วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 07:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2011, 01:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 พ.ค. 2010, 02:57
โพสต์: 21

โฮมเพจ: http://buddhadham.zzl.org
แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
ชื่อเล่น: บูม
อายุ: 18

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผู้ฉลาดในเรื่องกรรม

บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หา
มิได้ ; จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติก็หามิได้ :
บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะกรรม ;
ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม.
บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม ;
เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม,
บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม ;
เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม,
บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม ;
เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม,
บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม ;
แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม,
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่
เป็นจริงอย่างนี้
ชื่อว่า เป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาด
ในเรื่องวิบากแห่งกรรม.
โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไป
ตามกรรม
สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่ม
สลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่ .....
+++++++++++++++++++++++++++
อานาปานสติ : ละเสียได้ซึ่งความคับแค้น

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลาย
(๑) จงเป็นผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม
ในกายอยู่
(๒) จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้า
ในภายใน
(๓) จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
อยู่เถิด
ภิกษุ ทั้งหลาย. !
(๑) เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่า
ไม่งามในกายอยู่ ย่อมละราคานุสัยในเพราะความเป็น
ธาตุงามได้
(๒) เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้
เฉพาะหน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตก
ทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภายนอก อันเป็นไปในฝักฝ่าย
แห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี
(๓) เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งปวงอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย มีสติ
เฉพาะในลมหายใจ
มีความเพียรทุกเมื่อ พิจารณาเห็นซึ่งนิพพาน
อันเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ภิกษุนั้นแล ผู้เห็นโดยชอบพยายามอยู่ ย่อมน้อม
ไปในนิพพาน
อันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล
ผู้อยู่จบอภิญญา สงบระงับล่วงโยคะเสียได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นมุนี.
+++++++++++++++++++++++++++++
สิ่งที่พระศาสดาถือว่าเป็นความอัศจรรย์

อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงจำ
สิ่งอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแต่ก่อนของตถาคต ข้อนี้ไว้.
อานนท์ ! ในกรณีนี้คือ :-
เวทนา เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคต
แล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงดับไป
สัญญา เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคต
แล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงดับไป
วิตก เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคต
แล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงดับไป
อานนท์ ! เธอจงทรงจำสิ่งอันน่าอัศจรรย์ไม่เคย
มีมาแต่ก่อนของตถาคตข้อนี้แล.
++++++++++++++++++++++++++++++
ผู้แบกของหนัก

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราจักแสดงของหนัก ผู้แบกของหนัก
และการแบกของหนัก แก่พวกเธอ, เธอทั้งหลายจงฟัง
ข้อความนั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าของหนัก ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ
เรากล่าวว่าเป็นของหนัก.
อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า เหล่าไหนเล่า ? คือ :-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า ของหนัก.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าผู้แบกของหนัก ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. !
บุคคล (ตามสมมติ) นั้นแหละ เราเรียกว่าผู้แบกของหนัก
เขามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่าชื่อว่าการแบกของหนัก ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ตัณหาอันใดที่ทำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
ซึ่งมีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความ
ไม่มีไม่เป็น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก.


โพสโดย http://buddhadham.zzl.org รวบรวมธรรมะแก่นแท้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร