วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 23:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ทสุตตรสูตร
(เรียบเรียงตั้งแต่ยังเป็นพระญาณรักขิต ตรวจพิมพ์ใหม่
เมื่อเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๙)
เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา จมฺปายํ วิหรติ ตคฺคราย
โปกฺขรณิยา ตีเร มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สุทฺธึ ปญฺจมตฺเตหิ
ภิกฺขุสเตหิ ตตฺร โข อายสฺมา สารีปุตฺโต ภิกฺขู อามนฺเตสิ
อาวุโส ภิกฺขโวติ.
บัดนี้จักได้วิสัชนาเนื้อความในทสุตตรสูตร อันเป็นสูตรที่
๑๑ ในทีฆนิกาย
ในพระสูตรนี้ มีคำปฏิญาณในเบื้องต้นว่า เอวมฺเม สุตํ
อย่างนี้ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ดำเนินนิทานวัจนะว่า เอกํ
สมยํ สมัยคาบหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสำราญอิริยาบถอยู่ใกล้ฝั่งแห่งตัคคราสระโบกขรณี
ไม่สู้ไกล พอเข้าอาศัยบิณฑบาต ณ เมืองจำปานครได้
พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่มีประมาณ ๕๐๐ ครั้งนั้นเป็นสมัย
ใกล้เข้าพรรษา ภิกษุมาสันนิบาตเป็นอันมาก ภิกษุเหล่า
ใดที่ควรแก่สาวกเวไนย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ส่งไป
ยังสำนักพระสารีบุตรผู้มีอายุ เพราะเหตุนั้น
พระสารีบุตรเถรเจ้า จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมา
แล้วเตือนว่า อาวุโส ภิกฺขโว แน่ะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลายรับว่า อาวุโส ข้าแต่ผู้มีอายุ แสดงความเคารพ
คอยสดับพระธรรมเทศนา อันพระเถรเจ้าจักแสดงต่อไป
เมื่อพระเถรเจ้า เตือนภิกษุทั้งหลายให้ดำรงสติ
โดยอาการอันเรียบร้อยแล้ว
จึงเริ่มเบื้องต้นแห่งพระสูตรว่า ทสุตฺตรํ ปวกฺขามิ ธมฺมํ
นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สพฺพคนฺถปฺปโมจนํ
ดังนี้ ความว่า เราจักกล่าวซึ่งธรรมยิ่ง
ด้วยธรรมหมวดละสิบ ๆ เป็นธรรมเพื่อบรรลุพระนิพพาน
ทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ธรรมนั้นอาจเปลื้องปลดเสียได้
ซึ่งเหล่ากิเลสชื่อคันถะทั้งปวง ดังนี้
เมื่อพระเถรเจ้าเริ่มปฐมเทศนาฉะนั้นแล้ว
จึงเริ่มอุเทศมาติกาแห่งธรรมละหนึ่ง ๆ ในปัพพะต้น
โดยสิบส่วน ว่า เอโก อาวุโส ธมฺโม พหูปกาโร ดูกร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสิ่งเดียวมีอุปการะมาก
เอโก ธมฺโม ภาเวตพฺโพ ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงเจริญ
ให้เกิดให้มีขึ้นในตน
เอโก ธมฺโม ปริญฺเญยฺโย
ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลควรกำหนดรู้ด้วยปริญญาทั้ง ๓
เอโก ธมฺโม ปหาตพฺโพ ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงละเสีย
เอโก ธมฺโม หานภาคิโย ธรรมสิ่งเดียวเป็นฝักฝ่ายข้าง
ความเสื่อม
เอโก ธมฺโม วิเสสภาคิโย ธรรมสิ่งเดียว
เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษดีแปลกขึ้นทุกที
เอโก ธมฺโม ทุปฺปฏิวิชฺโฌ ธรรมสิ่งเดียวยากที่บุคคล
จะตรัสรู้ได้
เอโก ธมฺโม อุปาเทตพฺโพ ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงทำ
ให้เกิดให้มีขึ้น
เอโก ธมฺโม อภิญฺเญยฺโย ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้
ให้ตรง
เอโก ธมฺโม สจฺฉิกาตพฺโพ ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงทำ
ให้แจ้งให้ใสแก่ตน
อุเทศนี้เป็นมาติกาแห่งธรรมในปัพพะต้น
เอวํ สพฺพมาติกาสุ อตฺโถ เวทิตพฺโพ บัณฑิตพึงทราบเนื้อ
ความในมาติกาทั้งสิ้น แต่ปัพพะ ๒ ตลอดถึงปัพพะ ๑๐
โดยเนื้อความในปัพพะต้น ซึ่งได้แสดงมาแล้ว
นั้นจงทุกมาติกาเทอญ
อิจฺจายสฺมา สารีปุตฺโต พระสารีบุตรผู้มีอายุ พิจารณา
ซึ่งเทศนานัยเป็นที่สัปปายะแห่งภิกษุทั้งหลายนั้นแล้ว
จึงตั้งมาติกาใน ๑๐ ปัพพะ ๆ เป็นอุเทศขึ้นก่อน แล้ว
จึงแจกออกเป็นส่วนหนึ่ง ๆ ให้เป็นบทหนึ่ง ๆ
ดังนายช่างลำแพนผู้ฉลาดตัดไม้ไผ่ลงแล้ว
ลิดปมลิดตาเสีย แล้วตัดให้เป็น ๑๐ ท่อน
แล้วจักท่อนหนึ่ง ๆ ให้เป็นแร่ ๆ ฉันใด
พระเถรเจ้าก็กล่าวบั่นธรรมนั้น ๆ ให้เป็นแร่ ๆ เหมือน
กันฉันนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 23:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสชฺเชนฺโต เมื่อพระเถรเจ้าจะแจกเนื้อ
ความแห่งธรรมละหนึ่ง ๆ ตามมาติกานั้น จึงตั้ง
กเถตุกมฺมญฺญตาปุจฉา ว่า
๑. กตโม เอโก ธมฺโม พหูปกาโร ธรรมสิ่งเดียวคืออะไร
ซึ่งว่ามีอุปการะมาก
ตอบว่า อปฺปมาโท กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความไม่ประมาท
ในกุศลธรรมทั้งหลาย สิ่งเดียวเท่านี้มีอุปการะมาก
๒. ในมาติกาที่ ๒ ว่า กตโม เอโก ธมฺโม ภาเวตพฺโพ
อะไรเล่าธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงเจริญให้เกิดให้มีขึ้น
ในตน
ตอบว่า กายคตาสติ สาตสหคตา สติไปในกาย สหรคต
ด้วยเวทนาอันสนิท ที่ประกอบด้วยสุขสิ่งเดียวเท่านี้
อันบุคคลพึงให้มีขึ้นในตน
๓. ในมาติกาที่ ๓ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม
ปริญฺเญยฺโย อะไรเล่า
ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลควรกำหนดรู้
ตอบว่า ผสฺโส อาสโว อุปาทานิโย ผัสสะความถูก
ต้องอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิต เป็นไปกับด้วยอาสวะ
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานสิ่งเดียวเท่านี้อันบุคคลพึงกำหนดรู้
๔. ในมาติกาที่ ๔ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม ปหาตพฺโพ
อะไรเล่า ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงละเสีย
ตอบว่า อสฺมิมาโน มานะสำคัญว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่
สิ่งเดียวเท่านี้อันบุคคลพึงละเสีย
๕. ในมาติกาที่ ๕ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม หานภาคิโย
อะไรเล่า ธรรมสิ่งเดียวเป็นฝักฝ่ายให้ได้ความเสื่อม
ตอบว่า อโยนิโส มนสิกาโร ความทำในใจ โดยมิใช่ทางมิ
ใช่อุบายแห่งกิจชอบสิ่งเดียวเท่านี้ เป็นฝักฝ่ายข้างเสื่อม
๖. ในมาติกาที่ ๖ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม
วิเสสภาคิโย อะไรเล่า ธรรมสิ่งเดียวเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ
ตอบว่า โยนิโส มนสิกาโร ความทำในใจโดยแยบคาย
โดยอุบายที่ชอบสิ่งเดียวเท่านี้ เป็นฝักฝ่ายจะให้
ได้วิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๗. ในมาติกาที่ ๗ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม
ทุปฺปฏิวิชฺโฌ อะไรเล่า ธรรมสิ่งเดียวยากที่บุคคล
จะตรัสรู้ได้
ตอบว่า อนนฺตริโก เจโตสมาธิ สมาธิแห่งจิต มี
ในลำดับแห่งวิปัสสนา ไม่มีธรรมอันอื่นคั่น สิ่งเดียวเท่านี้
ยากที่บุคคลจะตรัสรู้ได้
๘. ในมาติกาที่ ๘ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม
อุปาเทตพฺโพ อะไรเล่า ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงทำ
ให้เกิดขึ้น
ตอบว่า อกุปฺปํ ญาณํ ญาณอันเกิดภายหลังพระอริยผล
คือปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าญาณอันไม่กำเริบสิ่งเดียว
เท่านี้อันบุคคลพึงให้เกิดขึ้น
๙. ในมาติกาที่ ๙ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม
อภิญฺเญยฺโย อะไรเล่า ธรรมสิ่งเดียวซึ่งควรจะ
ให้รู้ยิ่งรู้ตรง
ตอบว่า สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลาย
ทั้งสิ้นตั้งอยู่ได้ด้วยอาหารเป็นปัจจัย สิ่งเดียวเท่านี้ ควร
จะให้รู้ยิ่งรู้ตรง
๑๐. ในมาติกาที่ ๑๐ ปุจฉาว่า กตโม เอโก ธมฺโม
สจฺฉิกาตพฺโพ อะไรเล่า ธรรมสิ่งเดียวอันบุคคลพึงทำ
ให้แจ้ง
ตอบว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ ปัญญา
เป็นเครื่องพ้นวิเศษแห่งจิตที่ไม่กำเริบ คือพระอรหัตผล
สิ่งเดียวเท่านี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งให้ใส
อิติ เถโร พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า แสดงออก
ซึ่งธรรมละหนึ่ง ๆ สิบส่วน ตามลำดับอุเทศมาติกา
ด้วยประการฉะนี้ จึงนิคมเป็นชินภาษิตว่า อิติ อิเม
ทสธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่
โดยสภาพอย่างไรก็อย่างนั้น จะไม่เป็นไปอย่างนั้น ๆ ไม่มี
คือไม่ยักย้ายเป็นอย่างอื่น จากสภาพที่ท่านกล่าวแล้ว
สมฺมา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้านั่ง ณ
โพธิบัลลังก์ ได้ตรัสรู้เฉพาะด้วยพระองค์ โดยชอบแล้ว
ทสฺเสนฺโต พระเถรเจ้าให้บริษัทเห็นชินสูตรพุทธภาษิต ให้
ความเชื่อบังเกิดแก่บริษัทผู้ฟัง ด้วยประการฉะนี้ เอกกถา
นิฏฐิตา แสดงในเอกปัพพะที่ต้นจบลงด้วยเถรภาษิตเพียง
เท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปัพพะที่ ๒ พระเถรเจ้าแสดงเป็นทุกหมวดธรรมละสอง
ๆ เป็น ๑๐ ส่วนเหมือนกันฉะนั้น ตั้งบทมาติกา
เป็นอุเทศนิเทศ อย่างเดียวกับปัพพะต้น เปลี่ยนแต่ธรรม
และวจนะว่า เทวฺ ธมฺมา พหูปการา ธรรม ๒ ประการ
มีอุปการะมาก เปลี่ยนตามเนื้อความเดิมทุกบทไป
เพราะเนื้อความที่ซ้ำซาก ควรเข้าใจแล้ว จะตัดเสียบ้าง
ประสงค์จะให้ดูให้ฟังเข้าใจง่าย
จะแสดงปัพพะที่ ๒ โดยนัยเถรภาษิตต่อไปว่า
(๑) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น
(ก) สติ จ สติความระลึกตรงตามสติปัฏฐาน ๑
(ข) สมฺปชญฺญํ จ ความรู้ทั่วพร้อมในการก้าวไป
และถอยกลับ เป็นต้น ทุกอิริยาบถ ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละ มีอุปการะมากแก่ผู้ประพฤติ
(๒) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้มีขึ้นในตนนั้น
(ก) สมโถ จ สมถะอุบายเครื่องสงบจิตมิ
ให้นิวรณ์ครอบงำได้ ๑
(ข) วิปสฺสนา จ ปัญญาความเห็นแจ้งตามความ
เป็นจริงอย่างไรของนามรูปโดยพระไตรลักษณ์ คือ
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีขึ้นในตน
(๓) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้นั้น
(ก) นามญฺจ นามคือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๑
(ข) รูปญฺจ คือรูปขันธ์อันมีประเภทเป็นภูตรูป
และอุปาทายรูป ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงกำหนดรู้
ด้วยปริญญา ทั้ง ๓
(๔) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าธรรมอันบุคคลพึงละเสียนั้น
(ก) อวิชฺชา จ อวิชชาความไม่รู้แจ้งชัดใน ๔ อริยสัจ
โมหะความหลงเป็นข้าศึกโดยตรงแห่งอวิชชา ๑
(ข) ภวตณฺหา จ ความปรารถนาในภพ คือความมีความ
เป็นแห่งนามรูป หรือสักว่าแต่รูป หรือสักว่าแต่นาม ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละอันบุคคลพึงละเสีย
(๕) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
(ก) โทวจสฺสตา จ ความเป็นคนว่ายากสอนยาก
ในสัมมาปฏิบัติ ๑
(ข) ปาปมิตฺตตา จ ความเป็นบุคคลมีบาป คน
ไม่มีคุณสมบัติเป็นมิตรเป็นสหาย ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละเป็นฝักฝ่ายจะให้ได้ความเสื่อม
(๖) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษเจริญดี
แปลกขึ้นไปโดยลำดับนั้น
(ก) โสวจสฺสตา จ ความเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย
ในสัมมาปฏิบัติ ๑
(ข) กลฺยาณมิตฺตตา จ ความ
เป็นบุคคลมีท่านที่ทรงคุณสมบัติเป็นมิตรสหาย ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละ
เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษแปลกขึ้นทุกที
(๗) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งยากที่บุคคลจะตรัสรู้ตลอดได้
นั้น
(ก) โย จ เหตุ โย จ ปจฺจโย สตฺตานํ สงฺกิเลสาย ความ
ไม่ทำในใจโดยอุบายอันแยบคาย เป็นเหตุด้วย เป็นปัจจัย
ด้วย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย ๑
(ข) โย จ เหตุ โย จ ปจฺจโย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ความทำ
ในใจโดยอุบายอันแยบคาย เป็นเหตุด้วย เป็นปัจจัยด้วย
เพื่อจะให้บริสุทธิ์สะอาดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละ เป็นธรรมยากที่บุคคลจะตรัสรู้
ได้ตลอด
(๘) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีขึ้นนั้น
เทฺว ญาณานิ ญาณ ๒ ประการ
(ก) ขเย ญานํ ญาณหยั่งรู้ในความสิ้นจากอาสวะ ๑
(ข) อนุปฺปาเท ญาณํ ญาณหยั่งรู้ความไม่บังเกิดต่อไปอีก

ธรรม ๒ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงทำให้เกิดให้มีขึ้น
ในตน
(๙) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรงนั้น
เทฺว ธาตุโย ธาตุทั้ง ๒ ประการ
(ก) สงฺขตา จ ธาตุ ธาตุอันมีปัจจัยปรุงแต่ง
ได้แก่ปัญจขันธ์ เป็นต้น ๑
(ข) อสงฺขตา จ ธาตุ ธาตุไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ได้แก่พระนิพพาน ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรง
(๑๐) ธรรม ๒ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้แจ้งนั้น
(ก) วิชฺชา จ วิชชาคือปัญญารู้แจ้ง รู้ชัดในญาณทั้งปวง ๑
(ข) วิมุตฺติ จ ปัญญาเครื่องพ้นวิเศษจากเครื่องผูกทั้งปวง
คือ อรหัตผล ๑
ธรรม ๒ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงทำให้แจ้ง
พระธรรมเสนาสารีบุตรเถรเจ้าแสดงธรรมหมวดละ ๒ ๆ
สิบส่วน จบลงตามมาติกาแล้ว จึงนิคมเพื่อให้บริษัททราบ
โดยเป็นธรรมที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วว่า อิติ อิเม
วีสติ ธมฺมา ธรรม ๒๐ เหล่านี้ จริงแท้ไม่ยักย้ายแปรผัน
เป็นอย่างอื่น สมฺมา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วโดยชอบฉะนี้ ทุกกถา
นิฏฺฐิตา แสดงมาในปัพพะที่ ๒ จบลงเพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปัพพะที่ ๓ พระเถรเจ้าแสดงธรรมละ ๓ ๆ โดยสิบส่วน
ตั้งอุเทศมาติกาและนิเทศเหมือนก่อนฉะนั้น
โดยปฐมปัญหาว่า ตโย ธมฺมา พหูปการา ดังนี้เป็นต้น เนื้อ
ความว่า
(๑) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น
(ก) สปฺปุริสสํเสโว คบท่านที่เป็นสัปบุรุษทรงคุณสมบัติ ๑
(ข) สทฺธมฺมสฺสวนํ ฟังสัทธรรมโอวาทของสัปบุรุษ ๑
(ค) ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ปรนนิบัติซึ่งธรรม
ส่วนชอบอันสมควรแก่ธรรมของสัปบุรุษ ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละเป็นธรรมมีอุปการะมาก
(๒) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าเป็นส่วนที่บุคคลจะพึงให้มีนั้น
ตโย สมาธิ สมาธิ ๓ ประการ
(ก) สวิตกฺโก สวิจาโร สมาธิ มีวิตก วิจาร ๑
(ข) อวิตกฺโก วิจารมตฺโต สมาธิ ไม่มีวิตก มีแต่สักว่าวิจาร

(ค) อวิตกฺโก อวิจาโร สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ เป็นส่วนที่บุคคลพึงให้เกิดให้มี
(๓) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าเป็นส่วนอันบุคคลพึงกำหนด
นั้น ติสฺโส เวทนา เวทนา ๓ ประการ
(ก) สุขเวทนา ความเสวยอารมณ์เป็นสุขสบายกาย
และจิต ๑
(ข) ทุกฺขเวทนา ความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ไม่สบายกาย
และจิต ๑
(ค) อทุกฺขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ไม่ใช่สุข ไม่
ใช่ทุกข์ เป็นมัธยัสถ์ ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึงกำหนด
(๔) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าเป็นส่วนอันบุคคลพึงละเสีย
นั้น ติสฺโส ตณฺหา ตัณหา ๓ ประการ
(ก) กามตณฺหา ตัณหาความอยากได้กามารมณ์ ๑
(ข) ภวตณฺหา ตัณหาความอยากได้ภพอยากได้ชาติ ๑
(ค) วิภวตณฺหา ตัณหาความอยากได้
ความสิ้นไปของภพของชาติ ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึงละเสีย
(๕) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
ตีณิ อกุสลมูลานิ มูลแห่งอกุศล ๓ ประการ
(ก) โลโภ ความโลภ ๑
(ข) โทโส ความโกรธ ๑
(ค) โมโห ความหลง ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อม
(๖) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น ตีณิ
กุสลมูลานิ มูลแห่งกุศล ๓ ประการ
(ก) อโลโภ ความไม่โลภ ๑
(ข) อโทโส ความไม่โกรธ ๑
(ค) อโมโห ความไม่หลง ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ
(๗) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงตรัสรู้ได้ด้วยยาก
นั้น ติสฺโส นิสฺสรณิยธาตุโย ธาตุ
เป็นเครื่องออกไปแห่งธรรมเป็นข้าศึกนั้น ๆ ๓ ประการ
(ก) กามานเมตํ นิสฺสรณํ ยทิทํ เนกฺขมฺมํ เนกขัมมคุณ คือ
ความออก เป็นนิสสรณะเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลาย

(ข) รูปานเมตํ นิสฺสรณํ ยทิทํ อรูปํ อรูปธรรมชาติไม่
ใช่รูป เป็นนิสสรณะเครื่องออกไปแห่งรูปทั้งหลาย ๑
(ค) ยํ โข ปน กิญฺจิ ภูตํ สงฺขตํ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ นามรูปสิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งเป็นของเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยบังเกิดขึ้นพร้อม
นิโรธสฺส นิสฺสรณํ นิโรธความดับโดยไม่เหลือ เป็น
นิสสรณะแห่งสังขตธรรมนั้น ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงตรัสรู้ได้ด้วยยาก
(๘) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าเป็นส่วนอันบุคคลพึง
ให้บังเกิดขึ้นในตนนั้น ติณิ ญาณานิ ญาณปรีชาหยั่งรู้ ๓
ประการ
(ก) อตีตํสญาณํ ญาณหยั่งรู้อดีตอันล่วงลับไปแล้ว ๑
(ข) ปจฺจุปนฺนํสญาณํ ญาณหยั่งรู้กาลส่วนปัจจุบันไม่
ใช่อดีตอนาคตนั้น ๑
(ค) อนาคตํสญาณํ ญาณหยั่งรู้กาลอนาคตนั้น ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึงให้เกิดขึ้น
ในตน
(๙) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรงนั้น
ติสฺโส ธาตุโย ธาตุทั้ง ๓ ประการ
(ก) กามธาตุ ธาตุมีกามารมณ์เป็นที่ตั้งอาศัย ๑
(ข) รูปธาตุ ธาตุมีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย ๑
(ค) อรูปธาตุ ธาตุมีนามเป็นที่ตั้งอาศัย ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรง
(๑๐) ธรรม ๓ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกระทำให้แจ้ง
นั้น ติสฺโส วิชฺชา ปัญญารู้แจ้ง ๓ ประการ
(ก) ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ
วิชชาญาณหยั่งรู้ระลึกตามขันธสันดานที่ตนอาศัยอยู่แล้ว
ในกาลก่อน ๑
(ข) สตฺตานํ จุตูปปาเต ญาณํ วิชชาญาณหยั่งรู้ในจุติ
และบังเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลาย ๑
(ค) อาสวานํ ขเย ญาณํ วิชชาญาณหยั่งรู้ใน
ความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย ๑
ธรรม ๓ ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึงทำให้แจ้ง
พระเถรเจ้าแจกธรรมละสาม ๆ โดยสิบส่วน
ถ้วนตามมาติกาแล้ว จึงนิคมสรูปหมวดความโดยที่สุดว่า
อิติ อิเม ตึส ธมฺมา ธรรมเหล่านี้ ๓๐ ทัศ สมฺมา ตถาคเตน
อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ยิ่งด้วยพระองค์
โดยชอบแล้วด้วยประการฉะนี้
ติกกถา นิฏฺฐิตา แสดงมาในติกปัพพะที่ ๓ จบลงเพียงนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปัพพะที่ ๔ ตั้งมาติกาหมวดละ ๔ ๆ โดยสิบส่วนเหมือน
กันฉะนั้น มีความว่า จตฺตาโร ธมฺมา พหูปการา เป็นต้น
จนจบสิบส่วนตามเดิม จะยกแต่คำที่ควรกล่าวดังนี้
(๑) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น จตฺตาโร
จกฺกานิ จักร ๔ ประการ
(ก) ปฏิรูปเทสวาโส ความอยู่ในประเทศสถานอันสมควร

(ข) สปฺปริสูสํเสโว ความเข้าอาศัยคบด้วยสัปบุรุษ ๑
(ค) อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ในธรรมโดยชอบ ๑
(ฆ) ปุพเพ จ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้มีบุญได้ทำแล้ว
ในกาลก่อน ๑
ธรรม ๔ ประการนี้แหละ มีอุปการะมาก
(๒) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าบุคคลพึงให้เกิดให้มีนั้น
จตฺตาโร สติปฏฐานา ที่ตั้งเป็นปฐมแห่งสติ ๔ ประการ
(ก) กาเย กายานุปสฺสี มักพิจารณาเห็นซึ่งกายในกาย ๑
(ข) เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี มักพิจารณาเห็นซึ่งเวทนา
ในเวทนาทั้งหลาย ๑
(ค) จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี มักพิจารณาเห็นซึ่งจิตในจิต ๑
(ฆ) ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี มักพิจารณาเห็นซึ่งธรรม
ในธรรมทั้งหลาย ๑
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงให้เกิดให้มี
(๓) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้
ด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น จตฺตาโร อาหารา อาหาร ๔ ประการ
(ก) กวฬิงฺการาหาโร อาหารที่เป็นคำ ๆ
หยาบบ้างละเอียดบ้างที่สัตว์กลืนกิน ๑
(ข) ผสฺโส ทุติโย ผัสสะความถูกต้องอาศัยทวาร ๖
ทวารละ ๓ ๆ คือจักษุ ๑ รูป ๑ จักษุวิญญาณ ๑ เป็นต้น
ชื่อว่าผัสสาหารเป็นที่ ๒
(ค) มโนสญฺเจตนา ตติยา ความคิดอ่านของจิต
คือกรรมที่เป็นบุญบาป เป็นอาหารที่ ๓
(ฆ) วิญฺญาณํ จตุตฺถํ จิตรู้วิเศษซึ่งอารมณ์เป็นอาหารที่ ๔
ธรรมคืออาหาร ๔ นี้แหละ อันบุคคลพึงกำหนดรู้
ด้วยปัญญาอันยิ่ง
(๔) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าเป็นส่วนอันบุคคลพึงละเสีย
นั้น จตฺตาโร โอฆา กิเลสอันยังสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏะ
ชื่อโอฆะ ๔ ประการ
(ก) กาโมโฆ โอฆะคือกาม ความกำหนัดมีกามคุณ ๕
เป็นวิสัย ๑
(ข) ภโวโฆ โอฆะคือภพ ความพอใจในรูปภพ อรูปภพ
ความรักใคร่ในฌานเป็นไปกับด้วยสัสสตทิฏฐิ ๑
(ค) ทิฏฺโฐโฆ โอฆะคือความเห็นมิจฉาทัสสนะ ผิด
จากทางกรรมทางผลเป็นต้น ๑
(ฆ) อวิชฺโชโฆ โอฆะคืออวิชชา โมหะอันมิให้รู้แจ้งชัดใน
๔ อริยสัจ ๑
ธรรมคือโอฆะทั้ง ๔ นี้แหละ อันบุคคลพึงละเสีย
ด้วยปหานะทั้ง ๓
(๕) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
จตฺตาโร โยคา กิเลสเครื่องประกอบไว้ในวัฏฏะ ชื่อโยคะ
๔ ประการ
(ก) กามโยโค กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้คือกาม ๑
(ข) ภวโยโค กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้คือภพ ๑
(ค) ทิฏฺฐิโยโค กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้คือทิฏฐิ ๑
(ฆ) อวิชฺชาโยโค กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้คือโมหะ ๑
ธรรมคือโยคะทั้ง ๔ นี้แหละ เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้
ดังโคที่บุคคลเทียมไว้แล้วในแอกฉะนั้น จึง
เป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อม
(๖) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น
จตฺตาโร วิสํโยคา ความพรากกิเลสเครื่องประกอบนั้น
ให้ปราศจากไป ๔ ประการ
(ก) กามวิสํโยโค พรากกามเสียให้ปราศจากไป ๑
(ข) ภววิสํโยโค พรากภพเสียให้ปราศจากไป ๑
(ค) ทิฏฺฐิวิสํโยโค พรากทิฏฐิเสียให้ปราศจากไป ๑
(ฆ) อวิชฺชาวิสํโยโค พรากโมหะเสียให้สิ้นไป ๑
ธรรมคือวิสํโยค ๔ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ
ทำผู้ปฏิบัติให้เป็นคนดีแปลกขึ้นโดยลำดับ
(๗) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลจะพึงตรัสรู้ด้วยยาก
นั้น จตฺตาโร สมาธิ สมาธิ ๔ ประการ
(ก) หานภาคิโย สมาธิ สมาธิเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อม

(ข) ฐิติภาคิโย สมาธิ สมาธิเป็นฝักฝ่ายข้างความตั้งมั่น ๑
(ค) วิเสสภาคิโย สมาธิ สมาธิเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ ๑
(ฆ) นิพฺเพธภาคิโย สมาธิ สมาธิ
เป็นฝักฝ่ายข้างคลายกิเลสเครื่องพัวพันจิตออกเสีย ๑
ธรรมคือ ๔ สมาธินี้ ยากที่บุคคลจะตรัสรู้ได้
(๘) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้บังเกิดขึ้นนั้น
จตฺตาริ ญาณานิ ญาณปรีชาหยั่งรู้ ๔ ประการ
(ก) ธมฺเม ญาณํ ญาณหยั่งรู้ในธรรมคือสัจจะทั้ง ๔ ๑
(ข) อนฺวเย ญาณํ ญาณหยั่งรู้ไปตามความรู้ใน ๔ อริยสัจ
นั้น ๑
(ค) ปริจฺเจ ญาณํ ญาณหยั่งรู้ในอันกำหนดวาระจิตผู้อื่น

(ฆ) สติยํ ญาณํ ญาณหยั่งรู้ในสติ ๑
ธรรมคือญาณ ๔ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึง
ให้บังเกิดขึ้น
(๙) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรงนั้น
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยสัจของจริงอย่างประเสริฐ ๔
ประการ
(ก) ทุกฺขอริยสจฺจํ ทุกข์เป็นอริยะจริง ๑
(ข) ทุกฺขสมุทยอริยสจฺจํ สมุทัยของทุกข์เป็นอริยะจริง ๑
(ค) ทุกฺขนิโรธอริยสจฺจํ นิโรธของทุกข์เป็นอริยะจริง ๑
(ฆ) ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสจฺจํ
ทางปฏิบัติคืออริยมรรคเป็นไปเพื่อนิโรธของทุกข์
เป็นอริยะจริง ๑
ธรรมคือ ๔ สัจจะนี้แหละ อันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรง
(๑๐) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้แจ้งนั้น
จตฺตาริ สามญฺญผลานิ ผลซึ่งให้บุคคลเป็นสมณะแท้ ๔
ประการ
(ก) โสตาปตฺติผลํ ผลแห่งผู้แรกถึง
ในตนแห่งโลกุตรธรรมเพียงดังกระแส ๑
(ข) สกทาคามิผลํ ผลแห่งผู้ถึงโลกุตรธรรม แล้วจักมา
ยังกามธาตุอีกคราวเดียว ๑
(ค) อนาคามิผลํ ผลแห่งผู้ถึงโลกุตรธรรม แล้วจักไม่มา
ยังกามธาตุนี้อีกเลย ๑
(ฆ) อรหตฺตผลํ ผลแห่งผู้ถึงโลกุตรธรรม แล้วไม่
ต้องมีภพถึงนิพพานทีเดียว ๑
ผู้ที่บรรลุผลทั้ง ๔ นี้แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
เป็นสมณะแท้
พระเถรเจ้าแสดงธรรมละ ๔ ๆ โดยสิบ
ส่วนตามอุเทศมาติกาจบลงแล้ว จึงนิคมว่า อิติ อิเม
จตฺตาฬีส ธมฺมา ธรรม ๔๐ ประการเหล่านี้
พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์โดยชอบแล้ว
ด้วยประการฉะนี้
จตุกฺกกถา นิฏฺฐิตา แสดงมาในจตุกกปัพพะที่ ๔
จบลงแต่เพียงเท่านี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปัพพะที่คำรบ ๕
พระเถรเจ้าตั้งอุเทศมาติกาขึ้นแสดงหมวดธรรมละ ๕ ๆ
โดยสิบส่วนเหมือนกันฉะนั้น มีเนื้อความในปฐมอุเทศว่า
ปญฺจ ธมฺมา พหูปการา ดังนี้เป็นต้นไป
(๑) ได้ใจความว่าธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมาก
นั้น ปญฺจ ปธานิยงฺคานิ องค์ที่จะอุปการะ เกื้อกูลอุดหนุน
ความเพียร ๕ ประการ
(ก) สทฺธา
ความเชื่อต่อปัญญาเครื่องตรัสรู้แห่งพระตถาคตเจ้า ๑
(ข) อปฺปาพาโธ ความเป็นบุคคลมีป่วยไข้น้อย ๑
(ค) อสโถ โหติ อมายาวี เธอเป็นบุคคลไม่โอ้อวด
ซึ่งคุณอันไม่มีในตน ๑
(ฆ) อารทฺธวิริโย ไม่เกียจคร้าน หมั่นปรารภความเพียร ๑
(ง) ปญฺญวา โหติ มีปัญญาพิจาณาเห็นความสิ้น
ความเสื่อมแห่งสังขารเบญจขันธ์ ๑
ธรรมคือปธานิยังคะ ๕ ประการนี้แหละ
เป็นธรรมมีอุปการะมาก
(๒) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เจริญนั้น
ปญฺจงฺคิโก สมฺมาสมาธิ สมาธิโดยชอบประกอบด้วยองค์
๕ ประการ
(ก) ปีติผรณตา คุณคือความถูกต้องซึ่งปีติ ๑
(ข) สุขผรณตา คุณคือความถูกต้องซึ่งสุข ๑
(ค) เจโตผรณตา คุณคือความถูกต้องซึ่งจิต ๑
(ฆ) อาโลกผรณตา คุณคือความถูกต้องซึ่งแสงสว่าง ๑
(ง) ปจฺจเวกฺขณานิมิตฺตา นิมิตเหตุแห่งความพิจารณา ๑
ธรรมคือสมาธิ ๕ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงให้เจริญ
ให้มีในตน
(๓) ธรรม ๔ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้นั้น
ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ
(ก) รูปูปาทานกฺขนฺโธ กองรูปเป็นอุปาทาน ๑
(ข) เวทนูปาทานกฺขนฺโธ กองเวทนาเป็นอุปาทาน ๑
(ค) สญฺญูปาทานกฺขนฺโธ กองสัญญาเป็นอุปาทาน ๑
(ฆ) สงฺขารูปาทานกฺขนฺโธ กองสังขารเป็นอุปาทาน ๑
(ง) วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ กองวิญญาณเป็นอุปาทาน ๑
ธรรมคือขันธ์ ๕ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงกำหนดรู้
(๔) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงละเสียนั้น
ปญฺจนีวรณานิ กิเลสเครื่องกั้นกุศลธรรมทั้งหลาย ๕
ประการ
(ก) กามฉนฺทนีวรณํ เครื่องกั้นคือความพอใจ
ในกามารมณ์ ๑
(ข) พฺยาปาทนีวรณํ เครื่องกั้นคือโทสะวิการคิดแช่งสัตว์
ให้พินาศ ๑
(ค) ถีนมิทฺธนีวรณํ เครื่องกั้นคือความง่วงความหลับ ๑
(ฆ) อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจนีวรณํ นิวรณ์เครื่องกั้นคือ
ความฟุ้งซ่านรำคาญจิต ๑
(ง) วิจิกิจฺฉานีวรณํ เครื่องกั้นคือความสงสัยลังเลใจ
ธรรมคือนิวรณ์ ๕ ประการนี้แหละเป็น
ส่วนอันบุคคลพึงละเสีย
(๕) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
ปญฺจ เจโตขีลา ธรรมประหนึ่งตะปูตรึงจิตไว้ ๕ ประการ
(ก) สตฺถริ กงฺขติ สงสัยในพระศาสดา ๑
(ข) ธมฺเม กงฺขติ สงสัยในพระธรรม ๑
(ค) สงฺเฆ กงฺขติ สงสัยในพระสงฆ์ ๑
(ฆ) สิกฺขาย กงฺขติ สงสัยในสิกขา ๑
(ง) สพฺรหฺมจารีสุ กุปิโต โหติ มีจิตกำเริบแค้นเคือง
ในสพรหมจารีทั้งหลาย ๑
ธรรมคือเจโตขีละ ๕ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้าง
ความเสื่อม
(๖) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น
ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ ๕ ประการ
(ก) สทฺธินฺทฺริยํ อินทรีย์คือศรัทธา ๑
(ข) วิริยินฺทฺริยํ อินทรีย์คือควมเพียร ๑
(ค) สตินฺทฺริยํ อินทรีย์คือสติ ๑
(ฆ) สมาธินฺทฺริยํ อินทรีย์คือสมาธิ ๑
(ง) ปญฺญินฺทริยํ อินทรีย์คือปัญญา ๑
ธรรมคืออินทรีย์ ๕ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ
(๗) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงตรัสรู้ได้ด้วยยาก
นั้น ปญฺจ นิสฺสารณียา ธาตุโย ธาตุที่
เป็นเครื่องออกไปแห่งธรรมนั้น ๆ ๕ ประการ
(ก) อสุภฌาน เป็นเนกขัมมะเครื่องออกไปแห่งกาม
ทั้งหลาย ๑
(ข) เมตตาฌาน เป็นเครื่องออกไปแห่งพยาบาท ๑
(ค) กรุณาฌาน เป็นเครื่องออกไปแห่งวิหิงสา ๑
(ฆ) อรูปฌาน เป็นเครื่องออกไปแห่งรูปทั้งหลาย ๑
(ง) อรหตฺตผลสมาปตฺติ จิตเป็นเครื่องออกไปแห่งกาย
คืออุปาทานขันธ์ ๑
ธรรมคือนิสสารณียธาตุ ๕ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงตรัสรู้ได้ด้วยยาก
(๘) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีขึ้นนั้น
ปญฺจญาณิโก สมฺมาสมาธิ สมาธิโดยชอบประกอบ
ด้วยญาณปรีชา ๕ ประการ
(ก) อยํ สมาธิ ปจฺจุปนฺนสุโข เจว อายตึ จ สุขวิปาโก
ญาณหยั่งรู้เฉพาะตนอย่างเดียวว่า สมาธินี้มีความสุข
ในปัจจุบันด้วย มีความสุขเป็นผลต่อไปในเบื้องหน้าด้วย

(ข) อยํ สมฺมาสมาธิ อริโย นิรามิโส
ญาณหยั่งรู้เฉพาะตนอย่างเดียวว่า สมาธินี้ไกลข้าศึก
ไม่มีอามิส ๑
(ค) อยํ สมาธิ อกาปุริสเสวิโต
ญาณหยั่งรู้เฉพาะตนอย่างเดียวว่า
สมาธินี้ละเอียดประณีตเป็นเอโกสมาธิภาพ
คือธรรมมีสมาธิเป็นเอก ๑
(ฆ) อยํ สมาธิ สนฺโต ปณีโต ปฏิปฺปสฺสทฺธิลทฺโธ
เอโกทิภาวาธิคโต น จ สสงฺขารํ นิคฺคยฺห วาริตวโต
ญาณหยั่งรู้เฉพาะตนอย่างเดียวว่า
สมาธินี้ละเอียดประณีต มีความสงบ บรรลุเอโกทิภาพ ไม่
ต้องข่มขี่ห้ามกันจิตที่เป็นไปกับด้วยสังขาร ๑
(ง) โส โข ปนาหํ อิมํ สมาธึ สโต จ สมาปชฺชามิ สโต
วุฏฺฐหามิ ญาณหยั่งรู้เฉพาะตนอย่างเดียวว่า เรามีสติ
เข้าสมาธิ เรามีสติออกจากสมาธิ เรามีสติทั้งออกทั้ง
เข้าสมาธิเทียว เรามีสติตั้งอยู่ในสมาธิ
ธรรมคือสมาธิประกอบด้วยญาณ ๕ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงให้มีขึ้น สมาธิ ๕ ประเภทนี้
เฉพาะมีแต่พระอรหันต์อเสขบุคคล จำพวกเดียวเท่านั้น
(๙) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้เฉพาะรู้ให้ตรง
นั้น ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ อายตนะเหตุซึ่งจะให้จิตพ้น
จากอาสวะ ๕ ประการ
(ก) สตฺถา ธมฺมํ เทเสติ อญฺญตโร วา เมื่อพระศาสดา
หรือเพื่อนพรหมจรรย์ควรเคารพแสดงธรรมอยู่ เธอ
ได้ฟังรู้อรรถรู้ธรรม เกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ
ได้เสวยสุข จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นวิมุตตายตนะที่ ๑
(ข) ยถาสุตํ ยถาปริยตฺตํ วิตฺถาเรน ปเรสํ เทเสติ
เธอแสดงธรรมที่ตนได้เรียน ให้ผู้อื่นฟังอยู่โดยกว้างขาง
รู้อรรถรู้ธรรมที่แสดงไปนั้น เกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ
เสวยความสุข จิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ อันนี้
เป็นวิมุตตายตนะที่ ๒
(ค) ยถาสุตํ ยถาปริยตฺตํ วิตฺถาเรน สชฺฌายํ กโรติ
เธอมาท่องสาธยายธรรมที่ตนได้ฟังได้เรียนนั้น
โดยพิสดาร ปัญญาหยั่งรู้อรรถรู้ธรรมนั้น เกิดปราโมทย์
ปีติ ปัสสัทธิ เสวยสุข จิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ อันนี้
เป็นวิมุตตายตนะที่ ๓
(ฆ) ยถาสุตํ ยถาปริยตฺตํ ธมฺมํ เจตสา อนุวิตกฺเกติ
เธอมาตรึกตรองตามธรรมที่ตนได้ฟังได้เรียนมาแล้ว
โดยจิตเพ่งตามไปด้วยใจ เกิดความหยั่งรู้อรรถรู้ธรรม
ในธรรมที่ตนตรึกเพ่งตามนั้น เกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ
เสวยความสุข จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ อันนี้
เป็นวิมุตตายตนะที่ ๔
(ง) อปิจ ขฺวสฺส อญฺญตรสมาธินิมิตฺตํ สุคหิตํ โหติ
อีกอย่างหนึ่ง เธอได้ถือเอาสมาธินิมิตอันใดอันหนึ่งไว้
ด้วยดี กระทำในใจหยั่งรู้ในอรรถในธรรมนั้น
เกิดปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ เสวยความสุข จิตตั้งมั่น
ด้วยสมาธิ อันนี้เป็นวิมุตตายตนะที่ ๕
ธรรมคือวิมุตตายตนะ ๕ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงรู้เฉพาะรู้ให้ตรง
(๑๐) ธรรม ๕ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้แจ้งนั้น
ปญฺจ ธมฺมขนฺธา กองแห่งธรรมทั้งหลาย ๕ ประการ
(ก) สีลขนฺโธ กองแห่งศีล ๑
(ข) สมาธิขนฺโธ กองแห่งสมาธิ ๑
(ค) ปญฺญาขนฺโธ กองแห่งปัญญา ๑
(ฆ) วิมุตฺติขนฺโธ กองแห่งวิมุตติ ๑
(ง) วิมุตฺติญาณทสฺสนขนฺโธ กองแห่งวิมุตติญาณทัสสนะ

ธรรมคือขันธ์ ๕ ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึงทำ
ให้แจ้ง
พระเถรเจ้าแสดงธรรมหมวดละ ๕ ๆ โดยสิบส่วน
ตามอุเทศมาติกาจบลงแล้ว จึงนิคมว่า อิติ อิเม ปญฺญาส
ธมฺมา ธรรม ๕๐ เหล่านี้ จริงแท้ไม่แปรผัน
อันพระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้
ปญฺจกกถา นิฏฺฐิตา แสดงมาในปัญจกปัพพะ
จบลงแต่เพียงนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเสนาสารีบุตร เมื่อจะแสดงธรรมอันยิ่งต่อไป
จึงตั้ง อุเทศมาติกาหมวดธรรมละ ๖ ๆ โดยสิบส่วนเหมือน
กันฉะนั้น เนื้อความดังนี้
(๑) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น ฉ
สาราณิยา ธมฺมา ธรรมเป็นเหตุจำระลึกถึงกัน ๖ ประการ
(ก) เมตฺตากายกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐิตํ โหติ สพฺรหฺมจารีสุ ภิกษุ
ยังเมตตากายกรรม ให้เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะในสพรหมจารี
ทั้งหลาย ๑
(ข) เมตฺตาวจีกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐิตํ โหติ สพฺรหฺมจารีสุ ภิกษุ
ยังเมตตาวจีกรรม ให้เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะแล้ว
ในสพรหมจารีทั้งหลาย ๑
(ค) เมตฺตามโนกมฺมํ ปจฺจุปฏฺฐิตํ โหติ สพฺรหฺมจารีสุ ภิกษุ
ยังเมตตามโนกรรม ให้เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะแล้ว
ในสพรหมจารีทั้งหลาย ๑
(ฆ) เย เต ลาภา ธมฺมิกา ธมฺมลทฺธา
ภิกษุมักแบ่งปันลาภผลที่ประกอบในธรรม ที่ตนได้มาแล้ว
โดยชอบธรรม ที่สุดถึงบิณฑบาต แก่เพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลาย ๑
(ง) ยานิ ตานิ สีลานิ อขณฺฑานิ ภิกษุมีศีลไม่ขาดไม่ด่าง
ไม่พร้อยไม่เป็นทาสเป็นไท
เป็นที่สรรเสริญของวิญญูชนสะอาด เป็นที่ตั้ง
ด้วยดีแห่งสมาธิ อยู่ด้วยสพรหมจารีทั้งหลาย ๑
(จ) ยายํ ทิฏฺฐิ อริยา นิยฺยานิกา นิยฺยาติ ภิกษุเธอมี
ความเห็นประกอบด้วยนิยานิกอุบาย ไม่มีข้าศึกคือกิเลส
ความเห็นของเธอนั้น เป็นไปเพื่อสิ้นทุกข์โดยชอบ เธอ
ถึงทิฏฐิเช่นนั้นแล้ว และอยู่ด้วยเพื่อนพรหมจารีย์
ทั้งหลาย ๑
ธรรมคือสาราณิยธรรม ๖ ประการนี้ เมื่อมีในบุคคลผู้ใด
เธอนั้นย่อมเป็นที่ระลึก เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ
เป็นไปพร้อมเพื่อความสงเคราะห์และไม่วิวาท อาจที่จะ
ให้เกิดสามัคคีเอกีภาพ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก
(๒) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้เกิดให้มีนั้น
ฉ อนุสฺสติฏฺฐานานิ ที่ตั้งแห่งความระลึก ๖ ประการ
(ก) พุทฺธานุสฺสติ ตามระลึกถึงพระพุทธเจ้า ๑
(ข) ธมฺมานุสฺสติ ตามระลึกถึงพระธรรม ๑
(ค) สงฺฆานุสฺสติ ตามระลึกถึงพระสงฆ์ ๑
(ฆ) สีลานุสฺสติ ตามระลึกถึงศีล ๑
(ง) จาคานุสฺสติ ตามระลึกถึงการบริจาค ๑
(จ) เทวตานุสฺสติ ตามระลึกถึงเทวดา ๑
ธรรมคืออนุสสติ ๖ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงทำให้เกิดให้มี
(๓) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้นั้น ฉ
อชฺฌตฺติกานิ อายตนานิ อายตนะเป็นไปภายใน ๖
ประการ
(ก) จกฺขุวายตนํ บ่อเกิดของรูปคือตา ๑
(ข) โสตายตนํ บ่อเกิดของเสียงคือหู ๑
(ค) ฆานายตนํ บ่อเกิดของกลิ่นคือจมูก ๑
(ฆ) ชิวฺหายตนํ บ่อเกิดของรสคือลิ้น ๑
(ง) กายายตนํ บ่อเกิดของสัมผัสคือกาย ๑
(จ) มนายตนํ บ่อเกิดของธัมมารมณ์คือใจ ๑
ธรรมคืออายตนะภายใน ๖ ประการนี้ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงกำหนดรู้
(๔) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงละเสียนั้น ฉ
ตณฺหากายา ตัณหาอาศัยกาย ๖ ประการ
(ก) รูปตณฺหา ตัณหาอาศัยรูป ๑
(ข) สทฺตณฺหา ตัณหาอาศัยเสียง ๑
(ค) คนฺธตณฺหา ตัณหาอาศัยกลิ่น ๑
(ฆ) รสตณฺหา ตัณหาอาศัยรส ๑
(ง) โผฏฺฐพฺพตณฺหา ตัณหาอาศัยสิ่งที่จะพึงถูกต้อง
ด้วยกาย ๑
(จ) ธมฺมตณฺหา ตัณหาอาศัยอารมณ์ส่วนที่จะพึงรู้ด้วยใจ

ธรรมคือตัณหา ๖ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงละเสีย
(๕) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
ฉ อคารวา ความไม่เคารพ ๖ ประการ
(ก) สตฺถริ อคารโว ไม่เคารพในพระศาสดา ๑
(ข) ธมฺเม อคารโว ไม่เคารพในพระธรรม ๑
(ค) สงฺเฆ อคารโว ไม่เคารพในพระสงฆ์ ๑
(ฆ) สิกฺขาย อคารโว ไม่เคารพในสิกขา ๑
(ง) อปฺปมาเท อคารโว ไม่เคารพในความไม่ประมาท ๑
(จ) ปฏิสนฺถาเร อคารโว ไม่เคารพในปฏิสันถาร ๑
ธรรมคือความไม่เคารพ ๖ ประการนี้แหละ
เป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อม
(๖) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น ฉ
คารวา ความเคารพ ๖ ประการ
(ก) สตฺถริ สคารโว ความเคารพในพระศาสดา ๑
(ข) ธมฺเม สคารโว ความเคารพในพระธรรม ๑
(ค) สงฺเฆ สคารโว ความเคารพในพระสงฆ์ ๑
(ฆ) สิกฺขาย สคารโว ความเคารพในสิกขา ๑
(ง) อปฺปมาเท สคารโว ความเคารพในความไม่ประมาท

(จ) ปฏิสนฺถาเร สคารโว ความเคารพในปฏิสันถาร ๑
ธรรมคือคารวะ ๖ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ
(๗) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่ายากที่บุคคลจะตรัสรู้ตลอดได้
นั้น ฉ นิสฺสรณิยา ธาตุโย ธาตุเป็นเครื่องอาศัยแห่งธรรม
อันเป็นข้าศึกนั้น ๆ ๖ ประการ
(ก) เมตฺตาเจโตวิมุตฺติ ธรรม
เป็นเครื่องออกไปแห่งพยาบาท ๑
(ข) กรุณาเจโตวิมุตฺติ ธรรมเป็นเครื่องออกไปแห่งวิหิงสา

(ค) มุทิตาเจโตวิมุตฺติ ธรรมเป็นเครื่องออกไปแห่งอรติ
ความไม่ยินดี ๑
(ฆ) อุเปกฺขาเจโตวิมุตฺติ ธรรม
เป็นเครื่องออกไปแห่งราคะ ๑
(ง) อนิมิตฺตาเจโตวิมุตฺติ ธรรมเป็นเครื่องออกไปแห่งนิมิต
ทั้งปวง ๑
(จ) อสฺมิมานสมุคฺฆาโต ธรรม
เป็นเครื่องเพิกขึ้นพร้อมแห่งอัสมิมานะ วิจิกิจฉา
ความสงสัยสอดแคล้ว คืออรหัตมรรค ๑
ธรรมคือนิสสรณธาตุ ๖ ประการนี้แหละ ยากที่บุคคล
จะตรัสรู้ตลอดได้
(๘) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้บังเกิดขึ้นนั้น
ฉ สตฺตวิหารา ธรรมเป็นเครื่องอยู่
เป็นนิจแห่งพระขีณาสพ ๖ ประการ
(ก) จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เนว สุมโน โหติ น ทุมฺมโน
พระขีณาสพนั้น เมื่อเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นผู้ไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ มีสติเป็นกลางอยู่ทุกเมื่อ ๑
(ข) โสเตน สทฺทํ สุตฺวา เนว สุมโน โหติ น ทุมฺมโน เมื่อ
ได้ฟังเสียงด้วยโสต ก็ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติเป็นกลาง
อยู่ทุกเมื่อ ๑
(ค) ฆาเนน คนฺธํ คายิตฺวา เมื่อได้ดมกลิ่นด้วยฆานะ ก็
ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติเป็นกลางอยู่ทุกเมื่อ ๑
(ฆ) ชิวฺหาย รสํ สายิตฺวา เมื่อได้ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ก็
ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติเป็นกลางอยู่ทุกเมื่อ ๑
(ง) กาเยน โผฏฺฐพฺพํ ผุสิตฺวา เมื่อถูกต้องสัมผัสด้วยกาย
ก็ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติเป็นกลางอยู่ทุกเมื่อ ๑
(จ) มนสฺส ธมฺมํ วิญฺญาย เมื่อรู้ธรรมารมณ์แก่จิต ก็
ไม่ดีใจไม่เสียใจ มีสติเป็นกลางอยู่ทุกเมื่อ ๑
ธรรมคือฉฬังคุเบกขานี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึง
ให้เกิดขึ้น ให้เป็นวิหารธรรมแห่งตน
(๙) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้เฉพาะรู้ให้ตรง
นั้น ฉ อนุตฺตริยานิ กิจที่ยิ่งไม่มีสิ่งอื่นจะยิ่งขึ้นไปกว่า ๖
ประการ
(ก) ทสฺสนานุตฺตริยํ ความเห็นไม่มีความเห็น
อื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ๑
(ข) สวนานุตฺตริยํ ความฟังไม่มีความฟังอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า

(ค) ลาภานุตฺตริยํ ความได้ไม่มีลาภอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ๑
(ฆ) สิกฺขานุตตริยํ ความศึกษาไม่มีการศึกษา
อื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ๑
(ง) ปาริจริยานุตฺตริยํ การบำเรอไม่มีการบำเรอ
อื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ๑
(จ) อนุสฺสตานุตฺตริยํ ความระลึกไม่มีความระลึก
อื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ๑
ธรรมคือนุตตริยคุณทั้ง ๖ นี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงรู้เฉพาะรู้ให้ตรง
เพราะพระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นในโลก อนุตตริยธรรมทั้ง ๖
นี้ จึงเป็นไปแก่เทพยดามนุษย์ทั้งปวงได้
(๑๐) ธรรม ๖ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้แจ้งนั้น ฉ
อภิญญา ความรู้ยิ่ง ๖ ประการ โดยสรุปดังนี้
(ก) อิทฺธิวิธิ ญาณหยั่งรู้การดำริต่าง ๆ ๑
(ข) ทิพฺพาย โสตธาตุยา ญาณรู้ด้วยโสตเพียงดังทิพย์ ๑
(ค) เจโตปริจฺจญาณานิ ญาณหยั่งรู้กำหนดวารจิตผู้อื่น ๑
(ฆ) ปุพฺเพ นิวาสํ อนุสฺสติ ญาณหยั่งรู้การตามระลึก
ซึ่งขันธ์ที่ตนอาศัยอยู่แล้วในชาติก่อน ๑
(ง) ทิพฺเพน จกฺขุนา ญาณหยั่งรู้การจุติ ความเคลื่อน
และอุบัติความบังเกิดของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ด้วยจักขุเพียงดังทิพย์ ๑
(จ) อาสวกฺขยา ญาณหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ๑
ธรรมคือญาณ ๖ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงทำให้แจ้ง
พระเถรเจ้าแสดงออกซึ่งธรรมหมวดละ ๖ ๆ โดยสิบ
ส่วนตามบทมาติกาแล้ว จึงนิคมในที่สุดว่า อิติ อิเม
สฏฺฐิธมฺมา ธรรม ๖๐ ประการเหล่านี้ จริงแท้ไม่แปรผัน
อันพระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์โดยชอบแล้ว
ด้วยประการฉะนี้
ฉกฺกกถา นิฏฺฐิตา แสดงมาในฉักกปัพพะที่ ๖
จบลงแต่เพียงนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตรเถรเจ้า เมื่อจะแสดงธรรมหมวดละ ๗ ๆ
ตั้งอุเทศมาติกาโดยสิบส่วนเหมือนฉะนั้นแล้ว จึงแจกออก
โดยลำดับดังนี้
(๑) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น สตฺต
อริยธนานิ กุศลชื่อว่าธนะเป็นของอริยะ เปรียบ
ด้วยทรัพย์ที่เจ้าของพึงถนอม ๗ ประการ
(ก) สทฺธาธนํ ทรัพย์คือสัทธา ๑
(ข) สีลธนํ ทรัพย์คือศีล ๑
(ค) หิริธนํ ทรัพย์คือความละอายต่อทุจริตบาปธรรม ๑
(ฆ) โอตฺตปฺปธนํ ทรัพย์คือ
ความสะดุ้งกลัวต่อทุจริตบาปธรรม ๑
(ง) สุตธนํ ทรัพย์คือการสดับฟังแล้วจำทรงธรรมไว้ได้ ๑
(จ) จาคธนํ ทรัพย์คือความบริจาคยินดีในการจำแนก ๑
(ฉ) ปญฺญาธนํ ทรัพย์คือปัญญา รู้ความสิ้น
ความเสื่อมแห่งสังขาร ๑
ธรรมคืออริยทรัพย์ ๗ ประการนี้แหละ มีอุปการะมาก
(๒) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เจริญนั้น
สตฺตโพชฺฌงฺคา ธรรมที่เป็นองค์เป็นเหตุแห่งความตรัสรู้
๗ ประการ
(ก) สติ ความระลึก ๑
(ข) ธมฺมวิจย ปัญญาเครื่องเลือกธรรม ๑
(ค) วิริย ความเพียรเป็นไปในกายและจิต ๑
(ฆ) ปีติ ธรรมที่ให้กายและจิตอิ่ม ๑
(ง)ปสฺสทฺธิ ความสงบกายและจิต ๑
(จ) สมาธิ ความที่จิตตั้งมั่นในอารมณ์ ๑
(ฉ) อุเปกฺขา ความเพิกเฉยเป็นกลางในสัตว์และสังขาร ๑
ธรรมคือโพชฌงค์ ๗ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึง
ให้บังเกิดขึ้น
(๓) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้นั้น สตฺต
วิญฺญาณฏฺฐิติโย ที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ ประการ
(ก) นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญิโน เหล่าสัตว์มีกายต่าง ๆ
กัน มีสัญญาในปฏิสนธิต่าง ๆ กัน
ดังหมู่มนุษย์เทวดาบางพวกและสัตว์ในวินิบาตบาง
พวก ๑
(ข) นานตฺตกายา เอกตฺตสญฺญิโน เหล่าสัตว์มีกายต่าง ๆ
กัน และมีสัญญาในปฏิสนธิเป็นอันเดียวกัน
ดังหมู่พรหมที่บังเกิดด้วยปฐมฌาน ๑
(ค) เอกตฺตกายา นานตฺตสญฺญิโน
เหล่าสัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญา
ในปฏิสนธิต่าง ๆ กัน ดังหมู่พรหมในชั้นอาภัสสร ๑
(ฆ) เอกตฺตกายา เอกตฺตสญฺญิโน เหล่าสัตว์ที่มีกาย
เป็นอย่างเดียวกัน มีสัญญาในปฏิสนธิเป็นอย่างเดียวกัน
ดังหมู่พรหมในชั้นสุภกิณหา ๑
(ง) อากาสานญฺจายตนูปคา เหล่าสัตว์ล่วงสัญญา
ในรูปเสียด้วยประการทั้งปวง เข้าถึง
ซึ่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ เกิดเป็นอรูปสัตว์เหล่าหนึ่ง

(จ) วิญฺญาณญฺจายตนูปคา
เหล่าสัตว์ล่วงอากาสานัญจายตนะเสียด้วยประการ
ทั้งปวง เข้าถึงซึ่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ เกิด
เป็นอรูปสัตว์เหล่า
หนึ่ง ๑
(ฉ) อากิญฺจญฺญายตนูปคา
เหล่าสัตว์ล่วงวิญญาณัญจายตนะด้วยประการทั้งปวง
เข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ เกิด
เป็นอรูปสัตว์เหล่าหนึ่ง ๑
ธรรมคือวิญญาณฐิติที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ ประการนี้แหละ
เป็นส่วนอันบุคคลพึงกำหนดรู้
(๔) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงละเสียนั้น สตฺต
อนุสยา กิเลสที่ตามนอนอยู่ ชื่ออนุสัย ๗ ประการ
(ก) กามราคานุสโย อนุสัยคือความกำหนัดยินดี
ในกามารมณ์ ๑
(ข) ปฏิฆานุสโย อนุสัยคือความที่จิตกระทบแค้นเคือง ๑
(ค) ทิฏฺฐานุสโย อนุสัยคือความเห็นวิปริตไป ๑
(ฆ) วิจิกิจฺฉานุสโย อนุสัยคือความสงสัยเป็นเหตุ
ให้เศร้าจิต ๑
(ง) มานานุสโย อนุสัยความสำคัญว่าเราประเสริฐ
และปานกลางและต่ำช้า ๑
(จ) ภวราคานุสโย อนุสัยคือความกำหนัดยินดีในภพ ๑
(ฉ) อวิชฺชานุสโย อนุสัยคือโมหะที่ไม่ให้รู้จักของจริง ๑
ธรรมคืออนุสัยตัวกิเลสตามนอนอยู่ในจิต ๗
ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึงละเสีย
(๕) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
สตฺต อสทฺธมฺมา ธรรมของบุคคลผู้ไม่ระงับ ๗ ประการ
(ก) อสทฺโธ เป็นคนหาศรัทธามิได้ ๑
(ข) อหิริโก เป็นคนไม่มีหิริ ๑
(ค) อโนตฺตปฺปี เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ ๑
(ฆ) อปฺปสฺสุโต เป็นคนมีการสดับน้อย ๑
(ง) กุสิโต เป็นคนเกียจคร้าน ๑
(จ) มุฏฺฐสฺสติ เป็นคนมีสติอันหลงฟั่นเฟือน ๑
(ฉ) ทุปฺปญฺโญ เป็นคนมีปัญญาทุรพลมีปัญญาอันชั่ว ๑
ธรรมคืออสัทธรรม ๗ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้าง
ความเสื่อม ถ้ามีมากในบุคคลจำพวกใดแล้ว ก็ให้เหินห่าง
ไกลจากสัมมาปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๖) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น สตฺต
สมฺธมฺมา ธรรมของผู้สงบรำงับ ๗ ประการ
(ก) สทฺโธ เป็นผู้เชื่อต่อกรรมเชื่อต่อผลของกรรม ๑
(ข) หิริโก เป็นผู้ละอายต่อบาป ๑
(ค) โอตฺตปฺปี เป็นผู้สะดุ้งกลัวต่อบาป ๑
(ฆ) พหุสฺสุโต เป็นผู้สดับพุทธวจนะมาก ๑
(ง) วิริโย เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑
(จ) อุปฏฺฐิตสติ เป็นผู้มีสติอันตั้งมั่น ๑
(ฉ) ปญฺญา เป็นผู้มีปัญญาอันรอบรู้ประโยชน์และมิ
ใช่ประโยชน์ ๑
ธรรมคือสัทธรรม ๗ ประการนี้แหละ
เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ อาจให้ผู้ดำเนินตามดีแปลกขึ้นทุกที
(๗) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงตรัสรู้ด้วยยากนั้น
สตฺต สปฺปุริสธมฺมา ธรรมกระทำให้บุคคลเป็นสัปบุรุษ คือ
เป็นบุรุษดีงาม ๗ ประการ
(ก) ธมฺมญฺญู เป็นผู้รู้ธรรม ๑
(ข) อตฺถญฺญู เป็นผู้รู้เนื้อความของธรรม ๑
(ค) อตฺตญฺญู เป็นผู้รู้ตน ๑
(ฆ) มตฺตญฺญู เป็นผู้รู้ประมาณ ๑
(ง) กาลญฺญู เป็นผู้รู้กาล ๑
(จ) ปริสญฺญู เป็นผู้รู้บริษัท ๑
(ฉ) ปุคฺคลปโรปรญฺญู เป็นผู้รู้บุคคลยิ่งและหย่อน ๑
ธรรมคือสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้แหละ
อันบุคคลพึงตรัสรู้ด้วยยาก
(๘) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้บังเกิดขึ้นนั้น
สตฺต สญฺญา ความหมายรู้ ๗ ประการ
(ก) อนิจฺสญฺญา ความหมายรู้เบญจขันธ์ว่าเป็นของ
ไม่เที่ยง ๑
(ข) ทุกฺขสญฺญา ความหมายรู้เบญจขันธ์ว่าเป็นทุกข์ ๑
(ค) อนตฺตสญฺญา ความหมายรู้สังขารเบญจขันธ์ว่าไม่
ใช่ตน ๑
(ฆ) อสุภสญฺญา ความหมายรู้อารมณ์ว่าเป็นของไม่งาม

(ง) อาทีนวสญฺญา ความหมายรู้ซึ่งกายว่า
เป็นของประกอบด้วยโทษต่าง ๆ ๑
(จ) ปหานสญฺญา
ความหมายรู้การละอกุศลบาปธรรมเสีย ๑
(ฉ) วิราคสญฺญา ความหมายรู้พระนิพพาน
เป็นที่คลายกิเลส ๑
ธรรมคือสญฺญา ๗ ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึง
ให้เกิดขึ้น
(๙) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรงนั้น
สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ วัตถุแห่งบุคคลผู้ไม่ผัดเพี้ยน ๗
ประการ
(ก) สิกฺขาสมาทาเน ติพฺพจฺฉนฺโท ภิกษุมีฉันทะแรงกล้า
ในอันสมาทานสิกขาทั้งสาม คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ในวันนี้ และมีความรักใคร่อันได้แล้ว
ในอนาคตต่อไปเพียงวันพรุ่งนี้ คือเธอตั้งใจว่าเรา
จะบำเพ็ญสิกขาทั้ง ๓ ให้เต็มวันนี้ อย่างช้าเพียงพรุ่งนี้ ๑
(ข) ธมฺมนิสนฺติยา ติพฺพจฺฉนฺโท เธอมีฉันทะอันแรงกล้า
ในการพิจารณาซึ่งธรรมคือวิปัสสนา เห็นสังขาร
โดยลักษณะทั้ง ๓ ในวันนี้ และมีความรักอันได้แล้ว
คือหวังต่อความสำเร็จเบื้องหน้าต่อไปเพียงวันพรุ่งนี้ ๑
(ค) อิจฺฉาวินเย ติพฺพจฺฉนฺโท เธอเป็นผู้มีฉันทะ
ความปรารถนาอันแรงกล้าในการกำจัดอิจฉา คือตัณหา
ให้สิ้นไปจากสันดานในวันนี้ และมีความรักอันได้แล้ว
คือหวังต่อความสิ้นไปแห่งอิจฉา
เบื้องหน้าต่อไปเพียงวันพรุ่งนี้ ๑
(ฆ) ปฏิสลฺลาเน ติพฺพจฺฉนฺโท เธอเป็น
ผู้มีฉันทะอันแรงกล้าในการหลีกออกเร้นอยู่ คือ
ส่วนกายวิเวกในวันนี้ และมีความรักอันได้แล้ว หวังต่อ
ความสำเร็จในส่วนกายวิเวก
ในอนาคตอย่างช้าเพียงวันพรุ่งนี้ ๑
(ง) วิริยารมฺเภ ติพฺพจฺฉนฺโท เธอเป็นผู้มีฉันทะอันแรงกล้า
ในการเริ่มความเพียรในวันนี้
หรือเบื้องหน้าต่อไปอย่างช้าเพียงวันพรุ่งนี้ ๑
(จ) สติเนปกฺเก ติพฺพจฺฉนฺโท เธอเป็นผู้มีฉันทะอันแรงกล้า
ในสติปัญญาเครื่องรักษาตนในวันนี้ และมีความรักอันได้
แล้ว หวังความสำเร็จในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน
นั้นเบื้องหน้าต่อไปอย่างช้าเพียงวันพรุ่งนี้ ๑
(ฉ) ทิฏฺฐิปฏิเวเธ ติพฺพจฺฉนฺโท เธอเป็น
ผู้มีฉันทะอันแรงกล้าในการรู้เท่าทิฏฐิ ด้วยอริยมรรค
ในวันนี้ และมีความรักในการตรัสรู้ทิฏฐินั้น
เบื้องหน้าต่อไปอย่างช้าเพียงวันพรุ่งนี้ ๑
ธรรมคือนิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรง ตามชื่อซึ่งว่า
ไม่มีการผัดเพี้ยน คือตั้งใจจะให้สำเร็จในวันนี้ หรือพรุ่งนี้
เท่านั้น
(๑๐) ธรรม ๗ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้แจ้งนั้น
สตฺต ขีณาสวพลานิ คุณที่เป็นกำลังให้กล้าหาญ
เป็นของมีในพระขีณาสพ ๗ ประการ
(ก) อนิจฺจโต สพฺเพ สงฺขารา ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย
สุทิฏฺฐา สังขารธรรมที่ปัจจัยประชุมแต่งทั้งปวง
พระขีณาสพท่านได้เห็นชอบแล้วด้วยปัญญา โดย
เป็นของไม่เที่ยงตามความเป็นจริงอย่างไร ๑
(ข) องฺคารกาสูปมา กามา ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย
สุทิฏฺฐา กามทั้งหลายมีหลุมถ่านเพลิงเป็นเครื่องเปรียบ
อันพระขีณาสพได้เห็นชอบแล้ว ด้วยปัญญาตามความ
เป็นจริงอย่างไร ๑
(ค) วิเวกนินฺนํ จิตฺตํ จิตของพระขีณาสพ
น้อมไปโอนไปเงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ยินดียิ่งแล้วในวิเวก
ปราศไปสิ้นแล้วจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ

(ฆ) จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา สติปัฏฐานทั้ง ๔
พระขีณาสพท่านได้เจริญแล้ว เจริญด้วยดีแล้ว ๑
(ง) ปญฺจินฺทฺริยานิ ภาวิตานิ อินทรีย์ทั้ง ๕ คือ ศรัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พระขีณาสพท่านเจริญแล้ว
เจริญด้วยดีแล้ว ๑
(จ) สตฺต โพชฺฌงฺคา โพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ คือ สติ
ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
พระขีณาสพท่านได้ เจริญแล้ว เจริญด้วยดีแล้ว ๑
(ฉ) อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ภาวิโต มรรคมีองค์อวัยวะ ๘
ประการ ไปจากข้าศึก พระขีณาสพท่านได้เจริญแล้ว
เจริญด้วยดีแล้ว ๑
ธรรมคือขีณาสวพละ ๗ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงทำให้แจ้ง เพราะว่าพระขีณาสพท่าน
ได้อาศัยกำลังทั้ง ๗ นี้ทุกอย่าง ท่านจึงรู้ประจักษ์ซึ่ง
ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ว่าเราเป็นผู้สิ้นแล้ว ดังนี้
พระเถรเจ้าแสดงออกซึ่งหมวดธรรมละ ๗ ๆ โดยสิบส่วน
ถ้วนตามอุเทศมาติกาจบลงแล้ว จึงนิคมว่า อิติ อิเม
สตฺตติ ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ๗๐ ถ้วนเหล่านี้
อันพระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์โดยชอบ
ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ด้วยประการฉะนี้
สตฺตกถา นิฏฺฐิตา แสดงมาในสัตตปัพพะที่ ๗
ก็จบลงแต่เพียงนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตรเถรเจ้าเมื่อจะแสดงธรรมหมวดละ ๘ ๆ
จึงตั้งอุเทศมาติกาขึ้นโดยสิบส่วนเหมือนกันฉะนั้น
โดยเนื้อความว่า
(๑) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น อฏฺฐเหตุ
อฏฺฐปจฺจยา เหตุปัจจัย ๘ ประการ ซึ่งจะให้
ได้ปัญญาเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ได้จะให้ได้ ที่
ได้แล้วจะให้เจริญขึ้น
(ก) สตฺถารํ วา อุปนิสฺสาย วิหรติ อญฺญตรํ วา ครุฏฺฐานิยํ
เมื่อภิกษุเข้าอาศัยพระศาสดา
หรือสพรหมจารีควรเคารพองค์ใดองค์หนึ่ง
เป็นที่ทำหิริโอตตัปปะ และความรักความเคารพของตน
ให้เข้าไปตั้งอยู่ได้ อาศัยท่านที่ควรเคารพเช่นนั้นแล้วแล
อยู่ ๑
(ข) ตํ โข ปน สตฺถารํ อุปนิสฺสาย วิหรติ อญฺญตรํ วา
ครุฏฺฐานิยํ เมื่อเธอเข้าอาศัยพระศาสดา
หรือเพื่อนพรหมจรรย์เช่นนั้น แล้วหมั่นเข้า
ใกล้ไต่ถามข้ออรรถข้อธรรม
ให้ท่านเปิดเผยข้อที่ลี้ลับทำให้ตื้น ท่านบรรเทา
ความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
มีประการต่าง ๆ ออกเสียได้ ๑
(ค) ตํ โข ปน ธมฺมํ สตฺวา ทฺวเยน วูปกาเสน สมฺปาเทติ
เมื่อภิกษุได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมบำเพ็ญทำให้บริบูรณ์
ด้วยการเงียบการสงบ ๒ อย่าง คือสงบกายสงบจิต ๑
(ฆ) สีลวา โหติ ภิกษุเป็นผู้มีศีลได้สำรวมระวัง
ในพระปาติโมกข์สังวรบริบูรณ์ดี เว้นข้อห้าม
ทำตามข้ออนุญาต ๑
(ง) พหุสฺสุโต โหติ สุตธโร สุตสนฺนิจโย ภิกษุเป็นพหูสูต
มีพุทธวจนะได้สดับจำทรงไว้มาก ๑
(จ) อารทฺธ วิริโย วิหรติ ภิกษุอยู่ไม่เกียจคร้าน มี
ความเพียรปรารภแล้ว เพื่อจะละเหล่าอกุศลเสีย และจะ
ให้เหล่ากุศลธรรมบริบูรณ์ขึ้น ๑
(ฉ) สติมา โหติ ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นเนปักกคุณอย่างหนึ่ง
อาจที่จะระลึกกายกรรมที่ตนทำไว้นาน ๆ ได้ ๑
(ช) ปญจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ อุทยพฺพยานุปสฺสี วิหรติ
ภิกษุมักพิจารณาความเกิด และความเสื่อม
ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ว่า อันนี้
ความเกิดขึ้นของรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ อันนี้
ความอัสดงดับไปของรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ๑
ธรรมคือเหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แหละ มีอุปการะมาก
(๒) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีนั้น
อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค มรรคามีองค์อวัยวะ ๘ อย่าง
เป็นทางประเสริฐไปจากข้าศึก
(ก) สมฺมาทิฏฺฐิ ปัญญาความเห็นชอบ ๑
(ข) สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ ๑
(ค) สมฺมาวาจา วิรัติเป็นเครื่องเจรจาชอบ ๑
(ฆ) สมฺมากมฺมนฺโต วิรัติธรรมเป็นเครื่องทำด้วยกายชอบ

(ง) สมฺมาอาชีโว ความเพียรเป็นที่อาศัยเลี้ยงชีวิตชอบ ๑
(จ) สมฺมาวายาโม ความพยายามชอบ ๑
(ฉ) สมฺมาสติ สติชอบ ๑
(ช) สมฺมาสมาธิ สมาธิชอบ ๑
ธรรมคืออัฏฐังคิกมรรค ๘ นี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึง
ให้เกิดให้มีขึ้น
(๓) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้นั้น
อฏฺฐโลกธมฺมา ธรรมเป็นของประจำอยู่กับโลก ๘
ประการ
(ก) ลาโภ ลาภความอยากได้สิ่งที่ประสงค์ ๑
(ข) อลาโภ ความเสื่อมความไม่ได้สิ่งที่ต้องประสงค์ ๑
(ค) ยโส ยศความยิ่งความสูงความเชิดชู ๑
(ฆ) อยโส ความหายศมิได้ ความต่ำความถอย ๑
(ง) นินฺทา ความติเตียนหมิ่นประมาท ๑
(จ) ปสํสา ความสรรเสริญยกย่อง ๑
(ฉ) สุขํ ความสบายกายและจิต ๑
(ช) ทุกฺขํ ความทุกข์ทนยากลำบากกายและจิต ๑
ธรรมคือโลกธรรม ๘ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปริญญาทั้ง ๓
(๔) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงละเสียนั้น อฏฺฐ
มิจฺฉตฺตา สภาพที่ไม่แท้ สภาพที่ผิด ๘ ประการ
(ก) มิจฺฉาทิฏฺฐิ ความเห็นผิดจากสภาพความ
เป็นจริงอย่างไร ๑
(ข) มิจฺฉาสงฺกปฺโป ความดำริผิด คือความดำริตกไป
ในฝ่ายอกุศล ๑
(ค) มิจฺฉาวาจา วาจาผิดคือกล่าววจีทุจริต ๑
(ฆ) มิจฺฉากมฺมนฺโต กระทำการด้วยกายผิด คือทำใน
ส่วนกายทุจริต ๑
(ง) มิจฺฉาอาชีโว ความเลี้ยงชีวิตผิด คือหวังสุขแก่ตน
ให้ทุกข์แก่ผู้อื่น ๑
(จ) มิจฺฉาวายาโม ความพยายามผิด คือพยายาม
ในทางอกุศล
(ฉ) มิจฺฉาสติ ความระลึกผิด มีระลึกไปในกามารมณ์
เป็นต้น ๑
(ช) มิจฺฉาสมาธิ ตั้งจิตเสมอผิด คือตั้งจิตในอารมณ์ที่ไม่
เป็นอุบายระงับกิเลสออกได้ ๑
ธรรมคือสภาพผิด ๘ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงละเสีย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๕) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
อฏฺฐ กุสีตวตฺถูนิ วัตถุเหตุที่จะชักให้เป็นคนเกียจคร้าน ๘
ประการ โดยใจความเป็นบุคลาธิษฐานว่า
(ก) ภิกฺขุนา กมฺมํ กาตพฺพํ โหติ ภิกษุมีกิจการงานเกิดขึ้น
ที่ตนจะต้องทำ มีเย็บย้อมจีวรและปฏิสังขรณ์เป็นต้น
เธอคิดว่า เมื่อเราจะต้องทำการงานอยู่นั้นคงจะลำบาก
กระนั้นเราจะนอนเสีย คิดแล้วก็นอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร เพื่อจะให้ถึงฌานและวิปัสสนาและมรรคผล
ที่ตนยังไม่ได้ไม่ถึงนั้น เป็นกุสีตวัตถุที่ ๑
(ข) ภิกฺขุนา กมฺมํ กตํ โหติ เมื่อภิกษุได้ทำการงานนั้น
ให้สำเร็จลงแล้ว มาคิดท้อถอยว่า
เราทำกิจการงานเหน็ดเหนื่อยกายนัก กระ
นั้นนอนเสียเถิด คิดแล้วก็นอนเสีย หาได้ปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงฌานและวิปัสสนามรรคผล ที่ตนยังไม่
ได้ไม่ถึงนั้นไม่ เป็นกุสีตวัตถุที่ ๒
(ค) ภิกฺขุโน มคฺโค คนฺตพฺโพ โหติ ภิกษุมีกิจจะ
ต้องเดินทาง เธอคิดว่าเมื่อเราเดินทางจะต้องลำบากกาย
นอนเสียก่อนเถิด คิดแล้วก็นอนเสีย หาได้ปรารภ
ความเพียร เพื่อบรรลุฌานและวิปัสสนามรรคผล ที่ตนยัง
ไม่ได้ไม่ถึงนั้นไม่ อันนี้เป็นกุสีตวัตถุที่ ๓
(ฆ) ภิกฺขุโน มคฺโค คโต โหติ เมื่อภิกษุเดินทาง
ถึงที่ตนประสงค์แล้ว มาคิดท้อถอยว่า เราเดินทางมาถึง
ใหม่ ๆ เหน็ดเหนื่อยกายนัก กระนั้นเรานอนเสียเถิด คิด
แล้วก็นอนเสีย หาได้ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุฌาน
และวิปัสสนามรรคผล ที่ตนยังไม่ได้ไม่ถึงนั้นไม่
เป็นกุสีตวัตถุที่ ๔
(ง) ภิกฺขุ คามํ วา นิคมํ วา ปิณฺฑาย จรนฺโต น ลภติ
ภิกษุเที่ยวไปยังบ้านและนิคมเพื่อบิณฑบาต หา
ได้โภชนะพอประโยชน์ไม่ เธอคิดว่าบริโภคอาหาร
ไม่เพียงพอหิวอ่อนนักจะทำอะไรได้ กระนั้นนอนเสียเถิด
คิดแล้วก็นอนเสีย หาได้ปรารภความเพียร
เพื่อบรรลุฌานวิปัสสนามรรคผล ที่ตนยังไม่ได้ไม่ถึงนั้น
ไม่ อันนี้เป็นกุสีตวัตถุที่ ๕
(จ) ภิกฺขุ คามํ วา นิคมํ วา ปิณฺฑาย จรนฺโต ลภติ
ภิกษุเมื่อเข้าไปยังบ้านและนิคมเพื่อบิณฑบาต
ได้โภชนะบริบูรณ์พอเพียงแก่ประโยชน์ ฉันอิ่ม
แล้วมาคิดว่า
กายของเราหนักไปหาคล่องแคล่วต่อกิจการไม่ กระ
นั้นเรานอนเสียเถิด คิดแล้วก็นอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร เพื่อฌานและวิปัสสนามรรคผลต่อไป
เป็นกุสีตวัตถุที่ ๖
(ฉ) อุปฺปนฺโน โหติ อปฺปมตฺตโก อาพาโธ ป่วยไข้เล็กน้อย
ได้เกิดขึ้นแก่เจ้าภิกษุนั้นแล้ว เธอนั้นอ้างเหตุไข้เล็กน้อย
นั้น แล้วก็นอนเสีย มิได้ปรารภความเพียร อันนี้
เป็นกุสีตวัตถุที่ ๗
(ช) ภิกฺขุ คิลานา วุฏฺฐิโต โหติ ภิกษุหายไข้ไม่ช้านัก
เธอคิดว่ากายของเรายังถอยกำลังอยู่
ยังหาควรแก่กรรมอันสะดวกไม่ กระนั้นเรานอนเสียเถิด
คิดแล้วก็นอนเสีย มิได้ปรารภความเพียร
เพื่อบรรลุคุณพิเศษ มีฌานเป็นต้น ที่ตนยังไม่ได้ไม่ถึงนั้น
อันนี้เป็นกุสีตวัตถุที่ ๘
ธรรมคือกุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้าง
ความเสื่อม
(๖) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น อฏฺฐ
อารพฺภ วตฺถูนิ วัตถุเป็นเหตุจะให้ปรารภความเพียร ๘
ประการ
(ก) ภิกฺขุนา กมฺมํ กาตพฺพํ โหติ ภิกษุมีกิจการงานที่
จะทำเกิดขึ้น เธอคิดว่าเมื่อเราขวนขวายกิจการงานอยู่ ที่
จะทำในใจซึ่งโอวาทคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่ทำด้วยง่ายเลย กระนั้นเราปรารภความเพียร
เพื่อบรรลุคุณที่ประเสริฐ คือฌาน
และวิปัสสนามรรคผลที่เรายังไม่ได้ไม่ถึงเถิด คิด
แล้วก็ปรารภความเพียร อันนี้เป็นอารัพภวัตถุที่ ๑
(ข) ภิกฺขุนา กมฺมํ กตํ โหติ อนึ่ง เมื่อภิกษุนั้น
ได้ขวนขวายทำกิจการงานนั้นสำเร็จลงแล้ว เธอมาคิดว่า
เมื่อขณะเราขวนขวายทำกิจการงานอยู่นั้น หา
เป็นช่องโอกาสที่จะได้มนสิการซึ่งพุทธศาสนาไม่ บัดนี้กิจ
นั้นเสร็จลงแล้ว เราจักปรารภความเพียร เพื่อบรรลุฌาน
และวิปัสสนามรรคผลที่เรายังไม่ได้ไม่ถึงเถิด คิด
แล้วก็ปรารภความเพียร อันนี้เป็นอารัพภวัตถุที่ ๒
(ค) ภิกฺขโน มคฺโค คนฺตพโพ โหติ เมื่อภิกษุมีกิจจะ
ต้องเดินทางเกิดขึ้น เธอคิดว่า เมื่อขณะเราเดินทางไปนั้น
ยากที่จะมนสิการซึ่งพุทธศาสนา กระนั้นเราจะปรารภ
ความเพียรเสียก่อนแต่ยังไม่ได้เดินทางนั้นเถิด คิด
แล้วก็ปรารภความเพียร อันนี้เป็นอารัพภวัตถุที่ ๓
(ฆ) ภิกฺขุโน คโต โหติ อนึ่ง เมื่อภิกษุไปในหนทาง บรรลุ
ถึงที่อันตนประสงค์แล้ว ก็คิดเล่าว่า เมื่อขณะเรา
ยังเดินทางอยู่นั้นไม่เป็นโอกาสจะมนสิการ
ซึ่งพระพุทธศาสนา บัดนี้สิ้นธุระที่จะเดินทางแล้ว เรา
จะปรารภความเพียรเถิด คิดแล้วก็ปรารภความเพียร
ไม่ท้อถอย อันนี้เป็นอารัพภวัตถุที่ ๔
(ง) ภิกฺข คามํ นิคมํ วา ปิณฺฑาย จรนฺโต น ลภติ เมื่อภิกษุ
เข้าไปยังบ้านและนิคมเพื่อบิณฑบาต ไม่
ได้อาหารพอประโยชน์กลับมาแล้ว คิดว่ากายของเราเบา
ควรแก่กรรม ไม่เมาเหตุภัตตาหาร กระนั้นเราจะปรารภ
ความเพียรเถิด คิดแล้วก็ปรารภเริ่มความเพียร อันนี้
เป็นอารัพภวัตถุที่ครบ ๕
(จ) ภิกฺขุ คามํ วา นิคมํ วา ปิณฺฑาย จรนฺโต ลภติ อนึ่ง
ภิกษุเที่ยงบิณฑบาต ได้อาหารมาบริโภคพอประโยชน์
เธอมาคิดว่า บัดนี้กายของเรามีกำลังมากควรแก่กรรม
จะทำกิจได้โดยสะดวกดี กระนั้นเราจะปรารภ
ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมที่ตนยังไม่ได้ไม่ถึงเถิด คิด
แล้วก็ปรารภความเพียร อันนี้เป็นอารัพภวัตถุที่ ๖
(ฉ) ภิกฺขุโน อุปฺปนฺโน โหติ อปฺปมตฺตโก อาพาโธ
เมื่อภิกษุมีอาพาธป่วยไข้เกิดขึ้นเล็กน้อย เธอมาคิดว่า
บัดนี้ยังป่วยไข้เล็กน้อยไม่สู้หนักหนา ถ้าไฉนโรคาพาธ
จะพึงเจริญมากขึ้น ก็จะ
เป็นอันตรายแก่การมนสิการพุทธศาสนา กระ
นั้นเราปรารภความเพียรเถิด คิดแล้วก็ปรารภความเพียร
ไม่ท้อถอย อันนี้เป็นอารัพภวัตถุที่ ๗
(ช) ภิกฺขุ คิลานา วุฏฺฐิโต โหติ อนึ่ง ภิกษุหายจากป่วยไข้
ไม่ช้า รื้อไข้ใหม่มาคิดว่า บัดนี้เราพึ่งหายป่วยไข้ใหม่ ๆ
ถ้าหากว่าโรคนั้น จะพึงกำเริบกล้าขึ้นมาอีก ก็จะ
เป็นอันตรายแก่การมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
กระนั้นเราปรารภความเพียรเถิด คิดแล้วก็ปรารภ
ความเพียรไม่หย่อน อันนี้เป็นอารัพภวัตถุที่ ๘
ธรรม คือ อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้แหละ
เป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษ อาจที่จะให้ผู้ปฏิบัติแปลกขึ้นทุกที
(๗) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลจะตรัสรู้ได้ด้วยยาก
นั้น อฏฺฐ อขณา อสมยา พฺรหฺมจริยวาสาย กาล ๘ ครั้ง
ไม่เป็นขณะไม่เป็นสมัย เพื่อจะอยู่พรหมจรรย์
(ก) นิริยํ อุปปนฺโน โหติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น
ในโลก ทรงแสดงธรรมประกาศทางนิพพานอยู่
แต่บุรุษคนนี้ได้บังเกิดเสียในนรก อันนี้เป็นอขณะอสมัยที่

(ข) ติรจฺฉานโยนึ อุปปนฺโน โหติ ไปเกิดเสีย
ในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นอขณะอสมัยที่ ๒
(ค) ปิตฺติวิสยํ อุปปนฺโน โหติ ไปเกิดเสียในเปรตวิสัย
เป็นอขณะอสมัยที่ ๓
(ฆ) ทีฆายุกํ อญฺญตรํ เทวนิกายํ อุปปนฺโน โหติ
ไปบังเกิดเสียในหมู่เทวนิกายที่มีอายุยืนเหล่า
ใดเหล่าหนึ่ง คืออสัญญีภพและอรูปภพ
เป็นอขณะอสมัยที่ ๔
(ง) ปจฺจนฺติเมสุ ชนปเทสุ ปจฺจาชาโต โหติ ไปเกิดเสีย
ในหมู่มนุษย์มิลักขชนพ้นอริยกชาติ ในปัจจันตชนบท
อันนี้เป็นอขณะอสมัยที่ ๕
(จ) มชฺฌิเมสุ ชนปเทสุ ปจฺจาชาโต โหติ มิจฺฉาทิฏฺฐิ
วิปริตทสฺสโน เกิดเป็นมนุษย์ในมัชฌิมประเทศชนบท แต่
เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตผิดทางกรรมทางผล
เป็นอขณะอสมัยที่ ๖
(ฉ) มชฺฌิเมสุ ชนปเทสุ ปจฺจาชาโต โหติ โส ทุปฺปญฺโญ
เกิดเป็นมนุษย์ในมัชฌิมชนบท มิได้เป็นมิจฉาทิฏฐิเช่นนั้น
แต่มาเป็นคนทรามมึนตึงไม่ว่องไว ไม่สามารถจะรู้เนื้อ
ความแห่งสุภาษิต ทุพภาษิตได้ อันนี้เป็นอขณะอสมัยที่ ๗
(ช) ตถาคโต จ โลเก น อุปฺปนฺโน โหติ พระตถาคตเจ้ามิ
ได้บังเกิดขึ้นในโลก เป็นระหว่างสุญญกาล
เป็นอขณะอสมัยที่ ๘
เพราะเมื่อพระพุทธเจ้าไม่บังเกิดขึ้นในโลก ถึงบุคคล
ได้เกิดในมัชฌิมชนบท
เฉลียวฉลาดอาจรู้สุภาษิตทุพภาษิต สมควร
เป็นภาชนะรับรองธรรมเทศนาได้ ก็คงจะ
ไม่สำเร็จประโยชน์อะไร
ธรรมคืออขณะอสมัย ๘ ประการนี้แหละ อันบุคคล
จะตรัสรู้ตลอดได้ด้วยยาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 00:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๘) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีนั้น
อฏฺฐ มหาปุริสวิตกฺกา วิตกแห่งมหาบุรุษ ๘ ประการ
(ก) อปฺปิจฺฉายํ ธมฺโม คือตรึกตรองเห็นว่า ธรรมนี้
เป็นของแห่งบุคคลผู้มีปรารภนาน้อย ไม่ใช่ธรรม
เป็นของแห่งบุคคลผู้มักมาก ๑
(ข) สนฺตุฏฺฐสฺสายํ ธมฺโม ธรรมนี้เป็นของแห่งบุคคล
ผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมเป็นของแห่งบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑
(ค) ปวิวิตฺตสฺสายํ ธมฺโม ธรรมนี้เป็นของแห่งบุคคลผู้สงัด
แล้ว ไม่ใช่ธรรมเป็นของแห่งบุคคลผู้มีความวิตก
เป็นที่ยินดี ๑
(ฆ) อารทฺธวิริยสฺสายํ ธมฺโม ธรรมนี้เป็นของแห่งบุคคล
ผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของผู้เกียจคร้าน ๑
(ง) อุปฏฺฐิตสฺส สติสฺสายํ ธมฺโม ธรรมนี้
เป็นของแห่งบุคคลผู้มีสติอันเข้าไปตั้งอยู่แล้ว ไม่
ใช่ธรรมของผู้มีสติอันฟั่นเฟือน ๑
(จ) สมาหิตสฺสายํ ธมฺโม ธรรมนี้เป็นของแห่งบุคคล
ผู้ตั้งมั่นด้วยสมาธิ ไม่ใช่ธรรมของผู้ไม่มีสมาธิ ๑
(ฉ) ปญฺญวโต อยํ ธมฺโม ธรรมนี้เป็นของบุคคล
ผู้มีปัญญารู้ทั่วถึง ไม่ใช่ธรรมเป็นของผู้มีปัญญาทราม ๑
(ช) นิปฺปญฺจารามสฺสายํ ธมฺโม ธรรมนี้เป็นของแห่งบุคคล
ไม่ใช่ผู้มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า จะเป็นธรรมของ
ผู้มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้าเป็นที่ยินดีนั้นหามิได้ ๑
ธรรมคือมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีขึ้น
(๙) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรงนั้น
อฏฺฐ อภิภายตนานิ เหตุอันครอบงำ ๘ ประการ
(ก) อชฺฌตฺตํ รุปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
ปริตฺตานิ บุคคลผู้หนึ่งมีสัญญาหมายรู้รูปภายใน เห็นรูป
ทั้งหลายอันเป็นภายนอกเล็กน้อย มีพรรณดีและชั่ว ผู้
นั้นมาครอบงำซึ่งรูปภายนอกเหล่านั้นทั้งสิ้นเสีย
คงมีสำคัญอยู่ว่าเรารู้เราเห็นดังนี้ เป็นอภิภายตนะที่ ๑
(ข) อชฺฌตฺตํ รูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
อปฺปมาณานิ บุคคลผู้หนึ่งมีสัญญาหมายรู้รูปภายใน
เห็นรูปภายนอกมากไม่มีประมาณ มีพรรณดีและชั่ว ผู้
นั้นก็ครอบงำรูปทั้งหลายซึ่งเป็นภายนอกเหล่านั้นเสีย
คงมีสำคัญอยู่ว่า เรารู้เราเห็นดังนี้ เป็นอภิภายตนะที่ ๒
(ค) อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
ปริตฺตานิ บุคคลผู้หนึ่ง มีสัญญาในอรูปสมาบัติภายใน
เห็นซึ่งรูปภายนอกเล็กน้อย มีพรรรณดีและชั่ว ผู้
นั้นครอบงำซึ่งรูปภายนอกเหล่านั้นเสีย คงมีสำคัญอยู่ว่า
เรารู้เราเห็นดังนี้ เป็นอภิภายตนะที่ ๓
(ฆ) อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
อปฺปมาณานิ บุคคลผู้หนึ่ง มีสัญญาในอรูปสมาบัติภายใน
เห็นรูปภายนอกมากไม่มีประมาณ มีพรรรณดีและชั่ว ผู้
นั้นครอบงำเสียซึ่งรูปภายนอกเหล่านั้น คงมีสำคัญอยู่ว่า
เรารู้เราเห็นดังนี้ เป็นอภิภายตนะที่ ๔
(ง) อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
นีลานิ บุคคลผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูป
ทั้งหลายอันเป็นภายนอก มีพรรณเขียวและมีแสงเขียว
เพียงดังดอกผักตบอันเขียว หรือเพียงดังผ้าอันเกิด
ในเมืองพาราณสีมีพรรณอันเขียว อันบุคคลขึงแล้ว ณ
ข้างทั้งสองฉะนั้น ผู้นั้นก็ครอบงำเสีย
ซึ่งรูปภายนอกเหล่านั้น คงมีความสำคัญอยู่ว่า
เรารู้เราเห็นดังนี้ อันนี้เป็นอภิภายตนะที่ ๕
(จ) อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
ปีตานิ บุคคลผู้หนึ่ง มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอก
ซึ่งมีพรรณเหลือง ประหนึ่งดอกกรรณิกา
และผ้าสีเหลืองของเมืองพาราณสี อันบุคคลขึงแล้ว ณ
ข้างทั้งสอง ฉะนั้น ผู้นั้นก็ครอบงำเสีย
ซึ่งรูปภายนอกเหล่านั้น คงมีสำคัญอยู่ว่า
เรารู้เราเห็นดังนี้ อันนี้เป็นอภิภายตนะที่ ๖
(ฉ) อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
โลหิตานิ บุคคลผู้หนึ่ง มีอรูปสัญญาภายใน
เห็นรูปภายนอกซึ่งมีพรรณแดง เพียงดังดอกเซ่ง
และดอกชบา และผ้าสีแดงของชาวเมืองพาราณสี
อันบุคคลขึงแล้ว ณ ข้างทั้งสอง ฉะนั้น ผู้นั้นครอบงำเสีย
ซึ่งรูปภายนอกเหล่านั้น คงมีสำคัญอยู่ว่า
เรารู้เราเห็นดังนี้ เป็นอภิภายตนะที่ ๗
(ช) อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
โอทาตานิ บุคคลผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน
เห็นรูปภายนอกซึ่งมีพรรณขาว ประหนึ่งดาวประกายพรึก
และผ้าขาวของชาวเมืองพาราณสี อันบุคคลขึงแล้ว ณ
ข้างทั้งสอง ฉะนั้น ผู้นั้นครอบงำเสียซึ่งรูปภายนอกเหล่า
นั้น คงมีสำคัญอยู่ว่า เรารู้เราเห็นดังนี้ เป็นอภิภายตนะที่

ธรรมคืออภิภายตนะ ๘ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงรู้ยิ่งรู้ให้ตรง
(๑๐) ธรรม ๘ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงทำให้แจ้งนั้น
อฏฺฐ วิโมกฺขา วิโมกข์ ธรรมเครื่องพ้นวิเศษ ๘ ประการ
(ก) รูปี รูปานิ ปสฺสติ บุคคลบรรลุฌานมีรูปธรรม
เป็นอารมณ์ ย่อมเห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย เป็นวิโมกข์ที่ ๑
(ข) อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ
บุคคลผู้หนึ่ง มีความสำคัญอรูป ณ ภายใน เห็นซึ่งรูป
ทั้งหลาย ณ ภายนอกอยู่ เป็นวิโมกข์ที่ ๒
(ค) สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ บุคคลผู้บรรลุสมาบัติ
เมื่อสัตว์และสิ่งของแม้เป็นปฏิกูล ควรให้เกิด
ความกระทบจิต ก็น้อมจิตลงเสียว่างาม ๆ ดังนี้
เป็นวิโมกข์ที่ ๓
(ฆ) อนนฺโต อากาโส ผู้ล่วงรูปสัญญาเสียได้ ด้วยประการ
ทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้วแลอยู่
เป็นวิโมกข์ที่ ๔
(ง) อนนฺตํ วิญฺญานํ ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนะเสีย
ด้วยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
แล้วแลอยู่ เป็นวิโมกข์ที่ ๕
(จ) นตฺถิ กิญฺจิ ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียด้วยประการ
ทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วแลอยู่
เป็นวิโมกข์ที่ ๖
(ฉ) เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ
ผู้ล่วงอากิญจัญญายตนะเสียด้วยประการทั้งปวง เข้า
ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้วแลอยู่
เป็นวิโมกข์ที่ ๗
(ช) สญฺญาเวทยิตนิโรธํ
ผู้ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียด้วยประการทั้งปวง
เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วแลอยู่ อันนี้
เป็นวิโมกข์ที่ ๘
ธรรมคือวิโมกข์ ๘ ประการนี้แหละ เป็น
ส่วนอันบุคคลพึงทำให้แจ้งทำให้ใสแก่ตน
เมื่อพระเถรเจ้า แจกธรรมหมวดละ ๘ ๆ โดยสิบส่วน
ถ้วนตามมาติกาจบลงแล้ว จึงนิคมในท้ายอุเทศว่า อิติ
อิเม อสีติ ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ๘๐ ถ้วนเหล่านี้ จริงแท้
ไม่แปรผันยักย้ายไปอย่างอื่น อันพระตถาคตเจ้า
ได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วด้วยพระองค์โดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้แล
อฏฺฐกถา นิฏฺฐิตา แสดงมาในอัฏฐกปัพพะที่ ๘
ก็จบลงแต่เพียงนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 01:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตรเถรเจ้า เมื่อจะแสดงธรรมหมวดละ ๙ ๆ
จึงตั้งอุเทศมาติกาขึ้นโดยสิบส่วนเหมือนฉะนั้น
แสดงออกตามลำดับดังนี้
(๑) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่ามีอุปการะมากนั้น นว
โยนิโสมนสิการมูลิกา ธมฺมา ธรรมมีอันทำในใจ
โดยอุบายชอบเป็นมูลรากเป็นที่ตั้ง ๙ ประการ
(ก) โยนิโส มนสิกโรโต ปาโมชฺโช ชายติ เมื่อบุคคลมาทำ
ในใจโดยอุบายชอบอยู่ ย่อมเกิดปราโมทย์ ความบันเทิง
ทั่ว ๑
(ข) มุทิตสฺส ปีติ ชายติ เมื่อความบันเทิงทั่วมีอยู่
แล้วก็เกิดปีติ ๑
(ค) ปีติมนสฺส กาโย ปสฺสมฺภติ เมื่อปีติมีในใจแล้ว
กายก็รำงับเป็นปัสสัทธิ ๑
(ฆ) ปสฺสทฺธิกาโย สุขํ เวทติ เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ได้เสวย
ความสุข ๑
(ง) สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ เมื่อมีสุขอยู่แล้ว จิตก็ตั้งมั่น
เป็นสมาธิ ๑
(จ) สมาหิตจิตฺโต ยถาภูตํ วิชานาติ เมื่อจิตตั้งมั่น
เป็นสมาธิด้วยดีแล้ว ย่อมเกิดยถาภูตญาณทัสสนะ
รู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริงอย่างไร ๑
(ฉ) ยถาภูตํ ชานํ สยํ นิพฺพินฺทติ
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้ว
ก็เกิดนิพพิทานุปัสนา ความเหนื่อยหน่ายมีกำลังมากขึ้น ๑
(ช) นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ เมื่อนิพพิทาญาณ
ความเหนื่อยหน่ายมีอยู่ วิราคะอริยมรรคก็เกิดขึ้น ๑
(ซ) วิราคา วิมุจฺจติ
เพราะวิราคะอริยมรรคสยายคลายกิเลสเครื่องย้อมจิต
ให้ปราศจากไปนั้นเกิดขึ้นแล้ว วิมุตติ ความพ้นวิเศษไป
จากอาสวะ คือพระอริยผลเป็นคุณมีแก่นสาร ก็เกิดขึ้น
โดยลำดับ ๑
ธรรมคือโยนิโสมนสิการมูลิกา ๙ ประการนี้แหละ
มีอุปการะมาก
(๒) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้เกิดให้มีขึ้นนั้น
นว ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคานิ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์
๙ ประการ
(ก) สีลวิสุทฺธิ ความหมดจดสะอาดของศีล ๑
(ข) จิตฺตวิสุทฺธิ ความหมดจดสะอาดของจิต
คืออุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ๑
(ค) ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ ความหมดจดสะอาดของความเห็น
คือวิปัสสนาญาณ ๑
(ฆ) กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ
ความหมดจดสะอาดของการสิ้นสงสัย ๑
(ง) มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทฺธิ
ความหมดจดสะอาดของปัญญาความหยั่งรู้ว่านี่ทางนี่ไม่
ใช่ทาง ๑
(จ) ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความหมดจดสะอาดของ
ความรู้ความเห็นต่อทางปฏิบัติ ๑
(ฉ) ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความหมดจดสะอาดของความรู้
ความเห็น คือวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ๑
(ช) ปญฺญาวิสุทฺธิ ความหมดจดของปัญญา
คือพระอรหัตมรรค ๑
(ซ) วิมุตฺติวิสุทฺธิ ความหมดจดสะอาดของวิมุตติ
คืออรหัตผล ๑
ธรรมคือองค์เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ ๙
ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงให้เกิดขึ้นในตน
(๓) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงกำหนดรู้
ด้วยปริญญานั้น นว สตฺตาวาสา ภพเป็นที่เกิดอยู่ของสัตว์
กำหนดโดยต่างแห่งกาย และปฏิสนธิสัญญา
และวิบากแห่งขันธประวัติ ๙ ประการ กำหนด
โดยบุคลาธิษฐาน ตามประเภทแห่งสัตว์นั้น ๆ ดังนี้
(ก) นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญิโน เหล่าสัตว์มีกายต่าง ๆ
กัน มีสัญญาในปฏิสนธิก็ต่าง ๆ กัน ดังหมู่มนุษย์
และเทวดาบางพวกและสัตว์ในวินิบาตบางพวก
เป็นสัตตาวาสที่ ๑
(ข) นานตฺตกายา เอกตฺตสญฺญิโน เหล่าสัตว์มีกายต่าง ๆ
กัน แต่มีสัญญาในปฏิสนธิเป็นอันเดียวกัน
ดังเทวดาที่บังเกิดด้วยปฐมฌาน เป็นสัตตาวาสที่ ๒
(ค) เอกตฺตกายา นานตฺตสญฺญิโน เหล่าสัตว์มีกาย
เป็นอันเดียวกัน แต่มีสัญญาในปฏิสนธิต่าง ๆ กัน
ดังเทวดาชั้นอาภัสสร เป็นสัตตาวาสที่ ๓
(ฆ) เอกตฺตกายา เอกตฺตสญฺญิโน เหล่าสัตว์ที่มีกาย
เป็นอย่างเดียวกัน มีสัญญาในปฏิสนธิก็อย่างเดียวกัน
เหมือนเทวดาในสุภกิณหา เป็นสัตตาวาสที่ ๔
(ง) อสญฺญิโน อปฏิเวทยิโน เหล่าสัตว์ไม่มีสัญญา ไม่
ได้เสวยสุขทุกข์อุเบกขาอะไรเลย เหมือนอสัญญีสัตว์
ทั้งหลาย เป็นสัตตาวาสที่ ๕
(จ) อากาสานญฺจายตนูปคา เหล่าสัตว์ที่
ได้บรรลุอากาสานัญจายตนะแล้ว บังเกิด
เป็นอรูปสัตว์เหล่าหนึ่ง เป็นสัตตาวาสที่ ๖
(ฉ) วิญฺญาณญฺจายตนูปคา เหล่าสัตว์ที่
ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนะแล้ว ได้บังเกิด
เป็นอรูปสัตว์เหล่าหนึ่ง เป็นสัตตาวาสที่ ๗
(ช) อากิญฺจญฺญายตนูปคา เหล่าสัตว์ที่
ได้บรรลุอากิญจัญญายตนะแล้ว ได้บังเกิด
เป็นอรูปสัตว์เหล่าหนึ่ง เป็นสัตตาวาสที่ ๘
(ซ) เนวสัญฺญานาสญฺญายตนูปคา เหล่าสัตว์ที่
ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ได้บังเกิด
เป็นอรูปสัตว์เหล่าหนึ่ง เป็นสัตตาวาสที่ ๙
แท้จริง อสัญญีสัตว์ มีแต่รูปขันธ์เป็นวิบากแห่งสัญญา
วิราคจตุตถฌานอรูป ๔ มีแต่นามขันธ์ ซึ่ง
เป็นวิบากแห่งอรูปสมาบัติ
มีอารมณ์ละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ๆ สัตตาวาส ๙
กับวิญญาณัฎฐิติ ๗ ซึ่งมาแล้วในสัตตปัพพะก็เป็นอันเดียว
กัน เพิ่มอสัญญีสัตว์กับเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อรูปสัตว์เข้าอีกจึงเป็น ๙ ธรรมคือสัตตาวาส ๙
ประการนี้แหละ เป็นส่วนอันบุคคลพึงกำหนดรู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 10:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๔) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงละเสียนั้น
นวตณฺหามูลิกา ธมฺมา ธรรม ๙
ประการมาแต่มูลคือตัณหา
(ก) ตํ ตณฺหํ ปฏิจฺจ ปริเยสนา อาศัยตัณหานั้นเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยแล้ว จึงเกิดความแสวงหา ๑
(ข) ปริเยสนํ ปฏิจฺจ ลาโภ อาศัยความแสวงหาแล้ว
เป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงได้พัสดุนั้นเป็นลาภมา ๑
(ค) ลาภํ ปฏิจฺจ วินิจฺฉโย อาศัยลาภเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แล้วจึงวินิจฉัยตัดสินลงด้วยใจ ๑
(ฆ) วินิจฺฉยํ ปฏิจฺจ ฉนฺทราโค อาศัยความตัดสินลงแล้ว
เป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงเกิดฉันทราคะ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจแห่งฉันทะ คือความชอบใจ ๑
(ง) ฉนฺทราคํ ปฏิจฺจ อชฺโฌสานํ อาศัยฉันทราคะ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยแล้ว จึงเกิดอัชโฌสานะ
อาการที่จิตกระทบกระทับรับอารมณ์ที่ตนชอบใจนั้น
ลงประหนึ่งกลืนเข้าไว้ ๑
(จ) อชฺโฌสานํ ปฏิจฺจ ปริคฺคโห อาศัยอัชโฌสานะนั้น
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแล้ว จึงเกิดปริคคหะ ความหวงแหน ๑
(ฉ) ปริคฺคหํ ปฏิจฺจ มจฺฉริยํ อาศัยความหวงแหนนั้น
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแล้ว จึงเกิดมัจฉริยะความตระหนี่ ๑
(ช) มจฺฉริยํ ปฏิจฺจ อารกฺโข อาศัยความตระหนี่นั้น
เป็นมูลแล้วจึงต้องมีการรักษาระวังไว้ ๑
(ซ) อารกฺขาธิกรณํ ปฏิจฺจ อาศัยการรักษานั้น เป็นเหตุยิ่ง
ใหญ่ แล้วก็เกิดการถือเอาท่อนไม้และศัสตรา
และการทะเลาะวิวาทแก่งแย่งไปด้วยวาจาขึ้นเจ้าขึ้นข้า
และส่อเสียดยุยงให้ร้าวฉาน เจรจามุสาให้เหล่าอกุศล
เป็นอเนกบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยการหวงแหนนั้นเป็นเหตุ

ธรรมคือมูลตัณหา ๙ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงละเสีย
(๕) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างความเสื่อมนั้น
นว อาฆาตวตฺถูนิ วัตถุที่จะให้เกิดอาฆาต ๙ ประการ
(ก) อนตฺถํ เม อจรีติ อาฆาตํ พนฺธติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น
ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้วดังนี้
ผูกอาฆาต เป็นวัตถุที่ ๑
(ข) อนตฺถํ เม จรตีติ อาฆาตํ พนฺธติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น
ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราอยู่บัดนี้ดังนี้
ผูกอาฆาตไว้ เป็นวัตถุที่ ๒
(ค) อนตฺถํ เม จริสฺสตีติ อาฆาตํ พนฺธติ บุคคลมาคิดว่า ผู้
นั้น จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เราต่อไป
ในเบื้องหน้าดังนี้ ผูกอาฆาต เป็นวัตถุที่ ๓
(ฆ) ปิยสฺส เม มนาปสฺส อนตฺถํ อจรีติ อาฆาตํ พนฺธติ
บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้นได้ประพฤติสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่คนรักของเราแล้วดังนี้ผูกอาฆาต
เป็นวัตถุที่ ๔
(ง) ปิยสฺส เม มนาปสฺส อนตฺถํ จรตีติ อาฆาตํ พนฺธติ
บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่คนรักของเราอยู่ดังนี้ ผูกอาฆาต เป็นวัตถุที่ ๕
(จ) ปิยสฺส เม มนาปสฺส อนตฺถํ จริสฺสตีติ อาฆาตํ พนฺธติ
บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่คนรักของเราต่อไปดังนี้ ผูกอาฆาต เป็นวัตถุที่ ๖
(ฉ) อปฺปิยสฺส เม อมนาปสฺส อตฺถํ อจรีติ อาฆาตํ พนฺธติ
บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้นได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักแห่งเราแล้วดังนี้ ผูกอาฆาต
เป็นวัตถุที่ ๗
(ช) อปฺปิยสฺส เม อมนาปสฺส อตฺถํ จรตีติ อาฆาตํ พนฺธติ
บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ ประพฤติสิ่งที่
เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักของเราอยู่บัดนี้ดังนี้
ผูกอาฆาต เป็นวัตถุที่ ๘
(ซ) อปฺปิยสฺส เม อมนาปสฺส อตฺถํ จริสฺสตีติ อาฆาตํ
พนฺธติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ จักประพฤติสิ่งที่
เป็นประโยชน์แก่คนที่ไม่เป็นที่รักของเราต่อไปดังนี้
ผูกอาฆาต เป็นวัตถุที่ ๙
ธรรมคือ อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้แหละ เป็นฝักฝ่ายข้าง
ความเสื่อม
(๖) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าเป็นฝักฝ่ายข้างวิเศษนั้น นว
อาฆาต ปฏิวินยา อุบายธรรมในจิตโดยชอบ
ถอนอาฆาตวัตถุคืนเสียให้เสื่อมสูญ ๙ ประการ
(ก) อนตฺถํ เม อจรีติ ตํ กุเตตฺถ ลพฺภาติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ
บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ ได้ประพฤติสิ่งไม่
เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว แต่ก่อนเมื่อนั้น ๆ ดังนี้
แล้วกลับคิดว่า อันจะไม่ประพฤติสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่เรา เราจะพึงได้ในบุคคลนั้นแต่ไหนเล่า
ผู้นั้นก็บรรเทาอาฆาตคืนเสียให้พินาศไป
เป็นอาฆาตวินัยที่ ๑
(ข) อนตฺถํ เม จรตีติ ตํ กุเตตฺถ ลพฺภาติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ
บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ ประพฤติสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่เราอยู่บัดนี้ดังนี้ แล้วกลับคิดว่า อันจะ
ไม่ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๆ จะพึงได้
ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหนเล่า ผู้นั้นก็บรรเทาอาฆาตคืนเสีย
ให้พินาศไป เป็นอาฆาตวินัยที่ ๒
(ค) อนตฺถํ เม จริสฺสตีติ ตํ กุเตตฺถ ลพฺภาติ อาฆาตํ
ปฏิวิเนติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ จักประพฤติสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่เราต่อไปดังนี้ แล้วกลับคิดว่า อันจะ
ไม่ประพฤตสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เราจะพึงได้
ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหนเล่า ผู้นั้นก็บรรเทาอาฆาตคืนเสีย
ให้สิ้นไป เป็นอาฆาตวินัยที่ ๓
(ฆ) ปิยสฺส เม มนาปสฺส อนตฺถํ อจรีติ ตํ กุเตตฺถ ลพฺภาติ
อาฆาตํ ปฏิวิเนติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ ได้ประพฤติสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์แก่คนรักของเราแล้วดังนี้ แล้วกลับคิดว่า
ข้อซึ่งจะไม่ประพฤติอย่างนั้น เราจะพึงได้ในบุคคล
นั้นแต่ที่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว นำอาฆาตคืนเสีย ไม่ผูกอาฆาต
ไว้ เป็นอาฆาตวินัยที่ ๔
(ง) ปิยสฺส เม มนาปสฺส อนตฺถํ จรตีติ ตํ กุเตตฺถ ลพฺภาติ
อาฆาตํ ปฏิวิเนติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ ประพฤติสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์ แก่คนรักของเราอยู่บัดนี้ดังนี้
แล้วกลับคิดว่า ข้อซึ่งจะไม่ประพฤติอย่างนั้น เราจะพึง
ได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว นำอาฆาตคืนเสีย
เป็นอาฆาตวินัยที่ ๕
(จ) ปิยสฺส เม มนาปสฺส อนตฺถํ จริสฺสตีติ ตํ กุเตตฺถ
ลพฺภาติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ
จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่คนรักของเราต่อไปดังนี้ แล้วกลับคิดว่า ข้อซึ่งจะ
ไม่ประพฤติอย่างนั้น เราจะพึงได้ในบุคคล
นั้นแต่ที่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว นำอาฆาตคืนเสีย อันนี้
เป็นอาฆาตวินัยที่ ๖
(ฉ) อปฺปิยสฺส เม อมนาปสฺส อตฺถํ อจรีติ ตํ กุเตตฺถ
ลพฺภาติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ
ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่คนที่ไม่เป็นที่รักของเรา
แล้วดังนี้ แล้วกลับคิดว่า ข้อซึ่งจะไม่ประพฤติอย่างนั้น
เราจะพึงได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว
นำอาฆาตคืนเสีย เป็นอาฆาตวินัยที่ ๗
(ช) อปฺปิยสฺส เม อมนาปสฺส อตฺถํ จรตีติ ตํ กุเตตฺถ
ลพฺภาติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ
ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนซึ่งไม่เป็นที่รักของเรา
อยู่บัดนี้ดังนี้ แล้วกลับคิดว่า ข้อซึ่งจะไม่ประพฤติอย่าง
นั้น เราจะพึงได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว
นำอาฆาตคืนเสีย เป็นอาฆาตวินัยที่ ๘
(ซ) อปฺปิยสฺส เม อมนาปสฺส อตฺถํ จรสฺสตีติ ตํ กุเตตฺถ
ลพฺภาติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ บุคคลมาคิดว่า ผู้นั้น ๆ
จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ แด่คนไม่
เป็นที่รักของเราต่อไปดังนี้ แล้วกลับคิดว่า ข้อซึ่งจะ
ไม่ประพฤติอย่างนั้น เราจะพึงได้ในบุคคล
นั้นแต่ที่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว นำอาฆาตคืนเสีย
เป็นอาฆาตวินัยที่ ๙
ธรรมคืออาฆาตวินัย ๙ ประการนี้แหละ เป็นส่วนข้างวิเศษ
ทำให้ดีและแปลกขึ้นทุกที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๗) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงตรัสรู้ตลอดได้
ด้วยยากนั้น นว นานตฺตา สภาพของมีผลต่าง ๆ กัน ๙
ประการ
(ก) ธาตุนานตฺตํ ปฏิจฺจ อาศัยประชุมแห่งธาตุต่าง ๆ
จึงเกิดสัมผัสต่าง ๆ คือ จักขุธาตุ ๑ รูปธาตุ ๑
จักขุวิญญาณธาตุ ๑ ประชุมธาตุ ๓ นี้ จึงเกิดจักขุสัมผัส
ในโสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ ก็ประชุม ๓ ส่วนเหมือนกัน ๑
(ข) ผสฺสนานตฺตํ ปฏิจฺจ อาศัยประชุมต่าง ๆ แห่งสัมผัส
คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
กายสัมผัส มโนสัมผัส จึงเกิด เวทนา สุข ทุกข์
อุเบกขาขึ้น ๑
(ค) เวทนานตฺตํ ปฏิจฺจ อาศัยประชุมต่าง ๆ แห่งเวทนา
จึงเกิดสัญญาความจำหมายขึ้น ๑
(ฆ) สญฺญานานตฺตํ ปฏิจฺจ เพราะอาศัยประชุมต่าง ๆ
แห่งสัญญา จึงเกิดความดำริขึ้น ๑
(ง) สงฺกปฺปนานตฺตํ ปฏิจฺจ อาศัยความประชุมต่าง ๆ แห่ง
ความดำริ จึงเกิดฉันทะความรักความชอบใจขึ้น ๑
(จ) ฉนฺทนานตฺตํ ปฏิจฺจ เพราะอาศัยความประชุมต่าง ๆ
แห่งฉันทะ จึงเกิดความร้อนรนกระวนกระวายขึ้น ๑
(ฉ) ปริฬาหนานตฺตํ ปฏิจฺจ เพราะอาศัยประชุมต่าง ๆ แห่ง
ความกระวนกระวาย จึงเกิดแสวงหา ๑
(ช) ปริเยสนานานตฺตํ ปฏิจฺจ เพราะอาศัย
ความประชุมต่าง ๆ แห่งการแสวงหา จึงเกิดลาภความ
ได้ขึ้น ๑
(ซ) ลาภนานตฺตํ ความประชุมแห่งการได้ต่าง ๆ นั้นแหละ
เป็นที่ ๙
ธรรมคือประชุมต่าง ๆ แห่งธาตุให้เกิดผลขึ้นต่างกัน ๙
ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงตรัสรู้ตลอดได้ด้วยยาก
(๘) ธรรม ๙ ประการ ซึ่งว่าอันบุคคลพึงให้บังเกิดขึ้น
ในตนนั้น นวสญฺญา ความหมายรู้ ๙ ประการ
(ก) อสุภสญฺญา ความหมายรู้กายของตนและกายของผู้
อื่น โดยอารมณ์ไม่งามอยู่โดยธรรมดา ๑
(ข) มรณสญฺญา ความหมายรู้ในความตายเป็นอารมณ์
อยู่เสมอ ๑
(ค) อาหาเร ปฏิกูลสญฺญา ความหมายรู้กองอาหาร โดย
เป็นของปฏิกูลพึงเกลียด ๑
(ฆ) สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญา ความหมายรู้สรรพสิ่ง
ในโลกโดยความเป็นของไม่น่าพึงยินดีเลย ๑
(ง) อนิจฺจสญฺญา ความหมายรู้สรรพสังขารโดยเป็นของ
ไม่เที่ยง ๑
(จ) อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า
เป็นทุกข์ ๑
(ฉ) ทุกฺเข อนตฺตสญฺญา ความหมายรู้ในของที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นอนตฺตาไม่ใช่ตัวตนสัตว์บุคคล ๑
(ช) ปหานสญฺญา ความหมายรู้
ในการละอกุศลวิตกบาปธรรมออกเสียได้ ๑
(ซ) วิราคสญฺญา ความหมายรู้พระนิพพานว่า
เป็นธรรมคลายกิเลสเครื่องย้อมจิตได้จริง ๑
ธรรมคือสัญญา ๙ ประการนี้แหละ อันบุคคลพึงให้มีขึ้น
ในตน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร