วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 03:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2012, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหรียญมีสองด้าน คือ ด้านหัว กับ ด้านก้อยเรา ควรรู้เข้าใจเหรียญทั้งสองด้านฉันใด พุทธธรรมก็ฉันนั้นควรรู้จักเข้าใจทั้งสองด้าน แล้วจะไม่พลาด


ลองพิจารณาข้อธรรมซึ่งมองดูคล้ายๆขัดกันเป็นตรงข้าม แต่ที่จริงเสริมกัน แต่ต้องตีให้แตก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2012, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คู่ต่าง คือ คู่เติม เสริมความรู้ธรรมให้เต็ม

พระพุทธศาสนานี้มีอะไรที่มองดูคล้ายๆขัดกันเป็นตรงข้าม แต่ที่จริงเสริมกัน ถ้านักศึกษาตีแตกก็จะเข้าใจพระพุทธศาสนาชัด และปฏิบัติได้ถูก ท่านฝากให้สังเกต 4 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1. คือ เรื่องอนิจจัง กับ ความไม่ประมาท
พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงว่า สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดับไป

แต่อีกหลักธรรมหนึ่งบอกว่า ถ้าเราไม่ประมาทแล้ว จะมีแต่ความเจริญเท่านั้น ไม่มีทางเสื่อมเลย
คำสอนทั้งสองนี้เป็นพุทธพจน์ใหญ่ด้วยกันทั้งคู่ และนี่ขัดกันไหม ? ที่จริงไม่ขัดกัน และสนับสนุนกันด้วย แต่สนับสนุนกันอย่างไร

ถ้าไม่สามารถมองพระพุทธศาสนาได้ครบ 2 ด้านนี้แล้ว จะพลาด

ในแง่ความจริง คือหลักอนิจจังว่า สิ่งทั้งหลายเกิดดับเป็นธรรมดา

แต่ในแง่การปฏิบัติของมนุษย์ คือความไม่ประมาท จะรักษาความเจริญไว้ได้ ไม่ให้เสื่อม 2 อย่างนี้ไม่ขัดกัน แถมสนับสนุนกันด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2012, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ 2. ก็คือหลักคู่กัน ระหว่างธรรม กับ วินัย

อย่างที่ว่า เราศึกษาธรรมแล้วก็ได้สติ เช่น หลักอนิจจังเตือนใจให้ตื่นตัวคอยระลึกไว้โดยรู้ตระหนักว่า อะไรๆทุกอย่าง ไม่ว่าจะโดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นไปตามพระไตรลักษณ์ ก็ตาม หรือจะโดยเป็นของสมมติบัญญัติ ก็ตาม เป็นสิ่งที่เราไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ จะต้องรู้จักปล่อยวาง ธรรมสอนเราอย่างนั้น

แต่วินัยบอกว่า ต้องมีความรับผิดชอบเอาจริงเอาจัง แม้แต่สิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่สมมติตกลงกัน ก็ต้องยอมรับและทำตามสมมติเต็มที่ เช่นอย่างภิกษุนี้ จีวรขาดเป็นรู ก็ต้องรีบจัดการแก้ไข ปะชุนเสีย จะปล่อยปละละเลยไม่ได้

หลักของวินัย ถือสงฆ์เป็นใหญ่ แต่พระอรหันต์ก็เคารพสงฆ์เวลามีเรื่องของส่วนรวมเกิดขึ้น ไม่เข้าที่ประชุม ไปอยู่ป่าเสีย ที่ประชุมลงโทษพระอรหันต์ ดังมีเรื่องอยู่ในประวัติศาสตร์
พระอรหันต์จะเข้านิโรธสมาบัติ มีหลักปฏิบัติข้อหนึ่งว่าต้องเตรียมใจไว้ ถ้าสงฆ์เรียกเมื่อไร ต้องออกจากนิโรธสมาบัติทันที กิจการของส่วนรวม การใดที่เป็นเรื่องของสุข ทุกข์ หรือเกี่ยวกับความเจริญ ความเสื่อมเสียของส่วนรวม จะต้องเอาใจใส่เป็นผู้นำ

พระอรหันต์มีลักษณะเป็นแบบนั้น เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าวางวินัยให้สงฆ์สวดปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน พระมหากัสสปะซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้ใหญ่รูปหนึ่ง มาพิจารณาว่า พระพุทธเจ้าวางวินัยข้อนี้ เราจะต้องไปหรือเปล่า เราเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว จะต้องไปตรวจสอบวินัยอะไรกัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปหาพระมหากัสสปะด้วยพระองค์เองทันทีเลย ตรัสว่าเธอเป็นพระอรหันต์นี่แหละ ต้องไปเป็นผู้นำ ถ้าเธอไม่ไปแล้วใครจะไป

เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จึงมีคติที่ถือประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นสำคัญ ถ้ามีอะไรเป็นเรื่องกระทบกระเทือนต่อส่วนรวมเกิดขึ้น

พระอรหันต์จะเป็นผู้นำ เช่น พระมหากัสสปะริเริ่มชวนพระอรหันต์ทั้งหลายทำสังคายนา

ในเมืองไทย มีการยึดถือกันมาในทำนองว่า พระองค์ไหนไม่เอาเรื่องเอาราว อะไรเกิดขึ้นไม่เอาใจใส่ คือไม่มีกิเลส อันนี้คือความไม่เข้าใจหลักการแห่งความเป็นคู่กัน ระหว่างธรรมกับวินัย

รวมความว่า พระพุทธศาสนาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ธรรม กับ วินัย ถ้าเข้าใจพระพุทธศาสนาให้ครบ ต้องทั้งธรรมและวินัย

วินัยแสดงชีวิตของพระอรหันต์ในโลกที่เป็นจริงของมนุษย์ที่อยู่ในสมมติ พระอรหันต์คือผู้ที่รู้ความจริงของปรมัตถ์ แต่เข้าถึงความจริงนั้น จนกระทั่งจิตไม่ยึดติดถือมั่น และเพราะจิตไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละ จึงปฏิบัติต่อสมมติได้อย่างถูกต้องที่สุดตามเหตุผล ด้วยความรับผิดชอบจริงจัง

นี่คล้ายๆขัดกัน แต่ 2 อย่างตรงข้าม มาเสริมกัน ต้องตีให้แตก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2012, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ 3 หลักพุทธธรรม ให้รู้ทันทุกข์ แต่ให้ปฏิบัติเป็นสุข

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้เท่าทันทุกข์ แต่ให้มีชีวิตที่เป็นสุข หน้าที่ต่อทุกข์อยู่ในหลักอริยสัจ ที่ทรงแสดงในปฐมเทศนาว่า ทุกขัง ปริญเญยยัง ทุกข์นั้นเรามีหน้าที่ปริญญา คือรู้ทันมัน ทุกข์เป็นเรื่องสำหรับปัญญารู้ หน้าที่ต่อทุกข์คือรู้เท่านั้น เราไม่มีหน้าที่เป็นทุกข์ รู้จักทุกข์ ไม่ใช่เป็นทุกข์ เมื่อปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็มีแต่ห่างทุกข์ และเป็นสุขมากขึ้น

หน้าที่ต่ออริยสัจนี้ ถ้าผิดแล้วก็ปฏิบัติพลาดทันที พระพุทธเจ้าตรัสอริยสัจ ไม่ได้ตรัสไว้ลอยๆ แต่ตรัสหน้าที่ไว้ด้วย ในพระสูตรหนึ่ง (เทวทหสูตร ม.อุ.14/1-27) พระพุทธเจ้าทรงโต้กับพวกนิครนถ์ ซึ่งมีลัทธิที่ถือว่า คนเราจะสุขจะทุกข์อย่างไรก็เพราะกรรมเก่าที่ทำไว้ในชาติปางก่อน เราจะพ้นทุกข์ได้ก็โดยต้องไม่ทำกรรมใหม่

พวกนิครนถ์ถือวา ร่างกายนี้มันยุ่ง อยากเสพโน่นเสพนี่ ถ้าเราไม่ตามใจมัน ก็ทำกรรมใหม่อยู่เรื่อย เราก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ เพราะฉะนั้น ต้องทรมานมัน พวกนิครนถ์ก็จึงบำเพ็ญตบะให้กิเลสเหือดหายเพื่อทำกรรมเก่าให้หมดสิ้นไป และไม่ทำกรรมใหม่

ลัทธินิครนถ์นี้ พระพุทธเจ้าทรงโต้แย้งไว้ยาว และได้ตรัสหลักปฏิบัติต่อทุกข์-สุขไว้ 4 ประการคือ

1. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์
2. ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม
3. แม้แต่สุขที่ชอบธรรมก็ไม่ติดหลง
4. กำจัดเหตุแห่งทุกข์ให้สิ้นไป (ปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไป จนถึงบรมสุข คือสันติหรือนิพพาน)

อันนี้คือหลักพระพุทธศาสนาในการปฏิบัติต่อสุข-ทุกข์ เป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่ง สามข้อแรกตรัสระบุเรียงกันไป สอดคล้องกับข้อ 4 ซึ่งเป็นเนื้อหาของพระสูตรนั้น

เรื่องสุข เรื่องทุกข์นี้ ต้องตีให้แตก มันคล้ายๆขัดกัน แต่ที่จริงประสานกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2012, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาข้อนี้ดีดีผู้ศึกษาพุทธศาสนายกขึ้นถกเถียงกันบ่อยๆ เพราะอะไร? เพราะแยกพุทธธรรมไม่ออกปนเปกัน



ข้อ 4 เรื่องอัตตา - อนัตตา เป็นหลักทางปัญญาที่สำคัญยิ่ง

ที่พระพุทธศาสนาสอนเรื่องนี้ไว้
ถ้าพูดเป็นภาษาธรรมดาก็ว่าอัตตาที่ไม่มีนั้น ใช้มันไปเถอะ ได้ประโยชน์ดีจริงๆ ท่านสอนให้พัฒนาไปจนถึงที่สุด แล้วจะประสบพบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีขึ้นเมื่อไรเป็นปัญหาทุกที เกิดอัตตาขึ้นมาเมื่อไรก็ยุ่งเมื่อนั้น มีปัญหา เกิดทุกข์ เกิดการกระทบกระทั่งอะไรต่างๆ

พระพุทธศาสนามีคำสอนว่า ด้วยอัตตา หรือตัวตนนี้มากมาย เช่น

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึงของตน

อตฺตทีปา อตฺตสรณา จงมีตนเป็นเกาะ จงมีตนเป็นที่พึ่ง

อตฺตานํ ทมยนติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน

อตฺตนา โจทยตฺตานํ จงเตือนตน ด้วยตน

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตัว

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช หากรู้ว่าตัวนี้เป็นที่รัก ก็ไม่ควรเอาตัวนั้นไปเกลือกกลั้วกับความชั่ว

ฯลฯ

เรื่องตัวเรื่องตนนี้ พระพุทธศาสนาสอนไว้มากมาย ในระดับตัวตนสมมตินี่ ที่มันไม่มีนี่แหละ พระพุทธศาสนาพูดเต็มที่เลย ให้ใช้ ให้ปฏิบัติ ให้พัฒนามัน จะเป็นประโยชน์ดีเหลือเกิน

ท่านไม่มาพูดยุ่งในระดับสมมติ ว่าไม่มีอัตตา

แต่ในระดับปรมัตถ์ ท่านให้รู้เท่าทันว่าอัตตามันไม่ใช่เป็นของจริง ถ้ามันมีขึ้นเมื่อไร เกิดยึดมั่นขึ้นเมื่อไร เป็นเกิดโทษทุกที ปัญหาจะมา

จึงบอกว่า อัตตาที่ไม่มีนั้น พัฒนาไปเถิด จะประสบสิ่งที่เลิศประเสริฐยิ่ง แต่อัตตามีเมื่อไร เกิดปัญหาทุกที

อัตตาที่ไม่มีนั้น ให้ใช้มันไปเถิดอย่างรู้กันและรู้ทัน

ส่วนอัตตาที่จะมีก็ให้รู้แจ้งรู้ทัน มันจะได้ไม่เกิดขึ้นมา

ยิ่งพัฒนาอัตตาที่ไม่มีขึ้นไป อัตตาที่จะมีก็ยิ่งไม่เกิดขึ้นมา อันนี้ก็ตีให้แตกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2012, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron