วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 12:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

วรรณนาสัลเลขสูตร
(เรียบเรียงเมื่อเป็น พระครูวิจิตรธรรมภาณี)

ปุจฉา. ในสัลเลขสูตรนี้มีความอย่างไร
ข้าพเจ้าอ่านฟังตรองตามฟั่นเฝือเต็มที คิดรวบรัดใจ
ความเป็นการลำบาก ขอท่านเอ็นดูแนะนำข้าพเจ้าเพื่อ
ได้ความฉลาดต่อไป
วิสัชนา. ใจความสังเขปในพระสูตรนั้น ดังนี้ สมัยหนึ่ง
เป็นเวลาเย็น พระผู้เป็นเจ้าจุนทะผู้มีอายุ ออก
จากผลสมาบัติอันอุดมแล้วเข้าไปยังที่เฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลถาม
ถึงการละมิจฉาทิฏฐิโดยบุคคลาธิษฐานว่า
ภิกษุมาทำในใจซึ่งเบื้องต้น คือมนสิการอันเจือ
ด้วยวิปัสสนาอย่างเดียว แต่ยังไม่ถึงโสดาปัตติมรรค
แล้ว ย่อมสละคืนซึ่งทิฏฐิทั้งหลายได้ด้วยอุบายเพียง
เท่านั้นแลหรือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า การละทิฏฐินั้น
จะอาศัยแต่เบื้องต้น คือมนสิการอย่างเดียวเท่านั้นยังไม่
ได้ เพราะทิฏฐิไม่ใช่อย่างเดียว ทิฏฐิประกอบพร้อม
ด้วยคำกล่าวปรารภตนบ้าง ปรารภโลกบ้าง
ทิฏฐิเกิดขึ้น ณ ที่ใด ตามนอนอยู่ ณ ที่ใด ขึ้นเที่ยวทั่วอยู่
ณ ที่ใด ภิกษุเห็นที่อันเป็นอาธารวิสัยนั้น (คือขันธ์ ๕)
ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างไร ว่านั่นไม่
ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวเรา สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดังนี้ คือ (บรรลุโสดาปัตติมรรค) ความสละคืน
ซึ่งทิฏฐิของเธอนั้นจึงจะสำเร็จได้
พระองค์ทรงแสดงการละทิฏฐิ
ด้วยโสดาปัตติมรรคแล้ว
จึงทรงจำแนกรูปฌานอรูปฌานของบุคคล
ผู้มีมานะยิ่งทั้งหลายว่า เมื่อบุคคลมาทำความเพียร
ให้รูปฌานอรูปฌานเกิดขึ้นได้ เธอ
นั้นพึงวิตกตรึกไปว่า เราย่อมอยู่
ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลาดังนี้ ก็แต่ฌานเหล่านั้น
ในวินัยของพระอริยะเรา
ไม่กล่าวว่าธรรมเครื่องขัดเกลา
เป็นแต่ธรรมสำหรับอยู่เป็นสุข และ
เป็นธรรมระงับสงัดดีในทิฏฐิธรรมชาตินี้เท่านั้น
แล้วพระองค์จึงทรงแสดงสัลเลขธรรมมีวัตถุ
๔๔ เป็นที่ตั้ง โดยวิธี ๕ ชั้น ชั้นที่ ๑ แสดงธรรม ๔๔
มีอวิหึสาเป็นต้น ว่า
เป็นธรรมขัดเกลาลามกธรรมมีวิหึสาเป็นต้น
ชั้นที่ ๒ แสดงความบังเกิดขึ้นแห่งจิตใน
ความละลามกธรรมมีวิหึสา
เป็นต้นว่ามีอุปการะมาก ชั้นที่ ๓
ทรงแสดงการหลีกเลี่ยงหนีจากธรรม
ส่วนอกุศล ๔๔ มีวิหึสาเป็นต้นนั้นให้พ้นไป ชั้นที่ ๔
ทรงแสดงธรรม ๔๔ มีอวิหึสาเป็นต้นนั้นว่าเป็น
ส่วนเบื้องบน ชั้นที่ ๕ ทรงแสดงธรรม ๔๔ มีอวิหึสา
เป็นต้นนั้นว่าเป็นเครื่องดับสนิทของวิหึสา ใจ
ความของพระสูตรนี้
พระองค์ทรงแสดงสัลเลขธรรมโดยวิธี ๕
ชั้นดังนี้
ปุ. พระมหาจุนทะอาศัยทิฏฐิอะไรเป็นเหตุ
จึงกราบทูลถามอย่างนั้น ?
วิ. พระมหาจุนทะอาศัยมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายเป็นเหตุ
แล้ว จึงทูลถามอย่างนั้น
ปุ. มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดมีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ?
วิ. มิจฉาทิฏฐิในที่นี้ พระผู้เป็นเจ้าประสงค์ความเห็น
ด้วยการปรารภตน ๒๐ อย่าง ความเห็น
ด้วยปรารภโลก ๘ อย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 17:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุ. ความเห็นปรารภตน ๒๐ อย่างนั้น
คืออย่างไรบ้าง ?
วิ. ความเห็นปรารภตน ๒๐ อย่างนั้น คือ
๑. บุคคลตามเห็นรูปว่าเป็นตัวตน
๒. เห็นว่าตัวตนมีรูป
๓. เห็นว่ารูปอยู่ในตัว
๔. เห็นว่าตัวอยู่ในรูป
๕. เห็นว่าเวทนาเป็นตัวตน
๖. เห็นว่าตนมีเวทนา
๗. เห็นว่าเวทนาอยู่ในตน
๘. เห็นว่าตัวอยู่ในเวทนา
๙. เห็นว่าสัญญาเป็นตัวตน
๑๐. เห็นว่าตัวมีสัญญา
๑๑. เห็นว่าสัญญาอยู่ในตัว
๑๒. เห็นว่าตัวอยู่ในสัญญา
๑๓. เห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นตัวตน
๑๔. เห็นว่าตัวมีสังขาร
๑๕. เห็นว่าสังขารทั้งหลายอยู่ในตัว
๑๖. เห็นว่าตัวอยู่ในสังขารทั้งหลาย
๑๗. เห็นว่าวิญญาณเป็นตัวตน
๑๘. เห็นว่าตนมีวิญญาณ
๑๙. เห็นว่าวิญญาณอยู่ในตัว
๒๐. เห็นว่าตัวอยู่ในวิญญาณ
ความเห็นปรารภตน ๒๐ อย่างด้วยประการฉะนี้
ปุ. ความเห็นปรารภโลก ๘ อย่างนั้น
คืออย่างไรบ้าง ?
วิ. ความเห็นปรารภโลก ๘ อย่างนั้น
๑. เห็นว่าโลกเที่ยงแท้ยั่งยืน
๒. เห็นว่าโลกไม่เที่ยง รู้แปรผัน
๓. เห็นว่าโลกเที่ยงด้วยไม่เที่ยงด้วย
๔. เห็นว่าโลกเป็นของเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่
๕. เห็นว่าโลกมีที่สุด
๖. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
๗. เห็นว่าโลกมีที่สุดด้วย ไม่มีที่สุดด้วย
๘. เห็นว่าโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่
ความเห็นประกอบด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมมี
ด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 17:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุ. เมื่อพระมหาจุนทะอาศัยทิฏฐิอย่างนั้น
แล้วกราบทูลถาม พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอย่างไรบ้าง ?
วิ. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของพระผู้
เป็นเจ้ามหาจุนทะทุกประการ ตรัสตอบว่า ทิฏฐิ
ทั้งหลายนั้น บุคคลย่อมละเสียได้
ด้วยอำนาจโสดาปัตติมรรคโดยส่วนเดียว
จะละทิฏฐิเหล่านั้น
ด้วยอำนาจแห่งปฐมมนสิการอันเจือ
ด้วยวิปัสสนาอย่างเดียวเพียงเท่านั้นไม่ได้
ปุ. การละทิฏฐิเหล่านั้น
ด้วยอำนาจปฐมมนสิการอันเจือด้วยวิปัสสนาจะได้
หรือมิได้ พระผู้เป็นเจ้าไม่เข้าใจหรือ จึง
ต้องกราบทูลถาม ?
วิ. ทำไม่จะไม่เข้าใจ พระผู้เป็นเจ้าก็
เป็นองค์พระอรหันต์
ปุ. เมื่อเข้าใจแล้วจะต้องถามทำไม ?
วิ. การถามนั้น ด้วยประสงค์จะให้พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดสินถอนเสีย
ซึ่งอธิมานะแห่งกุลบุตรบางเหล่า
เพราะกุลบุตรบางพวกมาทำความเพียรข่มกิเลส
ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา เบื้องต้น
เป็นแต่เพียงตทังคะและวิขัมภนะเท่านั้น
ก็บังเกิดอธิมานะมีความสำคัญในใจว่าตน
ได้สำเร็จโลกุตรธรรม และมีความสำคัญ
ในใจว่า การละทิฏฐิเหล่านั้นให้ขาดสูญนั้น ย่อมจะ
เป็นได้ด้วยปฐมมนสิการสิ่งเดียว
และมาสำคัญว่าการอยู่ด้วยสมาบัติ เป็นการ
อยู่ขัดเกลาทิฏฐิทั้งหลายดังนี้
ปุ. ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทิฏฐิเหล่า
นั้นเกิดขึ้น ณ ที่ใด ตามนอนอยู่ ณ ที่ใด ขึ้นเที่ยวอยู่ ณ ที่
ใด เมื่อภิกษุเห็นที่อันเป็นอาธารวิสัยนั้น
ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างไรว่า นั่นไม่
ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวเรา สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ความสละคืนซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมเป็นได้
ด้วยอย่างนี้ดังนี้ ท่านเห็นเนื้อความอย่างไร
ขอท่านอธิบายสู่กันฟังบ้าง ?
วิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ ว่า
เป็นที่รับรองของทิฏฐิเหล่านั้น ๆ มิได้เกิดขึ้นในที่อื่น
ย่อมเกิดขึ้นในขันธปัญจกนั้นเอง เมื่อรูปมีอยู่แล้ว
ทิฏฐิความเห็นว่าตัวตนอันใด โลกอันใดในภพนี้ตัวตนอัน
นั้น โลกอันนั้นจักเป็น ณ ภพหน้า เที่ยงแท้ยั่งยืนเช่นนี้ มิ
ได้แปรปรวน ทิฏฐิเช่นนี้ย่อมหยั่งลงในรูป
อาศัยรูปจึงเกิดขึ้น เมื่อเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณมีอยู่ ทิฏฐิอาศัยเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ จึงเกิดขึ้น หยั่งลงในเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ นั้นดังนี้ ท่านพึงเข้าใจเถิด
ปุ. ก็คำทั้งสามคือเกิดขึ้นอยู่ ตามนอนอยู่ ขึ้นเที่ยวทั่วอยู่
นั้น อธิบายอย่างไร ?
วิ. คำถามทั้งสามนั้น แสดงเหตุอันต่างแห่งบทเป็นกิริยา
ทิฏฐิทั้งหลายที่ยังมิได้เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจแห่งชาติมาเกิดขึ้นอยู่ เช่นนี้ท่านกล่าวว่าเกิด
อยู่ ทิฏฐิทั้งหลายอันบุคคลเสพเนือง ๆ แล้ว
และทิฏฐินั้นได้กำลังเรี่ยวแรงขึ้น
เช่นนี้ท่านกล่าวว่าตามนอนอยู่ ทิฏฐิทั้งหลายอัน
ถึงกายทวารและวจีทวารแล้วนั้น
ท่านกล่าวว่าขึ้นเที่ยวอยู่
ปุ. คำทั้งสามที่ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวเรา สิ่ง
นั้นไม่ใช่ตัวของเราดังนี้ เนื้อความอย่างไร ?
วิ. เนื้อความอย่างนี้ การถือว่านั่นของเราดังนี้
ชื่อว่าถือเอาด้วยตัณหา การถือว่านั่นเป็นเราดังนี้
ชื่อว่าถือเอาด้วยมานะ การถือว่าสิ่งนั้น
เป็นตัวตนของเราดังนี้ ชื่อว่าถือเอาด้วยทิฏฐิ ก็ตัณหา
มานะ ทิฏฐิ ทั้งสามนั้น
เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้าละอย่าง ๆ ตัณหามานะ
ทั้งสองนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าในทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น
พระองค์จึงทรงแสดงแต่การละทิฏฐิสิ่งเดียวเท่านั้น
เมื่อบุคคลมาเห็นขันธปัญจก โดยอาการว่า นั่นไม่
ใช่ของเรา ๆ เป็นต้น ชื่อว่าเห็นตามความ
เป็นจริงอย่างไร แท้จริงหมวด ๕ แห่งขันธ์
เมื่อบุคคลถือเป็นของของตัวด้วยอาการใด ก็ย่อมไม่มี
ด้วยอาการนั้น (คือไม่สมประสงค์) ซึ่งว่าภิกษุเห็น
ด้วยปัญญาอันชอบนั้น คือเห็นด้วยดี
ด้วยวิปัสสนาปัญญาอันเกิดขึ้นพร้อม
ด้วยโสดาปัตติมรรค ความละสละคืน
ซึ่งทิฏฐิเหล่านั้นเสียย่อมเป็น คือว่าย่อมสำเร็จ
ด้วยอุบายนี้ ท่านพึงเข้าใจเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 17:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุ. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแจกมหรคตฌานออกจนสิ้นเชิงแล้ว
ทรงคัดค้านว่า ฌานคือสมาบัติทั้ง ๘ นั้นมิ
ใช่สัลเลขธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
เป็นแต่ธรรมสำหรับอยู่เป็นสุข และ
อยู่ระงับสงัดดีในอัตภาพนี้เท่านั้น ข้อนี้น่าสงสัยนัก ในที่
อื่นทรงแสดงศีลสมาธิปัญญาว่าเป็นไตรสิกขา
มาที่นี้กลับติเตียนสมาธิว่า มิใช่สัลเลขธรรม
เครื่องขัดเกลากิเลส ว่า
เป็นแต่ทิฏฐธรรมสุขวิหารเท่านั้น สมาธิเป็นคุณทำ
ให้เกิดด้วยยากไม่ใช่หรือ การที่อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
จะต้องทำสมาธิทำไม บำรุงตนให้บริบูรณ์
ด้วยกามารมณ์ทั้ง ๕ แล้ว รับความสุขจะมิดีกว่า
ความสุขเกิดแต่สมาบัติหรือ ?
วิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมหรคตฌาน ว่ามิ
ใช่สัลเลขธรรมนั้น ด้วยอำนาจ
จะข่มบุคคลบางพวกที่ได้บรรลุฌานแล้ว มี
ความสำคัญในใจว่า ตนได้สำเร็จโลกุตรธรรม
เพราะว่าความสำคัญเช่นนั้นจะบังเกิดแก่พาลปุถุชนผู้
เป็นไปตามโลกวัฏฏะก็หาไม่ จะเกิดขึ้นแก่อริยสาวก
ทั้งหลายก็หาไม่ จำเพาะบังเกิดแก่บุคคล
ผู้ข่มกิเลสลงไว้ได้ด้วยกำลังสมถะหรือ
ด้วยกำลังวิปัสสนา ประกอบด้วยความเพียร
อยู่เนืองนิตย์ และเป็นผู้มีความเห็นแจ้งอันปรารภ
แล้ว
จริงอยู่ บุคคลเช่นนั้นเมื่อไม่เห็นกิเลสอันตนข่มไว้
ด้วยสมถะและวิปัสสนานั้น ขึ้นเที่ยวทั่วไปในทวารนั้น
ๆ มานะก็ยิ่งบังเกิดขึ้น สำคัญว่าตนเป็นโสดาบัน
หรือสกทาคามี อนาคามีและอรหันต์ จริงอยู่
พระโสดาบันจะมีมานะยิ่งเกิดขึ้น สำคัญว่า เรา
เป็นพระสกทาคามีดังนี้ย่อมไม่มี พระสกทาคามี
และพระอนาคามี จะสำคัญว่า เราเป็นพระอนาคามี
และพระอรหันต์ดังนี้ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงติเตียนสมาธินั้น เพื่อ
จะให้ละอธิมานะเสียเท่านั้น สมาธิเป็นคุณทำได้
ด้วยยากจริงดังท่านว่า เป็นธรรมดีด้วย เพราะ
เป็นบาทของวิปัสสนา แต่อย่าให้อธิมานะครอบงำได้
ถ้าว่าโดยอย่างต่ำ ถึงครอบงำได้ จะได้รับแต่
ส่วนทิฏฐิธรรมสุขวิหารเท่านั้น ก็ยังดีกว่า
ความสุขที่เกิดแต่กามารมณ์ที่ท่านว่า
ปุ. ความสุขที่เกิดแต่สมาธินั้น ดีกว่ากามสุขอย่างไร ?
วิ. ความสุขที่เกิดแต่สมาธิจิต เป็นความสุขสะอาดไม่เจือ
ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นความสุขสำราญดี
สุขเฉื่อย ๆ เรื่อย ๆ ไม่ฉุนเฉียว
เพราะอาศัยอุเบกขาเอกัคคตา เปรียบ
ความดังบุคคลบริโภคอาหารอิ่มพอดีแล้ว
จะบริโภคอีกหรือไม่บริโภคก็พอสบายอยู่
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบความดังกายเป็นปกติ ไม่มีโรค
จะเอายาแก้พิษฝีหรือยาแก้พิษงูมาทาก็ไม่ให้เกิดสุข
และทุกข์ได้ฉันใด
ความสุขที่เกิดแต่สมาบัติก็สบายสะอาดดี ดังกาย
เป็นปกติฉะนั้น
ส่วนความสุขที่เกิดแต่กามารมณ์ เป็น
ความสุขฉุนเฉียวมาก เพราะเจือด้วยราคะโทสะโมหะ
ราคะ โทสะ โมหะ ท่านกล่าวว่าเป็นไฟแต่ละอย่าง ๆ
ความสุขที่เกิดแต่กามารมณ์นั้นเป็นของร้อน
เพราะเกิดแต่ความหิว ดังบุคคลหิวข้าวเหลือกำลัง
แล้วได้บริโภคอาหารตามประสงค์ ย่อมเกิด
ความสุขนัก อีกอย่างหนึ่งดังกายเป็นฝีหรืองูกัดเป็นต้น
เจ็บปวดเหลือกำลังแล้ว ได้ยาแก้พิษฝี
หรือพิษงูอย่างดีมาทาเข้า พิษนั้นก็หายไปทันที ย่อมได้
ความสุขไม่มีประมาณ จนนอนหลับ
ก็แต่ความสุขเช่นนี้ เกิดมาแต่ความหิวหรือเกิดแต่พิษฝี
และงูเป็นต้นฉันใด ความสุขที่อาศัยกามารมณ์เกิดขึ้น
ก็เกิดมาแต่ของร้อน คือ ราคะ โทสะ โมหะ
เพราะเหตุนั้น จึงเห็นเป็นความสุขไม่สะอาด สู้
ความสุขที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาบัติไม่ได้
ท่านจงตรึกตรองให้ดีเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 17:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสัลเลขธรรม
โดยวิธี ๕ ชั้น ชั้นที่หนึ่งแสดงด้วยสัลเลขวัตถุ ๔๔ ข้อ
คืออะไรบ้าง? ขอท่านแจกออกเป็นลำดับไปให้เข้าใจ
ได้
วิ. ข้อที่
๑. การเบียดเบียนสัตว์
๒. ฆ่าสัตว์
๓. การลักฉ้อของที่เจ้าของไม่ให้แล้ว
๔. การประพฤติผิดในกามคือล่วงประเวณี
ในสามีภรรยาของผู้อื่น
๕. การกล่าวคำเท็จ
๖. กล่าวคำหยาบ
๗. กล่าวคำส่อเสียด
๘. กล่าวคำโปรยประโยชน์
๙. ความเพ่งในกิเลสกามพัสดุกามของคนอื่น
๑๐. ความพยายามคิดแช่งสัตว์อื่นให้พินาศ
๑๑. ทิฏฐิผิด
๑๒. ความดำริผิด
๑๓. วาจาผิด
๑๔. ส่วนการงานที่จะพึงทำด้วยกายผิด
๑๕. ความเพียรเป็นที่อาศัยเลี้ยงชีวิตผิด
๑๖. ความพยายามผิด
๑๗. ความระลึกผิด
๑๘. สมาธิผิด
๑๙. ญาณปรีชาผิด
๒๐. วิมุติผิด
๒๑. ความคร้านกายและ
ความง่วงงุนแห่งจิตตั้งขึ้นรอบแล้วครอบงำแล้ว
๒๒. ความกำเริบฟุ้งซ่านแห่งจิต
๒๓. ความเคลือบแคลงสงสัย
๒๔. ความขึ้งโกรธ
๒๕. ความรึงรัดความโกรธไว้ (คือถือโกรธ)
๒๖. ความหลู่คุณท่านที่ได้ทำดีแก่ตน
๒๗. ความตีเสมอ คือยกตนเทียมท่าน
๒๘. ความอิจฉาลาภยศคุณความดีของผู้อื่น
๒๙. ความตระหนี่
๓๐. ความโอ้อวดแสดงความชอบอันไม่มีในตน
๓๑. มายาหลอกลวง
๓๒. ความกระด้างดื้อดึง
๓๓. ความมีมานะถือตนยิ่งเกิน
๓๔. ความสอนยาก
๓๕. ความคบคนบาปเป็นมิตรสหาย
๓๖. ความประมาทมัวเมา
๓๗. ความไม่มีศรัทธา
๓๘. ความไม่มีหิริความละอาย
๓๙. ความไม่สะดุ้งแต่บาป
๔๐. ความสดับน้อย
๔๑. ความเกียจคร้าน
๔๒. ความมีสติฟั่นเฟือนลืมหลง
๔๓. ความมีปัญญาชั่วทุรพล
๔๔. ความจับต้องทิฏฐิของตน และความถือรั้น
และทิฏฐิอันผู้อื่นให้สละเสียด้วยยาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 18:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุ. ธรรมเหล่านั้นเป็นฝ่ายอกุศลอยู่
โดยธรรมดาอย่างไร จึงว่า
เป็นที่ตั้งแห่งสัลเลขะคือจะต้องประพฤติอย่างไร ?
วิ. ผู้มีความประสงค์จะขัดเกลาลามกธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น พึงทำความขัดเกลาว่า ชน
ทั้งหลายพวกอื่น คือชนที่ไม่ได้ประกอบสัลเลขะ
จักเป็นผู้เบียดเบียนด้วยฝ่ามือหรือด้วยท่อนไม้ก้อนดิน
เป็นต้นในวัตถุใด เราจักไม่เป็นผู้เบียดเบียนในวัตถุนั้น
คือว่าจักอยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถึง
ในบทต่อไปอีก ๔๓ ก็พึงเข้าใจความโดยนัยนี้
ปุ. ชั้นที่ ๒ ทรงแสดงจิตตุปบาทว่ามีอุปการะมาก
มีเนื้อความอย่างไร ?
วิ. จิตตุปบาทในที่นี้ พระองค์ทรงแสดง
ความบังเกิดขึ้นแห่งจิตอันตกไปในธรรมอันเป็นกุศล
ทั้งหลาย คือ จะละธรรมอันเป็นอกุศล ๔๔ มีคิดว่า
เราจักไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นให้ได้รับความลำบาก
เป็นต้น จนคิดว่า เราจักมีทิฏฐิอันผู้อื่นให้สละเสีย
ด้วยง่ายเป็นที่สุดว่ามีอุปการะมาก
ปุ. เพียงแต่คิดด้วยใจเท่านั้น จะมีอุปการะอย่างไร ?
วิ. ใจเป็นของสำคัญมาก เพราะใจเป็นประธาน
ในการบุญในการบาป และกิจที่จะพึงทำทั้งสิ้น
กุศลธรรมมีความไม่เบียดเบียนเป็นต้น จะมีขึ้นได้ก็
ต้องอาศัยใจเป็นที่ตั้ง เพราะฉะนั้น เพียงแค่ติดด้วยใจ
เท่านั้นก็มีอุปการะมาก
ปุ. ชั้นที่ ๓ ทรงแสดงการหลีกเลี่ยงหนีจากธรรม
ส่วนอกุศลให้พ้นไปนั้น มีข้อความอธิบายอย่างไร ?
วิ. ในชั้นที่ ๓ นี้ทรงตั้งความอุปมา ๔ ข้อ
๑. หนทางไม่เรียบราบประกอบด้วยอันตราย
๒. ทางเรียบราบหาอันตรายมิได้
๓. ท่าไม่เรียบราบประกอบด้วยอันตราย
๔. ท่าเรียบราบหาอันตรายมิได้
ทางไม่ดี ท่าไม่ดีเดินยาก ขึ้นยาก ลงยาก
ควรที่บุคคลจะหลีกเลี่ยงเสียให้พ้น ทางดี ท่าดี
เดินสบาย ขึ้นสบาย ลงสบาย ควรที่บุคคลจะไต่ไป
โดยส่วนเดียว
ดังนี้แล้วทรงจำแนกอกุศลธรรม ๔๔
มีวิหึสาคือเบียดเบียนเป็นต้น มีถือรั้นเป็นที่สุด เปรียบ
ด้วยทางไม่ดี ท่าไม่ดีนั้น
ทรงจำแนกกุศลธรรม ๔๔ มีอวิหึสา คือ
ไม่เบียดเบียนเป็นต้น มีไม่ถือรั้นเป็นที่สุด เปรียบ
ด้วยทางดีท่าดีนั้น
ทางดี ท่าดีเป็นที่หลีกเลี่ยงจากทางไม่ดี ท่าไม่ดี
ของปุริสบุคคลฉันใด ธรรมที่
เป็นกุศลก็หลีกเลี่ยงจากธรรมที่
เป็นอกุศลของปุริสบุคคลฉันนั้น
อธิบายว่า การทำตนให้หลีกเลี่ยงพ้นไป
จากอกุศลเหล่านั้น เป็นสัลเลขธรรมอย่างหนึ่ง
ปุ. ชั้นที่ ๔ ทรงแสดงความที่แห่งสัลเลขธรรมว่า
ถึงความเป็นเบื้องบนนั้น มีข้อความอธิบายอย่างไร ?
วิ. ในชั้นที่ ๔ นี้ ทรงตั้งอกุศลธรรมทั้งสิ้นเป็น
ส่วนเบื้องต่ำ ทรงตั้งกุศลธรรมทั้งสิ้นเป็น
ส่วนเบื้องบนแล้ว ทรงจำแนกสัลเลขวัตถุ ครบทั้ง
๔๔ อาการ ดังวิสัชนามาในหนหลังนั้น
ส่วนอกุศลว่าเบื้องต่ำส่วนกุศลว่าเป็นเบื้องบน
ปุ. กุศลากุศล ที่ทรงแสดงว่าเป็นเบื้องบนเบื้องต่ำนั้น
มีข้อความอธิบายอย่างไร ?
วิ. ที่ว่าเป็นเบื้องต่ำเบื้องบนนั้น คือต่ำโดยชาติอย่างหนึ่ง
ต่ำโดยผลอย่างหนึ่ง เบื้องบนนั้นคือสูง
โดยชาติอย่างหนึ่ง สูงโดยผลอย่างหนึ่ง
ป. ต่ำโดยชาติโดยผล สูงโดยชาติโดยผล
นั้นอย่างไร ?
วิ. ต่ำโดยชาตินี้ บรรดาธรรมที่เป็นบาป
เป็นอกุศลแล้ว ย่อมต่ำย่อมเลวอยู่
โดยธรรมดาของตน หรือนำปฏิสนธิก็เป็น
ส่วนเบื้องต่ำ มีนรกเปรตวิสัยเป็นต้น ชื่อว่าต่ำโดยชาติ
ต่ำโดยผลนั้น บรรดาธรรมที่เป็นอกุศลย่อม
ให้ผลอย่างต่ำอย่างเลว คือโทษและทุกข์ต่างๆ
เป็นของอันบุคคลไม่พึงปรารถนา ไม่รักใคร่
ชื่อว่าต่ำโดยผล
สูงโดยชาตินั้น บรรดาธรรมที่เป็นกุศลธรรม
ทั้งสิ้น ย่อมสูง ย่อมสง่าอยู่โดยธรรมดา
หรือนำปฏิสนธิก็เป็นส่วนเบื้องบนเบื้องสูง มีมนุษย์
และสวรรค์เป็นต้น ชื่อว่าสูงโดยชาติ สูงโดยผลนั้น
บรรดาธรรมที่เป็นกุศลทั้งสิ้น ย่อม
ให้ผลอย่างสูงอย่างดี คือให้ความสุขความเจริญของ
ผู้รักใคร่ปรารถนา จึงชื่อว่าสูงโดยผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 18:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุ. ชั้นที่ครบ ๕ ทรงแสดงสัลเลขธรรมว่า
สามารถจะให้กิเลสดับสนิทได้นั้น มีข้อ
ความพิสดารอย่างไรบ้าง ?
วิ. ในชั้นนี้ทรงตั้งอุปมา ๔ ข้อขึ้นในเบื้องต้น
(๑) บุคคลจมอยู่ในเปือกตม และจะยกบุคคลผู้จม
อยู่ในเปือกตมเช่นตนขึ้นให้พ้นเปือกตมไม่ได้
(๒) ผู้อยู่บนที่บกที่ดอนและจักยกผู้อยู่ในเปือกตมได้
(๓) บุคคลผู้มิได้รับฝึกปรือ มิได้รับแนะนำ มิ
ได้ดับกิเลสสนิทด้วยตน และจะฝึกปรือ แนะนำให้ผู้
อื่นดับกิเลสไม่ได้
(๔) ผู้ที่ได้รับฝึกปรือและแนะนำด้วยตนดี
แล้วดับกิเลสสนิทด้วยตนแล้ว และ
จะฝึกปรือแนะนำผู้อื่นให้ดับกิเลสสนิทได้
ดังนี้แล้วทรงจำแนกสัลเลขธรรมต่อไปว่า
อวิหึสาความไม่เบียดเบียน ย่อม
เป็นไปเพื่ออันดับสนิทของปุริสบุคคลผู้เบียดเบียน
เป็นต้น ครบ ๔๔ อาการดังได้กล่าวแล้ว
ในหนหลังนั้น ต่างแต่คำว่าอวิหึสา
เป็นเครื่องดับสนิทของวิหึสาเท่านั้น
ป. ข้ออุปมาที่ ๑ มีเนื้อความอธิบายอย่างไร ?
วิ. บุรุษผู้ใดผู้หนึ่งจมอยู่ในเปือกตมอันลึก และบุรุษ
นั้นจักจับบุรุษที่จมอยู่ในเปือกตมเหมือนด้วยตน ให้พ้น
จากเปือกตมไม่ได้ ข้อนี้ฉันใด บุคคล
ผู้เกลือกกลั้วพัวพันอยู่ด้วยปัญจพิธกามคุณ และ
จะยกบุคคลซึ่งมีจิตพัวพันรึงรัดในกามคุณเช่นกับ
ด้วยตน ให้พ้นจากกามคุณได้นั้นไม่มี เนื้อความอย่างนี้
ปุ. คำที่ว่า ผู้จมอยู่ในกามคุณ และจักยกผู้จมอยู่
ในกามคุณไม่ได้นั้น ยังสงสัยอยู่ เพราะปุถุชน
ได้สดับธรรมมีกถาของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ซึ่งเป็นปุถุชนอยู่เหมือนตน และ
ได้บรรลุธรรมวิเศษก็ย่อมมีอยู่โดยมาก ดังนี้ก็เป็น
ผู้จมอยู่ในเปือกตม ยกผู้จมอยู่ในเปือกตมขึ้นได้ไม่ใช่
หรือ ?
วิ. ข้อนี้ท่านถามตรงกับคำพระอรรถกถา ข้าพเจ้า
ไม่ต้องแก้
ปุ. ถ้าว่าคำถามอย่างนี้มีอยู่ในคัมภีร์อรรถกถาแล้ว
คำแก้ในอรรถกถานั้นมีอยู่อย่างไร
ขอท่านแสดงไปตามสำเนานั้น ?
วิ. พระอรรถกถาจารย์ท่านแก้ว่า
ความข้อนี้บัณฑิตอย่าพึงเห็นโดยอย่างนั้น แม้ถึงว่าภิกษุ
ภิกษุณีผู้เป็นธรรมกถึกเป็นปุถุชน แสดงธรรมมีกถา
ให้บริษัทบรรลุธรรมวิเศษได้ดังนั้นก็ดี ก็
เป็นอันพระบรมศาสดาพระองค์เดียวนั้นแล
ทรงยกเวไนยชนอันจมอยู่ ณ เปือกตม
ให้ขึ้นประดิษฐานบนบกบนฝั่ง คือโลกุตรธรรม
ธรรมกถึกผู้แสดงธรรมทั้งหลายย่อมได้สักแต่ว่า
ความสรรเสริญเท่านั้น
เช่นประหนึ่ง
ผู้อ่านพระราชสาสน์อันสมเด็จพระบรมกษัตริย์ส่งไปฉะ
นั้น จริง
อยู่สมเด็จบรมกษัตริย์ทรงส่งพระราชสาสน์ไปปัจจันตชนบท
มนุษย์ชาวปัจจันตชนบททั้งหลาย ซึ่งจะเป็น
ผู้อ่านพระราชสาสน์หาได้ยาก มนุษย์ผู้
ใดมีปรีชาฉลาดสามารถจะอ่านได้ มนุษย์
ทั้งหลายก็ให้ผู้นั้นอ่าน ได้ทราบเนื้อ
ความตามพระราชสาสน์นั้นแล้ว
ก็เอื้อเฟื้อเคารพว่านี้พระราชดำรัสของบรมกษัตริย์
แล้ว ให้ราชกิจ
ถึงพร้อมสำเร็จไปตามพระราชประสงค์ ซึ่งมีมา
ในพระราชสาสน์นั้นทุกประการ ก็แต่มนุษย์เหล่า
นั้นจะได้มีความเข้าใจว่า อันนี้เป็นความบังคับของ
ผู้อ่านดังนี้หามิได้ ฝ่ายมนุษย์ผู้อ่านนั้นเมื่อตนอ่าน
ด้วยวาจาสละสลวยคล่องแคล่วดีก็ย่อม
ได้แต่สรรเสริญเท่านั้น
ความข้อนี้ฉันใด พระภิกษุผู้ธรรมกถึกทั้งหลาย
ถึงว่าได้แสดงธรรมแก่บริษัททั้งหลาย ก็แต่เมื่อ
จะกล่าวโดยที่จริงแท้แล้ว พระภิกษุธรมกถึก
ทั้งหลายนั้น ก็เป็นดุจมนุษย์ผู้อ่านพระราชสาสน์เท่า
นั้น เนื้อความในพระธรรมเทศนาทั้งสิ้นนั้น
เป็นของพระบรมศาสดา
ดุจพระราชดำรัสสั่งของสมเด็จพระบรมกษัตริย์ฉะ
นั้น บุคคลเหล่าใดได้สดับธรรมีกถานั้นแล้ว
ได้บรรลุธรรมวิเศษตามสมควร
ผู้มีปรีชาพึงรู้แจ้งว่า
พระบรมศาสดาทรงยกบุคคลเหล่านั้นขึ้น
แท้จริงฝ่ายภิกษุผู้ธรรมกถึกทั้งหลาย
แสดงธรรมด้วยวาจาสละสลวยไพเราะ ก็ย่อมได้
ความสรรเสริญแต่บริษัทเท่านั้น
เพราะฉะนั้น คำซึ่งว่าผู้เกลือกกลั้วพัวพันอยู่
ในเปือกตม ไม่อาจยกบุคคลอันจมอยู่ในเปือกตมเหมือน
ด้วยตนนั้น เป็นคำควรคำชอบต้องตามเหตุ เนื้อ
ความฝ่ายกุศลปักษ์นั้น บัณฑิตพึงรู้แจ้ง
โดยบรรยายผิดจากคำซึ่งกล่าวมานี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 18:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุ. ข้ออุปมาทั้งสามมีเนื้อความอธิบายอย่างไร ?
วิ. คำว่าผู้มิได้ฝึกปรือด้วยตนแล้ว คือตนยังมีพยศอยู่
คำว่ามิได้รับแนะนำด้วยตนนั้นแล้ว คือเป็นผู้มิ
ได้ศึกษาไตรสิกขา คืออธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
และจักให้กิเลสของผู้อื่นดับสนิทย่อมไม่มี
ความฝ่ายกุศลปักษ์ก็พึงเข้าใจ โดยบรรยายผิด
จากคำที่กล่าวแล้วนี้
ปุ. ความไม่เบียดเบียน เป็นไปเพื่อ
ความดับสนิทของปุริสบุคคลผู้เบียดเบียนนั้น
อธิบายอย่างไร ?
วิ. อวิหึสาซึ่งบังเกิดขึ้นแก่วิหึสกบุคคลอัน
ให้มรรคเกิดอยู่ เพื่อจะสละวิหึสกะเสีย ก็ย่อม
เป็นไปเพื่ออันดับสนิทได้ เช่นบุคคลผู้ดับกิเลสแล้ว
และสามารถยังผู้อื่นซึ่งมีกิเลสยังมิได้ดับให้ดับ
ได้ฉะนั้น
ปุ. ในท้ายพระสูตรนั้น พระองค์ตรัสว่า
นั่นรุกขมูล ภายใต้ต้นไม้ทั้งหลาย นั่นสุญญาคาร
เรือนว่างเปล่าทั้งหลาย ประสงค์ความอย่างไร ?
วิ. ในคัมภีร์อรรถกถาท่านแสดงว่า กิจที่ศาสดา
ผู้เอ็นดูจะพึงทำให้แก่ศิษย์ทั้งหลายนั้น
ก็คือการแสดงธรรมมิได้วิปริตผิดเพี้ยนจากทางซึ่ง
เป็นอุบายเท่านั้น เบื้องหน้าแต่นั้นไปการที่
จะปฏิบัติตามคำสอนเป็นกิจของศิษย์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นพระบรมศาสดาจึงตรัสว่า
นั่นร่มพฤกษาควรเป็นเสนาสนะที่นั่งที่นอน
นั่นเรือนว่างเปล่าเป็นที่สงัด ควร
จะประกอบกัมมัฏฐานภาวนาดังนี้
ปุ. คำว่าท่านทั้งหลายจงเพ่งเถิดนั้น คือเพ่งอะไร ?
อธิบายอย่างไร ?
วิ. พระองค์ทรงสอนให้เพ่งอารมณ์ ๓๘ มีปฐวีกสิณ
เป็นต้น ด้วย อารัมมณูปนิชฌาน และทรงสอน
ให้เพ่งขันธ์อายตนะเป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
และเป็นทุกข์ และมิใช่ตัวตน ด้วยลักขณูปนิชฌาน
อธิบายให้สั้น คือทรงสั่งสอนให้ทำสมถวิปัสสนา
ให้เจริญขึ้นเท่านั้น
ปุ. คำว่าท่านทั้งหลายอย่าประมาท
อย่าเดือดร้อนเมื่อภายหลังเลยดังนี้
อธิบายอย่างไร ?
วิ. เนื้อความตามสังวรรณนาว่า บุคคลเหล่าใด
ในกาลเมื่อตนยังหนุ่มมีวัยยังอ่อน มีกำลังสมบูรณ์
และเมื่อตนไม่มีโรคาพาธอันใดอันหนึ่งมาเบียดเบียน
อนึ่ง เมื่อของสบาย ๗ ประการ มีอาหารสบายเป็นต้น
ถึงพร้อมได้โดยง่ายไม่ขัดสน ศาสดาผู้
จะอนุเคราะห์แก่ตนก็มีอยู่
ในกาลเมื่อสมบูรณ์พร้อมเพรียงทุกอย่างดังนี้
ส่วนตัวเพิกเฉยเสียไม่มีความทำในใจโดยแยบคาย
เป็นแต่ทำกายให้เป็นอาหารของหมู่เรือดทุกคืนวัน
เสวยความสุขในการนอน
และง่วงงุนมัวเมาประมาทเสีย
ชนเหล่านั้นครั้นเมื่อชราลงสิ้นกำลังที่จะทำ
ความเพียร หรือเมื่อตน
เป็นคนอันโรคาพาธเบียดเบียนครอบงำ ทำ
ให้สิ้นอำนาจเสียแล้ว และเมื่อกาลใกล้มรณะ
หรือเมื่อความวิบัติมาถึง ศาสดาผู้
จะเกื้อกูลตนก็ล่วงลับไปเสียแล้ว เมื่อเป็นดังนี้
ชนเหล่านั้นตามระลึกถึงความที่ตนอยู่ด้วย
ความประมาทเลินเล่อเสียในกาลก่อน
และเห็นกาลกิริยาซึ่งประกอบด้วยปฏิสนธิ
เป็นการหนัก ถึงเห็นแล้ว แต่ตนเสื่อมอำนาจเสียสิ้น
แล้ว หาอาจที่จะผ่อนปรนแก้ไขให้พ้นภัยนั้น ๆ ไป
โดยสวัสดีไม่
ก็ย่อมเดือดร้อนเศร้าโศกเมื่อภายหลังดังนี้
ก็ท่านทั้งหลายจงอย่าเป็นคนเช่นนั้นเลย
พระบรมศาสดาจะทรงแสดงให้เห็นเนื้อความอย่างนี้
จึงตรัสว่าท่านทั้งหลายอย่าเป็น
ผู้เดือดร้อนเมื่อภายหลังเลยดังนี้ คำ
ซึ่งเราสั่งสอนว่า ฌายถ มา ปมาทตฺถ ท่าน
ทั้งหลายจงเพ่งอย่าประมาทแล้วเป็นต้น นี้
เป็นอนุสาสนีโอวาทของเราผู้ตถาคตให้แก่ท่าน
ทั้งหลาย
ข้ออธิบายตามคัมภีร์อรรถกถามีนัยดังวิสัชนามาฉะนี้
.......................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร