วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 12:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ธรรมรัตนกถา

(*เรียบเรียงตั้งแต่ยังเป็นพระราชกวี ตรวจพิมพ์ใหม่เมื่อ
เป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ.๒๔๖๗)
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ.
............ บัดนี้ จักพรรณนาพระธรรมรัตนกถา
โดยวิธีเทศนานัย
เป็นเครื่องบำรุงสติปัญญาแห่งพุทธบริษัท ด้วยพวกเรา
ทั้งหลายย่อมรู้อยู่ด้วยกันว่า ตนเป็นสัตว์ตกอยู่
ในวิสัยของชราพยาธิมรณะ ซึ่งเป็นต้นแห่งความทุกข์
ทั้งปวง ความทุกข์ที่จะพึงพรรณนานั้นมากมายนัก
จะนำมากล่าวแต่ความทุกข์ซึ่งเกิดขึ้นแต่ของจำเป็น
ดังอาหารปริเยสิกทุกข์ ทุกข์เพราะแสวงหาอาหาร
ด้วยว่าอาหารเป็นของสำหรับบำรุงร่างกายของสัตว์ ถ้า
ไม่มีอาหาร สัตว์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้
ส่วนมนุษย์ย่อมบริโภคข้าวปลาแกงกับต่าง ๆ เป็นอาหาร
ถ้าหาตรง ๆ ไม่ได้ต้องหาโดยทางอ้อม คือ
ต้องแสวงหาเงินทองข้าวของต่าง ๆ ไปซื้อหาแลกเปลี่ยน
จึงต้องเป็นทุกข์เพราะแสวงหา
แม้ผ้าสำหรับนุ่งห่มปกปิดร่างกาย ก็เป็นของจำเป็นจะ
ต้องแสวงหาอีกส่วนหนึ่ง เหย้าเรือน
เคหะสถานฟูกเบาะเมาะหมอนก็เป็นของจำเป็นจะ
ต้องแสวงหาอีกส่วนหนึ่ง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์เนื้ออ่อน
หนังบาง ทนแดดทนฝนไม่ไหว เภสัช
ยาสำหรับบำบัดโรคอาพาธ ก็เป็นของจำเป็นจะ
ต้องแสวงหาอีกส่วนหนึ่ง เพราะมนุษย์จะ
ต้องมีโรคสำหรับตัวคนละอย่างสองอย่างอยู่เสมอ
การแสวงหานั้นโดยทางตรงบ้างทางอ้อมบ้าง ทางตรงคือ
ต้องทำเอง ทางอ้อมนั้นก็คือ
ต้องหาทรัพย์เครื่องแลกเปลี่ยน การแสวงหาทรัพย์ก็
ต้องทนลำบากอาบเหงื่อต่างน้ำ
จึงชื่อว่าปัจจยปริเยสิกทุกข์
ยังทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่การเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
คือชั้นพระราชาก็เบียดเบียนกันในชั้นพระราชาด้วยกัน
ชั้นมหาอำมาตย์ก็เบียดเบียนกันในชั้นมหาอำมาตย์ด้วย
กัน ชั้นพ่อค้าเศรษฐีตลอดถึงชาวไร่ชาวนา
และคนรับจ้างทำการ ถึงทาสกรรมกรเป็นที่สุด
ก็ย่อมเบียดเบียนกันตามชั้นตามภูมิของตน ๆ
ยังชั้นสูงเบียนชั้นต่ำ ชั้นต่ำเบียนชั้นสูง
มีข่มเหงฉ้อโกงฉกลักและจุดบ้านเผาเรือนแห่งกันและกัน
เป็นต้น เบียดเบียนกันในชั้นโภคทรัพย์บ้าง เบียดเบียน
กันถึงชั้นชีวิตบ้าง ใช่จะเป็นแต่คนอื่นคนไกลโดย
ส่วนเดียว ถึงกันเองดังพ่อแม่ ผัวเมีย พี่น้อง ลูกหลาน
บางพวกก็ยังต้องเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ดู ๆ
น่าอิดหนาระอาใจเสียนี่เต็มที
ยังกองทุกข์อย่างสำคัญ คือต้องป่วยไข้เกิดโรภภัยต่าง ๆ
นับอย่างไม่ถ้วน ในระหว่างเป็นเด็กก็เกิดโรคสำหรับเด็ก
มีตานซางเป็นต้น เป็นผู้ใหญ่ก็เกิดโรคสำหรับผู้ใหญ่
มีกระษัยกร่อนริดสีดวงเป็นต้น
เป็นคนแก่ก็เกิดโรคสำหรับคนแก่ มีตามัว หูตึง ปวดฟัน
เป็นต้น พรรณนาไม่มีที่สิ้นสุด
ยังกองทุกข์คือความแก่อีกส่วนหนึ่ง
ธรรมดาของคนแก่กำลังเรี่ยวแรงน้อย จะลุก จะนั่ง จะกิน
จะนอนแสนลำบาก เพราะทำกิจการงานใด ๆ ไม่สะดวก
แต่ความอยากความหิวมันไม่รู้จักแก่ ใจมันไม่แก่ แส่หา
ความสุขร่ำไป เพราะเหตุนั้น จึงนับว่า
เป็นกองทุกข์อันสำคัญส่วนหนึ่ง
ยังกองทุกข์คือความตายอีกเล่า ก็น่าเบื่อเหลือเกิน
บางจำพวกตายเสียในระหว่างมัชฌิมวัย
บางจำพวกตายเสียในระหว่างปัจฉิมวัย
บางจำพวกถูกปู่ย่าตาทวดซึ่งเป็นที่รักตาย
บางจำพวกถูกพ่อแม่ซึ่งเป็นที่รักตาย
บางจำพวกถูกผัวเมียซึ่งเป็นที่รักตาย
บางจำพวกถูกลูกหลานซึ่งเป็นที่รักตาย
บางจำพวกถูกพี่น้องพวกพ้องมิตรสหายซึ่งเป็นที่รักตาย
บางจำพวกถูกเจ้านายครูบาอาจารย์ซึ่ง
เป็นที่พึ่งที่เคารพตาย จนถึงตัวเองตายเป็นที่สุด
............ความตายอย่างที่พรรณนามานี้ ล้วนเป็นเหตุ
ให้เกิด โสกะ คือ ความแห้งใจกรอบเกรียมใจ ปริเทวะ คือ
ความบ่นพิรี้พิไรคร่ำครวญไปต่าง ๆ ทุกข์ คือ
ความเหลืออดเหลือกลั้น โทมนัส คือ ความเศร้าใจ
เสียใจ อุปายาส คือ ความคับแค้นอัดอั้นตันใจ
เป็นตัวทุกข์ประจำตัวอยู่ด้วยกันทุกคน
ยกเว้นแต่พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าผู้รู้
เท่าเหตุ ผู้รู้เท่าผล พวกพาลชนแล้วจะได้พ้น
จากกองทุกข์เหล่านี้หามิได


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 12:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะเหตุนั้น พวกเราที่นับว่าเป็นพุทธบริษัทจะ
ต้องศึกษาให้ฉลาด
ในธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ให้แจ่มแจ้งชัดเจน แต่พระธรรมนั้น
เป็นสภาพลึกซึ้งละเอียดเหลือเกิน ไม่เป็นวิสัยที่คน
ผู้มักง่ายจะพึงรู้ได้ ถ้าหากว่ารู้
ได้จริงก็อาจจักระงับดับทุกข์ดังที่พรรณนามานั้นได้จริง
แต่เป็นของรู้ได้ด้วยยาก
ดังพระธรรมที่พุทธบริษัทสวดนมัสการพระธรรมคุณ
อยู่เสมอมี สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นต้นนั้น
พุทธบริษัทมักถือเอาเนื้อความแตกต่างแก่งแย่งกัน
อยู่เสมอ บางพวกเห็นไปว่า พระธรรมคุณที่สวดกันอยู่นี้
ท่านแสดงคุณแห่งพระโลกุตรธรรมต่างหาก
ที่ไหนพวกเราจะรู้จะเห็นได้ บางพวกก็เห็นไปว่า
ท่านแสดงทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรม
บางพวกก็เห็นไปว่าบท สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม นั้น
ท่านแสดงทั้งโลกียธรรมโลกุตรธรรม ส่วน ๕
บทเบื้องปลายแต่ สนฺทิฏฐิโก ไป ท่านแสดงโลกุตรธรรม
โดยส่วนเดียว เพราะความเห็นแตกต่างกันอย่างนี้ จึง
ต้องวิวาทกันกับผู้ซึ่งมีความเห็นไม่ตรงกันกับด้วยตน
อีกประการหนึ่ง พวกเราเคยได้ยิน
ได้ฟังพระธรรมกถึกท่านแสดงพระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อยู่เสมอไม่ใช่หรือ
ครั้นเทศน์พระพุทธคุณท่านก็นำเอาพระธรรมคุณมาแสดง
ดังที่ท่านแสดงบท “อรหัง” ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้
ไกลกิเลส เป็นผู้ควรแก่สักการะของโลก เป็น
ผู้ควรแต่งตั้งพุทธบัญญัติทั้งปวง เป็นผู้ควรที่พวกเรา
จะทำตามโอวาทของพระองค์ เพราะพระองค์บริบูรณ์
ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิชชา วิมุตติ ดังนี้ คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา วิชชา วิมุตติ ก็เป็นองค์แห่งพระธรรมอยู่แล้ว
ครั้นเทศน์พระธรรมคุณ
ท่านก็นำเอาพระพุทธคุณมาแสดง ดังที่ท่านแสดงบทว่า “
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” พระธรรมอันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงดีแล้วดังนี้ คำที่ว่าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมดีแล้วก็
เป็นอันแสดงพระพุทธคุณอยู่เอง
............ครั้นแสดงพระสังฆคุณ
ท่านก็นำเอาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ มาแสดง
ดังบทว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์ผู้
เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็
เป็นอันแสดงพระพุทธคุณอยู่เอง ที่ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
คือดีกาย ดีวาจา ดีน้ำใจ ได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา
ก็คือแสดงพระธรรมคุณนั้นเอง
ถ้าผู้ฟังยังเข้าใจว่าพระพุทธคุณต่างหาก
พระธรรมคุณต่างหาก พระสังฆคุณต่างหากจากกันไป
ไกลกันอยู่ เมื่อเห็นเช่นนั้นก็ชื่อว่า ยัง
ไม่รู้จักคุณพระรัตนตรัยโดยประจักขสิทธิ ยัง
เป็นอนุมานสิทธิอยู่ จะนับว่าเป็นเขมสรณคมน์ยังไม่ได้
คือจะเป็นที่พึ่งอันประเสริฐแก่ตนยังไม่ได้
อาศัยเหตุที่กล่าวมานี้
การที่แสดงพระธรรมรัตนกถาต่อไปนี้ พึงเข้าใจว่าแสดง
ทั้ง ๓ รัตนะไปด้วยกัน มีเนื้อ
ความตามพยัญชนะมคธพากย์ว่า สฺวากฺขาโต ภควตา
ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
และพระธรรมนั้นเป็น สนฺทิฏฺฐิโก มีผลที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นด้วยตน อกาลิโก มีผลที่ผู้ปฏิบัติจะพึงได้พึงถึง
ไม่ต้องอ้างกาล อ้างเวลา เอหิปสฺสิโก มีผลที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงอวดเขาได้ว่า ท่านจงมาดูเถิดประเสริฐจริง
โอปนยิโก มีผลที่ผู้ปฏิบัติจะพึงน้อมมาสู่ตนได้ คือเทียบ
ให้เห็นที่ตนได้ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ มีผลอันผู้รู้
ทั้งหลายจะพึงรู้แจ้งแทงตลอดจำเพาะที่ตน คือ
ไม่ไปรู้ที่ตัวผู้อื่น มีเนื้อความโดยย่อเพียงเท่านี้ มิ
ได้แสดงว่าเป็นโลกียธรรมหรือโลกุตรธรรม
เราต้องเข้าใจว่าพระธรรมทั้งสิ้นเป็นของกลาง
ส่วนพระพุทธเจ้านั้นเล่า เราทั้งหลายก็เข้าใจด้วยกันว่า
พระองค์เป็นผู้บรรลุโลกุตรธรรมแล้ว ถ้าอย่างนั้น
พระธรรมที่พระองค์ตรัสดีแล้ว ก็คงเป็นอมตธรรม
เป็นโลกุตรธรรมทั้งสิ้น ที่จะเป็นโลกียธรรมอยู่นั้น ก็เป็น
ด้วยพวกเรายังเป็นโลกียสัตว์อยู่ ถ้าตัวของเรายัง
เป็นโลกียชนอยู่เพียงใด พระธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงดีอยู่แล้ว จะเป็นพระสูตร
พระวินัย พระปรมัตถ์ก็ตาม จะเป็นพระปริยัติสัทธรรม
พระปฏิบัติสัทธรรม พระปฏิเวธสัทธรรมก็ตาม จะ
เป็นมรรคธรรมก็ตาม ผลธรรม นิพพานธรรมก็ตาม ก็คง
เป็นโลกียธรรมอยู่เพียงนั้น ถึงแม้จะเป็นโลกียธรรม
อยู่เพียงชั้นใด ก็คงเป็นสวากขาตธรรมอยู่เพียงชั้นนั้น
และเป็นสันทิฏฐิกธรรม เป็นอกาลิกธรรม
เป็นเอหิปัสสิกธรรม เป็นโอปนยิกธรรม
เป็นปัจจัตตังเวทิตัพพธรรม อยู่เพียงชั้นนั้น
ตามชั้นตามภูมิของตน
อย่าว่าแต่ผู้ฟังโอวาทคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วปฏิบัติตาม และได้เห็นผลด้วยตนเลย ถึงผู้ไม่เคย
ได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลย
เป็นแต่เห็นโทษในการเบียดเบียนชีวิต
และทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเป็นต้น งดเว้นเสียซึ่งทุจริตคือ
ความประพฤติชั่วทั้งปวง ตั้งใจประพฤติดี
ด้วยกายวาจาใจ คือทำแต่กิจการงานที่หาโทษมิได้
มีการรับจ้างหรือทำไร่นาค้าขายโดยสุจริตเป็นต้น ผู้
นั้นก็อาจจักเห็นผลด้วยตน เป็นสันทิฏฐิโกได้เหมือนกัน
และได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติถูก
ต้องตามสวากขาตธรรมเหมือนกัน
เพราะพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของกลาง
ผู้รู้ปฏิบัติถูกปฏิบัติดีก็ได้ดีเหมือนกัน คือความดี
ในโลกมีที่สิ้นสุดเพียงใด ความชั่วในโลกมีที่สิ้นสุดเพียง
ใด ก็ไม่เหนือคำสอนของพระพุทธเจ้าไปได้ คืออยู่
ในคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
ส่วนโลกุตรธรรมนั้นจะขีดหมายไว้ภายนอก ดังตำราที่ชี้
ไว้ว่า มรรคธรรม ผลธรรม มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ
นิพพานธรรม มีลักษณะอาการอย่างนั้น ๆ ข้อปฏิบัติจะให้
ถึงมรรคผลนิพพานคือประพฤติอย่างนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียง
เท่านั้น จะเป็นโลกุตรธรรมก็หามิได้ ต่อเมื่อใด
ผู้ประพฤติปฏิบัติตามโอวาทคำสอนของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกายวาจาใจ ยังศีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ ให้เต็มตามที่แล้ว เกิดญาณคือความรู้
เกิดทัสสนะคือความเห็นในสกลกายนี้ว่าเต็มไป
ด้วยสมมุติสัจจะ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
และเต็มไปด้วยปรมัตถสัจจะ มีนาม รูป ธาตุ ขันธ์
อายตนะ เป็นต้น และเต็มไปด้วยอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค ชักจิตขึ้นสู่วิถีโลกุตรธรรมได้ เมื่อนั้นแลจึง
จะรู้จะเห็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่า
เป็นโลกุตรธรรมทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 12:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อนี้ไปจะอธิบายในบทว่า ในสกลกายนี้เต็มไป
ด้วยอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพื่อเป็น
ความดำริตริตรองของผู้อ่านผู้ฟังไว้แผนกหนึ่ง เพราะ
เป็นสัจจะสำคัญควรรู้ควรเห็น เป็นทางโลกุตรยิ่งกว่าสัจ
จะอื่น ๆ ในพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร พระ
ผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคก่อน มรรคนั้นแยกเป็น ๒
คือ มรรคชั่วอย่างหนึ่ง มรรคเป็นกลางอย่างหนึ่ง
มรรคชั่วแยกเป็น ๒ คือกามสุขัลลิกานุโยคอย่างหนึ่ง
อัตตกิลมถานุโยคอย่างหนึ่ง
ชื่อว่ากุมัคคมิจฉาปฏิปทาทางชั่วทางผิด ผิด
นั้นคือผิดทางกลาง ผิดจากทางโลกุตรธรรมเท่านั้น ถ้า
จะย่นเอาแต่ใจความพอสมควรแก่ผู้เพ่งต่อโลกุตรธรรม
จะพึงเข้าใจไว้ กามสุขัลลิกกานุโยคนั้น ได้แก่
ความติดกามอิฏฐารมณ์ คือสุขเวทนา อัตตกิลมถานุโยค
นั้น ได้แก่ความติดกามอนิฏฐารมณ์ คือทุกขเวทนา
............มรรคเป็นกลางนั้นมีทางเดียวแต่ประดับ
ด้วยองค์ ๘ ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทาทางกลาง
ตรงไปสู่โลกุตรธรรม ไม่แวะเวียนไปสู่ทางลามกทั้ง ๒ นั้น
ได้ จึงเป็นอริยมรรคา เป็นทางดำเนินแห่งพระอริยเจ้า
ทั้งหลาย แต่ไม่ใช่ทางเดินไปด้วยเท้า แม้แต่ใจก็ไม่
ได้เดิน คือสกลกายนี้เป็นมรรค ๆ คือสกลกายนี้
ต้องประดับด้วยองคคุณทั้ง ๘ ประการ คือ สมฺมาทิฏฺฐิ
ความเห็นชอบ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ สมฺมาวาจา
วิรัติเจตนาวาจาชอบ สมฺมากมฺมนฺโต
วิรัตเจตนากรรมชอบ สมฺมาอาชีโว ชีวิตโวทานธรรมชอบ
สมฺมาวายาโม เพียรชอบ สมฺมาสติ ตั้งสติชอบ
สมฺมาสมาธิ ตั้งจิตไว้ให้เสมอชอบ
องคคุณทั้ง ๘ ประการนี้ เป็นพยานเครื่องหมายของมรรค
คือสกลกายนี้ต้องประดับด้วยองคคุณทั้ง ๘ ประการนี้
แต่สกลกายนี้ถึงประดับองคคุณทั้ง ๘ ประการเช่นนั้น
แล้วก็ต้องแบ่งเป็น ๒ คือเป็นโลกียมรรคอย่างหนึ่ง
โลกุตรมรรคอย่างหนึ่ง จะเป็นโลกียมรรคก็เป็น
ด้วยวิถีจิต จะเป็นโลกุตรมรรคก็เป็นด้วยวิถีจิต ถ้าจิต
ยังเพิกอุปธิกิเลสไม่ได้ คือยังไม่รู้เท่าสังขาร สมุทัยยัง
ไม่ดับลงได้ มรรคคือสกลกายที่ประดับด้วยองคคุณทั้ง
๘ นั้น ก็เป็นแต่สุจริตธรรมในโลกเท่านั้น
จึงชื่อว่าโลกียมรรค ถ้าจิตเพิกอุปธิกิเลสได้แล้ว คือรู้
เท่าสังขารทั้งหลายแล้ว สมุทัยดับลงได้แล้ว
มรรคคือสกลกายที่ประดับด้วยองคคุณทั้ง ๘ นั้น ก็
เป็นอริยมรรค เป็นอริยธรรม เป็นโลกุตรธรรมขึ้นทีเดียว
จึงชื่อว่าโลกุตรมรรค
เมื่อพระองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงมรรคอันประกอบด้วยองคคุณ ๘
ประการมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ว่า
เป็นมรรคกลางตรงต่อพระนิพพานฉะนี้แล้ว
จึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ประการ ทรงอ้างญาณจักษุปรีชา
ความรู้แจ้ง แสงสว่างได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์
ให้เหล่าเบญจวัคคีย์ได้สดับว่าอันนี้ทุกข์ คือ ชาติ ชรา
พยาธิ มรณะ เป็นต้น อันนี้สมุทัย คือกามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้นิโรธ คือ ความดับตัณหา
อันนี้มรรค คือ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป เป็นต้น
ทุกข์คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นต้น เป็นสัจ
จะของจริงอาการหนึ่ง สมุทัย คือกามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นสัจ
จะของจริงอาการหนึ่ง นิโรธคือความที่แห่งตัณหา
นั้นดับลง เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นสัจ
จะของจริงอาการหนึ่ง มรรคคือสกลกายที่ประดับ
ด้วยองคคุณทั้ง ๘ ประการ เป็นปฏิปทาเพื่อความดับทุกข์
เป็นสัจจะของจริงอาการหนึ่ง อันนี้เป็นส่วนสัจจญาณ
ในญาณทัสสนะของพระองค์
ทุกข์นั้นเป็นปริญเญยยธรรม เป็นของควรกำหนดรู้
สมุทัยนั้นเป็นปหาตัพพธรรม เป็นของพึงละเสีย นิโรธนั้น
เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม เป็นของพึงทำให้แจ้งให้ใส มรรค
นั้นเป็นภาเวตัพพธรรม เป็นของพึงทำให้เกิดให้มี อันนี้
เป็นส่วนกิจญาณ ในญาณทัสสนะของพระองค์
ทุกข์ซึ่งเป็นของควรกำหนดรู้นั้น เราได้กำหนดรู้แล้ว
สมุทัยซึ่งเป็นของพึงละเสียนั้น เราได้ละเสียแล้ว นิโรธ
ซึ่งเป็นของพึงทำให้แจ้งให้ใสนั้น เราได้ทำให้แจ้งให้ใส
แล้ว มรรคซึ่งเป็นของพึงทำให้เกิดให้มีนั้น เราได้ทำ
ให้เกิดให้มีแล้ว อันนี้เป็นส่วนกตญาณ
ในญาณทัสสนะของพระองค์
ในสัจจะทั้ง ๔ เป็นปริวัฏเวียนไปในสัจจะ ๆ มีอาการ ๑๒
จึงมีนามว่าพระธรรมจักร มีใจความโดยย่อเพียงเท่านี้
ส่วนเนื้อความพิสดารตามสุตตันตนัย
ย่อมขึ้นปากขึ้นใจชำนาญอยู่ด้วยกันโดยมากแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 12:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในหนังสือเล่มนี้จะอธิบายโดยทางวิปัสสนานัยในสัจ
จะของจริงทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคนั้น
ให้เอาสกลกายนี้ตั้งเป็นหลักเป็นประธาน
แล้วกำหนดดูทุกขสัจจะ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
ให้ตรงตามนัยในปฏิจจสมุปบาท ตั้งต้นแต่อวิชชา สังขาร
ตลอดถึงชรามรณะ ซึ่งเป็นปัจจุบันอันประจำอยู่
ในสกลกายนี้
ดังลำต้นกิ่งก้านเปลือกใบช่อผลแห่งรุกขชาติมีมะม่วงขนุน
เป็นต้น อันมีประจำอยู่ในเมล็ด หรืออยู่ในลำต้นที่ยังอ่อน
คือเมล็ดหรือลำต้นที่ยังอ่อนอยู่
นั้นย่อมมีกิ่งก้านเปลือกใบช่อผลประจำอยู่พร้อม
เป็นธรรมดา แม้สกลกายนี้ก็มี อวิชชา สังขาร ตลอด
ถึงชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ประจำอยู่
ตั้งต้นแต่ปฐมปฏิสนธิวิญญาณมาทีเดียว เป็นธรรมดา
อยู่อย่างนั้น อวิชชา สังขาร ตลอดถึง ชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ ซึ่งเป็นปัจจุบันมีประจำอยู่ในสกลกายนี้ทุกเมื่อ
เป็นอาการแห่งทุกขอริยสัจจะที่ ๑
แล้วเอาสกลกายนี้ตั้งเป็นหลักเป็นประธาน
ตรวจดูสมุทัยที่ว่ากามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานั้นให้
เข้าใจ ตัณหานั้นเป็นของดูยาก ต้องดูหน้าตาของสมุทัย
ให้ชัดเสียก่อน เพราะเป็นของพอดูเข้าใจง่าย
แต่มีมากประเภทนัก ไม่มีที่สิ้นสุด จะยกมาแสดงแต่พอ
เป็นทางตรึกตรองแห่งผู้ต้องการจะรู้เท่านั้น
ตัวสมุทัยควรจะรู้ตามอาการของปฏิจจสมุปบาท คือ
อวิชชา ความไม่รู้ เป็นตัวสมุทัยประเภทหนึ่ง สังขาร
ธรรมชาติที่ปรุงแต่งทั้งหลาย เป็นตัวสมุทัยประเภทหนึ่ง
วิญญาณ ความรู้วิเศษ เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง นามรูป
เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง อายตนะ ๖ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กาย ใจ เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ผัสสะ
ความกระทบถูกต้อง เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง เวทนา
ความรู้แจ้งอารมณ์ เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ตัณหา
ความปรารถนา เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง อุปาทาน
ความยึดถือ เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ภพ ความเป็นความมี
เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ชาติ ความเกิด
เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ชรามรณะ ความแก่ความตาย
เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง
............อาการแห่งสมุทัยทั้ง ๑๒ ประเภทนั้น ถ้า
ความเห็นยังแตกต่างเป็นคนละอย่างคนละอัน
เป็นอดีตบ้าง เป็นอนาคตบ้าง เป็นปัจจุบันบ้าง
เป็นอารมณ์แห่งกามตัณหา,
อาการแห่งสมุทัยทั้ง ๑๒ ประเภทนั้น ถ้าความเห็นรวม
อยู่ที่ตน มีอาการสักว่ามีแต่รูปเป็นตัวรูปสัญญา
เป็นอารมณ์แห่งภวตัณหา,
อาการแห่งสมุทัยทั้ง ๑๒ ประเภทนั้น ถ้าความเห็นรวม
อยู่ที่ตน มีอาการละเอียดสักว่ามีแต่นาม
เป็นตัวนามสัญญา เป็นอารมณ์แห่งวิภวตัณหา
ในภวตัณหา วิภวตัณหา ๒ ประเภท ท่านมักแสดงว่า
เป็นประเภทแห่งรูปฌานและอรูปฌานโดยมาก เพราะ
เป็นที่สังเกตง่าย แต่ความจริงมิได้จำกัดแต่เพียงฌานเท่า
นั้นที่จะรู้ว่าอาการ ๑๒ มีอวิชชาเป็นต้น ว่าเป็นสมุทัยนั้น
ต้องเห็นด้วยวิปัสสนานัย คือเห็นเป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน
และมีอาการไปอาการมา ดังเห็นว่าอวิชชา สังขาร
วิญญาณ ภพ ชาติ เป็นอดีต นามรูป อายตนะ ผัสสะ
เวทนา ตัณหา อุปาทาน เป็นปัจจุบัน ที่เห็นว่าอาการทั้ง
๑๒ มีอวิชชาเป็นต้นมาเกิดขึ้นแล้วมีอยู่แล้วในเรา
อย่างนี้ชื่อว่าเห็นเป็นอาการมา ที่เห็นไปว่าเราจักไป
ถึงอาการเหล่านั้น ดังเห็นว่าเราจักไปถึงความแก่
ความตายเป็นต้น อย่างนี้ชื่อว่าอาการไป
ในอาการทั้ง ๑๒ นั้น ถ้าเห็นแตกต่าง
เป็นคนละอย่างคนละอัน สิ่งที่ชอบใจก็อยากได้ สิ่งที่
ไม่ชอบใจก็อยากเสีย เป็นลักษณะแห่งกามตัณหา
............อาการทั้ง ๑๒ นั้น ถ้าเห็นเป็นแต่รูปแต่นาม
รูปที่ชอบใจก็อยากได้ รูปที่ไม่ชอบใจก็อยากเสีย
นามที่ชอบใจก็อยากได้ นามที่ไม่ชอบใจก็อยากเสีย
ความปรารถนาแต่รูป เป็นรูปตัณหา
ความปรารถนาแต่นาม เป็นนามตัณหา รูปตัณหานั้นท่าน
ให้ชื่อว่าภวตัณหา นามตัณหานั้นท่านให้ชื่อว่าวิภวตัณหา
เพราะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นของไปได้มาได้ จึง
เป็นที่ตั้งแห่งความปรารถนา พึง
เข้าใจลักษณะแห่งสมุทัยเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นพร้อม
ด้วยประการฉะนี้ องค์ปฏิจจสมุปบาทซึ่งเห็นเป็น
ส่วนอดีตอนาคตปัจจุบันและมีอาการไปอาการมาอยู่
นั้นแล เป็นลักษณะแห่งสมุทัย อริยสัจจะที่ ๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 12:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนนิโรธนั้นท่านแสดงแต่ว่าความดับตัณหา คือ
เป็นสมุทัยนั้นเอง ชื่อว่านิโรธ
ในนิโรธวารแห่งปฏิจจสมุปบาทก็แสดงอย่างนั้น จึงได้
ความว่าอวิชชาดับ สังขาร วิญญาณ นามรูป ตลอด
ถึงชรามรณะก็ดับตามกันไปหมด ดังนี้
แต่อาการดับนั้น ถ้าตามโลกนิยมอยู่ทุกวันนี้เป็น ๓ เงื่อน
เงื่อนหนึ่งดังประทีปธูปเทียนและพืชพรรณผลไม้ดับ
คือดับไปสูญไปหายไปไม่มีในที่นั้น เป็นลักษณะอันหนึ่ง
อีกเงื่อนหนึ่งดับไปสูญไปหายไปแต่ยังอยู่
ดังเด็กชายเด็กหญิง ดับไปสูญไปหายไป
จากชายหนุ่มหญิงสาว แต่เด็กชายเด็กหญิงนั้นก็ยังอยู่
คือเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้นเอง
หรือดังชายหนุ่มหญิงสาวดับไปสูญไปหายไป
จากชายแก่หญิงแก่ อาการดับอย่างนี้ก็มีมาก
ดังอิฐปูนดับไปจากฝาผนังและกำแพง
หรือดินเหนียวดับไปจากแผ่นอิฐหิน หรือหอยดับไป
จากปูนขาวเป็นตัวอย่าง เป็นลักษณะอันหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งดับของไม่มีอยู่แต่เดิม แต่ก็คง
อยู่อย่างเดิมคือดับแต่สัญญา
ดังกำแพงแก้วตามสัญญาของพวกเราโดยมาก
ซึ่งสำคัญว่าแก้วนั้น จะเป็นสีเขียวขาวดำแดงประการ
ใดก็ตาม คงจะมีสีเลื่อม ๆ ใส ๆ เมื่อได้ยินแต่เขาเล่า
ให้ฟังว่าเขาก่อกำแพงแก้วรอบโบสถ์รอบวิหาร ก็คง
เข้าใจว่าเขาก่อกำแพงด้วยแก้ว ครั้นไปเห็นเข้าด้วยตา
หาเป็นแก้วดังตนสำคัญไม่ เป็นอิฐเป็นปูนธรรมดานี้เอง
แต่กำแพงเตี้ย ๆ ชนิดนั้น เขาสมมติกันว่ากำแพงแก้ว
ความที่เข้าใจว่าเขาก่อกำแพงด้วยแก้วก็ดับไป
แต่กำแพงแก้วนั้นก็ยังอยู่ อาการดับแต่ไม่สูญ
ไม่หายไปไหนอย่างนี้เป็นลักษณะอันหนึ่ง
ซึ่งว่าตัณหาเป็นชาติสมุทัยดับไปโดยไม่เหลือ
นิยมตามที่มาว่าทุกขนิโรธนั้นก็คือดับยังเหลืออยู่
ดังกำแพงแก้วเช่นเดียวกัน อาการดับอย่างนี้
เป็นลักษณะแห่งทุกขนิโรธ อริยสัจจะที่ ๓
............ส่วนมรรคนั้นได้แก่ปัญญาที่เห็นอวิชชา สังขาร
นามรูป ตลอดถึงชรามรณะซึ่งเป็นปัจจุบัน มีพร้อม
อยู่ที่สกลกายนี้
ดังลำต้นกิ่งก้านเปลือกใบช่อผลของมะม่วงขนุน
อันมีพร้อมอยู่ในเมล็ดฉะนั้น และเห็นอวิชชา สังขาร
วิญญาณ นามรูป ตลอดถึงชรามรณะ ซึ่ง
เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน และมีอาการไปอาการมา
เป็นตัวสมมติ สัญญาอดีตเป็นชาติสมุทัยแท้
และเห็นอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป ตลอด
ถึงชรามรณะดับลงโดยไม่เหลือ คือรู้เท่าสมมติรู้
เท่าสังขารด้วยกำลังญาณทัสสนะ ตัววิปัสสนาญาณ
อวิชชากลับตัวเป็น สมฺมาทิฏฺฐิ ไป สังขารกลับตัวเป็น
สมฺมาสงฺกปฺโป ไป เมื่ออวิชชาสังขารตลอด
ถึงชรามรณะดับลงโดยไม่เหลือจากสกลกายแล้ว ที
นั้นสกลกายก็ประดับด้วยองคคุณทั้ง ๘ ประการ มี
สมฺมาทิฏฺฐิ เป็นต้น มี สมฺมาสมาธิ เป็นที่สุด สกลกายนั้น
จึงได้นามว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เป็นลักษณะแห่งมรรคอริยสัจจะที่ ๔
............แต่ในปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงแต่อริยสัจ ๒
ประเภท คือสมุทัยวารกับนิโรธวารเท่านั้น
เพราะทุกข์ท่านหมายสภาพ คือสกลกายนี้เอง
ส่วนมรรคท่านหมายวิสุทธิมรรค คือตัววิปัสสนาญาณ
องค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ก็คือแสดงอาการของสกลกายนี้
ถึงแม้พระอริยมรรคทั้ง ๘ ก็คือแสดงอาการสกลกายนี้
ถึงพระอริยสัจทั้ง ๔ ก็ไม่ใช่อื่น
คือแสดงอาการของสกลกายนี้เอง
ผู้ที่เพ่งโทษของสกลกายนี้แรงไป เห็นเป็นแต่อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา เห็นเป็นแต่อสุจิอสุภังไปส่วนเดียว ก็ชื่อว่า
เป็นผู้หนักในอาการของสัญญาเกินไป
เมื่ออนัตตสัญญาปกปิดสกลกายเสียหมดแล้ว
จะเห็นมรรคผลนิพพานในที่ไหน มรรคก็คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา ท่านแสดงว่าเป็นภาเวตัพพธรรม เป็นธรรมพึงทำ
ให้เกิดให้มี ผลก็คือนิโรธ ธรรมเป็นธรรมพึงทำให้แจ้ง
ให้ใส ดังนี้
ความจริง พระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สพฺเพ สงฺขารา
อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ดังนี้
ที่แปลว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานั้น
ก็ทรงแสดงสังขารธรรมแท้ทีเดียว ก็
ถ้าหากว่าโยคาพจรกุลบุตร มาเห็นสกลกายนี้
เป็นแต่สังขารธรรมโดยส่วนเดียว ก็จะไปแสวงหาธรรมที่
เป็นวิสังขารในที่ไหนเล่า? แท้ที่จริงที่ท่านแสดงว่า
ให้ถอนอัตตสัญญาเสีย จึงจะเป็นอันละสักกายทิฏฐิ
ได้ดังนี้ บางทีท่านจะให้ถอนสัญญาอุปาทาน
ที่ยึดมั่นถือมั่นว่าสังขารธรรมเป็นตัวตนดอกกระมัง?
ที่เห็นธรรมซึ่งเป็นวิสังขารเป็นตัวตน
จะตรงต่อพุทธภาษิตว่า “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ”
ก็อาจจักเป็นได้
แต่ความรู้ความเห็นในธรรมของพระอาจารย์
ทั้งหลายย่อมแตกต่างกัน บางพวกเห็นพระอนิจจัง
พระทุกขัง พระอนัตตา เป็นมรรค คือเป็นภาเวตัพพธรรม
จึงทำให้เกิดให้มีอยู่เสมอและสั่งสอนผู้ปฏิบัติตาม
ให้ทำพระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา ให้เกิดให้มี
อยู่เสมอ บางพวกเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป็นปหาตัพพธรรม เป็นธรรมพึงกำหนดรู้ แล้วพึงละเสีย
ให้เจริญมรรคภาวนาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดให้มีขึ้น
คือเห็นว่าศีล สมาธิ ปัญญา เป็นภาเวตัพพธรรม
ส่วนตนก็ทำศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดให้มีอยู่เสมอ
และสั่งสอนผู้ปฏิบัติตามให้ทำศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิด
ให้มีอยู่เสมอ ในความเห็นของพระอาจารย์ทั้ง ๒ จำพวก
นั้น จะหาความผิดในท่านจำพวกใดเป็นอันไม่ได้
แต่พวกเราจะต้องการของจริงต้องใช้ปัญญา
เมื่อเห็นสมควรแก่ตนด้วยประการใด ก็จงปฏิบัติ
ให้เต็มศรัทธาของตนด้วยประการนั้นเถิด อย่าให้เสียทีที่
ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
เพราะปฏิจจสมุปบาท ... พระประกาศควรเฉลียว
อวิชชาดับตัวเดียว ... เกิดแก่ตายวายตามกัน
ไม่เชื่อพระจะเชื่อใคร ... หรือชอบตายก็จนใจ
เรือเราถูกน้ำไหล ... ขวางเรือไว้ทำไมกัน
ให้รีบถ่อให้รีบพาย ... ตลาดจะวายสายบัวจะเน่า
กลอนเก่าของนักปราชญ์ ... อย่าประมาทรีบตรึกตรอง
ทางหนียังพอปอง ... ใยจะล่วงตายตามกัน
แสดงพระจตุราริยสัจ
โดยประเภทแห่งปฏิจจสมุปบาทนัยก็สมควรแก่กาลสมัย
เท่านี้.
..........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร