วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธภาษิต...
ปเร จ น วิชานนฺติ มยเมตฺถ ยมามฺหเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ตโต สมฺมนฺติ เมธคา


คนพวกอื่นไม่รู้ดอกว่า เราทั้งหลายย่อยยับอยู่ ( เพราะการทะเลาะวิวาทกัน )
ส่วนพวกใดรู้เห็นโทษของการทะเลาะวิวาท ความหมายมั่นซึ่งกันและกันก็ย่อมระงับลง**


อธิบายความ... การทะเลาะวิวาทนั้นมาจากเหตุ ๒ ประการ เป็นอย่างน้อย คือ..
๑.ผลประโยชน์ขัดกัน และ
๒.มีทิฎฐิมานะเข้าหากัน


สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"คฤหัสถ์.....ทะเลาะกันด้วย.....เรื่องกาม (ผลประโยชน์)
บรรพชิต.....ทะเลาะกันด้วย.....เรื่องทิฎฐิ คือ ความเห็นอันขัดแย้งกัน"


เมื่อการทะเลาะเกิดขึ้นย่อมต้องย่อยยับไปทั้ง ๒ ฝ่าย
พึงเห็นตัวอย่างคนเป็นความ ทั้งฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะต้องเสียอย่างยุบยับ ได้ไม่คุ้มเสีย
นอกจากนี้การทะเลาะยังเป็นที่มาแห่งการดูหมิ่นจากผู้อื่น
พี่น้อง ผัวเมีย ทะเลาะกันก็เป็นที่ดูหมิ่นของชาวบ้าน
พระทะเลาะกันก็เป็นที่ดูหมิ่นของคฤหัสถ์ และเป็นเหตุให้ชาวบ้านแตกแยกกันด้วย
ดังเช่นการทะเลาะวิวาทของภิกษุชาวโกสัมพี

**จากหนังสือ..เรื่อง ความสำคัญแห่งใจ ของอาจารย์ วศิน อินทสระ

๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐๑๐


ภิกษุก่ออธิกรณ์........
ภิกษุ ๒ รูป ชื่อปัณฑุกะ กับ โลหิตกะ ชอบก่อการทะเลาะวิวาท
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ สนับสนุนภิกษุผู้ชอบก่อทะเลาะวิวาท มีผู้ติเตียน

พระผู้มีพระภาคจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์
จึงทรงโปรดให้สงฆ์ลง "ดัชชนียกรรม" (การข่มขู่) แก่เธอทั้งสอง
โดยให้โจทอาบัติ ให้ระลึกว่าได้ทำผิดจริงหรือไม่ แล้วให้ยกอาบัติขึ้นเป็นเหตุ
สวดประกาศขอมติสงฆ์ลงดัชชนียกรรมแก่เธอ.
(สวดเสนอญัตติ ๑ ครั้ง สวดประกาศย้ำขอมติ ๓ ครั้ง).

ครั้นแล้วทรงแสดงลักษณะการทำดัชชียกรรม
ว่าอย่างไรไม่เป็นธรรม อย่างไรเป็นธรรม.

การทำที่ไม่เป็นธรรม เช่น
ไม่ทำต่อหน้า, ไม่ซักถาม (คือลงโทษโดยไม่ฟังคำให้การ),
ไม่ฟังปฏิญญา (คือการับผิดของจำเลย)

ส่วนที่เป็นธรรม คือ
ทำในที่ต่อหน้า มีการซักถาม มีการฟังปฏิญญาของจำเลย เป็นต้น.
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/6.1.html

@Q@Q@Q@Q@Q@Q@Q@Q@Q@Q@Q


พระวินัยปิฎก
เล่ม ๖
จุลวรรค ภาค ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กัมมขันธกะ
ตัชชนียกรรมที่ ๑
เรื่องภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
เริ่มก่ออธิกรณ์


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... 674&Z=8774

อธิกรณ์ แปลว่า
ภารกิจที่พึงทำให้สงบให้เรียบร้อยเหมาะสม.


อธิกรณ์ ในคำวัดใช้ หมายถึง
สาเหตุ คดีเรื่องราว ปัญหา ความยุ่งยาก กิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ ...

http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamm ... d=99999999

ขออนุโมทนา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร