วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฎ

สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว
มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น
เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย
เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ


ที่มา... http://www.watnongpahpong.org/buddha.php

:b48: :b8: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 20 มี.ค. 2010, 18:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
ฝุ่นนิดหนึ่ง ที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้
กับมหาปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน?
สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่หมู่มนุษย์ มีน้อย :
สัตว์ที่เกิดกลับมาเป็นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่าโดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้น เพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.

สัตว์มาเกิดในภูมิประเทศเหมาะสม มีน้อย
สัตว์มีปัญญาจักษุ มีน้อย
สัตว์ไม่เสพของเมา มีน้อย
สัตว์เกิดเป็นสัตว์บก มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อมารดา มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อบิดา มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อสมณะ มีน้อย
สัตว์เอื้อเฟื้อพราหมณ์ มีน้อย
สัตว์อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อริยสัจสี่ เป็นสิ่งคงที่ที่ไม่รู้จักเปลี่ยนตัว

ความรู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์,
เป็นของคงที่ ไม่เปลี่ยนจากความคงที่
ไม่ไปสู่ความมีความเป็นโดยประการอื่น ;”
ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี่แล เป็นของสี่อย่าง ซึ่งคงที่
ไม่เปลี่ยนจากความคงที่ ไม่ไปสู่ความมีความเป็นโดยประการอื่น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สุขที่สัตว์โลกควรกลัว และไม่ควรกลัว

ภิกษุทั้งหลาย ! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้,
สุขโสมนัสนั้น เราเรียกว่า กามสุข
อันเป็นสุขของปุถุชน เป็นสุขทางเมถุน ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ.
เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน...แล้วแลอยู่.
นี้เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ
สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม.
เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง
ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก, ไม่ควรกลัว.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความทุกข์เศร้าโศกทั้งหลายเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก

คหบดี ! หน้าตาของท่านแสดงว่าท่านกำลังไม่มีจิตไม่มีใจ,
หน้าตาของท่านผิดปกติไปแล้ว
“ท่านผู้เจริญ ! หน้า ตาของข้าพเจ้าจะไม่ผิดปกติได้อย่างไรเล่า,
เพราะว่า บุตรน้อยเป็นที่รักที่พอใจคนเดียว ของข้าพเจ้า ตายเสียแล้ว.
ข้าพเจ้าจึงร้องไห้คร่ำครวญ”
มันเป็นอย่างนั้นแหละ ๆ คหบดี !
โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสทั้งหลาย
เกิดจากของรัก มีของรักเป็นแดนเกิด.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผู้ติดเหยื่อโลก ชอบฟังเรื่องกาม ไม่ฟังเรื่องสงบ

สุนักขัตตะ ! นี้เป็นสิ่งที่มีได้เป็นได้
คือข้อที่ บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้
มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก (คือกามคุณห้าอย่าง) ,
ถ้อยคำสำหรับสนทนา อันพร่ำบ่นถึงเฉพาะต่อกามคุณนั้นๆ
ย่อมตั้งอยู่ได้สำหรับบุรุษบุคคลผู้มีอัชฌาสัยน้อมไปในเหยื่อของโลก,

เขา ย่อมตรึกตามตรองตาม ถึงสิ่งอันอนุโลมต่อกามคุณนั้นๆ,
สิ่งนั้นย่อมคบกับบุรุษนั้นด้วย บุรุษนั้นย่อมเอาใจใส่ต่อสิ่งนั้นด้วย.
ส่วน เมื่อถ้อยคำที่ประกอบด้วยสมาบัติเรื่องไม่หวั่นไหว (ด้วยกามคุณ) ที่ผ่านไปมาอยู่
เขาย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่กำหนดจิตเพื่อจะรู้,
ถ้อยคำชนิดนั้น
ก็ไม่คุ้นเคยกับบุรุษนั้น บุรุษนั้น ก็ไม่สนใจด้วยคำชนิดนั้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัตว์โลก รู้จักสุขอันแท้จริง ต่อเมื่อปัญญาเกิด

..ท่านจะพึงรู้จักความไม่มีโรค จะ พึงเห็นนิพพานได้
ก็ต่อเมื่อท่านละความเพลิดเพลินและความกำหนัด
ในความยึดมั่นซึ่งขันธ์ทั้งห้าเสียได้
พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่าน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคามเอาแล้ว
ย่อมยึดถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ :
นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำความเกษมให้ได้เลย, นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ;
ผู้ใดถือเอาสิ่งนั้นๆเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้.

ส่วนผู้ใด ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว
เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์,
เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์,
เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์,
และเห็นมรรคประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ
ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงความเข้าไปสงบรำงับแห่งทุกข์ :
นั่นแหละคือ ที่พึ่งอันเกษม,นั่นคือ ที่พึ่งอันสูงสุด ;
ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้แท้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พอรู้อริยสัจ
ทุกข์เหลือน้อยขนาดฝุ่นติดปลายเล็บเทียบกับปฐพี


ภิกษุทั้งหลาย ! ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้
กับมหาปฐพีนี้ ข้างไหนจะมากกว่ากัน?
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น :
สำหรับอริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยความเห็นถูกต้อง รู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งธรรม,
ความทุกข์ของท่านส่วนที่สิ้นไปแล้ว หมดไปแล้ว ย่อมมากกว่า ;
ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย :


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อย่ากล่าวเรื่องทุ่มเถียงแก่งแย่งกัน
แต่จงกล่าวเรื่องความพ้นทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธออย่ากล่าวถ้อยคำที่ยึดถือเอาแตกต่างกัน ว่า
“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้, ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้,
ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยได้อย่างไร ท่านปฎิบัติผิด, ข้าพเจ้าซิปฎิบัติชอบ.
คำควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คำควรกล่าวทีหลัง ท่านมากล่าวก่อน
คำพูดของท่านจึงไม่เป็นประโยชน์ คำพูดของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์.
ข้อที่ท่านเคยถนัด มาแปรปรวนไปเสียแล้ว.
ข้าพเจ้าแย้งคำพูดของท่านแหลกหมดแล้ว.
ท่านถูกข้าพเจ้าข่มแล้ว เพื่อให้ถอนคำพูดผิดๆนั้นเสีย
หรือท่านสามารถก็จงค้านมาเถิด;”
เพราะการกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า
“เช่นนี้ ๆ เป็นความทุกข์, เช่นนี้ ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์,
เช่นนี้ ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์,
และเช่นนี้ ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;”
เพราะย่อมประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นของการประพฤติปฏิบัติ
เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ
ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จงบวชเพื่อรู้ความดับทุกข์
เหมือนเขาทั้งหลายผู้บวชแล้วโดยชอบ


ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรทั้งหลาย จักออกจากเรือน บวชแล้ว
ก็ จักบวช เพื่อการรู้ยิ่งตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.
คือ ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์,
เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์,
และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สมณพราหมณ์ที่แท้ คือ ละความโลภ โกรธ หลง

ภิกษุทั้งหลาย ! ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ :
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัย
พระอริยบุคคล จึงมีปริมาณมาก


ภิกษุ ผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียวไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

ภิกษุณี ผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว
อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์, เป็นพระอนาคามี ,
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว
ยังบริโภคกาม เป็นผู้ทำตามคำสอน เป็นผู้ สนองโอวาท
มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว
ไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัยว่า
นี่อะไรๆ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว
อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์, เป็นพระอนาคามี
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว
ยังบริโภคกาม เป็นผู้ทำตามคำสอน เป็นผู้สนองโอวาท
มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว

ไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัยว่า
นี่อะไรๆก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อริยสัจสี่โดยสังเขป

ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์,
ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์,
และความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คำตอบคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง.
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือตัณหา อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน
มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม,
ตัณหาในความมีความเป็น, ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น,

ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหา
ความปล่อยวางซึ่งตัณหานั่นเอง

ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือหนทางประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง
คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ;
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า
“นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำชี้ชวนวิงวอน

ภิกษุทั้งหลาย ! การประพฤติปฎิบัติ อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า
“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์
นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”

นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิพพาน เราได้แสดงแล้ว,
ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.
กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.

นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.

ความเพลินในธาตุสี่เท่ากับความเพลินในทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใด ย่อมเพลินอย่างยิ่ง
ซึ่ง ธาตุดิน น้ำ ไฟ และลม,
ผู้นั้นย่อมเพลินอย่างยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์,
เราย่อมกล่าวว่า “ผู้ใด ย่อมเพลินอย่างยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์,
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์”


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร