วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 16:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2010, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




mini-mini-buddha1.jpeg
mini-mini-buddha1.jpeg [ 22.39 KiB | เปิดดู 2205 ครั้ง ]
:b42: :b42: :b42:

ทางสำหรับผู้ที่จะไปสู่พระนิพพาน
โดย..พระครูอรุณธรรมรังสี (ลุน ณ อุบล)


สิ่งใดที่เป็นบาปที่เราได้ทำไปแล้วในอดีต เราก็ควรอย่าพยายามเก็บเอามานึกมาคิด
เพราะคนเราย่อมจะหลงทำบาปด้วยกันทุกคน ไม่น้อยก็มาก
ที่ท่านห้ามไม่ให้นึกถึงอดีต อนาคตก็เพราะจะให้จิตหลุดพ้นจากอารมณ์ที่เป็นบาปหรือบุญก็ดี

คือ ทางสำหรับผู้ที่จะไปสู่พระนิพพาน จะต้องวาง ต้องปล่อยหมดทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ
ภพทั้งปวง จะมาประชุมอยู่ที่ ขันธ์


ผู้ที่วางขันธ์ได้ ภพก็ดับไปหมด สำหรับผู้ที่วางขันธ์ยังไม่ได้ ภพคือตัวกรรมมันติดอยู่ที่ขันธ์
ท่านจึง ห้ามไม่ให้นึกถึงบาปที่ตนทำไว้เป็นอันขาด
ธรรมทั้งหลายมีใจ (มโนนึกน้อม) ถึงก่อน สำเร็จแล้วด้วยใจ (มโน)

ถ้าใจของผู้ใดได้ ฝึกให้อยู่เหนืออำนาจแห่งสิ่งทั้งปวงแล้ว ไม่ไปเกี่ยวเกาะ ไม่ถือมั่นในอุปาทาน
ยินดีในการสละ(ขันธ์ 5) ผู้นั้นก็ สิ้นจากอาสวะทั้งหมด

จุดประสงค์ของผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อจะดับตัวกรรมภพ ไม่ให้มีเชื้อสายสืบต่อไป
ดับบาปได้แล้ว ให้ดับบุญ ให้จิตหลุดพ้นทั้งบุญทั้งบาป


ผู้ปฏิบัติธรรมจึงเปรียบเหมือนนายช่างตีเหล็ก ถ้ายังมีตัวเหล็กเขาก็เอาไปทำประโยชน์ต่าง ๆ
ถ้าเหล็กอย่างหยาบเขาก็เอาไปทำมีด ทำขวาน ถ้าอย่างกลางเขาก็เอาไปทำ มีดโกน ทำกบใสไม้
ถ้าอย่างละเอียดเขาก็เอาไปทำตะไบสีเหล็ก หรือ เลื่อยตัดเหล็ก

ถ้านายช่างตีเหล็กให้ละเอียดเข้าทุกที สนิมก็ออกไปทุกที กร่อนเข้าไปทุกที หนักเข้าก็เลยหมดเหล็ก

เหล็กเปรียบเหมือนโลกียธรรม อันตกอยู่ในสมมุติสมมุติกันว่าสัตว์ ว่าคน ว่าเทวดา อินทร์พรหม
อันเป็นตัวภพ ตัวชาติ


ผู้ปฏิบัติธรรมหนักเข้าก็สิ้นชาติ สิ้นภพ จึงนับว่า พระนิพพานเหมือนนายช่างตีเหล็ก
หนักเข้าเลยหมดเหล็ก ฉะนั้นจึงไม่มีใครสมมุติว่าเหล็กอีก


เมื่อหมดภพหมดชาติแล้ว ก็หมดจากสมมุติ จึงเรียกว่า วิมุต

สมมุติ ย่อมบัง วิมุติ
โลก บัง ธรรม
สังขตะขันธ์ บัง อสังขตะขันธ์
สังขตะอายตนะ บัง อสังขตะอายตนะ
สังขตะธรรม บัง อสังขตะธรรม
สังขาร บัง วิสังขาร

ผู้ปฏิบัติธรรม ถ้าอยาก เห็นธรรม ก็ให้ เพิกโลกออกให้หมด
ถ้าอยาก เห็นวิสังขาร ก็ให้ เพิกสังขาร ออกให้หมด


“อัตถิ ภิกขเว ตทายตนํ “
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ นั้นมีอยู่ ที่ไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว ไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงไม่แต่งแล้ว

ที่ว่า ไม่เกิดแล้ว คือ ไม่เกิดราคะ โทสะ โมหะ ไม่เกิดบุญเกิดบาป ไม่เกิดรัก เกิดชัง อีก

ที่ว่า ไม่เป็นแล้ว คือ ไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ไม่เป็นเขาไม่เป็นเรา ไม่เป็นหญิงไม่เป็นชาย
ไม่เป็นสัตว์ไม่เป็นคน ไม่เป็นก๊กไม่เป็นเหล่า ไม่เป็นธรรมยุติ ไม่เป็นมหานิกาย ไม่เป็นอะไร ๆ
เลยในโลกนี้ และ โลกอื่น

ที่ว่า ไม่ทำแล้ว ไม่ทำบุญทำบาป ไม่ทำดีทำชั่ว ทำอะไรเป็นแต่กิริยาที่ทำ ไม่เป็นกรรม

ที่ว่า ไม่ปรุงไม่แต่งแล้ว คือ ไม่ปรุงในอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน

จิตของท่านไม่ลักลั่น ท่านจะใช้ให้ คิด ก็เป็น กิริยาที่คิด จิตของท่านอยู่เหนืออำนาจแห่งโลกธรรมทั้งสิ้น
ศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านเป็นของเป็นเอง ไม่ต้องรักษา เพราะอกุศลจิตและกุศลจิตขาดหมด

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แก้ไขล่าสุดโดย sirisuk เมื่อ 19 เม.ย. 2010, 11:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2010, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 2188 ครั้ง ]
:b42: :b42: :b42:

บุคคลาธิษฐาน กับ ธรรมาธิษฐาน

นางอวิชา ผู้งามเลิศให้นางเลือกเอาคู่รักผู้ประเสริฐชายไหนซื่อสัตย์รักใคร่จริง ๆ
ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ นางพึงพอใจในชายนั้น

ชายงามมีอยู่สามคนดังนี้คือ
คนที่ ๑ ชื่อ มโนทุจริต
คนที่ ๒ ชื่อ มโนสุจริต
คนที่ ๓ ชื่อ มโนกิริยา

คนทั้งสามคนนี้ขอแจ้งไว้ให้นางทราบล่วงหน้าว่าท้าวมโนกิริยา
เป็นชายอันประเสริฐเลิศกว่าชายทั้ง ๒ ชายคนนี้เป็นชายที่อยู่นอกโลก

ถ้านางอวิชามีโชคชะตาดีทั้งนางอวิชาเทวีก็จะต้องเรียนวิชาสำเร็จชั้นมหาวิทยาลัย
เปลี่ยนนามกรใหม่ เรียกว่า นางวิชา
ในกาลนั้น จึงจะได้เป็นอัครมเหสีของท้าวมโนกิริยา

ท้าวมโนกิริยานี้เป็นลูกกษัตริย์เสวยสมบัติอยู่ในโลกอุดร
แต่ในเวลานี้ท้าวเธอยังเรียนวิชาอยู่ นามกรเดิมเวลานี้เขายังให้ชื่อเรียกว่า ท้าวมโนสุจริต
เมื่อเรียนจบชั้นมหาวิทยาลัยแล้วเมื่อใด ก็เปลี่ยนชื่อเรียกว่า ท้าวมโนกิริยา
ท้าวมโนสุจริตกับท้าวมโนกิริยาจึงนับว่า เป็นคน ๆ เดียวกัน

ส่วนนางอวิชาในเวลานี้ จึงนับว่ามีคนรักอยู่สองคน คือ ท้าวมโนสุจริต กับท้าวมโนทุจริต
คนทั้ง ๒ นี้ ต่างมีทุนคนละ ๑๐ ชั่ง (กรรมบถ ๑๐) เป็นเครื่องเลี้ยงชีพของตน
แล้วรักใคร่ชอบใจกับนางอวิชา ใครมีกำลังมากทั้งฝีปากดีก็แย่งเอานางงามไปสมสู่อยู่ด้วย

ท้าวมโนทุจริตนี้ เมื่อได้นางอวิชาไปอยู่ด้วยย่อมเอาอกเอาใจ นางอวิชาชอบรูปเสียงกลิ่นรสอย่างไร
ก็หามาให้ในทางทุจริต เป็นมิตรประจบสอพลอ ถึงเวลาตกทุกข์ได้ยาก ไม่อยากเหลียวแล


ส่วนท้าวมโนสุจริต ถ้ามีกำลังมากฝีปากดี ก็แย่งเอานางอวิชาไปสมสู่ด้วย หาเลี้ยงนางอวิชาในทางสุจริต
แต่ไม่ชอบปล่อยตามใจนางอวิชา ไม่ชักพาให้ยินดีในรูปเสียงกลิ่นรส มุ่งจะให้นางอวิชาได้ประโยชน์
ทั้งบอกวิชาความรู้ให้นางอวิชามีความรู้เสมอไป ทั้งเป็นมิตรที่รักใคร่ ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ


แต่ถึงอย่างไรก็ตามนางอวิชาในเวลาที่ถูกชายทั้ง ๒ นี้ แย่งสิทธิ์กัน นางอวิชาย่อมผันแปลไปตามอารมณ์
อันเป็นบ่อเกิดแห่งความกำหนัดขัดเคือง ถึงกับน้ำตาไหลอาบหน้า
อันเกิดแต่บาปกรรมที่ท้าวมโนทุจริตทำไว้

ในที่สุดนางอวิชาสังเกตรู้ในชายชู้อันมีนามว่า ท้าวมโนทุจริต จะคิดอะไรก็ไม่เป็นประโยชน์
นำแต่โทษเข้ามาใส่ จึงสิ้นอาลัยไม่คบหาสมาคม ช่วยให้กำลังแก่ชายชู้อันชื่อว่า ท้าวมโนสุจริต

มโนสุจริตมีกำลังมาก จึงคิดฆ่าชายชู้อันเป็นคู่ปรปักษ์ให้ถึงแก่ความตาย ด้วยอุบายปัญญา
และวิชาความรู้ สอบไล่ได้ชั้นมหาวิทยาลัย อาจารย์เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า มโนกิริยา

ทั้งนางอวิชาก็สอบไล่ได้พร้อมกัน อาจารย์จึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ มีนามว่า นางวิชา
คนทั้ง ๒ นับว่าเป็นคู่รักกันอย่างสนิทสนม ทั้งวิชาก็สำเร็จชั้นอุดม ต่างพากันชื่นชมยินดี
สามัคคีกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ในที่สุดนางวิชาก็ได้เป็นอัครมเหสีของท้าวมโนกิริยา
ท้าวมโนกิริยาก็ได้เป็นพระมหากษัตริย์ เสวยราชสมบัติแทนพระบิดา
อยู่ในกรุงศรีนครโลกอุดรนิยม ก็มีด้วยประการดังนี้


สรุปความในบุคคลาธิษฐานให้เข้ากับธรรมาธิษฐานโดยใจความย่อ ๆ ในหัวข้อที่ควรจำ
นางอวิชาคือ ความไม่รู้เท่าทันสังขาร (ไม่รู้เท่าบุญเท่าบาป) เป็นรากเหง้าเค้ามูลของกิเลสวัฏฏ
กิเลสวัฏฏจึงเป็นปัจจัยแห่งกรรมวัฏฏ


เมื่อกุศลกรรมเป็นฝ่ายมรรค ฆ่าอกุศลกรรมให้ตาย ตัวมโนสุจริตจึงกลายเป็นมโนกิริยา
เมื่อบาปตายหมดมีแต่บุญล้วน ๆ บุญนั้นท่านจึงเรียกว่า มหากิริยา ไม่เป็นกรรม
ถ้ามโนทุจริตยังมีอยู่ก็กลับเป็นคู่กันกับมโนสุจริต

มโนทุจริตกับมโนสุจริตยัง กำหนัดขัดเคือง อยู่ในโลกในอารมณ์ติดอยู่ในเบ็ญจขันธ์ ๕ ด้วยกันทั้ง ๒ ส่วน
มโนกิริยาเป็นผู้เพิกโลกออกจากธรรม เพิกอารมณ์ออกจากจิต ไม่ติดอยู่ในเบ็ญจขันธ์
เป็นผู้พ้นจากโลก พ้นจากอารมณ์ พ้นจากเบ็ญจขันธ์


ฝ่ายมโนสุจริตกับมโนทุจริตเป็นผู้ติดโลกติดอารมณ์ ก็ต้องท่องเที่ยวอยู่ในโลกในอารมณ์
ตามชั้นภูมิของตนตามกำลังของบุญและบาป

มโนกิริยาจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยโลกุตตรมโนชั้นเยี่ยม คือชั้นที่ฆ่ากิเลสโดยสิ้นเชิง

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2010, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




mini-mini-buddha1.jpeg
mini-mini-buddha1.jpeg [ 22.39 KiB | เปิดดู 2083 ครั้ง ]
:b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

โลกุตตรมโน

มโนกิริยานี้จึงเปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทร
โลกกับอารมณ์กับทั้งตัวสัตว์โลกคือเบ็ญจขันธ์ เปรียบเหมือนลมและคลื่นที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร

น้ำไม่เดือดร้อนในเวลาลมพายุพัดให้เกิดคลื่นและระลอกฉันใด
ตัวมโนกิริยาก็ไม่เดือดร้อน ในเมื่อโลกเกิด-ดับ อารมณ์เกิด-ดับ ปัญจขันธ์แตกดับ ฉะนั้นแล

เพราะตัวมโนกิริยายังไม่ดับ อันเปรียบน้ำยังเหลืออยู่
มโนกิริยานี้มีในสันดานของพระอรหันต์จำพวกเดียว

มโนอันใดกำจัดมโนทุจริตให้ตาย มโนอันนั้นเรียกว่า โลกุตตรมโน

โลกุตตรมโนอันใด ฆ่ากิเลสได้แต่เพียงบางส่วน ยังมีกิเลสเหลืออยู่
โลกุตตรมโนนั้นมีกามาวจรกุศลญาณสัมปยุตเป็นที่ตั้งแห่งองค์อริยมรรค รู้พระนิพพานได้แต่เพียงชั่วคราว

โลกุตตรมโนนั้นจึงเป็นกุปปธรรม เป็นโลกุตตรที่ยังกำเริบ
จึงกลับเข้าสู่มโนสุจริต จึงยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร อย่างนานไม่เกิน ๗ ชาติ
ทั้งเป็นผู้เที่ยงสุคติโดยส่วนเดียว เพราะมีโลกุตตรมโนเป็นอุปนิสัยเข้ากำกับในสันดานของมโนสุจริต
มโนสุจริตที่มีโลกุตตรเป็นนิสัยนี้ มีเฉพาะชั้นอริยชน คือพระเสขะฝ่ายเดียว

ถ้าเป็นมโนสุจริตอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับโลกุตตรมโนเป็นนิสัยแล้ว มโนสุจริตนี้เป็นของ กัลยาณชน
มโนสุจริตกับมโนทุจริตปะปนเป็นของ ปุถุชน
มโนทุจริตอย่างเดียวเป็นของ บาปชน

โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมกับมโนกิริยาอยู่ด้วยกัน เป็นสอุปาทิเสสะนิพพาน ยังอาศัยเบ็ญจขันธ์อยู่
ถ้าเป็นโลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมอย่างเดียว ก็เป็นอนุปาทิเสสะนิพพาน ปัญจขันธ์ไม่มีเหลือ

โลกุตตรชั้นเยี่ยมอย่างเดียวเปรียบเหมือน น้ำในมหาสมุทร อันไม่มีคลื่นและระลอกเงียบสงัดอยู่
โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมกับมโนกิริยา ๒ อย่างนี้ ถึงจะยังอยู่ในโลกหรือดับขันธ์ปรินิพพาน
ก็ย่อมไม่มีแตกต่างกันในระหว่างโลกทั้ง ๒


เพราะโลกุตตรโลก กับโลกิยะโลก เป็นโลกที่ไม่สัมพันธ์ติดต่อกัน เพราะเหตุนั้น
มโนกิริยากับโลกุตตรมโนชั้นเยี่ยม จึงเต็มเปี่ยมอยู่ด้วยความสงบตัวแท้


การทำหน้าที่ของโลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมและมโนกิริยา จึงอยู่ในภาวะแห่งความคงที่อยู่เสมอ
ไม่มีการไป ไม่มีการมา ไม่มีการจุติ ไม่มีการปฏิสนธิ


โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมกับมโนกิริยา จึงว่างจากโลก ว่างจากอารมณ์ ว่างจากขันธ์
โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมกับมโนกิริยา ย่อมทำหน้าที่ของตนเองอย่างอิสระ
ย่อมว่างจากโลกจากอารมณ์ จากขันธ์ อันหาขอบเขตมิได้


โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมกับมโนกิริยาจึงไม่เข้าไปเกี่ยวเกาะกับอารมณ์ กับโลก กับขันธ์
กับอะไรๆทั้งหมดในโลก
โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยม มโนกิริยา ย่อมปล่อยวางต้นเดิมของภวังค์ และมโนที่น้อมไปสู่โลกและอารมณ์

ในเวลาโลกดับหรือปัญจขันธ์ดับ จึงเข้าถึงความเย็นอันหาประมาณมิได้
โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมนี้ จึงเปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทรอันไม่มีคลื่นและระลอก
โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมนี้ฆ่าตัวภวังค์คือองค์แห่งภพ ไม่ให้มโนนึกน้อมไปสู่อารมณ์ตัวธรรมธาตุทั้ง ๗
อันเป็นตัวหลอกเราให้เกิด ให้แก่ ให้เจ็บ ให้ตาย จึงไม่ปรากฏมีขึ้นอีก


เมื่อโลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมเข้าถึงอนุปาทิเสสะนิพพาน ปัญจขันธ์ดับแล้ว มโนกิริยาก็ย่อมดับไปตามกัน
เหลืออยู่แต่โลกุตตรมโนชั้นเยี่ยม
ที่อยู่ของโลกุตตรมโนชั้นเยี่ยมนั้นเป็นสถานที่ไม่จุที่อยู่

หมายความว่าโลกุตตรมโนใด ๆได้เข้าถึงที่อยู่ที่ไม่จุที่อยู่นั้นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
โลกุตตรมโนจึงตั้งอยู่ตลอดชั่วนิรันดร
จึงเรียกว่าเป็นธรรมที่ไม่ตาย
ดังคำบรรยายมา

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร