วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 15:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

สัจจธรรมวิภาค

(*พ.ศ.๒๔๗๒)
อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ
อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ
อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ
อยํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาตีติ.
.......... บัดนี้ จักแสดงสัจจกถา ซึ่งนิยมว่า
เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาของพุทธบริษัทผู้มุ่งหวังต่อนิพพุติ
หรือสันติธรรม ความดับทุกข์ ซึ่งปฏิญาณตนว่า
เป็นพุทธมามกะ คือถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นของ ๆ ตน
เพราะคำที่ว่าพระพุทธศาสนา ไม่ประสงค์สถานที่
ไม่ประสงค์วัตถุ ไม่ประสงค์บุคคล
ประสงค์โอวาทคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง
ชื่อว่าพระพุทธศาสนา หรือชื่อว่าพระธรรม พระธรรมนั้น
ไม่มีเสื่อมไม่มีเจริญ คงที่อยู่เสมอ การเสื่อมและเจริญนั้น
อยู่ที่โลกคือบุคคล สมัยใดโลกเจริญ ธรรมก็เจริญ สมัย
ใดโลกเสื่อมธรรมก็เสื่อม ธรรมอาศัยโลก
โลกอาศัยธรรม
สมัยทุกวันนี้โลกกำลังก้าวหน้าขึ้นสู่ความเจริญ
พระพุทธศาสนาหรือพระธรรมก็ก้าวหน้าขึ้นสู่
ความเจริญเหมือนกัน
วัดวาอารามเปรียบเหมือนสระสำหรับเก็บน้ำ
พระภิกษุสามเณรเปรียบเหมือนผู้บำรุงน้ำให้สมบูรณ์
เต็มสระอยู่เสมอ ทายกทายิกาเป็นผู้อาศัยกินอาศัยอาบ
เพราะเหตุนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงต้องสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน
พระภิกษุสามเณรถ้าไม่ได้รับการเกื้อกูลแต่ทายกทายิกา
ก็หมดกำลังไม่สามารถ
จะเล่าเรียนท่องบ่นจำทรงพระพุทธโอวาทศาสนาได้
ถ้าภิกษุสามเณรขาดการศึกษาเล่าเรียน
จำทรงพระพุทธโอวาทไม่ได้ ถึง
จะมีวัดมีภิกษุสามเณรรักษาอยู่ก็เท่ากับมีสระที่น้ำแห้ง
ทายกทายิกาจะอาศัยอาบกินอย่างไรได้ ภิกษุสามเณร
ไม่ศึกษาเล่าเรียนให้ฉลาดในพุทธโอวาท
พอสั่งสอนตอบแทนทายกทายิกาได้
ก็ชื่อว่าภิกษุสามเณรเอาเปรียบแก่ทายกทายิกาอย่างเดียว
เพราะเขาเกื้อกูลด้วยปัจจัยทั้ง ๔ ให้ความสุขพอแล้ว
ส่วนตนก็ควรจะศึกษาพุทธโอวาท
ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำอันบริสุทธิ์นั้นมาใส่ไว้ให้เต็มบริบูรณ์
ในวัดที่ตนอาศัย ดังน้ำเต็มบ่อสระเช่นนั้น เพื่อจะ
ได้เฉลี่ยตอบแทนแก่ทายกทายิกา
ตามสมควรแก่ฐานะของตนเป็นการชอบแท้
..........ความจริงพระพุทธศาสนา
เป็นของทวนกระแสโลก ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในประเทศสยาม
ได้ทุกวันนี้ ด้วยอาศัยพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง
พระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนน้ำอมฤตอันบริสุทธิ์ปราศ
จากโทษ ผู้ถือพระพุทธศาสนาก็เท่ากับ
ผู้บริโภคน้ำอันบริสุทธิ์ ผู้บริโภคมากก็ได้รับความสุขมาก
ผู้บริโภคน้อยก็ได้รับความสุขน้อย สมควรแก่ภูมิของตน
อันจะปราศจากผลนั้นไม่มีเลย ให้พิจารณาดู
ผู้ดื่มน้อยบริโภคน้อย ดังผู้รักษาเพียงชั้นศีล ๕ เท่านั้น
ก็พ้นจากเวรพ้นจากภัย ผู้รักษาศีล ๘ ก็เย็นมากกว่า
ผู้รักษาเพียงศีล ๕ ยิ่งผู้รักษาปาติโมกขสังวรศีลเป็นภิกษุ
ในพุทธศาสนาก็ยิ่งเย็นสำราญมากขึ้น ผู้บวชน้อยเวลาก็
ได้รับความสุขน้อย ผู้บวชนานก็ได้รับความสุขมากขึ้น
ผู้บวชตลอดชีวิตก็ยิ่งได้รับความสุขตลอดชีวิตเหมือนกัน
แต่ที่จะได้รับความสุขสำราญซึ่งเป็นส่วนวิเศษมาก
และน้อยกว่ากันนั้น ก็เป็นอีกโสดหนึ่ง ยกไว้
เป็นหน้าที่ของบุคคล
ธรรมดาของบุคคลจะให้เหมือนกันได้ด้วยยาก
ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ
ตามชั้นตามภูมิของตน ก็คงได้รู้สึกตนว่าตน
เป็นพุทธมามกะ เพราะการประพฤติกิจพระพุทธศาสนาก็
เท่ากับผู้เข้าฝึกหัดเพลงทหาร ถึงแม้จะฝึกหัดน้อยเพียง
๒ ปี ก็คงรู้สึกว่าตนเป็นทหาร ถ้ายิ่งฝึกหัดมากปีขึ้น ก็ได้
ความรู้ความฉลาดในเพลงทหารมากขึ้น จนถึงสามารถ
เป็นแม่ทัพ นายกองได้ฉันใด
ผู้ประพฤติกิจพระพุทธศาสนาก็ฉันนั้น
ผู้ที่ถือพุทธศาสนาซึ่งบริบูรณ์ด้วยลาภและยศ สูงบ้าง
กลางบ้าง ต่ำบ้าง ข้อนั้นก็อีกโสดหนึ่ง ไม่
ใช่ของควรติเตียน ไม่ใช่ของควรชม
เป็นของสำหรับกรรมของบุคคลอีกส่วนหนึ่ง ลาภและยศ
ไม่ใช่เป็นของขัดข้องคือไม่เป็นสัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์ ถ้า
จะเป็นก็เป็นด้วยบุคคลอีกส่วนหนึ่ง ความจริง
ผู้มีลาภมากมียศใหญ่ปรารถนาสวรรค์
มรรคผลนิพพานอาจสำเร็จได้โดยเร็ว เปรียบเหมือน
ผู้มีสมบัติมาก ต้องการของที่มีค่าอันสูงสุดก็อาจสำเร็จได้
ผู้ที่ไร้ลาภไร้ยศปรารถนาสวรรค์มรรคผลนิพพานย่อมได้
ด้วยยาก เปรียบเหมือนคนจน
ต้องการของที่มีค่าอันสูงออกจะไม่สำเร็จ
ข้อนี้พึงเล็งอุปนิสัยวาสนาก็จักเห็นจริงด้วย
แต่นั่นแหละการสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
ในทางสวรรค์มรรคผลนิพพานก็เป็น
ด้วยบุคคลอีกนั่นแหละ ใช่ว่ามีลาภมียศแล้วจะ
ได้สำเร็จสวรรค์มรรคผลนิพพานทีเดียวก็หาไม่ ยากจน
จะเอาสวรรค์มรรคผลนิพพานไม่ได้ก็หาไม่
เพราะสวรรค์มรรคผลนิพพานท่านมิได้นิยมชั้นของบุคคล
ท่านนิยมบุคคลผู้มีศรัทธา โดยที่มาว่า สทฺธีธ วิตฺตํ
ปุริสสฺส เสฏฐํ ศรัทธาความเชื่อ
เป็นทรัพย์อันประเสริฐของบุรุษในโลก สทฺธาย ตรติ โอฆํ
ผู้ข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา สทฺธินฺทฺริยํ ศรัทธาเป็นใหญ่
สทฺธาพลํ ศรัทธาเป็นกำลัง สทฺธาธนํ ศรัทธาเป็นทรัพย์
ดังนี้ ชักมาพอให้เห็นว่าศรัทธาเป็นคุณธรรมอันสำคัญ
ไม่นิยมบุคคลชั้นใด ถ้ามีศรัทธาเต็มที่
แล้วอาจสำเร็จมรรคผลที่ตนปรารถนาได้ทุกประการ
ตามสมควรแก่วาสนาของตน ๆ
อิทธิบาททั้ง ๔ คือ ฉนฺท ความพอใจ ๑ วิริย ความเพียร
เป็นไปกล้า ๑ จิตฺต ความมั่นใจ ๑ วิมงฺสา
ความตรวจตรอง ๑ ธรรมทั้ง ๔ นี้ เป็นบาทแห่ง
ความสำเร็จจึงเรียกว่าอิทธิบาท อิทธิบาททั้ง ๔ นี้ถ้าไม่
ได้ศรัทธาเป็นผู้อุปกรณ์แล้วก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
จะต้องบำรุงศรัทธาให้กล้าหาญ พุทธบริษัทย่อมทราบอยู่
ด้วยกันว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ได้ตรัสรู้อริยสัจธรรมทั้ง
๔ ด้วยตนด้วยดี พระองค์จึงสำเร็จพุทธภูมิ
เป็นพระพุทธเจ้า แปลว่าเป็นเจ้าแห่งความตรัสรู้ของจริง
ไม่มีใครในไตรภพจะรู้ยิ่งขึ้นไปกว่าพระองค์ได้ จึง
ได้ทรงเนมิตติกนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พระองค์เป็น
ผู้นำหน้าของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เข้าสู่พระนิพพานดังนี้
..........การที่จักแสดงต่อไปนี้ ให้พึงเข้าใจว่า
สนทนาธรรมสากัจฉากันในเรื่องกถาวัตถุในข้อที่ ๙ ที่
๑๐ ซึ่งว่าวิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา
เพราะพรหมจรรย์ท่านแสดงว่า มีวิมุตติอย่างเดียว
เป็นสาระเป็นรส เหมือนน้ำในมหาสมุทรมีเค็มอย่างเดียว
เป็นรสฉะนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 15:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจกถา
..........ก็ในอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการ ซึ่งว่า
เป็นหัวใจทางตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
บรรดาเหล่าที่เป็นพุทธบริษัทออกจะชำนาญเข้าใจ
กันแม่นยำคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อาจชี้แจงให้ผู้
อื่นฟังได้ดี ๆ ตามนัยพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรว่า
ทุกขสัจ ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ สมุทัยสัจ ได้แก่ตัณหา ๓
คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นิโรธสัจ ได้แก่
ความดับตัณหา มรรคสัจ ได้แก่พระอัฏฐังคิกมรรค ดังนี้
..........ในโอวาทปาฏิโมกข์ แสดงอริยสัจ
ด้วยอุปริมปัญญาว่า อิทํ ทุกฺขํ อยํ ทุกฺขสมุทโย อยํ
ทุกฺขนิโรโธ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาติ ยถาภูตํ
ปชานาติ ดังนี้ ซึ่งแปลว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอรู้ประจักษ์แจ้งชัดว่า นี้ทุกข์ นี้สมุทัยเหตุ
ให้ทุกข์เกิดขึ้น นี้นิโรธความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาทางให้ถึง
ความดับทุกข์ ตามความเป็นจริงอย่างไร ดังนี้ จัดว่า
เป็นปัญญาขั้นสูง แต่ความย่อมากถ้าไม่มีความรู้มา
จากทางอื่นออกจะถือเอาเนื้อความไม่ได้ ที่ชี้ทุกขสัจ
ในพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรว่า ชาติทุกข์ ชราทุกข์
มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปโยคทุกข์ ปิเยหิ วิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉัง น
ลภติทุกข์ สังขิตเตน ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ย่นลง
ให้สั้นก็คือความยึดมั่นในขันธ์ ๕ นี้แหละเป็นทุกข์ ดังนี้
..........เมื่อฟังดูตรองดูก็เฝือ จะถือเอาที่ตรงไหน
เป็นหน้าตาของทุกขสัจ ถ้าจะถือเอาทั้งพวงนี้แหละ
เป็นทุกขสัจ ถ้าเช่นนั้นทุกขสัจก็จักหาเหตุไม่ได้ จะพูดว่า
ก็ตัณหานั้นอย่างไรเล่าเป็นตัวเหตุ ถ้าตัณหาเป็นตัวเหตุ
ตัณหาไม่มาจากชาติความเกิดดอกหรือ? ก็มา
จากเกิดนั่นละซิ ก็ถ้าตัณหามาจากชาติความเกิด ชาติ
ความเกิดมิเป็นเหตุแห่งตัณหาหรือ พูดอย่างไร
ก็ท่านแสดงว่า ชาติเป็นผลจะกลับเอาชาติ
เป็นเหตุอย่างไรได้ จริงอยู่ ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร
ท่านยกชาติ ชรา มรณะเป็นผล คือเป็นตัวทุกขสัจ แต่
ในปฏิจจสมุปบาท ในสมุทัยวาร ท่านยกชาติ ชรา มรณะ
เป็นเหตุ คือเป็นสมุทัย เมื่อที่มาทั้ง ๒ แห่งไม่ลงกันเช่นนี้
เราควรวินิจฉัยอีกชั้นหนึ่ง
ชาติ ชรา มรณะ ในปฏิจจสมุปบาท ที่ว่าเป็นสมุทัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์มิได้ปฏิญญาว่า พระองค์มิ
ได้เคยได้ยินได้ฟังมาแต่กาลก่อน และ
ยังดำเนินวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ด้วย ส่วน ชาติ ชรา
มรณะ ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระองค์เป็นพระสยัมภู
แล้ว ทั้งมีคำปฏิญญาว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ
ในธรรมทั้งหลายคือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นทุกขสัจ ตัณหา
เป็นสมุทัยสัจ ความดับตัณหาเป็นนิโรธสัจ
อัฏฐังคิกมรรคเป็นมรรคสัจ ของจริงทั้ง ๔ ประการนี้
เกิดขึ้นด้วยญาณจักษุ ปัญญา วิชชา
ความรู้แจ้งแสงสว่างของเราเอง เราไม่เคยได้ยิน
ได้ฟังมาแต่กาลก่อนเลย ดังนี้
..........ชาติ ชรา มรณะ ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นเหตุ
เป็นสมุทัยนั้น คงมีอาการอย่างหนึ่ง พระองค์เคยได้ยิน
ได้ฟังได้รู้ได้เห็นมาแล้ว ส่วน ชาติ ชรา มรณะ ที่มา
ในพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งว่าเป็นผลคือ
เป็นทุกขสัจนั้น คงจะมีอาการไปอีกอย่างหนึ่ง ที่พระองค์
ไม่เคยได้ยินได้ฟังได้รู้ได้เห็นมาแล้วในกาลก่อน
พระองค์จึงทรงปฏิญญาอย่างนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 15:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายอริยสัจโดยย่อ
..........
จักอธิบายอริยสัจตามนัยโอวาทปาฏิโมกข์ที่ท่านแสดงย่อ
ๆ ไว้ว่า อิทํ ทุกฺขํ อยํ ทุกฺขสมุทโย อยํ ทุกฺขนิโรโธ อยํ
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา ซึ่งแปลว่านี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ
นี้มรรค ดังนี้
ที่จักอธิบายนี้อาศัยหลัก คือ อิทํ อยํ ศัพท์ซึ่งแปลว่านี้ คือ
หมายสกลกายอันเดียวเท่านั้น เป็นทั้งทุกขสัจ สมุทัยสัจ
นิโรธสัจ มรรคสัจ ต่างกันโดยอาการเท่านั้น
อาการที่ชาติ ชรา มรณะซึ่งเป็นปัจจุบัน คือเกิดอยู่เสมอ
แก่อยู่เสมอ ตายอยู่เสมอ นี้เป็นทุกขสัจ ที่ไม่รู้จักชาติ
ชรา มรณะ อาการนี้นั้นแหละเป็นสมุทัยสัจ
ความรู้จักชาติ ชรา มรณะ อาการนี้นั้นแหละเป็นนิโรธสัจ
ญาณจักษุที่รู้ว่าชาติ ชรา มรณะ อาการนี้เป็นทุกข์
อาการนี้เป็นสมุทัย อาการนี้เป็นนิโรธ เป็นสัมมาทิฏฐิ
เป็นมรรค หรือจะแยกออกพูดว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้แหละเป็นทุกขสัจ ความไม่รู้จัก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้แหละเป็นสมุทัยสัจ ความรู้จัก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้แหละเป็นนิโรธสัจ ญาณจักษุที่รู้ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ อาการนี้เป็นทุกข์ อาการนี้เป็นสมุทัย อาการนี้
เป็นนิโรธ เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค หรือ
จะแยกไปพูดอย่างใหม่อีกว่า นามรูปนี้แหละเป็นทุกขสัจ
ที่ไม่รู้จักนามรูปนี้แหละเป็นสมุทัยสัจ
ที่รู้จักนามรูปนี้แหละเป็นนิโรธสัจ ญาณจักษุที่รู้ว่านามรูป
อาการนี้เป็นทุกข์ อาการนี้เป็นสมุทัย อาการนี้เป็นนิโรธ
เป็นสัมมาทิฏฐิเป็นมรรค หรือจักรวม
ทั้งก้อนนี้ทีเดียวว่าสกลกายอันนี้แหละเป็นทุกขสัจ ความ
ไม่รู้จักสกลกายอันนี้แหละเป็นสมุทัยสัจ
ความรู้จักสกลกายอันนี้แหละเป็นนิโรธสัจ
ญาณจักษุที่รู้ว่าสกลกาย อาการนี้เป็นทุกข์ อาการนี้
เป็นสมุทัย อาการนี้เป็นนิโรธ เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค
ที่แสดงอย่างนี้ เล็งถึง อิมะ ศัพท์ซึ่งชี้นามเฉพาะว่านี้
คือที่มาต่าง ๆ ที่ท่านแสดงอริยสัจ ในที่ทุกสถานไม่เห็นมี
ตะ ศัพท์ที่แปลว่านั้นเลย ต่างว่าชาติความเกิด
ถ้าหมายปฏิสนธิวิญญาณ หรือหมายเวลาคลอด
ตามเทวทูตสูตรต้องใช้ตะศัพท์เพราะเป็นอดีต ส่วนชรา
ความแก่ มรณะความตาย ถ้าหมายผมหงอกฟันหัก
หรือสิ้นลมหายใจ ตามนัยเทวทูตสูตร ก็ต้อง
ใช้ตะศัพท์เหมือนกัน เพราะเป็นอนาคต ขอ
ให้นักธรรมพึงสันนิษฐาน ตามนัยที่แสดงมานี้เถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 15:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางวินิจฉัย
..........จะแสดงทางวินิจฉัย คือในปฏิจจสมุปบาท
เป็นทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ใช้สัญญาอดีตเป็นเกณฑ์
ชาติ ชรา มรณะ จึงเป็นเหตุ เป็นสมุทัย ต่อเมื่ออวิชชาดับ
แล้ว จึงเป็นวิปัสสนาญาณขึ้น ส่วน
ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ด้วยกำลังญาณทัสสนะ ตัววิปัสสนาญาณ เพราะเหตุนั้น
ชาติ ชรา มรณะ ซึ่งทรงแสดง
ในพระธรรมจักรนี้คือปัจจุบันธรรม ซึ่งพระองค์ไม่เคย
ได้ยินได้ฟังมาแต่กาลก่อน เป็นญาณจักษุของพระองค์
จึงเป็นทุกขสัจเป็นผลแท้ มีอาการต่างกันอย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 15:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท
..........บัดนี้ จักแสดงอาการของสกลกายนี้
ซึ่งมีประเภท ๑๒ ประการ ท่าน
ให้ชื่อว่าปัจจยาการคือปฏิจจสมุปบาท การแสดงนี้
ไม่ประสงค์จะแสดงตามนัยอรรถกถา เล็งตามในบาลีตรง
ๆ คือ
(๑) สกลกายของเรานี้โลกสมมติว่า สังขาร
ธรรมดาของสังขารมีลักษณะ ๓ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
แต่สังขารในปฏิจจสมุปบาทนี้ท่านประสงค์เจตสิกสังขาร
คือ ปุญญาภิสังขาร ได้แก่โสภณเจตสิก ๒๕
อปุญญาภิสังขาร ได้แก่อกุศลเจตสิก ๑๔
อเนญชาภิสังขาร ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
เจตสิกสังขารนี้เป็นอาการของสกลกายประการที่ ๑
(๒) โลกสมมติว่า วิญญาณ หมายความรู้วิเศษ
ในที่นี้ท่านหมายถึงวิญญาณ ๖ คือ จักษุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ เป็นอาการของสกลกายประการที่ ๒
(๓) โลกสมมติว่า นามรูป ส่วนที่มีแต่อาการดังสุขทุกข์
เป็นต้น สัมผัสไม่ได้ด้วยกายชื่อว่านาม
ส่วนข้นแข็งอาจสัมผัสได้ด้วยกายชื่อว่ารูป รวมทั้ง ๒
ลักษณะนี้เข้ากันท่านเรียกว่านามรูป
เป็นอาการของสกลกายประการที่ ๓
(๔) โลกสมมติว่า อายตนะ ๖ แปลว่าที่ต่อหรือบ่อเกิด คือ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอาการของสกลกายประการที่

(๕) โลกสมมติว่า ผัสสะ ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส
ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
เป็นอาการของสกลกายประการที่ ๕
(๖) โลกสมมติว่า เวทนา ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา มีผัสสะ
ทั้ง ๖ เป็นแดนเกิด เป็นอาการของสกลกายเป็นประการที่

(๗) โลกสมมติว่า ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา อาศัยเวทนาเนื่องมาแต่ผัสสะ ๖
เป็นแดนเกิดเหมือนกัน เป็นอาการของสกลกายประการที่

(๘) โลกสมมติว่า อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
เป็นอาการแห่งสกลกายประการที่ ๘
(๙) โลกสมมติว่า ภพ มี ๒ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ
กรรมภพ ได้แก่ใจ อุปปัตติภพได้แก่กาย
เป็นอาการแห่งสกลกายประการที่ ๙
(๑๐) โลกสมมติว่า ชาติ ความเกิดมี ๒ คือ ปฏิจฉันนชาติ
อัปปฏิจฉันนชาติ เป็นอาการแห่งสกลกายประการที่ ๑๐
(๑๑) โลกสมมติว่า ชรา ความแก่มี ๒ คือ ปฏิจฉันนชรา
อัปปฏิจฉันนชรา เป็นอาการแห่งสกลกายประการที่ ๑๑
(๑๒) โลกสมมติว่า มรณะ ความตายมี ๒ คือ
ปฏิจฉันนมรณะ อัปปฏิจฉันนมรณะ
เป็นอาการแห่งสกลกายประการที่ ๑๒
อาการ ๑๒ นี้มีครบอยู่ในตัวของเราทุกประการ ล้วนแต่
เป็นสัญญาอดีตทั้งสิ้น ล้วนแต่เป็นสมมุติธรรมทั้งสิ้น ส่วน
ใดเป็นสมมุติธรรมเป็นสัญญาอดีต ส่วนทั้งสิ้นนั้น
เป็นตัวสมุทัยด้วยกันหมด ส่วนปัจจัยนั้นไม่ใช่เหตุ เหตุ
นั้นเป็นตัวตั้งให้เกิดผล ส่วนปัจจัยนั้นเป็นแต่ผู้อุดหนุน
ให้เหตุมีกำลังให้เกิดผลเท่านั้น ถ้ามีแต่เหตุ
ไม่มีปัจจัยอุดหนุน เหตุก็หมดกำลังเกิดผลไม่ได้
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ท่านมิได้แสดงว่าเหตุ เพราะตัวเหตุทั้ง
๑๒ ประการนั้นมีพร้อมอยู่ในตัวของเราแล้ว
จึงแสดงแต่เพียงปัจจัยให้แลเห็น เมื่อตัวเรายัง
เป็นอวิชชาอยู่ ก็เป็นปัจจัยอุดหนุนให้สังขารมีกำลังขึ้น
ต่อนั้นไปก็อุดหนุนตัวเหตุนั้น ๆ จนถึงชรามรณะ
ให้มีกำลังขึ้นตามกัน เมื่อปัจจัยยังมีกำลังอุดหนุนเหตุ
ให้เกิดผลอยู่ได้เพียงใด ผลของเหตุ คือ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสก็คงมี
อยู่พร้อมเพรียงเพียงนั้น
ผู้จะตรองแก้ต้องเห็นโทษของอวิชชาอย่างเดียวว่า
เป็นตัวปัจจัย อะไรเป็นปัจจัยของอวิชชา เรานั่นแหละ
เป็นปัจจัยของอวิชชา อะไรเป็นปัจจัยของเรา
อวิชชานั้นแหละเป็นปัจจัยของเรา ถ้ามีอวิชชาก็มีเรา
ถ้ามีเราก็มีอวิชชา เมื่อสกัดหน้าสกัดหลังเข้าอย่างนี้
อวิชชาก็หมดกำลังดับลงไปเอง ตัวเราก็ดับลงไปเสียด้วย
ทีนี้ยังเหลืออยู่แต่สภาวธรรมเป็นตัววิชชาขึ้น
ส่วนอาการของอวิชชา คือ สังขาร วิญญาณ นามรูป
อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา
มรณะ ก็ดับไปตามกันหมด ผลของสมุทัย คือ
โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสก็ดับไปตามกันสิ้น
เพราะอวิชชาดับอันเดียว
พระโยคาวจร
ผู้หวังต่อญาณทัสสนะอย่าทิ้งแบบแผนตำรา
แต่อย่าติดแบบแผนตำรา ตำราแบบแผนไม่ใช่ยา ยาไม่
ใช่ตำราแบบแผน ความไข้ไม่ใช่หายด้วยยาอย่างเดียว
ต้องอาศัยกินยานั้นด้วยไข้จึงหาย ทางวิปัสสนานัย
ตามนัยปฏิจจสมุปบาทนี้ ถ้า
จะเพลินตามแนวบาลีอย่างเดียว
หรือเพลินตามนัยแห่งอรรถกถาก็
จะไปหลงอดีตอนาคตปัจจุบัน สนธิและอัทธา
จะหาทางออกไม่ได้ ความจริงทางวิปัสสนา
ไม่ประสงค์อดีตอนาคตเลย ให้เพ่งแต่ปัจจุบันอย่างเดียว
เพราะอาการ ๑๒ มีพร้อมอยู่ที่ตัวเราหมดแล้ว จะ
ต้องไปเพ่งอดีตอนาคตอะไร สำคัญ
อยู่แต่อวิชชาอย่างเดียวเท่านั้น อวิชชาคืออะไร ก็คือ
ความไม่รู้ตัว รู้แต่ตัวสมมุติ ไม่รู้ตัววิมุตติ เมื่อไม่รู้ตัวจริง
รู้แต่ตัวปลอมเช่นนั้น เพราะเหตุนั้น จึง
เป็นปัจจัยอุดหนุนสังขารให้มีกำลังขึ้นเท่านั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 16:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังขารกถา
..........บัดนี้ จักอธิบายความดับสังขาร สังขาร
เป็นของมีมาก ต้องเป็นพหุวจนะเสมอ จะชี้ให้
เข้าใจสังขารโลก กับสังขารธรรมก่อน
สังขารโลกคือโลกกระทำขึ้นแต่งขึ้นปรุงขึ้นสมมุติขึ้น ดัง
ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งโลก
เขาสมมุติว่าตัวว่าเราว่าของเรา คือตัวอวิชชานี้
ก็ชื่อว่าสังขารโลก ที่สมมุติเจตสิกให้เป็นสังขาร สมมุติ
ความรู้ให้เป็นวิญญาณ สมมุติกายใจให้เป็นนามรูป
ต่อไปก็สมมุติให้เป็นอายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
ไปตามลักษณะอาการเหล่านี้เป็นต้น
เป็นตัวอย่างชื่อว่าสังขารโลก
ความจริงสังขารโลกนี้เป็นของไม่มีเป็นของเปล่า
เป็นของสูญอยู่โดยธรรมดา ส่วนที่มีที่แลเห็นอยู่ทั้งสิ้น
เป็นสังขารธรรมต่างหาก ลักษณะของสังขารธรรม คือ
เป็นขึ้นเองตามสภาพของตน ดังสกลกายของเรานี้จะ
เป็นอวัยวะน้อยใหญ่ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็
เป็นขึ้นตามสภาพของเขาเอง บุคคลไม่ได้ช่วยแต่ง
จึงชื่อว่าสังขารธรรม สังขารธรรมนี้ประกาศตนแสดงตน
อยู่ทุกเมื่อ และเป็นที่รับรองสังขารโลก
สังขารโลกครอบงำปกปิดสังขารธรรม ผู้ไม่มีญาณจักษุ
จะได้เห็นแต่สังขารโลกเท่านั้น จะ
ไม่เห็นสังขารธรรมเลย
เมื่อได้แสดงมาถึงสังขารโลกสังขารธรรม แล้วจะ
ต้องแสดงอุปาทินนกสังขาร อนุปาทินนกสังขารด้วย
เพราะมีอาการอย่างเดียวกัน โลกกับธรรมมีชื่อร่วมกัน
แต่มีอาการต่างกันตามที่มาต่าง ๆ
ท่านแสดงอุปาทินนกสังขาร
หมายสิ่งที่มีใจครองดังมนุษย์และสัตว์เป็นตัวอย่าง
ส่วนอนุปาทินนกสังขารนั้น ท่านหมายสิ่งที่
ไม่มีใจครองดังกรวดทรายอิฐปูนวัตถุเครื่องใช้สอย
เป็นตัวอย่าง ที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้เป็นการถูก
ต้องตามลักษณะสัญญาโลก เพราะผู้ยังไม่เห็นธรรม
ต้องถือเอานัยนี้เป็นเกณฑ์ ทิฏฺฐธมฺโม ผู้มีธรรมอันเห็น
แล้ว ปตตฺตธมฺโม ผู้มีธรรมอันถึงแล้ว วิทิตธมฺโม
ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งนั้น ต้องเห็นไปอีกอย่างหนึ่ง
คือเห็นว่าอุปาทินนกสังขารกับอนุปาทินนกสังขาร
เป็นอันเดียวกัน คือสิ่งที่มีใจครองหรือวัตถุที่หาใจครองมิ
ได้ก็ตาม ถ้ายังมีอุปาทาน
ความยึดมั่นถือมั่นตามสัญญาโลกว่า นั้นเป็นนั่น นั้นเป็นนี่
อยู่ สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นเป็นอุปาทินนกสังขารทั้งสิ้น
ต่อเมื่อเพิกสัญญาอุปาทานออกเสียได้
คือถอนสมมุติออกจากสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว จะ
เป็นสิ่งมีใจครองหรือไม่มีใจครองก็ตาม สิ่งเหล่านั้น
เป็นอนุปาทินนกสังขารทั้งสิ้น ต่างกัน
ด้วยลักษณะอาการดังบรรยายมานี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 16:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานกถา
..........เมื่อได้แสดงสังขาร ๒ แล้ว จะต้องแสดงนิพพาน
๒ ไว้ด้วย เพราะมีลักษณะอาการอย่างเดียวกัน คือ
สอุปาทิเสสนิพพาน กับ อนุปาทิเสสนิพพาน ท่านแสดงไว้
ในที่มาต่าง ๆ สอุปาทิเสสนิพพานนั้น
ท่านหมายกิเลสนิพพาน
ได้เมื่อท่านสำเร็จพระอรหันต์กิเลสดับหมดแล้ว
แต่วิบากขันธ์และกัมมัชรูปยังเหลืออยู่ จึงชื่อว่า
สอุปาทิเสสนิพพาน ท่านแปลว่านิพพานยังมีวิบากขันธ์
และกัมมัชรูปเหลืออยู่ อนุปาทิเสสนิพพาน นั้น
ท่านหมายเมื่อถึงมรณภาพดับเบญจขันธ์
จึงชื่อว่าดับวิบากขันธ์และกัมมัชรูปสิ้นเสร็จหาเศษมิได้
จึงได้ชื่อว่า อนุปาทิเสสนิพพาน ท่านแปล
ไว้ว่านิพพานดับวิบากขันธ์และกัมมัชรูปสิ้นเสร็จหาเศษมิ
ได้ ดังนี้
ที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้ก็ถูกต้องตามลักษณะสัญญาโลก
ใช่อื่นไกลก็คือสังขารโลกนั่นเอง สำหรับผู้ยัง
ไม่เห็นเงื่อนเงาของพระนิพพานเลย จะแสดงไปอย่างอื่น
จะฟังเข้าใจอย่างไร จำเป็นท่านก็ต้องแสดงอย่างนั้น รู้
ไว้เพียงนั้นก็ดีอยู่แล้ว ส่วนท่านผู้มีธรรมอันได้เห็นแล้ว
คือมีโลกุตรธรรมอันได้เห็นแล้ว ท่านย่อมเห็นไปอีก
ส่วนหนึ่ง
คำที่ว่าสอุปาทิเสสนิพพานนั้น
ท่านหมายนิพพานที่มีอุปาทานยังเหลืออยู่ นิพพาน
ในที่นี้ท่านหมายกิเลสดับแล้วไม่เกิดอีก
ได้แก่นิพพานของพระโสดา พระสกทาคา พระอนาคา
กิเลส คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
พระโสดา พระสกทาคา ของท่านดับขาด ส่วนพระอนาคา
นั้น กิเลสคือกามราค พยาบาทของท่านดับขาด
แต่อุปาทานกิเลสเบื้องสูงยังเหลืออยู่
นิพพานของพระอริยเจ้า ๓ จำพวกนี้ จึง
ได้ชื่อว่าสอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่ายังมีอุปาทานเหลือ
อยู่ ส่วนนิพพานของพระอรหันต์
คือท่านตัดสังโยชน์เบื้องสูงขาดแล้ว
ละอุปาทานสิ้นเสร็จหาเศษมิได้ จึง
ได้ชื่อว่าอนุปาทิเสสนิพพาน
แปลว่านิพพานละอุปาทานสิ้นเสร็จหาเศษมิได้
พึงเข้าใจสัญญาโลกสัญญาธรรมมีลักษณะอาการต่าง
กันอย่างนี้ ความเห็นทั้ง ๒ ประเภทไม่ผิดด้วยกันทั้ง ๒
ฝ่าย ผู้ยังไม่เห็นธรรม
ไม่รู้ธรรมก็แสดงตามอาการของโลกให้เป็นธรรม ก็ถูก
ต้องตามลักษณะของโลก ส่วนท่านผู้เห็นธรรม
ผู้รู้ธรรมก็แสดงตามอาการของธรรม ก็ถูก
ต้องตามลักษณะของธรรม เมื่อผู้วิจารณ์ได้ความทั้ง ๒
ประเภทจะไม่มีแก่งแย่งทุ่มเถียงกันเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 17:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมฺมติปญฺญตฺติกถา
..........ต่อนี้จักแสดงสมมุติธรรมกับบัญญัติธรรมไว้
สำหรับบำรุงความรู้ความฉลาดแก่ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
เพราะสมมุติกับบัญญัติมีลักษณะอาการต่างกัน
ส่วนสมมุตินั้นเป็นของที่โลกตั้งแต่งขึ้นแล้ว
ก็ร้องเรียกตาม ๆ กันไป ให้พึงเข้าใจว่าสมมุตินั้น
เป็นแต่สัญญาอุปาทาน ไม่มีวัตถุ ไม่มีตัวตน มีแต่ชื่อ
จึงร้องเรียกว่าสมมุติธรรม เป็นของจริงเหมือนกัน
จึงเรียกว่าธรรม แต่จริงเพียงชั้นสมมุติเท่านั้น หาใช่จริง
ถึงชั้นวิมุตติไม่
ส่วนบัญญัติธรรมนั้นเป็นของจริงประกาศวิมุตติ คือว่า
ผู้ถูกสมมุตินั้นเองเป็นตัววิมุตติ เพราะผู้ถูกสมมุติ
นั้นมีวัตถุมีตัวตน เป็นของจริงอยู่โดยสภาพ
จึงชื่อว่าบัญญัติธรรม แต่พึงเข้าใจชั้นบัญญัติให้สิ้นสงสัย
ด้วยว่า บัญญัติมี ๒ ประเภท คือ พุทธบัญญัติ
ได้แก่วินัยบัญญัตินั้นประเภทหนึ่ง
วินัยบัญญัตินี้มีพิกัดโทษหนักเบาตามโทษานุโทษ
มีลักษณะอาการเท่ากับพระราชบัญญัติของพระราชา
และต้องมีข้อบังคับให้ใช้ทั่วไปในหมู่ผู้อยู่ใต้บัญญัติด้วย
พึงเข้าใจว่าบัญญัติประเภทนี้ก็คงอยู่
ในประเภทสมมุติธรรมนั่นเอง ยังไม่ใช่บัญญัติธรรม
ส่วนบัญญัติธรรมนั้น เป็นบัญญัติทับสมมุติธรรมเหล่า
นั้นอีกโสดหนึ่ง คือว่าสมมุติธรรมมีเท่าใด
บัญญัติธรรมก็มีเท่านั้น และไม่มีพิกัดโทษ ทั้ง
ไม่มีข้อบังคับให้ใช้เสียด้วย จำเพาะใช้กันขึ้นเอง
ในหมู่ที่ท่านบรรลุวิมุตติเท่านั้น คือท่านไม่เชื่อต่อผู้
อื่นบอกเล่า ท่านเชื่อความรู้ความเห็นของตนเอง
จะชักเปรียบเทียบให้ฟัง ยังมีคนบ้านนอกตำบลหนึ่ง
ไม่เคยได้พบได้เห็นกำแพงแก้วที่เขาก่อรอบโบสถ์
และเจดีย์ เป็นแต่ได้ทราบจากผู้บอกเล่าว่า ที่วัดนั้นตำบล
นั้น
เขาก่อกำแพงแก้วรอบโบสถ์รอบพระเจดีย์น่าดูน่าชมมาก
พอได้ยินเขาบอกเล่าเท่านั้นก็ลง
ความเชื่อเอาทีเดียวว่ากำแพงเขาก่อด้วยแก้ว
เพราะกำแพงและแก้วตัวก็เคยรู้เคยเห็นมาบ้าง
เลยยึดมั่นเอาทีเดียวว่าแก้วเป็นกำแพงโดย
ความเชื่อของตนจนสิ้นสงสัย ยังได้บอกเล่าแก่คนอื่นเขา
ด้วยว่า วัดตำบลนั้นเขาเอาแก้วก่อ
เป็นกำแพงรอบโบสถ์รอบเจดีย์ดังนี้
ครั้นมีโอกาสภายหลังตั้งใจไปดูไปชมกำแพงแก้วจริง ๆ
ครั้นไปถึงก็ไปเที่ยวดูตามโบสถ์และพระเจดีย์
ไม่เห็นมีกำแพงแก้ว เกิดประหลาดในใจจึงถามคนที่อยู่
ในที่นั้นว่า คนเขาไปจากที่นี้เขาบอกแก่ฉันว่า โบสถ์
และเจดีย์วัดนี้เขาว่ามีกำแพงแก้ว เขาไปหลอกไปปดฉัน
หรือ คนที่นั้นเขาตอบว่า นี่แกมา
จากไหนช่างเซอะซะเสียจริง ๆ ก็กำแพงเตี้ย ๆ
รอบโบสถ์รอบเจดีย์นั่นแหละ เขาสมมุติกันว่ากำแพงแก้ว
เขารู้กันทั้งบ้านทั้งเมือง พอได้ยินเขาบอกอย่างนั้น
แก้วที่กำแพงซึ่งฝังอยู่ในใจของตนซึ่งตนเชื่อแต่ผู้อื่น
นั้นก็หลุดออกจากใจทันทีว่า อ้อ กระนั้นดอกหรือ
นี่แหละนับแต่แกได้ฟังเขาบอกเล่ามาจนถึงอ้อนี้
ที่แกเรียกกำแพงนั้นแหละเป็นลักษณะของสมมุติธรรม
ต่อแต่แกได้รู้ได้เห็นของจริงแล้วว่าไม่ใช่กำแพงแก้ว
แต่แกก็ต้องร้องเรียกว่ากำแพงแก้วอยู่ตามที่เขาพา
กันเรียกอย่างเดิม ที่แกเรียกกำแพงแก้วตอนนี้นั่นแหละ
เป็นลักษณะของบัญญัติธรรม พึง
เข้าใจสมมุติธรรมบัญญัติธรรมโดยนัยดังบรรยายมานี้
ในร่างกายของเรานี้ในเบื้องต้นเราได้ศึกษาเล่าเรียนมาว่า
นาม ว่า รูป ว่า ธาตุ ว่า ขันธ์ ว่า อายตนะ ก็ยึดมั่นถือมั่นว่า
เป็นของจริงเหมือนคนที่เห็นกำแพงเป็นแก้วเช่นนั้น
ครั้นเดินวิปัสสนาญาณเกิดญาณทัสสนะขึ้น นามรูป ธาตุ
ขันธ์ อายตนะ ก็ดับไป เหลืออยู่แต่สภาวธรรมซึ่ง
เป็นของจริงเท่านั้น เหมือนแก้วหลุดออก
จากกำแพงของบุรุษนั้น แต่ก็คงเรียกนามรูป ธาตุ ขันธ์
อายตนะ อยู่ตามเดิม แต่เป็นบัญญัติธรรมเสียแล้ว
เมื่อรู้ตามนัยที่แสดงมาอย่างนี้ แต่ความจริง
ไม่ปรากฏขึ้นก็เป็นแต่สัญญาเท่านั้น ข้าพเจ้าเคยได้ยิน
เขาพูดกันว่าขอยืมสมมุติพูดที จะพูดอะไรก็พูดอย่าง
นั้นว่าขอยืมสมมุติพูดที แกจะยืมเอากับใคร เท่านี้ก็บอก
แล้วว่า คนไม่จริงพูดโดยสัญญา ท่านที่รู้จริง
ทั้งหลายท่านมิได้แสดงวิการเช่นนั้น
ท่านก็พูดหน้าเฉยตาเฉยตามสมมุตินั่นเอง ส่วนวิมุตติ
อยู่ที่ใจของท่านต่างหาก ใครจะล่วงรู้ได้
แสดงสมมุติและบัญญัติไว้เพียงเอกเทศเท่านี้ ถ้าตรองได้
ความแล้ว อาจจักรู้สมมุติและบัญญัติเต็มโลก
ดังบรรยายมานี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 17:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุกถา
..........ในธรรมทุกประเภทที่แสดงมาแล้วนี้
แสดงประเภทแห่งผลโดยมาก เพราะมีความประสงค์จะ
ให้อาศัยผลค้นหาเหตุ เมื่อผู้ต้องการ
จะสาวหาเหตุอย่าทิ้งผล คือว่าผลปรากฏขึ้น ณ ที่ใด
เหตุก็อยู่ที่นั้นเอง คือว่าผลปรากฏขึ้นที่สกลกายอันนี้
เหตุก็ซ่อนอยู่ที่สกลกายอันนี้เหมือนกัน ที่ท่านแสดงว่า เย
ธมฺมา เหตุปฺปภวา ซึ่งแปลว่า ธรรมทั้งหลายมีเหตุ
เป็นแดนเกิด ดังนี้ ก็คือท่านหมายสกลกายอันนี้แหละว่า
เป็นแดนเกิดแห่งธรรมทั้งหลาย
แต่การสาวหาเหตุ
นั้นอย่าเดินนอกทางมัชฌิมาปฏิปทาที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในธรรมจักกัปปวัตตนะสูตร
คือพระอัฏฐังคิกมรรค มีทางเดียวเท่านั้น
ให้รู้จักหน้าตาของทางผิด คือ กามสุขัลลิกานุโยค กับ
อัตตกิลมถานุโยค ให้แน่ใจ การติดอิฏฐารมณ์
เป็นกามสุขัลลิกานุโยค การติดอนิฏฐารมณ์
เป็นอัตตกิลมถานุโยค พึงเข้าใจว่า
พระองค์ทรงแสดงทุกขสัจด้วยตนของผู้รับเทศนานั้นเอง
ทรงแสดงสมุทัยสัจด้วยกามสุขัลลิกานุโยค
และอัตตกิลมถานุโยค ทรงแสดงนิโรธสัจด้วยการหลีก
ให้พ้นจากทางผิดทั้งสองนั้นเอง ทรงแสดงมรรคสัจ
ด้วยญาณทัสสนะความรู้ความเห็นในทุกข์ สมุทัย
นิโรธนั่นแหละเป็นองค์สัมมาทิฏฐิ คือ อัฏฐังคิกมรรค
องค์แห่งมรรคทั้ง ๘ นั้น ท่านสงเคราะห์ลงในขันธ์ คือ
สกลกายอันนี้ให้เป็นที่ตั้งแห่งคุณธรรมทั้ง ๓ คือ ศีล
สมาธิ ปัญญา หมายความว่า ทำให้ขันธ์เป็นศีล ให้ขันธ์
เป็นสมาธิ ให้ขันธ์เป็นปัญญา แต่ให้เป็นอธิศีล อธิจิต
อธิปัญญา
โดยมากผู้รักษาศีลทุกวันนี้ มีอยู่เพียงสองลักษณะเท่านั้น
คือ มีอยู่เพียงศีลนอกกับศีลในเท่านั้น ส่วนศีลกลาง
ไม่ค่อยจะมีผู้รักษา ที่สมมุติอย่างนี้ประสงค์จะให้
เข้าใจง่าย ความจริงศีลมีลักษณะเพียง ๒ คือ ศีลใน
กับศีลกลางเท่านั้น การที่รักษาศีลนอกนั้นออก
จะเดินนอกทางเกินไป แต่จะติทีเดียวก็ไม่ได้เพราะ
เป็นเหตุให้เกิดศีลในได้ ศีลในเป็นเหตุให้เกิดศีลกลาง
ได้เหมือนกัน คือความผิดนั้นแหละเป็นเหตุแก่ความถูก
แต่อย่าเพลินในทางที่ผิด
ที่สมมุติให้ชื่อว่าศีลนอกนั้น คือศีลสัญญาอุปาทาน
การที่ไปขอไปรับจากพระนั้นหารู้ไม่ว่า
เป็นกิจวัตรของสัตบุรุษและเป็นคำปฏิญาณ เลย
เข้าใจไปเสียว่าตนได้ศีล ๕ ศีล ๘ มาแล้ว
ก็ตั้งหน้ารักษาศีลนั้นไปคล้ายกับว่าศีลนั้นมีตนตัวหัวเขา
อย่างนี้ให้ชื่อว่ารักษาศีลนอก ถึงชั้นนักบวช
เข้าใจว่าพระปาติโมกข์
เป็นศีลก็ตั้งหน้ารักษาแต่พระปาติโมกข์ร่ำไป อย่างนี้ก็
ต้องนับเข้าในประเภทรักษาศีลนอกเหมือนกัน
ที่สมมุติให้ชื่อว่าศีลในนั้นคือหมายเอากายวาจาใจเป็นศีล
เพราะเป็นผู้ฉลาดขึ้นมาก รู้สึกว่าการที่ไปขอไปรับศีล
จากพระนั้น เป็นแต่กิจวัตรสำหรับสัตบุรุษเท่านั้น สำเร็จ
ความเป็นศีลด้วยเจตนาวิรัติ และเป็นคำปฏิญญา เพื่อ
จะรักษากายวาจาใจของตนให้เป็นปกติศีลขึ้น
การรับศีลอย่างนี้ให้ชื่อว่าศีลใน เพราะกาย วาจา ใจ
เป็นภายใน ผู้รักษาศีลประเภทนี้เป็นการถูกต้องดีขึ้นมาก
แต่หากยังเป็นสีลัพพตปรามาสอยู่ ถึงจะรักษาศีล
นั้นดีสักเพียงไร ก็คงเรียกได้แต่เพียงว่าศีลเท่านั้น
จะร้องเรียกว่าอธิศีลหาได้ไม่ เพราะกาย วาจา ใจ
เป็นสมมุติเป็นตัวสังขาร ธรรมชาติของสังขารเป็นของ
ไม่เที่ยงอยู่โดยธรรมดา ที่เอาของไม่เที่ยงรับรองศีล
ศีลก็กลายเป็นของไม่เที่ยงไปตามกัน เหตุนั้นจึง
ต้องปรามาสอยู่ร่ำไป
ที่สมมุติให้ชื่อว่าศีลกลางนั้นหมายปกติศีล
ก็หมายสกลกายเหมือนกัน แต่หมาย
ถึงการเพิกสมมุติออกเสียให้หมด ให้คงยังเหลือ
อยู่แต่บัญญัติธรรม ให้บัญญัติธรรมนั้นแหละเป็นศีล
แสดงอย่างนี้ก็คงเข้าใจได้ด้วยยาก ถ้าเช่นนั้น
ต้องตอบคำถามในสกลกายนี้ ถ้ายกเอาชื่อตั้ง
ทั้งสิ้นออกเสียให้หมด สกลกายส่วนที่ยังเหลืออยู่นั้น
จะร้องเรียกว่ากระไร ก็ต้องร้องเรียกว่าโลกุตรธรรมนะซิ
นั้นแหละเป็นตัวปกติศีล
คำที่ว่าปกตินั้นพึงเข้าใจอย่างนี้ ใจ ๑ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
๑ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ๑ ทั้งสามประเภทนี้ ถ้า
ไม่สังโยชน์กันจะเป็นปกติหรือไม่ ก็ต้องเป็นปกติซิ
ถ้าเช่นนั้นเราคิดแก้ไขตัดสังโยชน์ ๓ นี้แหละให้ขาดออก
จากกัน ก็จักได้เห็นปกติศีล ศีลนี้แลเป็นองค์อธิศีล
คือศีลกลาง ถ้าอธิศีลมีขึ้นเมื่อใด
อธิจิตอธิปัญญาก็มีขึ้นเมื่อนั้น สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส ก็ละได้ขาดเมื่อนั้นเหมือนกัน
เพราะคำที่ว่า สกฺกาโย ซึ่งถือว่ากายเป็นของ ๆ ตน
ท่านหมายความว่าถือสมมุติเป็นตน ดังถือว่า นามรูป,
ธาตุ, ขันธ์, อายตนะ, เป็นตัวตนนั้นแหละท่านให้ชื่อว่า
สกฺกายทิฏฺฐิ ถึงจะปฏิญญาว่าฉันไม่ถือเลย ฉันเห็น
เป็นอนัตตาทั้งสิ้น ที่เห็นอนัตตาเช่นนั้น ก็
เป็นอนัตตาสัญญา เพราะสมมุติกับสภาพธรรม
ไม่แยกออกจากกัน ถ้าเห็นว่าส่วนนี้เป็นสมมุติ ส่วนนี้เป็น
ผู้ถูกสมมุติตัวสภาพธรรม ถ้าแยกสมมุติออกไม่ให้แทรก
เข้าไปในสภาพธรรม ไม่ให้หุ้มสภาพธรรมได้เมื่อใด
ก็ชื่อว่าเพิกสมมุติออกได้เมื่อนั้น สักกายทิฏฐิก็ละ
ได้ขาดเมื่อนั้นเหมือนกัน ถ้าเพิกไม่ออกต้องเอาสมมุติ
เป็นศีลเป็นวัตร สมมุติเป็นอนิจฺจํ ศีลและวัตรก็ต้อง
เป็นอนิจฺจํ ต้องปรามาสลูบคลำกันร่ำไป
ถ้าวิมุตติเป็นศีลเป็นวัตร วิมุตติเป็นปกติ ศีลและวัตรก็
เป็นปกติ หมดปรามาสลูบคลำกันเท่านั้น เพราะสิ้นสงสัย
ในสมมุติและวิมุตติ สิ้นสงสัยในอดีตอนาคต สิ้นสงสัย
ในศีลและวัตรจึงได้ชื่อว่าละ สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉา
สีลพฺพตปรามาส ได้
ขอให้สาธุชนผู้หวังทำตนให้เป็นที่พึ่ง จงมนสิการ
โดยนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.
........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร