วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 17:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2011, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




book94_.jpg
book94_.jpg [ 35.35 KiB | เปิดดู 2156 ครั้ง ]
ธรรมชาติสอนใจให้คลายทุกข์
โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ


สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราแสดงธรรมอยู่ตลอดเวลา หากเราสังเกตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วพิจารณาสิ่งนั้นตามความเป็นจริงตามธรรมชาติของมัน เราก็จะได้เรียนรู้ธรรมะ เพราะธรรมะคือความจริงตามกฎธรรมชาติ (สัจธรรม) ซึ่งจะสอนใจเราให้คลายจากความทุกข์ลงไปได้

ดังเช่นเรื่อง ของนรี (นามสมมุติ) สตรีสูงอายุผู้หนึ่ง ผู้มีความทุกข์กับลูกของตน

นรีมีลูก 5 คน ลูกของนรีโตกันหมดแล้ว มีหน้าที่การงานมั่นคง บางคนรับราชการมีตำแหน่งหน้าที่สูง บางคนประกอบธุรกิจมีฐานะที่ไม่เดือดร้อน เหลือแต่ลูกชายคนเล็กที่นรีห่วงใยเป็นพิเศษ

ลูกชายคนเล็กของนรีสอบเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาที่สถาบันแห่งหนึ่ง หากเรียนจบก็จะติดยศเข้ารับราชการเลย สถาบันที่ชื่อเสียงแห่งนี้เข้ายาก ต้องสอบแข่งขันกัน เมื่อลูกชายคนเล็กสอบได้ ย่อมนำความปลื้มปีติมาสู่นรีตลอดจนพี่ๆและเครือญาติ ถือว่าเป็นชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล

แต่ความสุขและความภูมิใจในลูกชายคนเล็กของนรีก็เกิดขึ้นชั่วคราว เนื่องจากนรีปลูกฝังให้ลูกๆเคร่งครัดในศีลธรรม เมื่อลูกต้องอยู่ประจำตามกฎของสถาบัน ต้องใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนๆที่มาจากต่างถิ่นต่างครอบครัว ลูกของนรีจึงปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆไม่ได้ เพราะเพื่อนร่วมหอพักสูบบุหรี่ กินเหล้า เที่ยวผู้หญิง ลูกของนรีจึงโดดเดี่ยวจากเพื่อน ทำให้เขารู้สึกไม่มีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ความกดดันดังกล่าวทำให้เขาตัดสินใจลาออก โดยไม่ได้ปรึกษาทางบ้าน

การตัดสินใจของลูกนำความผิดหวังและความทุกข์มาให้นรีตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ต่างเห็นว่าเขาไม่น่าจะตัดสินใจด้วยอารมณ์เช่นนี้เลย หลายคนเสียดายโอกาสอันหมายถึงอนาคตของเขา

ความทุกข์ใจของนรีที่มีต่อลูกยังไม่ทันหมดไป ทุกข์ใหม่ก็ซ้ำเติมทับทวียิ่งขึ้นไปอีก เมื่อลูกชายคนเล็กเลือกประกอบอาชีพเกี่ยวกับความงามของสตรี และดูเหมือนว่าใจของเขาจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศอีกด้วย

นรีทั้งเสียใจและอับอายในอาชีพและพฤติกรรมของลูก คิดถึงเรื่องนี้คราวใด ก็ทุกข์ใจคราวนั้น ความเสียใจและความรู้สึกอับอายทำให้นรีเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่ออกไปสมาคมนอกบ้านเหมือนเช่นเคย ลูกๆเห็นความทุกข์ของแม่ ต่างก็พลอยไม่สบายใจไปด้วย

เช้าวันหนึ่งเมื่อนรีตื่นขึ้นมา เธอได้เปิดหน้าต่างมองออกไปภายนอก เห็นมะพร้าวทะลายหนึ่ง มะพร้าวทะลายนั้นไม่เพียงแต่กระทบตาของนรีเท่านั้น ยังกระทบเข้าไปในใจของเธออย่างแรง เธอสังเกตว่ามะพร้าวทั้งหลายนั้นมีลูกอยู่หลายลูก แต่ละลูกมีขนาดไม่เท่ากัน สีผิวก็ไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่เกิดจากมะพร้าวต้นเดียวกัน

ภาพที่ปรากฏทำให้นรีนึกถึงลูกๆ ของเธอขึ้นมาทันที นรีมีลูกห้าคนนิสัยใจคอตลอดจนอาชีพของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดุจดังผลมะพร้าวในทะลายนั้น แต่ละลูกย่อมต่างกันไปตามคุณสมบัติของมัน จะบังคับให้เหมือนกันได้อย่างไร ในเมื่อธรรมชาติของมันเป็นเช่นกัน

ความทุกข์ของนรีที่อยากให้ลูกชายคนเล็กเป็นอย่างที่เธอปรารถนาโดยไม่ยอมรับในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ ก็เหมือนกับจะบังคับให้มะพร้าวผลเล็กมีขนาดและสีผิวเหมือนกับมะพร้าวผลใหญ่หรือผลที่เธอถูกใจจะเป็นไปได้อย่างไร

เมื่อเธอเห็นผลมะพร้าวในทะลายนั้นที่มีขนาดและสีผิวแตกต่างกันได้ โดยเข้าใจธรรมชาติความเป็นจริงของมันว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เธอจึงไม่ทุกข์ใจกับผลมะพร้าวทะลายนั้น ทำไมเธอจึงไม่ใช้การเห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้มาใช้กับลูกของเธอบ้าง

การเห็นธรรมชาติความเป็นจริงของมะพร้าวทะลายนั้น ช่วยทลายความยึดมั่นสำคัญผิดที่นรีมีต่อลูกชายคนเล็กของเธอ เมื่อเธอยอมรับสถานภาพของเขา ทุกข์ที่เธอมีต่อเขาจึงหลุดออกจากใจของเธอ ณ ที่นั้นเอง

ตั้งแต่นั้นมานรีรู้สึกสบายใจขึ้น ความปกติสุขได้กลับคืนมาในชีวิตของเธอและครอบครัวอีกครั้ง อันที่จริงแล้วอาชีพที่ลูกชายคนเล็กของเธอทำอยู่สร้างรายได้ให้เขาไม่น้อยเลย ดีกว่ารายได้ของพี่ๆที่รับราชการมานานเสียอีก และเขาก็มีความสุขกับอาชีพของเขา แม้เขาจะมีพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบน แต่เขาก็มีความสุขความพอใจในสิ่งที่เขาเป็นอยู่

เรื่องของนรีไม่เพียงแต่จะโดนใจพ่อแม่หลายคนที่มีปัญหากับลูกเช่นนี้ แม้กับผู้มีความทุกข์ทั้งหลายก็มีพื้นฐานมาจากความยึดมั่นสำคัญผิดไม่ต่างไปจากนรีเลย

ความทุกข์ของคนโดยทั่วไปนั้น ทุกข์เพราะไม่ได้ตั้งใจ เพราะเราเห็นว่ากายนี้ ใจนี้ เป็นตัวเรา เป็นของของเรา นอกจากนี้ยังเห็นว่าสิ่งที่เราได้ เรามี เราเป็น ตลอดจนที่เราสัมพันธ์ใกล้ชิด เป็นของของเรา เราจึงเอาความต้องการของเราเป็นใหญ่ที่จะบังคับให้สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอย่างที่เราปรารถนา ครั้นไม่ได้ตามที่ต้องการก็มีความทุกข์

ชีวิตของคนเรามีทั้งสมหวังและผิดหวัง คราวใดที่เราสมหวังเราก็คิดว่ามีความสุข แท้จริงแล้วมีทุกข์ติดอยู่กับความสมหวังนั้นด้วย เช่น หากเรามีคู่ครองหรือลูกอันเป็นที่รักที่พอใจ เราก็คิดว่าเรามีความสุข เรามีความสุขอันเกิดจากความรักความพึงพอใจในคู่ครองหรือลูกนั้นอีกด้านหนึ่งเราก็มีความหวง ความห่วงใยเขา ความหวง ความห่วงใย เป็นความทุกข์ อยู่ติดกันกับความสุขนั่นเอง

นอกจากนี้สิ่งทั้งหลายยังมีความเปลี่ยนแปลง ไม่อาจคงทนอยู่ได้ตลอดไป ด้วยเหตุนี้ทุกคนจึงต้องพลัดพรากจากของรักของหวงด้วยกันทั้งสิ้น การพลัดพรากดังกล่าวเป็นความทุกข์

พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า สุข-ทุกข์ เป็นของที่อยู่ด้วยกัน หากเราถือเอาสุข ก็ย่อมถือเอาทุกข์ไว้ก่อน เมื่อไม่วางสุขก็เท่ากับไม่วางทุกข์นั่นเอง

เหมือนเหรียญมีสองด้าน คือด้านหัวกับด้านก้อย ถือด้านใดด้านหนึ่ง ก็ถืออีกด้านเอาไว้ด้วย จะเอาแต่ด้านเดียวไม่ได้เลย

การเห็นและเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติและวางใจให้เที่ยงธรรม ไม่มีอคติในเรื่องต่างๆ จะ ช่วยรักษาใจให้พ้นทุกข์ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นทุกข์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2011, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b47: :b47: :b8: :b8: :b8: :b47: :b47:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร