วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อตฺตปวตฺติ
(พิมพ์แจกในงานทำบุญอายุครบ ๗๐ ปีบริบูรณ์ ๒๗
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๙)
นมตฺถุ รตฺนตฺตยสฺส อกฺขามิ ปวตฺตํ มมํ
สิสฺสานํ โพธนตฺถาย ตํ สุณาถสฺส สาธุกํ.
จักกล่าวประวัติไว้เป็นที่ระลึกแก่สานุศิษย์ทั้งหลาย ผู้
ต้องการอยากรู้ ด้วยในปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙ นี้ เดือน ๔
แรม ๑๐ ค่ำ ตามจันทรคติ อายุของอัตตโนครบ ๗๐ ถ้วน
นับเป็นวันได้ ๒๕,๕๕๐ วัน ควรเป็นที่ยินดีอย่างสูงสุด
ถ้าจะคิดถึงชีวิตของสัตว์ ซึ่งเขารักเหมือนชีวิตของเรา
แต่ถูกเราปล้นแย่งเอาร่างกายซึ่งเป็นของรักแห่ง
เขามาบำรุงชีวิตอันเป็นที่รักของเราก็น่าสังเวชสลดใจ ถ้า
จะนับทั้งไข่ทั้งตัวเอามาบำรุงคน ๆ เดียว ก็เห็น
จะมากกว่าล้าน แต่จะทำอย่างไรได้
ถูกธรรมดาบังคับเสียแล้ว ก็ต้องทำไม่รู้ไม่เห็น ทำเซ่อ ๆ
ยินดีว่าตนข้ามทางกันดารจวนจะถึงที่พักแล้วเท่านั้น
เปรียบเหมือนนายเรือนำเรือของตนข้ามมหาสมุทร
ผ่านอุปสรรคตลอดไปได้
จนแลเห็นทิวไม้ฝั่งที่ตนประสงค์ นายเรือและคนโดยสาร
จะมีความยินดีสักปานใด แม้ผู้นำเรือคือ อัตตโน (
เป็นคำที่ท่านใช้เรียกตัวเอง) ผ่านอุปสรรคมาได้ถึง ๗๐
ปีนี้ ก็เช่นนั้น คือ แลเห็นฝั่งที่จะจอดอยู่แล้ว จะอยู่ไป
ได้อีกไม่กี่ปี คงจะรักษาคุณความดีที่ตนประพฤติมา
แล้วนี้ตลอดวันตายได้
ไม่ใช่ยินดีต่อความแก่ความเฒ่า แต่ยินดีต่อคุณ
ความดีที่ตนได้ประพฤติมาแล้วต่างหาก จะไปยินดีต่อ
ความแก่ความเฒ่าทำอะไรกัน
ในการทำบุญนี้ได้ปรึกษากับพวกสัตบุรุษและพระเณรซึ่ง
เป็นลูกศิษย์ พระอมราภิรักขิต (ชัย)ผู้ เป็นหัวหน้า
บอกเล่ากันให้รู้ทั่วไปในพวกลูกศิษย์ จะ
ให้มีพระสวดมนต์ ๗๑ รูป พระเทศน์ ๑ รูป เป็น ๗๒ รูป
ส่วนนี้ให้ได้อัฏฐบริขาร บาตร, ไตร, กระโถน, ขันน้ำ,
สำรับคาวหวาน, พร้อม แต่ให้ได้จีวรแพรทั้งไตร และ
ให้มีพระมาฉันอีก ๗๐๐ รูป ถวายของเป็นสลาก คงจะ
ใช้เงินไม่ต่ำกว่า ๘,๐๐๐ บาท จะต้องอาศัยสัตบุรุษ
เป็นกำลังจึงจะสำเร็จ
ส่วนอัตตโนเองต้องการจะแจกหนังสือเบ็ดเตล็ดที่
ได้แต่งขึ้นไว้แล้ว แก่ผู้ควรได้ ด้วยอำนาจบารมีธรรมหาก
ให้เป็นไป จำเพาะได้พระยาธนภารพิสิษฐ์ (เปา มิลินทสูต
) เป็นผู้อุปถัมภ์ มีศรัทธาอันแรงกล้า รับภาระ
ในการพิมพ์หนังสือทุกเรื่องสุดแต่จะหาได้
บรรดาหนังสือที่อัตตโนแต่งเก็บมารวมพิมพ์จนสิ้น
อย่างละ ๑,๐๐๐ ฉบับ สำเร็จทันความประสงค์
สิ้นทุนทรัพย์หลายพันบาท ทำให้อัตตโนปลื้มใจอย่างยิ่ง
อัตตโนขออนุโมทนา ขอให้พระยาธนภารพิสิษฐ์ ภิยโยยิ่ง
ในสิ่งสุขสมบัติ ทั้งส่วนโลกีย์
และโลกุตระที่ท่านปรารถนา จงให้สำเร็จทุกประการ
ดังอัตตโนต้องการหนังสือมากมาย หลายหลวงสำเร็จไป
ได้ตามประสงค์ฉะนั้น
การที่แต่งหนังสือได้มากมายอย่างนี้ ไม่ใช่แต่งด้วยหวัง
จะให้เขาสรรเสริญว่าเป็นจินตกวี แต่แต่ง
ด้วยการสงเคราะห์ลูกศิษย์ที่อยู่ในทิศต่าง ๆ ห่าง ๆ ไกล
ๆ อยากแต่จะนิมนต์ให้อัตตโนไปเทศน์ให้ฟัง อัตตโนไม่มี
ความสามารถจะไปให้ทั่วถึง จึงได้คิดแต่ง
เป็นหนังสือเทศน์แทนตัว แจกออกไปเป็นคราว ๆ
หลายปีก็เลยเกิดเป็นหลายเรื่องขึ้นเท่านั้นเอง ขอท่าน
ทั้งหลายอย่าเล็งโทษ ว่าเป็นคนอวดดิบอวดดีเลย
และก็คงจะมีผิดบ้าง ถูกบ้างเป็นธรรมดา ต้องอาศัย
ความเลือกฟั้นอีกชั้นหนึ่ง ขออภัยแก่ท่านทั้งหลายทั่วไป
นิสัยของคนเราโดยมาก ถึงหนังสือนั้น
เป็นหนังสือดีชี้ประโยชน์ถึงร้อยข้อ แต่พิรุธเสียข้อหนึ่ง ก็
ต้องยกโทษเห็นว่าหนังสือนี้ใช้ไม่ได้ เหมือนคนไปซื้อผ้า
ถึงผ้านั้นเนื้อจะดีสีจะงามอย่างไรก็ตาม
ถ้าเห็นขาดทะลุนิดหนึ่ง ก็ย่อมยกโทษ
นั้นแหละขึ้นกล่าวว่าผ้านี้ใช้ไม่ได้ ข้อนี้มักเป็นนิสัยของผู้
ไม่ฉลาด ถ้าผู้ฉลาด การดูหนังสือตรวจหนังสือ
ท่านถือเอาผู้หาแก่นไม้เป็นตัวอย่าง ถ้ารู้ว่าไม้ต้นนี้มีแก่น
ถึงเปลือกหรือกระพี้จักห่อหุ้มอยู่สักเท่าไรก็ตาม
ไม่เกลียดไม่ชัง สู้ถากทิ้งในสิ่งที่ตนไม่ต้องการนั้นเสีย
ถือเอาแต่แก่น สิ่งที่ตนต้องการก็สำเร็จประโยชน์ได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 22:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อนี้ไป จะเล่าประวัติแต่เบื้องต้นมาให้ฟังพอเป็นสำเนา
เพื่อลูกศิษย์ผู้ต้องการรู้
อัตตโนเกิดที่บ้านหนองไหล เป็นหมู่บ้านใหญ่
มีหลังคาเรือนไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ตั้งอยู่ทิศพายัพเฉียงเหนือ
ห่างจากเมืองอุบล ประมาณ ๔๐๐ เส้น บิดาชื่อสอน
มารดาชื่อแก้ว อัตตโนเป็นบุตรหัวปี บิดามารดาบอก
ไว้ว่าเกิดปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ
วันศุกร์ เวลา ๑๑ ทุ่มเศษ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน
๑๑ คน ตายเสียแต่ยังเล็ก ๔ คน ชาย ๒ หญิง ๒ ใหญ่
เป็นเหย้าเป็นเรือนด้วยกัน ๗ คน ชาย ๔ หญิง ๓
ในทุกวันนี้หญิงตายไป ๒ คนแล้ว คงยังเหลือคนเดียว
ส่วนชายยังคงอยู่ด้วยกันทั้ง ๔ คน ส่วนบิดามารดา
เป็นคนทำนาทำสวนเป็นอาชีพ
อัตตโนได้อยู่ในความปกครองของบิดามารดาเพียง ๑๒
ปีเท่านั้น แต่รู้สึกว่ามีความสบาย บิดามารดา
ไม่พาอัตคัดขัดสนอะไรเลย แต่เป็นนิสัยของเด็กย่อม
ไม่รู้จักทุกข์
ครั้นย่างเข้าปีอายุ ๑๓
เป็นปีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
เป็นธรรมเนียมต้องโกนผมไว้ทุกข์ทั่วพระราชอาณาจักร
ประเทศลาวทั้งสิ้น บรรดาผู้หญิงไม่ว่าสาวหรือแก่
ไว้ผมยาวทั้งสิ้น พอทราบประกาศว่าให้โกนผม พา
กันระงมไปด้วยเสียงร้องไห้ทั่วบ้านทั่วเมือง
น่าสลดใจเสียดายผมเท่านั้น พากันอายศีรษะโล้น
ต้องคลุมผ้าไว้เสมอ ส่วนอัตตโนชอบใจเห็นศีรษะโล้น
เป็นงามดี
บิดาถามว่า จะให้บวชเป็นสามเณรจะอดข้าวเย็นได้ไหม?
เป็นที่พอใจรับว่าอดได้ เพราะเห็นสามเณรเป็นที่พอใจ
อยู่ก่อนแล้ว
บิดามารดาจัดการนำไปบวชที่วัดบ้านหนองไหล
เจ้าอธิการโสดา เป็นอุปัชฌายะ เรียนหนังสืออยู่
กับพระเคนเป็นญาติกัน จำได้แต่เพียงว่า บวชเดือนยี่
ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ จะเป็นขึ้นแรมเท่าไรจำไม่ได้
ครั้นถึงเดือน ๔ พระวัดสีทอง
ในเมืองออกไปเยี่ยมโยมที่บ้าน พระองค์นั้นก็เป็นญาติ
กันอีก ท่านชวนให้เข้าไปเรียนหนังสืออยู่วัดสีทองด้วยกัน
ก็เต็มใจ โยมทั้งสองก็ยินดีด้วย เพราะท่านเทวธมฺมี (ม้าว)
เจ้าอธิการวัดสีทอง เป็นสัทธิวิหาริก
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในสมัยนั้น และเป็นญาติ
กับอัตตโนด้วย คือ มารดาของท่านเทวธมฺมีเป็นพี่สาว
มารดาของโยมผู้ชายของอัตตโนเป็นน้องสาว
ครั้นอัตตโนเข้าไปอยู่ในวัดสีทอง ถืออุปัชฌายะ
ในสำนักท่านเทวธมฺมี
อยู่ศึกษาเล่าเรียนท่องสวดมนต์จบตามหลักสูตรของวัด
หนังสือที่เป็นสกภาษาชำนาญ เรียนหนังสือไทยอ่านออก
เลขบวกลบคูณหารได้
เรียนบทมาลาคือไวยากรณ์ทุกวันนี้แต่ย่อ ๆ ไม่สู้ได้
ความนัก เรียนลำบากมากเพราะไม่เข้าใจความ
เรียนไปอย่างนั้นเอง อาศัยแต่ท่องให้ขึ้นปากขึ้นใจไว้เท่า
นั้น แล้วท่านอุปัชฌายะให้เรียนแปลปาติโมกข์ เรียนจบ
แล้วไม่เข้าใจ กลับเรียนตั้งต้นไปใหม่เป็น ๒ จบ
แต่เป็นสามเณร เล่าเรียนอยู่ได้ ๗ ปี อายุย่างเข้า ๑๙
กำลังเริ่มเรียนมูลกัจจาย แต่เผอิญ
ต้องสึกออกมาเพื่อไปตามโยม ด้วยโยม
ผู้ชายถูกเกณฑ์ไปทัพฮ่อ ไปทันกองทัพที่เมืองกาฬสินธุ์
มีผู้รับจ้างไปแทนโยม เสียเงินให้เขา ๒ ฮาง* (
ชื่อเงินแท่งชนิดหนึ่งของเมืองฝ่ายเหนือ ฮางหนึ่ง
น้ำหนักเงิน 6 ตำลึง 6 สลึง คิดเป็นเงินสยามประมาณราว
๒๕ บาท ๒ สลึง) มอบลูกจ้างแก่นายร้อยนายสิบแล้ว
เขาอนุญาตให้กลับบ้าน
ที่จะต้องไปตามนั้น เพราะเป็นเดือน ๘ กำลังทำนา
โยมไปเสียแล้วไม่มีผู้ช่วยทำนา มีแต่น้องเล็ก ๆ
ควายฝูงมีกว่า ๒๐ ตัว ถ้าโยมผู้ชายไม่อยู่ อัตตโนก็
ต้องสึกไปช่วยโยมผู้หญิงอยู่นั่นเอง การที่อัตตโนสึก
ท่านอุปัชฌายะเสียดายอย่างยิ่ง แต่จำเป็น
ต้องยอมอนุญาต
ครั้นกลับจากไปทัพแล้ว อัตตโนก็ช่วยบิดามารดาทำนา
แต่ไม่คิดจะบวชอีกเสียแล้ว ให้เพลินไปในทางหนุ่ม
โยมก็ตามใจเสียด้วย อยู่ในเพศฆราวาสอีก ๓ ปี
อัตตโนเพลินอยู่ด้วยความเล่น พอย่างเข้าปี ๒๒ เดือน ๖
ท่านอุปัชฌายะใช้คนมาหาโยม เร่งเอาตัวอัตตโนไปบวช
ถ้าโยมส่งไม่ได้จะลงทัณฑกรรมแก่โยม
แต่ความจริงอัตตโนตั้งใจจะบวชอยู่เสมอ ด้วยได้รับปาก
กับโยมผู้หญิงไว้ คือโยมผู้หญิงบอกว่า อัตตโน
เป็นคนที่เลี้ยงยากที่สุด คือเป็นเด็กที่ดื้อที่ซน ขี้ร้องไห้
ถ้าร้องไห้แล้วตั้งชั่วโมงก็ร้องอยู่ได้ โยมได้รับ
ความเดือดร้อนอย่างสาหัส ถ้าไม่บวชให้ เห็นจะ
ไม่พ้นโทษ ต้องบวชให้โยม อัตตโนก็ได้รับว่า จะบวช
ให้เพียง ๓ ปี จะพอใจหรือไม่? โยมบอกว่า ปีเดียวสองปี
เท่าไรไม่ว่า ขอแต่ให้บวชเป็นแล้วกัน
ที่รับสัญญากับโยมผู้หญิงไว้นี้ไม่ลืมเลย
พอท่านอุปัชฌายะให้มาเร่งเอาตัว ก็เต็มใจไปบวช
แต่นั่นแหละ เรื่องอาลัยในมาตุคามบีบหัวใจของอัตตโน
ดูเหมือนความเศร้าโศกทับหัวใจไม่ใช่น้อย แต่ไม่
ถึงร้องไห้ อัตตโนเป็นคนใจแข็ง นับแต่อัตตโนจำได้
ตั้งต้นแต่อายุได้ ๑๕ ปี เป็นลำดับมาจนถึง ๗๐ นี้ อัตตโน
ยังไม่เคยร้องไห้เลย น้ำตาจะได้ไหลออกด้วยการร้องไห้
ยังไม่เคยมีเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 22:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้นถึง ณ วันเดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๒๐ ท่าน
ให้การอุปสมบทเสร็จลงในเวลาเช้า ๔ โมง ๑๕ นาที
ท่านเทวธมฺมี เป็นพระอุปัชฌายะ เจ้าอธิการสีโห
วัดไชยมงคล เป็นกรรมวาจาจารย์ ครั้นอุปสมบทแล้ว
ท่านกรรมวาจาจารย์ขอไปไว้วัดไชยมงคล เพื่อจะได้
ช่วยกิจวัตรในวัดนั้น เพราะไม่มีตัวจะใช้ แต่วัดไชยมงคล
กับวัดสีทองอยู่ใกล้กัน ห่างกันประมาณสัก ๑๐ เส้นเท่า
นั้น แต่ต้องมาเรียนหนังสือที่อุปัชฌายะ
เพราะอาจารย์สีโหสอนไม่ได้
ในพรรษาต้น ต้องท่องสวดมนต์ พอท่องสวดมนต์ได้แล้ว
ก็ตั้งหน้าท่องสูตรมูลกัจจายน์ตลอดปีจึงจบ พอย่าง
เข้าปีที่ ๒ ก็ลงมือเรียนมูลกัจจายน์ เรียนอยู่ ๒ ปี
จบเพียงอาขยาต ท่านอุปัชฌายะบอกว่า เรียนมูล
ให้จบเสียก่อนจึงเข้าไปกรุงเทพฯ เผอิญในพรรษาที่ ๔
พระอุปัชฌายะอาพาธเป็นไข้เรื้อรังถึง ๔ เดือน
บอกหนังสือไม่ได้ เสียเวลาเปล่า ครั้นออกพรรษาแล้ว
พระอุปัชฌายะบอกว่า อยู่ที่นี่จะเสียเวลามากไป
จะไปกรุงเทพฯ ก็เตรียมเถอะ
การที่จะเข้ามาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ ปรารภมา ๒ ปีแล้ว
เมื่อท่านอุปัชฌายะเปิดโอกาสก็ดีใจ ฝ่ายบ้านเมือง
เขาเตรียมจะเข้ามาส่งพระราชทรัพย์ เดือนอ้ายเขา
จะยกออกจากเมืองอุบล เพี้ยมหาสงครามเป็นหัวหน้า
และเป็นคนชอบกันกับอัตตโน พระอุปัชฌายะก็ฝากเขา
ด้วย
เวลาจะเข้ามากรุงเทพฯ
ไปทำวัตรนมัสการท่านอุปัชฌายะ ท่านให้โอวาทน่ายินดี
๓ ประการ
ข้อ ๑ สั่งว่า เมื่อไปถึงกรุงเทพฯ แล้ว
ให้ไปนมัสการพระแก้ว มอบกายถวายชีวิต
อธิษฐานตามประสงค์
ข้อ ๒ ว่า การเข้าไปอยู่บ้านใหญ่เมืองหลวง
ให้สังเกตดูวัดใดเป็นวัดใหญ่มีพระเณรมาก ถึงเขา
จะบอกว่าเป็นวัดไม่ดีไม่ควรอยู่ก็ตาม อย่าเชื่อ ให้ไป
อยู่วัดนั้นแหละ เขามีดีอยู่ในที่นั้นเขาจึงมาก
ให้ไปเลือกเอา วัดใดมีพระเณรน้อยถึงเขาจะชมว่า
เป็นวัดดีควรอยู่ ก็อย่าเชื่อ มันมีชั่วอยู่ในที่นั้นมันจึงน้อย
ข้อ ๓ ว่า เมื่อเราจะไปอยู่กับท่านผู้ใด ซึ่งเราหวังว่าจะ
เป็นที่พึ่งพาอาศัยเป็นเจ้าเป็นนาย ให้สังเกตดู ถ้านิสัย
ไม่ถูกกัน อย่าอยู่ จะมีความผิด ให้สังเกตดังนี้
ถ้าท่านประพฤติอย่างไร ท่านทำกิจสิ่งไร เป็นที่
ไม่ชอบใจของเรา เราทำสิ่งไรประพฤติอย่างไร เป็นที่
ไม่ชอบใจของท่าน ชื่อว่านิสัยไม่กินกัน รีบคิดไปอยู่ที่อื่น
ถ้าท่านทำสิ่งไรประพฤติสิ่งไรก็เป็นที่ชอบใจเรา
เราทำสิ่งไรประพฤติสิ่งไรก็เป็นที่ชอบใจท่าน
อย่างนี้ชื่อว่านิสัยกินกัน อุตสาหะตั้งใจปฏิบัติอยู่
ในสำนักท่านไป อาจจักสำเร็จ
ความประสงค์ของเราทุกประการ
การเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ท่านอุปัชฌายะให้หนังสือ ๓
ฉบับ ถวายสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ฉบับ ๑
ถวายสมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ ขณะนั้น
ยังอยู่ในตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์ ฉบับ ๑
ถึงพระอ่อน วัดบุรณสิริมาตยาราม ซึ่ง
เป็นสัทธิงวิหาริกของท่าน ภายหลังได้เป็นพระอริยกวี
เจ้าคณะเมืองอุบล ฉบับ ๑ ให้เป็นผู้นำถวาย
ครั้นเข้ามาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ได้พัก
อยู่ที่วัดบุรณสิริมาตยารามกับท่านอ่อนชั่วคราว ท่านอ่อน
เป็นผู้จัดการ ส่วนอัตตโนกับ สีโห น้องชาย
ท่านเอาไปฝากปลัดผา วัดเทพศิรินทราวาส ปลัดผาก็
เป็นสัทธิงวิหาริก ของท่านเทวธมฺมี เหมือนกัน ถวายตัว
เป็นอันเตวาสิก (ศิษย์ในสำนัก) เจ้าคุณอริยมุนี (เอม)
เจ้าอาวาส อีกองค์หนึ่ง ท่านอ่อนรับไว้ เข้ามา
ถึงกรุงเทพฯ เดือน ๓ พอเดือน ๔ ได้ไป
อยู่วัดเทพศิรินทราวาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 22:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ นับว่าเป็นโชคดี ประจวบ
กับสมัยมีงานพระเมรุ พระนางสุนันทากุมารีรัตน์ ณ
ท้องสนามหลวง มีพระเมรุใหญ่พระเมรุทอง
มีเครื่องพระราชไทยทาน
และการละเล่นเต็มยศตามแบบโบราณราชประเพณี ถ้าผู้
ไม่ได้เห็นก็น่าเสียดาย ต่อนั้นมานับว่าทรงยกเลิกงาน
ใหญ่ในท้องสนามหลวงก็ว่าได้ คงไม่ได้เห็นงานใหญ่เช่น
นั้นต่อไปอีก
เมื่ออัตตโนได้อาศัยวัดเทพศิรินทราวาสอยู่เป็นสุข
ในเวลานั้นเป็นวัดใหม่ พระสงฆ์พึ่งยกมาอยู่ได้ ๔ พรรษา
เท่ากับพรรษาของอัตตโน
ตกลงอัตตโนอุปสมบทปีพระสงฆ์ยกมา
อยู่วัดเทพศิรินทราวาสนั้นเอง ในเวลานั้นปัจจัยทั้ง ๔
บริบูรณ์ ไม่ได้รับความอัตคัดขัดสนเลย
ได้ตั้งหน้าเล่าเรียนโดยส่วนเดียว
เจ้าอาวาสก็มีเมตตาสงเคราะห์โดยฐานะแห่งลูกศิษย์
กับอาจารย์
สัตบุรุษจ้างอาจารย์ให้มาสอนธรรมบททีปนีอยู่ ๒ คน
ตอนเช้าชื่ออาจารย์บุตรมาสอน ตอนเพล
แล้วมหาดิดมาสอน มหาดิดองค์นี้ทราบว่าเป็นเปรียญ
อยู่วัดบวรนิเวศฯ ในเวลานั้นประมาณอายุอยู่ในระหว่าง
๖๐ เป็นผู้ใหญ่แล้ว สอนหนังสือดี เขาว่าท่านเสียจริต จึง
ต้องมาปลูกกุฎิอยู่ที่
ใกล้บ้านน้องชายหลังวัดเทพศิรินทราวาส
ใกล้วัดจางวางพ่วง ดูเหมือนว่าเป็นเปรียญ ๕ ประโยค
เป็นพระอยู่บ้าน, อะไรท่านก็ดีทุกอย่าง
เป็นแต่ท่านชอบเล่นหมากรุกเท่านั้น ส่วนอาจารย์บุตร
นั้นชอบเล่นหวย เงินเดือนที่บอกหนังสือได้ไม่พอใช้
หวยกินงอม
ได้เรียนธรรมบทอยู่ในสำนักท่านทั้ง ๒ นี้ ปีหนึ่งได้
ความรู้พอเป็นสะพาน มี
ผู้บอกเล่าว่าอาจารย์บุญบอกหนังสืออยู่ที่วัด
กันมาตุยารามดีมาก จึงไปขอเรียนในสำนักอาจารย์บุญ
ไปพักแรมอยู่วัดกันมาตุยารามบ้างเป็นคราว ๆ ยัง
ไม่เต็มปี เผอิญอาจารย์ถูกเลือกให้เข้าไปสอน
ในพุทธปรางค์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ยังทรงว่าการทหารมหาดเล็ก
ทรงจัดการบำรุงการศึกษาที่วัดพระแก้ว
ให้มีอาจารย์บอกหนังสือ ๔ อาจารย์
ตามศาลารายชั้นนอก ๓ อาจารย์ อาจารย์บุญบอกอยู่
ในพุทธปรางค์ ทรงจัด
ให้มีสำรับคาวหวานถวายพระนักเรียนเช้าเพลเป็นนิตย์
ที่วัดเทพศิรินทราวาส อัตตโนกับมหาสิทธิ์ ที่
เป็นพระญาณวิจิตร รับราชการอยู่ ณ
หอพระสมุดทุกวันนี้ พากันเข้าไปเรียน
ในพุทธปรางค์ทุกวัน สู้ทนความลำบากอยู่ได้ปีหนึ่ง
อยู่วัดเทพศิรินทราวาสได้ ๓ พรรษา อาจารย์เห็น
ความลำบากแนะนำให้ไปอยู่กับพระสาสนโสภณ (อ่อน)
เมื่อท่านยังเป็นเปรียญอยู่วัดบุปผาราม พอปวารณาแล้ว
ไม่ช้านัก พระอริยมุนี (เอม)
เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เป็นอหิวาตกโรค
ถึงมรณภาพ พอจัดการทางวัดเรียบร้อยแล้ว
เรียนท่านปลัดผาอาจารย์ขอลาไปอยู่วัดบุปผาราม
ท่านก็เห็นชอบด้วย พระปลัดผานั้นเป็น
ผู้ควรเคารพอย่างยิ่ง
ความเมตตาของท่านอุตสาหะนำอัตตโนไปฝากเจ้าคุณวิเชียรมุนี
(เมตฺตคู) เจ้าอาวาสและมหาอ่อนด้วยตนเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 23:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตตโนเป็นพระผู้ใหญ่ได้ ๗ พรรษาแล้ว ไป
อยู่วัดบุปผารามเรียนหนังสือในสำนักมหาอ่อน
ท่านบอกว่าแปลหนังสือก็พอสมควรแล้ว เรียนมูลอีกเถอะ
ก็ตั้งหน้าท่องสูตรมูลอีก ที่ท่องไว้แต่ก่อนลืมหมดแล้ว
กว่าจะได้ลงมือเรียนตั้ง ๓ เดือน สูตรมูลเป็นของจำยาก
ชอบลืมชอบสงสัย เว้นไม่ท่องสัก ๓ วัน จับท่องเข้า
เกิดสงสัยบางแห่งขึ้นแล้ว
เรียนมูลตั้งต้นแต่สนธิไปตลอดปี ได้สนธิกับนามผูกหนึ่ง
เท่านั้น ส่วนคัมภีร์นั้นอาศัยฟังผู้อื่น ท่านมาเรียน
ได้รู้สึกว่ามีความรู้ขึ้นพอควร
เข้าปีที่ ๒ กระทรวงธรรมการประกาศว่าแล้งหน้า
จะมีการสอบพระปริยัติธรรมให้ส่งบัญชีนักเรียน อาจารย์
ให้เลิกเรียนมูล ให้ซ้อมประโยคธรรมบทก่อน ตั้งแต่
เข้าพรรษาตลอดออกพรรษาก็ไม่ได้กี่ประโยค
แต่ลูกศิษย์ของท่านที่อยู่วัดบุปผารามท่านให้ใส่ชื่อ
เข้าบัญชี ๓ องค์ เมื่อเข้าสอบ ได้ ๒ ตก ๑ ที่
ได้คืออัตตโนกับราชเมธี (ท้วม) ขณะนั้นยังเป็นสามเณร
การแปลปริยัติธรรมคราวนี้ แปลแต่ประโยค ๓ เท่านั้น
จวนงานฉลองวัดราชประดิษฐ์ต้องเลิก
งดการแปลประโยคสูงต่อไป
เมื่อได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค อัตตโนได้ ๙ พรรษาแล้ว
อายุเข้า ๓๐ แล้ว
การเล่าเรียนของอัตตโนนับว่าสำเร็จลงเพียงนี้
ในระหว่าง ๕ ปีที่อัตตโนกำลังเล่าเรียนอยู่ น่ายินดีสม
กับคำที่อัตตโนอธิษฐานไว้จำเพาะพระพักตร์พระแก้ว คือ
ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า
“ ข้าพเจ้าตั้งใจจะ
เข้ามาเล่าเรียนเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
ถ้าวาสนาสามารถจะเป็นคุณ
เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาได้ต่อไป
การเล่าเรียนของข้าพเจ้าขอให้สะดวก อย่า
ให้มีอาพาธป่วยไข้จนถึงป่วยการการเล่าเรียน และขอ
ให้ข้าพเจ้าประสบพบเห็นแต่ท่านที่เป็นนักปราชญ์
อาจจักแนะนำให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความฉลาด ถ้า
ไม่มีวาสนาในทางบำรุงศาสนาแล้ว
ความปรารถนาอธิษฐานนี้อย่าให้สำเร็จเลย ”
ข้อที่ตั้งอธิษฐานไว้นี้นับว่าสำเร็จบริบูรณ์ แต่ความรู้จะ
ให้เชี่ยวชาญไม่ได้อยู่เอง ด้วยมาจับเรียนหนังสืออายุย่าง
เข้า ๒๖ แล้ว รู้ได้เพียงนี้ก็นับว่าเป็นลาภอันสำคัญ แต่ที่
จะเรียนต่อไปอีกนั้นหมดความอุตสาหะ คิดถึงตัวมาก
เห็นว่าการแปลหนังสือพอรู้ผิดรู้ถูกได้แล้ว ตกลงเอา
เป็นพอ ตั้งใจว่าต่อแต่ ๑๐ พรรษานี้ไป
จะศึกษาทางวิปัสสนาธุระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 23:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ามาเล่าเรียนอยู่กรุงเทพฯ ๖ พรรษา
อยู่วัดเทพศิรินทราวาส ๓ พรรษา อยู่วัดบุปผาราม ๓
พรรษา คิดจะไม่รับราชการต่อไป ด้วยคิดเห็นว่าความ
สามารถของตนจะไม่ทันแก่สมัย จึง
ได้ทูลลาออกไปเมืองอุบล
พระอุปัชฌายะ เทวธมฺมี ยังอยู่
ได้ไปอุปัฏฐากพระอุปัชฌายะอยู่วัดสีทองพรรษาหนึ่ง
เป็นพรรษาที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๔๓๐ ปีกุน
การที่ไปอยู่ปฏิบัติอุปัชฌายะ มีประโยชน์สำคัญ อยู่
กับท่านแต่ก่อนท่านก็พูดธรรมสู่ฟังบ่อย ๆ แต่ไม่
เข้าใจเลย ครั้นกลับไปจากกรุงเทพฯ ท่านแสดงอะไร
ให้ฟังเป็นที่จับใจทุกอย่าง จึงได้รู้สึก
ความลึกซึ้งของครูบาอาจารย์ เมื่อท่านเห็นว่าเรามี
ความรู้พอรับรองได้ ท่านก็ตั้งอกตั้งใจสอนจริง ๆ คืนหนึ่ง
ๆ แนะนำอยู่ได้ตั้ง ๔-๕ ชั่วโมง แทบทุกคืน
เว้นแต่มีกิจไปที่อื่น ได้ความสว่างในธรรมปฏิบัติ
ในสำนักอุปัชฌายะพอเป็นทางดำเนิน
พรรษาที่ ๑๒ ออกไปจำพรรษาที่บ้านหนองไหล
ให้ปลูกกุฎิอยู่ที่ป่า มีพระเณรไปอยู่เรียนหนังสือด้วย
๗-๘ องค์ ถึงวันพระ ๘–๑๔–๑๕ ค่ำ
ให้พวกญาติมาประชุม ฟังเทศน์รับอุโบสถเสมอ
ในแล้งนี้เจ้านครจำปาศักดิ์
แต่งกรมการมาขอพระธรรมยุติกาในสำนักอุปัชฌายะ
ขอให้ไปตั้งคณะธรรมยุตที่นครจำปาศักดิ์
พระอุปัชฌายะสั่งให้เข้าไปหารือเรื่องจะ
ให้ใครไปตั้งคณะธรรมยุตที่นครจำปาศักดิ์ ตกลงหาตัว
ไม่ได้ อัตตโนต้องรับภาระของพระอุปัชฌายะ
ปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๑ นั่นเอง ต้องลงไป
อยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ ในเวลานั้นพระยามหาอำมาตย์ (
หรุ่น) เป็นข้าหลวงประจำอยู่ที่นั่น พร้อม
ด้วยเจ้านครจำปาศักดิ์สร้างวัดให้ใหม่ ให้ชื่อว่า
วัดมหามาตยาราม มีพระเณรไปเรียนหนังสือด้วย ๑๑–
๑๒ องค์
จำพรรษาที่วัดมหามาตยารามเป็นพรรษาที่ ๑๓
ส่วนพระยามหาอำมาตย์กับเจ้านครจำปาศักดิ์ พร้อมใจ
กันมีหนังสือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้อัตตโน
เป็นเจ้าคณะสังฆปาโมกข์เมืองนครจำปาศักดิ์ อัตตโน
ไม่ทราบเลย ต่อออกพรรษาแล้วเดือนยี่ ได้รับท้องตรา
ให้หาตัวอัตตโนเข้ามารับสัญญาบัตร ณ กรุงเทพฯ เมื่อ
ได้รับท้องตราแล้ว ก็เป็นอันหมดปัญหา
ส่วนลาภยศอัตตโนไม่รังเกียจไม่เบื่อไม่หน่าย ได้อะไร
เป็นอะไรก็ยินดีทั้งนั้น อัตตโนรังเกียจเบื่อหน่ายแต่ความรู้
ความฉลาดของอัตตโนไม่เพียงพอเท่านั้น
เดือน ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ออกจากเมืองนครจำปาศักดิ์
เดือน ๖ พ.ศ. ๒๔๓๓ จึงถึงกรุงเทพฯ พักจำพรรษา
อยู่วัดพิชยญาติการาม กับเจ้าคุณสาสนโสภณ (อ่อน)
อาจารย์ เวลานั้นยังเป็นพระเมธาธรรมรส เป็นพรรษาที่
๑๔ การเข้ามากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๒ นี้ได้พาลูกศิษย์
เข้ามาเล่าเรียน ภายหลังได้เป็นกำลังแก่การงานหลายคน
นับว่าเป็นประโยชน์มาก
ครั้นถึง ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๓
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่
พระครูวิจิตรธรรมภาณี เจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์
ตาลปัตรแฉกทองแผ่ลวดมีนิตยภัตร ๘ บาท ถึงเดือน ๖
พ.ศ. ๒๔๓๔ กลับออกไปเมืองนครจำปาศักดิ์ เดือน ๘ จึง
ถึง เป็นพรรษาที่ ๑๕ จำพรรษาที่นครจำปาศักดิ์
พรรษาที่ ๑๖ ก็จำพรรษาที่นครจำปาศักดิ์ พรรษาที่ ๑๗
พ.ศ. ๒๔๓๖ ตรงกับ ร.ศ. ๑๑๒
ยกฝั่งแม่น้ำโขงตะวันออกให้แก่ฝรั่งเศส
อัตตโนทูลลากลับมาจำพรรษาที่วัดสุปัฏน์ เมืองอุบล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 23:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พรรษาที่ ๑๘ พ.ศ. ๒๔๓๗ อัตตโน
เข้ามาจำพรรษาที่วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพฯ
เข้ามาคราวนี้พาลูกศิษย์เข้ามาเล่าเรียนมาก การขึ้นล่อง
ในสมัยนั้นเป็นการลำบากมาก เดินทางเกวียนตั้ง ๒ เดือน
๓ เดือนจึงถึง เสียเงินรัฐบาลมากต้องเกณฑ์จ้าง
การเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ คราวนี้
ถูกสมัยที่ทรงตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย อัตตโนได้
เป็นกรรมการในมหามกุฎราชวิทยาลัยด้วย ออกพรรษา
แล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส โปรดให้อัตตโนไป
อยู่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นผู้
ช่วยหม่อมเจ้าพระศรีสุคตขัติยานุวัตร ท่านเป็นสมภาร
พรรษายังไม่ถึง ๑๐ รับนิสสัยพระสงฆ์ยังไม่ได้
ให้อัตตโนไปเป็นผู้รับนิสสัยพระสงฆ์ และเป็นครูใหญ่
ในโรงเรียนภาคมคธด้วย
ในแล้งนี้มีแปลพระปริยัติธรรมในท้องสนามหลวงด้วย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
รับสั่งให้อัตตโนเข้าแปลประโยค ๔ กับเขาด้วย
อัตตโนก็จำใจเข้าแปลกับเขา เผอิญถูกประโยคที่ง่าย
ได้ดูไว้บ้างแล้ว ถูกทีปนีผูก ๙ ขึ้นต้น “วงฺคีสตฺเถโรปิ ฯ”
แปลได้อย่างดี อัตตโนได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค ในปี พ.
ศ. ๒๔๓๗ ได้ ๑๘ พรรษาแล้ว
ในพรรษาที่ ๑๙ นี้ได้ช่วยหม่อมเจ้าพระศรีสุคตฯ
อยู่วัดเทพศิรินทราวาสตลอดพรรษา พอออกพรรษาแล้ว
อัตตโนเห็นว่ากำลังร่างกายไม่พอแก่การงาน ถ้าขืน
อยู่ไปคงเกิดโรค เพราะอาหารไม่มีรสเสียแล้ว อัตตโน
ไม่มีทางจะออกตัวได้อย่างไร เห็นแต่ทางลาสึก
เป็นดีกว่าอย่างอื่น จึงได้ทูลลาสึก
เดือน ๑๒ ออกไปเรียนวิปัสสนาอยู่
กับเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถร (สิง) วัดปทุมวนาราม
ถึงเดือนอ้าย ออกไปเขาคอกตั้งหน้าเจริญวิปัสสนา
ในระหว่างเดือนอ้ายนั้นนับว่าสมประสงค์ ตัดสินตนได้
คือยอมถวายตัวเป็นข้าพระรัตนตรัยอยู่
ในพระศาสนาตลอดชีวิต ได้มีลิขิต
เข้ามาถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงพิชิตปรีชากรว่า ถวายพรหมจรรย์แล้ว
ด้วยพระองค์ท่านคอยฟังข่าวอยู่ คือได้ทูลไว้ว่า
จะออกไปหาวิเวกตรึกตรองก่อน
เพราะพระองค์ท่านทรงพระเมตตามาก คอย
จะทรงอุปการะอยู่
ครั้นตัดสินตนได้แล้วก็เดินรุกขมูลต่อไป ได้ออกไปเที่ยว
อยู่ในแขวงเมืองนครราชสีมาตลอดแล้ง ยัง
เป็นห่วงพระโพธิวงศาจารย์ (อ้วน) ซึ่งยังเป็นเปรียญ
เป็นครูโรงเรียนวัดเทพศิรินทราวาสแทนตัวอัตตโนอยู่
เดือน ๖ พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้กลับเข้ามาจำพรรษา
อยู่ที่วัดปทุมวนาราม เป็นปีพรรษาที่ ๒๐
ในพรรษานี้ ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา เดือน ๑๐ กลับ
ได้รับพัดเปรียญ ๔ ประโยค และพัดพระครูคืนอีก คราวนี้
เป็นพัดพุดตาล ตกลงเป็นอันไม่มีทางจะแก้ตัว
ครั้นออกพรรษาแล้ว คิดการ
จะออกไปตั้งการศึกษาเล่าเรียนที่เมืองอุบล
ทั้งภาคหนังสือไทยและภาคมคธ
เตรียมแบบแผนบริบูรณ์ ได้เปรียญ ๔ องค์เป็นกำลัง คือ
พระมหาทา (กิตติวณโณ) เปรียญเอก ๗ ประโยค
มหาอ้วน (ติสฺโส) เปรียญโท เทียบ ๕ ประโยค มหารัต
เปรียญ ๔ ประโยค มหาล้อม เปรียญ ๔ ประโยค และ
ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออกไปตั้งตาม
ความประสงค์
ครั้นไปถึงเมืองอุบลในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้รับราชูปถัมภ์
๘๐๐ บาท ในเวลานั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ เป็น
ผู้ทรงช่วยอุปถัมภ์ และทรงตั้งโยมผู้ชายของอัตตโนให้
เป็นหลวงสุโภรสุประการ ฝ่ายสังฆการี ณ เมืองอุบล ใน
พ.ศ. ๒๔๔๐ ส่วนการศึกษาเล่าเรียนได้จัดตั้งวิธีสอบไล่
จัดให้มีรางวัลตามสมควร ไปตั้งในระหว่างปีเดียว
มีนักเรียนหนังสือไทยมากกว่า ๑๐๐ พระเณรที่เรียนมคธ
ไม่ต่ำกว่า ๕๐ นับว่าคิดการสำเร็จก่อนมณฑลทั้งปวง
ในพรรษาที่ ๒๑ และพรรษาที่ ๒๒ จำพรรษา
อยู่ที่วัดสุปัฏน์เมืองอุบล ครั้นออกพรรษาแล้ว ย่างเข้าปี
พ.ศ. ๒๔๔๒
ได้รับพระหัตถเลขาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการให้อัตตโน
เข้ามากรุงเทพฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 23:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตตโนได้เข้ามากรุงเทพฯ
ตามกระแสพระบรมราชโองการ พักจำพรรษา
อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร พอมาถึงสัก ๑๐ วัน
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า นำอัตตโนเข้าเฝ้าไปรเวศ
ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมุขกระสันด้านตะวันออก
ทรงพระราชปรารภ
ถึงการศึกษาเล่าเรียนที่ออกไปจัดการตั้งโรงเรียนขึ้นได้
นั้น เป็นที่พอพระราชหฤทัยสมด้วยพระราชประสงค์
แล้วพระราชทานตรามณฑลอีสานให้เป็น
ผู้อำนวยการคณะมณฑล แต่ยัง
เป็นพระครูวิจิตรธรรมภาณี
ออกพรรษาแล้ว ในงานฉัตรมงคล ณ วันที่ ๑๐
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒ อัตตโน
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งยศ
เป็นพระราชาคณะที่พระญาณรักขิต เป็นปีพรรษาที่ ๒๓
เสร็จราชการแล้ว เดือนยี่ อัตตโนรีบออกไปเมืองอุบล
จัดการวางระเบียบการคณะและการศึกษา พระมหาทา
พระมหาอ้วน พระปลัดอ่ำ ๓ องค์นี้เป็นแม่แรงช่วยแยก
กันไป เพราะมณฑลนี้ใหญ่มากมีจำนวนวัด ๒,๐๐๐ เศษ
มีจำนวนพระและสามเณร ๓๐,๐๐๐ เศษ
จัดการคราวแรกลำบาก เพราะยังไม่มีหลักฐาน
สุดแต่เจ้าคณะมณฑลจะเห็นสมควรอย่างไร
การจัดคณะให้เป็นหมวดเป็นแขวงไม่ใช่จัดได้ด้วยง่าย
เพราะประเทศนั้นยังไม่เคยมีแบบมีแผน
ต้องอาศัยทางราชการเป็นกำลังช่วยให้มีอำนาจ
ส่วนการศึกษาให้ตั้งการศึกษาขึ้นทุกหัวเมือง บางแห่งขัด
ด้วยหานักเรียนไม่ได้ บางแห่งขัดด้วยหาครูผู้
จะบอกหนังสือไทยไม่ได้ ถึง
ต้องจำหน่ายนักเรียนเมืองอุบลไปสอนตามหัวเมืองนั้น ๆ
หลายตำบล การที่มีเจ้าคณะมณฑล ทรงตั้งคราวเดียว
กันทุกมณฑล
ต่างองค์ต่างออกไปจัดวางระเบียบการตามมณฑลของตน
ๆ แล้ว ทำรายงานส่งกระทรวง
ต่อภายหลังจึง
ได้ทรงตั้งพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ วางแบบได้
เป็นการสบายแล้ว อัตตโนได้ช่วย
กันจัดการคณะมณฑลแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๒
ตลอดต้นปี พ.ศ. ๒๔๔๓ จำพรรษาที่วัดสุปัฏน์ อุบลฯ
เป็นปีพรรษาที่ ๒๔ กับพรรษา ๒๕ ตกแล้งในปีนั้นก็ช่วย
กันออกตรวจตลอดมณฑล ได้ไปตรวจแต่จำเพาะเมือง
จะไปตามอำเภอเวลาไม่พอ
ย่างเข้า พ.ศ. ๒๔๔๕ อัตตโนต้องกลับเข้ามากรุงเทพฯ
พักจำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นปีพรรษาที่ ๒๖
ด้วยในแล้งนี้มีงานพระเมรุท้องสนามหลวง
ตั้งที่โบสถ์พระแก้ววังหน้า
พระศพกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นต้น
หลายพระศพด้วยกัน เสร็จราชการแล้วย่างเข้าปี พ.ศ.
๒๔๕๖ เดือน ๖ กลับออกไปจัดการ
และจำพรรษาที่วัดสุปัฏน์ เมืองอุบล เป็นปีพรรษาที่ ๒๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 23:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นับแต่ได้ ๔ พรรษามาถึง ๒๗ พรรษานี้
การขึ้นล่องกรุงเทพฯ กับอุบล เวลาขึ้นนับเป็น ๑ ล่องนับ
เป็น ๒ ลำดับไปได้ ๑๐ เที่ยว และกำหนดในใจไว้ว่า ในปี
พ.ศ. ๒๔๔๖ นี้ ออกพรรษาแล้วจะกลับเข้ามากรุงเทพฯ
ทูลลาพักราชการมณฑล เพราะเหน็ดเหนื่อยมาก
ส่วนการงานก็ตั้งฐานได้แล้ว และเห็นว่าลูกศิษย์ผู้
จะรับมรดก ก็คงจะบำรุงการให้เป็นไปได้
เพราะเหตุนี้ออกพรรษาแล้ว
ทูลลาเสด็จข้าหลวงต่างพระองค์เข้ามากรุงเทพฯ
เป็นเที่ยวที่ ๑๑ พักที่วัดเทพศิรินทราวาส และ
ได้ทูลลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล
และทูลลาไปเที่ยวประเทศพม่า พักร่างกาย
ให้สบายสักคราว ก็
ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตตามประสงค์
ได้ตราเดินทางถึงกงสุลประเทศพม่า ตรากรมท่า
ตรามหาดไทย ตราธรรมการ เป็น ๓ ฉบับ เตรียมการ
จะไปประเทศพม่า แต่ยังเป็นห่วงพระมหาอ้วนที่รั้งคอย
อยู่ทางอุบล จึงได้จัดหาหนังสือแบบเล่าเรียนสิ่งไร
ยังบกพร่องได้แล้ว บรรทุกรถไฟออกไปโคราช
จัดจ้างเกวียนส่งสิ่งของออกไปให้มหาอ้วนเสร็จแล้ว
เบาใจสิ้นห่วง
นับแต่อัตตโนออกไปจัดการศึกษาเล่าเรียน
อยู่ที่เมืองอุบล แต่พ.ศ. ๒๔๔๐ มาถึง พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็น ๖
ปี อายุอัตตโนได้ ๔๘ ปี พรรษาได้ ๒๗ พรรษา อัตตโน
ได้ทูลลาพักราชการคิดจะไปเที่ยวตากอากาศ
และหาวิเวกเจริญสมถะวิปัสสนา มุ่งกิจส่วนตนเป็นใหญ่
แต่ก็หาสำเร็จตามประสงค์ไม่ จะไปเที่ยวประเทศพม่า
ในแล้งนี้เกิดขัดข้อง เผอิญป่วย เท้าเดินไกลไม่ได้
อย่างพยายามทนลำบากวันหนึ่งก็เดินได้เพียง ๕๐ เส้น
(๒ กิโลเมตร)
จึงปรึกษากับพระครูอุดมธีรคุณ (เงิน) ซึ่งยัง
เป็นพระอันดับ เป็นปัจฉาสมณะ (พระติดตามพระ
ผู้อาวุโส) ในพรรษานี้ควรจะเข้าไปพักจำพรรษาที่เขา
ใหญ่เสียก่อน เมื่อเท้าหาย ออกพรรษาแล้วจึงไปพม่า ก็
เป็นอันตกลงกัน พยายามเดินแต่นครราชสีมาไปเขาใหญ่
เกือบเดือนจึงถึงบนเขาใหญ่ ไปพักอยู่บ้านสองพี่น้อง
แต่เดือน ๔ ถึงเดือน ๖ อากาศไม่สบาย ลาพวกบ้านเขา
เลื่อนลงมาอยู่บ้านท่าช้าง
ในต้นเดือน ๗ ให้ชาวบ้านเขาปลูกกุฏิให้บนเขาน้อย
ใกล้บ้านท่าช้าง คิดว่าจะเป็นที่สบาย ปลูกกุฏิแล้วได้
อยู่ประมาณสัก ๑๐ วัน อัตตโนเป็นไข้ป่าจับอย่างสำคัญ
ได้ ๓ วัน พูดเพ้อ คิดจะพูดอย่างหนึ่งกลายเป็นพูดอย่าง
อื่นไป ยาควินนินก็หมดไม่มียาพอแก้ไข้ จึงใช้
ให้พระครูอุดมฯ
รีบไปขึ้นรถไฟไปนครราชสีมาซื้อยาควินนิน เธอก็รีบไป
๒ คืนจึงกลับมาถึง หลวงประสิทธิ์บ้านอยู่ใกล้วัดเลียบ
คลองปลู เป็นคนชอบกัน ทราบว่าอัตตโนอาพาธ
ก็รีบจ้างคน ๔ คนมาพร้อมด้วยพระครูอุดมฯ
ให้มาหามเอาอัตตโนออกไปรักษาที่บ้าน ครั้น
ได้ยาควินนินมาแล้วก็ฉัน หายจับในวันนั้น
รุ่งขึ้นเป็นเดือน ๗ แรม ๕ ค่ำ ชาวบ้านท่าช้างนั้นเองช่วย
กันทำแคร่ป่า หามออกมาส่งรถไฟสถานีปากช่อง วัน
ยังค่ำจึงถึงรุ่งขึ้นแรม ๖ ค่ำ ขึ้นรถไฟไปลงภูเขาลาด
ไปพักบ้านหลวงประสิทธิ์ แกยกเรือนให้หลังหนึ่ง
รักษาตัวอยู่ที่นั้นพอสบายหายโรค เดือน ๘ ขึ้น ๒ ค่ำ ได้รับท้องตราเสมาธรรมจักร
ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการให้นิมนต์อัตตโนเข้าไป
เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ โดยเร็ว
ให้ทันพระราชประสงค์ อัตตโนก็ไม่มีปัญหา เดือน ๘ ขึ้น
๕ ค่ำ อัตตโนเข้ามากรุงเทพฯ พักวัดเทพศิรินทราวาส
เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ ยกมาอยู่วัดบรมนิวาส
มีกระบวนรถหลวง ๒ คัน เทียมด้วยม้าเทศเป็นเกียรติยศ
ขึ้นแต่หน้าวัดเทพศิรินทราวาสมา
ถึงทางรถไฟข้างสะพานยศเส หมดทางกันเพียงนั้น
พระเถระที่มาส่งมีแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรสพระองค์เดียว เวลาบ่าย ๓
โมงมาถึงวัด ทรงสั่งเสียเสร็จแล้วก็เสด็จกลับ พระสงฆ์
ในวัดบรมนิวาสเวลานั้นมีอยู่ ๑๓ รูป วินัยธร ชื่อเพ็ชร
เป็นผู้รั้ง ท่านทั้งหลายก็พากันแสดงความยินดี
พวกทายกทายิกาก็พากันมาถวายดอกไม้ธูปเทียน
แต่มีน้อยไม่ถึง ๑๐ คน ได้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสวัสดิ์วัฒนวิศิษฎ์ เป็นผู้ทรงรับรองเกื้อหนุน
ทรงปวารณาดัวย ปัจจัย ๔ และทรงรับสั่ง
ให้นายเวรเผือก ข้าหลวงเก่าในพระองค์ เป็นผู้ทำสำรับ
เช้าเพลถวาย กว่าจะมีกำลังขึ้นได้
เป็นพระเดชพระคุณอย่างลึกซึ้ง ไม่มีความร้อนใจเลย
ครั้นใน พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นปีพรรษา ๒๗ ได้ทูลลาออก
จากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗
ปีมะโรง อายุ ๔๙ พรรษาที่ ๒๘ ได้มา
เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสนี้ นับแต่นั้นมาถึง พ.ศ.
๒๔๖๙ นี้ ได้ ๒๓ ปี อายุของอัตตโนย่างเข้า ๗๑ ปี
แต่พรรษาคงได้ ๕๐ ถ้วน จะว่าอายุได้ ๗๐ ถ้วนก็ได้ฯ
บัดนี้ จะเล่ากิจการงานและสุขทุกข์ในเวลาที่ได้มาอยู่
เป็นเจ้าอาวาสในวัดนี้แล้วให้ฟังต่อไป เมื่อได้เป็นสมภาร
โดยจำใจจำเป็นแล้ว อัตตโนตั้งเจตนาใหม่ คิด
จะดำเนินตามหลักพุทธจริยา ๓ ประการ คือ
อตฺตตฺถจริยา ญาตตฺถจริยา โลกตฺถจริยา ส่วน
อตฺตตฺถจริยา นั้น ตั้งใจจะบำเพ็ญ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ
ปัญญา ให้เต็มรอบ ให้สมบูรณ์ด้วยลาภ, ยศ, สรรเสริญ
และความสุข ญาตตฺถจริยา นั้น คิดตั้งใจ
จะบำรุงพระสงฆ์สามเณรอุบาสกอุบาสิกา และผู้ที่รู้
กันเห็นกัน อัตตโนถือว่าเป็นญาติ จะให้ได้รับความรู้
ความฉลาดด้วยธรรมิกอุบาย พอเป็นที่อุ่นใจแก่คนได้
ทั่วไปฯ โลกตฺถจริยา นั้น คิดตั้งใจ
จะบำรุงก่อสร้างถาวรวัตถุทั้งภายนอกและภายในให้โลก
ได้รับความสุขต่อไป
ในการประพฤติจรรยา ๓ นั้นจะเล่า
ให้ฟังแต่อย่างที่สำคัญ ถ้าจะเล่าให้ละเอียดตลอดไป
เห็นไม่สู้มีประโยชน์นัก จะเล่าสถานที่ในวัดนี้ไว้
ให้ฟังสักนิดหน่อย น่าสลดใจ คราวหายนะ เมื่ออัตตโนมา
อยู่กำลังวัดโทรม คณะหอเขียวมีกุฏิ ๕ หลัง พออาศัยอยู่
ได้แต่ชำรุดทุกหลัง กุฏิใหญ่พื้นชั้นล่างทรุด
กระดานโก่งอาศัยไม่ได้ พื้นชั้นบนดี แต่อับ หน้าต่าง
เล็กซุมซู่ พระเณรอยู่ไม่ได้เป็นไข้ อัตตโนก็ออก
อยู่ที่ระเบียงพอตลอดพรรษา
ออกพรรษาอัตตโนไปปลูกกุฏิเล็กอยู่ต่างหาก
คณะกลาง ที่รื้อสร้างโรงธรรมสวนะทุกวันนี้ มีกุฎิอยู่ ๖
หลัง พอพระเณรอาศัยอยู่ได้หลังเดียว ยังพออาศัย
ได้มากแต่คณะกุฏิ แต่ก็ชำรุดหลายหลัง
หน้าวัดมีศาลาระเบียงรอบ ๓ หลังชำรุดทุกหลังใช้การไม่
ได้ คณะสวน มีศาลา ๒ หลังแต่ชำรุดอาศัยไม่ได้เหมือน
กัน พระอุโบสถ เชิงกลอนและช่อฟ้าตกลงมาหลายอัน
ในพื้นพระอุโบสถทรุดเป็นแอ่งสองสามแห่ง
ชุกชีพระประธานก็ทรุดเป็นแอ่ง ๆ เหมือนกัน ต้องปรับ
ใหม่ทั้งนั้น ที่ปูหินหยาบโดยรอบในกำแพง
หญ้าแห้วหมูขึ้นรอบแผ่นหินยาวกว่าฝ่ามือ ต้องรื้อปรับ
ใหม่ยาปูนซิเมนต์โดยรอบ ที่วัดด้านตะวันออก และด้าน
ใต้ ด้านตะวันตก รกเป็นดงไม่มีทางเดินไปมาหากันได้ ดู
เป็นที่รำคาญใจเสียนี่กระไร แต่อัตตโนสบาย
ไม่รำคาญเห็นว่าเป็นคราวของธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมีข้อรำคาญอยู่อย่างหนึ่ง ที่วัดไม่มีทางออก
ต้องอาศัยเดินทางรถไฟลำบากมาก
แต่อัตตโนพยายามพูดขอทางออกหลังวัดที่ใช้อยู่ทุกวันนี้
๓ ปีจึงสำเร็จ เสียเงินมาก ที่ของหลวงยศเส ๒ เส้นเศษ
แต่ถนนหลวงเข้าไปเขาเรียกเอาราคาวาละ ๒๐ บาท ใน
นั้นเข้าไปถึงวัดวาละ ๖ บาท แต่อย่างนั้นเขาก็ไม่ยอม
ให้ตัดตรง ๆ คดไปคดมา เพราะเจ้าของเขาหวงที่
คิดเสียว่าพอเดินสะดวกได้เป็นแล้วกัน สัตบุรุษช่วย
กันบริจาคทรัพย์ทั้งค่าซื้อที่และค่าก่อสร้าง เสร็จ
เป็นถนนรถเดินได้สิ้นเงิน ๑๐,๕๐๐ บาท
ได้ถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว ได้พระราชทานนามให้เรียกว่า ถนนวัดนอก
เขียนป้ายติดไว้ที่ปากตรอก มีพระราชประสงค์จะ
ให้รักษาชื่อเดิมไว้ ด้วยวัดนี้เรียกว่า “วัดนอก”
วัดบวรนิเวศเรียกว่า “วัดใน” เป็นคู่กันแต่เดิม แต่
ไม่สำเร็จไม่มีใครเขายอมเรียก เขาเรียกแต่ “
ถนนวัดบรมนิวาส” อัตตโนมาอยู่วัดนี้ได้ ๓ ปี แล้วจึง
ได้มีถนนหลังวัดเข้าออกได้ ถนนสายนี้เป็นเหตุให้
ความเจริญแก่วัดขึ้นโดยลำดับฯ
ในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้สร้างถนนหลังวัดเสร็จแล้ว
ปรารภจะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและวิหาร
ซุ้มประตูศาลาน้ำ ซึ่งเป็นของสำคัญก่อน พอประจวบ
กับสมัยที่เจ้าจอมมารดาทับทิม มีประสงค์จะบำเพ็ญกุศล
ในคราวอายุครบ ๕๐ ปีบริบูรณ์ อาศัยเหตุนี้ท่านจึง
ได้ชักชวนบรรดาประยูรญาติช่วยจัดเป็นผ้าป่า รับ
กันคนละองค์ ต้องการเงินมาก ส่วนข้าวของ
ถวายพระที่ถูกฉลาก ส่วนเงิน รวมไว้ช่วย
ในการปฏิสังขรณ์โบสถ์ ส่วนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงช่วยไม้ขอนสัก ๘ ต้น
ยาวขนาด ๔ วา ส่วนโตแต่ ๙ กำขึ้นไปถึง ๑๒ กำมา
ในกระบวนผ้าป่าด้วย ช่างครึกครื้นเสียนี่กระไร
ในคลองหน้าวัดยัดเยียดหาทางเรือไปมาไม่ได้ เต็มไป
ด้วยเรือผ้าป่า เวลาขนขึ้นหน้าวัดก็เต็มหน้าวัดไปหมด
ทั้งการละเล่นเต้นรำก็ดูน่าสนุกอยู่
ในงานผ้าป่าคราวนี้ได้ค่าปฏิสังขรณ์ ๕,๐๐๐ บาทเศษ
ได้ขอนสัก ๘ ต้น นับว่ามีกำลังพอ
จะลงมือปฏิสังขรณ์โบสถ์ได้แล้ว อัตตโนได้
เข้าไปทูลเรี่ยไรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระยุพราช
ได้ทรงพระราชทานเงิน ๕,๐๐๐ บาท อัตตโนนับว่าเป็น
ผู้มั่งมี คือมีเงินตั้ง ๑๐,๐๐๐ บาท
ได้ลงมือปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และปรับพื้นทั้งภายใน
ทั้งภายนอกและซุ้มประตู ศาลาน้ำ ส่วนระเบียง
ได้แก้ไขแต่เพียงไม่ให้รั่ว
และซ่อมพระพุทธรูปที่ชำรุดบ้าง สิ้นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
ส่วนโบสถ์วิหารเป็นที่สำราญตาขึ้นแล้ว มาอยู่ได้ ๔ ปี
ได้ของสำคัญคือถนนกับโบสถ์ฯ
การที่ได้มาอยู่เป็นเจ้าอาวาส ได้อยู่สบายเพียง ๓ ปี
ออกพรรษาแล้วก็ออกรุกขมูลเสมอฯ ส่วนการในวัดก็จัด
ให้มีโรงเรียนหนังสือไทย ให้พระในวัดสอนที่หอเขียว
ในระหว่าง ๓ ปี มีนักเรียนขึ้นประมาณ ๔๐ คนเศษ
ภายหลังขอครูจากกระทรวงธรรมการมาสอน
หมดธุระไป มีแต่โรงเรียนทางมคธอย่างเดียว
การก่อสร้างก็มีขึ้นบ้างในปีที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๕๐
เจ้าจอมมารดาทับทิม ท่านเห็นอัตตโนไม่มีที่อยู่
ท่านรำคาญมีศรัทธาขอสร้างกุฎิสมภารให้ คือสร้าง
กุฏิปัทมราชนี้ให้ สิ้นเงิน ๙,๐๐๐ บาท
ในพรรษานี้เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ โยมผู้หญิงถึงแก่กรรม
เดือน ๑๑ ขึ้น ๙ ค่ำ โยมผู้ชายถึงแก่กรรม โยม
ผู้หญิงอายุได้ ๗๓ โยมผู้ชายอายุได้ ๗๗ นับว่า
ถึงแก่กรรมพร้อมกันก็ว่าได้ พระครูศีลวรคุณ
สมภารวัดสิริจันทรนิมิตร เขาพระงามลพบุรี เมื่อยัง
เป็นปลัดอยู่ช่วยการมณฑล พระโพธิวงศาจารย์เมื่อยัง
เป็นพระศาสนดิลก เป็นผู้พยาบาลโยม เธอ
เป็นบุตรสุดท้อง เธอได้มีโทรเลขมาแจ้งความ อัตตโน
ได้ตอบไปว่าให้เก็บศพไว้คอย ออกพรรษาแล้วจะไป
ครั้นออกพรรษาเสร็จการฉัตรมงคลแล้วก็ออกไป เดือน
๔ ทำศพโยมเสร็จ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๔๕๑ กลับ
เข้ามากรุงเทพฯ
ในพรรษานี้ พระญาณวราภรณ์
เจ้าคณะมณฑลจันทบุรีลาออก รับสั่งให้อัตตโน
เป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรีแทน วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๕๑ รับสัญญาบัตร ตำแหน่ง
เป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี ตกแล้ง
ได้ออกไปตรวจตลอดมณฑล แต่ไม่มีการลำบากอะไร
เพราะพระญาณวราภรณ์ได้ไปจัดการวางระเบียบ
ไว้เรียบร้อยแล้ว คดีอะไรก็ไม่มีเรียบร้อยดี
เดือน ๗ กลับเข้ามากรุงเทพฯ เป็นปี พ.ศ. ๒๔๕๒
เผอิญพระราชมุนี (ชม) เจ้าคณะมณฑลราชบุรี
ถึงมรณภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวทรงรับสั่งว่า มณฑลราชบุรีเป็นมณฑลสำคัญ
เห็นสมควรแต่พระญาณรักขิตเท่านั้น ในปีนี้วันที่ ๖
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๒
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งเป็น
พระราชกวี ถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลราชบุรี
ออกพรรษาฉัตรมงคลแล้ว
ออกไปตรวจมณฑลราชบุรีตลอดมณฑล
ในมณฑลนี้เจ้าคณะมณฑลเก่าจัดการไว้ยัง
ไม่สู้เรียบร้อย ออกจะมีขลุกขลักหลายเรื่อง
อธิกรณ์ก็มีหลายคดี พระตามบึงบาง
ยังมีอาการกระด้างกระเดื่อง ไม่เรียบร้อยเหมือนจันทบุรี
ครั้นกลับเข้ามาในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เผอิญพระสาสนโสภณ
(อ่อน) เจ้าคณะมณฑลหัวเมืองกรุงเทพฯ
ถึงมรณภาพลงอีก
คราวนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวก็ทรงเห็นอีกว่า พระราชกวีพอจะรับจัดการ
กับพระรามัญนิกายให้เรียบร้อยได้ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร
เป็นเจ้าคณะมณฑลหัวเมืองกรุงเทพฯ ตกแล้ง ฉัตรมงคล
แล้ว ออกตรวจตามหัวเมืองมณฑลกรุงเทพฯ
ยิ่งยุ่งหนักกว่ามณฑลราชบุรี
ออกไปตรวจคราวนี้มีอธิกรณ์มากกว่า ๕ เรื่อง ออกจะ
เป็นพวกพระรามัญโดยมาก ได้ชำระเสร็จไปทุกเรื่อง
ได้ออกไปตรวจใน ๓ มณฑลนี้ มณฑลละคราวเท่านั้น
ทั้ง ๓ มณฑล
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ออกพรรษาแล้ววันที่ ๒๓ ตุลาคม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าสยาม
ปิยมหาราชเสด็จสวรรคต ชาวพสกนิกรระงมไปด้วย
ความโศกเศร้าทั่วพระราชอาณาจักร ไม่ได้พูดถึงการงาน
ในหน้าที่ของตน เว้นแต่การจำเป็น ครั้น ณ วันที่ ๑๑
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ นั่นเอง
พระมงกุฎเกล้าเจ้าสยามเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบรัชทายาทต่อมา
การก็แปรไปตามสมัย
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีสมเด็จพระสังฆราชต่อกัน ๒
พระองค์ คือสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
เป็นพระสังฆราชมาก่อน ครั้นสิ้นพระชนม์แล้ว
ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์
ครั้นสมเด็จพระสังฆราช (สา) สิ้นพระชนม์แล้ว ก็
ไม่ทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช
แต่มอบหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช แก่พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงวชิรญาณวโรรสฯ
ในรัชกาลโน้นถึงมีสมเด็จพระสังฆราชแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็
ไม่วางอำนาจเด็ดขาดแก่พระสังฆราช เป็นแต่
ให้สมเด็จพระสังฆราชอนุวัตรตาม การคณะ การศาสนา
การศึกษาเล่าเรียน ทรงเป็นพระราชธุระด้วยพระองค์
ทั้งสิ้น สมเด็จพระสังฆราช
เป็นแต่อนุวัตรตามพระราชประสงค์เท่านั้นฯ
ครั้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๖
ทรงสถาปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวชิรญาณวโรรส
เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่สมเด็จพระสังฆราช
แล้วทรงมอบพระราชธุระฝ่ายพุทธจักรถวาย
ให้ทรงชี้การเด็ดขาดทีเดียว พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวเป็นแต่ทรงอนุวัตรตามสมเด็จพระสังฆราช เท่านั้น
ใน ๒ รัชกาลดำเนินการผิดกันอย่างนี้ฯ
ครั้นถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าสยาม
แล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงเริ่มจัดการพระศาสนา
ทั้งการคณะและการศึกษาใหม่
ส่วนมณฑลหัวเมืองกรุงเทพฯ ทรงจัดให้รวมขึ้นอยู่
ในคณะหนกลางกรุงเทพฯ อัตตโนก็ไม่
ต้องว่าการคณะต่อไป ตอนนี้อัตตโนมีกำไร
ในทางสมถะวิปัสสนามาก พอตกแล้งแล้วออกเที่ยวเสมอ
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ นั่นเอง
เจ้าจอมมารดาเลื่อนมีศรัทธาสร้างศาลาธรรมสวนะขึ้นที่คณะกลางชื่อศาลาอุรุพงษ์
ซึ่งอาศัยใช้อยู่ทุกวันนี้ ส่วนพระประธานในศาลานั้น
เป็นพระศิลาแลงชะลอมาจากวัดหลุมดินเก่าเมืองราชบุรี
เป็นพระประธานในโบสถ์ แต่โบสถ์เก่าชำรุดหมดแล้ว
ส่วนพระก็ตกลงมาอยู่ข้างล่างชำรุดทั้งองค์ คง
ได้ดีแต่พระเศียรเท่านั้น จ้างเจ๊กล่องถ่านบรรทุกเข้ามา
ให้ ปีชวด วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕
ได้ยกพระขึ้นแท่นในศาลาลำดับให้เป็นองค์
ใช้ปูนซิเมนต์ประสานเร่งรีบจะให้เสร็จทันสมโภชฉลอง
ใน วันวิสาขบูชา เผอิญวันวิสาขะตกเดือน ๗
สำเร็จทันตามประสงค์ ได้ถวายพระนามว่า
พระพิชิตมารมัธยมพุทธกาล
การสมโภชพระประธานองค์นี้
มีปาฏิหาริย์ปรากฏแก่ประชุมชนเป็นอันมาก
ในเวลาปัจจุสมัยพระยืนรอบสวดปฏิจจสมุปบาท
เวลาสรงน้ำอบน้ำหอม มีแสงพระรัศมีช่วงโชติขึ้นในศาลา
เป็นสายคล้ายกับสายฟ้าแลบ ทำ
ให้เกิดปีติแก่ประชุมชนน่าอัศจรรย์ฯ ความเป็นจริง แต่
ได้พระประธานองค์นี้มา การในวัดก็เจริญขึ้นทุกหน้าที่
การที่สร้างพระประธานนี้ได้คิดมา ๕ ปีแล้ว แต่แรก
ได้สร้างวัดเสน่หานุกูลที่ใกล้พระปฐมเจดีย์ คิดว่า
จะสร้างโบสถ์หล่อพระประธานขึ้นที่นั่น ให้ทันได้ฉลอง
ในปีชวดนี้เหมือนกัน ตั้งใจว่าจักไป
ช่วยบำรุงพระปฐมเจดีย์ด้วย แต่ไม่สะดวกเกิดขัดข้อง ๆ
จึงได้หลีกไปเสียทางอื่น ครั้นถึงปีชวด
ได้สร้างพระประธานองค์ที่ศาลาธรรมสวนะนี้ขึ้น
ก็คิดว่าสมประสงค์ แต่ยังรู้สึกในใจว่าน้อยนัก ไม่พอแก่ที่
ได้คิดไว้ในเบื้องต้น
ด้วยเหตุอะไรจึงได้คิดจะก่อสร้างที่ระลึกไว้ให้สำเร็จ
ในปีชวดนี้ ด้วยในปีชวด พ.ศ.๒๔๕๕ นี้ เป็นปีกึ่ง ๕๐๐๐
แห่งพุทธกาล นับแต่วันตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทโธมา
ควรเราผู้เป็นปัจฉิมสาวกจะสร้างเจติยสถานจารึกไว้
เป็นที่ระลึกอย่างสำคัญสักชิ้นหนึ่ง อันนี้เป็นความคิดเดิม
คิดมาได้ ๕ ปี
ครั้นฉลองสมโภชพระประธานในเดือน ๗
กลางเดือนเสร็จแล้ว
ได้พาพระครูปลัดอ่ำออกไปเที่ยวแขวงเมืองลพบุรี เพราะ
เป็นตำบลมีถ้ำมีเขามาก จึงไปได้ถ้ำเขาบ่องาม
ที่สร้างวัดสิริจันทรนิมิตร์อยู่บัดนี้ ว่าง
ไม่มีพระสงฆ์ไปอาศัย และเป็นสถานที่ชอบใจเห็น
เป็นมงคลสถาน ปากถ้ำนั้นเป็นเงื้อมเป็นปากมังกร
ผินหน้าสู่ทิศตะวันออก เวลาบ่ายได้รับเงาภู
เขาเย็นสบายดี เชื่อว่าในบริเวณตรงหน้ามังกรนี้คงจะมี
ความเจริญสืบไปในเบื้องหน้า เวลานี้ก็เงียบสงัดดี
ห่างหมู่บ้านประมาณ ๕๐ เส้น พอไปบิณฑบาตมาฉันได้
ก็ตกลงจับที่เป็นเจ้าของถ้ำทีเดียว
พระครูปลัดเธอก็ชอบใจ ขอลาออก
จากตำแหน่งพระครูปลัด ขอจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำนี้
อัตตโนก็ดีใจ คิดว่าออกพรรษาแล้วจะได้มาอยู่ด้วยกัน
ส่วนอัตตโนกลับเข้ามาจำพรรษากรุงเทพฯ เดือน ๑๑
ปวารณาแล้ว ได้รับจดหมายพระครูปลัดหารือมาว่า
พระพุทธรูปเก่าซึ่งปรักหักพังเกลื่อนกลาด
เป็นที่รำคาญมาก อยากจะเก็บรวมแล้วก่อ
เป็นพระกัจจายน์องค์เขื่อง ๆ ให้เป็นที่บรรจุพระที่ชำรุด
จะเห็นอย่างไร อัตตโนคิดเห็นว่า พระกัจจายน์เป็นสาวก
พระพุทธรูปเป็นพระพุทธเจ้า เห็นไม่เหมาะ
เสร็จพระกฐินแล้ว เดือน ๑๒ ข้างขึ้น ก็รีบออกไปปรึกษา
กันควรจะสร้างพระใหญ่ ส่วนพระกัจจายน์เอาไว้ทีหลัง
ก็ตกลงกัน จึงพากันเลือกหาที่ เห็นว่าที่ถ้ำนี้
เป็นศีรษะมังกร ภูเขานี้เป็นหางมังกร ควร
จะสร้างเหนือคอมังกรนี้แหละ จะได้มีเดชานุภาพมาก
มีหินก้อนใหญ่รับพระชานุอยู่สองก้อน ทิศใต้ก้อนใหญ่
ทิศเหนือก้อนย่อมหน่อย แต่ก็พอกันไม่ให้ทรุดลงไปได้
วัดดูที่ก็พอจะได้ ๑๐ วาเศษ คิดว่าจะทำเพียงหน้าตัก ๑๐
วาเท่านั้น ครั้นลงมือทำกลายเป็น ๑๑ วา
เพราะขยายออกตามก้อนหิน ครั้นตกลงกันแล้ว
อัตตโนก็ตั้งเครื่องสักการะตั้งสัตยาธิษฐานว่า คิด
จะทำการอย่างนี้ จะสะดวกหรือไม่ จะสำเร็จหรือไม่
ขอนิมิตต่อเทวนิกาย
ในคืนวันนั้นจวนสว่างนิมิตไปว่า
ได้ว่ายน้ำไปตามกระแสแม่น้ำตำบลหนึ่ง น้ำเชี่ยวเต็มที
แต่มีเสาสำหรับเกาะพักแรงไปเป็นระยะ ๆ
ในที่สุดไปเจอะโรงทหารอยู่ริมน้ำว่ายแวะ
เข้าไปขออาศัยขึ้น ทหารก็ดีใจให้อนุญาต จึงขึ้นไป
ในสนามทหาร เห็นเป็นถนนใหญ่เลยเดินเลยไป เป็นบ้าน
เป็นเมืองใหญ่โตในที่นั้น ก็พอตื่นพอดี รำพึงถึงนิมิต
จะอธิบายว่ากระไร? ทำไมจึงมาเกี่ยวด้วยกองทหาร แปล
ไม่ออก รู้แต่ว่าการคงสำเร็จตามประสงค์ เพราะ
ไม่มีเหตุขัดข้อง ก็ดีใจ
ครั้นเดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำ จะกลับเข้ามากรุงเทพฯ
ได้ตั้งสัตยาธิษฐานอีก คราวนี้ขอเทวนิกาย จงบันดาล
ให้เห็นการที่จัดสร้างพระใหญ่ตามนิมิตนั้น ถ้า
จะสำเร็จข้าพเจ้าเข้าไปกรุงเทพฯ คราวนี้
จะไปบอกบุญพวกสัตบุรุษให้ได้เงินอย่างน้อย ๕,๐๐๐
บาท ในภาย ๕ วัน ๗ วัน จะเชื่อได้ว่าการจะสำเร็จเป็นแน่
จะได้เรียกลูกจ้างออกมาทำในเดือนนี้ให้สำเร็จ
เป็นพระกึ่งยุค เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนา ถ้าจะ
ไม่สำเร็จในภายใน ๕ วัน ๗ วันนี้ อย่าให้ได้เงินเลยฯ
แล้วกลับเข้ามากรุงเทพฯ มาเล่าความประสงค์
ให้สัตบุรุษฟัง เจ้าจอมมารดาเลื่อนมีศรัทธาช่วย ๒,๐๐๐
บาท แม่ชีอุบาสิกาเชื่อง อุบาสิกาชงให้คนละ ๑,๐๐๐
บาท เวลานั้นส่วนอัตตโนเอง ไวยาวัจกรเก็บไว้มีอยู่บ้าง
ผู้อื่นช่วยอีกบ้างรวมเป็น ๑,๐๐๐ บาทเศษ ยังไม่ถึง ๕ วัน
มีเงินถึง ๕,๐๐๐ บาท สมกับสัตยาธิษฐานแล้วสิ้น
ความสงสัย จึงเรียกเจ๊กกวางตุ้งช่างไม้ ให้ไปผูกโครง
เจ๊กแต้จิ๋วเป็นช่างก่อออกไปพร้อมกัน เดือน ๑๒ แรมค่ำ
๑ พาเจ๊กออกไป แต่โครงเหมาเจ๊กกวางตุ้ง ๔,๐๐๐ บาท
ให้แล้วในกึ่งเดือน
เดือนอ้ายขึ้น ๔ ค่ำ เวลาโมงเช้าก่อฤกษ์
นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์กำหนดร้อยหนึ่งขึ้นไป
ชาวบ้านมาช่วยเลี้ยงพระมากกว่า ๕๐๐
การก่อเหมาเจ๊กแต้จิ๋ว ๖,๐๐๐ บาท ว่าให้ทัน
ได้สมโภชเดือน ๔ เพ็ญ แต่ก็ไม่สำเร็จ ทำงาน ๓ เดือน
ไม่มีหยุดเลย ได้เหนือบั้นเอวขึ้นไปนิดหน่อย เงินค่าเหมา
๖,๐๐๐ บาทก็หมด ต้องเหมาให้ทำต่อขึ้นไปอีก ๕,๐๐๐
บาท ยังต้องเติมอีก ๓,๐๐๐ บาท สามปีจึงสำเร็จสมบูรณ์
แต่การฉลองสมโภชต้องทำแต่ปีต้นตลอดมาทั้ง ๓ ปี
ให้มีบ้องไฟใหญ่มาจุดบูชาสมโภชทุกบ้าน บ้านใด
สามารถจะทำได้ในงานคราวหนึ่ง ก็ไม่ต่ำกว่า ๔๐
กระบอกทั้ง ๓ ปี ต่อนั้นมาให้เว้นบ้องไฟ ๒ ปี ปีที่ ๓ จึง
ให้มีบ้องไฟ เพราะเป็นการยาก หามมาก็ลำบาก บ้านอยู่
ไกล จึงได้เป็นธรรมเนียมมาจนถึงทุกวันนี้
การสมโภชคราวหนึ่งได้มีมหาชนผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์
ไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท การจึงสำเร็จ ถ้าจะว่าไปโดย
ความจริง การสร้างพระใหญ่นี้ เกี่ยวด้วยความเป็นเอง
โดยมากจึงสำเร็จได้ สิ้นเงิน ๖๐,๐๐๐ บาทเศษ
นับแต่แรกสร้างปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ มาถึง พ.ศ. ๒๔๖๙
ปีขาลนี้ได้ ๑๕ ปี ในปีขาลนี้ได้ลงมือปฏิสังขรณ์
ใหม่ผูกลวดเหล็กเทคอนกรีตขึ้นไป แต่พื้นดินตลอด
ถึงพระเศียร สิ้นปูนซีเมนต์ ๔๐๐ ถัง คราวนี้ได้ทำ
ให้แข็งแรงและ เรียบร้อยดีขึ้นกว่าเก่า ทำอยู่ ๗ เดือน
จึงสำเร็จ สิ้นเงิน ๑๖,๐๐๐ บาท และได้สร้างพระกัจจายน์
ด้วย สร้างวิหารพระกัจจายน์ด้วย พระกัจจายน์หน้าตัก
๑๑ ศอก สูง ๓ วา อยู่ข้างล่างเคียงพระอุโบสถ
ทั้งพระกัจจายน์และวิหารสิ้นเงิน ๕,๐๐๐ บาท ในปีเดียว
กันในเดือน ๔ ปีนี้ ทำการฉลองสมโภชเป็นการใหญ่ฯ
ในรัชกาลที่ ๖ อัตตโนมีความเจริญยิ่งด้วยลาภยศ
ทั้งการก่อสร้างในวัดบรมนิวาสและที่อื่นๆ
คือวัดสิริจันทรนิมิตร เขาพระงาม และปฏิสังขรณ์โบสถ์
และวิหารคดวัดบวรมงคลฯ นี้สิ้นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาทเศษ
และไปช่วยเขาสร้างมณฑปพระบาท ที่วัดกลางบ้านแป้ง
อำเภอพรหม แขวงเมืองสิงห์ด้วย ส่วนในวัดบรมนิวาส
จะบอกไว้แต่ของสำคัญ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์สิริพัฒน์
มีพระประสงค์อยากสร้างถาวรวัตถุไว้ในวัดนี้สักสิ่งหนึ่ง
เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัว อัตตโนได้ถวายพระพรขอให้ทรงสร้างหอระฆัง
และตัวระฆัง หอให้สูงไม่ต่ำกว่า ๑๐ วา ระฆังไม่ให้ต่ำกว่า
๙ กำ ทรงเห็นชอบด้วย ทรงสร้างสำเร็จ บริบูรณ์ทั้งหอ
และตัวระฆังสิ้นเงิน ๕,๘๐๐ บาท
สุ่น ทังสุภูติ อุบาสิกาเป็น
ผู้มีศรัทธากล้าแข็งบริจาคทรัพย์รวม ๓๕,๐๐๐ บาท
สร้างโรงเรียนสุ่นวิทยานุกูลขึ้นแล้วเสร็จสมบูรณ์เต็มที่
สำหรับให้พระสงฆ์สามเณรศึกษาพระปริยัติธรรม
และเมื่อสร้างโรงเรียนนี้ขึ้นได้แล้ว นำความสะดวก
ให้แก่พระสงฆ์สามเณรได้รับความผาสุก
ในการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเป็นอันมาก นับว่า
เป็นสิ่งสำคัญของวัดอย่างหนึ่ง และทั้งสุ่น ทังสุภูติ
อุบาสิกา ยังได้ช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์ต่าง ๆ
และอุดหนุนจุนเจือพระสงฆ์สามเณรในวัดนี้ที่ขาดแคลน
ให้ได้รับปัจจัยทั้ง ๔ ตามสมควรอยู่เสมอมิได้ขาด นับว่า
เป็นทายิกาที่มีอุปการคุณแก่พระสงฆ์และสามเณรในวัดนี้
ผู้หนึ่งฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 18:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนบรรดาศักดิ์ ถึงปีขาล วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่ง
เป็นพระเทพโมลี
ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พรรษาที่ ๓๙ ปลายปี
ถูกถอดลดยศออกจากตำแหน่งพระเทพโมลี
จะเล่าเรื่องการถูกถอดไว้ให้ลูกศิษย์ฟังนิดหน่อยพอ
กันสงสัย คือในสมัยนั้นพึ่งเกิดมหาสงคราม
ในประเทศยุโรปใหม่ ๆ อัตตโน
ได้คิดแต่งหนังสือแทนจดหมายเหตุ
ชี้โทษแห่งทุวิชาขึ้นเรื่องหนึ่งให้ชื่อว่า “
ธรรมวิจยานุศาสน์ ” แจกในงานศพ ม.ร.ว.หญิงดวงใจ
ปราโมช ณ อยุธยา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนวรจักรธรานุภาพ แต่หนังสือ
นั้นขัดข้องต่อรัฐประสาสโนบายของประเทศ เป็นเหตุไม่
ต้องด้วยพระราชนิยม เมื่อทรงทราบ
จึงมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ถอดจากสมณศักดิ์
ให้นำตัวไปกักไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ครั้นเมื่อพรรษาที่ ๔๐ ตรงกับวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.
๒๔๕๙ ทรงพระราชทานอภัยให้อัตตโนพ้นจากโทษ
แล้วทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานตำแหน่งสมณศักดิ์
ให้เป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี มีตำแหน่งเสมอ
กับพระราชาคณะชั้นเทพ
ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๕
อัตตโนลาไปเที่ยวหาที่วิเวกเลยไปนมัสการพระธาตุจอมยอง
ในอาณาเขตเมืองเชียงตุง ในเขตแดนอังกฤษ
เผอิญติดฝนชุกจะกลับมาจำพรรษากรุงเทพฯ ไม่ทัน
ต้องจำพรรษาอยู่บนเขาพระธาตุจอมยองตลอดไตรมาส
เป็นปีพรรษาที่ ๔๖ ออกพรรษาแล้ว
เจ้าฟ้าหลวงเมืองเชียงตุง จัด
ให้ข้าราชการมาอาราธนารับเข้าไปเมืองเชียงตุง
การไปเมืองเชียงตุง จะเล่าให้ลูกศิษย์ฟังพอได้ใจ
ความสักหน่อย การไปคราวนี้
ได้ทูลลาแต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า
จะไปเที่ยวทางเหนือ มิได้ลาทางราชการ
ที่ไปนมัสการพระธาตุจอมยองเป็นความคิดใหม่ เพราะ
อยู่นอกพระราชอาณาเขต
แต่อัตตโนระวังรักษาธุดงควัตรอย่างเต็มที่ ไม่ให้ใครรู้ว่า
เป็นพระมีฐานันดรศักดิ์ เพื่อจะรักษาพระราชเกียรติยศ
แต่อย่างนั้นเจ้าฟ้าหลวงเมืองเชียงตุงยังทรงทราบ
อัตตโนไปถึงเดือน ๗ พอเดือน ๘
ได้รับจดหมายของเจ้าฟ้าเชียงตุงซึ่งให้ข้าราชการนำมา
ในจดหมายนั้นมีใจความว่าทรงยินดีที่ได้ทราบว่าอัตตโน
เข้ามาในอาณาเขต บัดนี้พระองค์ท่านกับ
ทั้งพระราชมารดาขออาราธนา
เข้าไปจำพรรษาที่เมืองเชียงตุง เพื่อจะได้รับโอวาทดังนี้
อัตตโนได้ตอบไปว่าจวนเข้าพรรษาแล้ว ฝนชุกไปไม่ได้
ระยะทางก็ไกลถึง ๘ คืนจึงต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่น
ในพรรษานี้ได้เจริญสมถะวิปัสสนาอย่างพอใจ
เป็นที่วิเวกสำราญจริง ครั้นออกพรรษาแล้ว ถึงเดือน ๑๒
ได้รับจดหมายเจ้าฟ้าเชียงตุง ให้ข้าราชการนำมาพร้อม
ด้วยพาหนะให้มารับทีเดียว เดือน ๑๒ ข้างแรมจึง
ได้ไปเมืองเชียงตุง พวกอัตตโนที่ไปด้วยกันพระ ๓ รูป
คฤหัสถ์ ๒ คน เป็น ๕ คนด้วยกัน
เมืองยองอยู่ตรงตะวันออกของเมืองเชียงตุง
ไปแม่น้ำโขงวันเดียวถึง ถ้าจะไปสิบสองปันนา ๒ วัน
ถึงเขต ถ้าไปเชียงตุงต้อง ๙ วันจึงถึง ทางลำบาก
กันดารมีแม่น้ำลำคลองที่ข้ามไม่ต่ำกว่า ๖๐ ตำบล
ไปตามระหว่างซอกเขาคด ๆ เลี้ยว ๆ ไปอย่างนั้นเอง
ในระยะทาง ๙ วันนั้นจะหาที่ราบเดินสบายสัก ๑๐๐ เส้นก็
ไม่ค่อยจะมี ต้องขึ้น ๆ ลง ๆ กันร่ำไป แต่ที่พักและอาหาร
ไม่ลำบาก เขาสั่งจัดไว้คอยรับทุกระยะ ต้องเทศน์ให้
เขาฟังทุกระยะที่พักตลอดทางจนถึงเมืองเชียงตุง
น่ายินดีการที่เจ้าหลวงเมืองเชียงตุงสั่งจัดการรับรอง
พอจวนถึงเมือง มีข้าราชการ
และพลเมืองตั้งเครื่องสักการะและพา
กันมาดูเต็มไปทุกแห่งทุกหน ท่านจัดให้พักวัดหัวโข่ง
แปลว่าวัดหน้าสนามนั่นเอง
อะไรก็ดีทุกอย่างเสียแต่หนาวอย่างเดียว หนาวจน
ต้องผิงไฟวันยังค่ำ พักอยู่ที่เมืองหลวงนั้น ๑๕ วัน
ในเวลาพักอยู่นั้น ได้แสดงธรรมตามบ้าน ตามวัด และ
ในวังเจ้าฟ้าหลวงด้วย แทบทุกวัน ทั้งหนาว ๆ อย่างนั้นเอง
เจ้าฟ้าหลวงและพระราชมารดา พระราชเทวี แสดง
ความเลื่อมใสมาก
เจ้าฟ้าหลวงเมืองเชียงตุงองค์นี้ทรงพระนามว่า “
สมเด็จพระเชฏฐปรมบพิตรมหารัตนโชติ
ศิริสุธัมมสีหฬเมฆมณี ปวรเสฏฐาราชาภูมินทนรินทา
เขมาธิปติราชเจ้า” มีพระชนม์ก็จวนจะถึง ๕๐
เป็นคนมีศรัทธา สนใจในทางธรรมปฏิบัติมาก วันพระ ๘
ค่ำ ๑๔–๑๕ ค่ำ มีพระตำหนักวิเวกรักษาอารมณ์
พระราชมารดาก็ออกจะเข้าใจในทางสมถะ
มีอุคคหะปฏิภาคพอควร
ข้อสำคัญในเวลาที่ไปพักอยู่ที่เมืองเชียงตุง อัตตโน
ได้มีหนังสือถวายชี้แจงเรื่องการบำรุงพระศาสนา มีใจ
ความว่า ต้องอาศัยพระราชาเป็นหลัก พระสงฆ์สามเณร
ในประเทศนี้ปฏิบัติยังบกพร่องในทางวินัยมาก ไม่
ใช่พระเจ๊กพระญวน เป็นพระสำเร็จด้วยญัตติจตุตถกรรม
และรักษาปาฏิโมกขสังวรศีลด้วยกัน ควรจะแก้ไข
ให้เหมือนเขา อย่างประเทศพม่า ลังกา สยาม เขมร
เขาลงกันทั้งนั้น ที่อุจาดมากพระเณรไปทางใด
สะพายดาบพกมีดกินอาหารไม่มีเวลา ไหว้พระสวดมนต์ก็
ไม่มีหลัก ใครได้อย่างใดก็ไหว้ไปสวดไปอย่างนั้น เหล่านี้
เป็นตัวอย่าง บ้านเมืองเนื่องกันกับนานาประเทศแล้ว ควร
จะทรงดำริจัดให้ทันเขาจะได้เต็มเกณฑ์ศาสนูปถัมภก
จะเป็นพระราชกุศลอย่างสูงสุด
ทรงรับสั่งว่าทรงพระดำริอยู่เสมอ ขาดผู้
เป็นหัวหน้าฝ่ายพระศาสนา ฝ่ายอาณาจักรจะทรง
เป็นพระธุระเต็มที่ อัตตโนได้แนะนำ
ให้ค่อยแก้ไขไปทีละน้อย ขอให้คัดพระเณรส่ง
เข้าไปศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ อัตตโนจะช่วย
เป็นธุระสั่งสอน จะได้เป็นกำลังในการสั่งสอนต่อไป
ทรงเห็นชอบด้วยทุกประการ จึงได้ทรงจัดให้พระเณร
เข้ามาเล่าเรียนในกรุงเทพฯ พร้อมกับอัตตโน ๖ รูป
ภายหลังได้ส่งเพิ่มเข้ามาอีก ได้เป็นนักธรรมตรี
นักธรรมโท ขึ้นบ้างแล้ว นักธรรมตรีได้ออกไป
ช่วยการศึกษาองค์หนึ่งแล้ว ยังกำลังเรียนอยู่กรุงเทพฯ
หลายองค์ ทุกวันนี้การปกครองคณะสงฆ์ก็ทรงจัดให้
เข้าระเบียบได้แล้ว นับว่าก้าวหน้าขึ้นสู่
ความเจริญทันสมัย เจ้าฟ้าหลวงองค์นี้นับว่า
เป็นอัครศาสนูปถัมภก
เมื่ออัตตโนลากลับกรุงเทพฯ ทรงอาลัย ทรงจัดพาหนะ
ให้คนมาส่งถึงเมืองเชียงราย ทั้งค่ารถเข้ามากรุงเทพฯ
ทรงจัดถวายมาเสร็จ เป็นพระเดชพระคุณมาก
ส่วนอัตตโนไปเที่ยวคราวนี้ ก็นับว่าเป็นคุณประโยชน์
ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนญาติคือผู้ที่ได้พบได้เห็น และ
เป็นประโยชน์ส่วนพุทธศาสนาตามกำลังความสามารถ
เล่าให้ฟังไว้เพียงย่อ ๆ การไปเที่ยวเมืองเชียงตุงคือ ไปก็
เป็นสุขมาก็เป็นสุขอยู่ที่ไหนก็เป็นสุข เพราะอัตตโนปฏิบัติ
ถึงพระพุทธคุณบทว่า “สุคโต”ครั้นอัตตโนกลับ
จากเชียงตุงมากรุงเทพฯ แล้ว วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๖๖ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนตำแหน่งเป็น
พระโพธิวงศาจารย์ เทียบที่พระราชาคณะชั้นธรรม
ครั้นในปลาย พ.ศ.นั้น อัตตโนกำหนดการ
จะผูกพัทธสีมาที่วัดเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ในเดือน ๔
เพ็ญ เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัวเสด็จประทับอยู่ ณ พระราชวังสนามจันทร์
นครปฐม
ทรงกำหนดเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสวนสนามปืน
ใหญ่ ที่กรมสนามปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี กำหนดเสด็จฯ
ข้างแรมเดือน ๓ ครั้นได้ทรงทราบ
จากเจ้าพระยายมราชว่า อัตตโนจะมีการผูกพัทธสีมา
ที่วัดเขาพระงามในเดือน ๔ เพ็ญ เป็นการใหญ่
จึงทรงรับสั่งกับเจ้าพระยายมราชว่าจะเสด็จไปทรง
ช่วยอัตตโน แล้วให้งดการกำหนดเดิมเสีย
ทรงกำหนดเสด็จสนามปืนใหญ่ต่อ ณ วันเดือน ๔ ขึ้น ๑๔
ค่ำ ให้เหมาะกับงานของอัตตโน
ทรงประทับแรม ณ สนามปืนใหญ่ รุ่งขึ้นวันกลางเดือน
เวลาบ่าย ๒ โมง เสด็จพระราชดำเนินไปที่วัด
โดยกระบวนรถยนต์พระที่นั่ง พร้อม
ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และเสวกามาตย์
มีสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
และสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และเจ้าพระยายมราช
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ในกระบวน
ผู้ตามเสด็จมากพระองค์มากท่านด้วยกัน
ส่วนราษฎรหญิงชายซึ่งมาในงาน
นั้นก็มากล้นหลามเต็มไปในบริเวณวัด และถนนหนทาง
ตำรวจภูธรได้ต้อนออกพอเป็นช่องรถพระที่นั่งเดินได้เท่า
นั้น
ครั้นรถพระที่นั่งถึงแล้ว ก็เสด็จเข้าไปประทับ
ในพระอุโบสถ ทอดพระเนตรวิธีผูกพัทธสีมา
แล้วทรงรับสั่งถึงการวัดและวิธีผูกพัทธสีมา
ทรงสำราญพระราชหฤทัย แล้วทรงพระราชทานเงินช่วย
ในงานนั้น ๒๐๐ บาท ทรงประทับอยู่พอสมควร
แล้วเสด็จออกไปประทับ ณ ปะรำ
ทรงจุดฝักแคทอดพระเนตรบ้องไฟใหญ่ ซึ่งเอาขึ้นร้าน
ไว้ถวายให้ทอดพระเนตร ๔ กระบอก บ้องไฟขึ้นสูงพอ
ได้ทอดพระเนตรแต่ ๒ กระบอก อีกกระบอก ๑ แตก
อีกกระบอก ๑ ชนวนตายด้าน พอได้เวลารถไฟ
จะออกก็รีบเสด็จกลับฯ
การที่เสด็จพระราชดำเนินไปในงานคราวนี้ อัตตโนถือว่า
เป็นการพระราชทานเกียรติยศแก่อัตตโน
เป็นมหามงคลอันสูงสุดสำหรับตัวของอัตตโน แม้
ได้รับพระราชทานตำแหน่งยศก็มีความยินดีล้นเหลือ
แต่ว่าความปลื้มหรือความเอิบอิ่มในใจ ก็ยังไม่เท่า
ได้รับเสด็จในงานสำคัญคราวนี้ เพราะเห็นว่าตำแหน่งยศ
จะทรงพระราชทานแก่ผู้ใดก็ได้ ส่วนจะเสด็จ
ในงานของเอกชนเช่นคราวนี้ เชื่อว่าแต่เสด็จครองราชย์
อยู่ ๑๕ ปี คงจะมีแต่คราวเดียวเท่านี้ ข้อนี้เตือน
ให้อัตตโนระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น
ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ยังทรงกรุณาตั้งพระครูปลัด
(อ่ำ) เจ้าอาวาสนั้นให้เป็นพระครูศีลวรคุณ
ตำแหน่งเจ้าอาวาส และทรงพระราชทานนามวัด
เขาพระงามให้เรียกว่า “วัดสิริจันทรนิมิตร” ต่อไป
ก็ยิ่งเพิ่มความยินดีของอัตตโนให้มากขึ้นอีกหลายเท่า
ครั้นถึงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งเป็น
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่เจ้าคณะรองอรัญญวาสี
สิ้นรัชกาลที่ ๖ ในศกนี้
ในรัชกาลที่ ๕ อัตตโน
ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ ๓ ตำแหน่ง
สัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ๔ มณฑล
ในรัชกาลที่ ๖ ในระหว่าง ๑๕ ปี ได้รับ
พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ ๔ ตำแหน่ง รวม ๒
รัชกาล เป็น ๑๑ ตำแหน่ง เห็นจะเป็นเอตทัคคะ
ในทางสัญญาบัตรได้คนหนึ่งกระมัง?
นับแต่ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ๒๓ พรรษา
ในศกที่ทำบุญอายุครบ ๗๐ ปีนี้ คงเป็นอันจำพรรษา
ในวัดบรมนิวาสแต่ ๒๑ พรรษา
ไปจำพรรษาวัดบวรนิเวศวิหาร ๑ พรรษา
และที่แขวงเมืองเชียงตุง ๑ พรรษา
การที่เล่ามาให้ฟังตลอดเรื่อง ได้เล่าทางลาภและยศ
และกิจจานุกิจให้เห็นว่าอัตตโนมีความสุขสบาย เจริญ
ด้วยลาภและยศโดยลำดับแต่อุปสมบทมาตลอดอายุได้
๗๐ ปีบริบูรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 18:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อนี้จะเล่า อตฺตตฺถจริยา ในทางธรรมปฏิบัติ
ไว้สู่ฟังอีกโสดหนึ่ง คือในระหว่างอัตตโนมีอายุ ๓๐ ปีล่วง
แล้ว อัตตโนมีความจับใจพระพุทธโอวาทข้อที่ว่า อตฺตา หิ
อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน เมื่ออัตตโนยัง
ไม่ฉลาด ก็ถือว่าร่างกายจิตใจนี้เองเป็นตน จึง
ได้ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนพากเพียรรักษาตนให้ตั้งอยู่
ในสุจริตทุกเมื่อ มีหิริโอตัปปะประจำตัวอยู่เสมอ
ครั้นภายหลังได้ศึกษาธรรมหนักขึ้น
ได้อาศัยหนังสือสังขิตโตวาท
ของเจ้าคุณสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
วัดโสมนัสแสดงว่า “เปล่า ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่
ไม่มีใครตาย นามรูป ธาตุ ขันธ์ อายตนะ เกิดขึ้น
แล้วก็ดับไปต่างหาก”
ดังนี้ ก็ตั้งใจปฏิบัติตาม แต่เกิดความลังเลไม่แน่ใจ
เพราะผิดกับความเห็นเดิมไป แต่เดิมเห็นว่าร่างกายจิตใจ
เป็นตน คือ นามรูป ธาตุ ขันธ์ อายตนะ นั่นเอง
ครั้นมาพิเคราะห์ตามตำราของท่านว่าไม่ใช่ตน ยิ่งเกิด
ความสงสัยใหญ่โตขึ้น แต่ก็คงเชื่อว่า นาม รูป ธาตุ ขันธ์
อายตนะ เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อยู่ตามท่านนั้นเอง
แต่ติดอนัตตาอยู่ประมาณ ๑๐ ปี เมื่อสังเกตดูผล คือ
ความสงบ ราคะ โทสะ โมหะ ก็ไม่สู้จะมีอำนาจอะไรนัก
ใจก็จางออกจากตำรา
ยึดไตรสิกขาเชื่อแน่ว่าท่านที่เดินตามไตรสิกขา
ได้สำเร็จมรรคผล นับด้วยแสนโกฏิเป็นอันมาก เรา
จะมายึดมั่นใน อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อยู่เพียงเท่านี้
จะถือเอาว่าเป็นปัญญาก็ยังกระไรอยู่ จะเสียเวลามากไป
แต่นั้นก็ตั้งหน้าเจริญสติ เพื่อจะให้เป็นองค์สัมมาสมาธิ
แต่วิธีคุมใจเป็นของลำบากมาก เพราะเป็นผู้เกี่ยวอยู่
ในหมู่ในคณะ พรักพร้อมอยู่ด้วยลาภและยศ แต่ถึงอย่าง
นั้น ก็ยังมีเวลาปลีกออกหากายวิเวกได้บ้างบางสมัย เนื้อ
ความในธรรมนิยามสูตรทำให้เกิดความฉลาดขึ้นมาก
เหตุที่ท่านวางท่ากระเหย่งไว้ ทำให้เกิดวิจิกิจฉาขึ้นมาก
ที่แสดงว่าสังขารทั้งสิ้นไม่เที่ยง สังขารทั้งสิ้นเป็นทุกข์
ธรรมทั้งสิ้นเป็นอนัตตา ทำไมจึงไม่แสดงว่า สังขารทั้งสิ้น
เป็นอนัตตา
เกิดความสงสัยว่า สังขารกับธรรมนี้จะต่างกันอย่างไร?
สังขารก็ชื่อว่าธรรม ส่วนธรรมนั้นจะต่าง
กับสังขารอย่างไร? คงได้ความตามนัย
อัคคัปปสาทสูตรที่ว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ
อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี
ผู้รู้จริงย่อมกล่าวว่า วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ คิดจัดเอาตามชอบใจ สงฺขตา วา
คิดจัดเป็นสังขารโลก ได้แก่จิต เจตสิก รูป ๓ ประเภท
เป็นอุปาทินนกสังขาร อสงฺขตา วา เป็นสังขารธรรม
ได้แก่นิพพานกับบัญญัติธรรมทั้งสิ้น
เป็นอนุปาทินนกสังขารฯ ที่ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นั้น
ท่านหมายทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรมเป็นอนัตตา
แต่มีวิเศษต่างกัน ส่วนสังขตธรรมนั้น อาจดับจากตัวได้
ตามนัยที่ว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความ
เข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเป็นสุข คือเป็นของไม่มี
อยู่แต่เดิม จึงระงับดับได้ ส่วนอสังขตธรรมนั้น ชีวิตยังมี
อยู่ดับไม่ได้ เพราะเป็นของมีอยู่แต่เดิม เป็นแต่อนัตตา
คงเป็นธรรมอยู่ตามหน้าที่ คงได้ความว่า ตนเป็นธรรม
ธรรมเป็นตน จึงเป็น อตฺตทีปา ธมฺมทีปา อตฺตสรณา
ธมฺมสรณา ตรงกับวักกลิสูตรว่า โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ
ปสฺสติ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ดังนี้ฯ
เมื่อปฏิบัติจนเห็นเป็นตัวธรรม เห็นธรรมเป็นตัวแล้ว
ก็เห็นคุณประโยชน์ในร่างกายจิตใจทุกแผนกที่ว่า อตฺตา
หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน ก็ได้ความชัดเจนขึ้น
แต่ก่อนเห็นร่างกายจิตใจนี้เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เป็น
อสุจิ เป็น อสุภํ หาแก่นสารมิได้ เมื่อสังขารดับแล้ว อนิจฺจํ
ทุกฺขํ อนตฺตา อสุจิ อสุภํ ดับไปตามกันหมด ยังเหลือ
อยู่แต่ธรรมซึ่งเป็นของวิเศษ ให้เราได้พึ่งพาอาศัยอยู่
เป็นสุขทุกวัน ร่างกายจิตใจนี้ กลาย
เป็นแก้วสารพัดนึกสำหรับตัวเราทั้งสิ้น
จะจำแนกให้ดู คำที่ว่าร่างกายจิตใจนั้นได้แก่สกลกาย
ทั้งสิ้น คือ ตา หู จมูก ปาก ทวารหนัก ทวารเบา มือ เท้า
อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งปวง ล้วน
เป็นสมบัติอันประเสริฐสำหรับตัวเรา แต่ละอย่าง ๆ
ล้วนแต่ของเป็นเอง สำเร็จมาด้วยปุญญาภิสังขารทั้งสิ้น
จึงได้บริบูรณ์เช่นนี้ ถึงแม้เราจะเป็นคนฉลาด
เป็นช่างวาดช่างเขียน จะตกแต่งเพิ่มเติมให้ดีขึ้นไปอีกก็
ไม่ได้ ได้มาอย่างไร ก็จะต้องอาศัยใช้สอย
กันไปจนวันตาย แต่งได้แต่เพียง
ให้ประพฤติดีประพฤติชั่วเท่านั้นเอง ที่จะแต่งให้สูงให้ต่ำ
ให้ดำให้ขาวให้มีอายุยืนไม่รู้จักตาย แต่งไม่ได้ฯ
ที่ว่าร่างกายจิตใจเป็นแก้วสารพัดนึกนั้น พึงพิเคราะห์ดู
เรามีตานึกจะดูอะไรก็ดูได้ เรามีหูนึกจะฟังอะไรก็ฟังได้
เรามีจมูกนึกอยากรู้กลิ่นอะไรก็รู้ได้
เรามีปากมีลิ้นนึกอยากจะรู้รสอะไรก็รู้ได้ นึกอยาก
จะพูดอะไรก็พูดได้ นึกอยากจะกินอะไรก็กินได้
เรามีมือนึกอยากจะทำอะไรก็ทำได้ เรามีเท้านึกอยาก
จะเดินไปทางใดก็ไปได้ เรามีจิตมีใจนึกอยาก
จะน้อมนึกตรึกตรองอะไรก็ได้สมประสงค์
ผู้รู้ตนว่าเป็นของวิเศษอย่างนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ได้ความสุข
คือใช้ตามหน้าที่ ไม่ให้วัตถุเหล่านั้นเป็นข้าศึกแก่ตน
นิสัยของผู้ไม่ฉลาด ย่อมให้ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ซึ่ง
เป็นวัตถุภายในของตนเป็นข้าศึกแก่ตน
คือเกิดปฏิฆะโทมนัส ยินดียินร้ายเพราะวัตถุของตน
นิสัยของผู้ฉลาด ย่อมไม่ให้วัตถุวิเศษของตน
เป็นข้าศึกแก่ตน อารมณ์ที่ผ่านไปผ่านมาเลือกเอาแต่
ส่วนที่เป็นประโยชน์ ส่วนที่จักเป็นโทษปล่อย
ให้ผ่านไปเสีย ไม่รับ ไม่เก็บเข้ามาไว้
คือหัดชำระวัตถุภายในนี้ให้ผ่องใส สมกับที่ว่า
เป็นแก้วสารพัดนึกอยู่ทุกเมื่อ อาศัยความหัดบ่อย ๆ
สติก็แก่ขึ้น วัตถุภายในก็ปราศจากโทษ คือไม่
เป็นข้าศึกแก่ตน ให้ความสุขแก่ตนทุกอิริยาบถ จึงสม
กับพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนไว้ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแก่ตน
ถ้าว่าโดยสมมติ สกลกายนี้เองเป็นตน ถ้าว่าโดยสภาพ
สกลกายนี้เองเป็นธรรม ที่ว่า อตฺตสรณา ธมฺมสรณา
ให้มีตนเป็นที่ระลึกให้มีธรรมเป็นที่ระลึกนี้ คือ
ให้เห็นว่าตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตน ความรู้ธรรม
เป็นพุทธะ สกลกายที่ทรงคุณความดีไว้เป็นธรรมะ
ความประพฤติให้คุณความดีมีขึ้นในตนเป็นสังฆะ
ผู้ที่มีพุทธะ ธรรมะ สังฆะ ในตนอย่างนี้ ชื่อว่าผู้
ถึงไตรสรณคมน์ในชาตินี้ ตลอดชาติก็ไม่มีทุกข์ ถ้ายัง
จะมีภพมีชาติต่อไปก็จักได้รับความสุขต่อไป ถ้า
ถึงพระไตรสรณคมน์อย่างสูงก็สิ้นภพสิ้นชาติสำเร็จพระนิพพานทีเดียว
ตัวของอัตตโนทุกวันนี้
ได้สำเร็จแต่เพียงพระไตรสรณคมน์เท่านั้น
แต่ลักษณะของพระไตรสรณคมน์นั้น มีต่ำมีสูงเป็นชั้น ๆ
คือ ชั้นศีล ชั้นสมาธิ ชั้นปัญญา ชั้นวิมุตติ
ชั้นวิมุตติญาณทัสสนะ สุดแท้แต่วาสนาของใครจะถึงได้
ในชั้นใด จะต้องได้รับผลคือความสุข
ตามชั้นตามภูมิของตนทั้งนั้น
เล่าความประพฤติธรรมไว้ให้ศิษยานุศิษย์ฟัง เพื่อให้พา
กันมีที่พึ่ง อย่าเป็นคนลังเล ยึดให้มั่นคั้นให้ตาย
อย่างมงายเชื่อเกจิอาจารย์ที่สอนนอกรีตนอกทาง
ดังพวกที่สอนว่า ให้ทานรักษาศีล เจริญสมถะวิปัสสนา
ไหว้พระสวดมนต์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นเมถุน
เว้นข้าวค่ำ เหล่านี้เป็นกิเลสตัณหาทั้งนั้น การ
ไม่ทำอะไรนั่นแลเป็นอันหมดกิเลสตัณหา สอนอย่างนี้
เป็นลักษณะแห่งอกิริยทิฏฐิ ถือว่าความไม่ทำเป็น
ความบริสุทธิ์ เป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่าพากันหลงเชื่อ
ถ้าใครหลงเชื่อจะพากันจนทั้งชาตินี้ชาติหน้า นิพพานเช่น
นั้นเป็นนิพพานของอวิชชา อย่าพากันหลงใหลไปตาม
เขาฯ
ส่วนนิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นพระนิพพานอันมั่งมี
ที่เรียกว่านิพพานสมบัติคือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา,
วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา,
และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐานเป็นต้น
มีอัฏฐังคิกมรรคเป็นที่สุด เหล่านี้เป็นนิพพานสมบัติ ถ้า
ไม่มีสมบัติเหล่านี้จะถึงนิพพานของพระพุทธเจ้าไม่ได้เลย
นิพพานของพระพุทธเจ้า เป็นนิพพานของวิชชา
ให้ตรวจดูนิพพานสมบัติอย่างที่แสดงไว้นี้ มี
ในตนเต็มรอบหรือยัง ถ้าไม่เต็มรอบยังเป็นคนจนอยู่
ไปนิพพานไม่ได้ เปรียบเหมือนคนจน
จะไปทางรถทางเรือที่ไกลไม่ได้ เพราะจน ไม่มีเงิน
ให้ค่าจ้างค่าโดยสารเขา ถ้าตรวจ
ในตัวเห็นว่านิพพานสมบัติมีในตัวเต็มรอบแล้ว นับว่า
เป็นคนมั่งมี อาจจักถึงพระนิพพานได้
เปรียบเหมือนคนที่มีเงินอยากไปทางใด ก็จ้าง
เขาไปสำเร็จทุกประการ
พระนิพพานไม่ใช่สถานที่ อันบุคคลผู้ไร้อริยทรัพย์จะไป
ได้ พวกมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นเป็นคนจน ก็ไป
ได้แต่นิพพานจน ๆ คือ นิพพานอนัตตา นิพพานอวิชชาเท่า
นั้น พวกเราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ต้องประพฤติตน
ให้มั่งมีเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบริบูรณ์
ด้วยลาภด้วยยศ ด้วยความสรรเสริญและด้วยความสุข
พระพุทธศาสนาตั้งมั่นถาวรมาได้กว่าสองพันปีนี้ ไม่
ได้ตั้งมั่นถาวรมาด้วยความจนเลย ตั้งมั่นมาได้ด้วย
ความมั่งมีโดยแท้ แม้ตัวของอัตตโนผู้แนะนำท่าน
ทั้งหลาย ก็หัดเดินตามจรรยาของพระพุทธเจ้า
จึงบริบูรณ์ด้วยลาภและยศและความสรรเสริญกับ
ความสุข เป็นผู้มั่งมีทั้งสมบัติภายนอกและสมบัติภาย
ในตลอดจนอายุ ๗๐ ปี
ณ บัดนี้ เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านประวัติแล้ว
พึงเพ่งดูจรรยาของอัตตโนที่ได้ประพฤติมาแล้ว
ส่วนที่อัตตโนตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
และประพฤติปฏิบัติให้ตรงต่อธรรมวินัย
และปฏิบัติราชการตามหน้าที่ไม่ให้เสียหายจนเจริญ
ด้วยยศฐานาศักดิ์
ส่วนธรรมวินัยก็ตั้งอกตั้งใจดำเนินสมถะ
และวิปัสสนาจนรู้จักสังขารและวิสังขาร
หรืออุปาทินนกสังขาร และอนุปาทินนกสังขารโดยชัดใจ
ได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง นับว่ามีสรณะโดยสิ้นสงสัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 19:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนนี้เป็น อตฺตตฺถจริยา ประพฤติให้
เป็นประโยชน์แก่ตน ที่ได้รักษาหมู่คณะแนะนำสั่งสอน
ให้พระสงฆ์สามเณรอุบาสกอุบาสิกา ได้ความฉลาด
ได้ที่พึ่งแก่ตน ฝ่ายพระสงฆ์ก็มีความเจริญด้วยลาภ
และยศ
จะนับลูกศิษย์ผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่วางใจได้ให้ฟัง
๑. พระโพธิวงศาจารย์ (อ้วน)
เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
๒. พระสาสนดิลก (เสน) เจ้าคณะมณฑลอุดร
๓. พระราชมุนี (สี) วัดนิเวศธรรมประวัติ
๔. พระเมธาธรรมรส (เสาร์)
เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม
๕. พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) วัดปทุมวนาราม
๖. พระอมราภิรักขิต (ชัย) วัดบรมนิวาส
เป็นพระราชาคณะ ๖ รูป
ส่วนเป็นพระครู
๑. พระครูปลัดนิพัทธโพธิพงษ์ (ขำ) วัดบรมนิวาส
๒. พระครูอุดมธีรคุณ (เงิน)
เจ้าอาวาสวัดสัตตนาถปริวัตร จังหวัดราชบุรี
๓. พระครูวาทีวรคุณ (เพ็ง)
เจ้าคณะรองจังหวัดปราจีนบุรี
๔. พระครูสีจันทรคุณ (สีจันทร์)
วัดนรนาถสุนทริการาม
๕. พระครูศีลวรคุณ (อ่ำ) วัดสิริจันทรนิมิตร
จังหวัดลพบุรี
๖. พระครูพิเศษสุตคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์
จังหวัดขอนแก่น
๗. พระครูสีลสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล
เป็นพระครู ๗ รูป ที่เป็นเปรียญแต่ ๓ ประโยค ถึง
๖ ประโยคก็มีมากด้วยกัน ส่วนนี้เป็นบริษัทภายใน
บริษัทภายนอกนั้นก็มีเป็นอันมาก และได้แนะนำ
ให้ทำบุญภายนอก คือบริจาคทานและชักชวน
ให้ก่อสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา คือ
สร้างพระพุทธรูป สร้างหนังสือ สร้างกุฏิ
สร้างศาลา สร้างโรงเรียน สร้างสระน้ำบ่อน้ำ
ผู้มีมากให้ทำมาก ผู้มีน้อยให้ทำน้อย
ต่างคนก็ต่างทำถาวรวัตถุตามความพอใจของตน
เกิดปีติปราโมทย์ได้ความอุ่นใจในโภคทรัพย์อันตนฝัง
ไว้ ส่วนบุญภายในก็ได้แนะนำสั่งสอนให้พากันผ่อนผัน
โลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง ชี้
ให้รู้จักลักษณะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ให้มีพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง
และการที่เทศน์สั่งสอนตลอดไปทั่วทุกหนแห่งส่วนนี้
เป็น ญาตตฺถจริยา ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ญาติ
คือบรรดาคนที่ได้เห็นกันรู้จักกัน ชื่อว่าญาติทั้งสิ้นฯ
ส่วนที่อัตตโนได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ซึ่ง
เป็นภายนอกมีการบำรุงวัดเป็นต้น ส่วนภายในคือ
ได้แต่งหนังสือธรรมและหนังสือสุภาษิตของเก่าบ้าง
ของแต่งขึ้นใหม่บ้าง ทั้งภาคไทยและภาคลาว
ซึ่งพระยาธนภารพิสิษฐ์ (เปา มิลินทสูต)
ได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นอย่างละ ๑,๐๐๐ ฉบับมากกว่า
๒๐ เรื่อง สำหรับแจกในงานทำบุญอายุครบ ๗๐
คราวนี้ แต่จะได้รับแจกจำเพาะผู้ที่นับถือและผู้รับ
ช่วยทำบุญไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ บาทขึ้นไป
เพราะเห็นว่าท่านจำพวกนี้เคารพนับถือจริง
ได้หนังสือไปแล้วก็คงจะตรวจตรอง เหตุที่มี
ความเลื่อมใสอยู่แล้ว ส่วนที่สร้างถาวรวัตถุไว้ นี้
เป็นส่วน โลกตถจริยา ประพฤติให้
เป็นประโยชน์แก่โลกฯ
การที่ประพฤติจรรยา ๓ ประการนั้น ก็หมาย
จะตามเสด็จพระบรมศาสดา แต่คุณสมบัติต่างกัน
ส่วนพระบรมครูท่านมีบุญใหญ่ จรรยาทั้ง ๓
ประการของท่านก็ใหญ่
ส่วนพวกเรามีบุญน้อยเพียงแต่เป็นสาวก จรรยา ๓
ประการของพวกเราก็น้อยตามสมควรแก่คุณสมบัติของตน
ลูกศิษย์ของเราพึงตั้งใจดำเนินตาม ความดีเหล่านี้
เป็นของกลาง ใครจะเอาไปไหนไม่ได้
ใครเกิดขึ้นมาปฏิบัติได้ ก็จักได้รับผลคือความดี
อยู่อย่างนี้ตลอดกัปตลอดกัลป์.
..................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร