าได้
เมื่อชอบปัณฑิตนิสัย ก็ต้องไปขออยู่กับท่านที่
เป็นปัณฑิตนิสัย เมื่ออยู่ในสำนักของท่านแล้ว
ต้องปฏิบัติตามให้ตรงกับนิสัยของท่าน เป็นต้นว่าท่าน
ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ท่านมีความเพียร ความหมั่น
ในข้อวัตรและกิจงานการอันใดที่หาโทษมิได้ เรา
ต้องหัดประพฤติตามอย่างนั้น ให้ตรง
กับนิสัยของท่านทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่สิ่งที่เหลือวิสัย
จะทำได้ ถ้าไม่เหลือวิสัยต้องทำตาม ถ้าแกล้ง
ไม่ทำตามอุปัชฌายะอาจารย์ในข้อใด นิสัยข้อนั้นก็ขาด
เพราะที่มาในพระวินัย แสดงองคคุณไว้แก่สัทธิวิหาริก
และอันเตวาสิก ผู้ควรแก่นิสัย ๕ อย่างดังนี้ “อธิมตฺตํ เปมํ
โหติ อธิมตฺโต ปสาโท โหติ อธิมตฺตา หิริ โหติ อธิมตฺโต
คารโว โหติ อธิมตฺตา ภาวนา โหติ” ความว่า รักยิ่งนัก
เลื่อมใสยิ่งนัก ละอายยิ่งนัก เคารพยิ่งนัก
เจริญเมตตายิ่งนัก ในท่านผู้เป็นอุปัชฌายะอาจารย์
เมื่อกุลบุตรศึกษา
เข้าใจประเภทแห่งนิสัยอย่างที่แสดงมานี้แล้ว เมื่อรับนิสัย
อยู่ในสำนักท่านผู้ใด พึงประพฤติปฏิบัติ
โดยเอื้อเฟื้อตามวินยานุญาต ดังมีต่อไปนี้ทุกประการ
เทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 19:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในอุปัชฌายวัตร ความว่า ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริก
พึงปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะ ความปฏิบัติชอบอย่างนี้
สัทธิวิหาริก คือภิกษุและสามเณรพึงลุกขึ้นแต่เช้า
ถ้าสวมรองเท้าจงกรมอยู่ พึงถอดรองเท้าเสีย
ทำผ่าห่มเฉียงบ่าข้างหนึ่ง พึงให้ไม่สีฟัน
ให้น้ำล้างหน้าบ้วนปากแล้วปูอาสนะไว้ ข้าวต้มมี
พึงล้างภาชนะนำข้าวต้มน้อมเข้าไปให้
อุปัชฌายะฉันข้าวต้มแล้วพึงถวายน้ำ
แล้วรับภาชนะข้าวต้มมา ทำโดยเคารพอย่า
ให้กระทบครูดสี ล้างเก็บเสียด้วยดี เมื่ออุปัชฌายะลุก
แล้วพึงเก็บอาสนะเสีย
ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะเข้าบ้านไซร้ พึงให้ผ้านุ่ง
และรับผ้าเปลี่ยนนุ่ง พึงให้ประคตเอว
พึงซ้อนผ้าอุตตราสงค์กับผ้าสังฆาฏิเป็นสองชั้นให้
พึงล้างบาตรและให้ทั้งน้ำด้วย ถ้าอุปัชฌายะจำนงจะให้
เป็นปัจฉาสมณะตามหลังไปด้วยไซร้ พึงปิดกาย
ให้มีมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริมณฑลแล้วคาดประคตเอว
ซ้อนผ้าให้เป็นสองชั้น ห่มคลุม กลัดรังดุม
ล้างบาตรถือเอาบาตรแล้ว
เป็นปัจฉาสมณะไปภายหลังแห่งอุปัชฌายะ อย่าเดินไป
ให้ไกลนัก อย่าให้ใกล้นัก
คะเนพออุปัชฌายะเหลียวมาพูดด้วย
ก้าวไปก้าวหนึ่งสองก้าวก็ถึง บาตรอุปัชฌายะร้อน
หรือเต็มด้วยข้าวต้มหรือข้าวสวย พึงรับบาตรอุปัชฌายะ
เปลี่ยนบาตรของตนให้อุปัชฌายะ เมื่ออุปัชฌายะพูดอยู่
อย่ากล่าวคำสอดแทรกขึ้นในระหว่าง ๆ
เมื่ออุปัชฌายะกล่าวคำใกล้ต่ออาบัติ
ก็ทำดุจถามว่ากล่าวเช่นนี้ควรหรือไม่ เป็นอาบัติหรือไม่
ห้ามเสีย อย่าห้ามด้วยคำกระโชกกระชาก เมื่อจะกลับ
จากบ้านพึงกลับก่อนแล้วปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ท่า แล้วลุกไปรับบาตรจีวร
พึงให้ผ้าผลัดนุ่ง รับผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่มด้วยเหงื่อไซร้
พึงตากเสียในที่ร้อนครู่หนึ่ง แต่อย่าตากทิ้งไว้ในที่ร้อน
ให้นาน แล้วพึงพับเสีย เมื่อจะพับจีวร
พึงเหลื่อมมุมข้างหนึ่งให้เกินมุมข้างหนึ่งสัก ๔ นิ้ว แล้ว
จึงพับ อย่าให้หักกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมีอยู่ อุปัชฌายะใคร่จะฉันไซร้ พึงให้น้ำ
แล้วพึงน้อมบิณฑบาตเข้าไป พึงถามอุปัชฌายะ
ด้วยน้ำฉัน อุปัชฌายะฉันแล้วพึงให้น้ำ
แล้วพึงรับบาตรมาทำให้ต่ำ อย่าให้ครูดสี ล้างเสีย ทำ
ให้หมดน้ำด้วยดีแล้วจึงตากไว้ในที่ร้อนสักครู่หนึ่ง
แต่อย่าตากบาตรทิ้งไว้ในที่ร้อนให้นาน
แล้วพึงเก็บบาตรจีวรเสีย เมื่อจะเก็บบาตรจีวร
พึงเก็บดังกล่าวแล้วในเสนาสนวัตรนั้นเถิด
เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงพลิกอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าเสีย ถ้าที่นั้นรก
ด้วยหยากเยื่อไซร้ พึงกวาดแผ้วเสีย
ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะอาบน้ำไซร้ พึงตกแต่งน้ำอาบให้ ถ้า
ต้องการด้วยน้ำเย็น พึงตกแต่งน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการ
ด้วยน้ำร้อน พึงตกแต่งน้ำร้อนให้ ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะ
เข้าเรือนไฟไซร้ พึงบดจุรณ์แช่ดินทาหน้าไว้
แล้วถือตั่งสำหรับเรือนไฟตามหลังอุปัชฌายะไปแล้ว
ให้ตั่ง รับจีวรมาเก็บไว้ที่สมควรข้างหนึ่ง พึงให้จุรณ์
ให้ดินทาหน้า ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าไปในเรือนไฟด้วย
เมื่อจะเข้าไปพึงปฏิบัติดังกล่าวแล้วในชันตาคารวัตรเถิด
พึงทำบริกรรมบีบนวดให้อุปัชฌายะในเรือนไฟ เมื่อ
จะออกมา พึงปฏิบัติดังกล่าวแล้วในชันตาคารวัตรเถิด
พึงทำบริกรรมขัดสีให้อุปัชฌายะในน้ำด้วย อาบน้ำ
แล้วพึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้หมดน้ำแล้วจึงนุ่งผ้า
แล้วพึงเช็ดน้ำที่ตัวอุปัชฌายะ แล้วพึงให้ผ้านุ่ง
ให้ผ้าสังฆาฏิ แล้วพึงถือเอาตั่งสำหรับเรือนไฟมาตั้ง
ไว้ก่อน พึงตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
ไว้ท่า พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำฉัน
ถ้าใคร่จะเรียนบาลี ก็พึงให้อุปัชฌายะแสดงบาลีขึ้น
ถ้าใคร่จะไต่ถามเรียนอรรถกถา ก็พึงไต่ถามเรียน
อุปัชฌายะอยู่ในวิหารกุฎีใด ถ้าวิหารกุฎีนั้นรก
ด้วยหยากเยื่อ ถ้าอุตสาหะอยู่พึงชำระปัดกวาดเสีย เมื่อ
จะชำระกุฎี พึงปฏิบัติดังกล่าวแล้ว
ในเสนาสนวัตรจงทุกประการ จนถึงตักน้ำไว้
ในหม้อชำระเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 19:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าอุปัชฌายะต้องครุธรรม คือสังฆาทิเสส เป็น
ผู้ควรปริวาสหรืออยู่ปริวาสต้องอันตราบัติ เป็น
ผู้ควรมูลายปฏิกัสสนะ หรืออยู่ปริวาสแล้วเป็น
ผู้ควรมานัต หรืออยู่มานัตแล้วเป็นผู้ควรอัพภานกรรม
กิจเหล่านี้ให้สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า
ไฉนสงฆ์จะพึงให้ปริวาสและมูลายปฏิกัสสนะ และมานัต
และอัพภาน แก่อุปัชฌายะดังนี้
ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำตัชชนียกรรม หรือนิยสกรรม
หรือปัพพาชนียกรรม หรือปฏิสารณียกรรม
หรืออุกเขปนียกรรม สิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่อุปัชฌายะไซร้
ให้สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ไฉนสงฆ์จะ
ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ หรือจะน้อมไปเพื่อ
เป็นกรรมเบา ดังนี้ ถ้ากรรมนั้นสงฆ์ทำแก่อุปัชฌายะ
แล้วไซร้ ให้สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า
ไฉนอุปัชฌายะจะพึงปฏิบัติชอบ สงฆ์จะพึงระงับกรรม
นั้นให้ ดังนี้
ถ้าจีวรแห่งอุปัชฌายะจะต้องซัก หรือจีวรอุปัชฌายะจะ
ต้องทำ หรือน้ำย้อมอุปัชฌายะจะต้องต้ม
หรือจีวรอุปัชฌายะจะต้องย้อม กิจเหล่านี้
ให้สัทธิวิหาริกพึงทำให้ หรือสัทธิวิหาริกพึงทำ
ความขวนขวายในกิจเหล่านี้ เพื่อ
จะย้อมจีวรแห่งอุปัชฌายะ พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมา
ด้วยดี เมื่อตากแถวน้ำย้อมในจีวรยัง
ไม่ขาดอย่าเพ่อหลีกไปเสีย เฝ้าอยู่ก่อน
ไม่บอกอุปัชฌายะก่อน อย่าให้บาตร ให้จีวร ให้บริขาร
และโกนผมให้ และทำบริกรรมให้ และทำความขวนขวาย
ให้แก่คนบางคน และอย่ารับบาตร รับจีวร
รับบริขารคนบางคน และอย่ายังคนบางคนให้โกนผมให้
ให้ทำบริกรรมให้ ให้ทำขวนขวายให้แก่ตน และอย่า
เป็นปัจฉาสมณะตามหลังคนบางคน
อย่าถือเอาคนบางคนมาเป็นปัจฉาสมณะ
อย่านำบิณฑบาตไปให้แก่คนบางคน อย่า
ให้คนบางคนนำบิณฑบาตมาให้ ซึ่งว่าคนบางคนนั้น
ประสงค์เอาคนที่เป็นวิสภาคไม่ชอบแก่อุปัชฌายะ
ต้องบอกอุปัชฌายะก่อน จึงทำการเหล่านี้ได้
และไม่บอกลาอุปัชฌายะก่อน อย่าพึงเข้าในบ้าน
อย่าพึงไปป่าช้า เพื่อจะอยู่หรือจะดู อย่าพึงไปสู่ทิศ ใคร
จะเข้าไปบ้านหรือบิณฑบาตหรือด้วยกิจอื่น
พึงบอกอุปัชฌายะก่อนจึงเข้าไป ถ้าอุปัชฌายะปรารถนา
จะลุกขึ้นแต่เช้า ไปยังที่ภิกขาจารไกลไซร้
อุปัชฌายะก็พึงบอกว่าภิกษุหนุ่มจงเข้าไปบิณฑบาตเถิด
ดังนี้ก่อนแล้วจึงไป เมื่อไม่บอกดังนี้แล้วไปเสีย
สัทธิวิหาริกไปที่บริเวณไม่เห็นอุปัชฌายะจะ
เข้าไปบ้านก็ควร ถ้าแม้ว่าเข้าไปเห็นเข้าไซร้ ตั้งแต่ที่เห็น
จะบอกลาก็ควร สัทธิวิหาริกใคร่จะหลีกไปยังทิศที่อื่น
พึงบอกกาลแล้วอ้อนวอนลา ๓ ครั้ง
ถ้าอุปัชฌายะอนุญาต เป็นความดี ถ้าไม่อนุญาตไซร้
แม้เมื่ออาศัยอุปัชฌายะอยู่ อุทเทสหรือปริปุจฉา
หรือกัมมัฏฐาน หรือปรารภความเพียรเหล่านี้ไม่บริบูรณ์
อุปัชฌายะเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นแต่ไม่ยอมให้ไป
ด้วยใคร่จะให้อยู่ในสำนักตนอย่างเดียวเท่านั้น
อุปัชฌายะเช่นนี้แม้ห้ามอยู่ จะไปก็ควร
ถ้าอุปัชฌายะเป็นไข้ไซร้ พึงอุปัฏฐากตลอดชีพ
พึงคอยท่าอยู่ว่าจะหายไข้ อย่าพึงไปในที่ใด ถ้าภิกษุ
ผู้อุปัฏฐากอื่นมีอยู่ไซร้ พึงแสวงหายาให้ไว้ในมือภิกษุนั้น
แล้วบอกว่า เธอองค์นี้จะอุปัฏฐาก แล้วจึงค่อยไป
สัทธิวิหาริกจะพึงปฏิบัติดีในอุปัชฌายะทั้งหลายอย่างไร
นี้แลเป็นอุปัชฌายวัตรแห่งสัทธิวิหาริก ดังนี้แล
อุปัชฌายวัตตัง จบ
ในอาจริยวัตร ความว่า อันเตวาสิกผู้ถือนิสัยอยู่
ด้วยอาจารย์พึงปฏิบัติชอบในอาจารย์ ความปฏิบัติชอบ
ในอาจารย์ เหมือนอุปัชฌายวัตรทุกประการ
อาจริยวัตตัง จบ
........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร