วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 17:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 20:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมวิจยานุศาสน์
(เรียบเรียงเมื่อเป็นพระเทพโมลี พ.ศ. ๒๔๕๘)
สุวิชาโน ภวํ โหติ ... ทุวิชาโน ปราภโว
ธมฺมกาโม ภวํ โหติ ... ธมฺมเทสฺสี ปราภโว
..........บัดนี้ จักแสดงพระธรรมเทศนา
ในพุทธภาษิตคาถา ซึ่งมีมาในปราภวสูตร เพื่อ
ให้สำเร็จประโยชน์
ในการฟังธรรมแด่พุทธบริษัท
พอสมควรแก่เวลา ด้วยท่าน
ทั้งหลายมีกุศลเจตนาญาณสัมปยุตผุดขึ้น
ในขันธสันดานเบิกบานด้วยโสมนัสจิต คิด
จะฟังพระธรรมเทศนาด้วยสัทธาปสันทนาการ
อันสำเร็จมาแต่สุตมยญาณปรีชา
แท้จริงอันพุทธภาษิตคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น ย่อมเป็นไปกับด้วยประโยชน์ทั้ง ๓ คือ
ประโยชน์ชาตินี้ ประโยชน์ชาติหน้า
ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน และ
ในประโยชน์ทั้ง ๓ นั้น ย่อม
เป็นไปเพื่ออัตตัตถประโยชน์-ประโยชน์ตน
และปรัตถประโยชน์-ประโยชน์ผู้อื่น
ก็บัดนี้ พวกเราทั้งหลายเป็นผู้อุดมด้วยมนุษยชาติ ซึ่ง
เป็นต้นทางแห่งสุคติ ทุคติ ด้วยว่าผู้จะไปนรก
ต้องมาเกิดเป็นมนุษย์เสียก่อน ผู้จะไปสวรรค์
หรือพรหมโลกหรือถึงพระนิพพาน ก็
ต้องมาบังเกิดเป็นมนุษย์บุรุษสตรี ประกอบ
ด้วยอุดมเพศอันนี้เสียก่อน เพราะภพชาติของมนุษย์นี้
เป็นกลาง เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
จะปรารถนาสุขหรือทุกข์เพียงชั้นไหน ย่อม
จะสำเร็จได้ทุกประการ
แต่มนุษย์เราโดยมากมักจะแสวงหาสุข
ในทางแห่งทุกข์เสียเป็นพื้น เพราะอะไรเป็นเหตุ ?
เพราะความรู้นี้เอง เป็นเหตุ รู้สิ่งใดก็ยินดีในสิ่งนั้น
รู้วิชาศิลปะศาสตร์สิ่งใด ก็ยินดี
ในวิชาศิลปะศาสตร์สิ่งนั้น คือรู้ทำสวนก็ยินดีในสวน
รู้ทำนาก็ยินดีในนา รู้ค้าขายก็ยินดีในการค้าขาย
รู้วาดเขียนก็ยินดีในการวาดเขียน รู้กฎหมายก็ยินดี
ในการเป็นหมอความ สุดแท้แต่ว่ารู้ศิลปะศาสตร์สิ่ง
ใด ก็ย่อมยินดีไปตามความรู้ของตัว โดยที่สุดแต่
ผู้รู้ปั้นอิฐหรือปั้นหม้อขาย ก็ยินดีในการปั้นอิฐ
และปั้นหม้อซึ่งเป็นความรู้ของตนนั่นเอง
ในความประพฤติส่วนตัวก็เช่นเดียว
เมื่อรู้เพลงฆ่าสัตว์ก็ยินดีในการฆ่าสัตว์
รู้เพลงลักขโมยของเขา ก็ยินดีในการลักขโมย
รู้เพลงมิจฉาจารก็ยินดีในการทำมิจฉาจาร
รู้เพลงมุสาวาทก็ยินดีในการกล่าวมุสาวาท
รู้เพลงสุราก็ยินดีในการเสพสุรา
รู้เพลงการพนันต่าง ๆ ก็ยินดีในการพนันตาม
ความรู้ของตน
โดยที่สุดแต่รู้เล่นหมากรุกหมากแยก ก็
ต้องชอบการเล่นหมากรุกหมากแยก ตามภูมิ
ความรู้ของตน
..........ทางสุจริตก็มีอาการเช่นเดียวกัน
เมื่อรู้คุณของทานก็ชอบให้ทาน
รู้คุณของศีลก็ชอบรักษาศีล
รู้คุณของภาวนาก็ชอบภาวนา
รู้คุณของมรรคผลนิพพานก็ชอบมรรคผลนิพพาน
รู้จักคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ก็ชอบเคารพนบนอบพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ สุดแท้แต่ความรู้ซึ่งชำนิชำนาญ
ในวิชาศิลปศาสตร์ประเภทใด ก็ย่อมยินดีพอใจในสิ่ง
นั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้เป็นพุทธาทิบัณฑิต จึงได้ผูก
เป็นฉันทภาค ในมงคลคาถาไว้เป็นสำคัญว่า “อเสวนา จ
พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา” การที่ไม่คบพวกพาล
คบแต่ท่านที่เป็นบัณฑิตทั้งหลาย
เป็นมลคลอันล้ำเลิศประเสริฐสูงสุดดังนี้
เพราะว่าการคบหาสมาคมเป็นต้นทางที่จะให้เกิด
ความรู้ ถ้าแรกเริ่มได้คบกับท่านที่เป็นบัณฑิต
ก็อาจรู้จักศิลปศาสตร์ทางดีได้
ถ้าคบคนพาลเสียก่อน ก็อาจรู้ศิลปศาสตร์ส่วนที่ชั่ว
ถ้ารู้วิชาศิลปศาสตร์ส่วนที่ชั่วเข้าไว้ จนเกิด
ความยินดีต่อความรู้ของตนเสียแล้ว ก็
เป็นการลำบากที่จะแก้ไข
อาศัยเหตุดังที่บรรยายมาทั้งปวงนี้ สมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคบรมศาสดาผู้พิเศษในพิธีเทศนา จึง
ได้แสดงเป็นพุทธนิพนธคาถาในปราภวสูตร
ในคาถาทีแรกดังได้ยกอุเทศขึ้นในเบื้องต้นว่า
“สุวิชาโน ภวํ โหติ” ความรู้ดีย่อมเป็นเข็มทิศชี้ทาง
ให้เกิดความเจริญ
“ทุวิชาโน ปราภโว” ความรู้ชั่ว ย่อมเป็นเข็มทิศชี้ทาง
ให้เกิดความเสื่อมทราม
“ธมฺมกาโม ภวํ โหติ” ความรักใคร่ชอบใจในธรรม
ย่อมเป็นเข็มทิศชี้ทางให้เกิดความเจริญ
“ธมฺมเทสฺสี ปราภโว” ความเกลียดชังธรรมย่อม
เป็นเข็มทิศชี้ทางให้เกิดความเสื่อมทราม ดังนี้
เนื้อความโดยย่อในพระคาถานี้มีแต่ ความรู้ดี
เป็นสะพานแห่งความเจริญ ความรู้ชั่วเป็นสะพานแห่ง
ความเสื่อมทราม ความรักใคร่ชอบใจในธรรม
เป็นสะพานแห่งความเจริญ ความเกลียดชังธรรม
เป็นสะพานแห่งความเสื่อมทรามเท่านั้น มิ
ได้แสดงอาการแห่งรู้ดีรู้ชั่วรักใคร่เกลียดชังธรรมว่ามีลักษณะอย่างไร
ถ้าเราจะลงความเป็นกลางแล้ว ความรู้ดีรู้ชั่ว
เป็นตัวสัจจญาณ ควรจะรู้ให้รอบทั้ง ๒ อย่าง
ถึงพระบรมศาสดาเองพระองค์ก็ทรงรู้ดี จึงแสดง
ความดีแก่สาวกได้ ส่วนความชั่วพระองค์ก็ทรงรู้
จึงแสดงความชั่วให้สาวกฟังได้ เป็นข้อสำคัญ
อยู่ที่กิจจญาณ คือความประพฤติความทำ
ถ้าประพฤติผิดทางแห่งสุจริตแล้ว เป็นอันไม่ได้รับ
ความสุขเป็นแน่นอน
การที่จะประพฤติสุจริตได้ ก็
เพราะรู้เหตุรู้ผลแห่งสุจริตว่ามีอำนาจประโยชน์อย่างไร
ก็คงหนีคำที่ว่ารู้ดีรู้ชั่วไม่ได้ การรู้ดีรู้ชั่ว
เป็นหัวข้อสำคัญ สมควรที่จะกล่าวว่าเป็นมุข
เป็นประธาน เป็นสะพานแห่งความเจริญและ
ความเสื่อมโดยแท้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 21:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ต่อนี้ จักขยายข้อที่ว่ารู้ดีรู้ชั่วนั้น
โดยมติของตน เพื่อเป็นทางดำริตริตรองของผู้อ่าน
ผู้ฟัง
ข้อที่ ๑ ว่า สุวิชา วิชาดีคือรู้ดี รู้อย่างไรจึง
จะควรนับว่า รู้ดี
ถ้าจะว่าโดยทางโลก วิชาศิลปศาสตร์อัน
ใดที่หาโทษมิได้ คือวิชาศิลปศาสตร์สัมปยุต
ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นั้นแหละชื่อว่า
สุวิชา วิชาดี
จะยกตัวอย่างวิชาหนังสือ คือมีความเห็นว่า
การรู้หนังสือเป็นทางแห่งความสุข อยากได้ความสุข
จึงต้องเรียนหนังสือ เป็นลักษณะของเมตตา อยาก
ให้ตนพ้นจากความโง่ ที่อ่านหนังสือไม่ออก จึง
ต้องตั้งใจเรียน เป็นลักษณะของกรุณา
เมื่ออ่านหนังสือออกแล้วก็มีความสำราญใจ
เป็นลักษณะของมุทิตา อาการที่ทำใจให้เป็นกลาง
คือสมัยที่ควรแก่เมตตาก็ตั้งอยู่ในเมตตา
สมัยที่ควรแก่กรุณาก็ตั้งอยู่ในกรุณา
สมัยที่ควรแก่มุทิตาก็ตั้งอยู่ในมุทิตา
สมัยที่ควรแก่อุเบกขาก็ตั้งอยู่ในอุเบกขา อย่างนี้
เป็นลักษณะแห่งอุเบกขา
วิชาหนังสือนี้สัมปยุตด้วยพรหมวิหาร
ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
มีในตนแล้ว ย่อมมีทางที่จะแผ่ไปแก่ผู้อื่นได้ทั่วไป
ไม่มีที่สิ้นสุด วิชาใด ๆ ก็ตาม ถ้าสัมปยุต
ด้วยพรหมวิหารธรรมเช่นนี้ต้องนับเข้าใน สุวิชา
วิชาดี ทั้งสิ้น
ถ้าจะว่าโดยทางธรรม ตามหลักฐานที่มา
ในสัปปุริสธรรม ท่านแสดงว่า รู้ธรรม ๑
รู้ลักษณะอาการของธรรม ๑ รู้ตน ๑
รู้ประมาณของตน ๑ รู้กาลของตน ๑ รู้จักบริษัท
๑ รู้จักบุคคล ๑ นี่แหละท่านว่าเป็นวิชาอย่างดีที่สุด
ชื่อว่า สุวิชา วิชาดี ถ้าผู้ใดรู้ดีด้วย ประพฤติตน
ให้สม่ำเสมอในธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ด้วย ผู้นั้น
เป็นสัตบุรุษ จึงชื่อว่ารู้ดี
แต่วิชาในทางพระพุทธศาสนาชี้ที่มาต่าง ๆ หมาย
ความว่ารู้ตนเป็นยอดวิชา ดังในปฏิจจสมุปบาท
แสดงวิชาและอวิชชา หมายความว่ารู้ตนและ
ไม่รู้ตนตรงทีเดียว การรู้ตน
นั้นก็มีดีบ้างชั่วบ้างเหมือนกัน
..........ส่วนรู้ตนชั่วนั้น จะยกไว้แสดงในบททุวิชา
ในที่นี้จะแสดงแต่ส่วนรู้ตนดีเท่านั้น คือรู้ว่าตน
เป็นชาติมนุษย์ จะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ตาม ข้อ
นั้นเราแต่งไม่ได้ เมื่อ
เป็นบุรุษก็ประกอบกิจของบุรุษไป เมื่อ
เป็นสตรีก็ประกอบกิจของสตรีไป
ตามวิสัยธรรมดาของโลก แต่ส่วนธรรมปฏิบัตินั้น
ไม่มีขีดขั้นว่าบุรุษหรือสตรี มีหน้าที่เสมอกัน เป็นแต่
ในสมัยนี้สตรีจะอุปสมบทไม่ได้เท่านั้น
แต่ถึงอย่างนั้น ทางที่จะประพฤติพรหมจรรย์ก็
ยังมีโอกาส คือรู้ตนว่าเป็นมนุษย์ ชาตินี้ประเสริฐ
ไม่มีอะไรจะเสมอ เป็นต้นทางแห่งภพแห่งชาติทั้งปวง
จะเป็นเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์ ก็จะต้องได้อัตภาพ
เป็นมนุษย์เสียก่อน
หรือทางที่สูงสุดอันพระพุทธศาสนานิยมอย่างยิ่งคือโลกุตรธรรม
ชั้นต่ำเพียงพระโสดา ตลอดขึ้นไปถึงสกิทาคามี
อนาคามี อรหันต์เป็นที่สุด ก็จะต้องมาได้อัตภาพ
เป็นมนุษย์บุรุษสตรีนี้เสียก่อนจึงจะสำเร็จได้
และเห็นว่าอัตภาพซึ่งเป็นมนุษย์นี้
เป็นบ่อเกิดแห่งสรรพวิชาในโลก เว้นเสียแต่
เป็นคนวิการ คือใบ้ บ้า โง่เขลา หรือกายวิการ
มีหูหนวก หรือตนตัวหัวขาไม่สมบูรณ์เป็นต้น
หรือโลภ โกรธ หลง ครอบงำเกินประมาณ
สำเร็จมาแต่อเหตุกปฏิสนธิจิตเป็นเหตุ
มนุษย์จำพวกเหล่านี้ขาดมนุษย์สมบัติ เป็นผู้ไม่
สามารถจะบำรุงมนุสสธรรม คือกายสุจริต ๓
วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ขึ้นในตนได้
ไม่นับเข้าในชาติมนุษย์แท้ เพราะไม่เป็นที่ตั้งขึ้น
ได้แห่งสรรพวิชาทั่วไป
ส่วนผู้ที่มีมนุษย์สมบัติเต็มที่ คือไม่มีวิการเหล่า
นั้นครอบงำขันธสันดานแล้ว
อาจบำรุงมนุสสธรรมให้สมบูรณ์ขึ้นได้
สำเร็จมาแต่ทุเหตุไตรเหตุ จึงชื่อว่าเป็นชาติมนุษย์แท้
ในที่นี้ ถ้าเป็นชาติมนุษย์แท้ ก็ต้องเป็นเจ้าวิชาแท้ คือ
จะเล่าเรียนสิ่งไรอาจสำเร็จได้หมด
เป็นแต่ว่าวิชาในโลกไม่ใช่ของเล็กน้อย
อายุของมนุษย์มีเพียง ๗๐ ปี ๘๐ ปีเท่านั้น ถึงจะ
ไม่ทำธุระอื่น ตั้งหน้าแต่เรียนวิชาซึ่งโลกเขารู้
กันทำกันอยู่แล้วเท่านั้น ชีวิตเพียงเท่านั้นก็
จะหมดไปเปล่า วิชาในโลกก็จะยังไม่รู้ทั่วถึง
เพราะเหตุนั้นจำเป็นจะต้องใคร่ครวญดู
เห็นว่าวิชาสิ่งใดพอที่จะบำรุงความสุขแห่งตนได้
ก็เรียนเพียงอย่างหนึ่งสองอย่างเท่านั้น แต่ให้จริงให้
เป็นที่พึ่งแก่ตนได้จริง ๆ เป็นพอกัน
แต่พึงเข้าใจว่าวิชาสิ่งใดที่ตนพอใจแล้วจะ
ต้องสำเร็จหมด เพราะอัตภาพที่เป็นมนุษย์แท้นี้เอง
เป็นข้าวของวิชาอยู่ทั่วโลก อัตภาพของมนุษย์นี้ ถ้า
จะเปรียบด้วยยานพาหนะที่ใช้กันอยู่ในโลกทุกวันนี้
ที่นับว่าเป็นยานพาหนะอย่างดีที่สุด ทางน้ำก็คือเรือยนต์
ทางบกก็คือรถยนต์ ทางอากาศก็คือเรือเหาะ
ใช้เครื่องยนต์เหมือนกัน
ส่วนเรือเหาะก็ไปได้แต่ในท้องอากาศด้วยกำลัง ดิน
น้ำ ไฟ ลม เมื่อสิ้นอาหาร คือน้ำมันแล้ว ก็
ต้องตกลงมาสู่ดิน ส่วนเรือยนต์ก็แล่นไปได้แต่ในน้ำ
เท่านั้น ส่วนรถยนต์เล่า ก็แล่นไปได้แต่ตามทางที่
เขาปราบให้เรียบราบแล้วเท่านั้น
ไม่น่าอัศจรรย์นัก เพราะเป็นของถ่ายออกไป
จากสรีรยนต์นี้เอง
สรีรยนต์คืออัตภาพร่างกายนี้ มีล้อ ๔ คือ ยืน เดิน
นั่ง นอน เป็นเครื่องบริหาร
ใช้ข้าวปลาอาหารของบริโภคต่าง ๆ แทนน้ำมัน จะ
ใช้ขี่ขับไปทางใดสำเร็จตลอด ไม่เลือกว่าทางน้ำ
ทางบก ภูเขา ป่าดง ใกล้ ไกลได้ตลอด ส่งถึง
เป็นพระราชามหากษัตริย์ เสนาบดี เศรษฐี พ่อค้า
นักปราชญ์ราชบัณฑิต เป็นได้ทุกหน้าที่ สุดแต่
ความปรารถนา
แม้จะปรารถนาสวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ
โลกุตรสมบัติ ก็อาจสำเร็จได้
เพราะมีตัวอย่างท่านแต่ก่อนได้เคยขี่ขับไปถึง
แล้วทุกสถาน ท่านชี้มรรควิถีทางที่จะดำเนินไปให้
ถึงสุนทรสถานทั้ง ๓ ประเภทนั้น
ด้วยมรรคอันเดียว แต่ประดับด้วยองค์ ๘
มีชื่อปรากฏทั่วกันว่า อัฏฐังคิกมรรค คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๑
สัมมาสังกัปโป ความดำริตริตรองชอบ ๑
สัมมาวาจา เจรจาชอบ ๑
สัมมากัมมันโต การงานของกายชอบ ๑
สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตโดยชอบ ๑
สัมมาวายาโม เพียรชอบ ๑
สัมมาสติ ตั้งสติไว้ชอบ ๑
สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้เสมอชอบ ๑
องค์ทั้ง ๘ นี้ ท่านให้ชื่อว่า อริยมรรค เพราะ
เป็นทางดำเนินของกายวาจาใจแห่งพระอริยบุคคล
ถ้าพวกเราไม่ต้องการเป็นพระอริยบุคคล
ต้องการเพียงแต่สวรรค์สมบัติ
ก็พึงดำเนินเพียงชั้นสีลขันธ์ คือ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ให้แน่วแน่อย่า
ให้พลาดเผลอ เป็นอันได้สวรรค์แน่
ชื่อว่าขี่ขับสรีรยนต์ส่งถึงสวรรค์
เมื่อถึงภูมิสวรรค์ได้แล้ว
ต้องการพรหมสมบัติอันยิ่งขึ้นไป
ก็พึงดำเนินเพิ่มสมาธิขันธ์ คือองค์ สัมมาวายาโม
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ให้แน่วแน่ต่อไป ถ้าฌานไม่เสื่อม
เป็นอันได้พรหมสมบัติตรงทีเดียว ชื่อว่า
เป็นอันขี่ขับสรีรยนต์ส่งถึงพรหมโลก
เมื่อได้สำเร็จพรหมโลกแล้ว
จะปรารถนาโลกุตรสมบัติอันยิ่งต่อไป
ก็พึงดำเนินเพิ่มปัญญาขันธ์ขึ้น คือองค์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปโป ด้วยวิปัสสนาญาณทัสสนะ
กำจัดทิฏฐิวิปลาสเสียให้สิ้นเชิง ก็จะ
ได้สำเร็จโลกุตรสมบัติ
เมื่อสำเร็จอมตธรรมโลกุตรสมบัติได้แล้ว ก็
เป็นอันชื่อว่าขับขี่สรีรยนต์ ถึงฝั่งคือพระนิพพาน
สิ้นชาติ ชรา พยาธิ มรณกันดาร เป็นเอ
กันตบรมสุขโดยส่วนเดียว
รถยนต์คือสรีระนี้ เป็นชาติกายสิทธิ์ อาจจักขี่ขับให้
ถึงสุนทรสถานได้ตามปรารถนา มีตัวอย่าง คือ
ได้ส่งท่านทั้งหลายแต่ปางก่อนให้ถึงแล้วทุกสถาน
พวกเราได้รถยนต์คือร่างกายอันสมบูรณ์เช่นนี้
ไม่ควรจะใช้ในทางที่ผิด ปล่อย
ให้คร่ำครวญชำรุดหักพังเสียเปล่า คือยังส่งเราให้
ถึงสุนทรสถานไม่ได้ ชื่อว่าเสียทีที่มีของดีแต่ใช้การดี
ไม่ได้ กลับทำโทษให้แก่ตนเสียอีก
การที่มารู้ว่าสรรพวิชาในโลกตลอด
ถึงโลกุตระ ตนนี้แลอาจจะทำให้สำเร็จได้ทั้งสิ้น
อย่างนี้แหละชื่อว่ารู้ตนดีเป็นทางมาแห่งความเจริญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 21:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ในข้อที่ ๒ ซึ่งว่า ทุวิชาโน ปราภโว วิชาชั่ว
เป็นสะพานแห่งความเสื่อมทรามดังนี้นั้น อธิบายว่า วิชา
ใดที่สัมปยุตด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง
เป็นมูล คือเมื่อเล่าเรียนศึกษา ก็เพ่งแต่จะ
ให้ร้ายแก่ผู้อื่น เอาเปรียบเอาดีแต่ส่วนตัว
ดังวิชาฉ้อโกง ฉกลักปล้นสะดมเขา คือเพ่ง
ความเสียหายให้แก่เขา เอาความได้ความดีไว้ส่วนตัว
วิชาชั่วเหล่านั้น บางสิ่งก็เป็นของจำเป็นจะ
ต้องเล่าเรียน บางสิ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเล่าเรียน
ดังวิชาทหารวิชาฝึกหัดยิงปืนให้แม่นยำเป็นต้น ก็ชื่อว่า
ทุวิชา เป็นวิชาชั่วโดยแท้ เพราะขาดเมตตา กรุณา
แก่ฝ่ายหนึ่ง วิชาทำปืนทำดาบ สรรพอาวุธยุทธภัณฑ์
ทั้งปวง ดังเรือรบต่าง ๆ มีเรือเหาะ เรือใต้น้ำ
ลูกแตกลูกตอปิโดเป็นต้น ต้องนับว่าเป็นวิชาชั่ว
เป็นสะพานแห่งความเสื่อมทราม ความฉิบหายโดยแท้
แต่ว่าวิชาเหล่านี้ถึงรู้ว่าเป็นวิชาชั่ว ก็จำเป็นจะ
ต้องเรียนให้รู้ให้ฉลาด แต่พึงเข้าใจว่าเป็นวิชาชั่ว
เป็นสะพานแห่งความเสื่อมทราม มีตัวอย่างดังจะชี้
ให้เห็น ที่เกิดมหาสงครามขึ้นในประเทศยุโรป
ในพุทธศก ๒๔๕๗ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมมา ปรากฏ
ในสมัยนี้พากันได้รับความพินาศฉิบหายใหญ่ คือมนุษย์
ด้วยกัน ควรรักกัน ควรป้องกันรักษาซึ่งกันและ
กัน จึงจะชอบ จึงจะนับว่าเป็นชาติศิวิไลซ์
..........ความจริงเหตุที่จะบังเกิดขึ้น ตามข่าวก็ไม่
ใหญ่โตสักปานใด ได้ความว่า คนชาติเซอร์เวีย
ได้ปลงพระชนม์ชีพรัชทายาท
ทั้งพระชายาของประเทศออสเตรีย
ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสประเทศเซอร์เวีย
โดยวิสัยของพวกอันธพาลเป็นเหตุ สองประเทศจึงได้
เป็นปากเป็นเสียงกันขึ้น และหารือไป
ยังมหาประเทศให้ช่วยระงับเหตุ ข้างฝ่ายรัสเซียก็
เข้ากับเซอร์เวีย ข้างฝ่ายเยอรมันก็เข้ากับออสเตรีย
ข้างฝ่ายอังกฤษ ฝรั่งเศส เข้าฝ่ายรัสเซีย
เมื่อถืออำนาจเข้าหากันทั้ง ๒ ฝ่ายเช่นนั้น ต่างฝ่ายก็มิ
ได้ตั้งใจจะระงับเหตุ มุ่งแต่จะวางอำนาจ จนถึงพร้อม
กันประกาศสงครามเข้าสัมประหารชิงชัยซึ่งกัน
และกัน ลุกลามไปทั่วทั้งโลก ล้มตายกัน
ด้วยอาวุธศาสตราก็นับไม่ถ้วน ล้มตายเสีย
ด้วยอดอาหารหรือเกิดโรคต่าง ๆ
เพราะกลิ่นไอโสโครกก็นับไม่ถ้วน มิใช่
จะตายแต่พลรบอย่างเดียว คนแก่และผู้หญิง
และเด็ก ที่อพยพยกครอบครัวหนีข้าศึกไป
ไม่มีอาหารจะเลี้ยงกัน ตายเสียก็มากนับไม่ถ้วน
คนตายในระหว่างสงครามคราวนี้ไม่ต้องนับ
ด้วยล้าน เห็นจะต้องนับด้วยโกฏิ น่าสลดสังเวช จะ
ต้องพลัดพรากจากกัน
ในระหว่างสามีภรรยาบุตรนัดดา จะต้องเป็นหม้าย
เป็นกำพร้า ไม่มีผู้พาทำมาหากิน จะ
ต้องยากจนต่อไปอีก จะพรรณนาไม่มีที่สิ้นสุด
ชักมาชี้แจงเพียงเล็กน้อย เพื่อจะ
ให้เห็นอำนาจของวิชาชั่ว ย่อมให้โทษร้ายแรง
ถึงอย่างนี้
คือต่างฝ่ายก็ถือว่าตนเป็นเจ้าของวิชา เรือเหาะข้าก็ทำ
ได้ เรือดำน้ำข้าก็ทำได้ เรือรบข้าก็มาก
ลูกแตกลูกระเบิดข้าก็ทำได้
ค่าที่ต่างฝ่ายต่างอวดวิชาของตน จึงมีความกล้าหาญ
เข้าสู้รบชิงชัยกันและกัน ปราศจากเมตตาปรานี
และเห็นกันเป็นเนื้อเป็นปลาไปหมดทีเดียว คือวิชาชั่ว
เป็นเหตุแห่งความฉิบหาย จะมากหรือน้อย
ให้ดูกำหนดตามกำลังของวิชา
ดังวิชาทำหอกทำดาบเหลนหลาวเป็นต้น
ประโยคที่ทำก็ไม่ใหญ่โตนัก ผลแห่งความฉิบหายที่ได้
จากอาวุธศาสตราเหล่านั้น ก็ไม่มากสักปานใด
ถ้าวิชามีประโยคใหญ่ดังวิชาทำปืนทำลูกแตก
ลูกระเบิดเป็นต้น ผลแห่งความฉิบหายที่จะได้ ก็
เป็นของใหญ่ ดังปรากฏอยู่ในสมัยทุกวันนี้
พึงเข้าใจว่า วิชาที่สัมปยุตด้วยโลภะ โทสะ โมหะ อิจฉา
พยาบาท ชื่อว่า “ทุวิชา” สมด้วยพุทธภาษิตว่า “ทุวิชาโน
ปราภโว” วิชาชั่วเป็นสะพานแห่งความเสื่อม
ความฉิบหายดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 21:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ส่วนที่แสดงมานี้ เป็นทุวิชาภายนอกตน
ยังทุวิชาภายในตนอีกประเภทหนึ่ง
การที่เห็นตัวชั่วก็มีอาการหลายอย่าง
ดังเห็นว่าตัวของเรายังสัมปยุตอยู่ด้วยโลภะ โทสะ
โมหะ ยังประพฤติทุจริต มีฆ่าสัตว์ ฉ้อโกงเขาเป็นต้น
อย่างนี้ก็ชื่อว่ารู้ตัวชั่ว ถ้ารู้ว่าตัวชั่วเช่นนั้น ก็รีบแก้ไข
ไม่ให้ความชั่วเหล่านั้นมีในตน ก็กลับจะเป็นทางแห่ง
ความเจริญเสียอีก ถ้ารู้ว่าตัวชั่วแล้วยังขืนทำร่ำไป
ก็เป็นทางมาแห่งความเสื่อมทรามโดยแท้
ยังมีอีกประเภทหนึ่ง เจตนาก็ไม่หวังชั่ว ความเห็นก็
ไม่รู้สึกว่าเป็นของชั่ว ความตั้งใจก็เป็นกุศล
ความเห็นก็เข้าใจว่าตรงตามแบบแผน
ความทำก็ตามทางสมถวิปัสสนาตรงทีเดียว
แต่มันกลับเป็นทุวิชาไปก็เป็นได้ ดัง
ผู้เจริญพระไตรลักษณ์ หรืออสุภกรรมฐาน
มรณานุสสติกรรมฐานเป็นต้น
คือพิจารณาในสกลกาย ที่นิยมว่าเป็นตัวนี้ ให้เห็นว่า
เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง เห็นเป็น ทุกขัง ทนลำบาก เห็น
เป็น อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เห็นเป็น อสุจิ ไม่สะอาด เห็น
เป็น อสุภัง ไม่งาม เห็นเป็น ปฏิกูลัง น่าเกลียด
ไม่มีประโยชน์อะไร สำหรับถมแผ่นดินเปล่าเท่านั้น
ดังนี้
อาการที่เห็นอย่างนี้ก็เป็นเหตุให้เกิดความสังเวช กำจัด
ความรักใคร่ชอบใจในตนได้อย่างหนึ่ง และกัน
ความเมาความหลงในสัญญาออกเสียได้ส่วนหนึ่ง ท่าน
จึงยกขึ้นมาเป็นตัววิปัสสนากรรมฐาน คุณก็มีมาก
ไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนโทษก็มีหลายโทษนั้น
ดังภิกษุพวกมากเจริญมรณานุสสติ เกิด
ความเบื่อหน่ายเกลียดชังตัว จน
ถึงเอาบาตรจีวรจ้างนายพรานชื่อมิคลัณฑิกะ
ให้ปลงชีวิตตนเสียเป็นอันมาก ซึ่งปรากฏ
ในตติยปาราชิกสิกขาบทเป็นตัวอย่าง ก็
เพราะโทษเห็นตัวชั่วรู้ตัวชั่ว ใช่จะมีแต่เท่า
นั้นถ่ายเดียว พวกที่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พากัน
เป็นบ้าเป็นบอไปเสียก็มาก พากันเป็นอุจเฉททิฏฐิ
เห็นว่าบุญบาปไม่มี ตายแล้วสูญไปเท่านั้นก็มีมาก
แต่ความจริงที่เห็นเช่นนั้น ก็มิใช่วิชาของตัวทีเดียวนัก
เป็นวิชาเขาว่าเสียโดยมาก คือมีเป็น ๒ จำพวก
จำพวกหนึ่งโง่ ไม่รู้จักอะไร ได้ฟังแต่
เขาอธิบายแยกธาตุอย่างนั้นอย่างนี้ ดังเขาอธิบายว่า
ความคิดความนึกนี้ มันอาศัยสมองเท่านั้นเอง ตายแล้ว
ไม่มีมันสมอง จะเอาอะไรไปเกิด ความเกิดก็อยู่
กับบิดามารดาเท่านั้น มักเห็นเพียงชั้นนี้โดยมาก
การที่อาศัยบิดามารดาเป็นแดนเกิดนั้น ใคร ๆ
ไม่ปฏิเสธ มิใช่จะอาศัยแต่เพียงเกิดเท่านั้น ถึงเกิดมา
แล้วก็ต้องอาศัยจนใหญ่โต บิดามารดา
เป็นเจ้าบุญเจ้าคุณ จะพรรณนาไม่มีที่สิ้นสุด
แต่พึงตรองดู สิ่งที่บิดามารดาแต่งให้เกิดนั้น
คืออะไรบ้าง ถ้าพิเคราะห์ดูให้แน่นอนแล้ว มัก
จะเห็นแต่เป็นเองเสียทั้งเรื่อง จะหาว่าบิดามารดา
เป็นต้นเกิด ก็ไม่น่าจะลงเนื้อเห็นให้เต็มที่ได้
เปรียบความดังช่างหม้อปั้นปรุงหม้อขึ้นซื้อขายได้
จะลงเนื้อเห็นว่าช่างหม้อเป็นต้นก็ได้อยู่ แต่ว่ายังตื้น
เพราะดินเหนียวสำหรับที่จะปั้นหม้อได้เป็นของมีอยู่
แล้วฉันใด สัมภาระที่จะให้เกิดบุตร เป็นของมี
อยู่ก่อนบิดามารดาแล้วฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้
ผู้เห็นเพียงชั้นบิดามารดาเป็นต้นยังไม่เหมาะ
คือเห็นแต่ชั้นสังขตธรรมเท่านั้น ยัง
ไม่เห็นอสังขตธรรม เพราะเหตุนั้นจึงเหมาคนชั้นนี้
ยังโง่มาก คือยังมิได้ใช้ความรู้ความเห็นของตน
เชื่อแต่คนอื่นเขาว่าเท่านั้น
การที่แยกธาตุได้ก็เป็นแต่เชื่อเขาเท่านั้น ความจริง
จะแยกอย่างไร คงแยกได้แต่อาการเท่านั้น
แท้ที่จริงเข็มเล่มหนึ่งจะปฏิเสธได้หรือว่า ไม่พร้อม
ด้วยธาตุทั้ง ๔ แต่อากาศละเอียดยิ่งกว่าเข็มยังปฏิเสธ
ไม่ได้ว่า ไม่มีธาตุ ๔ ครบ เมื่ออากาศละเอียดถึงเพียง
นั้นแล้ว ธาตุยังแยกจากกันไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
จะหมายเอาความในการแยกธาตุด้วยประการใด
อีกพวกหนึ่งมีสติปัญญามากเกินไป เอาอนัตตานุปัสสนา
สุญญตานุปัสสนา เป็นอารมณ์มากเกินไป
จนเกิดอนัตตสัญญา สุญญตสัญญา เห็นไม่มีตนไม่มีตัว
เห็นสูญว่างเปล่า ถือเอาความว่างความสูญเข้ามา
เป็นอารมณ์ เข้าใจว่าความว่างความสูญ
เป็นพระนิพพาน ตกลงพวกนี้เอาอวิชชาเป็นสรณะ
เป็นที่พึ่ง ความสูญ ความไม่มีนั้นเอง เป็นตัวอวิชชา
จึงชื่อว่า เอาตัวอวิชชาเป็นที่พึ่ง เป็นตัว โมฆปุริโส
บุรุษเปล่าแท้ เป็นตัวอกตัญญู ขาด
จากคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา
คุณครูบาอาจารย์ คุณพระราชามหาอำมาตย์ไม่มี
ในตน
คนเหล่านี้จะเห็นว่าตายสูญหรือตายเกิดก็ตาม ก็คงตก
อยู่ในพวกมิจฉาทิฏฐิ จะทำคุณความดีแก่ตนไม่ได้อีก
แล้ว เลยยกโทษเอาครูบาอาจารย์ว่า
ท่านรู้จักของจริงเต็มตัว
แต่ท่านอาศัยการหลอกลวงเลี้ยงชีวิต ท่าน
จึงแสดงว่า ทำอย่างนั้นเป็นบุญ ทำอย่างนั้นเป็นบาป
ตั้งหน้าหลอกเขากินเท่านั้น ที่จริง
จะเอาบุญบาปที่ไหนมา มักพูดอย่างนี้
คนจำพวกนั้นมันยกโทษท่านผู้มีคุณ ยกตนข่มท่าน
ด้วยประการต่าง ๆ อย่างนี้ ส่วนตนก็ไม่ทำบุญ
ให้ทานรักษาศีล ยังซ้ำติเตียนท่านผู้อื่นเสียด้วย เสีย
ทั้งประโยชน์ส่วนตัว ทั้งประโยชน์ผู้อื่น
ซึ่งคบหาสมาคม เป็นทั้งนี้ก็
เพราะโทษเห็นอนัตตาสูญเปล่า เป็นตัวมิจฉาทิฏฐิ
คือรู้ผิดเห็นผิด จึงชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ศึกษา
ในพระศาสนา แต่กลายเป็นภายนอกไปเสียไม่รู้ตัว
อย่างนี้นับด้วยร้อยด้วยพันไม่ถ้วน
ผู้ศึกษาธรรมในพระศาสนาควรตรึกตรอง
ให้มาก อย่าให้พลาด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่
ใช่ของเล่น ถ้าดีก็ตรงพระนิพพานทีเดียว
ถ้าพลาดท่าก็ตกโลกันต์เลยทีเดียว
การรู้ตัวเห็นตัวว่าเป็นของชั่ว ท่านจึงแสดงว่า
เป็นสะพานแห่งความเสื่อมความฉิบหาย สม
ด้วยพุทธปริยายว่า “ทุวิชาโน ปราภโว”
ด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ข้อที่ ๓ ว่า “ธมฺมกาโม ภวํ โหติ”
ความรักใคร่ชอบใจในธรรมเป็นเหตุแห่ง
ความเจริญนั้น พึงศึกษาให้เข้าใจในธรรม ให้ได้
ความชัดเจนเสียก่อนว่าอะไรชื่อว่าธรรม
คือพระธรรมนั้น ถ้าจะแสดงตามลักษณะอาการ
แล้วไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่ท่านจำแนกไว้ว่า
ปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม
ปฏิเวธสัทธรรม หรือกุศลธรรม อกุศลธรรม
อัพยากตธรรม เป็นตัวอย่าง คงถือเอาเนื้อความ
โดยชัดเจนไม่ได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงสรุปความลงอีกทีหนึ่งว่า “
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” พระธรรมอันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ดังนี้ คงได้ความว่า
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสิ้น
ชื่อว่าพระธรรม ถ้าเช่นนั้นก็จะไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนกัน
เพราะคำสอนของพระองค์กว้างขวางมาก
ย่นประเภทคำสอนของพระองค์ลงเป็น ๓ อีก
คือชี้ลักษณะว่า อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ
ปริโยสานกลฺยาณํ คำสอนของพระองค์ ไพเราะ
ในเบื้องต้นคือศีล ไพเราะในท่ามกลางคือสมาธิ
ไพเราะในที่สุดคือปัญญา ดังนี้
คงได้เนื้อความว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
นี้แหละชื่อว่าพระธรรม เพราะ
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเช่นนั้นเราจะต้องค้นดู
ให้เห็นตัวศีล ตัวสมาธิ ตัวปัญญา
เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นสันทิฏฐิโก
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นด้วยตน ถ้าเราไม่รู้จักศีล ไม่เห็นศีล
เราจะรักษาศีลอย่างไร ดังผู้ไม่รู้จักโค ไม่เห็นโค
จะเลี้ยงโคอย่างไร ถ้าอยากจะเห็นศีล รู้ศีล ก็
ให้รู้จักกาย รู้จักวาจา รู้จักใจเสียก่อน
ความประชุมแห่งธาตุ ๖ ชื่อว่ากาย
เสียงที่เปล่งออกไปจากมุขทวาร อันสำเร็จมาแต่กาย
ชื่อว่าใจ ท่านบัญญัติศีลลงที่กาย วาจา ใจ นี้เอง
ส่วนใจนั้น เป็นตัวเจตนากรรม เมื่อพูดถึงศีลแล้ว
จะเว้นใจเสียไม่ได้เลย คือผู้ระวังก็ใจ ผู้รักษาก็ใจ
ระวังอะไร ระวังกายระวังวาจา รักษาอะไร
รักษาก็รักษากาย รักษาวาจานี้เอง
ก็ตกลงว่าตัวระวังตัวเอง ตัวรักษาตัวเอง
เพราะกายก็ตัว วาจาก็ตัว ใจก็ตัว
ระวังรักษากายก็คือไม่ให้ฆ่าสัตว์ ลักของท่าน
ล่วงประเวณีของท่าน ไม่ให้กินเหล้า ระวังรักษาวา
จาก็คือไม่ให้กล่าวเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำ
ไม่มีประโยชน์ เมื่อกายวาจาพ้นจากโทษเหล่านั้นได้
ก็ชื่อว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นตัว
สีลขันโธ คือแปลว่าตัวเป็นก้อนศีลนั้นเอง
เมื่อเห็นว่าตัวเป็นศีลเช่นนั้น ก็คงรู้ได้ว่าตัว
เป็นธรรมไม่ใช่หรือ ? เพราะศีล
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ชื่อว่าพระธรรม
เมื่อเห็นว่าตัวเป็นศีล ศีลเป็นธรรมเช่นนั้น ก็ชื่อว่าผู้
ถึงพระธรรมในชั้นศีล ผู้ที่รักษาศีล ก็ชื่อว่า
ผู้รักษาธรรม ผู้รักษาธรรมก็ชื่อว่าผู้รักษาศีล
ก็สิ่งใดเป็นศีล สิ่งนั้นแหละจะเป็นสมาธิและปัญญา
ผู้ชอบธรรมรักธรรม ในชั้นศีลธรรม
สมาธิธรรม ปัญญาธรรม ส่วนใดก็ตาม ก็คง
ได้รับผลแห่งความเจริญยิ่ง
และหย่อนตามอำนาจของธรรม ซึ่งตนถึง
ตนรักใคร่ชอบใจตามสมควร สมด้วยพุทธภาษิตว่า “
ธมฺมกาโม ภวํ โหติ” ความชอบธรรม รักธรรม
เป็นเหตุถึงความเจริญดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 22:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ข้อที่ ๔ ว่า “ธมฺมเทสฺสี ปราภโว”
ความเกลียดชังธรรม เป็นสะพานแห่งความเสื่อมเสีย
นั้น ก็พึงเข้าใจดุจเดียวกัน คือเมื่อรู้ว่าตนเป็นธรรม
ธรรมเป็นตนเช่นนั้น และยังขืนทำตนให้
เป็นอกุศลธรรมอยู่เสมอ คือปล่อยตน
ให้ลุอำนาจแห่งโลภะ โทสะ โมหะ ประพฤติทุจริต
บาปอกุศล ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยน้ำใจอยู่ร่ำไป
อย่างนี้ชื่อว่า ชังธรรม
คือหมายความว่า ผู้ใดยังทำตนให้เป็นข้าศึกแก่ตนอยู่ ผู้
นั้นนั่นแหละชื่อว่าชังธรรม คำที่ว่าเป็นข้าศึกแก่ตนนั้น
พึงเข้าใจความอย่างนี้ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ นี้แหละ เป็นลักษณะอาการของตน
ถ้ามีครบบริบูรณ์ทั้ง ๖
ก็คือว่าพรักพร้อมบริบูรณ์ด้วยสมบัติเต็มที่ อาจ
ให้สำเร็จกิจตามประสงค์ได้ทุกประการ
ถ้าขาดแต่อย่างหนึ่งสองอย่าง ก็เป็นอภัพพบุคคล
ไม่อาจทำประโยชน์ชั้นสูงให้สำเร็จได้
ถึงแม้ผู้มีครบทั้ง ๖ ก็จริง แต่อาศัยความโง่เขลา
เข้าครอบงำ ทำอายตนะเหล่านั้นให้เป็นข้าศึกแก่ตน
คือเมื่อเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก
รู้รสด้วยลิ้น รู้สัมผัสด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจ
ถ้าส่วนใดเป็นอิฏฐารมณ์
เป็นอารมณ์ที่พึงปรารถนา ก็อยากได้ อยากมี
ยินดีชอบใจจนเกินไป ถึงแก่ให้ทุกข์โทมนัสปฏิฆะเกิดขึ้น
ทำตนให้ได้รับความโศกเศร้าเสียใจมีประการต่าง
ๆ ถ้าได้รับอารมณ์ส่วนใดซึ่งเป็นอนิฏฐารมณ์
คืออารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ก็เกิด
ความชังจนเหลือเกิน จน
ได้รับทุกข์โทษโศกเศร้าเสียใจมีประการต่าง ๆ
อย่างนี้แหละ ชื่อว่าทำตนให้เป็นข้าศึกแก่ตน ผู้นั้นก็
ไม่อาจทำประโยชน์ชั้นสูงให้สำเร็จแก่ตนได้
พึงถือเอาใจความว่า ผู้ใดยังเศร้าโศกเสียใจ
ยังมีโทมนัสปฏิฆะ คับแค้นอัดอั้นตันใจ เพราะอาศัยตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเหตุ ชื่อว่าเป็นข้าศึกแก่ตน ผู้
เป็นข้าศึกแก่ตนนี้แหละ ชื่อว่า “ธมฺมเทสฺสี”
ผู้เกลียดชังธรรม ย่อมจะได้รับความเสื่อม
ความฉิบหายโดยแท้ สมตามพุทธภาษิตว่า “ธมฺมเทสฺสี
ปราภโว” ดังบรรยายมานี้
สรุปความในพุทธภาษิตทั้ง ๔ นี้ คือวิชาดี วิชาชั่ว
รักธรรม ชังธรรม เป็น ๔ โดยอาการ
ถ้าย่นลงคงเป็นหนึ่งเท่านั้น คือวิชาดี ก็คือรู้ตัวดี
วิชาชั่วก็คือรู้ตัวชั่ว รักธรรมก็คือรักตัว
ชังธรรมก็คือชังตัว ตกลงเป็นหนึ่ง อยู่ที่ตัวนี้เอง
เพราะเหตุนั้น ผู้รู้ตัว เห็นตัว ท่านจึงยกตัว
เป็นยอดแห่งวิชา ดังพรรณนามาฉะนี้ ท่านผู้อ่านผู้ฟัง
อาศัยมนสิการโดยแยบคาย คงจะไม่เปล่าประโยชน์
โดยแท้.
.........................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 22:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..........ข้อที่ ๔ ว่า “ธมฺมเทสฺสี ปราภโว”
ความเกลียดชังธรรม เป็นสะพานแห่งความเสื่อมเสีย
นั้น ก็พึงเข้าใจดุจเดียวกัน คือเมื่อรู้ว่าตนเป็นธรรม
ธรรมเป็นตนเช่นนั้น และยังขืนทำตนให้
เป็นอกุศลธรรมอยู่เสมอ คือปล่อยตน
ให้ลุอำนาจแห่งโลภะ โทสะ โมหะ ประพฤติทุจริต
บาปอกุศล ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยน้ำใจอยู่ร่ำไป
อย่างนี้ชื่อว่า ชังธรรม
คือหมายความว่า ผู้ใดยังทำตนให้เป็นข้าศึกแก่ตนอยู่ ผู้
นั้นนั่นแหละชื่อว่าชังธรรม คำที่ว่าเป็นข้าศึกแก่ตนนั้น
พึงเข้าใจความอย่างนี้ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ นี้แหละ เป็นลักษณะอาการของตน
ถ้ามีครบบริบูรณ์ทั้ง ๖
ก็คือว่าพรักพร้อมบริบูรณ์ด้วยสมบัติเต็มที่ อาจ
ให้สำเร็จกิจตามประสงค์ได้ทุกประการ
ถ้าขาดแต่อย่างหนึ่งสองอย่าง ก็เป็นอภัพพบุคคล
ไม่อาจทำประโยชน์ชั้นสูงให้สำเร็จได้
ถึงแม้ผู้มีครบทั้ง ๖ ก็จริง แต่อาศัยความโง่เขลา
เข้าครอบงำ ทำอายตนะเหล่านั้นให้เป็นข้าศึกแก่ตน
คือเมื่อเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก
รู้รสด้วยลิ้น รู้สัมผัสด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจ
ถ้าส่วนใดเป็นอิฏฐารมณ์
เป็นอารมณ์ที่พึงปรารถนา ก็อยากได้ อยากมี
ยินดีชอบใจจนเกินไป ถึงแก่ให้ทุกข์โทมนัสปฏิฆะเกิดขึ้น
ทำตนให้ได้รับความโศกเศร้าเสียใจมีประการต่าง
ๆ ถ้าได้รับอารมณ์ส่วนใดซึ่งเป็นอนิฏฐารมณ์
คืออารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ก็เกิด
ความชังจนเหลือเกิน จน
ได้รับทุกข์โทษโศกเศร้าเสียใจมีประการต่าง ๆ
อย่างนี้แหละ ชื่อว่าทำตนให้เป็นข้าศึกแก่ตน ผู้นั้นก็
ไม่อาจทำประโยชน์ชั้นสูงให้สำเร็จแก่ตนได้
พึงถือเอาใจความว่า ผู้ใดยังเศร้าโศกเสียใจ
ยังมีโทมนัสปฏิฆะ คับแค้นอัดอั้นตันใจ เพราะอาศัยตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเหตุ ชื่อว่าเป็นข้าศึกแก่ตน ผู้
เป็นข้าศึกแก่ตนนี้แหละ ชื่อว่า “ธมฺมเทสฺสี”
ผู้เกลียดชังธรรม ย่อมจะได้รับความเสื่อม
ความฉิบหายโดยแท้ สมตามพุทธภาษิตว่า “ธมฺมเทสฺสี
ปราภโว” ดังบรรยายมานี้
สรุปความในพุทธภาษิตทั้ง ๔ นี้ คือวิชาดี วิชาชั่ว
รักธรรม ชังธรรม เป็น ๔ โดยอาการ
ถ้าย่นลงคงเป็นหนึ่งเท่านั้น คือวิชาดี ก็คือรู้ตัวดี
วิชาชั่วก็คือรู้ตัวชั่ว รักธรรมก็คือรักตัว
ชังธรรมก็คือชังตัว ตกลงเป็นหนึ่ง อยู่ที่ตัวนี้เอง
เพราะเหตุนั้น ผู้รู้ตัว เห็นตัว ท่านจึงยกตัว
เป็นยอดแห่งวิชา ดังพรรณนามาฉะนี้ ท่านผู้อ่านผู้ฟัง
อาศัยมนสิการโดยแยบคาย คงจะไม่เปล่าประโยชน์
โดยแท้.
.........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร