วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 11:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้สืบต่อมาจาก=>

viewtopic.php?f=7&t=32352&st=0&sk=t&sd=a&start=15


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


การเรียกมรรค ว่าเป็นข้อปฏิบัติ หรือเป็นการปฏิบัติธรรม บางครั้งก็ทำให้เข้าใจความหมาย

ของมรรคแคบเกินไป ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่ง

ความจริงนั้น มรรค มีความหมายครอบคลุมธรรมภาคปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ครอบคลุมคำว่า

จริยธรรมทั้งหมด หรือ เป็นระบบจริยธรรมทั้งหมด ครอบคลุมการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามทั้งหมด

อย่างชื่อที่ใช้เรียกมรรคอย่างหนึ่งว่า พรหมจริยะ หรือ พรหมจรรย์ ซึ่งแปลได้ว่า การครองชีวิตประเสริฐ

หรือชีวิตประเสริฐนั่นเอง องค์ประกอบทั้ง ๘ ของมรรค สามารถนำไปแยกแยะกระจายเนื้อหาออกและจัด

รูปร่างระบบใหม่ โดยมีจุดเน้นจุดย้ำต่างแห่งต่างที่กัน ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติ

ธรรมระดับนั้นๆ

ดังตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ เช่น จัดให้เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเน้นความประพฤติที่แสดงออกภายนอก

มากกว่าเรื่องจิตใจ ชุดหนึ่งเรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐

จัดแสดงตามแนวการปฏิบัติชนิดที่มุ่งเข้าสู่จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา โดยเน้นหลักธรรมระดับ

วิปัสสนาปัญญา ชุดหนึ่งเรียกว่า วิสุทธิ ๗ อย่างนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 21:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ระบบการปฏิบัติที่จัดรูปออกมาจากองค์มรรคทั้งหมดนั้น หมวดธรรมหรือระบบปฏิบัติที่ถือได้ว่าเป็นระบบกลาง

หรือเป็นพื้นฐาน กว้างขวางครอบคลุม และใช้เป็นมาตรฐานของการปฏิบัติมากที่สุด ก็คือระบบที่เรียกว่า

สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา

แม้ว่าไตรสิกขาจะจัดรูปออกมาจากมรรค แต่เพื่อมองเห็นเป็นภาพที่ชัดเจนในแง่หนึ่ง อาจยกเอาไตรสิกขา

นี้เข้าคู่เทียบกับมรรคแล้วจะเห็นว่ามรรคเป็นทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือระบบการดำเนินชีวิตที่ดีงาม หรือจะ

ให้ตรงกว่านั้นว่าเป็นเนื้อหาของการดำเนินชีวิตที่ดีงาม

ส่วนไตรสิกขา เป็นระบบการศึกษา หรือระบบการฝึกฝนอบรม

หลักทั้งสองนี้เนื่องอยู่ด้วยกัน เพราะเมื่อมีการศึกษาหรือการฝึกฝนอบรม ก็เกิดเป็นการดำเนินชีวิตที่ดี

หรือการดำเนินชีวิตที่ดีก็เกิดมีขึ้น ดังนั้น เมื่อฝึกฝนไตรสิกขา มรรคก็เกิดมีขึ้นด้วย

เท่ากับพูดว่า การฝึกไตรสิกขาก็เพื่อให้มรรคเกิดขึ้น แต่แท้จริงแล้วเนื้อหาสาระของมรรคและไตรสิกขา

ก็อันเดียวกันนั่นเอง ฝึกอันใดก็ได้อันนั้น หรือฝึกสิ่งใด สิ่งนั้นก็เจริญงอกงามขึ้น และการฝึกหรือ

การศึกษานั้นก็ไม่แยกจากการดำเนินชีวิต แต่เนื่องอยู่ด้วยกันกับการดำเนินชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขา ๓ ได้แก่ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ซึ่งมักเรียกกันให้ง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา


๑. อธิศีลสิกขา คือ การฝึกความประพฤติสุจริตทางกาย วาจา และอาชีวะ ได้แก่ รวมเอาองค์มรรค

ข้อ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะเข้ามา ว่าโดยสาระก็คือ การดำรงตนด้วยดีในสังคม

รักษาระเบียบวินัย ปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคมให้ถูกต้อง มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีงาม

เกื้อกูลเป็นประโยชน์ ช่วยรักษาและส่งเสริมสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะในทางสังคม ให้อยู่ในภาวะเอื้ออำนวย

แก่การที่ทุกๆคนจะสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามหรือปฏิบัติตามมรรคกันได้ด้วยดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลเป็นสิกขาขั้นต้นที่สุด จึงมีขอบเขตกว้างขวางมาก แบ่งได้เป็นหลายระดับ ครอบคลุมถึงการแสดงออกและ

การบังคับควบคุมตนด้านภายนอกทั้งหมด ตามสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคมและธรรมชาติ

เกณฑ์อย่างต่ำสุดของศีลคือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น (เช่นเดียวกับไม่เบียดเบียนตนเองด้วย) ไม่ทำลายสภาพ

แวดล้อมทางสังคมที่เกื้อกูลแก่ชีวิตที่ดีงามหรือเกื้อกูลแก่มรรคนั้น

ต่อจากนั้น ได้แก่การฝึกฝนทางวินัยเพื่อความดีงามยิ่งขึ้นไป

ถ้าสามารถกว่านั้น ก็ก้าวไปถึงการทำการต่างๆ ที่เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ช่วยสร้างเสริมจัดสรรสภาพแวดล้อม

ซึ่งปิดกั้นโอกาสแห่งความชั่วร้าย เพิ่มพูนโอกาสแห่งการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติกิจเพื่อความดีงามหรือคุณค่า

ที่ยิ่งๆขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 4553 ครั้ง ]
๒. อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกในด้านคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ได้แก่ รวมเอาองค์มรรคข้อ

สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิเข้ามา ว่าโดยสาระก็คือ การฝึกให้มีจิตใจเข้มแข็ง มั่นคงแน่วแน่

ควบคุมตนได้ดี มีสมาธิ มีกำลังใจสูง ให้เป็นจิตใจที่สงบ ผ่องใส เป็นสุข บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งรบกวน

หรือทำให้เศร้าหมอง อยู่ในสภาพเหมาะแก่การใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะการใช้ปัญญาอย่างลึกซึ้งและตรง

ตามความเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓.อธิปัญญาสิกขา คือ การฝึกปรือปัญญาให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนถึงความ

หลุดพ้น มีจิตใจเป็นอิสระ ผ่องใส เบิกบานโดยสมบูรณ์

ได้แก่รวมเอาองค์มรรคข้อสัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ สองอย่างแรกเข้ามา ว่าโดยสาระก็คือ การฝึกอบรม

ให้เกิดปัญญาบริสุทธิ์ที่รู้แจ้งชัดตรงตามสภาพความเป็นจริง ไม่เป็นความรู้ความคิดความเข้าใจที่ถูกบิดเบือน

เคลือบคลุม ย้อมสี อำพราง หรือ พร่ามัวเป็นต้น เพราะอิทธิพลของกิเลสมีอวิชชาและตัณหาเป็นผู้นำที่

ครอบงำจิตอยู่

การฝึกปัญญาเช่นนี้ ต้องอาศัยการฝึกจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสเป็นพื้นฐาน แต่ในเวลาเดียวกัน เมื่อปัญญาที่บริสุทธิ์

รู้เห็นตามเป็นจริงนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็กลับช่วยให้จิตนั้นสงบ มั่นคง บริสุทธิ์ ผ่องใสอย่างแน่นอนยิ่งขึ้น และส่งผล

ออกไปในทางการดำเนินชีวิตคือ ทำให้วางใจ วางท่าที มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง

และใช้ปัญญาที่บริสุทธิ์ ไม่เอนเอียง ไม่มีกิเลสแอบแฝงนั้น คิดพิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำกิจทั้งหลาย

ในทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าพูดตามภาษาของนักวิชาการสมัยใหม่ หรือตามหลักวิชาการศึกษาสายตะวันตก อธิศีลสิกขา

อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ก็ครอบคลุมถึงการทำให้เกิดพัฒนาการทางสังคม พัฒนาการทาง

อารมณ์ และพัฒนาการทางปัญญา ตามลำดับ เป็นแต่จะแตกต่างกันโดยขอบเขตของความหมาย

และสิกขา ๓ มีจุดหมายที่ชัดเจนจำเพาะตามแนวของพุทธธรรม อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยในขั้นเบื้องต้น

จะเห็นได้ชัดว่า ความหมายไปกันได้ดี คือพูดให้ตรงกันในขั้นพื้นฐานว่า จะต้องฝึกฝนอบรมบุคคลให้มีวินัย

(รวมถึงความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ที่ดีทางสังคม) ให้งอกงามทางอารมณ์ (ทางพระว่าให้จิตใจเข้มแข็ง

ประณีต มีคุณภาพและสมรรถภาพดี) และให้งอกงามทางพุทธิปัญญา (เริ่มด้วยความคิดเหตุผล)

สิกขา ๓ นี้เนื่องกันและช่วยเสริมกัน ซึ่งตามหลักพัฒนาการอย่างสมัยใหม่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ เช่น

ความรู้เหตุผล ย่อมช่วยความเจริญทางอารมณ์ และช่วยเสริมการปฏิบัติตามวินัย ตลอดถึงความรับผิดชอบ

และความสัมพันธ์ในทางสังคม

ดังนั้น การฝึกฝนอบรมในสิกขา ๓ หรือการให้เกิดพัฒนาการทั้งสามอย่างจึงต้องดำเนินคู่เคียงกันไป *

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บน ที่มี * )

* พัฒนาการทางกาย ในที่นี้ไม่ได้แยกออกมาแสดงต่างหาก ในทางพระพุทธศาสนา พัฒนาการด้านนี้

เห็นได้ว่าจัดอยู่ในขั้นศีล ทั้งนี้ มีแง่ที่จะพูดอยู่ ๒ อย่าง คือ อย่างแรก ความเป็นอยู่ตามแนวทางพุทธ

เป็นการดำเนินชีวิตที่ไม่ขัดแย้งไม่ตัดขาด แต่เกื้อกูลกันกับธรรมชาติ

อย่างที่สอง ท่านเน้นความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นอยู่ด้านกายกับการบริโภควัตถุ ดังที่จัดเป็นศีลหมวดหนึ่งว่า

ปัจจจัยสันนิสิตศีล (ศีลเนื่องด้วยปัจจัยสี่) และเน้นโภชเนมัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการ

บริโภคใช้สอย) ตลอดจนหลักสัปปายะต่างๆ

มองแง่หนึ่ง พุทธศาสนาไม่พิจารณาพัฒนาการทางกายแยกต่างหากจากจริยธรรม เพราะลำพังความเจริญ

กายอย่างเดียวย่อมไม่มีความหมายเป็นสิกขา...

(พัฒนาการทางกาย ไม่ระบุในสิกขา ๓ แต่มาในภาวนา ๔ –นัย องฺ.ปัญฺจก.22/79/121)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรสิกขาเป็นระบบการฝึกอบรมจากภายนอกเข้าไปหาภายใน จากส่วนที่หยาบเข้าไปหา ส่วนที่ละเอียด

และจากส่วนที่ง่ายกว่าเข้าไปหาส่วนที่ยากและลึกซึ้งกว่า

เมื่อแรกเริ่ม การฝึกอาศัยความเห็นชอบ หรือ ความรู้ความเข้าใจถูกต้องที่เรียกว่าสัมมาทิฐิเป็นเชื้อหรือเป็นเค้า

ให้เพียงเล็กน้อย พอให้รู้ว่า ตนจะไปไหน ทางอยู่ที่ไหน จะตั้งต้นที่ไหนเท่านั้น

การเข้าใจปัญหาและการมองโลกและชีวิตตามเป็นจริงนั่นแหละ คือจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องและคือความหมาย

พื้นฐานของสัมมาทิฐิ

ส่วนในระหว่างการฝึก การฝึกส่วนหยาบภายนอกในขั้นศีล ช่วยเป็นฐานให้แก่การฝึกส่วนละเอียดภายใน

ทำให้พร้อมและสะดวกที่จะฝึกในขั้นจิตและปัญญาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

เมื่อฝึกขั้นละเอียดภายใน คือ ขั้นจิตและปัญญา ผลก็ส่งกลับออกมาช่วยการดำเนินชีวิตด้านนอก เช่น มีความ

ประพฤติสุจริตมั่นคง มีศีลที่เป็นไปโดยปกติธรรมดาของตนเอง ไม่ต้องฝืนใจหรือตั้งใจคอบควบคุมรักษา

คิดแก้ปัญหาและทำกิจต่างๆด้วยปัญญาบริสุทธิ์ เป็นต้น

โดยนัยที่กล่าวแล้ว เมื่อฝึกตลอดระบบของสิกขาแล้ว ระบบการดำเนินชีวิตทั้งหมดก็กลายเป็นระบบ

ของมรรค สอดคล้องกันหมดทั้งภายนอกและภายใน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ความหมายศัพท์)

ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓

คำว่า สิกขา แปลว่า การศึกษา การสำเหนียก การฝึก ฝึกปรือ ฝึกอบรม

ได้แก่ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับฝึกอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

จนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือความหลุดพ้นหรือนิพพาน

คำว่า สิกขา มีความหมายคล้ายกับคำว่า ภาวนา ซึ่งแปลว่า การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น

การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน การบำเพ็ญ การอบรม หรือฝึกอบรม และมี ๓ อย่างเหมือนกัน คือ

กายภาวนา- ฝึกอบรมกาย

จิตตภาวนา - ฝึกอบรมจิต

ปัญญาภาวนา - ฝึกอบรมปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พึงทราบไตรสิกขา ให้กว้างขึ้นอีก โดยเฉพาะศีลสิกขา)


ไตรสิกขา คือ การฝึกปรือความประพฤติ การฝึกปรือจิต และการฝึกปรือปัญญา ชนิดที่ทำให้แก้ปัญหาของ

มนุษย์ได้ เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ นำไปสู่ความสุขและความเป็นอิสระแท้จริง เมื่อความหมายแสดงความ

มุ่งหมายได้ชัดเจนแล้ว ก็จะทำให้มองเห็นสาระของไตรสิกขาแต่ละข้อดังนี้



สาระของอธิศีล คือ การดำรงตนอยู่ด้วยดี มีชีวิตที่เกื้อกูล ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ตนมีส่วนช่วย

สร้างสรรค์รักษาให้เอื้ออำนวยแก่การมีชีวิตที่ดีงามร่วมกัน เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาคุณภาพจิต

และการเจริญปัญญา

สาระของอธิจิต คือ การพัฒนาคุณภาพจิต หรือการปรับปรุงจิตให้มีคุณภาพและสมรรถภาพสูง ซึ่งเอื้อแก่การ

มีชีวิตที่ดีงามและพร้อมที่จะใช้งานในทางปัญญาอย่างได้ผลดีที่สุด


สาระของอธิปัญญา คือ การมองดูรู้จัก และเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง หรือรู้เท่าทันธรรมดาของ

สังขารธรรมทั้งหลาย ที่ทำให้เป็นอยู่และทำการต่างๆด้วยปัญญา คือรู้จักวางใจวางท่าทีและปฏิบัติต่อโลก

และชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในทางที่เป็นไปเพื่อแผ่ขยายประโยชน์สุข มีจิตใจผ่องใส ไร้ทุกข์

เป็นอิสรเสรี และสดชื่นเบิกบาน


สาระของไตรสิกขา แสดงตัวออกมาไม่เฉพาะที่การปฏิบัติของบุคคลเท่านั้น แต่ส่องถึงภารกิจที่มนุษย์

จะต้องจัดทำในระดับชุมชนและสังคมด้วย กล่าวคือ การจัดวางระบบแบบแผน จัดตั้งสถาบันและกิจการ

ต่างๆ จัดแจงกิจกรรมและวิธีการต่างๆ เพื่อให้สาระของไตรสิกขาเป็นไปในหมู่มนุษย์ หรือให้มนุษย์ดำรงอยู่

ในสาระของไตรสิกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 14:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนัยนี้ ศีลจึงกินความถึงการจัดสรรสภาพแวดล้อมทั้งทางวัตถุและทางสังคมที่ปิดกั้นโอกาสในการทำชั่ว

และส่งเสริมโอกาสในการทำความดี เฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบชีวิตและระบบสังคม โดยวางหลักเกณฑ์

กฎข้อบังคับ บทบัญญัติต่างๆ เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคล จัดกิจการของส่วนรวม ส่งเสริมความ

อยู่ร่วมกันด้วยดี ปิดกั้นโอกาสสำหรับการทำชั่ว และส่งเสริมโอกาสสำหรับทำความดี เรียกรวมๆด้วยคำ

ศัพท์ทางพระศาสนาว่า วินัย ซึ่งพึงจัดวางขึ้นให้เหมาะกับความมุ่งหมายของชุมชนหรือสังคม

ระดับนั้นๆ เช่น วินัย ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติสำหรับภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ มีทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับความ

ประพฤติส่วนตัวของภิกษุและภิกษุณีแต่ละรูป มีทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดระบบความเป็นอยู่ของชุมชน

การปกครอง การสอบสวนพิจาณาคดี การลงโทษ วิธีแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ระเบียบและวิธีดำเนินการประชุม

ตลอดกระทั้งระเบียบปฏิบัติและมรรยาทต่างๆ ในการต้อนรับแขก ในการไปเป็นอาคันตุกะ และในการใช้

สาธารณสมบัติ เป็นต้น

หรือ อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำหลักการกว้างๆ ไว้สำหรับผู้ปกครองบ้านเมืองจะพึงนำไปกำหนดรายละเอียด

วิธีปฏิบัติต่อสังคมวงกว้างระดับประเทศชาติ เช่น ทรงสอนหลักที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ให้พระเจ้า

จักรพรรดิจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมให้เหมาะสมกับประชาชนแต่ละจำพวกแต่ละประเภท

ให้วางวิธีการป้องก้นแก้ไขปราบปรามมิให้มีการอันอธรรมหรือความชั่วร้ายเดือดร้อนขึ้นในแผ่นดิน

ให้หาทางจัดแบ่งปันรายได้ หรือ เฉลี่ยทุนทรัพย์มิให้มีคนขัดสนยากไร้ในแผ่นดิน * เป็นต้น

วินัยที่จะสร้างเสริมศีล สำหรับสังคมวงกว้างนี้ ถ้าจะพูดตามภาษาปัจจุบัน ก็คือ ระบบการปกครอง

ทั้งบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ระบบเศรษฐกิจ ระเบียบแบบแผนทางขนบธรรมเนียมประเพณี

วัฒนธรรม ตลอดถึงระบบการทางสังคมอย่างอื่นๆ รวมทั้งส่วนปลีกย่อยที่สำคัญเช่น วิธีอำนวยหรือ

ไม่อำนวยโอกาสเกี่ยวกับแหล่งเริงรมย์สถานอบายมุข สิ่งเสพติด การประกอบอาชญากรรมต่างๆ

และมาตรการเกี่ยวกับการงานอาชีพ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_9989.jpg
IMG_9989.jpg [ 68.01 KiB | เปิดดู 4489 ครั้ง ]
ขยายความ คห.บนที่มี *


* ดู จักรวรรดิวัตร ที่ ที. ปา.11/35/65 และราชสังคหวัตถุ ตามแนว กูฏทันตสูตร

ที.สี.9/206/171 และ ใน สํ. อ.1/169 เป็นต้น ตัวอย่างการจัดวินัยสำหรับสังคมระดับประเทศ

ตามแนวคำสอนนี้ ที่เด่นก็คงได้แก่ระบบการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณ พ.ศ.216-260

หรือ 270-312)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 มิ.ย. 2010, 15:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิจิตต์หรือสมาธิ ว่าโดยสาระระดับสูงสุด หรือเต็มรูป ก็ได้แก่สมถวิธี หรือ วิธีบำเพ็ญกรรมฐาน แบบต่างๆ

ซึ่งมากอาจารย์มากสำนักปฏิบัติได้เพียรจัดเพียรกำหนดกันขึ้น และวิวัฒนาการเรื่อยมาในประวัติศาสตร์

พระพุทธศาสนา ดังที่ปรากฏเป็นแบบแผนในขั้นอรรถกถา แล้วขยายและดัดแปลงต่อๆกันมา

แต่เมื่อมองอย่างกว้างๆ ให้คลุมไปทุกระดับ ก็ย่อมกินความถึงวิธีการและอุปกรณ์ทั้งหลายที่จะช่วยชักจูงจิตใจ

ของคนให้สงบ ให้มีจิตใจยึดมั่นและมั่นคงในคุณธรรม เร้าใจให้ฝักใฝ่และมีวิริยะอุตสาหะในการสร้างความ

ดีงามยิ่งขึ้นไป ตลอดจนอุบายวิธีต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพจิตของคน เช่น การมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

อันสงบร่มรื่น ชักจูงความคิดในทางที่ดีงาม การสร้างบรรยากาศในสถานที่อยู่อาศัย ในที่ทำงาน

สถานประกอบอาชีพ เป็นต้น ให้สดชื่นแจ่มใส ประกอบด้วยเมตตา กรุณา ชวนให้อยากทำแต่ความดี

และทำให้มีคุณภาพจิตประณีตยิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆ ที่ปลุกเร้าคุณธรรม การส่งเสริมกำลังใจในการทำความดี

ความมีอุดมคติ และการฝึกจิตใจให้เข้มแข็งหนักแน่นมั่นคงมีสมรรถภาพสูง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิปัญญา ว่าโดยรูปศัพท์ที่เคร่งครัด ก็คือวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีวิวัฒนาการในด้านวิธีฝึกปฏิบัติจนเป็นแบบแผน

ทำนองเดียวกับสมถวิธี

แต่เมื่อมองให้กว้างตามสาระและความมุ่งหมาย เรื่องของปัญญาก็ได้แก่กิจการฝึกปรือความรู้ความคิด

ซึ่งเรียกกันว่าการศึกษาเล่าเรียนทั้งหมด ที่อาศัยกัลยาณมิตร โดยเฉพาะครูอาจารย์ มาช่วยถ่ายทอดสุตะ

(ความรู้แบบรับถ่ายทอด หรือแบบเล่าเรียนสดับฟัง) และความจัดเจนในศิลปวิทยาต่างๆ เริ่มแต่วิชาชีพ

(เรื่องระดับศีล) เป็นต้นไป

แต่การที่จะเป็นอธิปัญญาได้นั้น เพียงความรู้ความจัดเจนในวิชาชีพและวิทยาการต่างๆหาเพียงพอไม่ ผู้สอน

พึงเป็นกัลยาณมิตร ที่สามารถสร้างศรัทธาและสามารถชี้แนะให้ผู้เรียนเป็นคนรู้จักคิดเองได้ อย่างน้อยทำ

ให้เขามีความเห็นชอบตามคลองธรรม และถ้าสามารถทำได้ยิ่งกว่านั้น ก็ให้เขารู้จักมองโลกและชีวิตอย่างรู้

เท่าทันความจริงที่จะให้วางใจวางท่าทีมีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งอย่างถูกต้อง ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นผู้มี

การศึกษาชนิดที่ขัดเกลากิเลสและแก้ทุกข์ได้ สามารถทำประโยชน์แก่ผู้อื่น พร้อมกับที่ตนเองมีจิตใจเป็นสุข

การฝึกฝนอบรมในขั้นนี้ ตามปกติเป็นภารกิจของสถานศึกษาต่างๆ ธรรมดาสถานศึกษาทั้งหลายนั้น

ย่อมสมควรให้การฝึกปรือบุคคลครบทั้ง ๓ ระดับ คือ ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา มิใช่มุ่งแต่ปัญญา

อย่างเดียว

ทั้งนี้โดยอาศัยเหตุผลว่า อธิปัญญาเป็นการศึกษาขั้นสูงสุด ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยดีต้องอาศัยการศึกษา ๒ ระดับ

แรกเป็นพื้นฐาน และยิ่งกว่านั้น การศึกษาหรือการฝึกปรือ ๓ ขั้นนี้ มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยส่งเสริมกัน

และกัน เมื่อฝึกปรือครบทั้ง ๓ ขั้น จึงจะได้การศึกษาที่สมบูรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร