วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 19:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b42: เมื่อประสบเหตุร้าย เราเลือกที่จะไม่ทุกข์ก็ได้ ถ้าวางใจให้เป็น ทีนี้จะวางใจอย่างไร ?? อย่างแรกที่ควรทำก็คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อเกิดอะไรขึ้นแล้ว ป่วยการที่เราจะไปตีโพยตีพายว่าทำไมถึงต้องเป็นฉัน ป่วยการที่จะไปโทษชะตากรรม หรือโทษคนนั้นคนนี้ ยิ่งตีโพยตีพาย หรือยิ่งปฏิเสธความจริง เราก็ยิ่งทุกข์ !!!


:b42: “การยอมรับความจริง” มิได้หมายถึง “การยอมจำนนต่อสิ่งที่เกิดขึ้น” ที่จริงแล้วมันกลับช่วยให้เราสามารถรับมือกับเหตุร้ายได้ดีขึ้น คนที่ยอมรับความเจ็บป่วยได้ นอกจากใจจะทุกข์น้อยลงแล้ว ยังมีเวลาใคร่ครวญหาทางเยียวยารักษา สามารถใช้สติปัญญาอย่างเต็มที่ ไม่ถูกรบกวนด้วยอารมณ์ต่างๆ ผิดกับคนที่ไม่ยอมรับความจริง จะมัวแต่ตีโพยตีพาย คร่ำครวญ วิตกกังวล จนไม่เป็นอันทำอะไร สิ่งที่ควรทำจึงไม่ได้ทำ ปัญหาที่ควรแก้จึงไม่ได้แก้


:b42: ความสุขนั้นมีอยู่รอบตัว แต่คนส่วนใหญ่มองไม่เห็น เพราะใจจดจ่อแต่ความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า ผลก็คือขณะที่ความสุขข้างหน้ายังมาไม่ถึง เรากลับละทิ้งความสุขที่มีอยู่รอบตัว ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิของเราโดยชอบธรรม กลายเป็นว่าเสียสองต่อ


:b42: จะไม่ดีกว่าหรือ ขณะที่ยังไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เราก็เปิดใจชื่นชมสิ่งดีๆ ที่มีอยู่รอบตัวหรือตามรายทาง แม้ความสุขข้างหน้ายังมาไม่ถึง แต่เราก็ได้สัมผัสกับความสุขที่มีอยู่แล้วทุกขณะ


:b42: การให้อภัยเป็นเรื่องยาก แต่การมีชีวิตด้วยจิตใจที่โกรธแค้นพยาบาท กลับเป็นเรื่องที่ยากลำบากกว่า


:b42: ชีวิตของเรานั้นเหมือนกับเทียน เราไม่มีทางรู้หรอกว่า เทียนเล่มนี้จะไหม้จนหมดเชื้อ หรือว่าโดนลมพัดดับไปเสียก่อนทั้งๆ ที่ยังมีเชื้อและไขเทียนอยู่ แต่แม้จะเป็นอย่างหลังก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าขณะที่ยังมีเปลวไฟอยู่นั้น เขาให้ความสว่างไสวแค่ไหน


:b42: คนที่ภาคภูมิใจในทรวดทรงของตน ไม่ช้าไม่นานก็ต้องระทมทุกข์เพราะสิ่งเดียวกัน ถึงวันนั้นทรวดทรงอาจแปรเปลี่ยนไป หาไม่มันก็กลายเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายขึ้นมา


:b42: เมื่อเราถูกวิพากษ์วิจารณ์ ใจเรามักจะพุ่งตรงไปยังคนวิพากษ์วิจารณ์ แต่ไม่ค่อยสนใจคำวิพากษ์วิจารณ์เท่าใดนัก ดังนั้น แม้ว่าคำวิพากษ์วิจารณ์จะถูกต้อง ให้แง่คิดที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่เราไม่สนใจที่จะไตร่ตรองเสียแล้ว เพราะใจนั้นเต็มไปด้วยความเกลียดและโกรธคนที่วิพากษ์วิจารณ์เรา


:b42: สุขกับทุกข์เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน มันสามารถพลิกกลับไปกลับมาได้ ด้วยเหตุนี้เวลาจะมีความสุขกับอะไรหรือใครก็ตาม อย่าเพลินกับความสุขจนท่วมท้นใจ หรือหมดเนื้อหมดตัวไปกับอารมณ์เหล่านั้น ควรเผื่อใจไว้รับมือกับความผันผวนปรวนแปรที่ไม่ถูกใจเรา วันนี้ทุกอย่างเป็นไปตามใจหวัง แต่พรุ่งนี้อาจกลายเป็นตรงกันข้าม


:b42: อะไรล่ะที่ทำให้เรายอมรับความจริงได้ยาก ส่วนหนึ่งก็เพราะเราหวนคิดถึงอดีตที่สวยงาม เมื่อเราต้องสูญเสียอะไรสักอย่าง หรือประสบกับเหตุร้าย เราจะรู้สึกแย่ทันทีเมื่อหวนนึกถึงตอนที่เรายังมีสิ่งนั้น หรือยังสุขสบายดี ความอาลัย ความเสียดาย จะทำให้เราไม่สามารถยอมรับความจริงที่เป็นอยู่ตอนนี้ได้


:b42: “เป็นอะไร” ไม่สำคัญเท่า “เป็นอย่างไร” ถึงจะเป็นคนสวนหรือเสมียนก็อาจจะมีความสุขกว่าผู้จัดการ หากทำงานด้วยใจรักหรือมีฉันทะ และเห็นคุณค่าของงานนั้น ไม่ใช่ทำด้วยตัณหาหรือมีกิเลสเป็นตัวผลักดัน


:b42: รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ ปฏิกจฺเจว กยิรา ยํ ชญฺญา หตมตฺตโน


:b42: “ความทุกข์” และ “ความสุข” ของชีวิต หาได้อยู่ถัดกันดั่งกลางคืนและกลางวันไม่ แท้ที่จริงความทุกข์และความสุขอยู่เคียงคู่กัน ในยามทุกข์ ความสุขก็อยู่รอบตัวเราอยู่แล้ว ใช่ว่าจะตามมาภายหลังก็หาไม่ เป็นแต่ว่าเราไปฉวยเอาเรื่องร้ายมาครองใจ ความสุขจึงแทรกเข้ามาไม่ได้ แต่หากเราวางเรื่องร้ายนั้นเสีย หรือน้อมเอาสิ่งดีงามมาใส่ใจ ความสุขก็จะบังเกิดขึ้นทันที

แม้กระทั่งในค่ายนรกนาซี ความสุขก็อยู่ไม่ไกลหากรู้จักหา หญิงผู้หนึ่งอยู่ใกล้ความตายทุกขณะ แต่ในยามนั้นเธอหาได้ทุรนทุรายไม่ สิ่งเดียวที่ให้ความหวังและกำลังใจแก่เธอก็คือ ต้นไม้ต้นหนึ่งซึ่งมีดอกตูมอยู่สองดอกใกล้หน้าต่าง เธอชอบคุยกับต้นไม้ต้นนั้น และต้นไม้ก็บอกเธอว่า “ฉันอยู่นี่ ฉันอยู่นี่ ฉันคือชีวิตนิรันดร์”


:b42: อยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด คือ เคล็ดลับสำคัญในการเอาชนะปัญหาและอุปสรรคทั้งปวง เพราะวันนี้เป็นวันเดียวเท่านั้นที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ไม่ใช่เมื่อวานหรือวันพรุ่งนี้ แต่จะว่าไปแล้ว ช่วงเวลาเดียวเท่านั้นที่เราสามารถทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นได้ คือ วินาทีนี้หรือขณะนี้เท่านั้น เพราะแม้แต่วินาทีหน้า นาทีหน้า หรือชั่วโมงหน้า ก็ยังเป็นอนาคตอยู่ ไม่อยู่ในวิสัยที่เราจะทำอะไรได้


:b42: “แข่งขันกับงาน ไม่ใช่แข่งขันกับคนอื่น” เวลาทำงานก็เช่นกัน ถ้าเรามองว่านี้เป็นการต่อสู้ปลุกปล้ำกับงาน เราจะไม่เดือดร้อนที่คนอื่นทำได้ดีกว่าเรา ใครจะดีจะเก่งก็เป็นเรื่องของเขา เพราะในใจนั้นนึกอยู่เสมอว่า “ฉันกำลังแข่งขันกับงาน ไม่ใช่แข่งขันกับคนอื่น” นอกจากจะไม่อิจฉาเขาแล้ว ยังพยายามเรียนรู้จากเขาว่ามีวิธีการอย่างไร เพื่อเอาไปใช้ในการพิชิตงานที่กำลังทำอยู่ หรือทำให้งานนั้นดีขึ้น


:b42: “สบายแต่ไร้สุข” ในโลกนี้มีอะไรต่ออะไรอีกมากมายที่ไม่สามารถบัญชาให้เป็นไปตามใจเราได้ แม้จะมีเงินมากมายก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกรุงเทพฯ เป็นทุกข์กันมากเพียงเพราะรถติด ทั้งๆ ที่อยู่ในรถที่แสนเย็นสบาย แต่ถ้ารู้จักปรับตัวปรับใจเสียแล้ว ก็จะเป็นสุขได้ง่ายขึ้น ร้อนนักก็ไม่เป็นไร หนาวนักก็ไม่เดือดร้อน รถติดก็รู้จักรอ คนที่จะทำใจแบบนี้ได้เก่ง ใช่หรือไม่ว่า ชีวิตของเขาต้องไม่สะดวกสบายมากเกินไป


:b42: “เปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร” ถึงที่สุดแล้ว แม้แต่คนที่คิดร้ายต่อเรา เขาก็ไม่ได้เป็นศัตรูของเรา ความโกรธเกลียดหรือความเห็นแก่ตัวในใจเขาต่างหากที่เป็นศัตรูของเรา สิ่งที่เราควรจัดการคือความชั่วร้ายในใจของเขา มิใช่จัดการตัวเขา ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่เราจะปลอดภัยและมีชีวิตที่สงบสุขอย่างแท้จริง เพราะการขจัดศัตรูที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนเขามาเป็นมิตร แล้วอะไรล่ะที่จะเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตรได้ หากมิใช่การใช้ความดีชนะใจเขา


:b42: “คู่แข่ง” คนไม่ใช่คู่แข่งของเรา กิเลสตัณหา ความเห็นแก่ตัว หรือความหลงตนต่างหากที่เป็นคู่แข่งของเรา แทนที่จะสู้กับใครต่อใคร เราควรหันมาสู้กับอกุศลธรรมในตัวเราดีกว่า ที่แล้วมาเราต่อสู้กับใครต่อใครมากแล้ว แต่ไม่ได้ต่อสู้กับอกุศลธรรมเหล่านี้ เราจึงทุกข์ไม่เว้นแต่ละวัน


:b42: “การทำงาน” สามารถเป็น “การปฏิบัติธรรม” ได้ตลอดเวลา หากเราทำด้วยแรงจูงใจที่เป็นกุศล เช่น ทำเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น หรือเพื่อฝึกพัฒนาตน โดยมุ่งให้มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง อดทนมากขึ้น หรือทำโดยมีธรรมะเข้ามากำกับ เช่น ทำด้วยความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อหน้าที่


:b42: พุทธศาสนาที่แท้จริงนั้น มิได้อยู่ที่วัดวาอารามหรือพระสงฆ์ แต่อยู่ที่จิตใจของผู้คน ใจที่เป็นกุศล เปี่ยมด้วยเมตตา โอบอ้อมอารีต่อกัน ไม่ถูกครอบงำด้วยโลภะ โทสะ และโมหะ คือ ที่สถิตของพุทธศาสนาที่แท้ต่างหาก


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b8: :b8: :b8: :b43:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2012, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 20:27
โพสต์: 40

แนวปฏิบัติ: ดูจิตในชีวิตประจำวัน
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ,ท่องเที่ยว,ขี่จักรยาน,เลี้ยงสุนัข
อายุ: 43
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: ขออนุญาตก็อบ บางส่วนไปแปะในเฟซบุ๊คนะคะ ขอบคุณค่ะ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดีเสมอ อย่างน้อยก็ยังดีที่ไม่เลวร้ายไปกว่านี้
(ฟังจากธรรมะบรรยายของ พระไพศาล วิสาโล)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2012, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: พึ่งตนพึ่งธรรม

:b44: กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


แก้ไขล่าสุดโดย ฟ้าใสใส เมื่อ 10 พ.ค. 2012, 16:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: แสวงหาความสุขจากการให้ กล่าวคือ ยิ่งให้ความสุข ก็ยิ่งได้รับความสุข สุขเพราะเห็นน้ำตาผู้อื่นเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม และสุขเพราะภาคภูมิใจที่ได้ทำความดีและทำให้ชีวิตมีความหมาย จากจุดนั้นแหละก็ไม่ยากที่เราจะค้นพบ ความสุขจากการ “ไม่มี”


:b42: “ทิ้งขยะทางอารมณ์...รักษาจิตใจให้ใหม่สดเสมอ” ต้นไม้เขียวขจีอยู่เสมอ...ก็เพราะทิ้งใบที่แห้งตาย ไม่เก็บเอาไว้ให้เป็นภาระ ร่างกายมีพลานามัย...ก็เพราะระบายสิ่งหมักหมมออกไปจากอวัยวะทุกส่วน ใจจะสดใส...ก็เพราะรู้จักปลดปล่อยอารมณ์ที่หมักหมมบูดเน่า ใจที่ว่างและเปิดกว้างต่อทุกสิ่งที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น ที่จะทำให้ชีวิตสดใหม่อย่างแท้จริง


:b42: คนเราเมื่อมีจิตใจที่มั่นคง เคารพและมั่นใจในตนเองแล้ว ย่อมไม่สะทกสะท้านอะไรง่ายๆ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องพองขนแยกเขี้ยวเพื่อให้คนอื่นกลัว


:b42: “ความเห็นแก่ตัว” นั้น แม้จะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดของมนุษย์ แต่หากปล่อยให้มันครองใจและเป็นใหญ่ในชีวิต เราก็จะเป็นทุกข์ได้ง่าย เพราะได้เท่าไรก็ไม่พอ ยิ่งใหญ่เพียงใดก็ไม่มีความสุข อะไรมากระทบแม้เพียงเล็กน้อยก็พร้อมจะระเบิดอารมณ์ได้ทันที ไม่ต่างกับลูกโป่งที่ขยายตัวเต็มที่ เพียงแค่ถูกใบหญ้าทิ่มแทงก็พร้อมจะระเบิดได้ทันที


:b42: “สติที่ว่องไว ช่วยพาใจให้เป็นปกติสุข” สติที่เรามีในชีวิตประจำวันนั้นเป็นสติที่ยังเชื่องช้าอยู่ ผิดนัดไปชั่วโมงกว่าแล้วถึงนึกขึ้นได้ ออกจากบ้านไปแล้วถึงนึกได้ว่าลืมโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้าน ด่าว่าเพื่อนไปแล้วถึงนึกได้ว่าไม่น่าเลยเรา โกรธแฟนเป็นอาทิตย์ กว่าจะนึกได้ว่าไปหัวเสียกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เราต้องการสติที่ไวกว่านั้น ชนิดที่เรียกว่า พอจิตเกิดความหงุดหงิดขึ้นมา ก็รู้ตัวและระลึกได้ทันที พอจิตเริ่มส่าย สติก็ดึงจิตกลับมาสู่ความปกติได้ทันที ต้องทำให้ได้ขนาดนั้น ถึงจะทำให้เรามีชีวิตที่ปกติ


:b42: อะไรก็ตาม ถ้าทำแล้วช่วยลดละความโลภ ความเห็นแก่ตัว กำจัดสิ่งเศร้าหมอง หรือกิเลส ทำให้จิตใจอิ่มเอิบ ถือว่าเป็นบุญทั้งนั้น และจะเป็นบุญยิ่งขึ้น หากเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย


:b42: ของอร่อยไม่จำเป็นว่าต้องดีต่อร่างกายฉันใด ความสนุกตื่นเต้นก็ใช่ว่าจะดีต่อจิตใจฉันนั้น


:b42: ทัศนคติและการวางจิตวางใจให้ถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน การรู้จักปล่อยวาง ยอมรับในความจริงของชีวิต ไม่ยอมจ่อมจมอยู่กับความพลัดพรากสูญเสีย เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้จิตผ่องใส เยือกเย็น เบาสบาย เมื่อใจมีสุขภาพดี สุขภาพกายก็ดีตามไปด้วย


:b42: ในแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่จำเป็น แต่เรากลับเสียเวลากับมันไม่น้อย อาทิ งานสังคม เดินช็อปปิ้งตามห้าง ท่องอินเทอร์เน็ต ดูแลจัดการกับสมบัตินานาชนิด ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ หากสะสางให้เหลือเท่าที่จำเป็น หรือจำกัดเวลาลง เราจะมีเวลาเหลือสำหรับสุขภาพกายสุขภาพจิตของตนเอง และมีเวลาให้แก่ครอบครัว ตลอดจนทำสิ่งมีประโยชน์อื่นๆ


:b42: ความแปรเปลี่ยนนั้นเป็นธรรมดาของโลก อย่าไปมองว่ามันเป็นปัญหา แต่สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือใจของเราต่างหากที่ไปยึดอยากให้บางอย่างคงที่เหมือนเดิม หรือเป็นไปตามใจเราเสมอ ทันทีที่คิดแบบนั้น จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ก็เตรียมตัวทุกข์ไว้ได้เลย


:b42: ความคิดที่มีสติกำกับ จะไม่พาใจกวัดแกว่งไปกับความชอบหรือไม่ชอบ หรือขึ้นลงฟูแฟบไปตามสิ่งที่มากระทบ แต่จะมั่นคงบนวิถีแห่งความถูกต้อง หรือวิถีธรรมนั่นเอง


:b42: คนเรายิ่งอยู่ใกล้กันมากและอยู่ด้วยกันนานๆ ย่อมมีโอกาสจะกระทบกระทั่งหรือมีเรื่องขัดอกขัดใจกันบ้าง แต่ถ้าเราไปจดจ่อกับเรื่องไม่ดีเหล่านั้น ซึ่งอาจมีไม่ถึง ๑๐ ครั้ง โดยมองข้ามความดีที่มีต่อกันนับครั้งไม่ถ้วน เราก็จะไม่มีความรู้สึกชื่นชมหรือซาบซึ้งใจให้แก่กันเลย


:b42: ทรายดูดเป็นอย่างไร อารมณ์ทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้น คนที่เผลอไม่รู้ตัว และไม่รู้เท่าทันมัน ถูกมันเล่นงานมานักต่อนักแล้ว


:b42: การให้อภัย มิได้หมายถึงการลืมเหตุการณ์ที่เจ็บปวด แต่หมายถึงการไม่ยอมให้เหตุการณ์เหล่านั้นมาทำร้ายเรา


:b42: คิด พูด และทำ ในทางดีงามอย่างสม่ำเสมอ การสู้รบภายในจะค่อยๆ สงบลง และบังเกิดสันติสุขในที่สุด


:b42: “มองภัยพิบัติในอีกแง่มุม” แทนที่จะมัวตื่นตระหนกถึงภัยพิบัติครั้งต่อไป ซึ่งจะเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครรู้ เราควรมาใส่ใจกับความจริงที่ตามติดเราไปทุกหนทุกแห่ง นั่นก็คือความจริงที่ว่าสักวันหนึ่งเราทุกคนต้องตาย ถึงจะไม่มีภัยพิบัติใดๆ เกิดขึ้นในอีกร้อยปีข้างหน้า เราทุกคนก็หนีความตายไม่พ้น เราจึงควรเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมรับความตายที่จะมาถึงดีกว่า เช่น หมั่นทำความดี หลีกหนีความชั่ว ปฏิบัติต่อคนรอบข้างด้วยความใส่ใจ ฝึกจิตให้ตระหนักรู้ถึงความไม่จีรังยั่งยืนของทุกสิ่ง และพร้อมปล่อยวางเมื่อเกิดความพลัดพรากสูญเสีย ถ้าทำเช่นนี้ได้ครบถ้วน ความกลัวตายก็จะลดลง และไม่ตื่นกลัวภัยพิบัติ กลับมองว่าภัยพิบัติเหล่านี้มีข้อดีด้วยซ้ำตรงที่ช่วยเตือนไม่ให้ประมาท เราควรมองภัยพิบัติทั้งหลายในแง่นี้บ้าง ไม่เช่นนั้นก็จะมัวตื่นตระหนกตกใจจนไม่เป็นอันทำอะไร และพลาดโอกาสที่จะทำสิ่งดีๆ ให้แก่ตนเองและผู้อื่น

พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ควรเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติ เช่น มีการวางแผนบรรเทาสาธารณภัยที่รัดกุม เตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในยามฉุกเฉิน เป็นต้น การเตรียมการดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราไม่ควรมองข้ามความจริงข้อหนึ่งก็คือ ภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว น้ำท่วม ฝนแล้ง หรือคลื่นสึนามิ แม้จะรุนแรงเพียงใดก็ไม่น่ากลัวเท่ากับใจวิบัติ ถ้าใจวิบัติแล้วความเสียหายจะตามมาอย่างมากมาย


:b42: อะไรทำให้คนเรามองเห็นคนอื่นได้ชัด แต่กลับมองไม่เห็นตัวเอง คำตอบก็คือ เพราะเราชอบพุ่งความสนใจไปนอกตัวจนลืมหันมาดูตัวเอง ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในบรรดาอายตนะทั้งหมดของเรานั้น มีถึง ๕ อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ที่มีหน้าที่รับรู้โลกภายนอกโดยตรง มีแต่จิตอย่างเดียวที่สามารถรับรู้หรือสำรวจตรวจตราตนเองได้


:b42: คนทั่วไปก็เป็นเช่นนั้นไม่ใช่หรือ คือเห็นความผิดเพี้ยนของคนอื่นได้ชัดเจน แต่กลับมองไม่เห็นความผิดเพี้ยนของตนเอง หลายคนไม่ชอบคนขี้บ่นขี้นินทา แต่กลับไม่รู้ว่าตัวเองก็ขี้บ่นขี้นินทาเหมือนกัน ขณะที่ชี้ให้ใครๆ ดูว่าคนนั้นคนนี้ชอบนินทา หารู้ตัวไม่ว่าตนเองก็กำลังนินทาเขาอยู่


:b42: ชีวิตคนเราส่วนใหญ่หมุนเวียนไปตามความอยาก มีความอยากเป็นตัวผลักดันให้โลดแล่นไป ความอยากของคนเรานั้นจะว่าไปก็หนีไม่พ้นความอยากมี กับความอยากเป็น เช่น อยากมีเงินมีทอง อยากมีชื่อเสียงเกียรติยศ หรืออยากเป็นคนเด่นคนดัง เป็นนักกีฬา เป็นดารา แต่ไม่ว่าจะมีอะไรหรือเป็นอะไร ถ้าอยากมีอยากเป็นแล้วก็ทำให้ทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่ทุกข์เพียงเพราะมีความอยากเท่านั้น แม้ได้มีได้เป็นสมอยากในที่สุดก็ทุกข์เช่นกัน


:b42: “สุขก็ไม่นาน...หากยังเห็นแก่ตัว” ความเห็นแก่ตัวทำให้เรามีความสุขที่ได้เสพและครอบครอง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง อำนาจ ยิ่งได้เสพและครอบครองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความสุขเท่านั้น ทุนนิยมและบริโภคนิยมมีเสน่ห์กับผู้คนก็เพราะมันตอบสนองความเห็นแก่ตัว และปรนเปรอความสุขประเภทนี้ได้อย่างเต็มที่ “ความเห็นแก่ตัว” เป็นตัวการสำคัญทำให้ผู้คนเป็นทุกข์เมื่อต้องสูญเสียทรัพย์ หรือพลัดพรากจากชื่อเสียง อำนาจ อีกทั้งยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความโลภอย่างไม่สิ้นสุด และเป็นแรงขับให้เกิดความโกรธเกลียดเมื่อไม่สมหวัง ทั้งความโลภและความโกรธเกลียดล้วนเป็นไฟเผาลนจิตใจ ดังนั้น ยิ่งเห็นแก่ตัวมากเท่าไร ก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น


:b42: “สุขเพราะอะไร ?” ทั้งๆ ที่มีเสื้อนับร้อยตัว ทำไมเราถึงอยากได้เสื้อตัวใหม่ เพราะว่าความสุขของคนส่วนใหญ่ไม่ได้ขึ้นกับว่ามีเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ได้ของใหม่เพิ่มขึ้น คุณมีเงินร้อยล้านพันล้าน คุณก็ไม่มีความสุขถ้าคุณไม่มีเงินก้อนใหม่เข้ามา แม้จะเป็นเงินหมื่นเงินแสนก็ตาม เพราะฉะนั้นคนที่มีเงินร้อยล้านพันล้านจึงต้องหาเงินไม่รู้จักจบสิ้น จนกระทั่งกลายเป็นทาสของมัน เพราะว่าเงินก้อนใหม่หรือของใหม่ที่ได้มานั้นมันไปกระตุ้นจิตใจ ทำให้มีความสุข ความสุขของคนเราถึงที่สุดแล้วไม่ได้เกิดจาก “การมี” แต่เกิดจาก “การได้” มีเท่าไหร่ก็ไม่มีความสุข ถ้าไม่ได้อะไรมาใหม่ๆ นี่คือโทษของความสุขแบบนี้ คือพอเสพเข้าไปมากๆ เราจะขาดมันไม่ได้ อยากได้เรื่อยไปจนตกเป็นทาสของมัน


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b42: มนุษย์เราควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไม่ต้องไปคำนึงว่าเขากำลังใช้กรรมหรือไม่ อันนั้นเราไม่มีทางรู้ชัด แต่ที่แน่นอนก็คือ ถ้าเราไปช่วยเขา นั่นแสดงว่าเรากำลังทำกรรมใหม่ ซึ่งเป็นกรรมดี


:b42: คนเรามักให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรายังไม่มี หรือสิ่งที่เคยมีแต่หายไปแล้ว


:b42: คนสมัยนี้คิดเก่ง แต่หยุดความคิดไม่ได้ อยู่ท่ามกลางคนหมู่มากอาจจะรู้สึกวุ่นวาย ครั้งมาอยู่กับตัวเองก็อยู่ไม่ได้ เพราะใจฟุ้งมาก ถ้าเราสามารถเข้าถึงความสงบภายในใจจากการที่จิตมีสมาธิ รู้จักปล่อยวางความคิด เราก็จะอยู่กับตัวเองได้ จะเป็นมิตรกับตัวเองได้ อยู่นิ่งๆ ก็มีความสุข เพราะเราสามารถพบความสุขภายใน


:b42: “สันโดษ” ไม่ได้หมายถึงการอยู่คนเดียวไม่สุงสิงกับใคร และไม่ได้หมายถึงความเฉื่อยเนือยไม่กระตือรือร้น แต่คือความพอใจในสิ่งที่เรามีและยินดีในสิ่งที่เราเป็น ไม่ปรารถนาสิ่งที่อยู่ไกลตัวหรือเป็นของคนอื่น ถ้ามีสันโดษก็จะพบกับความสุขในปัจจุบันทันที


:b42: ความพอใจในสิ่งที่ตนมีนั้น เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขที่ดูแคลนไม่ได้เลย


:b42: หลวงพ่อชา เคยแนะว่า “ทุกอย่างมันถูกอยู่แล้ว แต่ที่เราทุกข์เพราะว่าเราวางใจไว้ผิด” ทุกอย่างถูก หมายความว่า ถูกตามหลักธรรมดา คือเหตุปัจจัยมันทำให้เป็นเช่นนั้นเอง ลองปรับใจให้วางให้ถูกเราจะไม่ทุกข์


:b42: ระลึกถึงความตายแม้ยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นสิ่งที่ดีงาม มันทำให้เราทบทวนพิจารณาตนเอง ว่าเราทำความดีมาพอหรือยัง เราได้ใช้ชีวิตคุ้มค่าที่ได้เกิดมาไหม ทำประโยชน์ได้สูงสุดหรือยัง เราได้ทำหน้าที่ทุกอย่างเสร็จสิ้นหรือยัง ไม่ว่าหน้าที่ต่อพ่อแม่ ต่อลูก และต่อตัวเอง ประโยชน์สูงสุดของการได้เกิดมาในชาตินี้ คือการได้เข้าถึงความสงบ เข้าถึงธรรมะ สรุปอย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนไว้ คือมีชีวิตที่สงบเย็น และเป็นประโยชน์


:b42: “ใส่ใจในทุกสิ่งที่ทำ” การกินด้วยสติจะพาเราไปสัมผัสกับอีกมิติหนึ่ง ที่ท่านพุทธทาสภิกขุ เรียกว่า “ความว่าง” เป็นมิติที่อยู่ “เหนือโลก” หรือเรียกว่า “โลกุตตระ” สิ่งสามัญธรรมดากลับกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาเพราะความใส่ใจนี้ ชีวิตประจำวันของเรา จะไม่ใช่สิ่งที่ดาษๆ ซ้ำซากจำเจอีกต่อไป หากเราใส่ใจลงไปในทุกอย่าง โดยไม่เลือกว่าเล็กว่าน้อย แทนที่จะปล่อยใจลอย หรือทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ลองใส่ใจกับแต่ละอย่างที่ทำอย่างจริงจัง ดูซิว่า มิติใหม่จะเผยปรากฎแก่เราหรือไม่


:b42: การรู้จักตนเอง มีความหมายหลายแง่ ไม่ใช่ว่ารู้ว่าคุณมีความสามารถอะไร มีศักยภาพอะไร รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรเท่านั้น แต่ยังต้องรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตัวเองอีกด้วย


:b42: คนเรามักคิดถึงการชนะคนอื่น จนมองข้ามการชนะใจตนเอง แต่ถ้าอยากจะชนะใจตนเองได้ก็ต้องวางความคิดที่จะชนะผู้อื่นเสียก่อน


:b42: ถ้าสงสารตัวเอง เราแก้ได้ด้วยการแผ่เมตตา ด้วยการทำดีกับตัวเอง ไม่ใช่แค่นึกเอา เรามักจะทำร้ายตัวเอง ด้วยการนึกถึงตัวเองในทางที่แย่ ถึงที่สุดแล้วไม่มีใครทำร้ายจิตใจเราได้นอกจากตัวเราเอง ถ้าเราสงสารตัวเอง ก็ขอให้รู้ว่าเรากำลังซ้ำเติมตัวเอง เราบอบช้ำมากพอแล้ว อย่าซ้ำเติมตัวเองอีกเลย ขอให้ตั้งจิตว่า ต่อไปนี้ฉันจะเลิกซ้ำเติมตัวเอง ฉันจะให้กำลังใจตัวเอง ฉันจะแผ่เมตตาให้ตัวเอง ฉันจะทำสิ่งดีๆ ให้ตัวเอง เช่น เข้าวัด ฟังธรรม ทำสิ่งดีงาม ฉันจะปล่อยวาง ฉันจะไม่แบกโลกเอาไว้อีกแล้วนะ


:b42: ไม่มีความล้มเหลวผิดหวังใดๆ ที่ทำให้เราเป็นทุกข์ไปได้ตลอดกาล นี้คือข่่าวดี แต่ข่าวร้ายคือ ในทางกลับกัน ไม่มีความสำเร็จสมหวังใดๆ ที่ทำให้เราเป็นสุขไปได้ตลอดกาล


:b42: ขอให้ทุกคนมีชีวิตใหม่ มีใจที่ใหม่ เพราะจะได้ปลดเปลื้องอารมณ์เก่าๆ ที่หมักหมมในจิตใจ สามารถจะปล่อยให้เหตุร้ายที่ผ่านเข้ามาในชีวิตปีนี้ได้ผ่านเลยไปเหมือนสายน้ำที่มาแล้วก็ไป อย่าได้ติดค้างในใจ ขอให้ทุกคนได้สามารถชำระจิตใจให้สะอาด เพื่อให้สามารถเปิดรับความสุขที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง


:b42: ชีวิตเหมือนกับการเล่นไพ่ บางครั้งเราจั่วไพ่ได้ใบที่ไม่ดีมา ป่วยการที่จะบ่นว่าทำไมฉันได้ไพ่ใบนี้มา ไม่มีประโยชน์เพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนไพ่ที่จั่วมาได้ สิ่งที่คุณควรทำคือเล่นไพ่ในมือให้ดีที่สุด นี่คือการยอมรับความจริง เมื่อยอมรับความจริงแล้วเราจึงจะสามารถคิดต่อไปได้ว่า ต่อแต่นี้ไปฉันจะใช้ชีวิตอย่างไร


:b42: การส่งจิตออกนอก เป็นตัวการแห่งความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ใจ หรือการสร้างความทุกข์ให้แก่ชีวิตของตน จึงประมาทไม่ได้เรื่องการส่งจิตออกนอก ทำอย่างไรเราจะไม่เผลอส่งจิตออกนอก ก็ต้องมี “สติ” สติช่วยพาจิตมาอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับงานที่เราทำ ดึงจิตกลับมาดูตัวเอง หันมาเห็นความโกรธ ความเกลียด ความพยาบาท รวมทั้งความอิจฉาริษยา ที่กำลังสะสมอยู่ในใจ เมื่อเห็นแล้วการปล่อยวางก็จะเกิดขึ้นตามมา ทำให้จิตโปร่งเบา ไม่ทุกข์ หลวงปู่ดูลย์จึงว่า “จิตเห็นจิต” คือ มรรค


:b42: โลกก้าวหน้าได้เพราะเรารู้จักเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา


:b42: ถ้าเราหันมาใส่ใจกับคำวิพากษ์วิจารณ์กันให้มากขึ้น และสนใจให้น้อยลงกับการตอบโต้เพื่อเอาชนะคะคานคนที่วิพากษ์วิจารณ์ นอกจากเราจะทุกข์หรือโกรธเกลียดน้อยลงแล้ว เรายังมีโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นด้วย โดยเฉพาะหากเป็นคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ถูกต้อง


:b42: ส่วนเกินที่ปิดกั้นหรือพอกเคลือบสิ่งวิเศษในตัวเรา ได้แก่ ความเห็นแก่ตัว ละโมบ หยิบโหย่ง รักสบาย คับแคบ อิจฉาริษยา เป็นต้น เพียงแต่ลดละสิ่งเหล่านี้ออกไป สิ่งดีงามก็ปรากฏ และยิ่งเน้นขับให้สิ่งดีงามโดดเด่นขึ้นมา ส่วนเกินอันไม่น่าดูแม้จะยังหลงเหลืออยู่ แต่ก็จะถูกกลบบังจนแทบเลือนหายไป เราทุกคนแท้จริงก็มีหน้าที่ไม่ต่างจากช่างแกะสลัก คือ ดึงเอาสิ่งงดงามและวิเศษสุดออกมาจากชีวิตที่ดูซ้ำซากจำเจ และจากจิตที่หม่นหมองวุ่นวาย


:b42: คนเราไม่สามารถยอมรับความจริงในปัจจุบันได้ ก็เพราะเรามัวอาลัยกับ “อดีต” หรือกังวลกับ “อนาคต” มีแค่สองอย่างนี้เท่านั้น แต่ถ้าเราพาจิตกลับมาอยู่กับปัจจุบัน เห็นว่าอดีตผ่านไปแล้ว อย่าไปอาลัยถึงมัน ส่วนอนาคตก็ยังมาไม่ถึง อย่าเพิ่งไปกังวลกับมันมาก ป่วยการที่จะบ่นหรือตีโพยตีพาย ให้เรามาเริ่มต้นที่ปัจจุบัน เราก็จะยอมรับความจริงได้


:b42: เวลาเราเดินไปเตะก้อนหินหรือถูกหนามแทง อย่าไปโทษก้อนหินหรือหนาม เขาอยู่ของเขาอย่างนั้นมานานแล้ว เราต่างหากที่เดินไปเตะหรือแกว่งมือไปถูกเขาเอง ในทำนองเดียวกัน โลกก็เป็นอย่างนี้มานานแล้ว คือมีความแปรเปลี่ยนเป็นธรรมดา “ใจ” เราต่างหากที่ไปยึดอยากให้ทุกอย่างเป็นไปตามใจเรา ถ้ามันไม่เป็นไปตามใจเรา แล้วเราเกิดทุกข์ขึ้นมา ก็ต้องโทษ “ใจ” ของเราก่อนอื่นใดว่าเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อย่าเพิ่งไปโทษโลก ผู้คน หรือสิ่งต่างๆ ว่าเป็นตัวการ


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: เราก็อย่าเป็นคนเชื่อง่าย ใครบอกอะไรเชื่อไปหมด เราต้องหูหนักและปากเบา “หูหนัก” คือ อย่าไปเชื่อง่าย “ปากเบา” คือ ชอบถาม มีอะไรก็อย่าไปเชื่อก่อน ให้ถาม ถามว่ามันเป็นอย่างไร เราไม่ค่อยถามกัน ใครลืออะไรมาก็เชื่อเลย


:b42: มีวิธีหนึ่งที่เงินสามารถให้ความสุขอย่างรวดเร็วและยั่งยืน (อย่างน้อยก็นานกว่าการเที่ยวห้าง) นั่นคือ บริจาคเงินให้แก่คนจนหรือผู้ทุกข์ยาก รอยยิ้มของเขาสามารถทำให้คุณอิ่มเอิบไปได้นานทีเดียว


:b42: เราแก่ไปทุกวัน ใกล้ความตายไปทุกที รีบสร้างความดีไว้มากๆ


:b42: พ่อกับแม่ทำดีกับลูกนับหมื่นครั้ง ลูกอาจไม่ซาบซึ้งใจเพราะชินกับความดีของพ่อแม่ แต่พอพ่อแม่ทำไม่ดีกับเขาแค่ไม่กี่ครั้ง เขาจะจำได้ไม่ลืม


:b42: “จนปัญญา เพราะยึดมั่นถือมั่น” เคยสังเกตไหมว่าเวลาเพื่อนทำกระเป๋าเงินหาย เราสามารถสรรหาเหตุผลมาได้มากมายเพื่อช่วยให้เธอทำใจ (ยังดีที่ไม่เสียมากกว่านี้, ถือว่าใช้กรรมก็แล้วกัน, เงินทองเป็นของนอกกาย ฯลฯ) ในทำนองเดียวกันเวลาเพื่อนอกหัก ถูกแฟนทิ้ง เราก็รู้ว่าควรจะพูดอย่างไรเพื่อให้เธอปล่อยวาง

แต่เวลาเราประสบเหตุอย่างเดียวกัน กลับทำใจไม่ได้ เอาแต่เศร้าซึมจ่อมจมอยู่กับความสูญเสีย คำแนะนำดีๆ ที่ให้กับเพื่อนกลับเอามาใช้กับตัวเองไม่ได้ บ่อยครั้งก็นึกไม่ออกด้วยซ้ำว่าควรจะทำใจอย่างไร ใช่หรือไม่ว่าสาเหตุที่เราสามารถแนะนำเพื่อนได้อย่างฉาดฉาน ก็เพราะเงินของเพื่อน ไม่ใช่เงินของฉัน แฟนของเพื่อน ไม่ใช่แฟนของฉัน เราจึงไม่รู้สึกทุกข์ร้อนเท่าใดนัก ปัญญาจึงทำงานได้เต็มที่ แต่เมื่อใดที่เหตุร้ายเกิดกับเงินของฉัน หรือกับแฟนของฉัน อารมณ์จะท่วมท้นใจจนนึกอะไรไม่ออก


:b42: ความเชื่อว่าคนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรม มักทำให้ผู้คนยอมจำนนต่อทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับตน โดยถือเสียว่าเป็นวิบาก แต่การคิดเช่นนี้ทำให้เราเป็นฝ่ายถูกกระทำโดยวิบากฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่เราสามารถใช้วิบากนั้นให้เกิดประโยชน์ เช่น เมื่อล้มป่วย เราสามารถใช้ความเจ็บป่วยสอนใจให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของชีวิต รวมทั้งเตือนใจไม่ให้ประมาทกับชีวิต เร่งทำความดี


:b42: คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อใช้กรรมอย่างเดียว แต่ยังสามารถสร้างกรรมใหม่ได้ด้วย ความผิดพลาดในอดีตนั้นเราแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่เราสามารถสร้างกรรมดีขึ้นมาเพื่อชดเชยหรือทดแทนได้ เราสามารถใช้วิบากกรรมหรือเคราะห์กรรมให้เป็นประโยชน์ได้ เช่น ทำให้เราไม่ประมาทและรู้จักปรับปรุงพัฒนาตนเอง เพื่อให้ชีวิตเจริญงอกงาม


:b42: อย่าเอาความสุขไปผูกติดกับทรัพย์สมบัติ เหตุการณ์บ้านเมือง หรือกระแสเศรษฐกิจ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีความแน่นอน ผันผวนปรวนแปรตลอดเวลา ขอให้ระลึกว่าสุขแท้อยู่ที่ใจ ถ้าวางใจเป็น รู้จักปล่อยวาง รู้จักพอ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นรอบตัวก็มีความสุขได้


:b42: เมื่อมือถูกไฟลวก มือจะชักออก นี่คือความฉลาดของ “กาย” แต่เมื่อโกรธ “ใจ” จะกอดความโกรธเอาไว้ ใครด่าเรา เราจะจำได้และนึกถึงเขาบ่อยๆ ยิ่งคิดก็ยิ่งทุกข์ มองในแง่นี้จะเห็นว่าใจโง่กว่ากาย ชอบหาทุกข์ใส่ตัว


:b42: คนเราโกรธก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังโกรธ เศร้าก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังเศร้า ก็เลยจมอยู่ในความทุกข์เป็นวันเป็นเดือน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องมาฝึกสติกัน เพราะคนเราทุกข์แล้วยังไม่รู้ตัว เรียกว่าทุกข์แล้วลืมตัว คนที่รวยแล้วลืมตัวนั้นมีไม่มาก เพราะมีน้อยคนที่จะร่ำรวย แต่แทบทั้งหมดทุกข์แล้วลืมตัวทั้งนั้น


:b42: สาเหตุที่สิ่งง่ายๆ กลับเกิดขึ้นได้ยาก ก็เพราะเราถูกฝึกมาให้คิดและทำอย่างซับซ้อน จนสิ่งง่ายๆ กลายเป็นเรื่องยากขึ้นมา ระหว่างการ “ทำ” กับ “ไม่ทำ” ใครๆ ก็รู้ว่าการไม่ทำนั้นง่ายกว่า แต่ในชีวิตจริงผู้คนส่วนใหญ่กลับไม่อาจอยู่นิ่งๆ หรืออยู่เฉยๆ ได้ (แม้ไม่ต้องทำมาหากินเลยก็ตาม) ต่างดิ้นรนทำอะไรต่ออะไรมากมาย ทั้งๆ ที่ทำแล้วก็ใช่ว่าจะมีความสุข กลับกลายเป็นการหาเรื่องใส่ตัวด้วยซ้ำ เพราะเหตุนี้ผู้คนจึงกลัวการนั่งสมาธิเป็นอย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่ไม่ต้องทำอะไรเพียงแต่นั่งนิ่งๆ และดูลมหายใจเฉยๆ เท่านั้น แม้แต่คนที่พาตนมานั่งสมาธิได้แล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาอีกเพราะพยายามเข้าไป “จัดการ” กับความคิดปรุงแต่งไม่หยุดหย่อน แทนที่จะ “ดู” มันเฉยๆ ทั้งๆ ที่การดูเฉยๆ โดยไม่ต้องทำอะไรกับมันนั้นเป็นเรื่องง่ายแสนง่าย แต่คนส่วนใหญ่ทำไม่ได้และไม่ยอมทำเพราะถูกฝึกมาให้ทำอะไรต่ออะไรมากมายจนอยู่เฉยๆ หรือทำใจเฉยๆ ไม่ได้


:b42: คุณจะใช้เวลา ๑๐ ปีในที่ทำงาน, ๒๐ ปีบนเตียงนอน, ๓ ปีบนโถส้วม, ๗ เดือนรถติด, ๒.๕ เดือนรอสาย (โทรศัพท์), ๑๒ ปีดูโทรทัศน์, ๑๙ วันเที่ยวมุดหารีโมทคอนโทรล และทั้งหมดทั้งปวงนี้...ทำให้คุณเหลือเวลาเพียง ๑/๕ ของชีวิตที่จะเอาไว้ใช้ แล้วคุณจะมัวรีรออะไรอยู่ - บางตอนจากคำนำ ในหนังสือ “ใช่เกลียดตะวัน มันแสบตา” โดย ผาด พาสิกรณ์


:b42: อนาคตนั้นเป็นสิ่งที่ยากแก่การทำนายได้ แม้แต่ผู้รู้ก็ทำนายผิดได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ขอให้ใช้สติปัญญาอย่างดีที่สุด เมื่อมั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ดี ถูกต้อง ชอบธรรม ก็พึงทำด้วยความตั้งใจอย่างเต็มที่ อย่ากังวลกับผลข้างหน้า หรือหวั่นไหวไปกับการคาดคะเนในอนาคต ปล่อยให้ผลสำเร็จเป็นเรื่องของอนาคต หน้าที่ของเราคือทำปัจจุบันให้ดีที่สุด


:b42: น้ำเสียนั้นเราไม่จำเป็นต้องวิดดอก เพียงแค่ทดน้ำดีเข้าไปมากๆ มันก็จะไปไล่น้ำเสียเอง นิสัยไม่ดีก็เช่นกัน เพียงแต่เพิ่มกำลังให้จิตใจใฝ่ดีเท่านั้น มันก็จะไปกำจัดนิสัยไม่ดีเอง


:b42: ใจที่อ่อนโยนนุ่มนวลกับชีวิต ไม่คิดบังคับควบคุมทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต นี้ต่างหากที่ทำให้ชีวิตใหม่บังเกิดขึ้นอย่างแท้จริง


:b42: ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากประสบวิกฤต บางคนเป็นโรคหัวใจเจียนตาย ภัยร้ายได้บังคับให้เขาต้องหันมาทบทวนชีวิตของตน และพบว่าการหมกมุ่นอยู่กับตนเอง ตัดขาดจากผู้อื่น และจมอยู่กับความหดหู่เศร้าหมอง เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เขามีอาการดังกล่าว เขาจึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เข้าหาผู้คน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น และปล่อยวางความกังวลหม่นหมอง ไม่นานสุขภาพของเขาก็ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เขายอมรับว่าการเป็นโรคหัวใจเป็นสิ่งดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเขา


:b42: “ทางดับทุกข์” เส้นนี้แปลก เพราะเส้นทางส่วนใหญ่หรือว่าทั้งหมดนั้น มีไว้สำหรับเดินสำหรับวิ่ง ถ้าเดินช้าก็ขับรถไป แต่ว่า “ทางดับทุกข์” เส้นนี้ไม่ได้มีไว้ให้วิ่งแต่มีไว้ให้หยุด ไม่เหมือนกับเส้นทางทั่วไป เพราะมีไว้ให้หยุด ถ้าหยุดเป็น ถ้ารู้จักหยุด ก็ดับทุกข์ได้


:b42: “พุทธชยันตี” ปีนี้ครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี ที่พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสมารทั้งปวง โอกาสดีที่คนไทยจะเข้าใจความจริงอันยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรและนำมาใช้ได้อย่างไร ร่วมเฉลิมฉลองและดำเนินชีวิตตามรอยพระพุทธเจ้า


:b42: โลกนี้หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ แปรเปลี่ยนเป็นนิจ สิ่งที่เรายกย่องเชิดชูว่าดีวิเศษในวันนี้ สามารถกลายเป็นอื่นในวันหน้า นี้เป็นธรรมดาของสิ่งที่เรียกว่าสมมติ ใครที่ยึดติดถือมั่นกับสมมติ ปักใจเชื่อว่ามันต้องดีไปตลอด ย่อมเป็นทุกข์เมื่อเจอความเปลี่ยนแปลง


:b42: ในการสื่อธรรมะสู่ประชาชนนั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ธรรมะนั้นจะต้องสัมพันธ์กับชีวิตของเขา การเผยแผ่ธรรมตามใจนึกของผู้สอนนั้น ได้ผลน้อยกว่าการเอาปัญหาของฆราวาสเป็นตัวตั้ง ข้อที่ต้องตระหนักคือปัญหาของฆราวาสในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากสมัยปู่ย่าตายายมาก แม้เรื่องอบายมุข เช่น การพนัน ยาเสพติด รวมทั้ง การละเมิดเบียดเบียนตามแนวศีล ๕ ยังเป็นปัญหามาถึงสมัยนี้ แต่ก็มีปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้ง มีปัจจัยใหม่ๆ มาเกี่ยวข้องกับชีวิตมากขึ้น ทำให้ปัญหาเก่าๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b42: ทุกข์นั้นแท้จริงก็แฝงอยู่ในสุข ถ้าเราเพลิดเพลินยินดีในสุขมาก วันหนึ่งความทุกข์ก็มาเยือนและปรากฏให้เห็น ทุกข์ก็ตาม สุขก็ตาม ต้องมี “สติควบคุมฝึกใจ” ไม่ให้ยินดียินร้าย หลงไปและเพลิดเพลิน


:b42: ใช่หรือไม่ว่าสาเหตุที่เรากลัวความตาย ก็เพราะเรายึดอะไรต่ออะไรอีกมากมาย ในเมื่อไม่อยากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป เราจึงทำใจไม่ได้


:b42: สาเหตุที่คนเราสร้างความทุกข์ให้แก่กันและกัน ส่วนใหญ่ก็เพราะแต่ละคนมีความทุกข์ท่วมท้นใจ จึงอดไม่ได้ที่จะระบายใส่คนอื่น เมื่อใดก็ตามที่เราตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ความเห็นใจก็จะเกิดขึ้นตามมา เราจะมองเขาอย่างเป็นมนุษย์มากขึ้น พร้อมกับปฏิบัติกับเขาอย่างมนุษย์ด้วย คือ มีน้ำใจไมตรี มีความปรารถนาดี และเชื่อว่าเขามีคุณงามความดีอยู่ในจิตใจ


:b42: หลอกลวง น่ารังเกียจ อาจเป็นลักษณะที่ภรรยาบรรยายถึงสามีจอมนอกใจ แต่ยังมีอีกหนึ่งคำบรรยายที่ผู้หญิงมากมายนึกไม่ถึง นั่นคือโง่บรม


:b42: เราอยากให้เด็กเยาวชนไทยเป็นคนเสียสละเพื่อส่วนรวม แต่ว่ารอบตัวเขาก็เห็นแต่การแข่งขัน หรือว่าหน้าโรงเรียนมีแต่ผับบาร์คาราโอเกะ แล้วเด็กจะมีจิตในเสียสละได้ยังไง เพราะมีแต่สิ่งที่กระตุ้นให้คนเห็นแก่ตัว อยากเสพ อยากบริโภค


:b42: เราสามารถอยู่ในโลกอย่างมีความสุขได้ หากมีสติไม่หลงเพลินกับความสุขจนลืมตัว เผื่อใจไว้รับมือกับความผันผวนปรวนแปรอยู่เสมอ ถ้าทำอย่างนี้ได้เรียกว่ามีความสุขอย่างรู้เท่าทัน ความทุกข์แม้จะแฝงอยู่ในความสุขแต่ก็ทำอะไรเราไม่ได้ เปรียบเสมือนคนที่กินปลาอย่างระมัดระวัง และรู้จักแยกเนื้อออกจากก้าง จึงกินปลาได้อย่างอร่อยโดยก้างปลามิอาจตำปากได้


:b42: อย่าประมาทความดีแม้เพียงเล็กน้อย เพราะอาจมีอานิสงส์มหาศาล ในทำนองเดียวกันความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย ก็อย่าดูแคลน เพราะอาจก่อผลเสียอันยิ่งใหญ่ได้


:b42: โลกนี้เต็มไปด้วยคนขาดความรักมากมาย เป็นเพราะเราอยู่กันแบบตัวใครตัวมัน จนนึกถึงแต่ตัวเองมากไป ที่ขาดรักส่วนหนึ่งก็เพราะเรามัวแต่เรียกร้องความรักจากคนอื่น


:b42: การพยายามกระตุ้นให้คนเกิดมานะมากๆ นั้นไม่เพียงแต่จะทำให้คนเรามีความทุกข์ขณะที่มีชีวิต และในเวลาทำงานเท่านั้น แม้แต่เวลาตายก็ตายไม่มีความสุข โดยเฉพาะเมื่อคุณพบว่าเวลาล้มป่วยคุณทำอะไรไม่ได้เลย


:b42: ไม่มีอะไรที่จะทรงพลังเท่ากับคำว่า “ของฉัน” ไม่ว่าความวิบัติจะรุนแรงเพียงใดก็ตาม หากมันไม่เกี่ยวข้องกับ “ของฉัน” เราก็ไม่ค่อยรู้สึกรู้สาด้วย แต่ทันทีที่มีอะไรมากระทบกับ “ของฉัน” แม้เล็กน้อยเพียงใด มันกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันที หลายคนดูข่าวแผ่นดินไหวในอิหร่านที่มีคนตายนับแสนคนด้วยความรู้สึกเฉยๆ แต่จะขุ่นเคืองไปทั้งวันเมื่อพบว่ารถของตนมีรอยขีดข่วนที่ตัวถัง


:b42: “เล็กน้อยแต่สำคัญ” ท่าทีเมินเฉย หรือคำพูดที่แข็งกระด้าง เย็นชา แม้ในเรื่องที่ไม่สลักสำคัญ หรือเพียงชั่วประเดี๋ยวเดียว ก็อาจประทับแน่นในจิตใจของบางคน จนส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ พ่อที่ง่วนกับงาน จนไม่สนใจว่าลูกกำลังพูดอะไรกับตน อาจทำให้ลูกไม่กล้าบอกความในใจกับพ่อไปจนตลอดชีวิตเลยก็ได้ เช่นเดียวกัน คนที่ทักทายกับเพื่อนทุกคน แต่มองข้ามคนหนึ่งไป อาจทำให้เกิดความเหินห่างหมางเมินไปเลยก็ได้


:b42: “อานิสงส์ของทาน” การให้ทานและเอื้อเฟื้อเจือจานเป็นการสร้างภูมิต้านทานให้แก่จิตใจ ทำให้ไม่ทุกข์เมื่อประสบความสูญเสีย ในทางตรงข้ามคนที่ตระหนี่ แม้จะมีความสุขจากเงินทองที่พอกพูน แต่หารู้ไม่ว่าจิตใจนั้นพร้อมที่จะถูกกระทบกระแทกในยามเสียทรัพย์ แม้จะเป็นเรื่องที่จำเป็นก็ตาม


:b42: ปัญหาสามารถก่อให้เกิดปัญญาได้ หากรู้จักมองหรือใคร่ครวญกับมัน นักเรียนจะเฉลียวฉลาดได้ก็เพราะหมั่นทำการบ้าน การบ้านนั้นคืออะไรหากไม่ใช่ปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องขบคิด ถ้าครูไม่ขยันให้โจทย์หรือตั้งคำถามให้นักเรียนขบคิด นักเรียนก็ยากที่จะเกิดปัญญาได้


:b42: “บริโภคนิยม” แรงกว่า ลึกกว่า “วัตถุนิยม” วัตถุนิยมมุ่งตอบสนองอายตนะหรือประสาทสัมผัสทั้งห้า หรือกามตัณหา บริโภคนิยมตอบสนองลึกไปกว่านั้น คือตอบสนอง “ภวตัณหา” ทำให้รู้สึกเป็นคนใหม่ มีตัวตนใหม่ นิตยสารฉบับหนึ่งเคยสัมภาษณ์เด็กนักเรียน ว่าอะไรที่ทำให้เขาภูมิใจในตนเอง ถ้าเป็นเด็กสมัยก่อนก็คงจะตอบว่า ขยันขันแข็ง ทำความดี ช่วยพ่อช่วยแม่ อะไรทำนองนี้ แต่เด็กที่เขาไปสัมภาษณ์ตอบว่า สิ่งที่ทำให้เขาภูมิใจและมั่นใจในตนเองคือการได้มีสเก็ตบอร์ด มีนาฬิกาทีช็อค หรือมีวีดีโอเกม นั่นเป็นการสัมภาษณ์เมื่อ ๕-๖ ปีก่อน เดี๋ยวนี้ก็ต้องตอบว่า ต้องมีโทรศัพท์มือถือชนิดที่ถ่ายรูปได้ ดาวน์โหลดริงโทนได้ด้วย ถ้าไม่มีแล้ว จะรู้สึกอายไม่มั่นในในตนเอง

เคยมีการสอบถามความเห็นนักเรียนนักศึกษา เกือบร้อยละ ๙๐ บอกว่าชอบสินค้ายี่ห้อดัง เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ “ใช้แล้วมั่นใจ” นี่ก็เหมือนกับที่สาวญี่ปุ่นคนหนึ่งบอกว่า ที่ถือกระเป๋าหลุยส์วิตตอง ใส่ส้อยบุลการี และสวมนาฬิกากุชชี่ก็เพราะว่า “มีใช้แล้วมันสบายใจ แล้วก็รู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองด้วย” จะเห็นได้ว่า ความภูมิใจในตนเองเดี๋ยวนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าได้ทำอะไร แต่อยู่ที่ว่ามีอะไรมากกว่า เพราะการ “มี” ทำให้เขาได้ “เป็น” อะไรบางอย่าง

สมัยก่อนเราจะ “เป็น” อะไรก็ต่อเมื่อเราได้ “ทำ” อะไรบางอย่าง ยกตัวอย่าง ผู้ชายสมัยก่อนจะเป็นลูกผู้ชายได้ ต้องสามารถปกป้องมิให้อันธพาลมาลวนลามผู้หญิงในหมู่บ้าน หรือมาลักวัวลักควายในหมู่บ้าน จะเป็นลูกผู้ชายต้องพิสูจน์กันตรงนี้...ในสังคมสมัยก่อน เด็กจะก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ได้ต้องผ่านการพิสูจน์ตนเอง เช่น ไปอยู่ในป่าคนเดียว ไปทำสักทั่วทั้งตัว หรือผ่านการทำสงครามกับเผ่าอื่น ถ้าคุณผ่านกรรมวิธีเหล่านี้ได้ถึงจะได้รับการนับถือว่าเป็นผู้ใหญ่หรือเป็นชายชาตรี แต่ในยุคบริโภคนิยม การเป็นชายชาตรีเป็นได้ง่ายมาก ถ้าคุณซื้อสินค้าให้ถูกยี่ห้อให้ถูกแบรนด์เนม คุณก็เป็นได้แล้ว หรือจะเป็นเอกบุรุษก็ได้ถ้าซื้อแอโรว์มาใส่


:b42: ไม่ควรมองว่าปัญหาคือ “ทางตัน” ถ้ามองให้ดี ในตัวปัญหานั้นก็มี “ทางออก” ด้วยเหมือนกัน อย่าลืมว่าสลักที่ล็อคประตูนั้นก็เป็นสลักอันเดียวกับที่ใช้เปิดประตู สวิตช์ที่ปิดไฟก็เป็นอันเดียวกับที่ใช้เปิดไฟให้สว่าง ฉันใดก็ฉันนั้นในคำถามก็มีคำตอบเฉลยอยู่


:b42: เราอยู่กับตัวเองไม่ได้เพราะเราไม่รู้วิธีกล่อมใจให้นิ่ง หรือฝึกจิตให้สงบ เราเคยชินกับการปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน กังวลต่างๆ นานา โดยไม่เคยถามตัวเองเลยว่า กังวลแล้วได้ประโยชน์อะไร


:b42: ไม่ว่าทำอะไรอยู่ก็ตาม ควรหมั่นมองตนสำรวจจิตเพื่อให้รู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอ ความรู้ตัวนี้แหละจะช่วยปลดเปลื้องสิ่งหมักหมมที่ค้างคาในจิตใจ จนทำให้ชีวิตเบาสบาย


:b42: อะไรก็ตามถ้าเราไปยึดติดแบกถือแล้ว ล้วนทำให้เป็นทุกข์ทั้งนั้น แม้ว่าสิ่งนั้นดูเหมือนเล็กน้อยไม่สลักสำคัญ แต่ก็ประมาทไม่ได้ สิวเพียงไม่กี่เม็ด ถ้าไปหมกมุ่นครุ่นกังวลกับมันทั้งวันทั้งคืน ก็สามารถทำให้เด็กสาวฆ่าตัวตายเพราะความอับอายได้ ดังเคยเป็นข่าวมาแล้ว


:b42: ความรู้ตัวเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่หนทางแห่งความไม่ทุกข์ เพราะเมื่อรู้ตัวแจ่มชัดเราก็ประจักษ์แก่ใจว่าได้เผลอแบกยึดอะไรต่ออะไรไว้มากมาย ถึงตอนนั้นการปล่อยวางก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก


:b42: จะว่าไปแล้วปัญหาหรือความทุกข์ทั้งหลายไม่ได้มีไว้ให้เราคร่ำครวญ แต่มีไว้ให้ใคร่ครวญนั่นเอง ในความทุกข์นั้นก็มีทางออกจากความไม่ทุกข์แฝงอยู่เสมอ


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2012, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes อย่าอยู่อย่างประมาท rolleyes

:b44: กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2012, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ไม่ว่าจะอาลัย “อดีต” หรือกังวลกับ “อนาคต” เพียงไร ก็ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น กลับทำให้เราย่ำแย่กว่าเดิม สิ่งเดียวที่จะทำให้อะไรดีขึ้นก็คือการทำ “ปัจจุบัน” ให้ดีที่สุด ทางข้างหน้าแม้จะยาวไกลและลำบากเพียงใด แต่เราไม่มีวันถึงจุดหมายเลยหากไม่ลงมือก้าวเสียแต่เดี๋ยวนี้ รวมทั้ง ใส่ใจกับแต่ละก้าวให้ดี ถ้าก้าวไม่หยุดในที่สุดก็ต้องถึงที่หมายเอง


:b42: คู่รักที่แท้จะมองไปในทิศทางเดียวกัน เดินเคียงคู่กัน แต่ไม่ผูกมัดกัน แล้วก็ไม่พึ่งพากัน ทุกคนต่างเดินไปข้างหน้าเหมือนกัน แต่ว่าช่วยเหลือกันและเดินเคียงคู่กัน


:b42: มีนักปฏิบัติจำนวนไม่น้อยที่ปฏิเสธการงาน เพราะเกรงว่าจิตใจจะว้าวุ่นไม่สงบ แต่หากจิตใจเราจะสงบได้ดีก็ต่อเมื่อไม่มีงานทำ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เราจะแตกต่างจากคนอื่นที่ไม่ปฏิบัติธรรมตรงไหน เพราะคนธรรมดาๆ ก็สงบได้เวลาไม่มีงานทำหรืออยู่ในที่ที่สงบไม่มีผู้คนคลาคล่ำ


:b42: การปฏิบัติธรรมจะมีความหมายอะไร หากไม่สามารถทำให้ “ใจ” เราสงบได้ แม้จะแวดล้อมด้วยผู้คนหรืออยู่ในสถานที่ที่วุ่นวาย และถ้าการปฏิบัติธรรมทำให้เราไม่มีความสุขกับการทำงาน หรือไม่สามารถอยู่กับคนได้ นั่นมิหมายความดอกหรือว่า การปฏิบัติธรรมทำให้เรามีจิตใจอ่อนแอมากขึ้น อ่อนไหวและถูกกระทบได้ง่าย ในขณะที่คนหาเช้ากินค่ำกลับไม่รู้สึกเช่นนั้นเลย


:b42: “การขอโทษ” ไม่ได้แปลว่าเราอ่อนแอ แต่เป็นการแสดงความกล้าของเรา


:b42: คนจำนวนไม่น้อยยอมตายเพื่อรักษาสร้อยเพชรไว้ไม่ให้ใครกระชากเอาไป บางคนยอมเสี่ยงชีวิตฝ่าเปลวเพลิงที่กำลังลุกไหม้บ้าน เพราะกลัวอัญมณีจะถูกทำลายวายวอด ฉะนี้แล้วควรจะเรียกว่ามันเป็น “ของฉัน” หรือฉันต่างหากที่เป็น “ของมัน”


:b42: ไม่ว่าจะมีเงินทองมากมายเพียงใด เมื่อตายไปก็ไม่มีใครเอาไปได้แม้แต่อย่างเดียว นั่นเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้ทุ่มเทชีวิตทั้งชีวิตเพื่อทรัพย์สมบัติ แต่ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ หากหวงแหนติดยึดมันแม้กระทั่งในยามสิ้นลม มันก็สามารถฉุดลงอบายได้


:b42: เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา แทนที่จะคร่ำครวญหรือตีอกชกหัว ลองใคร่ครวญดูให้ดี จะพบว่าปัญหาเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเอง ถ้าเรามองสัญญาณนี้ออก นั่นแสดงว่าปัญญาได้เกิดแก่เราแล้ว ขั้นต่อไปก็คือเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม หรือการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เหมาะสม และชาญฉลาด


:b42: “ความทุกข์” นั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่ว่าเรามีท่าทีหรือรู้สึกอย่างไรกับมันต่างหาก


:b42: ทุกวันนี้ การแสวงหาความสุขส่วนใหญ่ของเรา เป็นการทำร้ายตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาความสุขจากสิ่งเสพติดหรือจากกามสุข ถึงที่สุดแล้วก็เป็นการทำร้ายตัวเองทั้งนั้น แสดงว่าเราไม่ได้รักตัวเองจริง...แต่ถ้าเราเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะพบกับความสุข


:b42: วันนี้สิ่งสำคัญจึงมิใช่คำถามว่าเราได้อะไรมาบ้าง ? แต่ได้แก่คำถามว่าเรา “ปล่อย” ไปมากแค่ไหนแล้ว ?


:b42: การไม่ทำตัวเองให้เป็นปัญหา คือบันไดขั้นแรกสุดในการแก้ปัญหา ไม่ว่าในบ้าน ที่ทำงาน ชุมชน หรือประเทศชาติ


:b42: ถ้าเรากำลังไม่มีความสุขกับการงาน หงุดหงิดฉุนเฉียวกับผู้คน ไม่ว่าในบ้านหรือที่ทำงาน ท้อแท้หมดหวังกับชีวิตและงาน นั่นเป็นเพราะชีวิตเรามีแต่ความสูง แต่ขาดความลึก หรือยังลึกไม่พอ แต่ต้นไม้ที่มีรากลึกย่อมทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคงฉันใด ชีวิตที่มีจิตลุ่มลึกย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหวฉันนั้น


:b42: “ประโยชน์ของทุกข์” สำหรับคนเป็นอันมาก โรคร้ายและทุกข์ภัยทั้งหลายกลายเป็นสิ่งจำเป็น ที่ช่วยกระตุกให้เขาหายมัวเมาเคล้าคลุกกับสิ่งที่ไม่ใช่แก่นสารของชีวิต ตราบใดที่ชีวิตยังเป็นไปอย่างที่เคยชิน เราก็ยังคงสาละวนอยู่กับกิจวัตรประจำวัน แม้นั่นจะหมายถึงการตื่นตีสี่ไปทำงานเพื่อจะโผเผกลับมาตอนสี่ทุ่ม


:b42: ชีวิตไม่มีสูตรสำเร็จก็จริง แต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเพียรเสมอ


:b42: “เก็บเกี่ยวคุณประโยชน์จากความทุกข์” เพราะความทุกข์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต...แม้แต่เรื่องจิ๊บจ๊อย เช่น มีสิวผุดขึ้นบนใบหน้า เพื่อนร่วมงานวางแก้วไม่เป็นที่ เท่านี้ก็สามารถกวนใจได้ร้อยแปด แต่ถ้าเราย้อนกลับมามองตนเอง โดยไม่เพียงแต่รู้ว่า...นึกคิดและทำอะไรเท่านั้น หากยังเห็นลึกลงไปจนตระหนักว่าทำไมจึงมีอาการเช่นนั้น นั่นแสดงว่าเรากำลังเก็บเกี่ยวคุณประโยชน์อีกด้านหนึ่งของความทุกข์ในชีวิตประจำวันแล้ว คุณประโยชน์นั้นมีชื่อว่า “การรู้จักตนเอง”


:b42: น่าแปลกไหมว่า ทั้งๆ ที่เรามีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น ตามวันเวลาที่ผ่านไปและตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่กลับไม่รู้สึกว่าความทุกข์ลดลงเลย กลับจะมากขึ้นด้วยซ้ำ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นมีส่วนน้อยที่เป็น “ความทุกข์กาย” ส่วนใหญ่คือ “ความทุกข์ใจ” อันเนื่องมาจากการงานและความสัมพันธ์ แต่เมื่อสาวไปให้ถึงที่สุดแล้ว ก็จะพบว่ามันมีที่มาจากมุมมองหรือการวางใจของเรานั่นเอง


:b42: โลกนี้หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ แปรเปลี่ยนเป็นนิจ สิ่งที่เรายกย่องเชิดชูว่าดีวิเศษในวันนี้ สามารถกลายเป็นอื่นในวันหน้า นี้เป็นธรรมดาของสิ่งที่เรียกว่า “สมมติ” ใครที่ยึดติดถือมั่นกับ “สมมติ” ปักใจเชื่อว่ามันต้องดีไปตลอด ย่อมเป็นทุกข์เมื่อเจอความเปลี่ยนแปลง


:b42: ถึงที่สุดแห่งความมืดมิด คือ ฟ้าสางและรุ่งอรุณ


:b42: ความพลัดพรากแม้จะเป็นความทุกข์ แต่การยึดติดของเราต่างหาก ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ยิ่งกว่า ถ่านแดงๆ นั้นร้อนแน่ แต่ที่เราเจ็บปวดเพราะไปกำมันไว้ไม่ใช่หรือ


:b42: ใช่หรือไม่ว่าสิ่งที่เรามีอยู่แล้วในมือนั้น ไม่ทำให้เรามีความสุขได้มากกว่าสิ่งที่ได้มาใหม่ มีเสื้อผ้าอยู่แล้วนับร้อย ก็ไม่ทำให้จิตใจเบ่งบานได้เท่ากับเสื้อ ๑ ตัวที่ได้มาใหม่ คนเรานั้นมักมีความสุขจากการ “ได้” มากกว่าความสุขจากการ “มี” มีเท่าไรก็ยังอยากจะได้มาใหม่ เพราะเรามักคิดว่าของใหม่จะให้ความสุขแก่เราได้มากกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิม


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 11:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue onion onion tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2012, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b42: Our good fortune is dependent upon the cooperation and contributions of others. Every aspect of our present well-being is due to hard work on the part of others. As we look around us at the buildings we live and work in, the roads we travel, the clothes we wear, or the food we eat, we have to acknowledge that all are provided by others. None of them would exist for us to enjoy and make use of were it not for the kindness of so many people unknown to us.


:b42: “ปฏิบัติธรรม” ช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้จริง ถ้าปฏิบัติถูก...แต่ถ้าปฏิบัติไม่ถูก นอกจากจะไม่ช่วยให้พ้นทุกข์แล้ว อาจเพิ่มทุกข์ด้วย คนที่ปฏิบัติธรรมผิดแล้วหลงลืมตัวตน เห็นแก่ตัวก็มี คนที่ปฏิบัติธรรมแล้วเครียดยิ่งกว่าเดิม หรือสร้างความทุกข์ให้แก่คนอื่นก็มี ปฏิบัติธรรมแล้วกลายเป็นคนหนีปัญหาก็มี ชอบหนีความขัดแย้งเพราะไม่อยากเจอความไม่สงบ บางคนปฏิบัติธรรมแล้ว เกิดกิเลสพอกพูนว่าฉันเป็นคนวิเศษ ฉันเป็นคนประเสริฐ...การปฏิบัติธรรมที่ถูก ต้องลดละ “ความเห็นแก่ตัว” และ “ทิฏฐิมานะ” ได้


:b42: บ่อยครั้งเรามักเผลอเอาสายตาของคนอื่นมาเป็นเครื่องวัดคุณค่าของเรา พอผู้คนไม่นิยมยกย่องเรา ก็เลยรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า คุณงามความดีที่มีอยู่ในตัวก็เลยไร้ความหมาย ชวนให้ท้อแท้หมดกำลังใจในการทำสิ่งดีงาม


:b42: เราสามารถเอาชนะชะตากรรมได้ ไม่ได้ชนะที่ไหน หากชนะที่ใจนั่นเอง


:b42: เด็กหัดเดินแม้จะล้มแล้วล้มเล่า แต่ก็ไม่เคยหยุดลุก หญ้าอ่อนแม้จะถูกหินทับ แต่ก็สงบตัว เพียงเพื่อรอวันแทงยอดขึ้นใหม่ ไม้ใหญ่แม้ถูกไฟแล้งเผาผลาญ แต่ก็พร้อมแตกหน่อ เมื่อฤดูฝนมาเยือน พลังแห่งชีวิตนั้น ไม่รู้จักระย่อท้อถอย อุปสรรคถึงจะมาขวางกั้น อันตรายถึงจะมาคุกคาม แต่ไม่เคยสยบชีวิตให้จำนน


:b42: สิ่งสำคัญที่ประคองใจไม่ให้ทุกข์ร้อนไปกับเหตุร้ายก็คือ “สติ” สติอ่อนเมื่อไหร่ ใจก็จะโวยวายตีโพยตีพาย โทษคนโน้นคนนี้ จนลืมจัดการกับตนเอง ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนอื่นใด


:b42: ถึงที่สุดแล้วสุขทุกข์นั้นอยู่ที่ “ใจ” เราจะสุขหรือทุกข์อยู่ที่ว่า “ใจ” ไปจดจ่อกับอะไร จะเปรียบไป “ใจ” เราก็ไม่ต่างจากโทรทัศน์ร้อยช่อง บางช่องมีแต่เรื่องสยดสยอง บางช่องชวนให้หม่นหมอง เคียดแค้น ชิงชัง แต่ก็มีบางช่องที่ดูแล้วเพลินใจ มีความหวังกับชีวิต ปัญหาอยู่ตรงที่เราจะเลือกดูช่องอะไร


:b42: เมื่อเห็นหรือได้ยินอะไรก็ตาม เรามิได้รับรู้เฉยๆ แต่มักจะมีความคิดหรือข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้นตามมาด้วย ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ยิ่งเป็นเรื่องที่เราถือว่าสำคัญ ก็อดไม่ได้ที่จะต้องตีความหรือคิดต่อจากสิ่งที่เห็นและได้ยิน นี้เป็นเรื่องธรรมดา แต่ปัญหามักเกิดขึ้นเมื่อเราเชื่อมั่นในความคิดหรือข้อสรุปนั้น จนบางครั้งเผลอทึกทักว่าเป็นความจริง

ความเข้าใจผิดมักเกิดจากการด่วนสรุปและติดยึดในความคิด จนไม่สามารถยอมรับความจริง (หรือความเห็น) ที่สวนทางกับความคิดนั้น คู่รักมักกล่าวหาอีกฝ่ายว่านอกใจ เพียงเพราะเห็นเขา (หรือเธอ) หัวร่อต่อกระซิกกับเพศตรงข้ามในร้านอาหาร เพียงแค่ทักเพื่อนแล้วเขาไม่ทักตอบ แถมมีสีหน้ามึนตึง ก็สรุปแล้วว่าเขาไม่พอใจเรา เราก็เลยมึนตึงกับเขาเป็นการตอบโต้ อย่าว่าแต่ความคิดเลย แม้แต่ภาพที่ปรากฏแก่สายตาของเรา ก็ยังเชื่อไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเป็นความจริง หรือไม่สามารถยืนยันได้ว่าตรงกับความเป็นจริงร้อยเปอร์เซ็นต์


:b42: ความทุกข์นั้นบ่อยครั้งเกิดขึ้นเพราะ “ใจ” เราไม่อยู่สุข ชอบสั่งตาหรือหูให้ไปรับเอาสิ่งไม่ดีมาสร้างปัญหาแก่จิตใจ


:b42: แม้จะมีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นกับเรา แต่ถ้า “ใจ” เรารับได้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม แม้มีเงินทองไหลมาเทมา แต่ถ้าเราคิดว่ามันน้อยเกินไป ทำให้รวยไม่พอหรือไม่เท่าคนอื่น เมื่อนั้น “ใจ” เราก็เป็นทุกข์ทันที


:b42: เราจ้างคนมากินข้าว ออกกำลังกาย หรือศึกษาหาความรู้แทนเราไม่ได้ เราต้องทำสิ่งนั้นด้วยตัวเราเอง


:b42: “มรณสติ” ช่วยเตือนให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน เราไม่ค่อยเห็นคุณค่าของวันนี้หรือวันพรุ่งนี้เพราะเราคิดว่าเรายังจะมีเวลาอยู่ได้อีกหลายปี แต่ถ้าเรารู้ว่าเราต้องตายคืนนี้ แต่ละนาทีที่ยังมีชีวิตอยู่จะกลายเป็นสิ่งมีค่าทันที เราจะไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์หรือไร้สาระ คนที่เป็นมะเร็งแล้วรู้ว่าจะมีเวลาอยู่ในโลกนี้ได้อีกไม่กี่เดือน จะรู้สึกเลยว่าแต่ละวันมีความหมายมาก


:b42: สิ่งที่ให้ความสุขแก่เรา ก็สามารถทำให้เราทุกข์ได้เช่นกัน


:b42: เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ลองให้เห็นแง่ดีของมันบ้าง ไม่มีอะไรที่ไม่มีแง่ดีเลย เจ็บป่วยก็มีแง่ดีคือได้พักผ่อน ได้มีเวลาทำสิ่งที่ชอบ อยู่กับครอบครัว หรือเข้าหาธรรมะ อย่างน้อยๆ แง่ดีอย่างหนึ่งที่ต้องมีแน่ๆ ก็คือ ดีที่ไม่หนักกว่านั้น มองแง่ดีอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องลงมือจัดการกับปัญหาหรือป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีก


:b42: เบื้องหลังความงดงามของชีวิตและความสำเร็จของผู้คน มันคือความทุกข์ยากลำบากและอุปสรรคต่างๆ ที่เราจะต้องต่อสู้และฝ่าฟันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


:b42: “มองเป็นก็เห็นสุข” ลองมาสำรวจดูว่าชีวิตของเราตอนนี้ มีอะไรบ้างที่ควรชื่นชม ถ้านึกไม่ออกก็ลองไล่เลียงดูว่า สิ่งที่เรามีอยู่ตอนนี้ อะไรบ้างที่หากสูญไปจะทำให้เราทุกข์หรือย่ำแย่ ถึงตอนนี้เราจะพบว่ามีมากมาย ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เช่น สุขภาพดี, อวัยวะครบ ๓๒, พ่อแม่, ญาติพี่น้อง, คนรัก, มิตรสหาย, วิชาความรู้, กินอิ่มนอนอุ่น, มีอาชีพการงาน และมีเวลาเป็นของตัวเอง เป็นต้น


:b42: ธรรมชาติประทาน “ความทุกข์” มาให้แก่เรา เพื่อผลักไสให้เราก้าวไปข้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง และ ถ้าสามารถรุดไปสู่อิสรภาพจนทุกข์แผ้วพานไม่ได้เมื่อไร ก็เป็นอันหมดหน้าที่ของความทุกข์เมื่อนั้น แต่ตราบใดที่ยังไปไม่ถึงจุดนั้น ความทุกข์ก็จะซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ จ้ำจี้จ้ำไชเราไม่หยุดหย่อน


:b42: มีคาถาหนึ่งที่จะช่วยให้เราทนได้มากขึ้น ก็คือ เมื่อหายใจเข้าให้พูดกับตนเอง “ทนได้” เมื่อหายใจออกให้พูดในใจว่า “สบายมาก”


:b42: ความทุกข์จะกลายเป็นความไม่ทุกข์ได้ ก็ต่อเมื่อจิตมี “สติ” และ “ปัญญา” เข้าไปกำกับ


:b42: ถ้าไม่มี “สติ” และ “ปัญญา” เสียแล้ว ความสุขก็กลายเป็นความทุกข์ไปได้ง่ายๆ


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2012, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: การจากไปอย่างสงบ โดยไม่ทุรนทุรายหรือทุกข์ทรมานอย่างน้อยในทางจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ป่วย อันที่จริงแล้วต้องถือว่า “ความสงบ” ในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งมีค่าสูงสุดประการสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้ประสบก่อนละจากโลกนี้ไป...ประสบการณ์ดังกล่าวมิใช่เรื่องสุดวิสัยสำหรับปุถุชนเลย มนุษย์ทุกคนมีความสามารถที่จะเผชิญกับความตายอย่างสงบ หากมีการฝึกฝนมาดีพอหรือได้รับการตระเตรียมช่วยเหลือจากกัลยาณมิตร

ผู้อยู่รอบข้างมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ว่าเป็นญาติมิตร แพทย์ พยาบาล ล้วนมีบทบาทในการช่วยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเผชิญกับความตายอย่างสงบ ไม่ตื่นตระหนก ทุรนทุราย มีหลายสิ่งที่ผู้อยู่รอบข้างสามารถทำได้เพื่อให้ความช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ป่วยเหล่านี้


:b42: ชีวิตเราไม่ว่าจะยืนยาวแค่ไหน สักวันหนึ่งก็ต้องสิ้นสุด “ความตาย” เป็นสิ่งที่เราหลีกหนีไม่พ้น นี้คือความแน่นอนที่ต้องบังเกิดขึ้น แต่น่าแปลกที่ผู้คนเป็นอันมากไม่ค่อยนึกถึงเรื่องนี้เท่าไร หลายคนมีชีวิตราวกับลืมไปว่าตัวเองจะต้องตาย เอาแต่เที่ยวเตร่สนุกสนาน ราวกับว่าความสนุกสนานจะช่วยตนเองได้ในวาระสุดท้ายของชีวิต หลายคนง่วนกับการสะสมทรัพย์สมบัติ ราวกับว่าจะสามารถเอามันไปได้หลังตายไปแล้ว


:b42: ถ้ามือของเราไปหิ้วอะไรเข้า ไปยึดถืออะไรเข้ามาหิ้วอยู่ มือมันก็หนัก ทางจิตก็เหมือนกัน เมื่อจิตไปยึดถืออะไรเข้า จิตมันก็หนัก หนักนั่นแหละคือเป็นทุกข์


:b42: ชีวิตจิตใจของเราเปรียบเสมือนกับสมรภูมิแห่งการต่อสู้ระหว่าง “อัตตา” กับ “มโนธรรม”...ธรรมชาติทั้งสองส่วนต่างขับเคี่ยวเพื่อครองใจเรา อะไรจะมีชัยชนะขึ้นอยู่กับว่าเราดำเนินชีวิตอย่างไร หากเราพยายามทำความดี นึกถึงสิ่งดีงาม “มโนธรรม” ก็จะเข้มแข็ง...แต่ถ้าเรานึกถึงแต่ตัวเอง ทำเพื่อตัวเองอยู่เสมอ “อัตตา” ก็จะกล้าแกร่ง มิตรสหายหรือชุมชนแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญ การมีชีวิตแวดล้อมด้วยกัลยาณมิตรย่อมทำให้ “มโนธรรม” เจริญงอกงาม...แต่หากอยู่ท่ามกลางผู้คนที่เห็นแก่ตัว หรือหมกมุ่นอยู่กับสื่อที่กระตุ้นความโลภ “อัตตา” ก็จะครอบงำใจได้ง่าย


:b42: คนเรามักลืมคิดถึงธรรมดาของชีวิตที่ต้องมีการพลัดพรากสูญเสีย เมื่อมีหรือได้อะไรก็ตาม ก็ทึกทักเอาว่ามันจะต้องอยู่กับเราไปตลอด เรายอมไม่ได้ที่มันจะพรากจากเราไป (เว้นเสียแต่ว่าเราเป็นฝ่ายละทิ้งมันไปเอง) น้อยนักที่เราจะเผื่อใจนึกถึงความไม่เที่ยงของสิ่งที่เรามี และในบรรดาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เรามีนั้น มีสิ่งหนึ่งที่เราแทบจะไม่ยอมนึกถึงวันที่จะต้องพลัดพรากจากมันไป สิ่งนั้นคือชีวิตของเราเอง


:b42: การบิณฑบาตไม่ได้มุ่งที่การโปรดญาติโยมให้มีโอกาสทำบุญชุบชูจิตใจเท่านั้น หากยังเป็นการเตือนให้พระสงฆ์ได้ตระหนักว่า ชีวิตของตนนั้นอยู่ได้ด้วยผู้อื่น ดังนั้น จึงควรเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หรือทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย นอกจากนั้นการบิณฑบาตยังเป็นโอกาสที่พระสงฆ์จะได้เจริญสติ ไปพร้อมกับการทำกิจต่อญาติโยม เพราะกิจของสงฆ์กับการบำเพ็ญทางจิตไม่ได้แยกจากกัน เช่นเดียวกับการบำเพ็ญประโยชน์ท่านก็ไม่ได้แยกขาดจากประโยชน์ตน


:b42: การชื่นชมสิ่งต่างๆ ที่เรามีอยู่ รวมทั้งสิ่งที่อยู่รอบตัว จะช่วยให้เราเป็นคนไวต่อความสุข แม้สิ่งดีๆ เพียงเล็กน้อยก็สามารถบันดาลใจให้เป็นสุขได้


:b42: การรู้จักชื่นชมสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ จะทำให้เราตระหนักว่าทุกวันนี้เราก็มีความสุขมากมายอยู่แล้ว


:b42: ข้าวของเครื่องใช้ ตอนนี้เราอาจไม่เห็นค่าเพราะอยากได้อันใหม่ที่ดีกว่า แต่ลองนึกดูว่าหากมีใครขโมยสิ่งเหล่านั้นไป เราจะรู้สึกอย่างไร เราไม่ควรนึกเสียดายต่อเมื่อมันสูญหายไปแล้ว แต่ควรจะชื่นชมหรือเห็นคุณค่าของมันขณะที่ยังอยู่กับเรา


:b42: ชีวิตที่อิสระปราศจากอันตราย ไร้ความกังกลใจ คบกันด้วยน้ำใจยิ่งกว่าผลประโยชน์ เป็นชีวิตที่มีความสุข แต่ผู้คนมักจะคิดได้ก็ต่อเมื่อมันกลายเป็นอดีตไปแล้ว


:b42: ถ้าคนเรามีทัศนคติที่มองผู้คนเป็นเพื่อนมนุษย์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในทิฐิความเห็น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน หรือว่ายึดมั่นให้น้อยลง การที่จะมองซึ่งกันและกันเป็นเพื่อนมนุษย์ และยอมรับความแตกต่างก็จะมีได้ง่ายขึ้น


:b42: เราจดจ่อกับเรื่องทุกข์รันทดมานานแล้ว ไยไม่หันเหจิตใจไปรับรู้กับเรื่องงดงามชุบชูใจบ้าง ไม่ต้องไปไกลถึงหมู่เกาะอ่างทองหรือดอยอินทนนท์ก็ได้ เสียงนกร้องยามเช้า ดอกหญ้าที่ชูช่อจากรอยหินแตก ทารกที่แย้มยิ้มไร้เดียงสา ความสุขเหล่านี้มีให้เห็นมากมายตามรายทางมิใช่หรือ


:b42: พืชพรรณพร้อมจะเปลี่ยนขยะเน่าและซากสัตว์ให้กลายเป็นดอกผลอันงดงาม และเป็นอาหารหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตได้ฉันใด เราแต่ละคนก็มีศักยภาพที่จะแปรเปลี่ยนความทุกข์ให้กลายเป็นพลังสร้างสรรค์ได้ฉันนั้น ศักยภาพนั้นมิได้อยู่ที่ไหน หากอยู่ที่ทัศนคติหรือมุมมองของเรานั่นเอง


:b42: หากเราวางใจถูกต้อง ประโยชน์จากความทุกข์ก็ย่อมมีให้เก็บเกี่ยวไม่รู้จบ


:b42: ถ้าเราเริ่มรู้สึกเหนื่อยอ่อนกับการถามตัวเองไม่รู้จบว่า “เมื่อไหร่ฉันถึงจะรวยเสียที” ลองเปลี่ยนมาเป็นคำถามว่า “เมื่อไหร่ฉันถึงจะพอใจกับความรวยของฉันเสียที”


:b42: ชีวิตเรามี “ทุน” อีกมากมายที่นอกเหนือจากเงิน ลองเอาทุนนั้นมาใช้สร้างสรรค์ชีวิตเราและครอบครัวเราเสียบ้าง จะไม่ดีกว่าหรือ ยิ้มรับ ปรับตัว เปลี่ยนชีวิต คือ เคล็ดลับสามประการ ที่วิกฤตเศรษฐกิจกำลังสอนเราอยู่ทุกเวลานาที


:b42: เด็ก (และผู้ใหญ่) หลายคน ชอบถามในใจเวลามีงานมากองอยู่ข้างหน้าว่า “ฉันจะทำได้หรือ” คำถามอย่างนี้ชวนให้ท้อ แต่ความรู้สึกของเขาจะเปลี่ยนไป หากเขาถามตัวเองใหม่ว่า “ทำไมฉันจะทำไม่ได้” อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งอุปสรรคไม่ได้อยู่ตรงที่ว่าทำได้หรือไม่ได้ หากอยู่ที่แรงจูงใจ


:b42: คนที่ไวต่อความทุกข์จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนโชคร้าย แต่แท้จริงแล้วนั่นเป็นเพราะเขาด้านชาต่อสิ่งดีๆ ที่เข้ามาในชีวิตต่างหาก


:b42: ลองเหลียวมาดูรอบตัวเถิด ตอนนี้คุณอาจร่ำรวยอยู่แล้วก็ได้ แต่ยังไม่พอใจเสียที เพราะเอาแต่ชะเง้อมองคนอื่นที่่รวยกว่า แต่ถึงแม้คุณจะยังไม่รวย พยายามบ่มเพาะความพอใจในสิ่งที่ตนมี แล้วคุณจะพบกับความรวยชนิดที่ไม่มีใครมาแย่งชิงได้ แม้จะอิจฉาตาร้อนจนลุกเป็นไฟก็ตาม


:b42: สำหรับคนที่ชอบบ่นในใจว่า “ทำไมฉันถึงซวยอย่างนี้” หากเปลี่ยนมาถามตัวเองว่า “ทำไมฉันชอบบ่นอย่างนี้” เขาอาจได้คิดและลุกขึ้นมาสู้ใหม่ ไม่ทดท้อหรืองอมืองอเท้าเหมือนเก่า


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2012, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b42: สัมพันธภาพของผู้คนมักมีปัญหา ก็เพราะทุกคนคิดแต่จะเรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจตนเอง แต่ไม่พยายามหรือแม้กระทั่งคิดที่จะเข้าใจคนอื่น


:b42: ความทุกข์ของผู้คนมักเกิดขึ้นเพราะหมายมั่นให้ทุกอย่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จึงมีสภาพไม่ต่างจากเรือน้อยที่ขวางกระแสน้ำเชี่ยว รังแต่จะถูกน้ำซัดจนพลิกคว่ำ ขวางน้ำย่อมเป็นอันตราย แต่ถ้าปล่อยให้กระแสน้ำพัดพาไปตามยถากรรม เรือก็อาจไปชนเกาะแก่งได้


:b42: น่าเสียดายที่เดี๋ยวนี้ผู้คนหากไม่เกลียดตนเอง ก็กลับกลายเป็นว่า “รักตนเองไม่เป็น” คนเป็นอันมากเกลียดตนเองจนสิ้นเรี่ยวแรงที่จะทำสิ่งดีงาม ที่ร้ายกว่านั้นก็ถึงกับลงโทษตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย

อีกมากหลายแม้จะบอกว่ารักตนเอง แต่น่าแปลกที่กลับไม่อยากอยู่กับตนเอง เวลาอยู่คนเดียวจะทุรนทุราย ต้องหาเรื่องออกไปหมกมุ่นเพลิดเพลินกับสิ่งนอกตัว เวียนเข้าเวียนออกตามศูนย์การค้า เหม่อมองโทรทัศน์เช้าจรดค่ำ ร้องรำทำเพลงอย่าน่าเวียนหัว เที่ยวเตร่จนลืมตัว เมาหัวราน้ำ อากัปกิริยาเหล่านี้ หากไม่ใช่การหนีตัวเองแล้วจะเรียกว่าอะไร ?


:b42: คนที่ชอบนินทาคนอื่นให้เสียหายนั้น เป็นเพราะเขาเองมีความทุกข์อยู่ก่อนแล้ว เช่น อิจฉาคนอื่น หรือมองคนอื่นในแง่ลบ ทัศนคติแบบนี้ย่อมทำให้ใจเขาเป็นอกุศล จึงแสดงออกด้วยการนินทาว่าร้ายคนอื่น และเมื่อทำไปแล้ว ย่อมต้องได้รับผลกระทบ (หรือวิบาก) จากกรรมนั้นๆ เช่น ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากคนอื่นน้อยลง หรือเสียภาพพจน์ไปเลย อีกทั้งยังมีศัตรูมากขึ้น ทำอะไรก็ยากจะสำเร็จ ไม่ได้รับความเจริญ ทั้งหมดนี้ย่อมทำให้ชีวิตของเขาไม่ได้รับความสุข หรือถึงจะมีสุขก็ชั่วคราว


:b42: ไม่มีใครที่สามารถยึดสุขไว้และกีดกันทุกข์ออกไปได้ตลอด คนที่คิดแต่จะหนีห่างจากความทุกข์ ไม่ยอมให้มันกล้ำกราย จึงไม่ต่างจากคนที่วิ่งหนีเงากลางแดด ดังนั้น แทนที่จะหาทางผลักไสมันออกไป ศิลปะแห่งการดำเนินชีวิตจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับความทุกข์ได้


:b42: อยากให้ชีวิตมีความสุข นอกจากทำความดีแล้ว ต้องฝึกใจให้ไวต่อความสุข และรู้จักชื่นชมสิ่งดีๆ ที่่เรามีอยู่ในตอนนี้ให้มากๆ


:b42: คนเราเมื่อเรามีน้ำใจต่อผู้อื่นแล้ว ไม่ใช่เขาเท่านั้นที่มีความสุข เราก็พลอยได้รับความสุขด้วย ความสุขที่เราให้แก่เขา ย้อนกลับมาสู่จิตใจของเรา เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น หากมองอย่างเห็นแก่ตัว มันเป็นการเกื้อกูลตัวเราเองด้วย


:b42: คนเป็นอันมากทั้งๆ ที่เป็นทุกข์ จิตใจหม่นหมอง ชีวิตตกต่ำ แต่ก็ยอมทนอยู่กับสภาพเดิมๆ เพียงเพราะว่ามันกลายเป็นความเคยชินไปแล้ว ความเคยชินนี้เองที่หลอกเราว่าความเปลี่ยนแปลงจะทำให้เราทุกข์กว่าเดิม


:b42: ความเคยชินเปรียบเสมือนแรงเฉื่อยที่คอยขัดขวางการเปลี่ยนแปลง


:b42: การประคองใจอิงแอบกับงาน โดยไม่กังวลถึงอนาคตและครุ่นคิดถึงอดีต ช่วยให้ปัญญาและความสามารถถูกนำมาใช้กับงานการนั้นอย่างแน่วแน่และเต็มที่ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะจิตเป็นสมาธิ แต่สมาธิมิได้มีผลถึงประสิทธิภาพเท่านั้น อานิสงส์ประการสำคัญของสมาธิ คือ ความสงบ งานที่ทำด้วยความสงบย่อมให้ความเพลิดเพลินเป็นรางวัล


:b42: ถ้าเราคิดแต่จะให้ ไม่คิดอยากได้ เรากลับได้ แต่พอคิดอยากจะได้ ไม่คิดจะให้ ก็กลับไม่ได้


:b42: ถ้าเราคิดถึงแต่ตนเอง จะทุกข์ง่าย อัตตาตัวตนจะใหญ่ขึ้น ถูกกระทบง่าย แต่ถ้าเรามีเมตตากรุณา ใจเราจะใหญ่ขึ้น อัตตาจะเล็กลง มีที่ว่างมากขึ้นสำหรับความสุข


:b42: การยอมรับความจริงไม่ได้ มันไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะเวลาเราเจอเรื่องร้ายๆ อย่างเดียว เวลาเราได้ของดีๆ แต่รู้สึกว่าได้น้อยกว่าคนอื่น แค่นี้ก็ทำให้ทุกข์แล้ว


:b42: ถ้ามีความยินดีพอใจในคำชม เวลาเจอคำตำหนิมันก็จะทุกข์ ยิ่งดีใจ พอใจ เมื่อได้นับคำชมมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทุกข์เวลาถูกตำหนิมากเท่านั้น คนที่หัวเราะเสียงดัง มักจะร้องไห้เสียงดังด้วย คนที่หัวเราะเบาๆ เวลาเจอเรื่องเศร้า มันก็จะร้องไห้เบาๆ เหมือนกัน


:b42: ความสุขเป็นสิทธิ์ของทุกคน ไม่ว่ารวยหรือจน หนุ่มหรือแก่ เจ้านายหรือลูกน้อง ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยหรือคนพิการ เพราะความสุขนั้นอยู่ที่ใจหรือมุมมอง มิได้อยู่ที่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเราหรือไม่


:b42: ถึงแม้จะได้โชคลาภหรือพบสิ่งดีๆ แต่ถ้าใจไม่รู้จักพอ กลับจะเป็นทุกข์ด้วยซ้ำ


:b42: ผู้มีปัญญาย่อมหาความสุขได้ท่ามกลางความทุกข์ แต่คนที่ไม่มีปัญญา คอยแต่จะมองหาความทุกข์ท่ามกลางความสุข คบใครก็เอาแต่บ่นว่า “ไม่ไหวๆ”...มันต้องไหวสิ ชีวิตนี้ถ้ามองว่าไหว ก็จะรู้สึกสบายขึ้น อย่าเป็นคนที่เอาแต่ไม่ไหวๆ ต้องไหว แล้วสุขก็จะอยู่ไม่ไกล


:b42: ความเป็นคนเก่ง กับความเป็นคนสู้งาน นั้นไม่จำเป็นต้องแยกกัน คนๆ หนึ่งสามารถมีภาพตัวตนทั้งสองอย่างควบคู่กันได้ แต่สำนึกดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้อันใด หรือมีอะไรมากระตุ้นให้สำนึกอันใดผุดขึ้นมาในจิตใจของเรา


:b42: แท้ที่จริงมนุษย์หาใช่ศัตรูของเราไม่ ความโกรธเกลียดต่างหากคือศัตรูที่แท้จริง


:b42: ความเห็นแก่ตัวเป็นตัวการสำคัญทำให้ผู้คนเป็นทุกข์ เมื่อต้องสูญเสียทรัพย์หรือพลัดพรากจากชื่อเสียง อำนาจ อีกทั้งยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความโลภอย่างไม่สิ้นสุด และเป็นแรงขับให้เกิดความโกรธเกลียดเมื่อไม่สมหวัง ทั้งความโลภและความโกรธเกลียดล้วนเป็นไฟเผาลนจิตใจ ดังนั้น ยิ่งเห็นแก่ตัวมากเท่าไร ก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น


:b42: “ลดความคาดหวังลงบ้าง” ลองถามตัวเองว่า แต่ละวันเราเสียเวลาและพลังงานไปกับการคร่ำครวญ หรือวิตกกังวลมากมายเพียงใด บางเรื่องเกิดขึ้นนานแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ ป่วยการที่จะนึกถึง ขณะที่บางเรื่องก็ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่เรากลับตีโพยตีพายไปล่วงหน้าแล้ว แม้แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ก็เถอะ ลองตั้งสติและมองให้รอบด้านอาจพบว่า มันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหนักหนาเลย เป็นแต่ไม่ตรงกับความคาดหวังของเราเท่านั้น ลองปล่อยวางความคาดหวังนั้น ก็จะพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เหลือบ่ากว่าแรง อีกทั้งอาจมีแง่ดีบางอย่างที่ไม่เคยนึกมาก่อนก็ได้ ที่สำคัญก็คือ อย่ามัวจดจ่อปักใจอยู่กับสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้น จนลืมว่าชีวิตนี้ยังมีสิ่งดีๆ อีกมากมายที่รอการชื่นชมจากเรา


(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2012, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: หากไม่ชอบใคร ก็อย่าเอาผู้นั้นเป็นครู หรือเลียนแบบการกระทำของเขา ถึงเขาจะด่าเราอย่างเสียๆ หายๆ นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่เราควรจะด่ากลับ ท่านอาจารย์พุทธทาสเตือนใจได้ดีมากเมื่อท่านพูดว่า

“หมาเห่า อย่าเห่าตอบ เพราะจะทำให้มีหมาเพิ่มอีกหนึ่งตัว”

ถึงจะไม่ชอบใคร ก็อย่าเหมารวมว่าเขาผิดหรือเลว และถึงแม้เขาจะทำผิด ก็อย่าลืมว่าเขาเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนเรา รวมทั้งมีสิทธิเสรีภาพบางอย่างที่เราไม่อาจละเมิดได้ เช่น สิทธิเสรีภาพในชีวิต เราจึงไม่ควรมองเขาเป็นปีศาจหรือตัวเลวร้ายที่เราจะทำอย่างไรกับเขาก็ได้ ความคิดว่า “คนผิดมีสิทธิเป็นศูนย์” ไม่เพียงเป็นอันตรายต่อผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง เพราะมันสามารถกัดกร่อนความเป็นมนุษย์ในตัวเรา ทำให้ความโกรธเกลียดครอบงำจิตใจ จนสามารถทำสิ่งเลวร้ายหรือสนับสนุนให้เกิดการกระทำอันเลวร้ายได้ ซึ่งในที่สุดย่อมนำไปสู่ความรุนแรงในสังคม


:b42: ใจที่ปฏิเสธความจริงก็ดี ใจที่กังวลอยู่กับอนาคต หรือว่าอาลัยในอดีตก็ดี หรือการเทียบเคียงกับคนอื่นก็ดี ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้เรายอมรับความจริงไม่ได้ แต่ถ้าเรามีสติรู้ทัน เห็นใจที่มันดิ้น เห็นใจที่มันบ่น เห็นใจที่มันโวยวาย ลองเปิดใจให้กว้างยอมรับมัน เราจะรู้เลยว่า ทุกข์ที่เราแบกเอาไว้จะเบาลงไปมากเลย


:b42: “สามมิติของชีวิต - ยาว กว้าง ลึก”...ผู้คนส่วนใหญ่มักอยากให้ชีวิตยืนยาว แต่ชีวิตมิใช่เส้นตรง หากยังมีมิติอื่นๆ ด้วย หากเปรียบชีวิตดังกระแสน้ำ ชีวิตก็ต้องมีอย่างน้อยสามมิติ คือ ยาว กว้าง และลึก ดังนั้น การมีอายุยืนยาวจึงไม่ช่วยให้ชีวิตสมบูรณ์ แต่จะต้องมีความกว้างด้วย นั่นคือ มีจิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ รู้สึกเชื่อมโยงกับสรรพชีวิต และรับผิดชอบส่วนรวม ชีวิตที่ยืนยาวแต่ใจแคบจิตเล็ก คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่อาทรเพื่อนมนุษย์ หรือไม่สนใจส่วนรวมเลย ย่อมเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ไม่ได้

แต่นอกเหนือจากความกว้างแล้ว ชีวิตที่ดีต้องมีความลึกด้วย นั่นคือมีความลุ่มลึกในจิตใจ สามารถหยั่งถึงความสุขภายใน รวมทั้งประจักษ์แจ้งถึงความจริงที่ลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ นั่นคือ ความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ความจริงดังกล่าวซุกซ่อนอยู่ในส่วนลึกที่สุดของมนุษย์ ที่ยากจะหยั่งถึงได้หากขาดการใคร่ครวญด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง โดยปราศจากอคติและด้วยใจที่เป็นกลางอย่างแท้จริง

ตราบใดที่มองไม่เห็นความจริงดังกล่าว เราก็จะถูกครอบงำด้วยความหลงและเกิดความสำคัญมั่นหมายในตัวตน หวงแหนในตัวตนและเห็นแก่ตัวเป็นอย่างยิ่ง ผลก็คือจิตใจคับแคบ ชีวิตตื้นเขิน แม้จะมีชีวิตยืนยาวแต่ก็หาประโยชน์มิได้ กลับสร้างปัญหามากมายให้แก่ทั้งตนเองและผู้อื่น


:b42: คนจำนวนมาก เวลาที่จมอยู่กับความทุกข์ ก็จะพยายามผลักไสความทุกข์ พยายามปิดใจไม่ยอมรับความทุกข์ ทั้งๆ ที่มีความสุขอยู่รอบตัวก็มองไม่เห็น ยิ่งผลักไสความทุกข์ จิตก็ยิ่งปิดกั้น ไม่พร้อมรับแม้กระทั่งความสุข


:b42: คนเราถ้าลองเปิดใจกว้าง ยอมรับสภาพความเป็นจริง เราจะพบเลยว่าชีวิตเบาลง


:b42: “ทำไม...ปฏิบัติธรรม แต่กลับยิ่งทุกข์” บางคนรักความสงบ เวลาทำสมาธิจนจิตสงบ ก็เป็นสุขอย่างมาก แต่พอความสงบหายไป ทำเท่าไรความสงบก็ไม่กลับมา จึงเป็นทุกข์อย่างมาก บางครั้งกลับกลุ้มใจยิ่งกว่าคนที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมด้วยซ้ำ ในทำนองเดียวกันบางคนเกลียดเสียงรบกวน พอได้ยินเสียงโทรศัพท์ดัง หรือเสียงคนคุยกันขณะนั่งสมาธิ จะรู้สึกหงุดหงิดมาก เพ่งโทษและพุ่งความโกรธไปที่เสียงเหล่านั้น ทั้งๆ ที่มันไม่ได้ดังอะไรเลย แท้จริงแล้วเสียงไม่เป็นปัญหา ความรู้สึกเกลียดเสียงต่างหากที่เป็นปัญหา

นี้ก็ไม่ต่างจากลิงที่เกลียดกะปิ หากกะปิเปื้อนมือมัน มันจะถูมือกับหินหรือเปลือกไม้จนเป็นแผลเลือดไหลซิบ ถามว่าอะไรทำให้ลิงมีแผล กะปิใช่ไหม เปล่าเลย ความเกลียดกะปิในใจลิงต่างหาก นักปฏิบัติธรรมจำนวนไม่น้อยมีความทุกข์เวลาเกิดความฟุ้งซ่านหรือความเครียด แท้จริงแล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความฟุ้งซ่านหรือความเครียด แต่อยู่ที่ความรู้สึกเกลียดที่มีต่ออาการเหล่านั้นต่างหาก ถ้าหากมองว่ามันเป็นธรรมดาของใจ หรือวางใจเป็นกลางต่ออาการเหล่านั้น ความทุกข์จะลดลงมาก ยิ่งผลักไสไล่ส่งมัน มันก็ยิ่งเป็นศัตรูกับเรา หาทางก่อกวนเราไม่เลิก แต่ทันทีที่ยอมรับมันหรือยิ้มรับมัน อย่างที่เราทำกับแขกผู้มาเยือน มันก็จะกลายมาเป็นมิตรกับเรา รบกวนเราน้อยลง และพร้อมจะจากไปในเวลาไม่นาน เหมือนอาคันตุกะที่รู้เวลาของตัวเอง


:b42: ชีวิตที่ดีคืออะไร ?...สมัยนี้มีคำตอบให้แล้วนะว่า ชีวิตที่ดีคือ มีงานดี มีเงินดี มีสุขภาพดี มีครอบครัวดี มีเพื่อนดี มีคู่ครองดี มีลูกดี ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยแห่งความสุขที่ผู้คนปรารถนากัน แต่ว่า…มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเลย มีงานดีแค่ไหน สักวันหนึ่งก็ต้องไม่มีงานทำ ต้องเกษียณเพราะแก่

คนที่เรารักไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูก หลาน สักวันหนึ่งก็ต้องตายจากเรา ถ้าพวกเขาไม่ตายจากเราก่อน เราก็ต้องตายก่อนเขา คนเราถ้ามุ่งเพียงมีชีวิตที่ดีอย่างที่ตั้งเป้าหมายกัน คือ เอาแต่ทำมาหากิน สนใจครอบครัว แต่ถ้าไม่สนใจทำความดี ไม่รักษาศีล ก็ไม่ทำให้เรามีความสุขอย่างยั่งยืนได้


:b42: “คำตำหนิติเตียน” ไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน แต่ก็ทำอะไรเราไม่ได้ หากเราไม่เก็บเอามาคิดซ้ำคิดซาก คำพูดเหล่านั้นผ่านพ้นไปนานแล้ว แต่ที่ยังบาดใจเราอยู่ก็เพราะเราไม่ยอมปล่อยวางมันต่างหาก ยิ่งคิดคำนึงถึงมันมากเท่าไรก็ยิ่งซ้ำเติมตัวเองมากเท่านั้น


:b42: สุขหรือทุกข์ของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับ “ใจ” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา ที่จริงแล้วเหตุเภทภัยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ทรัพย์สมบัติ คนรัก ไม่ได้ทำให้เราทุกข์มากเท่ากับใจที่วางไว้ผิด หากวางใจถูกแม้เจอเหตุร้าย ก็ยังมีความสุขได้


:b42: มีหลายช่วงในชีวิตของเราที่รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง หรือมีปัญหากลัดกลุ้มใจ ในยามนั้นแหละที่เราจะเห็นคุณค่าของการรักตัวเอง และมีตัวเองเป็นมิตร แต่ถ้าเราไม่รู้จักทำใจให้เป็นมิตรกับตัวเอง ไม่สามารถอยู่กับตัวเองอย่างสงบสันติได้ เราก็คิดแต่จะหนีตัวเอง ซึ่งก็หนีไปได้ชั่วคราวเท่านั้นแหละ ถึงที่สุดแล้วคนเราต้องเผชิญหน้ากับตัวเราเอง


:b42: เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน ทุกกิจกรรมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สามารถเติมความสุขให้แก่จิตใจได้ หากเราใช้กิจกรรมดังกล่าวเป็นการฝึกฝนทางจิตวิญญาณไปพร้อมๆ กัน อาทิ เป็นเครื่องฝึกสติ หรือเตือนใจให้ใฝ่ในการทำความดี มีเมตตาต่อสรรพชีวิต สติและความคิดที่เป็นกุศลนั้นนอกจากก่อให้เกิดความโปร่งเบาเย็นใจแล้ว ยังปิดช่องไม่ให้ความหลงมาครอบงำใจ อีกทั้งยังตัดหน้ามิให้กิเลสตัณหามาชักนำจิตไปสู่ความทุกข์


:b42: สันติสุขเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องหลีกลี้หนีโลกหรือปลีกตัวจากผู้คน ชีวิตประจำวันสามารถนำมาซึ่งความสงบเย็นในจิตใจได้ ขอเพียงแต่เราวางใจให้ถูกต้อง ไม่พลัดเข้าสู่ความหลงตามความเคยชิน


:b42: สันติสุขสามารถเกิดขึ้นกับเราทุกลมหายใจ แต่เรามักปล่อยให้โอกาสดังกล่าวหลุดลอยไป เพราะลืมตัวปล่อยใจให้ติดข้องค้างคาอยู่กับเรื่องราวในอดีต หาไม่ก็ลอยคว้างไปหมกมุ่นปรุงแต่งอยู่กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่ได้กลับมา คือ ความเศร้าสร้อย อาลัยอาวรณ์ ร้อนรน วิตกกังวล หรือหนักอกหนักใจ แท้จริงแล้วเพียงแค่มีสติ รู้ตัว ตื่นเต็ม อยู่กับกิจที่กำลังทำ หรือน้อมจิตอยู่ในปัจจุบันขณะ ก็จะพบกับความสุข โปร่งโล่ง เบาสบาย และผ่อนคลาย


:b42: บางครั้งการที่เราปักใจใฝ่ฝันอยู่กับจุดหมายที่สวยงาม ก็ทำให้ใจเราปิดไม่รับรู้ความสุขที่มีอยู่กับตัว


:b42: ลองถามตัวเองว่า แต่ละวันเราเสียเวลาและพลังงานไปกับการคร่ำครวญ หรือวิตกกังวลมากมายเพียงใด บางเรื่องเกิดขึ้นนานแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ ป่วยการที่จะนึกถึง ขณะที่บางเรื่องก็ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ แต่เรากลับตีโพยตีพายไปล่วงหน้าแล้ว...แม้แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ก็เถอะ ลองตั้งสติและมองให้รอบด้านอาจพบว่า มันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายหนักหนาเลย เป็นแต่ไม่ตรงกับความคาดหวังของเราเท่านั้น ลองปล่อยวางความคาดหวังนั้น ก็จะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เหลือบ่ากว่าแรง อีกทั้งอาจมีแง่ดีบางอย่างที่ไม่เคยนึกมาก่อนก็ได้ ที่สำคัญก็คือ อย่ามัวจดจ่อปักใจอยู่กับสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้น จนลืมว่าชีวิตนี้ยังมีสิ่งดีๆ อีกมากมายที่รอการชื่นชมจากเรา


:b42: ลองลดความคาดหวังดูบ้าง ยอมรับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น คุณจะพบว่าจิตนิ่งขึ้น และดิ้นน้อยลง จะว่าไปแล้วความทุกข์นั้นมิได้มาจากไหน แต่มาจากใจที่ดิ้นรนขัดขืนเพราะไม่ยอมรับความจริงนั่นเอง


:b42: จะว่าไปแล้วธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ งดงาม และหลากหลายได้ ก็เพราะทุกชีวิตล้วนเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ในเวลาเดียวกัน คนที่เอาเข้าตัวอย่างเดียว ย่อมหาความสุขได้ยาก เพราะจิตที่คิดแต่จะรับไม่รู้จักคำว่าพอ ดังนั้น ถึงแม้จะได้มามากมายเพียงใด ก็ยังไม่มีความสุข


:b42: ความเครียด คือ มิตร...ความเครียดเตือนเราให้คืนสู่ดุลยภาพ ถ้าเรากินมากไป ความอึดอัดจะเตือนให้เราหยุด ถ้าไม่หยุด ผลร้ายจะเกิดขึ้นตามมา ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราหาเรื่องมาใส่สมองจนแน่นไปหมด มิตรที่จะเตือนเราให้รู้จักเพลาเสียบ้างก็คือความเครียดนี้เอง ถ้าเราสดับตรับฟัง “เสียง” ของความเครียดเสียบ้าง ชีวิตจิตใจก็จะน้อมสู่ทางสายกลางได้มากขึ้น เป็นเพราะเราเห็นความเครียดเป็นศัตรู จึงมัวแต่วิตกกังวลกับมันเลยไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ มิหนำซ้ำบางทีก็หาทางสยบมันด้วยยาสารพัดชนิด โดยยังใช้ชีวิตและปล่อยจิตใจให้เสียศูนย์ไปตามเดิม ผลก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างถามหา โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคกระเพาะ หรืออาจรวมถึงโรคมะเร็ง ไม่ต้องพูดถึงโรคประสาทซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ของคนสมัยนี้ไปแล้ว


:b42: อย่ายึดมั่นว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ไม่ว่า “เป็น” อะไรก็ตามย่อมทุกข์ได้ทั้งนั้น เพราะว่าเรามักจะเป็นกันไม่ถูก นั่นคือไป “ยึด” ความเป็นนั่นเป็นนี่เอาไว้ ทั้งๆ ที่มันเป็นแค่ “สมมุติ”...เด็กนักเรียนที่สอบได้ที่ ๑ จากโรงเรียนในชนบท อาจจะคิดว่าตัวเองเก่ง แต่ที่จริงมันเป็นแค่สมมุติที่หาความแน่นอนไม่ได้ เพราะพอไปเรียนในกรุงเทพฯ กลับสอบได้อันดับท้ายๆ แต่ถ้าหากว่าเรารู้ทันว่าความเป็นคนเก่งนั้นเป็นเรื่องสมมุติ เราก็พร้อมที่จะปล่อยวางได้ และไม่ไปเป็นทุกข์กับมันยามมันเสื่อมสลายไป หรือในยามที่คนอื่นเขาไม่รับรู้สมมุติเหล่านั้น


:b42: การมีสิ่งที่น่าพึงพอใจคือสาเหตุแห่งทุกข์ เพราะเมื่อได้มาแล้วก็ต้องมีจากพรากเป็นธรรมดาของโลก ถ้าไปยึดในความมีหรือยึดติดถือมั่นในสิ่งที่มีแล้วก็เตรียมใจทุกข์ได้เลย มีอะไรก็ตามถ้าไม่อยากทุกข์ ก็อย่าไปยึดมั่นในสิ่งนั้น คือมีโดยใจไม่ได้เข้าไปยึดครอง พูดอีกอย่างหนึ่ง ให้เรา “มีเหมือนกับไม่มี”


:b42: สิ่งที่น่าพอใจ คือ สิ่งที่เราต้องระวัง เพราะมันทำให้เราประมาท เวลาเรามีความทุกข์ มันมีความพยายามโดยธรรมชาติอยู่แล้วที่จะพยายามหลุดพ้นออกจากสิ่งนั้น แต่เวลามีความสุขใจมันจะเข้าไปคลอเคลีย เข้าไปยึด เข้าไปหลง ทำให้เกิดความประมาทขึ้น ของเหล่านี้เป็นของชั่วคราว ถ้าเราหลงมันมันก็ทุกข์


:b42: มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็น “ผู้รับ” เท่านั้น หากยังเป็น “ผู้ให้” ด้วย เช่นเดียวกับต้นไม้ซึ่งไม่เพียงดูดน้ำและอาหารจากดินเท่านั้น หากยังคายน้ำและทิ้งกิ่งใบให้เป็นปุ๋ยกลับคืนสู่ผืนดิน อีกทั้งยังให้ร่มเงาและอาหารแก่สรรพสัตว์ ชีวิตที่เอาแต่รับฝ่ายเดียวเป็นชีวิตที่ไร้สมดุล ขาดสุขและดำรงอยู่ได้ยาก


:b42: “ความประมาท” นี่แหละ มันทำให้เรามักจะดูแคลนสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ไปมองว่ามันจิ๊บจ๊อย ความประมาททำให้เราหลงเพลินกับความสุขในวันนี้ และไปดูแคลนความทุกข์ในวันข้างหน้าว่าไม่มีอะไร

คนมักจะพูดว่าเรื่องตายเรื่องเล็ก หรือบางคนก็บอกว่าเรื่องตายเป็นเรื่องไกลตัว คนที่พูดอย่างนี้แสดงว่าเขาประมาท หลายคนพอจะเจอความตายก็ทำใจไม่ได้ แต่ตอนที่ความตายยังอยู่ไกลก็มองว่าเป็นเรื่องเล็ก คิดว่าถึงวันนั้นค่อยว่ากันอีกที อย่างนี้แหละที่เรียกว่าประมาท เขามองว่าตัวเองมีความสุขในวันนี้ มันก็เพลินไป


:b42: หากพอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้ และภูมิใจในสิ่งที่เป็น ก็จะแย้มยิ้มเบิกบานได้ตลอดเวลา


:b42: การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เป็นหลักประกันแห่งความสุขของตัวเราเอง


:b42: เหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวในอดีตที่ไม่อาจแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ การครุ่นคิดถึงมันเพียงเพราะใจอยากคิดนั้น ย่อมไม่มีประโยชน์อะไร กลับจะเป็นโทษด้วยซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าต้องการทบทวนเพื่อสรุปหาบทเรียน หรือทำความเข้าใจกับมันให้ถ่องแท้ (แม้กระนั้นก็ต้องระวังไม่ให้ตกลงหลุมอารมณ์โดยไม่รู้ตัว)


:b42: ตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราทุกข์อย่างยิ่งนั้น อยู่ที่ใจที่ปล่อยวางไม่เป็น หาได้อยู่ที่คนอื่นหรือเหตุการณ์ภายนอกไม่ แม้จะมีอะไรมากระทบอย่างแรง แต่ถ้าใจรู้จักปล่อยวาง มันก็ทำอะไรเราไม่ได้


:b42: การดำเนินชีวิตไม่ต่างจากการเดินทาง บางครั้งก็ต้องเจอทั้งแดดและฝน หากหนีไม่พ้นหรือไม่มีอะไรบัง การเดินสู้อดสู้ฝนด้วยใจสงบ หรือยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการเดินไปบ่นไป

จะว่าไปแล้วแดดหรือฝนทำความทุกข์ให้เราน้อยกว่าใจที่หงุดหงิดหรือก่นด่าฟ้าดินเสียอีก ในเมื่อไหนๆ ร่างกายก็ต้องร้อนหรือเปียกอยู่แล้ว จะไปเพิ่มความทุกข์ให้จิตใจทำไม ชีวิตที่มีความสุขจึงไม่ใช่ชีวิตที่ปราศจากทุกข์ แต่คือชีวิตที่รู้จักเกี่ยวข้องกับความทุกข์อย่างถูกต้อง


:b42: ไม่ว่าอารมณ์จะหมักหมมเรื้อรังเพียงใด ก็ไม่เกินวิสัยที่จะปล่อยไปจากใจ ขอเพียงมีสติระลึกรู้ทันว่ากำลังหลงยึดมันอยู่ อย่าลืมว่ามันค้างคาในใจเราได้ เพราะใจเรานั่นแหละที่ไปยึดมันเอาไว้ไม่ยอมปล่อย ทันทีที่ใจปล่อย มันก็หลุด แต่เผลอเมื่อไร ใจก็อาจไปยึดมันเอาไว้อีก ถ้าจะไม่ให้เผลอ ก็ต้องมีสติระลึกรู้อยู่เสมอ สติจึงมีความสำคัญอย่างมากในการปลดเปลื้องอารมณ์เหล่านี้


:b8: :b8: :b8: ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล
fb. พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

https://www.facebook.com/visalo


:b44: = รวมคำสอน “พระไพศาล วิสาโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=42477

:b44: = ประวัติและปฏิปทา “พระไพศาล วิสาโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22853

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร