วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 22:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




12.gif
12.gif [ 8.54 KiB | เปิดดู 2851 ครั้ง ]
สั้นๆง่ายๆ ใช้งานเจริญธรรม คือ ฝึกนามธรรมภายให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

พิจารณาดูว่าท่านกล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระของการสร้างสมาธิ...ตามหลักอิทธิบาท ก็ คือ เอางาน สิ่งที่ทำ หรือ จุดหมายที่ต้องการเป็นอารมณ์

ของจิต แล้วปลุกเร้าระดมฉันทะ วิริยะ จิตตะ หรือ วิมังสา เข้าหนุน สมาธิก็เกิดขึ้นและมีกำลังแข็งกล้า ช่วยให้

ทำงานอย่างมีความสุข และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี

โดยนัยนี้ ในการปฏิบัติธรรมก็ดี ในการเล่าเรียนศึกษา หรือ ประกอบกิจการงานอื่นใดก็ดี เมื่อต้องการสมาธิ

เพื่อให้กิจที่ทำนั้น ดำเนินไปอย่างได้ผลดี ก็พึงปลุกเร้าและชักจูงอิทธิบาท 4 อย่างนี้ ให้เกิดเป็นองค์ธรรมเด่น

นำขึ้นสักข้อหนึ่ง แล้วสมาธิความสุขสบายใจและการทำงานที่ได้ผล ก็เป็นอันหวังได้เป็นอย่างมากว่าจะเกิดมี

ตามมาเอง พร้อมกันนั้น การฝึกสมาธิ หรือ การปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่งก็จะเกิดมีขึ้นในห้องเรียน ในบ้าน

ในทุ่งนา ในที่ทำงาน และในสถานที่ทุกๆแห่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูหลัก


๑ .ฉันทะ ความพอใจ ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่ง

ที่ทำนั้น อยากทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ อยากให้งานนั้นหรือสิ่งนั้นบรรลุถึงจุดหมาย

พูดง่ายๆว่า รักงานและรักจุดหมายของงาน


พูดให้ลึกลงไปในทางธรรมว่า ความรักความใฝ่ใจ ปรารถนาต่อภาวะดีงามเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดหมาย

ของสิ่งที่กระทำ หรือ ซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำนั้น อยากให้สิ่งนั้นๆเข้าถึง หรือ ดำรงอยู่ในภาวะที่ดี

ที่งดงามที่ประณีต ที่สมบูรณ์ที่สุดของมัน หรืออยากให้ภาวะดีงามเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ของงานนั้น

เกิดมีเป็นจริงขึ้น อยากทำให้สำเร็จผลตามจุดหมายที่ดีงามนั้น

หรือพูดแยกออกไปว่า ขณะเมื่อสิ่งนั้น หรือ งานนั้นกำลังเดินหน้าไปสู่จุดหมาย ก็เกิดปีติ

เป็นความเอิบอิ่มใจ

ครั้นสิ่งหรืองานที่ทำบรรลุจุดหมาย ก็ได้รับความโสมนัส เป็นความฉ่ำชื่นใจ ที่พร้อมด้วยความรู้สึกโปร่ง

โล่ง ผ่องใส เบิกบาน แผ่ออกไปเป็นอิสระไร้ขอบเขต

ส่วนความอยากที่เป็นตัณหาให้เกิดความสุขความชื่นชมเมื่อได้สิ่งนั้นมาให้ตนเสพเสวยรสอร่อย

หรือ ปรนเปรอความยิ่งใหญ่พองขยายของตัวตน เป็นความฉ่ำชื่นใจที่เศร้าหมอง หมกหมักตัว กีดกั้นกักตน

ไว้ในความคับแคบ และมักติดตามมาด้วยความหวงแหนห่วงกังวล เศร้าเสียดาย และหวั่นกลัวหวาดระแวง


ถ้าสามารถปลุกเร้าฉันทะให้เกิดขึ้นอย่างแรงกล้า เกิดความรัก ในคุณค่าความดีงาม ความสมบูรณ์ของสิ่งนั้น

หรือ จุดหมายนั้นอย่างเต็มที่แล้ว คนก็จะทุ่มเทชีวิตจิตใจ อุทิศให้แก่สิ่งนั้น เมื่อรักแท้ก็มอบใจให้

อาจถึงขนาดยอมสละชีวิตเพื่อสิ่งนั้นได้ เจ้า ขุนนาง เศรษฐี พราหมณ์ คนหนุ่มสาวมากมายในพุทธกาล

ยอมสละวัง ทรัพย์สมบัติ และโลกามิสมากมาย ออกบวชได้ ก็เพราะเกิดฉันทะในธรรม เมื่อได้สดับ

ซาบซึ้งคำสอนของพระพุทธเจ้า

แม้คนทั้งหลาย ที่ทำงานด้วยใจรักก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีฉันทะนำแล้วต้องการทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ให้สำเร็จผลอย่างดีที่สุดของสิ่งนั้น ของงานนั้น ไม่ห่วงพะวงกับสิ่งล่อเร้าหรือผลตอบแทนทั้งหลาย

จิตใจก็มุ่งแน่วแน่มั่นคงในการดำเนินสู่จุดหมาย เดินเรียบสม่ำเสมอ ไม่ซ่านไม่ส่าย

ฉันทสมาธิ จึงเกิดขึ้นโดยนัยนี้ และพร้อมนั้นปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ก็ย่อมเกิดควบคู่มาด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. วิริยะ ความเพียร ได้แก่ ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ ไม่หวั่นกลัว

ต่ออุปสรรค และ ความยากลำบาก เมื่อคนรู้ว่า สิ่งใดมีคุณค่าควรแก่การบรรลุถึง

ถ้าวิริยะเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว แม้ได้ยินว่า จุดหมายนั้นจะลุถึงได้ยากนัก มีอุปสรรคมาก หรืออาจใช้เวลา

ยาวนานเท่านั้นปี เท่านี้เดือน เขาก็ไม่ท้อถอย กลับเห็นเป็นสิ่งท้าทายที่เขาจะเอาชนะให้ได้ ทำให้สำเร็จ

เช่น นักบวชนอกศาสนาหลายท่านในสมัยพุทธกาล เมื่อสดับพุทธธรรมแล้วเลื่อมใส ขอบรรพชาอุปสมบท

ครั้นได้รับทราบว่า ผู้เคยเป็นนักบวชนอกศาสนา จะต้องประพฤติวัตรทดสอบตนเองก่อน เรียกว่าปริวาส

(ติตถิยปริวาส) เป็นเวลา 4 เดือน ใจก็ไม่ท้อถอย กลับกล้าเสนอตัวประพฤติทดสอบเพิ่มเป็นเวลา ถึง 4 ปี

(ดูเรื่องอเจลกัสสปะ)

ส่วนผู้ขาดความเพียร อยากบรรลุความสำเร็จเหมือนกัน แต่พอได้ยินว่า ต้องใช้เวลานานเป็นปีก็หมดแรง

ถอยหลัง

ถ้าอยู่ระหางปฏิบัติก็ฟุ้งซ่าน จิตใจวุ่นวาย ปฏิบัติได้ผลยาก

คนที่มีความเพียร เท่ากับมีแรงหนุน เวลาทำงาน หรือ ปฏิบัติธรรมก็ตาม จิตใจจะแน่วแน่มั่นคง

พุ่งตรงต่อจุดหมาย สมาธิก็เกิดขึ้นได้ เรียกว่า วิริยสมาธิ พร้อมทั้งปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์

เข้าประกอบคู่ไปด้วยกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. จิตตะ ความคิดจดจ่อ หรือ เอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีใจผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่กับงานนั้น

ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน

ถ้าจิตตะ เป็นไปอย่างแรงกล้า ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง คนผู้นั้น จะไม่สนใจไม่รับรู้เรื่อง

อื่นๆ ใครพูดอะไรเรื่องอื่นๆ ไม่สนใจ แต่ถ้าพูดเรื่องนั้นงานนั้น จะสนใจเป็นพิเศษทันที

บางทีจัดทำเรื่องนั้น งานนั้น ขลุกง่วนอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่เอาใจใส่ร่างกาย การแต่งเนื้อแต่งตัว อะไรเกิดขึ้น

ก็ไม่สนใจ เรื่องอื่นเกิดขึ้นใกล้ๆ บางทีก็ไม่รู้ ทำจนลืมวันลืมคืน ลืมกินลืมนอน

ความมีใจจดจ่อฝักใฝ่เช่นนี้ ย่อมนำในสมาธิเกิดขึ้น จิตจะแน่วแน่ แนบสนิทในกิจที่ทำ มีกำลังมากเฉพาะ

สำหรับกิจนั้น เรียกว่าเป็นจิตตสมาธิ พร้อมนั้นก็เกิดปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ร่วมสนับสนุนไปด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4. วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง ได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณาหมั่นใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล

และตรวจสอบ ข้อที่ยิ่งหย่อน เกินเลยบกพร่อง หรือ ขัดข้องเป็นต้นในกิจที่ทำ รู้จักทดลอง และค้นหาทาง

แก้ไขปรับปรุง

ข้อนี้ เป็นการใช้ปัญญาชักนำสมาธิ ซึ่งจะเห็นได้ไม่ยาก คนที่มีวิมังสาชอบคิดค้นหาเหตุผล ชอบสอบสวน

ทดลอง เมื่อทำอะไร ก็คิดพิจารณาทดสอบไป เช่นคิดว่า ผลนี้เกิดจากเหตุอะไร ทำไมจึงเป็นอย่างนี้

ผลคราวนี้ เกิดจากปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้เท่านี้ ถ้าชักองค์ประกอบนี้ออกเสีย จะเป็นอย่างนี้

ถ้าเพิ่มองค์ประกอบนี้เข้าไปแทน จะเกิดผลอย่างนี้

ลองเปลี่ยนองค์ประกอบนั้นแล้ว ไม่เกิดผลอย่างที่คาดหมาย เป็นเพราะอะไร จะแก้ไขที่จุดไหน ฯลฯ

หรือในการปฏิบัติธรรม ก็ชอบพิจารณาใคร่ครวญสอบสวนเช่นว่า ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างไร

มีความมุ่งหมายอย่างไร ควรใช้ในโอกาสอย่างใด ควบคู่สัมพันธ์กับข้อธรรมอื่นข้อใด

ปฏิบัติธรรมคราวนี้ ไม่ค่อยก้าวหน้า อินทรีย์ใดอ่อนไป อินทรีย์ใดเกินไป

คนสมัยปัจจุบันอยู่ในสภาพอย่างนี้ ขาดแคลนธรรมข้อใดมาก จะนำธรรมข้อนี้เข้าไป ควรใช้วิธีอย่างใด

ควรเน้นความหมายด้านไหน เป็นต้น

การคิดหาเหตุผล และ สอบสวนทดลองอย่างนี้ ย่อมช่วยรวมจิตให้คอยกำหนด และติดตามเรื่องที่พิจารณา

อย่างติดแจตลอดเวลา เป็นเหตุให้จิตแน่วแน่ แล่นดิ่งไปกับเรื่อง ที่พิจารณา ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก และมีกำลัง

เรียกว่าวิมังสาสมาธิ ซึ่งก็จะมีปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ เกิดมาด้วยเช่นเดียวกับสมาธิข้ออื่นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงอิทธิบาท 4 อย่างนี้ เกื้อหนุนกัน และมักมาด้วยกัน เช่น เกิดฉันทะ มีใจรัก แล้วก็ทำให้พากเพียร

เมื่อพากเพียร ก็เอาใจจดจ่อ ใฝ่ใจอยู่เสมอ และเปิดช่องให้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง

แต่ที่แยกพิจารณา แต่ละข้ออย่างนี้ ก็ด้วยถือเอาภาวะที่เด่นเป็นใหญ่ เป็นตัวนำ เป็นตัวชักจูงข้ออื่นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




883184r5f62de18z.gif
883184r5f62de18z.gif [ 93.53 KiB | เปิดดู 2831 ครั้ง ]
ต้องการดูเต็มๆก็ที่

viewtopic.php?f=2&t=20241

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร