วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 20:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:37
โพสต์: 54

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




:b49: :b50: :b50: :b49:

*เขาว่า*...เราๆ...ไม่...*โกรธ*

:b49: :b50: :b50: :b49:

*เขาว่าเราทำผิด แต่เราไม่ผิดดังเขาว่า

*เขาพูดไม่ถูก ก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม

*เพราะเขาพูดไม่ถูกตามความจริง

*ถ้าเราผิดดังเขาว่า ก็ถูกดังเขาว่าแล้ว

*ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมอีก

*ถ้าคิดได้ดังนี้ รู้สึกว่าสบายจริงๆ

*มันเลยไม่มีอะไรผิด ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมด


:b49: :b50: :b50: :b49:

*หลวงปู่ชา*

:b49: :b50: :b50: :b49:




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:37
โพสต์: 54

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




:b49: :b50: :b50: :b49:

***ผู้มีสติ***

:b49: :b50: :b50: :b49:

...ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา
ผู้นั้นก็จะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
...เพราะว่าเมื่อตามองเห็นรูปก็เป็นธรรมะ
หูได้ยินเสียงก็เป็นธรรมะ
จมูกได้กลิ่นก็เป็นธรรมะ
ลิ้นได้รสก็เป็นธรรมะ
ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ
นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น

ฉะนั้น ผู้มีสติจึงได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน
มันมีอยู่ทุกเวลาเพราะอะไร ?
เพราะเรามีความรู้อยู่

ในเวลานี้ เราจึงเรียนอยู่กลางธรรมะ
จะเดินไปข้างหน้าก็ถูกธรรมะ
จะถอยไปข้างหลังก็ถูกธรรมะ
ท่านจึงให้มีสติถ้ามีสติแล้ว
มันจะเห็นกำลังใจของตนเห็นจิตของตน
ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองเป็นอย่างไรก็ต้องรู้
รู้ถึงที่แล้ว ก็รู้แจ้งแทงตลอดเมื่อมันรอบรู้อยู่เช่นนี้
การประพฤติปฏิบัติมันก็ถูกต้องดีงามเท่านั้นแหละ


:b49: :b50: :b50: :b49:

*หลวงปู่ชา*

:b49: :b50: :b50: :b49:




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:37
โพสต์: 54

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




:b49: :b50: :b50: :b49:

***ทางพ้นทุกข์***

:b49: :b50: :b50: :b49:

* มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข*

*ความจริงสุขนั้นก็คือ ทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง*

*ส่วนทุกข์ก็คือ ทุกข์อย่างหยาบ*

*พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง*

*ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข*

*เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ*

*ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา*

*ไปจับหางมันก็ดูเหมือนเป็นสุข*

*แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน*

*เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน*

*คือ ตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง*

*ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ*

*ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ*

*ได้มาแล้วก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริงๆ*

*เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจ ว่ามันจะสูญเสียไป*

*กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละเป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ*

*บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริงๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก*

*นี่หมายความว่า ถึงจะสุขก็จริงแต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย*

*แต่เราไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงู*

*ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้*

*ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี*

*อันนี้อยู่ในวงวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง*

*ดังนั้น ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง*


:b49: :b50: :b50: :b49:

*หลวงปู่ชา*

:b49: :b50: :b50: :b49:




แก้ไขล่าสุดโดย Kamonchanok เมื่อ 10 เม.ย. 2010, 17:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:37
โพสต์: 54

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




:b49: :b50: :b50: :b49:

***ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ ของ องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ***

:b49: :b50: :b50: :b49:

* * * * * * *

ขันธวิมุตติสมังคีธรรม
นะมัตถุ สุคะตัสสะ ปัญจะธรรมะขันธานิ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระสุคต บรมศาสดาสักยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระนวดลกกุตรธรรม ๙ ประการ และอริยสงฆ์สาวกบัดนี้ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมขันธ์โดยสังเขปตามสติปัญญา ฯ

ยังมีท่านคนหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน
เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไปแต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน
นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ ๆ เรื่องแก่ตาย
วันหนึ่งท่านรู้จริงทั้งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หาย
เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์กลาย
แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ทำเมิน (เมิน หมายถึง มอง)ไป เมินมาอยู่หน้าเขา
จะกลับไปป่าวร้องกลับไปป่าวร้องซึ่งพวกพ้องเล่าก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้าบอ
สู้อยู่ผู้เดียวหาเรื่องเครื่องสงบเป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ
เดี๋ยวถูกติเป็นเรื่องเครื่องรำคาญฯ
ยังบุรุษคนหนึ่งอีกกลัวตายน้ำใจฝ่อ มาหาแล้วพูดตรงๆน่าสงสาร
ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน เห็นธรรมที่จริงแล้วหรือยังที่ใจหวัง
เอ๊ะทำไมถึงรู้ใจฉัน บุรุษผู้นั้นก็อยากอยู่อาศัยท่านว่าดีๆ
ฉันอนุโมทนา จะพาดูเขาใหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มีคือ
กายคตาสตภาวนา ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อนหนทางจรอริยวงศ์
จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ใช่หลอกเล่นบอกความให้ตามจริง
แล้วกล่าวปฤษณาท่าให้ตอบ ปฤษณานั้นว่าระวิง คืออะไร
ตอบว่าวิ่งเร็ว คือ วิญญาณอาการไปมา เดินเป็นแถวตามแนวกัน
สัญญาตรงไม่สงสัย ใจอยู่ในวิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวกายนอกหลอกลวงจิต
ทำให้คิดวุ่นวายเที่ยวส่ายหาหลอกเป็นธรรมต่างๆ อย่างมากมาย
ถามว่าห้าขันธ์ใครพ้นจนทั้งปวงแก้ว่าใจซิอยู่คนเดียว
ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันตัดสิ้นพิษหวง หมดที่หลงอยู่เดียวดวงสัญญาลวงไม่ได้หมายหลงตามไป
ถามว่าที่ว่าตายใครเขาตายที่ไหนกัน แก้ว่าสังขารตายทำลายผล
ถามว่าสิ่งใดก่อให้ต่อ วนแก้ว่า กลสัญญาพาให้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิดติดยินดี
ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียนเลยลมจิตจำปิดสนิทเนียนถึงเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น

ถามว่าใครกำหนดใครหมายเป็นธรรม แก้ว่าใจกำหนดใจหมายเรื่อหาเจ้าสัญญานั้นเอง
คือว่า ดีคว้าชั่วผลักจิตติดรักชัง ถามว่ากินหนเดียวไม่เที่ยวกิน
แก้ว่า สิ้นอยากรู้ไม่หวัง ในเรื่องเห็นต่อไปหายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นทิ้งอาลัย
ถามว่า สระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ แก้ว่าธรรมสิ้นอยากจากสงสัยสะอาดหมดราคีไม่มีภัย
สัญญาในนั้นพรากสังขารขันธ์นั้นไม่กวนใจจึงเปี่ยมเต็มที่ไม่มีพร่อง
เงียบระงับดวงจิตไม่คิดครวญ เป็นของควรชมชื่นทุกคืนวัน

แม้ได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน ก็ไม่เหมือนรู้จริงทิ้งสังขารหมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำคัญ
จำอยู่ส่วนจำไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้นหายดิ้นรน
เหมือนดังว่ากระจกส่องเงาหน้าแล้วอย่าคิดติดสัญญา
เพราะว่าสัญญษนั้นเหมือนดังเงา อย่าได้เมาไปตามเรื่องเครื่องสังขาร
ใจขยับจับใจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยงของใจใช่ต้องว่า
รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตไหวแต่กอ่นนั้นหลงสัญญาว่าเป็นใจ สำคัญว่าในนอกจึงหลอกลวง

คราวนี้ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาใดมิได้หวง
เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวงไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา
เปรียบเหมือนขึ้นยอดเขาสูงแท้แลเห้นดิน แลเห็นสิ้นทุกสัตว์
แก้ว่า สูงยิ่งนัก แลเห็นเรื่องของตนแต่ต้นมาเป็นมรรคาทั้งนั้นเช่นบันได้
ถามว่าน้ำขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือตอบว่าสังขารแปรแก้ไม่ได้
ธรรมดากรรมแต่งไม่แกล้งใครขืนผลักไสจับต้องก็หมองมัวชั่วในจิต
ไม่ต้องคิดขัดธรรมดาสภวะสิ่งเป็นจริง
ดีชั่วตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัวไม่พัวพันสังขารเป็นการเย็น
รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารที่ผันแปรเมื่อแลเห็น เบื่อแล้วปล่อยได้คล่องไม่ต้องเกณฑ์ธรรมก็เย็นใจ
....ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญใดมิไห่วงเกิดก็ตาม
ดับก็ตามสิ่งทั้งปวงไม่ต้องห่วงไม่ต้องกันหมู่สัญญาเปรียบเหมือนขึ้นยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน
แลเห็นทุกตัวสัตว์
....แลเห็นเรื่องของตนแต่ต้น เป็นมรรคาทั้งนั้น เช่น บันได...
ระงับอาการ ถามว่าห้าหน้าที่มีครบกัน ตอบว่าขันธ์แบ่งแจกแยกห้าฐานเรื่องสังขาร
ต่างกองรับหน้าที่มีกิจการ จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญเจริญสุข
นินทาทุกข์เสื่อมยศหมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเป็นจริง
ทั้งแปดอย่างใจไม่หันไปพัวพัน เพราะว่ารูปขันธ์ก้ทำแก่ไข้มิได้เว้น
นามก้มิได้พักเหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา
เรื่องดีพาเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องขันธ์ขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุดเหมือนไฟจุดจิตหมองไม่ผ่องใส
นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไปโทษใคร อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน
เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชย เช่นไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้
อยากให้อยู่เป็นหนึ่งหวังพึ่งเฉย จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย
สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นครั้งคราวถ้ารู้เท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์
ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราวถ้ารู้ได้อย่างนี้จึงดียิ่ง
เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิถี ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน
ดีหรือชั่วต้องดับเสื่อมลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมายใจไม่เที่ยงของไหววิบวับ
สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่ง เล็กบังใหญ่รู้ไม่ทันขันธ์บังธรรมมิดผิดที่นี่
มัวดูขันธ์ธรรมไม้ห็นเป็นธุลีไปส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล
ถามว่ามีไม่มีนี้คืออะไรทีนี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปล
โปรดแก้เถิดที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คนนี้ข้อต้นมีไม่มีนี้เป็นธรรม
ที่ลึกล้ำใครพบจบประสงค์ไม่มีสังขารมีธรรมที่มั่นคง น้นแลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง
ธรรมเป็นหนึ่งไม่แปรผัน เลิศภพสงบยิ่ง เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง
ระงับนิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ ใจก้สร่างจากเมาหายเร่าร้อนความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย
เรื่องพัวพันขันธ์ ๕ ซาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก้หักลงความอยากใหญ่ยิ่งก้ทิ้งหลุด
ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิษหวง ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจง
เชิญโปรดชี้อีกอย่างหนทางใจ สมุทัยของจิตที่ปิดธรรมแก้ว่าสมุท้ยกว้างใหญ่นัก
ย่อลงก็คือความรักบีบใจอาลัยขันธ์ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิกกันสสมุทัยมิได้มี

จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต ไม่ต้องคิเวียนวนจนป่นปี้ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี
ใจตกที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์อาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต
เอาจนคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุกข์ทุกข์เท่าไรมิได้กลัว สร่างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี
รู้เท่านี้ก็คลายหายร้อนพอพักผ่อนเสาะแสวงหาทางหนี จิตรู้ธรรมลืมจิตทุ่ลี
ใจรู้ธรรมที่เป็นสุขขันธ์ ทุกข์แท้แน่ประจำ ธรรมคงธรรม
ขันธ์คงขันธ์เท่านั้นและคำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน
หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแท้แต่ส่วนสังขาระขันธ์ปราศจากสุขเนทุกข์แท้
เพราะต้องแก่ไข้ตายไม่วายวัน จิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศ จิตก้ถอนจากผิดเครื่องเศร้าหมองของแสลง
ผิดเป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้งถอนพิษหมดพิษใจ
จิตเห็นธรรมดีล้นที่พ้นผิด พบปะธรรมเปลื้องเครื่องกระสัน มีสติอยู่ในตัวไม่พัวพัน
เรื่องรักขันธ์ขาดสิ้นหายยินดีสิ้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงใย ถึงจะคิดก้ไม่ห้ามตามนิสัย
เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งพ้นยุ่งไป พึงรู้ได้บาปมีขึ้นเพราะขืนจริง
ตอบว่าบาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยิ่ง
ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่งย่อมทุกข์ไม่สุขเลย

แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ
อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉยยืดความจำว่าเป็นใจหมายจนเคย
เลยเพลินเชยชมจำทำมานาน ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น
จึงหลงเล่นขันธ์ห้าน่าสงสารให้ยกตัวอวดตนพ้นประมาณ
เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไปไม่เป็นผล เที่ยวดูโทษคนอื่นนั้นขื่นใจ
เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา
ใจของเราเพียรระวังถนอมอย่าให้อกุศลวนมาตอม
ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบายเห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็กี เป็นราคียึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย
เลยซ้ำร้ายกิเลสกลุ้มเข้ารุมกวน เติมทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งกลัวนักหนักจิตคิดดหยหวน
ซ้ำอารมณืกวนกามห้าก็มาขวนยกกระบวนทุกอย่างต่าง ๆ ไป
เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ภัยไปได้นาถ้าโทษของตัวอย่าชาเฉย
ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย คงได้เชยชมะรรมะอันวิเวกจิต
ไม่เที่ยงนั้นหมายใจไหวจากจำ เห็นแล้วซ้ำดู ๆ อยู่ที่ไหว
พออารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฎธรรม เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิตๆ นั้นไม่ติดคู่
จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้วิถีใจ รู้เท่าที่ไม่เที่ยง จิตต้นพ้นริเริ่ม
คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้ รู้ตนจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง
ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที คำที่ว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี จิตหวงนี้ปลายจิตคิดออกไป
จิตต้นดีเมื่อธรรมะปรากฎหมดสงสัย เห็นธรรมะอันเลิศล้ำดลกา
เรื่องคิดค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถนเปลื้องปลดได้หมดสิ้น
ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ใจเชื่องชิดต้นจิตคิดไม่ครวญ
ธรรมดาของจิตก็ต้องคิดนึก พอรู้สึกจิตต้นพ้นโหยหวนเงียบสงัดจากเรื่องเครื่องรบกวน
ธรรมดาสังขารปรากฎหมดด้วยกันเสื่อมทั้งนั้นรคงที่ไม่มีเลย ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด
มักจะเบียดให้จิตไปติดเฉย ใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย เมื่อถึงเอยหากรู้เองเพลงของใจ
เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูกิเลส จำแลงเพศเหมือนยดังจริงที่แท้ไม่ใช่จริง
รู้ขึ้นเองหมายนามว่าความเห็น ไม่ใช่เช่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม
ทั้งตรึกตรองแยกแยะแกะรูปนาม ก็ไช่ความเห้นเองจงเล็งดู
รู้ขึ้นเองใช่เพลงคิด รู้ต้นจิต จิตต้นพ้นโหยหวนต้นจิตรู้ตัวแน่ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน
ใช่กระบวนไปดูหรือรู้อะไร รู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่ จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหวจิตรู้ไหวๆ
ก็จิตติดกันไป แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกันจิตเป็นสองอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน
ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมของตัวก็พ้นมัวมืด ใจก็จืดสิ้นรสหมดสงสัย
ขาดค้นคว้าหาเรื่องเครื่องหนักใจก้ไปจาก เรื่องใจอยากก็หยุดได้หายหวนดหย
พ้นหนักใจทั้งหลายโอดโอย เหมือนฝนโปรยใจ ใจเย้นเห็นด้วยใจ
ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคนรู้จิตต้น - ปัจจุบันพ้นหวั่นไหว
ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย ต้องดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง

อยู่เงียบๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวังไม่ต้องวุ่นต้องวายหายระวัง
นอนหรือนุ่งนึกพ้นอยู่ต้นจิตท่านชี้มรรคฟังหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว
ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดีตอบว่าสมุทัยคืออาลัยรัก
เพลินยิ่งนักทำภพใหม่ไม่หน่ายหนีว่าอย่างต่ำกามะคุณห้าเป็นราคี
อย่างสุงชี้สมุทัยอาลัยฌานถ้าจะจับตามวิถีมีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร
เพลิดทั้งปวงเคยมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิตไป
ในส่วนที่ผิดก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน
สิ่งได้ชอบอารมณ์ก้ชมเพลิน เพลินจนเกนลืมตัวไม่กลัวภัยเพลินดูโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว
โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรกเลยฯ
โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก ส่งวิบากไปตกนรกแสนสาหัส
หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งดทษนั้นคงได้เชยชมสุขพ้นทุกขืภัย
เมื่อเห็นโทษตนชัดรีบตัดทิ้งทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้
เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัยเป็นโทษใหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง
ดีแลไม่ดีนี้เป็นพิษของจิตนักเหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง
กำเริบโรคภัยด้วยพิษผิดสำแลงธรรมไม่แจ้งเพราะอยากดีนี้เป็นเดิม
ความอยากดีมีมากมักลากจิต ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิมสรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม
ผิดยิ่งเพิ่งร่ำไปไกลจากธรรมที่จริงชี้สมุทัยนี้ใจฉันคร้าม
ฟังเนื้อความไปข้างนุงทางยุ่งยิ่งเมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติงระงับนิ่งใจสงบจบกันทีฯ
อันนี้ชื่อว่าขันธวิมุตติสมังคีธรรมประจำอยู่กับที่ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา
สภาวธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านั้นและไม่มีเรื่องจะแวะเวียน สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ฯ
(ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิดฯ)


:b49: :b50: :b50: :b49:

*พระภุริทัตโตฯ(มั่น)*
* วัดสระประทุมวัน เป็นผู้แต่ง *


:b49: :b50: :b50: :b49:




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2010, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:37
โพสต์: 54

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



...

:b49: :b50: :b50: :b49:

วันก่อนได้หนังสือ ตามรอยอรหันต์ (พระพุทธทาสฯ)
และอีกไม่กี่วัน หนังสือ ตามรอยพุทธประวัติจะตามมา
คงจะได้นำเรื่องราวที่พบในหนังสือมาลง

:b49: :b50: :b50: :b49:

:b8: :b8: :b8:

...


แก้ไขล่าสุดโดย Kamonchanok เมื่อ 13 เม.ย. 2010, 22:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2010, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:37
โพสต์: 54

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


. :b49: :b50: :b50: :b49: .

:b49: ในหนังสือ ตามรอยพระอรหันต์ :b49:
:b49: ในวรรคหนึ่งได้มีการกล่าวถึงพระอรหันต์ ลกุณฑกะ ... จึงได้ไปสืบค้นต่อใน :b49:
:b49: อสีติมหาเถระสาวก 80 พระอรหันต์” / ธรรมสภา :b49:

:b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49:

:b49: “ลกณ.ฏกภท.ทิโย ความว่า
เมื่อว่าโดยส่วนสูง เป็นคนเตี้ย
โดยชื่อ ชื่อว่า ภัททิยะ เป็นผู้มีเสียงหวาน” :b49:


:b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49:

ครั้งหนึ่งพระเถระนี้เข้าเฝ้าพระศาสดา ปรนนิบัติบำรุงแล้วหลีกออกไป ขณะนั้นภิกษุอยู่ป่าประมาณ 30 รูป เห็นท่านแล้ว เข้าเฝ้าพระศาสดา ตรัสถามภิกษุอยู่ป่าว่า “พวกเธอเห็นพระเถระรูปหนึ่งผู้ซึ่งออกไปไหม...?”
พระภิกษุ “ไม่เห็นพระเจ้าข้า เห็นแต่สามเณรรูปหนึ่ง พระเจ้าข้า”
พระศาสดา “ภิกษุทั้งหลาย นั่นไม่ใช่สามเณร นั่นล่ะพระเถระ”
พระภิกษุ “รูปร่างเล็กนัก พระเจ้าข้า”
พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกเถระ เพราะความเป็นคนแก่
หรือเพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ
ส่วนผู้ใดแทงตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน
ผู้นี้ชื่อว่าเป็นเถระ”
“บุคคลไม่ชื่อว่าเป็ฯเถระ เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้นเราเรียกว่า
แก่เปล่า
ส่วนผู้ใดมีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และ ทมะ
ผู้มีมลทินอันคายแล้ว มีปัญญา เรากล่าวว่าเป็น
เถระ

:b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49:

ความที่ท่านมีรูปร่างเล็ก นอกจากภิกษุจะเข้าใจว่าเป็นสามเณรแล้ว
แม้แต่สามเณรผู้เป็นปุถุชน ยามที่เห็นพระเถระก็จับศีรษะบ้าง จมูกบ้าง หูบ้าง พลางกล่าวว่า
“อาจ๋า อาไม่กระสัน ยังยินดีในศาสนาหรือ...?”
ท่านก็หาโกรธไม่
ภิกษุทั้งหลายสนทนากันถึงความที่ท่านมั่นคง ไม่โกรธ ไม่ประทุษร้าย ที่ถูกรังแก
พระศาสดาเสด็จมารับสั่งถาม ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพ ย่อมไม่โกรธ ไม่ประทุษร้าย เพราะท่านไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน เป็นเช่นศิลาแท่งทึบ
ภูเขาศิลาล้วนเป็นแท่งเดียว ย่อมไม่สะเทือนด้วยลมอันใด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เอนเอียงในเพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น”


:b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49:

วันหนึ่งเป็นวันมหรสพ หญิงคณิกาคนหนึ่งนั่งบนรถ เห็นพระเถระแล้วจึงหัวเราะจนเห็นฟัน
พระเถระถือเอานิมิตในกระดูกฟันของหญิงนั้น แล้วทำฌานให้เกิดขึ้น กระทำฌานนั้นให้เป็นบาท
เจริญวิปัสสา บรรลุเป็นอนาคามี ท่านอยู่ด้วยกายคตาสติเป็นเนืองนิตย์
วัหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรโอวาทอยู่ ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว
เมื่อท่านจะแสดงความเป็นพระอรหันต์ จึงกล่าวคาถาว่า
“ภัททิยภิกษุอยู่ ณ อัมพาฏการามอันเลิศ ใกล้ไพรสณฑ์
ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้เจริญด้วยคุณ มีศีล เป็นต้น
เพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กามโภคีบุคคล (ผู้บริโภคกาม) บางพวก
ย่อมยินดีเสียงตะโกน เสียงพิณ และบัณเฑาะว์
แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอนของพระพุทธเจ้า ยินดีอยู่โคนไม้
ถ้าพระพุทธเจ้าประทานพรแก่เรา และเราก็รับพรนั้นแล้ว
ถือเอากายคตาสติอันชาวโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์”


พระเถระกล่าวถึง การติเตียนโดยไม่พิจารณาว่า
“ชนเหล่าใดถือรูปร่างเราเป็นประมาณ และถือเสียงเราเป็นประมาณ
ชนเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ
ย่อมไม่รู้จักเรา คนพาลถูกกิเลสกั้นไว้รอบด้าน
ย่อมไม่รู้ภายใน ทั้งไม่เห็นภายนอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา
แม้บุคคลผู้เห็นผลภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่ภายนอก ก็ลอยไปตามเสียงโฆษณา
ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้น ย่อมรู้ชัดภายในและเห็นแจ้งทั้งภายนอก
ผู้นั้นย่อมไม่ลอยไปตามเสียงโฆษณา


:b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49: ----- :b49:

. :b49: :b50: :b50: :b49: .


แก้ไขล่าสุดโดย Kamonchanok เมื่อ 13 เม.ย. 2010, 15:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 21:37
โพสต์: 54

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


enlighted เขียน:

สบายดี ก็ยังไม่ดีหรอก

ไม่ได้ไปถึงไหน
ไม่ได้ลุกออกไปที่ไหน
อยู่แต่เหย้า เฝ้าแต่เรือน


ไม่ได้เข้าๆออกๆ


:b8: :b1:

พี่ค่ะ จะฟัง หนทางที่ไม่ต้องอยู่ ไม่ต้องเฝ้า น่ะ :b12:

เดี๋ยวจุดธูป ปักเขตไว้ก่อน

:b8: พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ :b8:

:b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2010, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b47: :b41: :b47: :b41: :b47:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร