วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เขมสรณคมน์

โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ ..... สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ........... สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาหํ ......... ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
อริยญฺจฏฐงฺคิกํ มคฺคํ ......... ทุกฺขูปสมคามินํ
เอตํ โข สรณํ เขมํ ............ เอตํ สรณมุตฺตมํ
เอตํ สรณมาคมฺม ............. สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.
บัดนี้ จะแสดงเขมสรณคมน์ ตามนิยมโวหาร ว่า
ถึงที่พึ่งอันประเสริฐ กำจัดภัยได้จริงดังนี้ ก็แล เนื้อ
ความแห่งพระคาถานี้
มีอรรถธรรมอันเรียบร้อย ไม่น้อย ไม่มาก
ไม่ยาก ไม่ง่าย พอสมควรแก่ปัญญาของผู้ที่
ต้องประสงค์ สมควรเป็นพุทธภาษิตแท้ ถ้าตรองได้
ความชัดใจจริง ก็อาจเป็นที่พึ่งกำจัดทุกข์ภัยได้จริง
ด้วย แปลเนื้อความตามพระคาถาว่า บุคคลผู้ใดมา
ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมพระสงฆ์ ว่า
เป็นที่พึ่งที่ระลึกกำจัดภัยได้จริง และเห็นอริยสัจ
ทั้ง ๔ ด้วยปัญญาโดยชอบ คือเห็นทุกข์ และเห็นเหตุ
ให้ทุกข์เกิดขึ้น และเห็นความพ้นทุกข์
และเห็นมรรคามีองค์อวัยวะ ๘ เป็นอุบายทางปฏิบัติ
ให้ถึงความพ้นทุกข์ นั้นแลเป็นที่พึ่งอันเกษมประเสริฐ
นั้นแลเป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด ผู้ถึงที่พึ่งนั้นแลย่อมพ้น
จากทุกข์ภัยทั้งสิ้นได้ดังนี้
ต่อไปนี้จักอธิบาย เพื่อเป็นทางดำริของผู้ที่เลื่อมใส
ด้วยพระคาถานี้ มีผู้จำทรงทั้งอรรถทั้งแปล
ได้มาก หากจะมีผู้คัดค้านว่าสรณคมน์เราก็ถึงแล้ว
อริยสัจเราก็ได้รู้ ได้เห็น ได้จำทรงไว้แล้ว ก็
ไม่เห็นพ้นจากทุกข์จากภัยอะไรได้
ถามว่า การถึงพระพุทธเจ้านั้น จะถึงอย่างไร ทำไฉน
จะรู้ตัวของเรา ว่าเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าแล้ว?
แก้ว่า ต้องเข้าใจพุทธภูมิก่อนจึงจะรู้ได้ แท้จริง
พระพุทธภูมินั้นมีมากเหลือกำลังปัญญาที่
จะยกมาพรรณนาให้สิ้นสุดได้ แต่จะยกมาแสดง
เล็กน้อยพอแก่ปัญญาของตน
เราทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า ความจริงนั้นแหละ
เป็นพระพุทธภูมิ พระพุทธเจ้าของเรา ท่านให้
ความเจริญตั้งอยู่แล้วในพระองค์ ความจริงเป็น
ส่วนของใจ เป็นธรรมอันไม่ตาย พระพุทธเจ้าเป็น
ผู้พ้นจากทุกข์ เพราะพ้นจากการแก้ไขเหตุความจริง
ชีวิตจะเป็นอยู่หรือจะดับไป ก็ไม่ต้องแก้ไข ความ
ไม่เที่ยงแปรผันก็ไม่มีในพระพุทธเจ้า ความเกิดและ
ความตายก็ไม่มีในพระพุทธเจ้า ชีวิตไม่มีอำนาจที่จะนำ
ความเดือดร้อนให้เกิดแก่พระพุทธเจ้าได้ พระองค์จึง
เป็นอเนญโช
ความทุกข์มีมา พระองค์ก็เป็นสุข ความตายมีมา
พระองค์ก็ไม่ต้องตาย สภาพของใจแห่งพระพุทธเจ้า
เป็นของบริสุทธิ์ไม่รู้จักตาย จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย มนะ ของพระองค์ก็ยังมี ไม่วิการ รูป เสียง
กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ธรรมารมณ์
ส่วนดีน่าพึงใจน่าต้องการก็ยังมี ส่วนชั่วน่าเกลียด
เป็นที่ไม่น่าพอใจก็ยังมี สัมผัสความกระทบถูกต้องก็
ยังมี วิญญาณความรู้วิเศษรู้ตามเหตุแห่งสัมผัสนั้น ๆ ก็
ยังมี แต่เป็นธรรมดาพุทธภูมิย่อมพ้น
จากการต่อสู้แก้ไข คือ อายตนะภายนอก ผู้เหตุดี
และชั่วก็ตั้งอยู่ตามหน้าที่ของตน อายตนะภายในผู้ผล
ก็ตั้งอยู่ตามหน้าที่ของตน ส่วนใจผู้เสวย ผู้บริสุทธิ์ ก็ตั้ง
อยู่ตามหน้าที่ของตน ไม่ปะปนกัน พระองค์จึง
เป็นเฉฬังคุเบกขา คือไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ทั้ง ๖
เพราะความจริงอย่างเดียว
อีกนัยหนึ่ง ธรรมดาพุทธภูมิ ย่อมรู้จักทุกข์
ย่อมรู้จักความดับทุกข์ ทั้งเหตุทั้งปัจจัย
เพราะเหตุมีอาสวักขยญาณ รู้ความสิ้นอาสวะ อาสวะ
นั้นใช่อื่น คือ วัตถุภายนอก ๖ ประการนั้นเอง ความที่
ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างไร เป็นตัวโมหะ
ปิดทางปัญญา จึงเกิดความละโมบยึดเข้ามา เหนี่ยว
เข้ามา สะสมหมักหมมไว้ที่ใจ จึงเกิดธาตุบูด ธาตุเปรี้ยว
ธาตุเมาขึ้น จึงมีนามสมมติตามอาการแห่งเมานั้น ๆ ว่า
กาม ภวะ ทิฏฐิ อวิชชา ท่านจึงเทียบด้วยของดอง
ให้ชื่อว่าอาสวะ เพราะอาสวะนั้นเป็นเหตุ เมื่อวิการไป
ในส่วนกาม ก็ให้เกิดรักใคร่ยินดีชอบใจบางสิ่ง ให้เกิด
ความโกรธแค้นเกลียดชังเศร้าโศกเสียใจบางอย่าง
พระพุทธเจ้าท่านมีอาสวักขยญาณ คือ ดวงปัญญา
รู้จักเหตุปัจจัยว่าอายตนะภายในภายนอก
กลับกลอกผลัดเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เป็นเหตุ
เป็นผลเวียนวน เป็นวัฏฏะหาที่สิ้นสุดมิได้
เมื่อท่านจับเหตุได้แล้วก็ตั้งความเพียร
แก้ที่เหตุจนตัวเหตุนั้น ๆ กลายเป็นผลไปทั้งสิ้น
เพราะความจริงเมื่อมีแต่ผลคือดับเหตุได้แล้ว
ถึงสมัยที่วัตถุภายในภายนอกเหล่านั้น ๆ
เกิดวิบัติไปตามธรรมดาของตน ๆ ใครจะเป็นผู้รับ
ความโศกเศร้าเสียใจ เพราะมีแต่ผลอย่างเดียวทั่วไป
เมื่อปัญญาตรวจจับเหตุแก้เหตุอยู่นั้น
เรียกว่ามรรคสมาธิ เมื่อผลปรากฏขึ้นเต็มที่แล้ว
เรียกว่าผลสมาธิ อาศัยผลสมาธิเกิดแล้ว
จึงมีอาสวักขยญาณปัญญาซึ่งเจืออยู่ในสมาธิ
มีอาการดังนี้
การที่แสดงมานี้ ประสงค์จะให้เข้าใจในพุทธภูมิ
โดยสังเขป พอสมควรที่ผู้ปฏิบัติจะตรองตามได้
ไม่สู้ลึกซึ้งเหลือเกิน เมื่อเข้าใจส่วนนี้ได้แล้ว พุทธภูมิ
ส่วนอื่นก็คงจะเข้าใจได้ ตามที่ได้ยินได้ฟังต่อ ๆ ไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การถึงพระพุทธเจ้านั้น คือแปลงใจของเรา
ให้ใสสะอาดดังดวงจันทร์ ที่ไม่มีมลทินฉายเงามาแต่
ความจริง ให้เป็นไปตามพุทธภูมิ การที่จะแปลงใจ
ให้ใสนั้น ก็ต้อง
ให้ตรองตามคำสอนของพระพุทธเจ้าคือให้ดู
ในตัวเรานี้เอง ทุก ๆ สิ่ง อะไร
เป็นของสมคิดสมประสงค์ มีแต่
ความแปรผันกลับกลายอยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง มี
ความเจริญขึ้นและเสื่อมไป มีความรวบรวมกัน
และพลัดพรากจากกัน มีความเกิดและความดับ
มีแต่ความเอะอะวุ่นวายขึ้น ๆ ลง ๆ ทั่วไป ให้
ความปรารถนาขัดข้องอยู่ทุกเงื่อน แม้จะมี
ความรื่นเริงสมหวังบ้าง ก็เป็นของไม่ยั่งยืนแน่นอน
และมีความปรารถนาอันไม่สมประสงค์
ดังเปลวเพลิงเผาผลาญอยู่เป็นนิตย์
น่าเบื่อน่ารำคาญจริง ๆ ความเจริญและความสวย
ความงามของโลกไม่ทนทาน เปรียบดังพลุ
และตะไล ได้กำลังแต่เชื้อ
และไฟก็มีสีสุกใสรุ่งเรืองน่าดูน่าชม บัดเดี๋ยวใจ
พอสิ้นกำลังของเชื้อและไฟแล้ว
ก็ร่วงโรยอันตรธานไป สิ่งทั้งปวงเป็นของ
ไม่เที่ยงกลับกลายทั่วไป เมื่อตรวจดูเห็นความ
ไม่เที่ยงของโลกชัดใจแล้ว
ต้องกลับพิจารณาดูคำสอนของพระพุทธเจ้า อะไร
เป็นของไม่เที่ยงไม่จริงมีอยู่หรือ? สิ่งที่เห็นว่า
ไม่เที่ยงแปรผันไป นั่นแลคำสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่แปรผันไปตาม เที่ยงยั่งยืนอยู่เป็นนิตย์ เป็นต้นว่า
ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็
เป็นของเที่ยงของจริงยั่งยืนอยู่เป็นนิตย์ เมื่อชัดใจว่า
ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นของเที่ยงของจริงยั่งยืนอยู่ทุกเมื่อแล้ว
ก็พึงแปลงกายแปลงวาจาแปลงใจของตนให้เป็นศีล
ให้เป็นสมาธิ ให้เป็นปัญญา ให้
เป็นของเที่ยงของจริงไปตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
นั้นเถิด สิ่งที่เราเห็นว่าไม่เที่ยงทั้งสิ้นนั้นแหละ
ของเที่ยงแอบแนบอยู่ด้วย ของที่เห็นว่าไม่เที่ยงนั้น
ฉายเงามาแต่ของเที่ยง ของไม่เที่ยงไม่จริงแสดงตัวไม่
ได้ ของเที่ยงของจริงจึงแสดงตัวให้เห็นได้ เป็นแต่ผู้ดู
ไม่เข้าใจ เอาแต่ของไม่เที่ยงไม่จริงไปดู
คือเอาสัญญาเก่าไปดู จึงเห็นแต่ของไม่เที่ยง
ไม่จริงตามเรื่องสัญญาเก่าแห่งตนเท่านั้น เมื่ออยาก
จะดูของเที่ยงของจริง พึงแปลงใจของตัว
ให้รู้จักทุกข์ ให้รู้จักความดับทุกข์ ทั้งเหตุทั้งปัจจัย
อะไรเป็นทุกข์ ? เราแหละเป็นทุกข์
อะไรเป็นเรา ? ใจแหละเป็นเรา
อะไรเป็นใจ ? กลางแหละเป็นใจ
อะไรเป็นกลาง ? ระหว่าง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท คือความรู้
นั้นแหละเป็นกลาง ถ้าอย่างนั้นความรู้นั้นหรือ
เป็นทุกข์
จ๊ะ ! ความรู้นั้นแหละ เป็นทุกข์ด้วย เป็นสุขด้วย เป็น
ไม่ทุกข์ไม่สุขด้วย หมายเวทนา
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ความรู้เป็นทุกข์เป็นสุข
เป็นไม่ทุกข์ไม่สุขเล่า ?
ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส
เครื่องสัมผัส เป็นเหตุด้วย เป็นปัจจัยด้วย ให้ความรู้
เป็นทุกข์เป็นสุข เป็นไม่ทุกข์ไม่สุข
หมายเวทนาเกิดแต่อามิส คือวัตถุภายนอกเป็นเหตุ
ชื่อว่าอามิสทุกข์อามิสสุข ทุกข์สุขมีน้ำหนักเท่ากัน
ราคาเดียวกัน ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ไม่
ต้องการอามิสทุกข์อามิสสุข
มีใจความว่า เมื่อรูปเสียงกลิ่นรสเครื่องสัมผัส
เป็นเหตุ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ต้องเป็นผล แล้วกลับ
เป็นเหตุ ใจเป็นผลให้ทุกข์สุข อุเบกขามีขึ้นที่ใจ
เพราะไหลมาแต่เหตุ จึงกลาย
เป็นธรรมารมณ์คู่ของใจต่อไป เพราะทุกข์สุข
เป็นเจ้าของแห่งใจได้แล้ว ใจจึงกลับเป็นเหตุอีก คือ
เป็นตัวตัณหาอุปาทานทีเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ต้อง
เป็นผลแล้วกลับเป็นเหตุ ให้รูป เสียง กลิ่น รส
เครื่องสัมผัส เป็นผล วนกันอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด แม้
จะตามค้นหาเงื่อนเบื้องต้นและเบื้องปลายคงจะไม่พบ
จะพบอยู่ก็เพียงทุกข์เท่านั้น ใจนั้นแหละให้มิจฉาทิฎฐิ
เข้ามาเป็นเจ้าของได้ คือความไม่รู้เท่าอารมณ์
นั้นเองชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ
ได้แก่ตัวสัญญาเก่าคอยปรุงคอยกระซิบอยู่เสมอ ๆ
บัดเดี๋ยวเห็นสิ่งนั้นดี สิ่งนั้นไม่ดี สิ่งนั้นชอบใจ สิ่งนั้น
ไม่ชอบใจ ผู้นั้นเป็นญาติ ผู้นั้นเป็นมิตร นั่นเป็นเขา นี่
เป็นเรา เราไข้ เราเจ็บ เราดี เราชั่ว เราสวย
เรางาม เราได้ เราเสีย เราจักหาย เราจักตาย
เหล่านี้เป็นเรื่องความหลงไปตามสัญญาเก่าของตน
เป็นมิจฉาทิฏฐิล้วน เป็นสมุทัย ตัวเหตุให้ผลเป็นทุกข์
ทั้งสิ้น ความรู้อย่างนี้ชื่อว่ารู้ทุกข์ทั้งเหตุทั้งปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 20:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งว่ารู้ความดับทุกข์ทั้งเหตุทั้งปัจจัยนั้นเป็นไฉน ?
ความรู้ความเห็นอันสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิญาณทัสสนะ
เป็นญาณของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ผู้อื่นรู้ไม่ได้สอน
ไม่ได้ เป็นแต่รู้ตามเห็นตาม สั่งสอนไปตาม
ปฏิบัติไปตาม
ให้ตรงต่อข้อแนะนำคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ในวิภังค์แห่งสัมมาทิฏฐิว่า “ทุกฺเข ญาณํ ทุกฺขสมุทเย
ญาณํ ทุกฺขนิโรเธ ญาณํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาย
ญาณํ” ความรู้ทุกข์ รู้ทุกขสมุทัย รู้ทุกขนิโรธ
รู้ปฏิปทาเพื่อถึงนิโรธ ความรู้
ความเห็นอย่างนี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ความรู้
ความเห็นอันสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐินั้นเองชื่อว่า รู้
ความดับทุกข์ทั้งเหตุทั้งปัจจัย
ต่อนี้จะอธิบายตามเงาซึ่งฉายมาแต่พระพุทธภาษิตนั้น
พอเป็นทางดำริแห่งพุทธบริษัทผู้ใคร่ต่อความจริง
เพราะคำที่ว่า รู้ความดับทุกข์ทั้งเหตุทั้งปัจจัยนี่นั้น
เป็นของลี้ลับ เหตุปัจจัยของความดับทุกข์
นั้นคือองค์มรรคทั้ง ๘ มรรคนั้นแปลว่าทาง ทาง
นั้นไม่ใช่ทางเดินด้วยยาน ด้วยเท้า เป็นทางปฏิบัติ
ด้วยกายวาจาใจ แต่ก็ไม่มีอาการไปและอาการมา
จะว่าสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเป็นทาง กายวาจาใจเป็นผู้เดิน
ก็ชื่อว่ามีอาการไปไม่ชอบ จะว่ากายวาจาใจก็ไม่ได้ไป
ไม่ได้เดิน เป็นแต่ทำให้สัมมาทิฏฐิเป็นต้นมามีขึ้นเป็นขึ้น
ก็ชื่อว่ามีอาการมาไม่ชอบ ความเป็นจริง ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ แต่ละอย่างย่อมเต็มโลกด้วยกัน ส่วน
ความเห็นผิดและความเห็นชอบแต่ละอย่างก็เต็มโลก
ด้วยกัน ใครจะไปจะมาไม่ได้ เหตุคับโลกอยู่ด้วยกัน
เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรเจ้า
ผู้แสวงหาของจริงเหล่านี้ จึงไม่ต้องไปเที่ยวหา
ในประเทศต่าง ๆ ท่านอยู่ที่ไหนก็หาเอาในที่นั้น คือ
หาเอาค้นเอาที่ตัวนั้นเอง ตัวเราอยู่ที่ไหน อริยสัจก็
อยู่ที่นั้น ตัดใจความให้สิ้นคืออยู่ที่ใจ สมกับพุทธภาษิตว่า
“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา” ธรรม
ทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจประเสริฐสุด สำเร็จ
ด้วยใจดังนี้ แต่ผู้อ่านอย่าเผลอ ใจนั้นเป็นไปใน ๔ ภูมิ
ในที่นี้พูดถึงอริยสัจหมายธรรมทีเดียว
คือหมายความที่ใจรู้จักใจ
ความที่รู้ว่าความบริสุทธิ์เป็นส่วนของใจ
ความที่รู้จักวัตถุนั้น ๆ เป็นเหตุเครื่องเกี่ยวเกาะของใจ
ความที่รู้การเกี่ยวเกาะเป็นตัวสังโยชน์
ความที่รู้ความขาดแห่งสังโยชน์ คือขาดแห่ง
ความเกี่ยวเกาะปรุงแต่ง เป็นความบริสุทธิ์ของใจ
ความที่รู้จักส่วนของใจ ใจก็หยุดนิ่ง สงบ เงียบ
เป็นปกติขาดอายตนะที่ต่อ หรือขาดสังโยชน์
ความเกี่ยวเกาะ ทั้งภายในและภายนอก
ก็รู้สึกตัวเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และรู้ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ว่าเป็นของบริสุทธิ์ด้วย และรู้รูป เสียง กลิ่น
รส เครื่องสัมผัส ว่าเป็นของบริสุทธิ์ด้วย
คือเห็นจริง เห็นตามความเป็นจริงทุก ๆ อย่าง ความ
ไม่เที่ยงไม่จริงก็อันตรธานหายไปหมด ได้ความสม
กับที่มาว่า ทุกข์จะดับก็เพราะความดับแห่งเหตุ แต่
ความดับนั้นไม่ได้สูญ คือกลายเป็นผลไป ได้แก่
เป็นของบริสุทธิ์ไปด้วยกันทั้งสิ้นนั้นเอง
ซึ่งความไม่เที่ยงไม่จริงแสดงตัวได้อยู่นั้น ก็
เพราะตัวของเรายังไม่ถึงความเที่ยงความจริง ทุกข์
จะตั้งอยู่ได้ก็เพราะเรายังเป็นตัวทุกข์ อนัตตา
จะปรากฏได้แก่เรา ก็เพราะตัวเรายังเป็นอนัตตาอยู่
นั้นเอง
ถ้าเราถึงความเที่ยงความจริงได้แล้ว ทุกข์ก็ดับ
อนัตตาก็ดับ คงเหลืออยู่แต่ความเที่ยงความจริง ซึ่ง
เป็นส่วนพุทธภูมิฉายมาแต่สัมมาทิฏฐิเท่านั้น ซึ่งว่ารู้
ความดับทุกข์ทั้งเหตุทั้งปัจจัย ได้ใจ
ความดังที่บรรยายมานี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 21:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณทัสสนะความรู้ความเห็นซึ่งทุกข์ และ
ความดับทุกข์ ทั้งเหตุทั้งปัจจัยนี้แหละ ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
เมื่อสัมมาทิฏฐิมีขึ้นแก่ท่านผู้ใด แม้ท่านผู้นั้นจะดำริสิ่ง
ใด ก็เป็น สมฺมาสงฺกปฺโป ท่านจะว่ากล่าวสิ่งใดก็เป็น
สมฺมาวาจา ท่านจะประกอบกายกรรมสิ่งใด ก็เป็น
สมฺมากมฺมนฺโต ท่านจะเลี้ยงชีพด้วยอาการใด ก็เป็น
สมฺมาอาชีโว ท่านจะพากเพียรในกิจการสิ่งใด ก็เป็น
สมฺมาวายาโม ท่านจะตั้งสติในอารมณ์ใด ก็เป็น
สมฺมาสติ ท่านจะตั้งจิตในอารมณ์ใด ก็เป็น สมฺมาสมาธิ
เป็นอริยมรรคปฏิปทา
เมื่อดำเนินตามองค์แห่งมรรคอยู่แล้ว ความทุกข์
จะเกิดมีมาแต่สิ่งอันใด ผู้ที่รู้ทุกข์รู้ความดับทุกข์
ทั้งเหตุทั้งปัจจัยได้แล้วนั้นแหละ ชื่อว่ายังตนให้
เป็นศีล สมาธิ ปัญญาได้แล้ว จึงชื่อว่าเป็นผู้
ถึงพระรัตนตรัย เป็นเขมสรณคมน์ตรงทีเดียว
เมื่อรู้ว่าตนเป็นศีล สมาธิ ปัญญาชัดใจแล้ว ใคร
จะแก่ ใครจะเจ็บไข้ ใครจะตาย ความจริง
จะแก่ไข้เจ็บตายได้หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา
จะแก่ไข้เจ็บตายเป็นหรือ ปัญญาความรู้ความเห็น
ซึ่งทุกข์และความดับทุกข์ทั้งเหตุทั้งปัจจัยนั้นแหละ
เป็นพระพุทธคุณ ตัวทุกข์และความดับทุกข์ทั้งเหตุ
ทั้งปัจจัยนั้นแหละเป็นพระธรรมคุณ
ความปฏิบัติตามจนเกิดความรู้
ความเห็นตามพระบรมพุทโธวาทได้นั้นแหละ
เป็นพระสังฆคุณ พระรัตนตรัยจึงชื่อว่าเนื่อง
เป็นอันเดียวกัน สมด้วยวักกลิสูตรว่า “โย ธมฺมํ ปสฺสติ
โส มํ ปสฺสติ” ความว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ดังนี้
ผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยความรู้
ความเห็นอย่างนี้นั้นแหละ จึงควรนับว่าผู้
ถึงเขมสรณคมน์เป็นที่พึ่ง พ้นจากทุกข์ภัย
ได้จริงตามพุทธภาษิตนี้ และสม
ด้วยที่มาแห่งอริยธนคาถา เป็น
ส่วนแสดงอริยทรัพย์สี่ประการว่า “ยสฺส สทฺธา
ตถาคเต” เป็นต้น ใจความว่าผู้มีความเชื่อมั่น
ในพระพุทธเจ้า ๑
ผู้มีศีลน่ารักน่าสรรเสริญของพระอริยเจ้า ๑
ผู้มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ๑ ผู้เห็นตรงในธรรม
๑ ว่าเป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ เพราะความเชื่อ
ในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ ศีลของท่านผู้นั้นจึงเป็นอริย
กันตศีล เพราะศีลเป็นของน่ารักน่าสรรเสริญ
นั้นเป็นเหตุ และได้ประสบความสำราญด้วยตน
เพราะไม่มีเหตุเครื่องเดือดร้อน จึงเกิด
ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ คือ สุปฏิปนฺโน เพราะ
ความเลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นเป็นเหตุ จึงเป็น
ผู้เห็นตรงในพระธรรม ความที่เห็นตรง
ในพระธรรมนั้นแหละ จึงชื่อว่าเป็น
ผู้เห็นทางของตนได้แล้ว เป็นผู้เชื่อตัวเองได้แล้ว เป็น
ผู้สิ้นความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้แล้ว
ท่านจึงสรรเสริญผู้นั้นว่า “อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ
อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ” บุคคลผู้นั้นเป็นผู้ไม่ยากไม่จน ชีวิต
ความเป็นอยู่ของผู้นั้น เป็นชีวิตไม่เปล่าจากคุณ
จากประโยชน์ ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 21:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีเจริญสมถะ
เมื่อพุทธบริษัท ได้ศึกษาตรวจตรองเข้าใจ
ในไตรสรณคมน์ โดยนัยดังบรรยายมานี้แล้ว
ปรารถนาเพื่ออจลศรัทธา ควรศึกษาในวิธีสมถะ
และวิปัสสนาต่อไป ประเภทแห่งสมถะท่านแสดงไว้
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคถึง ๔๐ ประการ
มีกสิณบริกรรมเป็นต้น พุทธบริษัทก็เคยได้ยิน
ได้ฟังได้เข้าใจกันอยู่โดยมากแล้ว
จะแสดงแต่ย่อพอแก่ความชอบใจของตน เห็นว่ามากนัก
ให้ฟั่นเฝือ ทำสิ่งเดียวแต่ให้จริงคงเกิดผล
เพราะสมถะก็มีความประสงค์เอกัคคตารมณ์
เป็นข้อสำคัญ แต่เอกัคคตารมณ์มีเป็น ๒ เงื่อน เอา
ความว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียวเงื่อน ๑ มีอารมณ์รวม
เป็นอันเดียวเงื่อน ๑ การทำสมถะ ชอบใจอยาก
ให้ทำสติปัฏฐานเท่านั้น ด้วยในสติปัฏฐานปาฐะชี้ความ
อยู่ว่า “เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค” เป็นต้น และ
ในพุทธปริวิตก
ซึ่งโบราณาจารย์ยกพระมหากรุณาธิคุณขึ้นสู่บุคลาธิษฐาน
เปรียบดังพระพรหมมารับสมอ้างข้อทรงพระพุทธปริวิตก
ท่านผูกเป็นคำฉันท์ไว้ เพื่อให้ทรงจำได้ง่ายว่า “เอกายนํ
ชาติขยนฺตทสฺสี มคฺคํ ปชานาติ หิตานุกมฺปิ เอเตน มคฺเคน
ตรึสุ ปุพฺเพ ตริสฺสเร เจว ตรนฺติ โจฆํ” ดังนี้ ใจ
ความว่า ทางความบริสุทธิ์ สิ้นภพ สิ้นชาติ
ข้ามโอฆะของสัตว์ทั้งหลาย สติปัฏฐานทางเดียวเท่านั้น
ท่านผู้ข้ามแล้วในอดีต หรือท่านผู้จักข้ามในอนาคต
หรือท่านผู้ข้ามอยู่ในปัจจุบันบัดนี้ ท่านก็ข้ามโอฆะ
ด้วยสติปัฏฐานทางเดียวนี้เอง ดังนี้
ถึงในที่อื่น ๆ ซึ่งพรรณนาคุณสติปัฏฐานนี้มากมายนัก
ที่ชี้อานิสงส์ในท้ายมหาสติปัฏฐาน ว่า
ผู้เจริญสติปัฏฐานอย่างช้า ๗ วัน หรือ ๗ เดือน หรือ
๗ ปี คงสำเร็จ
ในพุทธคุณก็พรรณนาว่าพระองค์ดำรงจิต
ในสติปัฏฐาน ๔ ยังโพชฌงค์ ๗ ให้เกิดให้มีขึ้น
ดูอุปเทศพรรณนาคุณสติปัฏฐานนี้มากมายนัก
ควรเชื่อฟังเอาเป็นจริงได้ เพราะพระพุทธเจ้า
เป็นดังแพทย์ผู้ชำแหละลูกศร คือ
ความสงสัยของโลกออกได้
จะตั้งอุปมาปัญหาไว้ ต่างว่าเรามีโรคสำคัญเกิดในตัว
ได้รับทุกขเวทนาเดือดร้อนมาหลายปีแล้ว
รับประทานยามาก็มากแล้ว
อาการของโรคก็มีแต่ทรงกับทวีขึ้นเท่านั้น
ภายหลังได้พบหมอวิเศษควรนับถือ หมอนั้นได้บอกว่า
โรคนี้เราได้เป็นมาก่อนแล้ว เรา
ได้ยาขนานนี้มารับประทาน โรคของเราก็หาย เรา
ได้ให้ทานแก่ผู้อื่นซึ่งเป็นโรคอย่างเดียว
กันเช่นนี้รับประทานก็หาย นับด้วยร้อยด้วยพัน
เป็นอันมาก ท่านอุตส่าห์รับประทานยาขนานนี้ไปเถิด
สัก ๗ วัน ก็จะหาย ถ้าโรคมันกินลึกถึงสมองกระดูก
แล้ว ท่านรับประทานยานี้ต่อไป ๗ เดือน หรือ ๗ ปี
คงหายขาดทีเดียว เมื่อเป็นอย่างนี้ เรา
จะควรทำตามคำสั่งของหมอหรือไม่
สติปัฏฐานนั้น แปลว่า ที่ตั้งสติ สติคือความระลึก
ระลึกที่กายชื่อว่ากายานุปัสสนา
ระลึกที่เวทนาชื่อว่าเวทนานุปัสสนา
ระลึกที่จิตชื่อว่าจิตตานุปัสสนา
ระลึกที่ธรรมชื่อว่าธรรมานุปัสสนา ระลึกที่สิ่ง
อื่นไปจากนี้ไม่นับว่าเป็นสติปัฏฐาน แสดงสติปัฏฐาน
ในที่ต่าง ๆ มักมีโดยมากว่า “กาเย กายานุปสฺสี เวทนาสุ
เวทนานุปสฺสี จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี
ผู้มักตามเห็นซึ่งกายในกาย เห็นซึ่งเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย เห็นซึ่งจิตในจิต เห็นซึ่งธรรมในธรรม
ทั้งหลาย” ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะแบ่งกายนอกกายใน เวทนานอกเวทนาใน
จิตนอกจิตใน ธรรมนอกธรรมใน เป็นการลำบาก
กลัวจะยุ่งแก่ผู้ปฏิบัติ จะชี้พอให้เห็นว่าเป็นการยาก
คำที่ว่ากายนั้น หมายเอาสกลกายทั้งสิ้น เพราะเหตุนั้น
จะชี้เอากายคนอื่นเป็นกายนอก กายของเราเป็นกาย
ในก็ถูก จะชี้ว่าสกลกายทั้งก้อนนี้เป็นกายนอก
กายของเราเป็นกายในก็ถูก จะชี้ว่าสกลกายทั้งก้อนนี้
เป็นกายนอก เอกเทศของกายคือลมหายใจ หรือ
ส่วนของกายมีผมขนเป็นต้น เป็นกายในก็ถูก
รูปนอกคือมหาภูตรูป เอาเป็นกายนอก
รูปอาศัยคืออุปาทายรูป เอาเป็นกายในก็ถูก
หรือบรรดากองรูปคือสกลกายทั้งสิ้นของตน
หรือของผู้อื่นก็ตาม เป็นกายนอก กายที่อยู่กับใจจะ
เป็นกายของตนหรือกายของผู้อื่นก็ตาม
ซึ่งหลับตาเสียแล้วก็ยังเห็นได้นั้นเป็นกายในก็ถูก
ส่วนเวทนา จิต และธรรม ก็มีประเภทต่าง ๆ
อย่างเดียวกัน จึงเห็นว่าเป็นการยากจะพาให้ฟั่นเฝือ
วิจิกิจฉาจะข่มเหงมากไป ให้ถือเอาในที่ว่าสกลกาย
หรือรูปกายทั้งสิ้น เบื้องต่ำแต่พื้นเท้าขึ้นมา
เบื้องบนแต่ศีรษะลงไป ชื่อว่ากายนอก กายนอก
ทั้งปวงนั้น เมื่อกุลบุตรตรวจดูให้เข้าใจลักษณะ
ประเภท อาการ สี สัณฐานชัดใจแล้ว รูปเหล่า
นั้นก็เข้าไปตั้งอยู่ที่ใจ เมื่อเราจะเพ่งดูรูปกายเหล่านั้น
ก็ไม่ต้องไปเพ่งดูในที่อื่น ดูอยู่ที่ใจเท่านั้น
ก็อาจจักเห็นรูปกายทั้งปวงได้
ถึงหลับตาเสียเพ่งดูก็อาจจักเห็นรูปกายทั้งปวงได้
เพราะเป็นรูปกายในแล้ว
การที่พิจารณาเห็นรูปกายซึ่งมีอยู่ที่ใจอย่างนี้
ชื่อว่าเห็นกายใน ได้ในบทว่า กาเย กายานุปสฺสี
ผู้มักตามเห็นซึ่งกายในกาย
ส่วนเวทนานอกนั้น หมายเอาเวทนาเกิดแต่เหตุคือสัมผัส
เพราะสุขทุกข์อุเบกขาจะมีขึ้นต้องอาศัยเหตุ ๓ คือ ใจ
๑ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๑ รูป เสียง กลิ่น รส
เย็นร้อน อ่อนแข็ง ๑ ประชุมกันเข้าชื่อว่าสัมผัส
สุขทุกข์อุเบกขาเกิดแต่สัมผัสทั้งสิ้น ชื่อว่าเวทนานอก
เวทนานอกทั้งปวงนั้น ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ที่ใจ ไม่
ต้องอาศัยสัมผัสภายนอก เมื่อเพ่งดูที่ใจ
ก็อาจจักเห็นเวทนาทั้งปวงซึ่งมีอยู่ที่ใจ
อย่างนี้ชื่อว่าเวทนาใน ได้ในบทว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี
ผู้มักตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
ส่วนจิตนอกนั้น หมายเอาจิตที่รู้ไปในอารมณ์ต่าง ๆ
คือรู้สกลกาย มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
หรือรู้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือรู้ทั่วไป ณ
ภายนอก คือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส
ธรรมารมณ์ เป็นต้น หรือรู้เวทนาทั้งปวงเหล่านี้
เป็นต้น ชื่อว่าจิตนอก ความรู้สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นย่อม
เข้าไปตั้งอยู่ที่จิต คือความคิดความนึก เมื่อเพ่ง
อยู่ที่จิตอย่างเดียว ก็จักเห็นจิตทั้งปวงมารวมที่จิต
คือที่รู้คิดรู้นึกนั้นเอง อย่างนี้ชื่อว่าจิตใน ได้ในบทว่า
จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี ผู้มักตามเห็นซึ่งจิตในจิต
ส่วนธรรมนอกนั้นได้แก่ อนุปัสสนาทั้ง ๓
คือรูปธรรม ได้แก่ กายานุปัสสนา นามธรรม
ได้แก่ เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนานั้นเอง
ชื่อว่าธรรมนอก เพราะกาย เวทนา และจิตเหล่านี้
ยังเป็นรูปนามส่วนหยาบอยู่ จึงชื่อว่าธรรมนอก
ธรรมนอกทั้งปวงย่อมรวมเข้าประชุมที่ใจ
ส่วนหยาบหมดไป คงเหลืออยู่แต่ส่วนละเอียด
คือตัวธรรมดาเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่าธรรมใน ได้
ในบทว่า ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี ผู้มักตามเห็นซึ่งธรรม
ในธรรมทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแสดงสติปัฏฐาน ๔ ให้เป็น ๔ ส่วนอย่างนี้ ยัง
เป็นทางอ้อม ห่างเหินต่อความเป็นจริง
เพราะสติมีอย่างเดียว มีธรรมเป็นประธาน ส่วนจิต
เป็นจิต ส่วนเวทนาเป็นเจตสิก ส่วนกายเป็นรูป จิต
เจตสิก รูป ฉายมาแต่ธรรมซึ่งเป็นประธาน
เพราะเหตุนั้น เมื่อสติตั้งอยู่ที่กาย เวทนา และจิตก็ตั้ง
อยู่ที่กายด้วย เมื่อกายนอกซึ่งเป็น
ส่วนหยาบดับไปคงเหลืออยู่แต่กายในซึ่งเป็น
ส่วนละเอียด คือแสดงอาการเย็นร้อนอ่อนแข็งได้
จึงนับเป็นเวทนา เมื่อสติตั้งอยู่ที่เวทนา จิตเวทนา
และกายส่วนละเอียดก็ตั้งอยู่ที่เวทนาด้วย เพราะเหตุ
นั้น เวทนานุปัสสนา จะนับว่าอรูปกรรมฐานทีเดียวยัง
ไม่ได้ จะว่ารูปกรรมฐานทีเดียวก็ไม่ควร
ด้วยอัชฌัตติก สุขุมรูปยังปรากฏอยู่
แต่ละเอียดเหลือเกิน ควร
จะเรียกว่าโคตรภูจิตของอรูปกรรมฐานได้อยู่
เมื่ออัชฌัตติกสุขุมรูปดับ คงเหลืออยู่แต่จิต คือ
ความรู้คิดรู้นึก เมื่อสติตั้งอยู่ที่จิตส่วนรูปดับหมด
ไม่ปรากฏ ควรนับว่าอรูปกรรมฐานแท้ แต่
ถึงอย่างนั้นส่วนรูปที่ละเอียด เนื่องมาแต่กาย
และเวทนาก็คงยังมีอยู่แต่ไม่ปรากฏ ท่านจึงไม่นับว่า
เป็นรูปกรรมฐาน เมื่อจิตนอกที่
เนื่องมาแต่เวทนาดับหมดไป คงเหลืออยู่แต่ธรรม
เมื่อสติตั้งอยู่ที่ธรรมคือตั้งอยู่ที่ตัวประธานเดิม
ชื่อว่าธัมมานุปัสสนา ก็ยังนับว่าเป็นอรูปกรรมฐานอยู่
เพราะนามธรรมส่วนละเอียดยังปรากฏอยู่ แต่
ถึงอย่างนั้น ธัมมานุปัสสนา อย่างที่แสดงมานี้ จะนับว่า
เป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา หรือโคตรภูจิตก็ควร
เพราะเป็นองค์สัมมาสติแล้ว
ส่วนที่ควรนับว่าสติปัฏฐานแท้ ได้ในอนุปัสสนาทั้ง ๒
เบื้องต้นคือกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา
อาการแห่งสติขับให้เห็นเป็นกายนอกกายใน
เวทนานอกเวทนาใน เพียงเท่านี้ ควรนับว่าสติปัฏฐาน
เพราะเห็นสภาพเห็นปกติควรนับว่าตัวอธิศีลแท้ เมื่อ
ถึงจิตตานุปัสสนาแล้ว อารมณ์มากมารวมลง
ในที่แห่งเดียว จึงควรนับว่าสติสัมโพชฌงค์
เพราะอารมณ์รวมจึงเป็นเหตุให้ตรัสรู้ ควรนับ
ได้ว่าเป็นตัวอธิจิตแท้ ครั้นถึงธัมมานุปัสสนาจึงนับว่า
เป็นองค์แห่งสัมมาสติ มรรคสมาธิ
ตัวอธิปัญญาตรงทีเดียว แสดงสติปัฏฐานนัยนี้ ผู้ฟังงง
ไม่เข้าใจ การไม่เข้าใจนั้น ก็เพราะความเห็นเดิมว่า
สติปัฏฐานมี ๔ อย่าง ๔ หมวด ๔ ก้อน การแสดงมานี้ไม่
ได้หมายความอย่างนั้น หมายความว่าธรรม จิต
เวทนา กาย เป็นอันเดียวกันก้อนเดียวกัน ธรรมนั้น
เป็นประธานฉายออกมาเป็นจิต เป็นเวทนา เป็นกาย
เป็นตัวสังขาร เพราะเป็นสังขารนั้นเองจึงดับได้ ใช่
จะดับไปที่ไหน กายดับก็เป็นเวทนา เวทนาดับก็เป็นจิต
จิตดับก็เป็นธรรม เมื่อเป็นธรรมแล้ว
ไม่มีอาการดับ เพราะเป็นตัววิสังขาร ดับ
ได้แต่สังขารธรรมส่วนเดียว สมกับ
ด้วยพุทธภาษิตว่า “สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ
สงฺขารา ทุกฺข สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา”
ตัวสังขารธรรมนั้นเอง เป็นตัวอนัตตา สมกับที่มาว่า “
ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ ยํ ทุกฺขํ ตํ อนตฺตา” วิสังขารในที่อื่น
จะเห็นว่าเป็นอนัตตาด้วยก็ควร แต่
ในธรรมานุปัสสนานี้ ไตรลักษณะเดิน
ถึงโคตรภูจิตเท่านั้น เพราะยังเป็นสังขาร
เมื่อโคตรภูจิตแสดงตัวเป็นอนัตตา
แล้วก็สิ้นเรื่องไตรลักษณ์ ต่อนั้นไป
เป็นวิสังขารธรรมแท้ เป็น
อตฺตทีปา }…
อตฺตสรณา }…
ธมฺมทีปา }…
ธมฺมสรณา }……} เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม เป็น
อชาตึ อชราพฺยาธึ อมตํ นิพฺภยํ คตา สมกับคำว่า “เตสํ
วูปสโม สุโข”
แสดงประเภทแห่งสติปัฏฐาน พอเป็นแผนที่
หรือภูมิศาสตร์แก่กุลบุตรผู้ใคร่ต่อความศึกษา
โดยสังเขปเพียงเท่านี้ ต่อนี้จะแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐาน
เป็นทางปฏิบัติของกุลบุตรผู้หวังต่อ
ความสิ้นทุกข์จริง เมื่อได้ประสบหนังสือนี้แล้วจะ
ได้ตรองปฏิบัติตาม เมื่อมีอุปนิสัยแก่กล้าก็จะ
ได้บรรลุธรรมาภิสมัย ข้ามโอฆะ
ได้ตามพุทธภาษิต
เมื่อกุลบุตรผู้มีศรัทธา ปรารถนาที่
จะเจริญสมถะด้วยวิธีสติปัฏฐาน คือหัดทำสติ
ต้องบำรุงวิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน ๔ อย่างนี้
ให้เสมอกัน คือให้มีอธิษฐานความตั้งใจว่า เราจักทำสติ
คือความรู้อยู่ที่กายที่ใจ คือให้ตรวจดูสกลกาย
ได้แก่อาการ ๓๒ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต
ปอด ไส้ใหญ่ สายรัดไส้ ขี้ราก น้ำดี น้ำเสลด
น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว
น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร สมอง
ในศีรษะเหล่านี้ให้เข้าใจที่อยู่และกลิ่นสีสัณฐาน
ลักษณะอาการ ว่าสิ่งนี้ตั้งอยู่ที่นี้ มีกลิ่น
และสีอย่างนี้ มีสัณฐานสั้นยาวใหญ่เล็กอย่างนี้
มีลักษณะอาการต่างกันกับสิ่งนั้นอย่างนี้ ๆ เมื่อตรวจ
ได้ความชัดแล้ว พึงทำความรู้สึกอยู่ที่ใจ จะนั่ง นอน
ยืน เดิน หรือประกอบกิจใด ๆ ก็ตาม
หรือวัตถุภายนอกจะเห็นอะไรก็ตาม อย่าปล่อยใจ
ให้มีความรู้สึกอยู่ที่ใจเสมอไป อย่ากลับเอาตา
เข้าไปเพ่งใจ มันจะเกิดพาหิรฌานไม่ต้องการ
ให้เอาใจรู้ใจรู้กายอยู่เสมอ ให้พร้อมด้วยวิริยะ
ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน จะรู้จะเห็นอะไรก็ตาม อย่ายินดี
ให้ทำความรู้อยู่ที่ใจที่กายเท่านั้น ถ้าอยาก
จะบริกรรมก็ให้นึกว่าในใจอยู่ที่ใจ ให้ใจอยู่ที่กาย
ทำอย่างนี้ร่ำไป เมื่อเป็นสติปัฏฐานขึ้นเมื่อไร จักรู้
ด้วยตนเอง แสดงวิธีทำสติไว้เพียงเท่านี้ อาศัยความเชื่อ
กับความจริงเป็นกำลัง คงสมหวังอย่าแคลงใจ.
จบสมถะวิธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักแสดงวิปัสสนาภูมิต่อไป
ขันธ์ ๕
รูปขนฺโธ ...............กอง.......... รูป ๒๘ ..........
มหาภูตรูป ๔ .......... อุปาทายรูป ๒๔
เวทนาขนฺโธ .........กอง..........
เวทนา ...............................................................

สญฺญาขนฺโธ .........กอง..........
สัญญา ..............................................................

สงฺขารขนฺโธ .........กอง..........
สังขาร ...............................................................

วิญฺญาณขนฺโธ ......กอง..........
วิญญาณ ............................................................

อายตนะ ๑๒
จกฺขฺวายตนํ ..........อายตนะ.......... คือ.......... จักษุ
รูปายตนํ ..............อายตนะ.......... คือ..........
รูป
โสตายตนํ ............อายตนะ.......... คือ.......... โสต
สทฺทายตนํ ...........อายตนะ.......... คือ.......... เสียง
ฆานายตนํ ............อายตนะ.......... คือ.......... จมูก
คนฺธายตนํ ............อายตนะ.......... คือ..........
กลิ่น
ชิวฺหายตนํ ............อายตนะ.......... คือ.......... ลิ้น
รสายตนํ ..............อายตนะ.......... คือ..........
รส
กายายตนํ ............อายตนะ.......... คือ.......... กาย
โผฏฺฐพฺพายตนํ .....อายตนะ.......... คือ..........
เครื่องสัมผัส
มนายตนํ ..............อายตนะ.......... คือ.......... ใจ
ธมฺมายตนํ ............อายตนะ.......... คือ..........
ธรรมารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธาตุ ๑๘
จกฺขุธาตุ .................... ธาตุ.......... คือ.......... จักษุ
รูปธาต ....................... ธาตุ.......... คือ...........
รูป
จกฺขุวิญฺญาณธาตุ ...... ธาตุ........... คือ..........
จักษุวิญญาณ
โสตธาตุ .................... ธาตุ........... คือ......... โสต
สทฺทธาตุ ................... ธาตุ........... คือ.........
เสียง
โสตวิญฺญาณธาตุ ...... ธาตุ........... คือ.........
โสตวิญญาณ
ฆานธาตุ .................... ธาตุ........... คือ......... จมูก
คนฺธธาตุ .................... ธาตุ........... คือ.........
กลิ่น
ฆานวิญฺญาณธาตุ ....... ธาตุ........... คือ.........
ฆานวิญญาณ
ชิวฺหาธาตุ ................... ธาตุ........... คือ.........
ลิ้น
รสธาตุ ....................... ธาตุ........... คือ..........
รส
ชิวฺหาวิญฺญาณธาตุ ..... ธาตุ........... คือ.........
ชิวหาวิญญาณ
กายธาตุ ..................... ธาตุ........... คือ.........
กาย
โผฏฺฐพฺพธาตุ ............. ธาตุ........... คือ.........
เครื่องสัมผัส
กายวิญฺญาณธาตุ ....... ธาตุ........... คือ.........
กายวิญญาณ
มโนธาตุ .................... ธาตุ........... คือ......... ใจ
ธมฺมธาตุ .................... ธาตุ........... คือ.........
ธรรม
มโนวิญฺญาณธาตุ ...... ธาตุ........... คือ.........
มโนวิญญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 23:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ ๒๒
จกฺขุนฺทฺริยํ ....................................อินทรีย์
....... คือ......... ตา
โสตินฺทฺริยํ ....................................อินทรีย์
....... คือ......... หู
ฆานินฺทฺริยํ ....................................อินทรีย์
....... คือ......... จมูก
ชิวฺหินฺทฺริยํ ....................................อินทรีย์
....... คือ......... ลิ้น
กายินฺทฺริยํ ....................................อินทรีย์
....... คือ......... กาย
มนินฺทฺริยํ .....................................อินทรีย์
....... คือ.......... ใจ
อิตฺถินฺทฺริยํ ...................................อินทรีย์
....... คือ.......... หญิง
ปุริสินฺทฺริยํ ...................................อินทรีย์
....... คือ.......... ชาย
ชิวิตินฺทฺริยํ ...................................อินทรีย์
....... คือ.......... ชีวิต
สุขินฺทฺริยํ ....................................อินทรีย์
........ คือ.......... ความสุข
ทุกฺขินฺทฺริยํ ..................................อินทรีย์
........ คือ.......... ความทุกข์
โสมนสฺสินฺทฺริยํ ...........................อินทรีย์........
คือ.......... ความยินดี
โทมนสฺสินฺทฺริยํ ..........................อินทรีย์........
คือ.......... ความเศร้าโศก
อุเปกฺขินฺทฺริยํ ..............................อินทรีย์........
คือ.......... ความเพิกเฉย
สทฺธินฺทฺริยํ .................................อินทรีย์........
คือ.......... ความเชื่อ
วิริยินฺทฺริยํ ..................................อินทรีย์
........ คือ.......... ความเพียร
สตินฺทฺริยํ ...................................อินทรีย์........
คือ.......... สติ
สมาธินฺทฺริยํ ...............................อินทรีย์........
คือ.......... สมาธิ
ปญฺญินฺทฺริยํ ...............................อินทรีย์........
คือ.......... ปัญญา
อนญฺญตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ ........อินทรีย์........ คือ
.......... โสดามรรค
อญฺญินฺทฺริยํ ...............................อินทรีย์........
คือ.......... โสดาผลถึงอรหัตมรรค
อญฺญาตาวินฺทฺริยํ .......................อินทรีย์........
คือ.......... อรหัตผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 23:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ ๔
ทุกฺขํ อริยสจฺจํ .................................อริยสัจ
.......... คือ.......... ทุกข์
ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ .....................อริยสัจ
.......... คือ.......... ทุกขสมุทัย
ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ .......................อริยสัจ
.......... คือ........... ทุกขนิโรธ
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ ...อริยสัจ..........
คือ........... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
อวิชฺชา..................... ความไม่รู้ ๘
สงฺขาร...................... ความปรุงแต่ง ๓
วิญฺญาณ..................
ความรู้วิเศษรู้ตามเหตุแห่งสัมผัส ๖
นามรูป..................... นาม ๑ รูป ๑
อายตน.................... อายตนะ ๖
ผสฺส........................ ผัสสะ ๖
เวทนา..................... เวทนา ๖
ตณฺหา..................... ตัณหา ๖
อุปาทาน................. อุปาทาน ๔
ภว........................... ภพ ๒
ชาติ........................ ชาติ ๒
ชรามรณ................. ชรา ๒ มรณะ ๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 23:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม ๓๗
สติปัฏฐาน ๔
กายานุปัสสนา ๑
เวทนานุปัสสนา ๑
จิตตานุปัสสนา ๑
ธัมมานุปัสสนา ๑
สัมมัปปธาน ๔
เพียรละอกุศลยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้นได้ ๑
เพียรละอกุศลที่เกิดแล้วไม่ให้เกิดได้อีก ๑
เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑
เพียรทำกุศลที่เกิดแล้วให้เจริญ ๑
อิทธิบาท ๔
ฉันท............... อิทธิบาท ๑
วิริย................. อิทธิบาท ๑
จิตต................ อิทธิบาท ๑
วิมังสา............ อิทธิบาท ๑
อินทรีย์ ๕
สัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑
ปัญญินทรีย์ ๑
พละ ๕
สัทธา.............. พละ ๑
วิริย................. พละ ๑
สติ.................. พละ ๑
สมาธิ.............. พละ ๑
ปัญญา............ พละ ๑
โพชฌงค์ ๗
สติ สัมโพชฌงค์ ๑
ธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ ๑
วิริย สัมโพชฌงค์ ๑
ปีติ สัมโพชฌงค์ ๑
ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ๑
สมาธิ สัมโพชฌงค์ ๑
อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ๑
อัฏฐังคิกมรรค ๘
สมฺมาทิฏฺฐิ...................................ความเห็นชอบ
สมฺมาสงฺกปฺโป.............................ความดำริชอบ
สมฺมาวาจา...................................เจตนา
เป็นเหตุกล่าวชอบ
สมฺมากมฺมนฺโต.............................เจตนา
เป็นเหตุทำการงานชอบ
สมฺมาอาชีโว................................เจตนา
เป็นเหตุเลี้ยงชีพชอบ
สมฺมาวายาโม..............................เจตนา
เป็นเหตุพยายามชอบ
สมฺมาสติ.....................................สติชอบ
สมฺมาสมาธิ.................................สมาธิชอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 00:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ ๕ คือ อะไรบ้าง ?
รูปนั้นมีลักษณะอย่างไร ว่าโดยย่อ มีกี่อย่าง ?
เวทนา มีกี่อย่าง มีอาการอย่างไรบ้าง ?
สัญญา มีกี่อย่าง มีอาการอย่างไรบ้าง ?
สังขาร มีกี่อย่าง มีอาการอย่างไรบ้าง ?
วิญญาณ มีกี่อย่าง มีประเภทอย่างไรบ้าง ต่างกัน
กับสัญญาอย่างไร ?
อายตนะ ๑๒ คืออะไรบ้าง ? อย่างไร
จึงเรียกอายตนะ
ธาตุ ๑๘ คืออะไรบ้าง ? อย่างไรจึงเรียกว่าธาตุ
อินทรีย์ ๒๒ คืออะไรบ้าง ? อย่างไร
จึงเรียกว่าอินทรีย์ อินทรีย์นั้นจะมีครบที่ตัวเรา
หรือไม่ ? คืออย่างไร อธิบายไป
อริยสัจ ๔ คืออะไรบ้าง ? เป็นของมีที่ตัวเราหรือ
ไม่ ? จงอธิบายมาให้ครบทั้ง ๔ ทั้งเหตุทั้งผล
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คืออะไรบ้าง ?
สังขารวิญญาณในที่นี้ กับในเบญจขันธ์ต่าง
กันอย่างไร ?
นามรูปในที่นี้กับเบญจขันธ์ต่างกันอย่างไร ?
อายตนะในที่นี้กับอายตนะ ๑๒ ต่างกันอย่างไร ?
ผัสสะ มีลักษณะอย่างไร ?
เวทนาในที่นี้เป็นอย่างไร ? ต่างกับเวทนาในเบญจขันธ์
หรือไม่ ?
ตัณหามีกี่อย่าง มีลักษณะต่างกันอย่างไร ?
อุปาทานมีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร ?
ภพมีกี่อย่าง ต่างกันอย่างไร ?
ชาติชรามรณะนั้น คืออย่างไร มีอาการต่าง
กันอย่างไร ?
ปฏิจจสมุปบาท มีครบที่ตัวเราหรือไม่ ? ถ้าอย่าง
นั้นจงอธิบายมาพอให้ผู้ฟังเข้าใจ
สติปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง อะไรเป็นกาย อะไร
เป็นเวทนา อะไรเป็นจิต อะไรเป็นธรรม ?
จงตอบมาให้ได้ความ
สัมมัปปธาน ๔ คืออะไรบ้าง จะว่าแต่ ๒
เพียรละบาปบำเพ็ญบุญเท่านั้น จะไม่ได้หรือ ?
อิทธิบาท ๔ คืออะไรบ้าง ? ถ้าอย่างนั้นจงอธิบาย
ความต่างแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ มาพอเข้าใจ
อินทรีย์ ๕ คืออะไรบ้าง ต่างกันกับในอินทรีย์ ๒๒
หรือไม่ ?
พละ ๕ คืออะไรบ้าง ต่างกันกับอินทรีย์อย่างไร ?
โพชฌงค์ ๗ คืออะไรบ้าง ?
สติ มีกี่อย่าง ต่างโดยประเภทอย่างไรบ้าง ?
ธัมมวิจยะ มีลักษณะอย่างไร ?
วิริยะ มีลักษณะอย่างไร ?
ปีติ มีกี่อย่าง ต่างกันอย่างไร ?
ปัสสัทธิ มีลักษณะอย่างไร ?
สมาธิ มีกี่อย่าง ต่างกันอย่างไร ?
อุเบกขา มีลักษณะอย่างไร ?
อัฏฐังคิกมรรค ๘ คืออะไรบ้าง ?
เห็นอย่างไร จึงชื่อว่า สัมฺมาทิฏฐิ จงอธิบายมา
ดำริอย่างไร จึงชื่อว่า สมฺมาสงฺกปฺโป จงอธิบายมา
เจตนาตั้งอย่างไรจึงสำเร็จเป็น สมฺมาวาจา และ
สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว
เจตนาตั้งอย่างไรจึงสำเร็จเป็น สมฺมาวายาโม
สติตั้งอย่างไรจึงชื่อว่าเป็น สมฺมาสติ
ตั้งใจไว้อย่างไรจึงเป็น สมฺมาสมาธิ
จงตอบมาให้ได้ความทุก ๆ ข้อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2014, 00:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีเรียนสมถวิปัสสนา ตามคติโบราณาจารย์สืบ ๆ
มามี ๒ อย่าง เรียกว่า เรียนสันโดษอย่าง ๑ เรียกว่า
เรียนอันดับอย่าง ๑ เรียนสันโดษนั้น
คือพระอาจารย์ชำนาญในพระกรรมฐานอันใด
เป็นต้น ว่ากสิณหรืออนุสสติ หรืออสุภ หรือปีติ
หรือพรหมวิหาร อย่างหนึ่งอย่างใด
ก็ตั้งบอกตั้งเรียนในพระกรรมฐานนั้น ๆ ตาม
ความถนัดของตน ๆ อย่างนี้ชื่อว่าเรียนสันโดษ
เรียนอันดับนั้น บางท่านก็ถือว่าเรียนปีติ ๕ ยุคละ ๖
ถึงสุขสมาธิ เรียกว่าเรียนอันดับ
บางท่านก็ถือว่าเรียนพรหมวิหารครบทั้ง ๑๐ ทิศได้
เรียกว่าเรียนอันดับ แต่มติของพระอาจารย์หนึ่งชี้
วิธีเรียนอันดับไว้อย่างนี้ เรียกว่าอันดับ ๕ .... ๑
อุบัติกรรม ๒ ปหานกรรม ๓ ปฏิบัติกรรม ๔
ภูมิกรรม ๕ เทศนากรรม
อุบัติกรรมนั้น คือ สอนให้ศิษย์ตรวจ
ความเกิดแต่ปฐมปฏิสนธิวิญญาณ มาจนถึงรู้ความจำได้
ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ความดี
ความชั่วเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
บุญบาปเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ความรู้
ความฉลาดเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง แต่เกิดมาจนถึงบัดนี้
บุญกุศลเกิดมีขึ้นแก่เราคืออะไรบ้าง สอนให้คิด
ให้ตรองอย่างนี้ ชื่อว่าอุบัติกรรม
ปหานกรรมนั้น คือสอนให้ตรวจการละ
ให้ตรวจมาแต่เป็นเด็กรู้ความมาจนบัดนี้ เราได้ละ
ความชั่วออกจากกายวาจาใจได้แล้ว คืออะไรบ้าง
ตรวจดูทุกขัยทุกวัยจนถึงปัจจุบัน สอนให้คิด
ให้ตรองอย่างนี้ ชื่อว่าปหานกรรม
ปฏิบัติกรรมนั้น คือ สอนให้ตรวจข้อปฏิบัติ
ให้ตรวจมาแต่เป็นเด็กมาจนบัดนี้ ว่าเรา
ได้ศึกษาเล่าเรียน ประกอบคุณความดีปฏิบัติให้เกิด
ให้มีขึ้นที่เรา มีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น
คืออะไรบ้าง ครั้งไร อย่างไร ๆ อย่างนี้เป็นต้น สอน
ให้คิดให้ตรองอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติกรรม
ภูมิกรรมนั้น คือ สอนให้รู้จักวิปัสสนาภูมิ คือสอน
ให้รู้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒
อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
ให้รู้จักประเภทลักษณะอาการให้ชัดใจ สอนให้คิด
ให้ตรองอย่างนี้ ชื่อว่าภูมิกรรม
เทศนากรรมนั้น คือ สอนให้ศึกษา
ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ให้ขึ้นใจ คือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อัฏฐังคิกมรรค ๘ ให้เข้าใจประเภทลักษณะ
อาการ จำได้ ชี้ได้ บอกได้ สอนให้คิดตรองอย่างนี้
ชื่อว่าเทศนากรรม
เมื่อลูกศิษย์เรียนจบอันดับ ๕ นี้โดยชัดเจนแล้ว
ต้องยกไตรสรณคมน์ให้เป็นครูสอนผู้อื่นต่อไป
วิธีโบราณท่านแสดงไว้อย่างนี้ ผู้เล่าเรียน
จะชอบสันโดษหรืออันดับ สุดแต่ความพอใจเทอญ.
................................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร