วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 01:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธรัตนกถา

* ตรวจพิมพ์ใหม่เมื่อเป็นพระโพธิวงศาจารย์ พ.ศ
.๒๔๖๗
จากต้นฉบับเดิมพระอมราภิรักขิต (เกิด)
วัดบรมนิวาส พ.ศ.๒๔๒๘

รตนตฺตยํ นมิตฺวา นวานมนุสิกฺขิตุง
อทิมฺหิ สฺยามภาสาย สงฺเขเปเนว ภาสิตา
ยา จ ปุพฺพสิกฺขา ตสฺสา ว โถกํ วิตฺถารวณฺณนํ
กริสฺสํ ญาตุกามานํ ปณาเมน สุภํ ภเว.
.......... ข้าพเจ้านอบน้อมนมัสการซึ่งพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว
บุพพสิกขาอันใดที่ข้าพเจ้าภาสิต คือว่าแต่งไว้แล้ว เพื่อ
ให้กุลบุตรทั้งหลายผู้เป็นคนใหม่ ให้ศึกษาตาม
ในกาลเบื้องต้น ด้วยเป็นสยามภาษาโดยสังเขปย่อนัก
ข้าพเจ้าจักกระทำการวรรณนาแห่งบุพพสิกขานั้น
โดยพิสดารสักหน่อยหนึ่ง เพื่อกุลบุตรทั้งหลาย
ผู้ใคร่จะรู้จะศึกษาในสิกขาบทบัญญัติ ปฏิบัติตามจะ
ได้รู้ด้วย ข้าพเจ้านอบน้อมพระรัตนตรัย ขอ
ความงามความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด
คำว่าบุพพสิกขานั้น ประสงค์เป็นชื่อคัมภีร์
เป็นของอันกุลบุตรจะพึงศึกษาแต่แรกก่อน จึง
ได้ชื่อว่า บุพพสิกขา เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวว่า ผู้
จะอุปสมบทนั้น เมื่ออุปสมบทแล้วพึงศึกษาข้อทั้ง ๗
นี้ก่อน ก็ข้อทั้ง ๗ นั้นคือ รัตนัตตยบัพพะ ข้อว่า
ด้วยรัตนตรัย ๑ อาปัตตินานาทิปัพพะ ข้อว่า
ด้วยชื่อแห่งอาบัติเป็นต้น ๑ ปฏิปัตติมุขสิกขาปัพพะ
ข้อว่าด้วยสิกขาบท เป็นปากเป็นทางแห่งความปฏิบัติ
โดยมาก ๑ กาลิกปัพพะ ข้อว่าด้วยกาลิก ๑
พินทวาธิฏฐานาทิปัพพะ ข้อว่าด้วยพิธีพินทุและอธิษฐาน
เป็นต้น ๑ วิชหนาทิปัพพะ ข้อว่าด้วยขาดอธิษฐานเป็นต้น
๑ อาปัตติเทสนาทิปัพพะ ข้อว่าด้วยแสดงอาบัติเป็นต้น ๑
เป็น ๗ ข้อดังนี้
จะว่าด้วยรัตนัตตยบัพพะข้อต้นก่อน คำว่า รตนตฺตยํ
นั้น แปลว่า หมวดสามแห่งรัตนะ พระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ สามวัตถุนี้ชื่อว่ารัตนะ
เพราะเป็นของประเสริฐกว่าวิญญาณกรัตนะ
และอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ อนึ่ง เพราะ
เป็นของทำความยินดีให้บังเกิดแก่โลกทั้งสาม
จะกล่าวด้วยพุทธรัตนะก่อน ถามว่าที่เรียก
กันว่าพุทธะ ๆ นั้น อะไรเป็นพุทธะ ? แก้ว่าพุทธะนั้น ว่า
โดยปรมัตถโวหารวิสุทธิขันธสันดาน คือกองรูป
กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ ซึ่ง
เป็นของที่ต่อมาแต่ภพก่อน เป็นของบริสุทธิ์
จากบาปธรรมอุปกิเลส คือไม่มีอกุศลเจตสิก
เป็นแต่อพยากตเจตสิก
ซึ่งบังเกิดแต่กุศลเจตสิกนั่นแหละ เป็นพระพุทธเจ้า
ว่าโดยโลกิยโวหาร สัตว์พิเศษผู้หนึ่ง ใช่พรหม
ใช่มาร ใช่เทพยดา ใช่อมนุษย์ เป็นมนุษยชาติ แต่
เป็นมนุษย์อัศจรรย์ มีปัญญาฉลาดล่วงสมณะ
เทพยดา มาร พรหม และทำสัตว์ให้บริสุทธิ์
จากบาปธรรมอุปกิเลสได้ และสอนสัตว์อื่นให้ได้
ความบริสุทธิ์สุขด้วย นั่นแหละเป็นพระพุทธเจ้า
ถามว่าพุทธะ ๆ นั้น แปลว่าอะไร? แก้ว่าแปลว่าผู้รู้
เท่าซึ่งสังขารทั้งปวงด้วยตนเองและให้ผู้อื่นรู้
เท่าสังขารด้วย เป็นผู้บานแล้วเต็มที่
ปุถุชนเช่นเราชื่อว่าเป็นคนเขลาไม่รู้เท่าสังขาร จึง
ต้องโศกเศร้าเมื่อเวลาสังขารนั้นวิบัติ
ถามว่าอะไรเป็นสังขาร แก้ว่าสิ่งทั้งปวงที่เป็นของภาย
ในและภายนอก กอบด้วยวิญญาณและหาวิญญาณมิ
ได้ ที่มีขึ้นเป็นขึ้นด้วยเหตุภายในมีกรรมเป็นต้น ฤา
ด้วยเหตุภายนอกมีฤดูเป็นต้น นี้แหละชื่อว่าสังขาร
รู้เท่าสังขารนั้นอย่างไร? รู้ความ
เป็นเองของสังขาร รู้เหตุที่ให้เกิดสังขาร
รู้ที่ดับสังขาร รู้หนทางดำเนินไปยังที่ดับสังขาร
นี่แลชื่อว่ารู้เท่าสังขาร
ท่านรู้ความเป็นเองของสังขารอย่างไร?
พระองค์รู้ว่าสรรพสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงแท้
ย่อมแปรปรวนไปต่าง ๆ มีแล้วหาไม่ เกิดแล้วดับไป
สรรพธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนด้วยไม่อยู่
ในอำนาจบังคับผู้ใด เพราะไม่เที่ยง เพราะไม่ใช่ตนนั้น
เป็นแต่กองทุกข์ นี่แหละเป็นความจริงความ
เป็นเองของสังขาร พระองค์รู้กำหนดดังนี้
ด้วยปรีชาภิสมัย อย่างนี้แลชื่อว่ารู้ความ
เป็นเองแห่งสังขาร
รู้เหตุที่ให้เกิดสังขารอย่างไร?
พระองค์รู้ว่าตัณหาคือความดิ้นรนด้วยอยากได้นี้เอง
เป็นผู้สร้างสังขารภายใน เพราะตัณหามีแล้ว
ให้สัตว์กระทำกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
จะตกแต่งสังขาร เป็นกองทุกข์ แล้วท่านมละตัณหา
นั้นเสียได้ ด้วยเป็นปหานาภิสมัย
อย่างนี้แลชื่อว่ารู้เหตุที่ให้เกิดสังขาร
รู้ที่ดับแห่งสังขารนั้นอย่างไร?
พระองค์รู้ว่าพระนิพพาน เป็นที่ดับตัณหาที่
ให้เกิดทุกข์ แล้วกระทำพระนิพพาน
ให้แจ้งประจักษ์ขึ้นในพระหฤทัยด้วยสัจฉิกิริยาภิสมัย
อย่างนี้แลชื่อว่าท่านรู้ที่ดับแห่งสังขาร
พระองค์รู้หนทางดำเนินไปยังที่ดับสังขาร
นั้นอย่างไร? พระองค์รู้ว่ามรรคประดับ
ด้วยองค์แปดมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ที่เกิดขึ้น
แล้วกำหนดรู้ความทุกข์ มละตัณหาเห็นพระนิพพาน
นี้แลเป็นหนทางให้ถึงซึ่งความดับทุกข์
และพระองค์ทำมรรคนั้นให้มีให้เป็นให้เกิดขึ้น
ในพระหฤทัยด้วยภาวนาภิสมัย
อย่างนี้แลชื่อว่าท่านรู้หนทางดำเนินไป
ยังที่ดับสังขาร พระองค์รู้ความรู้ ๔ อย่างนี้พร้อม
กันในขณะจิตอันเดียว และได้ความบริสุทธิ์จนไม่ยินดี
ถือว่าเรารู้เราเห็น
แม้สังขารคือร่างกายของพระองค์จะวิบัติ
เป็นประการใด ๆ ก็ไม่เศร้า
ไม่โศกเสียใจเหมือนปุถุชน
อย่างนี้แลชื่อว่าพระองค์รู้เท่าสังขารทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 01:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่าบุคคลที่ท่านเรียกกันว่าพุทธะนั้นมีกี่จำพวก?
แก้ว่ามีอยู่ ๔ พวก คือ พหูสูตรจำพวก ๑
ท่านเรียกว่าสุตพุทธะ เพราะเป็นผู้รู้เท่าซึ่งความดีชั่ว
เป็นต้น ด้วยการสดับและเล่าเรียนปริยัติธรรม
อริยสาวกอีกจำพวก ๑ ท่านเรียกว่าสาวกพุทธะ
เพราะได้ฟังคำสอนแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว และรู้
เท่าสังขารตามเสด็จพระพุทธเจ้า ๑ พระสยัมภูพระ
ผู้เป็นเองรู้เองสอนผู้อื่นไม่ได้ ดังคนใบ้ฝันเห็น จำพวก
๑ ท่านเรียกว่าปัจเจกพุทธะ เพราะรู้
เท่าสังขารแต่ลำพังตัวเอง พระผู้รู้เองแล้วสอนผู้
อื่นให้รู้ตามได้ จำพวก ๑ ท่านเรียกว่าสัพพัญญูพุทธะ
เพราะเป็นผู้รู้เท่าสังขารและธรรมทั้งปวง ที่ว่า
ด้วยพุทธะนี้ประสงค์เอาสัพพัญญูพุทธะอย่างเดียว
ถามว่าพระพุทธเจ้าของเรานี้พระองค์เกิดขึ้นในที่ไหน
? แก้ว่าพระองค์เกิดขึ้นในมนุษย์พวกอริยกะ
ในมัชฌิมประเทศ มัชฌิมประเทศ
นั้นแปลว่าประเทศเป็นท่ามกลาง เพราะว่า
เป็นท่ามกลางที่มาเกิดแห่งพระพุทธเจ้า
และพระปัจเจกพุทธเจ้า อัครสาวกพุทธอุปัฏฐาก
และพุทธบิดา พุทธมารดา และจักรพรรดิราช
และดิตถิกรนักบวชผู้มีทิฏฐิวาทะต่าง ๆ
ดังท่ามกลางแห่งสนาม เป็นที่มาประชุมแห่งชน
ทั้งปวงฉะนั้น มัชฌิมประเทศนั้นอยู่ในทิศตะวันตก
แต่ประเทศสยามนี้ไป ประเทศสยาม
ประเทศรามัญ ประเทศพม่า ประเทศลาว
เป็นต้นเหล่านี้ชื่อว่าปัจจันตประเทศ มนุษย์เกิด
ในประเทศเหล่านี้ชื่อว่ามิลักขกมนุษย์ มนุษย์เกิด
ในมัชฌิมประเทศชื่อว่าอริยกะ แต่เดี๋ยวนี้
เขาเรียกประเทศนั้นว่าฮินดูสถาน
ถามว่า พระพุทธเจ้าเกิดในมัชฌิมประเทศ
เป็นชาวเมืองไหน เป็นชาติอะไร เป็นโคตรแซ่อะไร
พระนามเดิมชื่อไร เป็นบุตรผู้ใด
พระองค์มีบุตรภริยาฤาหาไม่? แก้ว่าพระองค์
เป็นชาวเมืองกบิลพัสดุ์ในแขวงสักกะ พระองค์
เป็นชาติกษัตริย์พวกสักกะ เป็นโคตมโคตร
พระนามเดิมชื่อว่า สิทธัตถะ
พระบิดาทรงพระนามว่า สุทโธทนะ อยู่ ณ
เมืองกบิลพัสดุ์ พระมารดาทรงพระนามว่า
สิริมหามายา
พระโอรสแห่งพระองค์ทรงพระนามว่าราหุล
พระเทวีแห่งพระองค์ทรงพระนามว่าพิมพายโสธรา
ถามว่าพระองค์มีพระโอรสและพระมเหสีดังนี้
เหตุใดจึงเป็นพระพุทธเจ้าได้เล่า?
แก้ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์เกิดเป็นสองครั้ง คือ เกิด
ด้วยรูปกายครั้งหนึ่ง เกิด
ด้วยนามกายอันบริสุทธิ์ครั้งหนึ่ง
ตั้งแต่ลงมาสู่พระครรภ์พระมารดาแล้วอยู่
ในครรภ์ ๑๐ เดือน แล้วประสูติจากพระครรภ์
ณ ป่าลุมพินีวัน ที่ระหว่างเมืองเทวทหะ
กับเมืองกบิลพัสดุ์ มีพระกายพร้อม
ด้วยทวัตตึงสมหาปุริสลักขณะ ควรจะ
เป็นภาชนะรองพุทธคุณ ทรงพระนามชื่อว่าสิทธัตถะ
แล้ว อยู่เป็นพระกุมาร ๑๖ ปี แล้วพระบิดา
ให้เสวยสุขสมบัติอยู่ในปราสาททั้ง ๓ สมควรแก่ฤดูทั้ง
๓ ได้ ๑๓ ปี แล้วมละฆราวาสสมบัติออกทรงเพศ
เป็นบรรพชิต บำเพ็ญความเพียรแสวงหากิ่งกุศล ๖
ปี จนเสด็จทรงนั่ง ณ โคนไม้ชื่ออัสสัตถะ
ที่เรียกว่าโพธิ ณ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราจนสำเร็จวิชชาสองเบื้องต้น
และวิปัสสนาญาณเพียงโคตรภูญาณต่อ
กับโสดาปัตติมรรคในกาลเท่านี้ ชื่อว่าเกิดแล้ว
ด้วยรูปกาย ยังเรียกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้
ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล จน
ถึงอรหัตมรรคเกิดขึ้นชื่อว่าเกิดอยู่ด้วยนามกาย
ตั้งแต่อรหัตผลความรู้เท่าสังขารเกิดขึ้นแล้วไป
ชื่อว่าพระองค์เกิดด้วยนามกาย แต่ยังไม่ชื่อว่า
ผู้บานเต็มที่แล้ว ด้วยยังไม่ได้บำเพ็ญพุทธกิจ
ตั้งแต่พระองค์ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ภิกษุ
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระอัญญาโกณฑัญญัตเถระ
ได้โสดาปัตติผล รู้เท่าสังขาร
โดยเอกเทศตามเสด็จพระองค์แล้ว
ไปจนพระองค์ดับขันธ์ด้วยอนุปาทิเสสธาตุนิพพาน ณ
ระหว่างไม้รังทั้งคู่
ในสวนสาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ ชื่อว่าบาน
แล้วเต็มที่ เพราะบำเพ็ญพุทธกิจเสร็จแล้ว
ถามว่าอะไรรูปกาย อะไรนามกาย?
แก้ว่ามหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ ชื่อว่ารูปกาย
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ กองนี้ชื่อว่านามกาย
นามกายไม่เกิดพร้อมกันกับรูปกายดอกฤา?
เกิดพร้อมกัน แต่ถ้าว่านามกายที่ให้เป็นพระพุทธเจ้า
คือ อรหัตมรรค อรหัตผล ซึ่ง
เป็นพวกสังขารขันธ์ ที่ฆ่านามกายอันร้ายมีโลภ
เป็นต้น ซึ่งนับเนื่องในสังขารขันธ์ด้วยกันนั้นยังไม่เกิด
จึงยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า ต่ออรหัตมรรค
อรหัตผลเกิดแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเหตุ
นั้น จึงว่าพระพุทธเจ้าเกิดสองครั้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 01:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่าบิดามารดาบุตรภริยาและสุขสมบัติ
เป็นของรัก เหตุไฉนพระองค์จึงมละทิ้งเสียได้?
แก้ว่าพระองค์มละทิ้งเสียได้ด้วยเหตุดังนี้ คือ
พระองค์เห็นชราความแก่ พยาธิความเจ็บไข้ มรณะ
ความตาย เป็นกองทุกข์ใหญ่ดังหนึ่งไฟเผาสัตว์อื่น
และตัวท่านอยู่ แต่ผู้อื่นนั้น เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย
แล้วเกลียดชัง ไม่รู้ว่าของสามอย่างนี้
เป็นของสำหรับตัว พระองค์เห็นว่าของสามอย่างนี้
เป็นของสำหรับสัตว์อื่น และสำหรับตัวท่าน
จะเกลียดเหมือนอย่างคนอื่นเขาเกลียดก็ไม่ชอบ
จะรักก็ไม่น่ารัก จะเฉยเสียว่าช่างเถิดเล่าก็
ไม่ชอบกล พระองค์เห็นแล้วว่าชรา พยาธิ
มรณะนี้เป็นภัยใหญ่หลวงน่ากลัว แต่จะหนีทางไหนก็
ไม่พ้น ด้วยเป็นของสำหรับอยู่กับรูปกาย พระองค์
จึงทรงอนุมานว่า ธรรมที่ไม่มีความแก่ ความเจ็บ
ความตาย เป็นที่หลีกหนีความแก่ ความเจ็บ ความตาย
คงจะมีเป็นแน่ เหมือนกับมีไฟเป็นของร้อนแล้ว ก็มีน้ำ
เป็นของเย็นแก้ มีมืดแล้วก็มีแสงสว่างแก้
แล้วพระองค์ค้นหาว่า ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย
ว่านี่มาแต่ไหน เห็นว่ามาแต่ชาติความเกิด
ค้นต่อไปว่าชาติมาแต่ไหนก็ไม่เห็นชัดด้วยปัญญาเหมือน
กับเห็นของสามอย่าง แต่ชาติ พระองค์
จึงร้อนพระหฤทัยว่าจะอยู่ในสุขสมบัตินี้
จะหาธรรมที่เป็นที่หลีกหนีความทุกข์เหล่านี้ไม่ได้
เป็นแน่ ด้วยเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยบุตรภรรยา
ทรัพย์สมบัติที่จะพาให้ลุ่มหลงและถมทุกข์ทวีขึ้น
สิริสมบัตินี้เป็นที่คับแคบนัก
แล้วทรงเห็นว่าบรรพชาเพศเป็นบรรพชิตอยู่แต่
ผู้เดียวนั้น ไม่เกลื่อนกล่นด้วยเหตุที่จะให้เกิด
ความยินดียินร้าย พระองค์
จึงมละสุขสมบัติออกทรงเพศเป็นบรรพชิต
แสวงหาธรรมที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง
ถามว่าพระองค์แสวงหาอย่างไร?
แก้ว่าพระองค์แสวงหาด้วยอุบายต่าง ๆ จน
ถึงกลั้นลมหายใจอดอาหาร ก็ไม่ได้ธรรมวิเศษสิ่ง
ใด ภายหลังพระองค์จึงทรงนึกได้
ถึงอานาปานสติฌานที่พระองค์ได้เมื่อ
ยังทรงพระเยาว์อยู่ครั้งหนึ่ง
เป็นของอัศจรรย์ชอบกลนักหนา เห็นจะเป็นทางแห่ง
ความตรัสรู้ได้ พระองค์จึงกลับเสวยอาหาร
แล้วเสด็จไปทรงนั่ง ณ โคนไม้อัสสัตถะ
เจริญอานาปานสติ คือตั้งสติเฉพาะลมหายใจ
เข้าออกอย่างเดียวไม่ส่งจิตไปอื่น รำงับกามฉันท์
ความใคร่ความพอใจ พยาบาทความปองร้าย ถีนมิทธ
ความง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจกุกกุจจะ
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ วิจิกิจฉา
ความเคลือบแคลงเหล่านี้ ที่
เป็นนิวรณ์เครื่องห้ามสมาธิเครื่องหมองใจ
เป็นของทำปัญญาให้เสียไป แล้วจึง
ได้ปฐมฌานมีลมหายใจอย่างเดียวเป็นอารมณ์
เป็นฌานกอปรด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข
เอกัคคตา แรงกล้ากว่าเจตสิกธรรมอื่น
แล้วพระองค์พยายามยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยลำดับ
รำงับวิตกวิจารเป็นของหยาบเสีย เหลืออยู่แต่ปีติ
สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌาน, แล้วระงับปีติ
เป็นของหยาบเสีย เหลืออยู่แต่สุข เอกัคคตา
เป็นตติยฌาน, แล้วมละสุขเป็นของหยาบเสีย เหลือ
อยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขาที่กล้า เป็นจตุตถฌาน,
แล้วพระองค์ทำฌานทั้ง ๔ นั้น
ให้ชำนาญคล่องแคล่วด้วยการนึกและการเข้า
เป็นต้น
ครั้นจิตใสบริสุทธิ์ละเอียดดีแล้ว
ด้วยอำนาจจตุตถฌาน พระองค์
จึงน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ
ปัญญาที่ตามระลึกซึ่งขันธ์ที่ตนและสัตว์อื่นอยู่แล้ว
ในภพในชาติก่อน ก็ระลึกได้ซึ่งชาติหลัง
ตั้งแต่ชาติหนึ่งจนถึงอเนกสังวัฏฏะวิวัฏฏะ ดับ
ความสงสัยว่าภพก่อนชาติก่อนจะมีหรือหาไม่นั้นก็สิ้น
เห็นชัดว่าภพก่อนชาติก่อนมีแน่แท้ แต่
ถ้าว่าเห็นสังสารวัฏมีเบื้องต้น
แม้บุคคลระลึกตามไปก็ไม่รู้ อันนี้เป็นวิชชาที่ต้น
พระองค์ได้ในปฐมยาม
ครั้นมัชฌิมยามพระองค์
จึงน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ คือ
ปัญญาที่รู้ที่เห็นจุติปฏิสนธิแห่งสัตว์ พระองค์ก็
ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายที่ประพฤติทุจริตทั้งสาม
ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จุติแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิ
ด้วยอกุศลกรรมนั้น และสัตว์
ทั้งหลายที่ประพฤติสุจริตทั้งสาม ประกอบ
ด้วยสัมมาทิฏฐิ ครั้นจุติแล้วไปบังเกิดในสุคติภูมิ
ด้วยกุศลกรรมนั้น พระองค์เห็นชัด
ด้วยทิพพจักษุญาณดังนี้ ความสงสัยว่าสิ่งไร
เป็นของแต่งให้สัตว์ได้ดีได้ชั่ว และ
ความสงสัยว่าชาติมาแต่ไหนก็สิ้นด้วย เห็นชัดว่ากรรม
คือบุญบาปเป็นของแต่งสัตว์ให้ดีให้ชั่ว
ชาติมาแต่กรรมภพ อันนี้เป็นวิชชาที่สอง พระองค์
ได้ยามกลาง
ครั้นวิชชาทั้งสองชำระทางปัญญาให้บริสุทธิ์แล้ว
พระองค์น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ปัญญารู้
ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ ได้แก่มรรคผล
และนิพพาน คือพระองค์ปรารภชรา พยาธิ
มรณะ ซึ่งเป็นทุกข์ประหนึ่งว่าไฟเผาสัตว์ที่ได้เห็น
แล้วแต่เดิมนั้นก่อน จึงค้นหาปัจจัยแห่งความทุกข์นั้นก็
ได้เห็นว่า ชรา พยาธิ มรณะ นั้นมาแต่ชาติ
ชาติมาแต่กรรมภพ คือ กุศล อกุศล
ภพมาแต่อุปาทาน ความถือมั่น ๔ อย่าง คือ กาม ทิฏฐิ
สีลพัตต์ อัตตวาท อุปาทาน ๔ อย่างมาแต่ตัณหา คือ
ความดิ้นด้วยความอยาก ตัณหามาแต่เวทนา คือ
ความเสวยรสอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์และมัธยัสถ์
เวทนามาแต่ผัสสะ ความกระทบถูกต้อง
คือทวารมีจักษุประสาทเป็นต้น
และวิญญาณมีจักษุวิญญาณเป็นต้น
และอารมณ์มีรูปเป็นต้น ถึงพร้อมกันเข้าเรียกว่า
ผัสสะ ผัสสะมาแต่อายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ อายตนะ ๖ มาแต่นามรูป สิ่งที่น้อมไปนึกอารมณ์ได้
เป็นนาม สิ่งที่ฉิบหายวิบัติด้วยเย็นนักร้อนนักเป็นต้น
เป็นรูป นามรูปมาแต่วิญญาณ คือปฏิสนธิจิต
วิญญาณมาแต่สังขารของแต่งสัตว์ให้ดีให้ชั่ว คือกุศล
และอกุศล สังขารมาแต่อวิชชา คือความ
ไม่รู้แจ้งว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่ที่ดับทุกข์
นี่หนทางให้ถึงที่ดับทุกข์ แล้วพระองค์เห็นว่าอวิชชา
กับตัณหาสองนี้ เป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งสังสารวัฏ
แล้วจึงเจริญวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไป
เพื่อมละอวิชชาตัณหานั้น
เจริญวิปัสสนาอย่างไร? พระองค์จับอวิชชา สังขาร
วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
อุปาทาน ภพ ชาติ เหล่านี้ทีละสิ่ง ๆ ขึ้นพิจารณา
นึกวินิจฉัยว่ามิใช่สัตว์มิใช่บุคคล มิใช่ตัวมิใช่ตนมิใช่
เขามิใช่เรา เป็นสภาพอันหนึ่ง ๆ อาศัยซึ่งกันและ
กันเกิดขึ้น ดับไปแล้วเกิดขึ้น เมื่ออวิชชามีอยู่ ก็
เป็นปัจจัยให้มีสังขาร สังขารมีอยู่ก็ให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณมีอยู่ก็ให้เกิดนามและรูป รูปมีอยู่ก็
ให้เกิดอายตนะ อายตนะมีอยู่ก็ให้เกิดผัสสะ ผัสสะมีอยู่ก็
ให้เกิดเวทนา เวทนามีอยู่ก็ให้เกิดตัณหา ตัณหามีอยู่ก็
ให้เกิดอุปาทาน อุปาทานมีอยู่ก็ให้เกิดภพ ภพมีอยู่ก็
ให้เกิดชาติ ชาติมีอยู่ก็ให้เกิดความทุกข์ คือ ชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นประหนึ่งว่าเพลิงเผาอยู่ ให้ร้อนทุกภพทุกชาติ
นี้แหละธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้นดังนี้
หมุนเวียนไปในสังสารวัฏ จะว่าสิ่งไรเป็นเบื้องต้น
เป็นท่ามกลางเป็นเบื้องปลายนั้นไม่ได้ จริง
อยู่แต่กองทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้นดับไป หมุนเวียนอยู่
ในสังสารวัฏ จะว่าสัตว์และบุคคลเสวยทุกข์นั้นไม่ได้
เพราะเป็นสภาพอันหนึ่ง ๆ อาศัยกันและกันเกิดขึ้นเท่า
นั้น แล้วพระองค์เห็นว่านี่แลเป็นความทุกข์ ทุกข์นี้
จะพึงกำหนดรู้ได้แท้ แล้วพระองค์ได้กำหนดรู้
ด้วยปรีชาภิสมัยดังนี้
แล้วพระองค์รู้ว่าอวิชชาตัณหาสองนี้แล
เป็นมูลรากแห่งสังสารวัฏ เป็นเหตุ
ให้เกิดกองทุกข์ดังว่ามา อวิชชาตัณหาจะพึงมละได้แท้
พระองค์มละเสียได้ด้วยปหานาภิสมัย
พระองค์เห็นว่าดับอวิชชาตัณหาสองอย่างนี้ได้แล้ว
สังขารวิญญาณนามรูปเป็นต้น ที่เป็นทุกข์ก็ดับสิ้น
ธรรมที่ดับทุกข์นี้จะพึงเห็นชัดได้เป็นแท้
พระองค์เห็นธรรมที่ดับทุกข์ชัดได้
ด้วยสัจฉิกิริยาภิสมัย พระองค์เห็นว่าปัญญา
ความเห็นอย่างนี้เป็นทางให้ถึงที่ดับทุกข์ ปัญญานี้
เป็นของจะพึงให้มีให้เจริญขึ้นได้เป็นแท้
แล้วพระองค์ได้ทำให้มีให้เจริญขึ้นด้วยภาวนาภิสมัย
อภิสมัยความกำหนดรู้ทุกข์ มละอวิชชา ตัณหา
เห็นนิพพานชัด ความ
เป็นขึ้นแห่งมรรคจิตอย่างนี้เกิดขึ้นในขณะจิตอันเดียว
ชื่อว่าเป็นมรรคเกิดขึ้น มรรคนี้เกิดขึ้นในกาลใด
กาลนั้นอาสวะเครื่องดองในสันดานทั้งสาม
คือกามาสวะ ภวาสวะ เป็นตัวตัณหา
กับอวิชชาสวะก็สิ้นสูญ แล้วผลเกิดขึ้นรำงับ
ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
มรรคผลนี้แลชื่อว่าอาสวักขยญาณ ปัญญารู้
ความสิ้นอาสวะเครื่องดองในสันดาน
อาสวักขยญาณนี้ชื่อว่าวิชชาที่สาม พระองค์ได้
ในเวลาจวนรุ่งวันวิสาขบุรณมี
ดังกล่าวมานี้แลชื่อว่าพระองค์แสวงหาธรรม
เป็นที่สิ้นความทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 01:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่าเหตุอันใดบันดาลให้พระองค์เห็น ชรา พยาธิ
มรณะ เป็นทุกข์ ประหนึ่งว่าเพลิงเผาตนเอง
และสัตว์อื่น ให้ร้อนพระหฤทัย มละสุขสมบัติเสีย
ออกแสวงหาธรรมที่สิ้นทุกข์ดังนี้ ชนอื่นทำไมเล่าจึง
ไม่เห็นอย่างพระองค์บ้าง ? แก้ว่า
ด้วยพระองค์เคยย่ำยีแยกขยายกระจายสังขาร เห็น
ความจริงสามประการ คือ อนิจจตา ความไม่เที่ยง
ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตตา ความไม่ใช่ตัวตน
ด้วยปัญญาและกุศลอื่น มีทานศีลเป็นต้น
ซึ่งพระองค์ได้บำเพ็ญมาในภพก่อนมามากแล้ว จึง
เป็นอุปนิสัยบันดาลให้พระองค์เห็นดังนี้
แล้วแสวงหาธรรมที่สิ้นทุกข์ ส่วนชนอื่นไม่
ได้ปฏิบัติเหมือนอย่างพระองค์ จึงเห็นวัตถุแห่ง
ความทุกข์ว่าเป็นวัตถุแห่งความสุขแล้ว และหลงอยู่
ในวัตถุนั้น
ถามว่าในบุพพสิกขา
ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
ด้วยมละนิวรณ์ ๕ ตั้งจิตในสติปัฏฐาน ๔
เจริญโพชฌงค์ ๗ จึงเป็นพระพุทธเจ้า
ในที่นี้ว่าตรัสรู้ได้ด้วยวิชชา ๓ จึงเป็นพระพุทธเจ้า
ทำไมจึงไม่เหมือนกัน ? แก้ว่าเป็นแต่เทศนามุขดอก
โดยอรรถคำทั้งปวงนั้นลงกันเหมือนกันดอก
จะกล่าวให้ฟัง นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันท์ ความใคร่
ความพอใจในกามคุณ ๑ พยาบาท ความปองร้าย ๑
ถีนมิทธิ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ๑ วิจิกิจฉา
ความเคลือบแคลง ๑ ๕ อย่างนี้เรียกว่านิวรณ์
เพราะเป็นของกันกุศลธรรม มีสมาธิเป็นต้น มิ
ให้เกิดขึ้นได้ เป็นของทำใจให้เศร้าหมอง
เป็นของทำปัญญาให้เสียกำลังไป
พระองค์มละนิวรณ์ ๕ นี้ด้วยวิกขัมภนปหาน คือข่ม
ไว้ด้วยอานาปานสติฌานก่อนแล้ว
เมื่อมรรคเกิดขึ้นฆ่าอวิชชาตัณหาซึ่ง
เป็นศีรษะแห่งกิเลส
เป็นมูลรากแห่งสังสารวัฏตายขาดแล้ว นิวรณ์ ๕
ซึ่งเป็นกิเลสนับเนื่องในอวิชชาตัณหานั้นก็ตายขาดด้วย
เป็นสมุจเฉทปหาน ด้วยเหตุนี้จึงว่ามละนิวรณ์ ๕
ด้วยสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนา ความตามเห็น
ซึ่งกายโดยความสิ้นไปความเสื่อมไป ๑ เวทนานุปัสสนา
ความตามเห็นซึ่งเวทนาโดยความสิ้นไปความเสื่อมไป ๑
จิตตานุปัสสนา ความตามเห็นซึ่งจิตโดย
ความสิ้นไปเสื่อมไป ๑ ธัมมานุปัสสนา ความตามเห็น
ซึ่งธรรมโดยความสิ้นไปเสื่อมไป ๑
สี่นี้ชื่อว่าสติปัฏฐาน สติปัฏฐานแปลว่า ธรรมชาติ
เข้าไปตั้งอยู่ในอารมณ์ คือ สติ หรือว่าสติเข้าไปตั้งอยู่
ในอารมณ์ สติแปลว่าความระลึก สตินี้
เป็นเจตสิกตัวเดียวไม่เป็นสอง
เหตุใดจึงว่าสติปัฏฐาน ๔ เล่า ซึ่งกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔
นั้น ด้วยสามารถอารมณ์เป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ในสติ
อารมณ์แห่งสตินั้น ๔ คือ กาย ๑ เวทนา ๑ จิต ๑
ธรรม ๑ สติปรารภเอาเอกเทศแห่งกาย
มีลมหายใจเป็นต้น หรือปรารภสกลกายมี ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เป็นอารมณ์ และเห็นความสิ้น
ความเสื่อมเกิดดับแห่งกาย หรือเห็นว่ากาย
เป็นของปฏิกูล หรือเห็นว่าเป็นสักว่าธาตุก็ดี
หรือสักว่าเป็นแต่กายก็ดีดังนี้นั้น
ชื่อว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปรารภเอาเวทนา ๓
คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา อันใดอันหนึ่งเป็นอารมณ์แล้ว
เห็นความสิ้นความเสื่อมเกิดดับแห่งเวทนา
หรือเห็นว่าสักว่าเวทนาเท่านั้นก็ดีดังนี้นั้น
ชื่อว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติปรารภเอาจิตกอปรด้วยราคะความกำหนด
หรือจิตปราศจากราคะเป็นต้นอันใดอันหนึ่ง
เป็นอารมณ์ แล้วเห็นความสิ้น
ความเสื่อมเกิดดับแห่งจิต หรือเห็นว่าสักว่าจิตเท่า
นั้นก็ดีดังนี้นั้น ชื่อว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติปรารภเอาธรรม คืออุปาทายรูปหรือสัญญา
หรือสังขารขันธ์ที่พ้นจากกายเวทนาจิตอันใดอันหนึ่ง
เป็นอารมณ์ แล้วเห็นความสิ้น
ความเสื่อมเกิดดับแห่งธรรม หรือเห็นว่า
เป็นแต่สักว่าธรรมเท่านั้นก็ดี ดังนี้นั้นชื่อว่า
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ก็ในองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท ๑๒ มีอวิชชาเป็นต้น
มีชรามรณะเป็นที่สุดนั้น อวิชชา สังขาร อายตนะ
ผัสสะ ตัณหา อุปาทาน ภพ อุปาทายรูป ในรูป
และสัญญาเจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ในนามหรือ
ในอุบัติภพ และชาติชื่อว่าเป็นธรรม วิญญาณ ชื่อว่า
เป็นจิต เวทนา ชื่อว่าเป็นเวทนา มหาภูตรูปในรูปหรือ
ในอุบัติภพและชาติชื่อว่าเป็นกาย เพราะเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเมื่อพระองค์จับองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชา
เป็นต้น ทีละสิ่งขึ้นพิจารณานึกวินิจฉัย ดังกล่าวมา
แล้วในก่อน ชื่อว่าพระองค์ตั้งจิตเฉพาะด้วยดี
ในสติปัฏฐาน ๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 01:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ แปลว่า องค์ว่าเหตุแห่งความตรัสรู้
ความรู้เท่าสังขาร โพชฌงค์ ๗ นั้นคือ สติ
ความระลึก ได้แก่สติปัฏฐานนั่นเอง ธรรมวิจยะ
ความเลือก ความค้นซึ่งธรรมว่านี่กุศลนี่อกุศล
เป็นต้น ก็
ได้แก่ปัญญาที่ปรารภองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท
มีอวิชชาเป็นต้น และอารมณ์แห่งสติปัฏฐาน มีกาย
เป็นต้นเป็นอารมณ์แล้ว เห็นความสิ้น
ความเสื่อมแห่งอารมณ์นั้นเอง วิริยะ ความ
เป็นคนกล้า
ได้แก่เพียรพยายามมละอกุศลมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น
และทำกุศลมีสติปัญญาเป็นต้นให้เกิดขึ้นนั่นเอง ปีติ
ความปลื้มใจในกุศลธรรม ที่ได้ด้วยสติ
และธรรมวิจยะนั่นเอง ปัสสัทธิ
ความรำงับกายรำงับจิต ได้แก่ความ
ไม่กระวนกระวายจิต เจตสิกในขณะกุศลธรรม
มีสติปัญญา และสมาธิเป็นต้นเกิดขึ้นนั้นเอง สมาธิ
ความตั้งจิตในอารมณ์อันเดียวได้แก่เอกัคคตา
อัปปนาฌานทั้ง ๔ นั้นเอง อุเบกขา ความเพ่งโดยอุบัติ
ได้แก่ความไม่ขวนขวาย ในที่จะตั้งจิตให้เป็นสมาธิอีก
เป็นแต่เพ่งจิตถึงซึ่งความระงับอยู่แล้วเท่านั้นนั่นเอง
ธรรม ๗ นี้แลชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคดำเนินในวิชชา ๓
แล้วถึงความตรัสรู้ รู้เท่าสังขาร
ก็ชื่อว่าพระองค์เจริญโพชฌงค์ ๗ ด้วย
คำว่าเจริญโพชฌงค์ทั้ง ๗ นั้นเป็นคำกล่าว
โดยนิรวเศษ กำหนดตามโพชฌงคนิยม แต่ถ้าว่า
ในขณะอรหัตมรรคอรหัตผล บังเกิดขึ้นแก่พระ
ผู้มีพระภาคนั้น พระองค์ถึงความตรัสรู้รู้
เท่าสังขารนั้น โพชฌงค์มีแต่ ๖ เพราะปีติสัมโพชฌงค์
พระองค์มละเสียแล้วด้วยตติยฌาน
อนึ่ง กิจในพรหมจรรย์โดยสังเขปมีอยู่ ๒ คือ ปหาน
และภาวนา คำว่าพระผู้มีพระภาค มละนิวรณ์ ๕
นั้น เป็นคำแสดงปหานกิจว่าใช่แต่มละนิวรณ์ ๕
อย่างเดียวก็หาไม่ มละอาสวะ ๓ ด้วยวิกขัมภนปหานข่ม
ไว้ด้วยวิชชา ๒ เบื้องต้น และด้วยสมุจเฉทปหาน
มละขาดทีเดียวด้วยวิชชาที่ ๓, ด้วยคำว่าพระ
ผู้มีพระภาคเจริญโพชฌงค์ ๗ นั้น
เป็นคำแสดงภาวนากิจว่าใช่แต่เจริญโพชฌงค์ ๗
อย่างเดียวนั้นก็หาไม่ ทำวิชชา ๓ ให้เจริญด้วย
คำว่าพระผู้มีพระภาคนั้นตั้งจิตในสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้น
เป็นคำแสดงปฏิปทาข้อปฏิบัติซึ่งให้เกิดปหานะ
และภาวนา
พระผู้มีพระภาคแสดงสติปัฏฐาน ๔ ไม่ยิ่งไม่หย่อนนั้น
ตามจริตของบุคคล ก็แลบุคคลว่า
โดยจริตสังเขปมีอยู่ ๒ จำพวก คือ ตัณหาจริต ๑
ทิฏฐิจริต ๑ ตัณหาจริตมีอีกเป็นสอง
คือหยาบละเอียด ทิฏฐิจริตก็มีสอง คือหยาบละเอียด
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นสัปปายะ แก่คน
เป็นตัณหาจริตหยาบ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เป็นสัปปายะแก่คนเป็นตัณหาจริตละเอียด
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นสัปปายะแก่คน
เป็นทิฏฐิจริตหยาบ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เป็นสัปปายะแก่คนเป็นทิฏฐิจริตละเอียด
ก็แลมละนิวรณ์ ๕ และตั้งจิตในสติปัฏฐาน ๔
และเจริญโพชฌงค์ ๗ สามนี้ละสิ่ง ๆ ในกาล
เป็นบุรพภาค ย่อมมีย่อมเป็นในขณะจิตต่าง ๆ กันบ้าง
แต่ในกาลเมื่อมรรคบังเกิดขึ้น ย่อมมีย่อมเป็น
ในขณะจิตอันเดียวกัน
ด้วยคำว่าพระผู้มีพระภาคมละนิวรณ์ ๕ ตั้งจิต
ในสติปัฏฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว
และตรัสรู้สัมมาสัมโพธิดังนี้นั้น แสดงว่าพระ
ผู้มีพระภาคเมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่นั้น กอปร
ด้วยทิฏฐิจริตละเอียด และตั้งจิต
ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยมากในกาล
เป็นบุรพภาค เพราะกุศลธรรม
และอกุศลธรรม ๒ นี้ โดยสังเขป ชื่อว่าธรรม
เป็นอารมณ์แห่งธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ก็อกุศลธรรมยกนิวรณ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวอย่าง
ฝ่ายกุศลธรรมยกโพชฌงค์ ๗ ขึ้นเป็นตัวอย่าง อนึ่ง
บุคคลมีปัญญามาก มักกอปรด้วยทิฏฐิจริตละเอียด
ด้วยในวิชชาที่ ๓ กล่าวว่าพระ
ผู้มีพระภาคกระทำองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชา
เป็นต้น เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาญาณนั้น
แสดงว่าพระผู้มีพระภาค เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
นั้นกอปรด้วยโลกียปัญญามาก เป็น
ผู้ทิฏฐิจริตละเอียด และตั้งจิต
ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยมากในกาลบุรพภาค
เพราะองค์ปฏิจจสมุปบาท มีอวิชชาเป็นต้น
ชื่อว่าธรรมซึ่ง
เป็นอารมณ์แห่งธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอยู่โดยมาก
ซึ่งกล่าวมาทั้งนี้เพื่อจะให้รู้ว่าคำที่กล่าวว่าพระ
ผู้มีพระภาค เกิดในมนุษย์อริยกะทั้งหลาย
ในมัชฌิมประเทศ โดยชาติพระองค์เป็นกษัตริย์
โดยโคตรพระองค์เป็นโคตมโคตร
เป็นบุตรสักยกษัตริย์ออกจากสักยตระกูล บวช
แล้วพระองค์แสวงหากิ่งกุศลค้นคว้าสันติวรบท
ส่วนธรรมรำงับทุกข์อันบวรประเสริฐ
ไม่มีใครยิ่งกว่า พระองค์ได้มละนิวรณ์ ๕ อัน
เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นของทำปัญญา
ให้เสียกำลัง พระองค์มีจิตตั้งเฉพาะในสติปัฏฐานทั้ง ๔
ยังโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้เป็นให้เจริญขึ้นโดยความถ่องแท้
แล้วตรัสรู้สัมมาสัมโพธิธรรม
เป็นเครื่องตรัสรู้ชอบเองประเสริฐไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า

โคนโพธิอัสสัตถพฤกษ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราดังนี้แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 02:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่าพระพุทธเจ้ามีคุณอย่างไร?
แก้ว่าคุณพระพุทธเจ้ามากนักพ้นที่จะร่ำพรรณนา
ได้ ใหญ่หลวงดังพื้นฟ้าอากาศ คนเช่นเรา
จะพรรณนาคุณพระพุทธเจ้านั้นดังนกน้อยบิน
ในอากาศ ไม่อาจพรรณนาให้สิ้นสุดได้ เพราะเหตุนั้น
ปิงคิยพราหมณ์จึงได้กล่าวสรรเสริญพระ
ผู้มีพระภาค แก่พาวรีพราหมณ์ว่า เราหรือ
จะพึงรู้ปัญญาเวยยัติ ความว่องไวแห่งพระปัญญา
ของพระสมณโคดมได้ ผู้ใดจะพึงรู้
ความว่องไวแห่งพระปัญญาพระสมณโคดม ผู้นั้นพึง
เป็นพระสมณโคดม คือจะต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ
ถึงสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้าดังพระสมณโคดม
นั้นจึงจะรู้ได้ ดังคนผู้จะวัดสอบสวนแผ่นดิน
หรืออากาศ ต้องไต่ไม้หรือเชือกประมาณเสมอ
เท่าแผ่นดินและอากาศนั้น จึงจะควรวัดประมาณ
ให้เสมอได้
ด้วยเหตุดังนี้แลจึงว่าคุณพระพุทธเจ้า
ใหญ่หลวงมากนักพ้นที่จะพรรณนา แต่ตัด
ให้สั้นลงก็มีอยู่ ๓ คือปัญญาอย่างหนึ่ง
ความบริสุทธิ์อย่างหนึ่ง พระกรุณาอย่างหนึ่งเท่า
นั้นแล เป็นประธานแห่งคุณทั้งปวง คุณ
ทั้งปวงประชุมลงในคุณทั้ง ๓ นี้สิ้น
ก็แลปัญญานั้น ได้แก่ความรู้เท่าสังขารดังกล่าวมา
แล้ว คือ มรรคญาณซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัพพัญญุตญาณ
กับญาณอันเศษมีจตุเวสารัชชญาณ ทศพลญาณ
อนาวรณญาณเป็นต้น ที่เกิดแต่มรรคญาณ
ให้สำเร็จคุณแก่สัตวโลก คือรู้ว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์
สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่สัตว์ สิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์ประกอบอุบายให้สัตว์มละเสีย สิ่งที่
เป็นประโยชน์ประกอบอุบายให้สัตว์ทำให้เจริญขึ้น
ด้วยอนุศาสนี นี่แลชื่อว่าปัญญา
ความบริสุทธิ์นั้น
ได้แก่มละกิเลสเครื่องหมองของจิตขาดกับทั้งวาสนา
แม้โลกธรรม ๘ มาถึงเฉพาะหน้าไม่ยินดีไม่ยินร้าย
พระหฤทัยใสบริสุทธิ์ นี่แลชื่อว่าความบริสุทธิ์
กรุณานั้นได้แก่ความเอ็นดูปรานีสัตว์ เห็นสัตว์ร้อน
อยู่ด้วยเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสว่ายอยู่ในทะเลใหญ่
คือ สังสารวัฏ จะให้สัตว์ดับเพลิงพ้นจากสังสารวัฏ
ที่มีแก่พระองค์เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
และเมื่อตรัสรู้แล้ว นี่แลชื่อว่ากรุณา
ถ้าแลพระพุทธเจ้ามีแต่พระปัญญาอย่างเดียว
ความบริสุทธิ์และกรุณาไม่มี พระองค์ก็จะ
ไม่สอนสัตวโลก สัตวโลกเช่นเราก็จะ
ไม่รู้กุศลอกุศล ทางสุคติทุคติ และศีล สมาธิ
ปัญญาซึ่งเป็นทางพระนิพพาน หรือมีแต่ปัญญา
กับพระกรุณา หากจะสอนสัตว์บ้าง ก็
จะน้อมไปตามใจรักตามใจชังและตามความเห็น
เทศนาคำสอนก็จะไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่มี
ความบริสุทธิ์ช่วยปัญญาและกรุณา อนึ่ง ถ้ามีแต่
ความบริสุทธิ์กับพระกรุณา พระปัญญา
ไม่มีเล่าไซร้ ก็จะไม่อาจสั่งสอนสัตว์ได้ อนึ่ง
ไม่มีพระกรุณา มีแต่พระปัญญากับความบริสุทธิ์
พระองค์ก็จะไม่คิดสั่งสอนสัตว์ จะเสวยแต่เอกีภาวสุข
อยู่แต่ผู้เดียว หรือดับขันธปรินิพพานเสียโดย
เร็วพลัน สัตว์เช่นเราก็จะ
ไม่รู้จักกุศลอกุศลทางสุคติทุคติ
และทางศีลสมาธิปัญญา ทางพระนิพพาน
พระกรุณาคุณของพระองค์เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
นั้นดังนี้ พระองค์เป็นโพธิสัตว์
อยู่มีอุปนิสัยควรแก่อรหัตผลสาวกบารมีญาณ
แล้วได้ประสบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มีพระทีปังกรเป็นต้น แม้หวังจะพ้นทุกข์แต่ผู้เดียว
รับเทศนาแต่สำนักพระทีปังกรนั้น ก็
จะสำเร็จอรหัตผลสาวกบารมีญาณ
พ้นสังสารทุกข์แต่ตนผู้เดียวได้ หากพระองค์เห็นสัตว์
ทั้งหลายร้อนอยู่ด้วยเพลิงทุกข์มีชาติเป็นต้น
เพลิงกิเลสมีราคะเป็นต้น และว่ายอยู่ในทะเล
ใหญ่คือสังสารวัฏ พระองค์มีความปรานี
จะดับเพลิงทุกข์เพลิงกิเลสแห่งสัตว์อื่นด้วย จะ
ช่วยยกจากทะเลใหญ่ คือสังสารวัฏ
จึงมละอรหัตผลที่ตนจะพึงได้ในสำนักพระพุทธเจ้า
นั้นเสีย น้อมจิตไปเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
แล้วบำเพ็ญบารมีพุทธการกธรรม คือ ทาน ศีล
เนกขัมมะ ปัญญา ขันติ วิริยะ สัจจะ เมตตา อธิษฐาน
อุเบกขา ต้องเสวยทุกข์ในสังสารวัฏ เป็นอเนกทุกข์
ในอเนกชาติ อันนี้ชื่อว่ากรุณาคุณ
กรุณาคุณเป็นเหตุให้สำเร็จปัญญาคุณ
บริสุทธิคุณแก่พระองค์ แล้วเกื้อกูลแก่สัตว์อื่นด้วย
พระกรุณาคุณซึ่งมีแต่พระองค์ตรัสรู้แล้วไป
นั้นเกื้อกูลแก่สัตว์อื่นฝ่ายเดียว และประกาศให้สัตว์
อื่นรู้คุณพระรัตนตรัย เพราะเหตุนั้น จึงว่าคุณ ๓
ประการนี้ เป็นประธานแห่งคุณทั้งปวง คุณ
อื่นประชุมลงในคุณทั้ง ๓ นี้สิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 02:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกเป็นคุณแก่โลก
ด้วยพระองค์ถึงพร้อมด้วยสัมปทา ๓ คือ เหตุสัมปทา
ผลสัมปทา สัตตูปการสัมปทา
เหตุสัมปทาที่ต้นมีเท่าไร? มี ๒ คือ มหากรุณาสมาโยค
โพธิสัมภารสัมภรณะ
มหากรุณาสมาโยคอย่างไร?
ความที่พระองค์ประกอบพร้อม
ด้วยกรุณาปรานีสัตว์อันใหญ่หลวง
ซึ่งมีมาแต่บาททูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามทีปังกร
นั้น มายั่งยืนในสันดานไม่คืนคลายทุกภพมาจน
ถึงปัจจุบันชาตินี้ นี่แลชื่อว่ามหากรุณาสมาโยค
โพธิสัมภารสัมภรณะนั้นอย่างไร? ความที่
พระองค์เพิ่มพูนโพธิสมภารบารมีพุทธการกธรรม
คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ที่สัตว์อื่นยากจะกระทำ
ได้สิ้นกาลนาน นับด้วยโกฏิแห่งกัปเป็นอันมากนั้น
นี่แลชื่อว่าโพธิสัมภารสัมภรณะ ๒ สัมปทานี้
เป็นคุณอันถึงพร้อมแห่งพระองค์เป็นเหตุเบื้องต้น
ให้สำเร็จผลสัมปทา สัตตูปการสัมปทาเบื้องปลาย
จึงชื่อว่าเหตุสัมปทา
ผลสัมปทามีเท่าไร? มี ๔ คือ ญาณสัมปทา
ปหานสัมปทา อานุภาวสัมปทา รูปกายสัมปทา
ญาณสัมปทานั้นอย่างไร? มัคคญาณ พระปัญญา
ความรู้เท่าสังขารในมรรคทั้ง ๔ ซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งสัพพัญญุตญาณ และญาณอื่น
มีทศพลญาณ และอนาวรณญาณ จตุเวสารัชญาณ
เป็นต้น ซึ่งให้สำเร็จตามความสามารถ
ในไญยธรรมทั้งปวงโดยสะดวก
และประกอบอุบายเทศนาสอนสัตว์
ไม่ขัดขวางครั่นคร้าม
พระญาณเหล่านี้ชื่อว่าญาณสัมปทา
ปหานสัมปทานั้นอย่างไร?
ความที่พระองค์มละกิเลสกับทั้งวาสนาขาดได้โดย
ส่วนอันเดียว ไม่ให้เกิดขึ้นได้อีกเป็นธรรมดา
นี่แหละชื่อว่าปหานสัมปทา
อานุภาวสัมปทานั้นอย่างไร? ความที่พระองค์
เป็นอธิบดี เป็นใหญ่ในที่จะให้
ความประสงค์สำเร็จตามความปรารถนา
คือพระองค์เป็นอิสระในจิตจะแสดงฤทธิ์ประการใด
ได้ตามประสงค์ทุกประการ
ดังนี้ชื่อว่าอานุภาวสัมปทา
รูปกายสัมปทานั้นอย่างไร?
ความที่พระองค์บริบูรณ์ด้วยพระกายอันประกอบ
ด้วยทวัตติงสมหาปุริสลักขณะ
และอสีตยานุพยัญชนะอันควร
เป็นนัยนาภิเษกโสรจสรงจักษุแห่งสัตวโลกทั้งปวง
อันนี้ชื่อว่ารูปกายสัมปทา ๔ สัมปทานี้เป็นคุณ
ถึงพร้อมแห่งพระองค์สำเร็จมาแต่เหตุสัมปทา
จึงชื่อว่าผลสัมปทา
สัตตูปการสัมปทานั้นมีเท่าไร? มี ๒ คืออาสยะ
และปโยคะ
อาสยะนั้นอย่างไร?
ความที่พระองค์มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา
หวังประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์
แม้สัตว์ที่ทำผิดดังเทวทัตเป็นต้น
พระองค์ก็ทรงพระกรุณา นี่อย่างหนึ่ง อนึ่ง
ความที่พระองค์เห็นสัตว์อื่นมีปัญญินทรีย์ยัง
ไม่แก่รอบ พระองค์ทรงคอยท่ากาล
อยู่กว่าอินทรีย์แห่งสัตว์จะแก่ควรแก่ตรัสรู้นั้น ๑
สองนี้ชื่ออาสยะ
ปโยคะนั้นอย่างไร?
ความที่พระองค์มีพระหฤทัยบริสุทธิ์
ไม่เพ่งแก่อามิสมีลาภสักการะเป็นต้น
ทรงแสดงธรรมด้วยญาณไตรมุข คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา อันเป็นทางพระนิพพาน ทรงเปิดเผยจำแนก
ซึ่งธรรมนั้น ๆ กระทำให้ตื้นขึ้นให้สัตว์
อื่นที่มีอุปนิสัยตรัสรู้ตาม
บรรลุโลกุตรผลนำตนพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
อันนี้ชื่อว่าปโยคะ
อาสยะและปโยคะทั้งสองนี้ เป็นคุณ
ถึงพร้อมแห่งพระองค์ เป็นอุปการะเกื้อกูลแก่สัตว์
อื่นถ่ายเดียว จึงชื่อว่าสัตตูปการสัมปทา
นี่แลพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกเป็นคุณแก่โลก
ด้วยพระองค์พร้อมด้วยสัมปทา ๓ ดังกล่าวมานี่แล
อนึ่ง อรหัตตาธิคุณแห่งพระพุทธเจ้าผู้บังเกิดขึ้นแล้ว
ในโลก เป็นคุณใหญ่เล่าลืออยู่
ในโลกปรากฏแก่เทพยดาและมนุษย์มากกว่าคุณ
ทั้งปวง เพราะเหตุนั้น ในบุพพสิกขาจึงได้ว่า
ก็แลเกียรติศัพท์อันงามแห่งพระผู้มีพระภาคนั้น ไป
ในเบื้องบน ยิ่งฟุ้งไปดังนี้ว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ ฯลฯ
ภควาติ ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 02:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.............. บัดนี้จะแปลอธิบายในบทว่า อรหํ เป็นต้น
ท่านประกอบบทไว้
เป็นอนุสรณนัยอย่างสำหรับตามระลึก
ซึ่งคุณแห่งพระพุทธเจ้าดังนี้ว่า โส ภควา อิติปิ อรหํ
ฯลฯ โส ภควา อิติปิ ภควา แปลว่า โส ภควา พระ
ผู้มีพระภาคนั้น อรหํ ชื่อว่า อรหํ อิติปิ แม้
เพราะเหตุดังนี้ แปลอย่างนี้ไปทุกบท จนถึงบทว่า โส
ภควา อิติปิ ภควา อธิบายว่า โส ภควา พระ
ผู้มีพระภาคนั้น อรหํ ชื่อว่า อรหํ เพราะเป็นผู้ไกล
จากกิเลสอย่างหนึ่ง เพราะเป็นผู้ควรอย่างหนึ่ง
แท้จริงพระผู้มีพระภาคนั้น ตั้งอยู่แล้วในที่ไกล
ด้วยดียิ่งนักจากกิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอรหํ ผู้ไกลจากกิเลส
กิเลสนั้น แปลว่า เครื่องหมองใจ ได้แก่ ความโกรธ
ความโลภ ความหลง และมายา สาไถย เป็นต้น
ที่เกิดขึ้นแล้ว ทำน้ำจิตให้เศร้าหมองขุ่นมัว
เป็นอกุศลจิต ซึ่งว่าพระองค์ไกลกิเลสนั้น
ใช่ว่ากิเลสจะกลัวพระองค์หนีไปอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง
หรือพระองค์หนีกิเลสมานั้นก็หาไม่ เพราะกิเลส
เป็นอรูปธรรมไม่มีรูปไม่มีตัว ซึ่งว่าพระองค์
ไกลกิเลสนั้น คือไม่มีกิเลสเครื่องหมองใจ
ในสันดาน เพราะสรรพกิเลสกับทั้งวาสนา
พระองค์มละเสียแล้วด้วยมรรคญาณนั้น ๆ
ก็วาสนานั้นแปลว่า ปรกติอันกิเลสอบรมอยู่
ได้แก่อาการแห่งกายวาจาของพระขีณาสพ ผู้
ไม่มีกิเลสเหมือนอาการของคนมีกิเลส
วาสนานี้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าจำพวกเดียวมละ
ได้ขาดพร้อมกับกิเลสด้วยอรหัตมรรค
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ซึ่ง
เป็นสาวกมละวาสนาไม่ได้ มละ
ได้แต่กิเลสอย่างเดียว เพราะเหตุนั้น
พระสารีบุตรผู้อัครสาวก ในภพก่อนท่านเคยเกิด
ในกำเนิดวานร วาสนาอาการแห่งวานรติดมา แม้
เป็นองค์อรหันต์แล้ว เมื่อเวลาดำเนิน
ถึงที่ลุ่มบ่อท่านก็โดดโลดดังวานร อนึ่ง
พระปิลินทวัจฉเถระ เมื่อท่านเป็นปุถุชนอยู่
นั้นมักกล่าวว่า วสลิ ๆ เป็นคำหยาบโดยนิยม
ในมคธภาษา แม้ท่านเป็นอรหันตขีณาสพแล้ว ท่านก็
ยังกล่าวอยู่ว่า วสลิ ๆ
เพราะวาสนาพระอรหันตสาวกละไม่ได้
เพราะเหตุนั้น ความมละกิเลสแห่งพระพุทธเจ้า
ไม่สาธารณ์ทั่วไปแก่พระปัจเจกพุทธะ
และพระอรหันตสาวก
พระผู้มีพระภาคเพราะไกลจากกิเลสอย่างนี้
พระองค์มีพระหฤทัยอันบริสุทธิ์ใสสะอาด
ไม่หวาดหวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง ๘ ลาภและมิ
ใช่ลาภ ยศและมิใช่ยศ นินทา ปสังสา สุขทุกข์มา
ถึงเฉพาะพระองค์ พระองค์
ไม่อนุโรธพิโรธยินดียินร้าย ย่อมเพิกเฉยประกอบ
ด้วยฉฬังคุเบกขา แม้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ดีร้ายใด ๆ มากระทบจักขุ โสตะ
ฆานะ ชิวหา กาย มโนทวาร พระองค์ไม่โสมนัสโทมนัส
ย่อมเพ่งโดยอุบัติด้วยญาณุเบกขา
อนึ่ง พระองค์มีพระหฤทัยดังแผ่นดิน
แม้พระกายข้างหนึ่งทา
ด้วยจุณจันทน์สุคนธชาติของหอม พระกายข้างหนึ่งทา
ด้วยทุคนธชาติของเหม็นไม่สะอาด พระองค์
ไม่ยินดียินร้ายในสุคนธชาติ และทุคนธชาตินั้น
มีพระหฤทัยอันสม่ำเสมอดังนี้ เพราะพระองค์ไกล
จากกิเลส,
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่า อรหํ เพราะเป็น
ผู้ควรแท้จริง พระผู้มีพระภาคนั้นพระองค์ควร
จะบัญญัติซึ่งสิกขาบทแก่สาวก
และแสดงธรรมแก่สัตวโลก เพราะพระองค์เป็น
ผู้ไกลจากกิเลสแล้ว ไม่กระทำการบัญญัติ
ซึ่งสิกขาบทและแสดงธรรมตามอำนาจกิเลส
กระทำสิ่งที่เป็นธรรมและวินัยเป็นเบื้องหน้า
แล้วทรงบัญญัติซึ่งสิกขาบทและแสดงธรรม,
อนึ่ง พระองค์ควรในลาภยศและ
ความสรรเสริญความสุข เพราะพระองค์ไม่มี
ความยินดี,
อนึ่ง พระองค์ควรจะรับปัจจัยทั้ง ๔ มีจีวรเป็นต้น
และบูชาพิเศษ อันเทพยดามนุษย์ทั้งหลายกระทำ
เพราะพระองค์เป็นยอดทักขิเณยยบุคคล
กระทำผลแห่งการทาน บูชาให้ไพบูลย์พิเศษขึ้น
เพราะเหตุพระองค์เป็นผู้ควรการบูชาพิเศษนั้น
เมื่อพระองค์เกิดขึ้นแล้วในโลก เทพยดามนุษย์
ทั้งหลายผู้มีปัญญา จึงได้บูชาพระองค์ด้วยปัจจัย ๔
และเครื่องสักการบูชาวิเศษต่าง ๆ
จนพระองค์ดับขันธปรินิพพานแล้ว โลกก็ยัง
ได้ทำการบูชาพระองค์ถึงทุกวันนี้ เพราะเหตุนี้จึงว่า
พระองค์เป็นผู้ควร
ในบุพพสิกขาแปลบท อรหํ ว่าผู้ควรก่อนนั้น
ตามศัพทรูปแล้ว แปลว่าผู้ไกลกิเลสไว้เบื้องหน้า
ในที่นี้แปลว่าผู้ไกลกิเลสก่อน ตามนัยในบาลี เพื่อ
จะแสดงว่าผู้ควรนั้น เพราะไกลจากกิเลส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 02:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ นั้น
เพราะพระองค์เป็นผู้ตรัสรู้ คือ รู้เท่าซึ่งธรรม
ทั้งปวงเองชอบ อธิบายทั้งปวง
ให้นักปราชญ์พึงรู้ดังบทว่า พุทโธ ดังกล่าวแล้ว
ในบทก่อน แปลกแต่ที่นี้ มีบทว่า สัมมา ว่าธรรม
ทั้งปวงแทนสังขารทั้งปวงเท่านั้น สัมมา แปลว่า ชอบ
แสดงว่า ความตรัสรู้ของพระองค์ชอบแท้ไม่วิปริต
และบรรเทากิเลสาสวะได้ คำว่า สัม แปลว่า
ลำพังตัวเองนั้น
แสดงว่าพระองค์ตรัสรู้เองแต่ลำพัง ไม่มีผู้ใด
ในไตรภพเป็นครูสอน ก็ธรรม
ทั้งปวงที่พระองค์ตรัสรู้นั้น คือ อายตนะ
วิญญาณกาย ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา ตัณหากาย
วิตก วิจาร สิ่งละหก ๆ ขันธ์ ๕ กสิณ ๑๐ อนุสสติ ๑๐
สัญญา ๑๐ อาการมีผมขนเป็นต้น อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘
ภพ ๘ ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔
องค์ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้น มีชรามรณะ
เป็นที่สุด โดยอนุโลมปฏิโลม เหล่านี้ชื่อว่าธรรม
ทั้งปวง แทนสังขารทั้งปวง
พระองค์รู้เท่าธรรมทั้งปวงนี้ คือว่า
เป็นอภิญเญยธรรมจะพึงรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จะพึงรู้ยิ่งอย่างไร ส่วนธรรมที่เป็นปริญเญยยะ
จะพึงกำหนดรู้ คือ ทุกข์ ก็กำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์
ส่วนธรรมที่เป็นปหาตัพพะจะพึงมละได้
คือสมุทัยก็มละได้ ส่วนธรรมที่เป็นสัจฉิกาตัพพะ
จะพึงกระทำให้แจ้งประจักษ์ คือนิโรธ ก็กระทำ
ให้แจ้งประจักษ์ได้ ส่วนธรรมที่เป็นภาเวตัพพะจะพึง
ให้มีให้เจริญขึ้น คือ มรรคก็ให้มีให้เจริญขึ้นได้
อย่างนี้แลชื่อว่ารู้ยิ่ง
จะประกอบในอายตนะอันเดียวคือ จักขุ พอ
เป็นนิทัศนะตัวอย่าง จักขุนี้เป็นของจะพึงกำหนดให้รู้ว่า
เป็นทุกข์ เพราะไม่เที่ยง เพราะไม่ใช่ตน จึงเป็นทุกข์
ตัณหาในภพก่อนซึ่งเกิดจักขุมานั้น เป็นสมุทัยเหตุ
ให้เกิดทุกข์ ตัณหานี้เป็นของจะพึงมละได้ ความไม่
เป็นไปแห่งทุกข์และสมุทัยนั้น ชื่อว่านิโรธ นิโรธนี้
เป็นของจะพึงกระทำให้แจ้งประจักษ์ได้
ความรู้ทุกข์สมุทัยนิโรธ นั้นชื่อว่ามรรค มรรคนี้
จะพึงให้มีให้เจริญขึ้นได้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้ารู้อย่างนี้แลชื่อว่ารู้ชอบ ไม่มีผู้
ใดสอนพระองค์ พระองค์รู้เอง เพราะเหตุนั้น
จึงทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทโธ ผู้รู้เท่าซึ่งธรรม
ทั้งปวงลำพังตัว ให้นักปราชญพึงประกอบ
ในอายตนะนอกนั้น และธรรมอันเศษดังนี้ทุก ๆ
บทเถิด
ก็แลบทว่า อรหํ นั้น สำเร็จด้วยปหานะ
การมละกิเลส บทว่าสัมมาสัมพุทโธนั้น สำเร็จ
ด้วยภาวนา ความทำปัญญาให้เจริญขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 03:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า วิชชาจรณสัมปันโน นั้น เพราะพระองค์ถึงพร้อม แล้วบริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ๓ อย่างหนึ่ง ๘ อย่างหนึ่ง, ๓ นั้น คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาตามระลึก ซึ่งขันธ์ที่ตนและสัตว์อื่นอยู่แล้วในภพก่อน ๑ จุตูปปาตญาณ ปัญญารู้เห็นจุติปฏิสนธิแห่งสัตว์ ๑ อาสวักขยญาณ ปัญญาตามรู้ในธรรม เป็นเครื่องสิ้นอาสวะ ๑ ๓ นี้ชื่อว่าวิชชา เพราะเป็น ความรู้แจ้งแทงตลอดล่วงรู้ วิชชา ๓ นี้ ได้กล่าวพิสดารแล้วในเบื้องหลัง วิชชา ๘ นั้น คือ วิปัสสนาญาณ ปัญญาเห็นกายนี้สักว่า เป็นธาตุ ๔ มีวิญญาณอาศัยอยู่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ๑ มโนมยิทธิ อิทธิสำเร็จด้วยใจ คือ ความนิฤมิตซึ่งรูป อื่นออกจากกายนี้ดังชักไส้หญ้าปล้อง ๑ อิทธิวิธี ส่วนฤทธิ์สำเร็จด้วยอธิษฐาน คือคนเดียวอธิษฐานให้ เป็นคนมาก คนมากอธิษฐานให้เป็นคนเดียวเป็นต้น ๑ ทิพพโสตธาตุ โสตทิพย์ได้ยินเสียงมนุษย์ และเสียงทิพย์ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ๑ เจโตปริยญาณ รู้กำหนดจิตแห่งผู้อื่น รู้ว่าจิตประกอบด้วยราคะ และปราศจากราคะ เป็นต้น ๑ กับวิชชา ๓ ดังกล่าวแล้วนั้นจึงเป็น ๘ นี้ชื่อว่าวิชชาเพราะเป็นความรู้วิเศษรู้ต่าง ๆ รู้แจ้งแทงตลอด วิชชา ๘ นี้มีที่มาน้อย วิชชา ๓ นั้นมีที่มามาก, จรณะมี ๑๕ คือ สีลสังวร ศีล คือ ความสำรวมกายวาจา ๑ อินทรียสังวร ความสำรวม ในอินทรีย์ทั้ง ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น มิ ให้อวิชชาโทมนัสบาปธรรมเกิดขึ้นได้ ๑ โภชเนมัตตัญญุตา ความรู้ประมาณในโภชนะ ๑ ชาคริยานุโยค ความประกอบตามซึ่งความเพียร เป็นของแห่งคนผู้ตื่นอยู่ ๑, กับสัปปุริสธรรม ๗ คือ ศรัทธา ความเชื่อ หิริ ความละอาย เพราะทุจริตบาปธรรม โอตตัปปะ ความสะดุ้ง ด้วยทุจริตบาปธรรม พาหุสัจจะ ความเป็นพหูสูต วิริยะ ความเพียร สติ ความระลึก ปัญญา ความรู้ ทั่วถึง, กับฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ธรรมมีประเภท ๑๕ นี้ชื่อว่าจรณะ เพราะเป็นธรรมสำหรับที่บุคคล จะสัญจรดำเนินไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป คือพระนิพพาน วิชชา ๓ และ ๘ ก็ดี และจรณะ ๑๕ นี้ ย่อมมีพร้อมบริบูรณ์ไม่บกพร่องในพระ ผู้มีพระภาค เพราะเหตุนั้นจึงทรงพระนามชื่อว่า วิชชาจรณสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ วิชชาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยวิชชาแห่งพระ ผู้มีพระภาคนั้น ย่อมกระทำสัพพัญญุตา ความเป็นผู้รู้ ซึ่งสรรพเญยยธรรมทั้งปวง ไม่ขัดข้อง ให้บริบูรณ์ดำรงอยู่ จรณสัมปทา ความที่พระองค์ถึงพร้อมด้วยจรณะ ย่อมกระทำมหาการุณิกตา ความที่พระองค์มีกรุณาอันใหญ่หลวง ให้บริบูรณ์ดำรงอยู่ พระองค์นั้นย่อมรู้ซึ่งสิ่งที่ เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์แห่งสรรพสัตว์ ด้วยสัพพัญญุตา และเว้นเสียซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ประกอบสัตว์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ด้วยมหาการุณิกตา ความกรุณาอันใหญ่หลวง ทั้งนี้ เพราะพระองค์ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา และจรณะ เพราะเหตุนั้นสาวกของพระองค์จึง เป็นสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติแล้วดี ไม่เป็นทุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติแล้วชั่ว ดังสาวกแห่งครูผู้วิบัติจากวิชชา และจรณะ เป็นอัตตันตัปปะ ผู้ยังตน ให้เร่าร้อนเปล่าเป็นต้น,


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 03:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า สุคโต นั้น
เพราะพระองค์ไปแล้วสู่ที่อันดี คือพระนิพพาน อัน
เป็นอมฤตยสถาน
อนึ่ง พระองค์ทรงพระนามว่า สุคโต
เพราะพระองค์ไปแล้วชอบแท้จริง กิเลสใด
ซึ่งพระองค์มละแล้วด้วยโสดาปัตติมรรค
พระองค์ไม่คืนมาสู่กิเลสนั้นอีก กิเลสใด ๆ
ที่พระองค์มละแล้วด้วยสกทาคามิมรรค
และอนาคามิมรรค หรืออรหัตมรรคก็ดี
พระองค์ไม่กลับคืนมาสู่กิเลสนั้น ๆ อีก เพราะเหตุ
นั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า สุคโต ผู้ไปแล้วชอบ
อนึ่ง สุคโต แปลว่าเป็นผู้ไปแล้วดี แท้จริงพระ
ผู้มีพระภาคไปเสียแล้วจากธรรมเหล่าใด
ธรรมเหล่านั้นไม่คืนมาสู่พระองค์ได้อีก
เมื่อพระองค์ถึงแล้วซึ่งที่อันใด ที่อันนั้นไม่กำเริบ
ธรรมที่พระองค์ไปจากเสียนั้น คือ
กิเลสที่พระองค์มละแล้วด้วยมรรคนั้น ๆ กิเลส
นั้นไม่กลับคืนมาบังเกิดในพระหฤทัยได้อีก ที่พระองค์
ถึงแล้วนั้น คือพระนิพพาน นิพพานอัน
เป็นอกุปปธรรมไม่กำเริบกลับคืน
สราคาทิธรรมที่กอบด้วยราคะและกลับคืน
เป็นชาติธรรมชราธรรมเป็นต้น พระองค์ไปเสีย
จากกิเลส ถึงแล้วซึ่งพระนิพพาน ด้วยเหตุนั้น
จึงทรงพระนามชื่อว่า สุคโต ผู้ไปแล้วดี,


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 03:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคทรงพระนามชื่อว่า โลกวิทู นั้น
เพราะพระองค์เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลกด้วยประการ
ทั้งปวง แท้จริง พระผู้มีพระภาค
นั้นรู้แจ้งแทงตลอดแล้วซึ่งขันธาทิโลก โดยสภาพ
ความเป็นของตนแห่งโลกคือทุกข์ และรู้โดยสมุทัย
เหตุเป็นแดนเกิดแห่งโลกคือตัณหา และรู้โดยนิโรธ
ธรรมเป็นที่ดับแห่งโลกและสมุทัย คือพระนิพพาน
และรู้โดยนิโรธุบาย ธรรมเป็นอุบายใน
ความดับโลก คือมรรค
พระองค์รู้ด้วยประการทั้งปวงดังนี้ เพราะเหตุนั้น
พระองค์ได้ตรัสแก่โรหิตัสสะเทวบุตรไว้ว่า
ในที่สุดโลกใด สัตว์ย่อมไม่เกิดไม่แก่ไม่ตายย่อม
ไม่เคลื่อนไม่เข้าถึง เราตถาคตย่อมไม่กล่าว
ซึ่งที่สุดโลกนั้นว่าเป็นที่อันบุคคลจะพึงรู้ พึงเห็น พึง
ถึงได้ ด้วยการไปโดยปรกติ มีไปด้วยเท้าเป็นต้น
ก็แลเราตถาคตย่อมไม่กล่าวว่า ยังไม่ถึง
ซึ่งที่สุดแห่งโลกและกระทำซึ่งที่สุดแห่งโลกได้
ก็แต่เราตถาคตย่อมบัญญัติซึ่งโลกและโลกสมุทัย
เหตุเป็นแดนเกิดแห่งโลก และโลกิยนิโรธที่
เป็นที่ดับโลกิยะ เป็นที่สุดโลกิยะ
และโลกิยนิโรธคามินีปฏิปทา มรรคดำเนินไป
ถึงที่ดับโลก ๔ นี้
ในกเฬวรสรีรกายยาวประมาณวาหนึ่ง ประกอบ
ด้วยสัญญานี้ และใช่จะบัญญัติในที่ ๆ อื่นก็หาไม่ พระ
ผู้มีพระภาครู้โลกด้วยประการทั้งปวงดังนี้
เพราะเหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า โลกวิทูผู้รู้แจ้ง
ซึ่งโลก นัยอันนี้ในสังขารโลก
อนึ่ง แม้ถึงสัตวโลก พระผู้มีพระภาคก็ย่อมรู้แจ้ง
รู้แจ้งอย่างไร? พระองค์รู้แจ้งดังนี้ว่า สัตวโลก คือ
เทพยดามนุษย์จำพวกนี้มีอาสยธรรมเป็นที่มานอน
อยู่แห่งจิตดังนี้ คือ บางพวกเป็นสัสสตาสยะ บางพวก
เป็นอุจเฉทาสยะ บางพวกเป็นอนุโลมิกขันตยาสยะ
บางพวกเป็นยถาภูตญาณาสยะ
และรู้ว่าสัตวโลกจำพวกนี้ มีอนุสัย คือ กิเลสนอน
อยู่ในสันดาน ดังนี้ คือ เป็นราคานุสัยเป็นต้น
และรู้ว่าสัตว์จำพวกนี้ประกอบด้วยสุจริต
และทุจริต หรือจริตทั้ง ๖ แห่งสัตว์ก็ดี
และรู้ว่าสัตว์ผู้นี้มีอธิมุติ คือ อัชฌาสัยต่ำช้า
และประณีตดังนี้ก็ดี และรู้ว่าสัตว์ผู้นี้มีอินทรีย์ คือ
ศรัทธาเป็นต้นอันคมกล้า ผู้นี้มีอินทรีย์อันอ่อนทราม
ผู้นี้มีอาการอันดี คือเป็นวิวัฏฏาสยะ ผู้นี้มีอาการอันชั่ว
คือเป็นวัฏฏาสยะ ผู้นี้จะพึงให้รู้ได้ด้วยง่าย
เพราะมีศรัทธาและปัญญา ผู้นี้จะพึงให้รู้ได้
ด้วยยากเพราะไม่มีศรัทธาและปัญญา ผู้นี้
เป็นภัพพสัตว์ ควรจะตรัสรู้เพราะปราศ
จากอาวรณธรรมเครื่องกั้น คือกรรม
และกิเลสและวิบาก ผู้นี้เป็นอภัพพสัตว์
เพราะประกอบด้วยอาวรณธรรมมีกรรม
เป็นต้น พระองค์รู้แจ้งซึ่งสัตวโลกดังนี้แล
จึงทรงพระนามชื่อว่าโลกวิทู ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก
อนึ่ง โลกโดยประเภทมี ๓ คือ สังขารโลก
ได้แก่นามรูปเป็นต้น ๑ สัตวโลก ได้แก่เทพยดามนุษย์
เป็นต้น ๑ โอกาสโลก คือ แผ่นดินอากาศเป็นต้น ๑
พระผู้มีพระภาคย่อมรู้โลกทั้ง ๓ นี้ว่า
เป็นปลุชนธรรมมีความหลุดทลายหักพังไม่ยั่งยืน
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระองค์
จึงทรงพระนามว่า โลกวิทู ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 04:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า อนุตตโร นั้น
เพราะไม่มีผู้ใดในไตรภพยิ่งกว่าพระองค์ด้วยคุณ
แท้จริง พระผู้มีพระภาคนั้น ครอบงำเสียซึ่งโลก
ทั้งปวงด้วยคุณทั้งปวง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนะ และพระองค์ไม่มีผู้เสมอ
พระองค์ย่อมเสมอด้วยพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้ใดเสมอ
พระองค์ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีบุคคลผู้เปรียบตอบ
ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระองค์
จึงทรงพระนามว่า อนุตตโร เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า
ให้บัณฑิตพึงสาธกด้วยอัคคัปปสาทสูตรเป็นต้น,
พระนามว่า ปุริสทัมมาสารถี นั้น แปลว่าพระองค์
เป็นผู้ทรมานซึ่งบุรุษที่ควรทรมาน, แท้จริง พระ
ผู้มีพระภาคนั้น ย่อมทรมานซึ่งเทพยดา มนุษย์
และอมนุษย์ ซึ่งเป็นบุรุษควรทรมานนั้น
ด้วยวินัยอุบายอันวิจิตรต่าง ๆ คือ สัตว์จำพวก
ใดชอบคำละเอียดไพเราะ พระองค์ก็ทรงทรมาน
ด้วยคำละเอียด คือแสดงสุจริต ๓ มีกายสุจริต
เป็นต้น ๑ และแสดงผลแห่งสุจริต ชื่อว่า
เป็นคำละเอียดให้สัตว์นั้นยินดีประพฤติ, สัตว์จำพวก
ใดชอบคำหยาบ พระองค์ก็ทรงทรมานด้วยคำหยาบ
คือประกาศทุจริต ๓ และผลแห่งทุจริตนั้น
ให้สัตว์เกลียดกลัวมละเสีย สัตว์จำพวกใดชอบ
ทั้งคำละเอียดคำหยาบ พระองค์ก็ทรงทรมาน
ด้วยคำทั้งละเอียดทั้งหยาบ คือ ทรงชี้แจง
ซึ่งสุจริตทุจริต และผลแห่งสุจริตทุจริตนั้น
ให้สัตว์มละเสียซึ่งพยศอันร้ายคือทุจริต ตั้งอยู่
ในกุศลสุจริต สัตว์จำพวกใด
ไม่รับวินัยอุบายวิธีทรมานอันวิจิตรของพระองค์ดังนี้
สัตว์จำพวกนั้นชื่อว่า อปุริสทัมโม มิ
ใช่บุรุษควรทรมาน บุรุษไม่ควรทรมาน
พระองค์ไม่ทรงทรมานบุรุษจำพวกนั้น ๆ
ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคฆ่าเสียแล้ว ด้วย
ไม่ทรงทรมานสั่งสอน บุรุษนั้นชื่อว่าตาย
จากกุศลธรรม และความสุขในโลกทั้ง ๒
พระผู้มีพระภาคฉลาดในการทรมานสัตวโลก
ดังนายหัตถาจารย์อัสสาจารย์ ควาญช้าง ควาญม้า
ผู้ฉลาดทรมานซึ่งคชสารและอัสดรซึ่ง
เป็นสัตว์ควรทรมาน ให้มละพยศอันร้ายดังนี้
พระองค์จึงทรงพระนามว่า ปุริสทัมมสารถี
สองนี้เป็นพระนามเดียวกัน แปลว่าพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ทรมานซึ่งบุรุษที่ควรทรมานไม่มีใครยิ่งกว่า
แท้จริง เหมือนอย่าง คชสาร และอัสดร
นายหัตถาจารย์ อัสสาจารย์ ควาญ
ผู้ฉลาดทรมานคล่องแคล่วแล้วด้วยดี
นายควาญประสงค์จะให้แล่นไปในทิศใด ก็แล่นไป
ได้ยังทิศนั้นอย่างเดียวในวารหนึ่ง ส่วนบุรุษที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงทรมานแล้วนั้น แม้นั่งอยู่
ด้วยบัลลังก์อันเดียวก็ย่อมแล่นไปได้สู่ทิศทั้ง ๘ คือ
สมาบัติ ๘ เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า
อนุตตโร ปุริสทัมมสารถี
อนึ่งพระองค์ทรงทรมานเทพยดา มนุษย์ ซึ่ง
เป็นบุรุษควรทรมาน ด้วยอนุศาสนีปาฏิหาริย์
เป็นกระบวนทรมานไม่กดขี่ข่มเหงด้วยอาชญา
ให้สัตว์เสวยทุกขเวทนา ดังควาญช้างควาญม้า
และคนที่เป็นอิศราธิบดี ทรมานซึ่งคชสาร
และอัสดรและชนอยู่ในอำนาจแห่งตนด้วยคำด่า
และอาชญา คือ จองจำและประหาร
ด้วยเครื่องประหารต่าง ๆ
แม้พระองค์ทรงทรมานสัตว์บางพวก
ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์บ้าง ก็
เป็นกระบวนข่มขี่ให้สิ้นพยศอันดุร้าย
มานะดื้อกระด้างเสียก่อน แล้วก็ทรงทรมาน
ด้วยอนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือ ประทานเทศนาคำสอน
ให้สัตว์ปฏิบัติตาม มละพยศอันร้าย คือ
ทุจริตสังกิเลสธรรมด้วยมรรคภาวนานั้น ๆ สัตว์
นั้นไม่กลับคืนกอบด้วยทุจริตสังกิเลสธรรมซึ่ง
เป็นพยศอันร้ายอีก ดังคชสารและอัสดร
นายควาญทรมานแล้ว
และกลับคืนมีพยศอันร้ายอีกบ้างในกาลบางที
เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า
อนุตตโร ปุริสทัมมสารถี ผู้ทรมาน
ซึ่งบุรุษที่ควรทรมานไม่มีใครยิ่งกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 04:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนามว่า สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย
แท้จริงพระผู้มีพระภาคย่อมสอนด้วยประโยชน์ ๓
คือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นประโยชน์
ในทิฏฐธรรมปัจจุบันนี้
และสัมปรายิกัตถะประโยชน์ในภพหน้า
และปรมัตถประโยชน์ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
คือพระนิพพาน ตามควรแก่อัธยาศัยแห่งเวไนยสัตว์
พระองค์สอนด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์นั้น
ดังพระองค์สอนทีฆชาณุโกฬิยบุตร
และอุชยพราหมณ์ด้วยสัมปทา ๔ คือ อุฏฐานสัมปทา
ความหมั่นประกอบกิจแสวงหาทรัพย์
และอารักขสัมปทา ความฉลาดป้อง
กันรักษาทรัพย์ มิให้ฉิบหายด้วยอันตราย
และสมชีวิตา ความเลี้ยงชีพ
ใช้ทรัพย์พอควรแก่กำลังทรัพย์ที่มีมากและน้อย
และกัลยาณมิตตตา ความเป็น
ผู้เสพกัลยาณมิตรดังนี้ก็ดี และทรงชี้
ให้รู้จักอบายมุขประตูที่จะให้เสื่อมทรัพย์ ๔
และทรงชี้แจงแจกอบายมุข
ให้สิงคาลมาณพคฤหบดีบุตรรู้จักเพื่อมละเว้นเสียดังนี้
ชื่อว่าสอนด้วยทิษฐธัมมิกัตถประโยชน์
และพระองค์สอนด้วยสัมปรายิกัตถประโยชน์นั้น
ดังสอนทีฆชาณุโกฬิยบุตรเป็นต้นนั้น ด้วยสัมปทา ๔
คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญาสัมปทาฯ
อนึ่งพระองค์ทรงแสดงเมตเตยยตา เปตตเตยยตา
สามัญญตา พรหมัญญตา อปจายนะ
และแสดงญาติสังคหะ ปุตตทวารสังคหะ
และบุญญกิริยาวัตถุ ๓ ทุจริตปหานะ
สุจริตสมาทานเป็นต้น
โดยนัยอันวิจิตรพลิกแพลงยักย้ายต่าง ๆ ซึ่งมีมา
ในสุตตันตประเทศนั้น ๆ ดังนี้ ชื่อว่าสอน
ด้วยสัมปรายิกัตถประโยชน์
พระองค์ทรงแสดงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
และแสดงปฏิปทาต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปการแก่ไตรสิกขา
ซึ่งเป็นทางที่สัตว์จะดำเนินถึงพระนิพพาน
เป็นที่เกษมสถานสิ้นทุกข์ โดยอเนกนัยวิจิตรต่าง ๆ
ซึ่งมีมาในคัมภีร์ปริยัติธรรมดังนี้นั้น
ชื่อว่าทรงสอนด้วยปรมัตถประโยชน์
เพราะพระองค์สอนด้วยประโยชน์ ๓ ดังนี้
จึงมีพระนามว่า สัตถา เทวมนุสสานัง
ก็แลพระองค์ทรงสอนด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
และสัมปรายิกัตถประโยชน์นั้น
ไม่มหัศจรรย์ยิ่งนัก ด้วยครูอื่นบางเหล่าอาจแสดง
ได้บ้างโดยเอกเทศ ซึ่งพระองค์ทรงสอน
ด้วยทางปรมัตถประโยชน์นั้น เป็นมหัศจรรย์
ใหญ่ยิ่งนัก ด้วยครูอื่นไม่อาจแสดงได้แม้โดยเอกเทศ,
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคดังอาจารย์ผู้สอนอักขรสมัย
ฝ่ายเวไนยสัตว์ซึ่งยังไม่สดับพุทธภาษิต
ไม่รู้จักประโยชน์ ๒ ก็ดี และประเภทกุศล
และอกุศล และประเภทแห่งสังขารมีขันธ์เป็นต้น
กอบด้วยวิปลาสสำคัญว่า สังขารเป็นของแท้เที่ยง
เป็นสุข เป็นตัวตนสัตว์บุคคลและเป็นของงาม
ดังกุมารน้อยที่ยังไม่ได้ศึกษาในอักขรสมัย
แม้เห็นอักษรก็สำคัญว่าลวดลายวิจิตร
ครั้นเวไนยสัตว์ได้สดับพุทธภาษิตเฉพาะพระพักตร์
หรืออาศัยอุคคหปริปุจฉา
และสดับเทศนาแต่พหูสูตรบุคคลแสดงสืบ ๆ มา
แล้วอ่านออกและรู้ประเภทแห่งธรรมเป็นกุศล
และอกุศล และรู้ประเภทแห่งสังขารมีนามรูป
เป็นต้น แล้วแยกย้ายกองสังขารเป็นนามรูป
หรือขันธ์ ๕ ขึ้นพิจารณาด้วยสัมมัสสนญาณ
เห็นสามัญลักษณะในสังขารว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่
ใช่ตน หรือเห็นว่าเป็นของปฏิกูลไม่งาม
มละวิปลาส ๓-๔ ได้ด้วยทังคปหานะขณะหนึ่งก็ดี
หรือด้วยสมุจเฉทประหาน มละขาดทีเดียวก็ดี
ดังกุมารน้อยได้ศึกษาในอักขรสมัยในสำนักอาจารย์
แล้วได้เห็นอักษรแล้วอ่านออกรู้ความ
มละวิปลาสซึ่งเห็นว่าเป็นลวดลายนั้นได้
พระผู้มีพระภาคแม้ถึงพระองค์ดับขันธปรินิพพาน
แล้วล่วงไป คำสอนซึ่งเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
ยังประดิษฐานอยู่ เป็นคุณแก่เทพยดามนุษย์
ในภายหลัง ก็ได้ชื่อว่าเป็นศาสดาผู้สอนของเทพยดา
และมนุษย์ในภายหลังด้วย เพราะเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคจึงทรงพระนามว่า สัตถา เทวมนุสสานัง
คำว่า เทวมนุสสานัง นั้น เป็นคำกล่าวด้วย
สามารถกำหนดสัตว์อันอุกฤษฏ์ และกำหนดสัตว์ที่
เป็นภัพพบุคคล
ควรตรัสรู้จตุราริยมรรคาริยผลก็จริง
ถึงกระนั้นพระผู้มีพระภาค ก็ได้ชื่อว่า เป็นศาสดา
ผู้สอนของอมนุษย์และเดรัจฉานบางเหล่าด้วย
ด้วยพระองค์เป็นประธาน
ให้อนุศาสนีคำสอนแก่อมนุษย์และเดรัจฉานเหล่านั้น
ดังอาฬวกยักษ์และอปฬาลนาคราชเป็นต้น ซึ่ง
ได้รับอนุศาสนีของพระองค์ ได้ประสาทหยั่งลง
ในรัตนตรัย มละพยศอันร้าย คือทุจริตเสียได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 04:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนามว่า พุทโธ นั้น แปลว่าเป็นผู้ตรัสรู้คือรู้
เท่าเญยยธรรมทั้งปวง อนึ่ง แปลว่าเป็นผู้บานแล้ว
ถึงที่ด้วยตรัสรู้สัจจะของจริง ๔ ด้วยลำพังตนและ
ให้สัตว์อื่นตรัสรู้ตามด้วย อธิบายทั้งปวง
ให้ปราชญ์พึงรู้ดังนัยหนหลังนั้นเถิด
ในที่นี้แปลกแต่คำว่า เญยยธรรมแทนสังขารเท่านั้น
พระนามว่า ภควา นั้น แปลว่าผู้มีพระภาคยะ
ก็ภาคยะนั้นได้แก่กุศลธรรมมีทานศีลเป็นต้น ซึ่ง
เป็นธรรมอันถึงซึ่งส่วนอันอุดมอย่างอุกฤษฏ์ และ
เป็นกุศลยังโลกิยสุขโลกุตรสุขให้บังเกิดขึ้น
ภาคยะนั้นย่อมมีแก่พระองค์ เพราะเหตุนั้น พระองค์
จึงทรงพระนามว่า ภควา,
อนึ่ง ภควา แปลว่าเป็นผู้แจกออก ก็แลพระ
ผู้มีพระภาคนั้นย่อมแจกออก ซึ่งสรรพธรรม
ทั้งปวงโดยประเภทว่า เป็นกุศลและอกุศล
และอัพยากฤต ธรรมไม่ใช่กุศลและอกุศลเป็นต้น
แล้วก็แจกกระจายขยายธรรมเหล่านั้น
เป็นจิตเจตสิก แล้วก็จัดแจกเป็นภูมิ ๔ เป็นต้น เพื่อ
ให้กุลบุตรรู้แจ้งชัดในธรรมมีกุศลเป็นต้นนั้น
แล้วยักย้ายธรรมเหล่านั้นเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ
อินทรีย์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น เพื่อ
เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาปัญญา
และแจกสามัญลักษณะเครื่องหมายเป็นสามัญ ซึ่งมี
ทั่วไปในธรรมเหล่านั้น คือ อนิจจตา
ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง ทุกขตา
ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นทุกข์ อนัตตตา
ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นของมิใช่ตน ๓ นี้
เป็นลักษณะแห่งวิปัสสนาปัญญา
และประสงค์จะชี้ว่าในธรรมทั้งปวงเหล่านั้น
ได้จริงอยู่ ๔ จึงทรงแจกสัจ
จะของจริงแห่งพระอริยเจ้า ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค
แล้วประสงค์จะให้เห็นว่าเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนี้
จึงทรงแจกอรรถแห่งสัจจะ ๔ นั้นว่า ธรรมมีขันธ์
เป็นต้นนั้นเป็นทุกข์ ด้วยอรรถคือบีบคั้นสัตว์อย่างหนึ่ง
ด้วยอรรถคือเป็นธรรมอันปัจจัยทั้งหลายมีตัณหา
เป็นต้น ประชุมพร้อมกันเข้าทำให้เป็นขึ้นอย่างหนึ่ง
ด้วยอรรถคือยังสัตว์ให้เร่าร้อนพร้อมอย่างหนึ่ง
ด้วยอรรถคือเป็นของแปรปรวนไม่ยั่งยืนอย่างหนึ่ง
จึงเป็นทุกข์
ตัณหาเป็นสมุทัย เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์นั้น
ด้วยอรรถคือประมวลมาด้วยสามารถยังทุกข์
ให้เกิดอย่างหนึ่ง ด้วยอรรถคือเป็นเหตุมอบให้ซึ่งทุกข์
เป็นผลของตนอย่างหนึ่ง
ด้วยอรรถคือประกอบสัตว์ไว้ด้วยทุกข์อย่างหนึ่ง
ด้วยอรรถคือห้ามกันไว้ไม่ให้สัตว์
ได้มรรคผลอย่างหนึ่ง จึงเป็นสมุทัย
พระนิพพานเป็นนิโรธที่ดับทุกข์
ด้วยอรรถคือสลัดเสียซึ่งอุปธิ ธรรมเป็นที่เข้าตั้ง
อยู่แห่งทุกข์ทั้งปวงอย่างหนึ่ง ด้วยอรรถคือวิเวกสงัด
จากสังขารทั้งปวงอย่างหนึ่ง ด้วยอรรถคือ
เป็นธรรมอันปัจจัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ประชุมพร้อม
กันกระทำให้เป็นขึ้นอย่างหนึ่ง ด้วยอรรถคือเป็นของ
ไม่ตายเพราะเป็นของเที่ยงอย่างหนึ่ง
จึงชื่อว่านิโรธสัมมาปฏิปทา
ชื่อว่ามรรคว่าทาง ด้วยอรรถนำสัตว์ออก
จากวัฏทุกข์อย่างหนึ่ง ด้วยอรรถคือเป็นเหตุยังสัตว์ให้
ถึงซึ่งนิพพานอย่างหนึ่ง ด้วยอรรถคือเห็นซึ่งนิพพาน
เป็นธรรมอันสุขุมล่วงส่วนอย่างหนึ่ง ด้วยอรรถคือ
เป็นอธิบดีแห่งสัมปยุตธรรม ในการเห็น
ซึ่งนิพพานอย่างหนึ่ง จึงชื่อว่ามรรค
พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกซึ่งธรรมทั้งหลาย
โดยนัยดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า
ภควา คำว่า ภควา นี้ เป็นพระนามแห่งพระ
ผู้มีพระภาคสำหรับกล่าวด้วยสามารถ
ความเคารพในพระผู้มีพระภาค ผู้
เป็นศาสดาครูอันวิเศษและอุดมกว่าสัตว์ทั้งหลาย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร