วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 03:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Buddha.jpg
Buddha.jpg [ 254.89 KiB | เปิดดู 4278 ครั้ง ]
อริยสัจกับปฏิจจสมุปบาท

ทั้งอริยสัจ และ ปฏิจจสมุปบาท ต่างก็เป็นหลักธรรมสำคัญด้วยกัน

เมื่อมีผู้ถามว่า "พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?"

อาจตอบว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือ อาจตอบว่า ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทก็ได้

คำตอบทั้งสองนั้น ต่างก็มีพุทธพจน์เป็นที่อ้างยืนยันได้

ข้อควรทราบก็ คือ คำตอบทั้งสองอย่างนั้น ตามที่จริงแล้วก็ถูกด้วยกัน และมีความหมายลงกันได้ เป็นอันหนึ่ง

อันเดียว กล่าวคือปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นเนื้อหาสำคัญของอริยสัจ และอริยสัจก็มีความหมายครอบคลุม

ปฏิจจสมุปบาท

เรื่องนี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาเริ่มต้นตั้งแต่หลักฐานในคัมภีร์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์วินัยปิฎก เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ กำลังทรงเสวยวิมุตติสุข

และพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ทั้งโดยอนุโลม (กระบวนการเกิดทุกข์) และโดยปฏิโลม

(กระบวนการดับทุกข์) ตลอดเวลา ๑ สัปดาห์ ครั้นสิ้นระยะเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์แล้ว

เมื่อปรารภการที่จะทรงประกาศธรรมแก่ผู้อื่นต่อไป ทรงพระดำริว่า


“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์รื่นเริงอยู่

ในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท

แม้ฐานะนี้ก็เห็นได้ยาก กล่าวคือ ...นิพพาน”

(วินย.4/1-7/1-8)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนในพระสูตร เมื่อปรากฏข้อความเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนนี้ ก็จะเล่าความแนวเดียวกัน เริ่มแต่พุทธดำริ

ที่เป็นเหตุให้เสด็จออกผนวช การเสด็จออกผนวช การศึกษาในสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส

การบำเพ็ญและการละเลิกทุกรกิริยา การทรงกลับเสวยพระกระยาหาร แล้วบรรลุฌานและตรัสรู้ วิชชา ๓

ในตอนตรัสรู้ จะมีข้อความที่ตรัสเล่าว่า


“ครั้นเราบริโภคอาหาร มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...

ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข...มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริบูรณ์อยู่”


“เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากสิ่งมั่วหมอง นุ่มนวล ควรแก่งาน ตั้งมั่น

ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

(วิชชาที่หนึ่ง)...

ได้น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ ก็มองเห็นหมู่สัตว์ที่จุติอุบัติอยู่ (วิชชาที่สอง)...

ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ (วิชชาที่ ๓)“

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากนี้ ก็จะมีคำบรรยายพุทธดำริ ในการที่จะทรงประกาศธรรม ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับในวินัยปิฎก

ที่ยกมาอ้างไว้แล้วข้างต้นนั้น

จะเห็นว่า วินัยปิฎกเล่าเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ ระยะเสวยวิมุตติสุข เริ่มแต่พิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท

จึงทรงดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะความยากของปฏิจจสมุปบาท และนิพพานที่ได้ตรัสรู้


ส่วนพระสูตร เล่าเหตุการณ์ก่อนตรัสรู้เป็นลำดับมาจนถึงตรัสรู้วิชชา ๓ แล้วข้ามระยะเสวยวิมุตติสุขทั้งหมดไป

มาลงที่พุทธดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะความยากของปฏิจจสมุปบาท และนิพพานเช่นเดียวกัน

ผู้ถือเอาความตอน ทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ในวินัยปิฎก และพุทธดำริปรารภการประกาศธรรม

ทั้งในวินัยปิฎก และในพระสูตร ย่อมกล่าวได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท

ส่วนผู้พิจารณาในพระสูตร เฉพาะเหตุการณ์ตอนตรัสรู้วิชชา ๓ และจับเฉพาะวิชชาที่ ๓ อันเป็นตัวการตรัสรู้แท้ๆ

(เฉพาะวิชชา ๒ อย่างแรกยังนับไม่ได้ว่าเป็นการตรัสรู้ และไม่จำเป็นสำหรับนิพพาน) ก็ได้ความหมายว่า

ตรัสรู้อริยสัจสี่ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

อย่างไรก็ดี คำตอบทั้งสองนั้น แม้จะถูกต้องทั้งคู่ แต่ก็มีความหมายบางอย่างที่เป็นพิเศษกว่ากันและขอบเขต

บางแง่ที่กว้างขวางกว่ากัน ซึ่งควรจะทำความเข้าใจเพื่อมองเห็นเหตุผล ในการแยกแสดงเป็นคนละหลัก

ความหมายที่ตรงกันของหลักใหญ่ทั้งสองนี้ มองเห็นได้ง่าย เพื่อความรวบรัด ขอให้ดูหลักอริยสัจ

เทียบกับหลักปฏิจจสมุปบาท ดังนี้



๑.สมุทยวาร :อวิชชาเกิด => สังขารเกิด ฯลฯ ชาติเกิด => ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาสเกิด

๒. นิโรธวาร :อวิชชาดับ => สังขารดับ ฯลฯ ชาติดับ => ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาสดับ

ข้อ ๑ .คือ ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร แสดงกระบวนการเกิดทุกข์ เท่ากับรวมอริยสัจข้อ ๑ (ทุกข์)

และ ๒ (สมุทัย) ไว้ในข้อเดียวกัน แต่ในอริยสัจ แยกเป็น ๒ ข้อ เพราะยกเอาท่อนท้าย (ชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ฯลฯ) ที่เป็นผลปรากฏออกไปตั้งต่างหากเป็นอริยสัจข้อแรก ในฐานะเป็นปัญหาที่ประสบซึ่ง

จะต้องคิดแก้ไข แล้วจึงย้อนกลับมาหาท่อนที่เป็นกระบวนการทั้งหมด ตั้งเป็นข้อที่ ๒ ในฐานะเป็นการสืบ

สาวหาต้นเหตุของปัญหา

ข้อ ๒.คือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร แสดงกระบวนการดับทุกข์ เท่ากับ อริยสัจข้อที่ ๓ (นิโรธ)แสดงให้เห็น

ว่า เมื่อแก้ปัญหาถูกต้องตรงสาเหตุแล้ว ปัญหานั้นจะดับไปได้อย่างไรตามแนวทางของเหตุปัจจัย

แม้ว่าโดยตรง ปฏิจจสมุปบาทนัยนี้ จะตรงกับอริยสัจข้อที่ ๓ แต่ก็ถือว่ากินความรวมถึงอริยสัจข้อที่ ๔ ได้ด้วย

เพราะกระบวนการดับสลายตัวของปัญหา ย่อมส่อให้เห็นแนวทางดำเนินการหรือวิธีการทั่วไปที่จะต้องลงมือ

ปฏิบัติในการจัดการแก้ปัญหานั้นไปด้วยในตัว กล่าวคือ ชี้ให้เห็นว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ณ จุดใดๆ


เมื่อสรุปอริยสัจให้เหลือน้อยลงอีกก็ได้ ๒ ข้อ คือ ฝ่ายมีทุกข์ (ข้อ ๑ และ ๒) กับฝ่ายหมดทุกข์ (ข้อ ๓

และ ๔)

ปฏิจจสมุปบาท ๒ นัยนั้น ในที่บางแห่งถือเป็นคำจำกัดความอริยสัจข้อที่ ๒ และ ๓ ตามลำดับ คือ

แบบสมุทัยวาร ถือเป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๒ (สมุทัย)

แบบนิโรธวาร เป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๓ (นิโรธ)*(* ดู สํ.นิ.16/251-252/126-128)

แต่ในคำจำกัดความข้างต้น แสดงเฉพาะตัณหาอย่างเดียวว่า เป็นสมุทัย และการดับตัณหาว่าเป็นนิโรธ

ทั้งนี้เพราะตัณหาเป็นตัวเด่น เป็นตัวแสดงที่ปรากฏชัด หรือเป็นขั้นออกโรงแสดงบทบาท จึงจับเอาเป็นที่พุ่ง

ความสนใจ

อย่างไรก็ดี ย่อมเป็นไปตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 มิ.ย. 2010, 18:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนแง่ที่ปฏิจจสมุปบาท กับ อริยสัจ พิเศษหรือแปลกจากกัน พอสรุปได้ดังนี้

๑. หลักธรรมทั้งสอง เป็นการแสดงความจริงในรูปแบบที่ต่างกัน ด้วยวัตถุประสงค์คนละอย่าง

ปฏิจจสมุปบาท แสดงความจริงตามกระบวนการของมันเอง ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติล้วนๆ

ส่วนอริยสัจ เป็นหลักความจริงในรูปแบบที่เสนอตัวต่อปัญญามนุษย์ ในการที่จะสืบสวนค้นคว้า

และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

โดยนัยนี้ อริยสัจ จึงเป็นหลักธรรมที่แสดงโดยสอดคล้องกับประวัติ การแสวงหาสัจธรรมของพระพุทธเจ้า

เริ่มแต่การเผชิญความทุกข์ที่ปรากฏเป็นปัญหา แล้วสืบสาวหาสาเหตุ พบว่ามีทางแก้ไม่หมดหวัง

จึงกำหนดรายละเอียด หรือ จุดที่ต้องแก้ไขและกำหนดเป้าหมายให้ชัด แล้วดำเนินการแก้ไขตามวิธีการจนบรรลุ

เป้าหมายที่ต้องการนั้น

และโดยนัยเดียวกัน จึงเป็นหลักธรรมที่ยกขึ้นมาใช้ในการสั่งสอนเพื่อให้ผู้รับคำสอนทำความเข้าใจ

อย่างมีระเบียบ

มุ่งให้เกิดผลสำเร็จทั้งการสั่งสอนของผู้สอนและการประพฤติปฏิบัติของผู้รับคำสอน

ส่วนปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวกระบวนธรรมแกนกลางของอริยสัจ และ เป็นเนื้อหาทางฝ่ายวิชาการ

ที่จะต้องศึกษา

ในเมื่อต้องการเข้าใจอริยสัจให้ชัดเจนถึงที่สุด จึงเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาทบทวนหลังจาก

ตรัสรู้ใหม่ๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 08:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)


๒. ข้อที่แปลกหรือพิเศษกว่ากันอย่างสำคัญ อยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ซึ่งตรงกับอริยสัจข้อที่ ๓

และ ๔ (นิโรธ และ มรรค ) กล่าวคือ

ก.เมื่อเทียบกับอริยสัจข้อ ๓ (นิโรธ) จะเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวารกล่าวถึงนิโรธด้วยก็จริง

แต่มุ่งแสดงเพียงกระบวนการเข้าถึงนิโรธ ไม่ได้มุ่งแสดงสภาวะของตัวนิโรธ หรือนิพพานเอง

ด้วยเหตุนี้ในพุทธดำริ เมื่อจะทรงประกาศธรรม จึงแยกธรรมที่ทรงพิจารณาเป็น ๒ ตอน คือ

ตอนแรก กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาท (ข้างเกิดและข้างดับ)

ต่อจากนั้น มีพุทธดำริต่อไปอีกว่า “แม้ฐานะนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขาร

ทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน”

นี้แสดงว่า ทรงประสงค์ตรัสแยกธรรมที่ตรัสรู้เป็น ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท กับ นิโรธ(=นิพพาน)

ส่วนอริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ มุ่งแสดงตัวสภาวะของนิโรธเป็นสำคัญ แต่มีความหมายเล็งไปถึงกระบวนการ

เข้าถึงนิโรธแฝงอยู่ด้วย

ข. แม้ว่าปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร จะกินความรวมถึงอริยสัจข้อ ๔ คือ มรรค ด้วย แต่ก็ยังไม่ให้ผลใน

ทางปฏิบัติชัดเจน เพราะปฏิจจสมุปบาท แสดงแต่ตัวกระบวนการล้วนๆ ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติเท่านั้น

มิได้ระบุลงไปให้ชัดเจนว่า สิ่งที่จะต้องทำมีรายละเอียดอะไรบ้าง จะต้องทำอย่างไร กระบวนการอย่างนั้น

จึงจะเกิดขึ้น มีลำดับขั้นการปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะกลวิธีต่างๆในการกระทำ คือ ไม่ได้จัดวางระบบวิธีการไว้

โดยเฉพาะเพื่อการปฏิบัติอย่างได้ผล เหมือนแพทย์รู้วิธีแก้ไขโรค แต่ไม่ได้สั่งยาและวิธีปฏิบัติในการรักษาไว้ให้

ส่วนในอริยสัจ มีหลักข้อที่ ๔ คือ มรรค ซึ่งกำหนดขึ้นไว้เพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะ ให้เป็นสัจจะข้อหนึ่ง

ต่างหาก ในฐานะข้อปฏิบัติที่พิสูจน์แล้ว ยืนยันได้ว่า นำไปสู่จุดหมายได้แน่นอน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 08:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค นี้ แสดงหลักความประพฤติปฏิบัติไว้อย่างละเอียดกว้างขวางพิสดาร ถือว่าเป็นคำสอน

ในภาคปฏิบัติ หรือ ระบบจริยธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง

หรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ

เมื่อเทียบหลักอริยสัจ กับปฏิจจสมุปบาท ถือว่าปฏิจจสมุปบาท เป็นมัชเฌนธรรมเทศนา คือ หลักธรรมที่แสดง

เป็นกลางๆ หรือหลักธรรมสายกลาง

ส่วนมรรคอันเป็นอริยสัจข้อที่ ๔ เป็น มัชฌิมาปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติหรือทางสายกลาง มีเนื้อหาที่เป็นลักษณะ

พิเศษต่างออกไป จึงควรแยกไว้เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากโดยเฉพาะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




927411043l1.gif
927411043l1.gif [ 3.09 KiB | เปิดดู 4214 ครั้ง ]
รวมความว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้ที่เป็นหลักใหญ่มี ๒ นัย คือ ปฏิจจสมุปบาท

และนิพพาน กับอริยสัจ ๔

ทั้งสองนัยว่าโดยสาระแล้ว เป็นอันเดียวกัน แต่พิจารณาต่างแง่กัน คือ

๑. ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน ตรัสในคราวปรารภที่จะทรงเริ่มประกาศธรรมว่า สิ่งที่ตรัสรู้ลึกซึ้งยากยิ่งนักที่

สัตว์ทั้งหลายจะเข้าใจ

การตรัสในแง่นี้หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานเป็นส่วนเนื้อหาสาระของการตรัสรู้ หรือพูดให้สัมพันธ์

กับนัยที่สองว่าเป็นส่วนแก่นของอริยสัจ เป็นตัวแท้ๆ ล้วนๆ ของธรรมซึ่งเข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง

๒.อริยสัจ ๔ ตรัสในคราวทรงเล่าลำดับแห่งการปฏิบัติจนตรัสรู้ของพระองค์เอง และในคราวทรงแสดงธรรม

สั่งสอนผู้อื่น เริ่มแต่ในปฐมเทศนา

การตรัสในแง่นี้หมายความว่า อริยสัจ ๔ คือธรรมที่ได้ตรัสรู้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะที่จัดเข้าลำดับ

เป็นกระบวนการขั้นตอน โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะเข้าใจและการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพื่อมุ่งให้สอน

เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้ผล


พูดอีกอย่างหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน เป็นแต่ตัวธรรมล้วนๆ ตามธรรมชาติ

ส่วนอริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมในรูปที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง และพูดได้ว่าอริยสัจ ๔ คือธรรมทั้งหมดมีจุด

ซึ่งเป็นแก่นแท้เข้าใจยากที่สุดอยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานเท่านั้น ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน

แล้วก็เป็นอันเข้าใจพุทธศาสนาทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2blq1b7.gif
2blq1b7.gif [ 58.97 KiB | เปิดดู 4198 ครั้ง ]
ศึกษาต่อที่

viewtopic.php?f=7&t=32351&p=209035#p209035

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร