วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 06:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1247124011.jpg
1247124011.jpg [ 433.47 KiB | เปิดดู 6034 ครั้ง ]
คำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลายระดับ ทั้งคำสอนสำหรับผู้ครองเรือน ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม

ผู้สละเรือนแล้ว ทั้งคำสอนเพื่อประโยชน์ทางวัตถุ และเพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจ เพื่อให้ทุกคนได้รับ

ประโยชน์จากพุทธธรรมอย่างทั่วถึงกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรต่อไปนี้ แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับอาชีวะของคฤหัสถ์ ในด้านการแสวงหาทรัพย์บ้าง

การใช้จ่ายทรัพย์บ้าง ความสุขที่พึงได้รับจากอาชีวะอันชอบธรรมบ้าง

นำมาลงไว้พอประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ


ก. การแสวงหาและการรักษาทรัพย์


ครั้งหนึ่ง อุชชัยพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่าตนจะไปอยู่ต่างถิ่น จึงขอให้พระพุทธองค์

ทรงแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขปัจจุบัน และธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขภายหน้า

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า


“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบัน กล่าวคือ

อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา

๑.อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรมก็ดี

พาณิชยกรรมก็ดี โครักขกรรมก็ดี ราชการทหารก็ดี ราชการพลเรือนก็ดี ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี

เธอเป็นผู้ขยันชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอบสวนตรวจตรา รู้จักวิธีปฏิบัติ

ในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ นี้เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา

๒. อารักขสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตร มีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมไว้

ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอจัดการรักษาคุ้มครองโภคทรัพย์

เหล่านั้น โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบโภคะเหล่านี้ของเราเสีย

พวกโจรไม่พึงลักไปเสีย ไฟไม่พึงไหม้เสีย น้ำไม่พึงพัดพาไปเสีย ทายาทร้ายจะไม่พึงเอาไปเสีย

นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา


๓. กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตร เข้าอยู่อาศัยในคามหรือนิคมใดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนม

สนทนาปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็นคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติ

เป็นผู้ใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล

ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา เธอศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศรัทธาของท่าน

ผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศีลของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล

ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยจาคะ ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบ

พร้อมด้วยปัญญาของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา


๔. สมชีวิตา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตร เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป

โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูนและทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้รายได้ของเราจึงจะเหนือรายจ่าย

และรายจ่ายของเราจึงจะไม่เหนือรายได้ เปรียบเหมือนคนชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตราชั่งขึ้นแล้ว

ย่อมรู้ว่าหย่อนไปเท่านั้น หรือเกินไปเท่านี้...ถ้าหากกุลบุตรนี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ

ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้กินใช้ทรัพย์สมบัติเหมือนคนกินมะเดื่อ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายได้มาก

แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้คงจะตายอย่างคนอนาถา

แต่เพราะกุลบุตรนี้เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ...นี้เรียกว่าสมชีวิตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ย่อมมีอบายมุข (ช่องทางเสื่อม) ๔ ประการ คือ

เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรชั่วสหายชั่ว ฝักใฝ่ในคนชั่ว เปรียบเหมือนอ่าง

เก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนปิดทางน้ำเข้าเสีย เปิดแต่ทางน้ำ

ออก อีกทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้นเป็นอันหวังได้แต่ความลดน้อยลง

อย่างเดียว ไม่มีความเพิ่มขึ้นเลย

ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้ ย่อมมีอายมุข (ช่องทางเพิ่มพูน) ๔ ประการ คือ

ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรดี มีสหายชั่ว ใฝ่ใจในกัลยาณชน

เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนเปิดทางน้ำเข้า

ปิดทางน้ำออก และฝนก็ตกถูกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น ย่อมเป็นอันหวังได้

แต่ความเพิ่มพูนขึ้นอย่างเดียว ไม่มีความลดน้อยลงเลย...ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขปัจจุบัน แก่กุลบุตร”

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


จากนั้น ตรัสแสดงธรรม ๔ ประการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขเบื้องหน้า (สัมปรายิกัตถะ) คือ

สัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคสัมปทา และปัญญาสัมปทา

(องฺ.อฏฺฐก.23/145/294)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี


หลักต่อไปนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ ๔ ประการ ดังพุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า


“ดูกรคหบดี ความสุข 4 ประการนี้ เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้ควรถึงอยู่เรื่อยๆ ตามกาล ตามสมัย

ความสุข 4 ประการนั้น คือ อัตถิสุข โภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข

1.อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์)เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรมีโภคะอันหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร

สะสมขึ้นได้ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอย่อมได้ความสุข

ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สะสมขึ้นได้ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อ

ต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เรียกว่าอัตถิสุข


2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค) เป็นไฉน ?คือ กุลบุตร กินใช้และทำสิ่งดีงามเป็นบุญ

ทั้งหลาย ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร อันสะสมขึ้นมาด้วยกำลังแขนอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ

ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า ด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วย

ความขยันหมั่นเพียร ได้มาโดยธรรม เราก็ได้กินใช้และได้ทำสิ่งดีงาม อันเป็นบุญทั้งหลาย นี้เรียกว่าโภคสุข


3. อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้)เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรไม่ติดหนี้สินไรๆ ของใครๆ ไม่ว่าน้อย

หรือมาก เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราไม่ติดหนี้สินไรๆ ของใครๆเลย ไม่ว่าน้อยหรือมาก

นี้เรียกว่า อนณสุข


4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติสุจริตไร้โทษ) เป็นไฉน ? คือ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วย

กายกรรมไม่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมไม่มีโทษ เธอย่อมได้ความสุข

ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมไม่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมไม่มีโทษ ประกอบด้วย

มโนกรรมไม่มีโทษ นี้เรียกว่าอนวัชชสุข


“เมื่อตระหนักถึงความสุขจากความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ เมื่อกินใช้

ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญาถึงโภคสุข เมื่อเห็นอย่างแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมเข้าใจ ทั้งสองส่วนเทียบ

กันได้ แลเห็นว่า ความสุขทั้ง 3 อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของความสุขที่มีความประพฤติสุจริต

ไร้โทษ”

(องฺ.จตุกฺก.21/62/90)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 มิ.ย. 2010, 22:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. การใช้จ่ายทรัพย์


ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงเหตุผลในการที่จะมีทรัพย์ หรือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากทรัพย์สมบัติ

แก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี โดยตรัสให้เหมากับสภาพสังคมสมัยนั้น พึงพิจารณาจับเอาสารัตถะตามสมควร

ดังต่อไปนี้


“ดูกรคหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะทั้งหลาย มี ๕ ประการดังนี้ ๕ ประการคือ

๑. ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สะสมขึ้นมาด้วยกำลังแขน อย่างเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็น

ของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม อริยสาวกย่อมเลี้ยงตัวให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใสดูแลตนให้เป็นสุข

โดยชอบ ย่อมเลี้ยงมารดาบิดา ...บุตรภรรยาคนรับใช้กรรมกรคนงานให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใสดูแลตน

ให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะข้อที่ ๑


๒.อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร...ได้มาโดยธรรม อริยสาวกย่อมเลี้ยง

มิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานทั้งหลาย ให้เอิบอิ่ม เอาใจใสดูแลตนให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์

ที่ควรถือเอาแห่งโภคะข้อที่ ๒


๓. อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร...ได้มาโดยธรรม อริยสาวกย่อมป้องกัน

โภคะจากภยันตรายที่จะเกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทร้าย ทำตนให้สวัสดี นี้คือ ประโยชน์

ที่ควรถือเอาแห่งโภคะข้อที่ ๓


๔.อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร...ได้มาโดยธรรม อริยสาวกย่อมทำพลี ๕

อย่าง คือ ญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ) อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศผู้ล่วงลับ)

ราชพลี (บำรุงราชการ –เสียภาษี) เทวตาพลี (ถวายเทวดาหรือบำรุงศาสนา) นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอา

แห่งโภคะข้อที่ ๔


๕. อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร...ได้มาโดยธรรม อริยสาวกย่อม

ประดิษฐานทักขิณาอันส่งผลสูง อันอำนวยอารมณ์ดีงาม มีผลเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะ ซึ่งฝีกฝนตนเอง ทำตนเองให้สงบ

ทำตนเองให้หายร้อนกิเลสได้ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะข้อที่ ๕



คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะมี ๕ ประการเหล่านี้แล

ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาอยู่ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้ โภคะทรัพย์หมดสิ้นไป

เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อันใดเป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ประโยชน์เหล่านั้น เราก็ถือเอา

แล้ว และโภคะของเราก็หมดสิ้นไป โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ

และหากว่า เมื่ออริยสาวกนั้น ถือเอาอยู่ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้

โภคทรัพย์เพิ่มพูนขึ้น เขาย่อมมีความคิดว่า อันใดเป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ประโยชน์เหล่านั้น

เราก็ถือเอาแล้ว และโภคะของเราก็เพิ่มพูนขึ้น โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ

เป็นอันไม่มีความเดือดร้อนใจทั้งสองกรณี”

(องฺ.ปญฺจก.22/41/48 )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ครองเรือน เมื่อมีกินมีใช้แล้วท่านถือเป็นหลักสำคัญที่จะต้องให้ปันเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นและถือว่า

การปฏิบัติเช่นนั้นเป็นการดำเนินตามมรรคาแห่งอารยชน ดังภาษิตว่า


“มีน้อย ก็พึงให้ตามน้อย มีปานกลาง ก็พึงให้ปานกลาง มีมากก็พึงให้ตามมาก การไม่ให้เลย

ย่อมไม่สมควร แน่ะท่านโกสิยเศรษฐี เราขอกล่าวกะท่านว่า จงให้ปันและจงกินใช้ จงขึ้นสู่มรรคา

แห่งอริยชนเถิด ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุขดอก”

(ขุ.ชา.28/250/88)


การฝึกตนในการให้ปันนี้ อาจทำได้โดยตั้งเป็นวัตร คือ ข้อปฏิบัติที่ถือพิเศษเป็นประจำอย่างใดอย่างหนึ่ง

เช่น เมื่อมีรายได้เท่านั้น จะต้องบริจาคช่วยเหลือผู้อื่นในอัตราส่วนเท่านั้น หรือจะบริจาคช่วยกิจการกุศล

เดือนละครั้งหรือปีละครั้งเท่านั้นๆเป็นต้น

บางท่านถึงกับถือวัตรว่า แม้แต่จะรับประทานข้าวแต่ละมื้อ ถ้ายังไม่ได้ให้อะไรใครเลยก็จะยังไม่รับประทาน

เช่นท่านเศรษฐีผู้กลับใจแล้วท่านหนึ่ง ถือเป็นวัตรว่า


“ข้าพเจ้า หากยังมิได้ปัน ก็จะไม่ดื่มแม้แต่น้ำ”

(ขุ.ชา.28/260/90; 273/94)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนพระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นอยู่ด้วยอาศัยปัจจัยสี่ที่ชาวบ้านแบ่งปันให้ ไม่ได้ประกอบศิลปวิทยาเลี้ยงชีพ

ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องเลือกอาหารหรือปัจจัยยังชีพทั้งหลาย ต้องทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย มักน้อย สันโดษ

ดำเนินตามหลัก อริยวงศ์ ๔ ประการคือ



๑.ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ เป็นผู้มีปกติสรรเสริญคุณแห่ง

ความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ประกอบอเนสนา (การแสวงหาในทางที่ผิด) เพราะเห็นแก่จีวร

เมื่อไม่ได้จีวร ก็ไม่กระวนกระวาย เมื่อได้จีวร ก็ไม่ติด ไม่สยบ ไม่หมกมุ่น ย่อมใช้สอยอย่างรู้ทัน

เห็นโทษ มีปัญญาสลัดตัวออกได้ และทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น

ภิกษุใดขยันจัดเจน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในจีวรสันโดษนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้สถิต

ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า มีมาแต่ดั้งเดิม

๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ฯลฯ

๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ฯลฯ

๔. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีการบำเพ็ญกุศลธรรมเป็นที่รื่นรมย์ ชื่นชมยินดีในการบำเพ็ญกุศลธรรม

มีการละอกุศลธรรมเป็นที่รื่นรมย์ ชื่นชมยินดีในการละอกุศลธรรม ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้

มีการกุศลธรรมเป็นที่รื่นรมย์ ด้วยชื่นชมยินดีในการบำเพ็ญกุศลธรรม ด้วยความเป็นผู้มีการละอกุศลธรรม

เป็นที่รื่นรมย์ ด้วยความชื่นชมยินดีในการละอกุศลธรรมนั้น

ภิกษุใดขยันจัดเจน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในภาวนาและปหานะนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้สถิต

ในอริยวงศ์อันเป็นของเก่า มีมาแต่ดั้งเดิม”

(องฺ.จตุกฺก.21/28/35- ข้อความที่ละไว้เทียบตามข้อ ๑)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากพึงรู้ว่า การมีทรัพย์มิใช่เป็นจุดหมายในตัว แต่เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับสนับสนุนการทำสิ่งดีงาม

เพื่อชีวิตตนและผู้อื่นแล้ว พึงทราบขอบเขตแห่งคุณค่าของทรัพย์สมบัติ และการที่จะต้องแสวงสิ่งอื่น

ที่มีคุณค่าสูงยิ่งขึ้นต่อไปด้วย เช่น



“การงาน วิชชา ธรรม ศีล และชีวิตอุดม สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยสิ่งที่กล่าวมานี้ หาใช่ด้วยโคตร

หรือทรัพย์ไม่”*


“ข้าพเจ้ามองเห็นคนทั้งหลายในโลกที่เป็นผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์สินแล้ว ย่อมไม่ให้ปันเพราะความลุ่มหลง

โลภทรัพย์ เอาแต่สั่งสมไว้ และปรารถนากามทั้งหลายยิ่งขึ้นไป


“ราชารุกรานมีชัยทั้งแผ่นดิน ครอบครองปฐพีจรดสาคร ไม่อิ่มแค่ฝั่งสมุทรข้างนี้ ยังปรารถนาฝั่งสมุทร

ข้างโน้นอีก ทั้งราชาและเหล่ามนุษย์ทั้งหลายอื่นเป็นอันมาก ยังมิทันสิ้นความทะเยอทะยาน ก็เข้าถึง

ความตาย ทั้งยังพร่องอยู่นั่นเอง ก็พากันละทิ้งร่างกายไป ความอิ่มด้วยกามทั้งหลายย่อมไม่มีในโลกเลย


“ญาติทั้งหลาย พากันสยายผมรำไห้ถึงผู้นั้น กล่าวรำพันว่า โอ้ (ที่รัก) ของพวกเรามาจากลับไปเสียแล้ว

หนอ แล้วเอาผ้าห่อห่มเขา นำเอาไปขึ้นเชิงตะกอน จัดการเผา เขาถูกสัปเหร่อเอาหลาวทิ่มแทงไป

ไหม้ไฟหมดไป มีแต่ผ้าผืนเดียวติดตัว ละทิ้งทรัพย์สมบัติไป


“เมื่อจะตาย ญาติ มิตร หรือสหายทั้งหลาย จะเป็นที่ต้านทานไว้ได้ ก็ไม่มี ทรัพย์สินของเขาพวกที่รับมรดก

ก็ขนเอาไป ส่วนสัตว์ก็ไปตามกรรม เมื่อตายทรัพย์สมบัติสักหน่อยก็ติดตามไปไม่ได้ บุตร ภรรยา ทรัพย์

และแว่นแคว้นก็เช่นกัน คนจะได้อายุยืนเพราะทรัพย์ก็หาไม่ จะกำจัดชราด้วยทรัพย์ได้ก็หาไม่ ปราชญ์ทั้ง

หลายกล่าวชีวิตนี้ว่าน้อยนัก ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา


“ทั้งคนมี ทั้งคนจน ต่างก็กระทบผัสสะ ทั้งคนพาลทั้งนักปราชญ์ ก็ถูกกระทบเหมือนกัน แต่คนพาล

เพราะความที่อ่อนปัญญา ย่อมนอนผวาหวาด

ส่วนผู้เป็นปราชญ์ ถึงถูกผัสสะกระทบก็หาสะท้านไม่ เพราะฉะนั้น ปัญญานั่นแหละจึงประเสริฐกว่าทรัพย์

ด้วยเป็นเหตุให้บรรลุจุดหมายสูงสุดได้ในโลกนี้”

(ม.ม.13/451/411 ฯลฯ)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

(ขยายความศัพท์ที่มี * ข้างบน)

* ม.อุ.14/738/471 ฯลฯ - ท่านว่า การงาน= สัมมากัมมันตะ วิชชา= สัมมาทิฐิ

และสัมมาสังกัปปะ ธรรม = องค์ธรรมหมวดสมาธิ (การปลูกฝังฝึกปรือคุณธรรมและคุณภาพจิต)

ศีล=สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะ ชีวิต = อริยมรรค หรือ สัมมาอาชีวะก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อุปกรณ์สำคัญของกรประกอบสัมมาอาชีวะ ก็คือ ศิลปวิทยา หรือสิปปะ (วิชาชีพ ฝีมือ ความจัดเจน

งาน) ดังนั้น ท่านจึงเตือนให้ขวนขวายศึกษาศิลปวิทยา และให้บิดามารดาถือเป็นหน้าที่ที่จะให้บุตรศึกษา

เล่าเรียน แต่ความรู้วิชาชีพ หรือความชำนาญงานอย่างเดียวก็แคบไป ท่านจึงให้มีพาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้

ได้สดับมาก หรือศึกษาเล่าเรียนกว้างขวางประกอบด้วย เพื่อช่วยให้เห็นช่องทางในการประกอบสิปปะกว้าง

ขวางออกไป สามารถบำเพ็ญประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น และมีความคิดความเข้าใจ

มองเห็นอะไรๆ กว้างขวางลึกซึ้ง โดยเฉพาะความรู้ความสดับที่ช่วยให้เกิดสัมมาทิฐิที่เป็นตัวแท้เริ่มแรกของการ

ศึกษา พร้อมนั้นก็ให้ฝึกอบรมระเบียบวินัย เพื่อพร้อมที่จะนำสิปปะไปใช้ในทางที่สุจริต และมีความประพฤติทั่ว

ไปที่ดีงามเกื้อกูลแก่ความอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น หรือแก่สังคม กับทั้งฝึกฝนให้รู้จักพูดรู้จักเจรจาให้เป็นผลดี เป็น

การขยายช่องทางดำเนินชีวิตและบำเพ็ญประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น หลักการขั้นศีลที่กล่าวนี้ดำเนินตามพุทธ

พจน์ว่า


“พาหุสัจจะ ๑ สิปปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้วหรือฝึกอบรมเป็นอย่างดีแล้ว ๑ วาจาที่กล่าวได้ดี ๑ นี่เป็นอุดม

มงคล...การงานไม่คั่งค้างอากูล นี่เป็นอุดมมงคล...กิจกรรมที่ไร้โทษ นี่เป็นอุดมมงคล”

(ขุ.ขุ.25/5/3)


นอกจากนี้มีบาลีเตือนให้ศึกษาศิลปวิทยาอีกมากเช่น

“คนไม่มีศิลปวิทยา เลี้ยงชีวิตอยู่ได้ยาก”

“จงให้บุตรเรียนรู้วิทยา”

“อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด”

“ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆ ให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น”

“อันความรู้ควรเรียนรู้ทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำว่าสูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมายเข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็น

ต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นนำมาซึ่งประโยชน์”

(ขุ.ชา.27/817/184)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำแปลศัพท์ คห.บนที่มี *

-พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับมากหรือเล่าเรียนกว้างขวางลึกซึ้ง

-สิปปะ วิชาชีพหรือความจัดเจนงาน

-การงาน หรือ กิจกรรมที่ไร้โทษ คือ กิจกรรมที่ดีงาม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะการบำเพ็ญ

ประโยชน์ต่างๆ เช่น ช่วยรับใช้บริการ สร้างสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน สมาทานอุโบสถ

(ดู ขุทฺทก.อ.156)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อที่ขอย้ำแทรกเข้ามาเกี่ยวกับอุดมมงคลระดับนี้ว่า พาหุสัจจะ ความช่ำชองเชิงวิชาการ ควรมาพร้อมกับ

สิปปะ ความชำนาญในเชิงปฏิบัติ คือ ดีทั้งวิชาและฝีมือ

ถ้าทั้งสองอย่างนี้มาเข้าคู่กันครบก็หวังได้ซึ่งความเป็นเลิศแห่งงาน

ยิ่งถ้าเป็นคนมีวินัยที่ได้ฝึกมาอย่างดี และเป็นคนที่พูดเก่งคือรู้จักพูดจาให้ได้ผล สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจ

หรือเห็นตามได้ดี ชวนให้เกิดความร่วมมือและสามัคคี ก็ยิ่งหวังได้ว่ากิจการจะประสบความสำเร็จ

ครั้นสำทับเข้าด้วยการปฏิบัติงานที่เรียบร้อยฉับไวไม่คั่งค้างอากูล และเสริมด้วยการทำกิจกรรมที่เป็น

ประโยชน์ ก็ยิ่งเป็นเครื่องประกันถึงความสำเร็จบริบูรณ์แห่งชีวิตด้านการงาน

แต่เพื่อป้องกันมิให้มีช่องว่างที่บุคคลนั้นจะมัวหลงเพลินแต่วิทยาและการงาน จนลืมหน้าที่ต่อบุคคลใกล้ชิด

ภายในความรับผิดชอบที่บ้าน ท่านก็จะแทรกมงคลอีกสองอย่างเข้ามาในช่องว่างแรกที่เว้นไว้ คือ การบำรุง

มารดา บิดา และการสงเคราะห์บุตรภรรยา

ครั้นภาระด้านส่วนตัวครบครันแล้ว ท่านจะให้บุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น คำนึงถึงความรับผิดชอบที่ตนจะพึง

เกื้อกูลแก่คนอื่นขยายกว้างออกไปตลอดถึงเพื่อนมนุษย์ทั้งหมด ให้ชีวิตเสริมมงคลอีกสามอย่างเข้ามาใน

ช่องว่างหลัง คือ ญาติสังคหะ การสงเคราะห์ญาติ ทาน การให้ปัน และธรรมจริยา การประพฤติธรรม

เมื่อประพฤติตนได้เพียงนี้ ก็นับว่าเพียงพอสำหรับจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ครองชีวิตที่ดีงามในโลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_0560_1.jpg
IMG_0560_1.jpg [ 172.95 KiB | เปิดดู 5977 ครั้ง ]
ถึงตอนนี้คงจะเห็นแล้วว่า คำสอนทางพุทธศาสนานั้นมีครอบคลุมทุกชนชั้น ทั้งภายในและภายนอก

ภายในเริ่มจากคนใกล้ชิด หากสามารถก็ขยายสู่สังคมข้างนอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 มิ.ย. 2010, 17:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องอาชีวะ เห็นควรสรุปไว้อีก แม้จะซ้ำซ้อนกับที่กล่าวมาแล้วว่า พระพุทธศาสนา ยอมรับและยืนยัน

ถึงความจำเป็นทางวัตถุ โดยเฉพาะปัจจัย ๔ เช่น พุทธพจน์ที่ตรัสบ่อยๆว่า “สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา” *

แปลว่า สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร เป็นต้น ( * ที.ปา.11/226/226; 375/289 ฯลฯ)

แต่ความจำเป็นแท้จริงนั้นอยู่ภายในขอบเขตเท่าที่พอจะช่วยให้ชีวิตด้านกายดำรงอยู่ในภาวะดีงามที่ควรเป็นปกติ

ของมัน คือ ปลอดภัยไม่บกพร่อง ปราศจากโทษของความขาดและความเกิน

ไร้โรคภัยอันตราย และเป็นไปได้สบาย คือ เกื้อกูลแก่การทำกิจและการบำเพ็ญความดีงามด้านจิตและปัญญา

ที่สูงขึ้นไป

คุณค่าและความสำคัญของวัตถุนี้ ยังมีส่วนยืดหยุ่นโดยสัมพันธ์กับเงื่อนไขทางสังคม และองค์ประกอบภายใน

บุคคลคือปัญญาที่รู้เข้าใจเท่าทันคุณโทษและขอบเขตความสำคัญของวัตถุ และความสามารถประสบปีติสุขที่

ประณีตกว่าการเสพเสวยอามิสสุข

ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนา จึงไม่สนใจที่จะกะเกณฑ์ว่า คนเราจะต้องมีวัตถุเท่ากันเพราะเกณฑ์นั้นไม่ใช่เครื่อง

วัดว่า จะทำให้ทุกคนเป็นสุขและมีชีวิตที่ดีงามได้

แต่สนใจเกณฑ์อย่างต่ำที่ว่าทุกคนควรมีปัจจัย ๔ เพียงพอที่จะมีชีวิตรอดได้ด้วยดี พ้นจากนั้นแล้ว พุทธศาสนา

ยอมให้มีวัตถุเสพเสวยตามความพร้อมและพัฒนาการทางจิตปัญญา ภายในขอบเขตเท่าที่จะไม่เป็นการเบียด

เบียนตนเองและผู้อื่น

ข้อนี้หมายความว่า ในการที่จะมีชีวิตเป็นสุข บุคคลที่มีพัฒนาการทางจิตปัญญาต่ำย่อมต้องการวัตถุเสพ

เสวย หรือ มีชีวิตที่ขึ้นต่อความพรั่งพร้อมปรนเปรอทางวัตถุมากกว่าบุคคลที่มีพัฒนาการทางจิตปัญญาสูงกว่า

ส่วนความตกต่ำแห่งจิตปัญญาที่เลยจากขอบเขตที่ยอมรับได้ออกไป ก็คือความต้องการที่กลายเป็นความ

หลงใหลมัวเมาเอาแต่หาสิ่งปรนเปรอตน หมกมุ่นเสพติดกามจนลืมนึกถึงภาวะที่ความพรั่งพร้อมทางวัตถุเป็น

พื้นฐานเพื่อสิ่งดีงามที่สูงขึ้นไป และสามารถทำการบีบคั้นเบียดเบียนผู้อื่นได้ทันที เพื่อเห็นแก่ตน เลยจากนี้

ไปอีกทางหนึ่งในทิศตรงข้าม ได้แก่ ความยึดติดถือมั่นตกเป็นทาสของทรัพย์สมบัติเป็นต้นที่แสวงหามาไว้

เกิดความหวงแหนห่วงกังวลจนไม่ยอมใช้ ไม่จ่ายทำประโยชน์ เป็นการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น

ซึ่งนับเป็นความชั่วร้ายอีกรูปแบบหนึ่ง และเลยเถิดออกไปอีกเช่นเดียวกันก็ คือ ความผิดหวังเบื่อหน่าย

กามวัตถุจนกลายเป็นเกลียดชัง ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อโลกามิสทั้งหลาย แล้วหันมาจงใจบีบคั้นชีวิต

ของตนเอง เป็นอยู่อย่างบีบรัดเข้มงวดหรือหมกมุ่นกับวิธีการต่างๆ ที่จะจำขังพรากตัวบีบคั้นตนให้พ้นจาก

อำนาจของวัตถุ

ดูเผินๆ บางทีวิธีการนี้คล้ายกับความเป็นอยู่ง่ายอาศัยวัตถุแต่น้อย แต่ผิดพลาดที่ถือเอาการปฏิบัติเช่นนี้

เป็นตัววิธีที่จะทำให้หลุดพ้น หรือมุ่งบีบคั้นทรมานตัวโดยมิใช่ทำด้วยปัญญารู้เท่าทันที่มุ่งความเป็นอิสระ

ซึ่งอาศัยวัตถุเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อเปิดโอกาสให้โล่งกว้างสำหรับชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา
และ บำเพ็ญกิจ

ด้วยกรุณา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

http://www.cmadong.com/board/index.php?topic=3179.100

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา พุทธศาสนิกชนพึงศึกษาให้ทั่วถึงรอบคอบ

การที่จะมีชีวิตเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุเกินจำเป็น ก็คือ การไม่สยบ ไม่หมกมุ่น ไม่หลงใหลมัวเมา ซึ่งอาศัย

ความรู้เท่าทันเห็นโทษหรือข้อบกพร่องของวัตถุที่เรียกว่า อาทีนวทัสสาวี และมีปัญญาทำตัวให้เป็นอิสระได้

ที่เรียกว่า นิสสรณปัญญา


ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 มิ.ย. 2010, 18:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

การที่จะมีชีวิตเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุเกินจำเป็น ก็คือ การไม่สยบ ไม่หมกมุ่น ไม่หลงใหลมัวเมา ซึ่งอาศัย

ความรู้เท่าทันเห็นโทษหรือข้อบกพร่องของวัตถุที่เรียกว่า อาทีนวทัสสาวี และมีปัญญาทำตัวให้เป็นอิสระได้

ที่เรียกว่า นิสสรณปัญญา มีปัญญาย่อมรู้เท่าทันเห็นโทษของวัตถุ เช่นทรัพย์สินเงินทองลิ่งปรนเปรอทั้งหลาย

ในลักษณะต่างๆ เช่น ว่ามันอาจทำให้เราหลงติดเป็นทาสของมันได้ ทำให้สุขทุกข์ของเราต้องฝากอยู่กับมัน

ทั้งหมด มันไม่อาจให้คุณค่าที่สูงขึ้นไปทางจิตปัญญา แม้แต่เพียงความสงบใจ และเมื่อหลงติดแล้วมัน

กลับเป็นตัวขัดขวางการประสบคุณค่าเช่นนั้นด้วยซ้ำ และที่สำคัญยิ่งก็คือ โดยธรรมชาติของมันเอง สิ่งเหล่านั้น

ขาดความสมบูรณ์ในตัวที่จะสนองความต้องการของเราได้อย่างเต็มอิ่มบริบูรณ์แท้จริง เพราะมันมีสภาวะ

เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน แปรปรวนไปได้ ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของครอบครองได้จริง ไม่อยู่ในอำนาจ

บังคับของเราจริง จะต้องสูญสลายพรากกันไปในที่สุด

การครอบครองสิ่งเหล่านี้อย่างโง่เขลา ย่อมเป็นการทำตนเองที่ไม่มีทุกข์ ให้ต้องทุกข์ต้องเศร้า

เมื่อเราเกิดก็ไม่ได้เกิดมากับเรา เมื่อเราตายมันก็ไม่ตามเราไป

การที่ได้แสวงหาและมีมันไว้ ก็เพื่อใช้แก้ปัญหาบรรเทาความทุกข์ ไม่ใช่เอามาเพิ่มทุกข์แก่ตัว

การมีทรัพย์สั่งสมไว้ไม่ใช้ประโยชน์ เป็นสิ่งหาสาระอันใดมิได้ ยิ่งยึดติดเป็นทาสของมันก็ยิงเป็นความชั่วร้าย

ซ้ำหนัก

เมื่อรู้เข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็กินใช้โดยเอาประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้ของมันต่อชีวิต ใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็น

ประโยชน์แก่ชีวิตและแก่เพื่อนมนุษย์ บำเพ็ญสังคหวัตถุทั้งสี่ แบ่งปันกันไปบ้าง ช่วยสร้างเสริมสภาพสังคม

ชนิดที่ปิดกั้นการทำความชั่วเอื้ออำนวยแก่การทำความดีเกื้อกูลแก่การพัฒนาคุณภาพจิตและปัญญาโดยวิธีต่างๆ

บ้าง

ร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมที่ดีงามและสนับสนุนคนที่ผดุงธรรมจรรโลงคุณภาพของมนุษย์บ้าง เป็นต้น คฤหัสถ์

ที่ขยันทำการงานหาเลี้ยงชีวิตและได้ทรัพย์มาโดยสุจริตกินใช้ทรัพย์อย่างเผื่อแผ่ รับผิดชอบต่อชีวิตผู้อื่น

และใช้ทรัพย์ทำประโยชน์ เป็นบุคคลที่ได้รับยกย่องอย่างสูงในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นผู้มีชัยทั้งโลกนี้

และโลกหน้า* ( *ที.ป.11/174/195) ยิ่งมีปัญญาพอที่จะทำตนให้รอดพ้นเป็นอิสระได้ ไม่ตกเป็น

ทาสของทรัพย์สมบัติและโลกามิสอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตของตน ไม่ทำให้การได้สิ่งเหล่านั้นมา

กลายเป็นเพียงการได้ทุกข์มาทับถมแล้ว สามารถเป็นอยู่ด้วยจิตใจเบิกบานผ่องใส โลกธรรมฉาบไม่ติด

โลกามิสถูกไม่เปื้อน มีทุกข์เบาบาง และถอนตัวออกจากทุกข์ที่เกิดขึ้นแต่ละคราวได้ฉับไว ก็ยิ่งนับว่า

เป็นบุคคลผู้ประเสริฐ

ท่านเหล่านี้ ถึงจะเป็นอริยบุคคลขั้นโสดาบันหรือแม้อนาคามี ก็เป็นผู้ประกอบกิจการงานด้วยความเอาใจใส่

รับผิดชอบ ไม่ปรากฏว่าท่านสนับสนุนให้คฤหัสถ์มีชีวิตไปวันๆ ไม่เอาใจใส่ความเป็นอยู่ ทอดทิ้งความ

รับผิดชอบต่างๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการดำเนินชีวิตด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร