วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2011, 14:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ทำไม มหาอุบาสิกาวิสาขา จึงบรรลุธรรมเมื่ออายุ 7 ขวบ

ประวัติในอดีตชาติ คือ
- ท่านเป็นพระราชธิดาของมหากษัตริย์
- ยุคที่ท่านเกิด คนมีอายุ 20,000 ปี
- เมื่อท่านมีความสะดวกสบายเพียบพร้อมแล้ว ท่านจึงใช้โอกาสสิขาธรรม
ทั้งพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
(พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะสอนเหมือนกันหมด
คือทำให้ปุถุชนที่ฟังธรรมบรรลุเป็นพระอริยบุคคล จึงไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน)
ตลอดอายุของท่านโดยมิได้แต่งงาน
- เมื่อได้กาลเวลา ท่านก็จุติไปเป็นเทพธิดาอยู่บนสวรรค์

- เมื่อถึงสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สมนโคดม
ได้ลงมาเกิดเป็นมหาอุบาสิกาวิสาขา เพียงอายุ 7 ขวบ ได้ฟังธรรมก็บรรลุพระโสดาบัน


นั่นคือ ทุกคนต้องมีที่มาที่ไป เราจึงต้องศึกษาค้นคว้าให้ตลอดว่า
ทำไมท่านจึงบรรลุธรรมไว ทำไมท่านจึงมีดวงตาเห็นธรรมไว
ก็คือข้อธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในพระสูตรนั้น
ให้ค้นคว้าต่อไป สมกับธรรมที่จะมีรองรับ คือ

1. ทานมัย
2. สีลมัย
3. ภาวนามัย
4. อปจายนมัย
5. ไวยาวัจจมัย
6. ปัตติทานมัย
7. ปัตตานุโมทนามัย
8. ธัมมัสสวนมัย
9. ธัมมเทสนามัย
10. ทิฏฐุชุกัมม

จะเห็นว่าธรรมข้อที่เราต้องศึกษาอยู่ตลอด คือ
- ธัมมัสสวนมัย
- ธัมมเทสนามัย
- ทิฏฐชุกัมม
หมายถึง ทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามหลักธรรม
คำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์
คือต้องรู้ทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
ถ้าไม่มีพระอภิธรรม เราก็จะไม่รู้เรื่องของพระวินัยและพระสูตร
เช่น ไม่รู้ว่า ทานเกิดจากอะไร ทำไมจึงเกิด เกิดอย่างไร อะไรสั่งให้เกิด เป็นต้น

ถ้าเราไม่ศึกษา เมื่อเห็น “ธัมมัสสวนมัย” ก็ไปเปิดคำแปลว่า
“บุญเกิดจากการฟังธรรม” เท่านั้นเอง โดยไม่รู้ว่า “ธัมมัสสวนมัย” คืออะไร

เนื่องจากเวลาฟังธรรม ต้องมีการรับฟัง หรือ สวน (สะ วะ นะ)
โดยจะมีการเห็นทางตาด้วยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้หมดแล้วว่า
“สวน” มาอย่างไร ทำไมจึงฟังรู้เรื่อง ฉะนั้น “ธัมมัสสวนมัย” ก็คือต้องฟังธรรม
พระพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง และไม่ว่าจะไปฟังธรรมหรือที่เรียกว่าไปปฏิบัติธรรมกับใคร
จากที่ใดก็ตาม ก็ต้องกลับมาเทียบเคียงว่าตรงกับธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหรือไม่
หรือเป็นการปฏิบัติธรรมหรือไม่

“ธัมมเทสนามัย” แปลว่า “บุญเกิดจากการบอกธรรม” เท่านั้นเอง
โดยไม่รู้ว่า “ธัมมเทสนามัย” ก็คือ ต้องสิขาธรรมอย่างต่อเนื่องลุ่มลึกไปเรื่อยทั้ง
84,000 พระธรรมขันธ์ ต้องนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาเทสนา ใส่ไว้ในจิตของเรา
แล้วจิตเขาก็จะ “คมน” (คะ มะ นะ) กันเอง ระหว่างจิตสู่จิต


ถ้าไปปฏิบัติธรรม แล้วเราเข้าใจว่านี่เป็นแนวปฏิบัติที่เป็น “ธัมมัสสวนมัย”
ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ เพราะไม่ได้เทียบเคียงกับคำสอนของพระพุทธองค์ว่า พระพุทธองค์สอนอะไร
แต่จิตเขาทราบ เขาก็จะนำไปเก็บที่ โลภะ โทสะ โมหะ ตามที่ควรเป็น
ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้สึกว่าสงบเบิกบาน ผ่องใสดี
คือไปอยู่ที่โลภะ แล้วไปอ่านพระไตรปิฏก อะไรที่ถูกใจจิตเขาก็ใส่ที่เดียวกัน
หรือ ใกล้ ๆ กัน นั่นคือเป็นการ “คมน” กันระหว่าง
“ธัมมัสสวนมัย” กับ “ธัมมเทสนามัย” ที่รู้ผิด คือเป็น
อธัมมัสสวนมัย กับ อธัมมเทสนามัย เลยทำเช่นนั้นตั้งแต่ต้นจนตาย

ฉะนั้น ในชาตินี้ แม้ได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว
หรือทราบเรื่องจิตที่ถูกต้องอย่างเดียว ก็เป็นกำไรอันสูงค่า


:b42: :b41: :b41: :b41: :b42:


ตัดมาบางส่วนจาก
หนังสือ โสตถิธรรม (๒๐)
“เราสอนปฏิบัติสมาธิ-มหาสิตปัฏฐาน ถูกต้องตามพระพุทธพจน์จริงหรือ ?”
ชมรมสิกขาและปฏิบัติธรรม สโมสรกระทรวงอุตสาหกรรม


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 12 ธ.ค. 2011, 16:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2011, 15:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


"“ธัมมเทสนามัย” แปลว่า “บุญเกิดจากการบอกธรรม” เท่านั้นเอง
โดยไม่รู้ว่า “ธัมมเทสนามัย” ก็คือ ต้องสิขาธรรมอย่างต่อเนื่องลุ่มลึกไปเรื่อยทั้ง
84,000 พระธรรมขันธ์ ต้องนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาเทสนา ใส่ไว้ในจิตของเรา
แล้วจิตเขาก็จะ “คมน” (คะ มะ นะ) กันเอง ระหว่างจิตสู่จิต

ถ้าไปปฏิบัติธรรม แล้วเราเข้าใจว่านี่เป็นแนวปฏิบัติที่เป็น “ธัมมัสสวนมัย”ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่
เพราะไม่ได้เทียบเคียงกับคำสอนของพระพุทธองค์ว่า พระพุทธองค์สอนอะไร
แต่จิตเขาทราบ เขาก็จะนำไปเก็บที่ โลภะ โทสะ โมหะ ตามที่ควรเป็น
ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้สึกว่าสงบเบิกบาน ผ่องใสดี
คือไปอยู่ที่โลภะ แล้วไปอ่านพระไตรปิฏก อะไรที่ถูกใจจิตเขาก็ใส่ที่เดียวกัน
หรือ ใกล้ ๆ กัน นั่นคือเป็นการ “คมน” กันระหว่าง
“ธัมมัสสวนมัย” กับ “ธัมมเทสนามัย” ที่รู้ผิด คือเป็น
อธัมมัสสวนมัย กับ อธัมมเทสนามัย เลยทำเช่นนั้นตั้งแต่ต้นจนตาย"

:b1:

"เราเข้าใจ"
แต่
"จิตเขาทราบ"

เราทำงานตรงความคิด ความเข้าใจ
แต่จิตเขาทำงานตรงต่อสัจจะ


:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2011, 16:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

กราบขอบพระคุณ

:b42: :b41: :b41: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาโลก/ภาษาธรรม

ภาษาโลก คือ ภาษาปุถุชน
เป็นภาษาที่ใช้เพื่อสื่อความหมาย
ระหว่างบุคคลใน 26 ภูมิ
(อบายภูมิ 4 มนุษย์ 1 เทวดา 6 พรหม 15
มีใช้มาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้
- สัญญา 3 กามสัญญา โคจรสัญญา มรณสัญญา
- อบายภูมิ 4

ภาษาธรรม คือ ภาษาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้ายืมมาจากภาษาโลก
ใช้เทสนาธรรมหลังตรัสรู้
เป็นเหตุให้ผู้สดับธรรม บรรลุซึ่ง
มัคค 4 ผล 4 พระนิพพาน 1
จะนับจะประมาณมิได้
- ธัมมสัญญา


:b48: :b49: :b49: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ภาษาโลก- ปุถุชน
สติ แปลว่า ระลึก ระลึกได้ ระลึกชอบ
แม้ในพจนานุกรมฉบับพุทธศาสน์ ก็แปลทำนองนี้
ดังนั้น ถ้ารู้เพียงคำแปลก็อยู่ได้แค่ “ปุถุชน” เช่น
เรียนหนังสือ ต้องมี สติ
นั่ง ต้องมี สติ
เดิน ต้องมี สติ
กิน ต้องมี สติ
เล่นกีฬา ต้องมี สติ
เล่นไพ่ ต้องมี สติ


:b55: :b54: :b54: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ภาษาธรรม เป็น พุทธพจน์ (เป็นผลให้”ผู้รู้ตาม”บรรลุพระอรหันต์ได้)

1 “สติ”
-เป็นเจตสิก
-เจตสิก มี 52 ประกอบด้วย
อัญญสมานาเจตสิก 13
อกุศลเจตสิก 14
โสภณเจตสิก 25

โสภณเจตสิก 25 ประกอบด้วย
โสภณสาธารณเจตสิก 19
วีรตีเจตสิก 3
อัปปัญญาเจตสิก 2
ปัญญิณทรียเจตสิก 1

-อยู่ในโสภณเจตสิก คือทำงานกับจิตที่เป็นกุศลอย่างเดียว
(ไม่สามารถทำงานกับอกุศลจิตได้)

-อยู่ในลำดังที่ 2 ของโสภณสาธารณเจตสิก 19 ที่ประกอบด้วย
1 สัทธาเจตสิก
2 สติเจตสิก
3 หิริเจตสิก
4 โอตตัปปเจตสิก
5 อโลภเจตสิก
6 อโทสเจตสิก
7 ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก
8 กายปัสสัทธิเจตสิก
9 จิตตปัสสัทธิเจตสิก
10 กายลหุตาเจตสิก
11 จิตตลหุตาเจตสิก
12 กายมุทุตาเจตสิก
13 จิตตมุทุตาเจตสิก
14 กายกัมมัญญตาเจตสิก
15 จิตตกัมมัญญตาเจตสิก
16กายปาคุณณตาเจตสิก
17 จิตตปาคุญญตาเจตสิก
18 กายชุกตาเจตสิก
19 จิตตุชุกตาเจตสิก

- เข้าได้กับกุศลจิต 91 ได้แก่
กามาวจรโสภณจิต 24
รูปาวจรจิต 15 = ฌานจิต 1-5
อรูปาวจรจิต 12 = ฌานจิต 6-9 หรือ อรูปฌานจิต 1-4
โลกุตตรจิต 40 = มัคคจิต 20 และ ผลจิต 20

- มีการทำงานกับกุศลจิต 91 อย่างไร
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจึงไปดูความหมายของ “สติเจตสิก” ว่า
“สติ ภาษาโลก หรือ ภาษาปุถุชน” แปลว่าอะไร
แล้วจากนี้ไม่ต้องแปลแล้ว
คือแปลมาเพื่อเป็นบรรทัดฐานที่เป็นภาษาไทย
เพื่อกลับไปสู่ภาษาที่ใช้มาก่อน จากนั้นจึง
“ดึงภาษาที่ใช้มาก่อนไปเป็น ภาษาธรรม”


จะเห็นว่า สติที่เป็นภาษาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เข้าได้กับมหากุศล ฌาน จนถึงพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระ
โสดาบันจนถึง พระอรหันต์ เท่านั้น



:b53: :b51: :b51: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์

อารมณ์ภาษาปุถุชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น
โกรธ หงุดหงิด สบายใจ เศร้า ร่าเริง สดชื่น ฟุ้งซ่าน อารมณ์ดี ฯลฯ
อารมณ์ภาษาอาจารย์ แปลจากภาษามคธมาเป็นภาษาไทย
เครื่องยึดหน่วงของจิต สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ได้


:b38: :b39: :b39: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ ภาษาธรรม

อารมณ์ 6
รูปารมณ์
สัททารมณ์
คันธารมณ์
รสารมณ์
โผฏฐัพพารมณ์
(ปัญจารมณ์ 5)
ธัมมารมณ์
(มโนรมณ์ 1)
ฌานและ มัคค ผล นิพพาน

คือ สิ่งที่มาทำงานกับจิต เจตสิก
ฉะนั้น สิ่งทั้งหมดทั้งที่เห็นด้วยตาและไม่เห็นด้วยตา เรียกว่า
อารมณ์ ทั้งสิ้น เช่น


ถ้าเป็นการกระทบที่จิต เรียก ธัมมารมณ์ ประกอบด้วย
จิต 121
เจตสิก 52
ปสาทรูป 5
สุขุมรูป 19
บัญญัติ 1
นิพพาน 1
ฉะนั้นในการสอบอารมณ์
อารมณ์นั้นก็คือ “ธัมมารมณ์” นั่นเอง
แสดงว่าผู้นั้นรู้ทุกอารมณ์หมดแล้วในทั้งจิต
(ได้ตัดออกบางส่วน)

นั่นคือ อารมณ์ในภาษาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีอีกมากมาย
แต่ในที่นี้ยกมาพอเป็นตัวอย่างว่า
ไม่ใช่อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เอา
“อารมณ์ในภาษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
มาใช้เป็น “อารมณ์ในภาษาปุถุชน”
เราไปปฏิบัติด้วยเราก็กลายเป็น “ปุถุชน” เราก็เลยโชคร้าย

นั่นคือ เราต้องสิกขาธรรม เพื่อพัฒนาจิตของเราต่อไป
อารมณ์ที่เราสิกขา เช่น อารมณ์ 6 ตามพุทธธรรมคำสอน
ก็จะเข้าไปในจิตของเรา พระพุทธองค์ก็จะทรงสอนไปเรื่อย ๆ
ก็จะพัฒนาจิตของเราไป เรื่อย ๆ (ถ้ารู้ถูกเข้าใจถูก)


ที่เรากำลังสิกขานี้ ต้องสิกขาถึง “อารมณ์” ที่เราเข้าใจ
ซึ่งเป็น “อารมณ์ในภาษาปุถุชน” ทำอย่างไรจึงจะให้เป็น
“อารมณ์ในภาษาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า”เหมือนเดิม
นั่นคือ การสอนหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เขาสอนกันไว้ผิด
ต้องนำกลับไปสู่ความเข้าใจถูกในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไป


:b47: :b46: :b46: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ภาษาปุถุชน (อบายภูมิ)

แปลว่า รอบรู้ในกองสังขาร ผู้รู้รอบ ฉลาด มักใช้กันทั่วไปดังนี้
-เรียนหนังสือต้องมีปัญญา
-จะทำการงานใด ๆ ต้องมีปัญญา
-จะรักษาสีลต้องมีปัญญา
-จะทำบุญต้องมีปัญญา
-จะประกอบอาชีพใด ๆ ก็ต้องมีปัญญา เป็นต้น


:b50: :b51: :b51: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ภาษาธรรม (เป็นผลให้ “ผู้รู้ตาม” บรรลุพระอรหันต์ได้)

ปัญญา
-เป็นเจตสิก
-เจตสิกมี 52 ประเภท ที่จะทำให้คน วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง
-เจตสิก แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
อัญญาสมานาเจตสิก 13
อกุศลเจตสิก 14
โสภณเจตสิก 25

เนื่องจาก อัญญาสมานาเจตสิก เป็นตัวกลางเข้าได้ทั้งกับอกุศลจิต
และ กุศลจิต
แต่ อกุศลเจตสิก เข้าได้กับ อกุศลจิตเท่านั้น
โสภณเจตสิก เข้าได้เฉพาะกับ กุศลจิต
อัญญาสมานาเจตสิก จึงเป็นตัวที่มีความสำคัญ
ทำให้วิวัฒนาการของเราเปลี่ยนแปลง ทำให้เราเข้าใจผิด
เพราะเราเอา “จิตที่เป็นปุถุชน” ซึ่งทำงานได้กับ
อัญญาสมานาเจตสิก มาสอน

นั่นคือ ที่เขาสอนกันทั่วไปเป็นเพียงนำเอา “สัญญาเจตสิก”
ซึ่งเป็น อัญญาสมานาเจตสิก” ที่ไม่รู้วิถีธรรมที่จะดำเนินต่อไปอย่างไร
ให้ตรงตามหลักธรรมพระพุทธองค์ จึงอยู่เพียงคำแปล
แล้วลงความเห็นด้วยการเดาของตนเอง

-ปัญญาเป็นโสภณเจตสิกตัวที่ 25

-โสภณเจตสิก 25 แบ่งเป็น
โสภณสาธารณเจตสิก 19
วิรตีเจตสิก 19
อัปปมัญญาเจตสิก 2
ปัญญินทรียเจตสิก 1

-ปัญญินทรีย์ = ปัญญา + อินทรีย์ (เป็นใหญ่)
(เป็นใหญ่ในการตัดกิเลส โดยตัวที่จะไปตัดกิเลสได้คือ “ปัญญาเจตสิก”
(ได้ตัดออกบางส่วน)

เมื่อใดที่สมารถแยก “ปัญญาในภาษาปุถุชน” และ “ปัญญาในพุทธพจน์” ออก
และยอมรับว่าที่รู้อยู่ทุกวันนี้ เป็น “ปัญญาในภาษาปุถุชน”
เมื่อนั้น จึงจะเข้าใจพระพุทธศาสนา
(ต่อไปเป็นการแสดงรายละเอียด จิต 121 - ไม่ได้ทำการคัดลอกมา
ถ้าต้องการรู้รายละเอียด ไปหาอ่านเพิ่มเติมเอง นะจ๊ะ :b4: )

ปัญญาเจตสิก ทำงานกับจิต 79 คือ
1 กามาวจรโสภณจิต 12
มหากุศลจิต 4
มหาวิปากจิต 4
มหากิริยาจิต 4
(เฉพาะที่เป็น ญาณสัมปยุต)

นั่นคือ ปัญญาเจตสิก ไม่ทำงานกับกาย วาจา
เพราะการที่จะทำงานไปสู่สมถะและวิปัสสนา
จะมีมหากุศลจิตเพียง 4 ดวง ที่จะนำไปสู่ฌานได้คือ
-โสมนัส ญาณสัมปยุต มหากุศลจิต 2
อุเปกขา ญาณสัมปยุต มหากุศลจิต 2
(ได้ตัดออกบางส่วน)


:b55: :b54: :b54: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 18:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวธรรม ภาษาปุถุชน
แปล่ว่า รู้ สภาพรู้ ผู้รู้ ผู้เข้าใจ


วัตถุธรรม ภาษาปุถุชน
หมายถึง สิ่งของ


สภาวธรรม ภาษาธรรม
ต้องนึกถึงจิต 1
ที่ไปทำงานกับ เจตสิก 52
รวมเป็น 53
มีการทำงานอยู่ภายในก่อให้เกิด สภาวธรรม 6 ได้แก่
เวทนาสภาวธรรม
เหตุสภาวธรรม
กิจสภาวธรรม
ทวารสภาวธรรม
อารมณสภาวธรรม
วัตถุสภาวธรรม


วัตถุธรรม ภาษาธรรม
วัตถุ 6
- จักขุวัตถุ ตั้งอยู่ที่ จักขุปสาทรูป ที่เป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณ
ซึ่งประกอบด้วย จักขปสาทรูป จักขุวัตถุ จักขุฐาน จักขุกิจ
จักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณขันธ์ และจักขุวิญญาณ ตามลำดับ
-โสตวัตถุ - ฆานวัตถุ –ชิวหาวัตถุ – กายวัตถุ –หทยวัตถุ
วัตถุธรรมมี 72 ประกอบด้วย
จิต 1
เจตสิก 52
นิปผันนรูป 18
นิพพาน 1
รวม 72


ตัวอย่าง “อัมพะในภาษาปุถุชน” แปลว่า ต้นมะม่วง
เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัส “อัมพะ” ก็เป็น “อัมพะพระพุทธพจน์”
ผู้ฟังที่รออยู่แล้วก็เป็นพระโสดาบัน เพราะผู้ฟังธรรม เข้ารู้จัก “อัมพะ”
ว่าหมายถึง ต้นมะม่วงอยู่แล้ว แต่เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัส
จิตของผู้ฟังที่คอยอยู่แล้ว พร้อมอยู่แล้ว ขอให้พระพุทธองค์ทรงตรัสเท่านั้น
จิตเขาจะรู้ทันที่ว่านี่คือ “อัมพะพระพุทธพจน์” “อัมพะ”ต้องเป็นพระอริยบุคคลได้
จิตก็ย้าย “อัมพะ”ของเขา เข้าสู่จิตของพระพุทธองค์ ที่เขาเคยสิกขาสะสมมาทั้งหมด
ตั้งแต่อดีต ในที่สุดก็บรรลุธรรม

ท่านที่ฟังพระพุทธองค์ตรัสว่า “อัมพะ” แล้วบรรลุธรรม แสดงว่า
ฟังโดย “วัตถุธรรม 72” เพราะถ้าเป็น “สภาวธรรม 53” มีการทำงานเพียงจิต
เจตสิก เป็นเรื่องภายในจิต
แต่นี่มีการฟัง ก็คือ ต้องมีจิต 1
เจตสิก 52 (มีปัญญาเจตสิกอยู่ด้วย) นิปผันนรูป 18 และนิพพาน 1


ดังที่กล่าวโดยสังเขปข้างต้น ถ้าเราไม่เคยสิกขาพระพุทธธรรมคำสั่งสอน
ของพระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้

จะเห็นว่า การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้อง ยืน เดิน นั่ง หรือ นอน
แต่ทำได้หมด คือเมื่อมี นิปผันนรูป 18 อยู่
ต้องใช้นิปผันนรูป 18 ให้เป็นประโยชน์กับหลักธรรมคำสอน

ถ้าไปยึดมั่นว่า ต้องทำอย่างไร ก็เป็น”อุปทาน”
ฉะนั้น ไม่ว่าพระพุทธองค์จะทรงทำอะไรก็ตาม
แม้การยกพระหัตถ์ ก็เป็น ภาษาพูด เพราะสั่งโดยจิต
ผู้ดูจึงเป็นพระโสดาบันได้
(ได้ตัดออกบางส่วน)

ที่สอนกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นการดึงธรรมพระพุทธองค์ไปสู่ภาษาปุถุชน
อย่างที่เรียกว่าภาษามคธกัน ต้องเรียนเพื่อรู้
รู้แล้วไม่ใช่อยู่แค่นั้น แต่ต้องทำมคธให้กลับเป็นพุทธพจน์เหมือนเดิม


:b41: :b44: :b44: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 13 ธ.ค. 2011, 20:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ต่อทุก ๆ ท่านที่ได้เข้ามาติดตามอ่าน
เนื่องจาก เอกอนพิมพ์คัดลอกมาจากในหนังสือ
ซึ่งได้มีการตัดเนื้อหาในบางบทความไป เพราะรายละเอียดที่เยอะ
แต่ก็ได้พยายามคงประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ
ข้อเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัด และไม่ยากเกินไป
เกี่ยวกับการให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ
ความเข้าใจธรรมปุถุชน กับ ธรรมพุทธองค์

และต้องกราบขออภัยผู้เขียนมา ณ ที่นี้ด้วย(หากท่านเดินทางผ่านมาพบ)
ในการอ่าน เอกอนไม่อาจอ่านข้ามข้อความใดที่ท่านเขียนไปได้เลย
ทุกข้อความล้วนสนับสนุนสัมพันธ์กัน จนแทบอยากจะพิมพ์ลงมาให้ครบ ...
กราบขออภัย

:b8: :b8: :b8:

หากมีผู้อ่านท่านใด สนใจที่จะได้อ่านเนื้อหาเต็ม ๆ
ไปหาอ่านเอาเอง ... :b14:... เด้อ :b4:

:b12: :b12: :b9:

จริง ๆ การที่เอกอนจะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เอกอนต้องขับรถไปชนสุนัข
ซึ่งทีแรกเขายังไม่ตาย
ช่วงที่กำลังวิ่งไปจะข่วยเขา ก็มีรถวิ่งมาทับเขาซ้ำ

ซึ่งสอบถามแล้ว ไม่มีใครแสดงความว่ารู้จักเขา
เอกอนก็เลย ต้องหอบเขาไปฝังที่วัดเอง
วันรุ่งขึ้นก็ได้ไปทำบุญให้เขา
ช่วงระหว่างนั่งรอพระอาจารย์
ก็เดินไปส่อง ๆ ที่ชั้นหนังสือ
ก็เลยได้ขอยืมพระอาจารย์มา

:b8: :b8: :b8:

กราบขอบคุณน้องหมา
กราบขออโหสิกรรมต่อน้องหมา
ได้มีธรรมดี ๆ มาฝากลานเพราะน้องหมา
กุศลอันนี้ ขออุทิศให้กับน้องหมา

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2011, 20:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8:

ชาตินี้..จะสะสมได้กี่พระธรรมขันธ์...หนอ cry cry cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2011, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2011, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
จริง ๆ การที่เอกอนจะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เอกอนต้องขับรถไปชนสุนัข
ซึ่งทีแรกเขายังไม่ตาย
ช่วงที่กำลังวิ่งไปจะข่วยเขา ก็มีรถวิ่งมาทับเขาซ้ำ

ซึ่งสอบถามแล้ว ไม่มีใครแสดงความว่ารู้จักเขา
เอกอนก็เลย ต้องหอบเขาไปฝังที่วัดเอง
วันรุ่งขึ้นก็ได้ไปทำบุญให้เขา
ช่วงระหว่างนั่งรอพระอาจารย์
ก็เดินไปส่อง ๆ ที่ชั้นหนังสือ
ก็เลยได้ขอยืมพระอาจารย์มา

:b8: :b8: :b8:

กราบขอบคุณน้องหมา
กราบขออโหสิกรรมต่อน้องหมา
ได้มีธรรมดี ๆ มาฝากลานเพราะน้องหมา
กุศลอันนี้ ขออุทิศให้กับน้องหมา

:b8: :b8: :b8:

สาธุ ... :b12: :b4: :b8:

นึกขึ้นมาได้ มีเรื่องประสพการณ์เกี่ยวกับน้องหมาให้เล่าสู่กันฟัง

กาล..ครั้งหนึ่งน้องหมาสองครอกต้องตายไป เพราะความไม่รู้(โง่)ของคนคนหนึ่ง เหตุที่เชื่อเพื่อนที่ว่าถ้าหมามีเห็บให้เอากำมะถันคลุกข้าวให้หมากิน หมาน้อยผู้น่าสงสารเลยตายหมด กรรมที่ทำไว้ก็สนองผลในชาตินี้เลยทีเดียว กลายเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง รักษาไม่หาย

๔-๕ ปี จะเกิดอาการใหญ่ๆ คือ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด นอนรักษาตัวเป็นอาทิตย์ เวลานอนหลับหากฝันก็จะฝันเห็นแต่หมา มาเป็นฝูงทั้งเห่าทั้งจะวิ่งเข้ามากัด จะไปทางไหนก็ไม่ได้ มีแต่น้องหมาตามเห่าตามกัด แต่เราก็ทำบุญสังฆทานมา ตั้งแต่น้องหมาตายไป อุทิศให้ตลอด

มาในปีหนึ่ง ก็เกิดอาการใหญ่อย่างที่เล่ามา อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด เพื่อนช่วยนำส่งโรงพยาบาล ให้เลือดให้น้ำเกลืออยู่ ๗ วัน หมอเอาป้ายมาแขวนปลายเตียงว่า ห้ามให้อาหารสัตว์ เอ้ย ... คนไข้ นอนดูคนอื่นกินข้าว เรากินน้ำเกลือ

นับแต่ออกจากโรงพยาบาล ก็ทำสังฆทานเมื่อมีโอกาส คืนหนึ่งนอนหลับฝันเห็นน้องหมาอีก มาหลายตัวแทนที่จะเข้ามาเห่ามากัด กลับมาเคล้าเคลีย แล้วก็หายไป หลังจากนั้นไม่ค่อยฝันเห็นน้องหมาอีก ถึงฝันก็จะฝันไปในทางที่ดี

กรรมที่ทำให้น้องหมานี้ แม้ปรารถนาดีไม่มีเจตนาร้าย แต่ผลของกรรมยังสนองผล จึงขอให้เป็นอุทาหรณ์สำหรับทุกคนว่า กรรมที่กระทำลงไปแล้วไม่ว่า เจตนาหรือไม่ ผลที่เกิดนั้นมีแน่นอนเว้นแต่ หนักเบาตามอาการของเจตนา

บุญใดที่ได้ทำมาในอดีต จนถึงปัจจุบันขออุทิศให้น้องหมาที่ข้าพเจ้าล่วงเกินและให้น้องหมาที่ตุ๊กกี๊ขับรถชนตัวนั้นด้วย ..เทอญ

สาธุ ... :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร