วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 21:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




king9.jpeg
king9.jpeg [ 29.85 KiB | เปิดดู 3964 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

หลักการทำสมาธิเบื้องต้น
พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมาธินี้ได้มีอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ในสิกขาสามก็คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา ในมรรคมีองค์แปดก็มีสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย และในหมวดธรรมทั้งหลาย
ก็มีสมาธิรวมอยู่ด้วยข้อหนึ่งเป็นอันมาก ทั้งได้มีพระพุทธภาษิตตรัสสอนไว้ให้ทำสมาธิในพระสูตรต่าง ๆ
อีกเป็นอันมาก เช่น ที่ตรัสสอนไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอบรมสมาธิ เพราะว่าผู้ที่มีจิตตั้งมั่น
เป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ตามเป็นจริง ดั่งนี้ ฉะนั้น สมาธิจึงเป็นธรรมปฏิบัติสำคัญข้อหนึ่งในพระพุทธศาสนา

แต่ว่าสมาธินั้นมิใช่เป็นข้อปฏิบัติในทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นข้อที่พึงปฏิบัติในทั่ว ๆ ไปด้วย เพราะ
สมาธิเป็นข้อจำเป็นจะต้องมีในการกระทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการดำเนินชีวิตทั่วไปหรือ
ทางด้านปฏิบัติธรรม มีคนไม่น้อยที่เข้าใจว่าเป็นข้อที่พึงปฏิบัติเฉพาะในด้านศาสนา คือสำหรับผู้ที่
ต้องการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นภิกษุ สามเณร หรือเป็นผู้ที่เข้าวัดเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
ฉะนั้น ก็จะได้กล่าวถึงความหมายของสมาธิทั่วไปก่อน

สมาธินั้น ได้แก่ความตั้งใจมั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการให้ใจตั้งไว้เพียงเรื่องเดียวไม่ให้ใจคิดฟุ้งซ่านออกไป
นอกจากเรื่องที่ต้องการจะให้ใจตั้งนั้น ความตั้งใจดั่งนี้เป็นความหมายทั่วไปของสมาธิ และก็จะต้องมี
ในกิจการที่จะทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรียนศึกษา หรือว่าการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในการเล่าเรียนศึกษา จะอ่านหนังสือก็ต้องมีสมาธิในการอ่าน จะเขียนหนังสือก็ต้องมีสมาธิในการเขียน
จะฟังคำสอนคำบรรยายของครูอาจารย์ก็ต้องมีสมาธิในการฟัง ดั่งที่เรียกว่าตั้งใจอ่าน ตั้งใจเขียน
ตั้งใจฟัง

ในความตั้งใจดังกล่าวนี้ก็จะต้องมีอาการของกายและใจประกอบกัน เช่นว่าในการอ่าน ร่างกายก็ต้อง
พร้อมที่จะอ่าน เช่นว่าเปิดหนังสือ ตาก็ต้องดูหนังสือใจก็ต้องอ่านด้วย ไม่ใช่ตาอ่านแล้วใจไม่อ่าน
ถ้าใจไปคิดถึงเรื่องอื่นเสียแล้ว ตาจับอยู่ที่หนังสือก็จับอยู่ค้าง ๆ เท่านั้น เรียกว่าตาค้าง จะมองไม่เห็นหนังสือ
จะไม่รู้เรื่อง ใจจึงต้องอ่านด้วย และเมื่อใจอ่านไปพร้อมกับตาที่อ่านจึงจะรู้เรื่องที่อ่าน
ความรู้เรื่องก็เรียกว่าเป็นปัญญาอย่างหนึ่ง คือ ได้ปัญญาจากการอ่านหนังสือ ถ้าหากว่าตากับใจ
อ่านหนังสือไปพร้อมกัน ก็จะอ่านได้เร็ว รู้เรื่องเร็ว และจำได้ดี ใจอ่านนี่แหละคือใจมีสมาธิ คือ
หมายความว่าใจตั้งอยู่ที่การอ่าน

ในการเขียนหนังสือก็เหมือนกัน มือเขียน ใจก็ต้องเขียนด้วย การเขียนหนังสือจึงจะสำเร็จด้วยดี
ถ้าใจไม่เขียน หรือว่าใจคิดไปถึงเรื่องอื่น ฟุ้งซ่านออกไปแล้วก็เขียนหนังสือไม่สำเร็จ ไม่เป็นตัว
ใจถึงต้องเขียนด้วย คือว่าตั้งใจเขียนไปพร้อมกับมือที่เขียน

ในการฟังก็เหมือนกัน หูฟังใจก็ต้องฟังไปพร้อมกับหูด้วย ถ้าใจไม่ฟัง แม้เสียงมากระทบหูกไม่รู้เรื่อง
ไม่เข้าใจ ใจจึงต้องฟังด้วย ใจจะฟังก็ต้องมีสมาธิในการฟัง คือ ตั้งใจฟัง

ดั่งนี้จะเห็นว่า ในการเรียนหนังสือ ในการอ่าน การเขียน การฟัง จะต้องมีสมาธิ
ในการทำการงานทุกอย่างก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการงานที่ทำทางกาย ทางวาจา แม้ใจที่คิดอ่าน
การงานต่าง ๆ ก็ต้องมีสมาธิอยู่ในการงานที่ทำนั้น เมื่อเป็นดั่งนี้จึงทำการงานสำเร็จได้

ตามนัยนี้จะเห็นว่าสมาธิเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีในการทำงานทุกอย่าง นี้เป็นความหมายของสมาธิทั่วไป
และเป็นการแสดงว่าจำเป็นต้องมีสมาธิในการเรียน ในการงานที่พึงทำทุกอย่าง


(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3925 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

ต่อจากนี้จะได้กล่าวถึงสมาธิในการหัด ก็เพราะว่าความตั้งใจให้เป็นสมาธิดังกล่าวนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีการหัดประกอบด้วย สมาธิที่มีอยู่ตามธรรมดา เหมือนอย่างที่ทุกคนมีอยู่ยังไม่เพียงพอ
ก็เพราะว่ากำลังใจที่ตั้งมั่นที่ยังอ่อนแอ ยังดิ้นรนกวัดแกว่ง กระสับกระส่ายได้ง่าย โยกโคลงได้ง่าย
หวั่นไหวไปในอารมณ์ คือ เรื่องต่าง ๆ ได้ง่าย และทุกคนจะต้องพบเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้าไปเป็นอารมณ์
คือเรื่องของใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือทางอายตนะทั้ง ๖ อยู่เป็นประจำ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงได้
มีความรักใคร่บ้าง ความชังบ้าง ความหลงบ้าง เมื่อจิตใจมีอารมณ์ที่หวั่นไหว และมีเครื่องทำให้ใจ
หวั่นไหวเกิดประกอบขึ้นมาอีก อันสืบเนื่องมาจากอารมณ์ดังกล่าว ก็ยากที่จะมีสมาธิในการเรียน
ในการทำงานตามที่ประสงค์ได้


ดังจะพึงเห็นได้ว่า ในบางคราวหรือในหลายคราว รวมใจให้มาอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ
ฟังคำสอน ไม่ค่อยจะได้เพราะว่าใจพลุ่งพล่านอยู่ในเรื่องนั้นบ้าง ในเรื่องนี้บ้าง ที่ชอบบ้าง ที่ชังบ้าง
ที่หลงบ้าง จนรวมใจเข้ามาไม่ติด เมื่อเป็นดังนี้ก็ทำให้ไม่สามารถจะอ่าน จะเขียน จะฟัง
ทำให้การเรียนไม่ดี


ในการงานก็เหมือนกัน เมื่อจิตใจกระสับกระส่ายไปด้วยอำนาจของอารมณ์และ
ภาวะที่เกิดสืบจากอารมณ์ และภาวะที่เกิดสืบจากอารมณ์ดังจะเรียกว่ากิเลส คือ ความรัก ความชัง
ความหลง เป็นต้น ดังกล่าวนั้น ก็ทำให้ไม่สามารถที่จะทำการงานให้ดีได้เช่นเดียวกัน


ใจที่ไม่ได้หัดทำสมาธิก็จะเป็นดั่งนี้และแม้ว่าจะยังไม่มีอารมณ์อะไรเข้ามารบกวน
ให้เกิดกระสับกระส่าย ดังนั้นความตั้งใจก็ยังไม่สู้จะแรงนัก ฉะนั้นจึงสู้หัดทำสมาธิไม่ได้


(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3921 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

ในการหัดทำสมาธินั้นมีอยู่ ๒ อย่างคือ หัดทำสมาธิเพื่อแก้อารมณ์และกิเลสของใจ
ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็เพื่อฝึกใจให้มีพลังของสมาธิมากขึ้น


อย่างแรกนั้นก็คือว่า อารมณ์และกิเลสของใจในปัจจุบันนั้น บางคราวก็เป็นอารมณ์รัก
เป็นความรักซึ่งจะชักใจให้กระสับกระส่ายเสียสมาธิ เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ต้องหัดสงบใจจากอารมณ์รัก
จากความรักชอบนั้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อการศึกษา ต่อการงานที่พึงทำ ตลอดจนถึงต่อกฎหมาย
ต่อศีลธรรม นี่เป็นวิธีหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือต้องหัดเอาชนะใจให้สงบจากอารมณ์ดังนั้นให้ได้


บางคราวก็เกิดอารมณ์โกรธ ความโกรธอันทำใจให้ร้อนรุ่มกระสับกระส่าย ก็เป็นอันตรายอีกเหมือนกัน
เพราะทำให้เสียสมาธิ ฉะนั้นก็ต้องหัดทำสมาธิ คือหัดสงบใจ จากอารมณ์โกรธ จากความโกรธดั่งนั้น
ในบางคราวก็มีอารมณ์หลง ความหลงซึ่งมีลักษณะเป็นความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มบ้าง มีลักษณะเป็น
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจต่าง ๆ บ้าง มีลักษณะเป็นความเคลือบแคลงสงสัยบ้าง เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ต้อง
หัดทำสมาธิ หัดสงบใจจากอารมณ์หลง จากความหลงนั้น ๆ


คราวนี้หลักของการสอนสมาธิทางพระพุทธศาสนา วิธีที่จะทำสมาธิสงบใจจากอารมณ์รัก
โกรธ หลง ดังกล่าว ก็จะต้องเปลี่ยนอารมณ์ให้แก่ใจ

คือว่าเป็นที่ทราบแล้วว่าอารมณ์รักทำให้เกิดความรักชอบ เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์รักนั้น
มาเป็นอารมณ์ที่ไม่รักไม่ชอบ

ความโกรธก็เหมือนกัน ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์โกรธนั้นมาเป็นอารมณ์ที่ไม่โกรธหรือให้เปลี่ยนมาเป็น
อารมณ์รัก แต่ว่าเป็นความรักที่เป็นเมตตา คือเป็นความรักที่บริสุทธิ์ อย่างญาติมิตรสหายรักญาติ
มิตรสหาย มารดาบิดาบุตรธิดารักกัน

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3917 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

ความหลงก็เหมือนกัน ก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์หลงมาเป็นอารมณ์ที่ไม่หลง
เพราะว่าภาวะของใจจะเป็นอย่างไรนั้น สุดแต่ว่าใจตั้งอยู่ในอารมณ์อะไร
เมื่อใจตั้งอยู่ในอารมณ์รัก ความรักชอบก็เกิดขึ้น ถ้าใจไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์รัก
แต่ว่าตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ตรงกันข้าม ก็เกิดความสงบ

ใจโกรธก็เหมือนกัน ก็เพราะตั้งอยู่ในอารมณ์โกรธ เมื่อเปลี่ยนอารมณ์ให้ใจให้ตั้งอยู่ในอารมณ์
ที่ตรงกันข้าม โกรธก็สงบ

หลงก็เหมือนกัน เมื่อตั้งอยู่ในอารมณ์ที่ไม่หลง ความหลงก็สงบ

พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสชี้เอาไว้ว่าอารมณ์เช่นไรควรจะหัดใจให้ตั้งไว้ในเวลาไหน เมื่อเป็นดั่งนี้แล้ว
การที่หัดไว้ก็จะทำให้รู้ลู่ทางที่จะสงบใจของตนเอง อย่างนี้ก็จะทำให้สามารถสงบใจของตนเองได้
ดั่งนี้เป็นข้อมุ่งหมายของการทำสมาธิอย่างหนึ่ง ที่จะต้องหัดเอาไว้


ประการที่ ๒ หัดทำสมาธิเพื่อให้เกิดพลังใจที่ตั้งมั่นมากขึ้น คือให้มีพลังขึ้น
ก็เหมือนการออกกำลังกายเพื่อให้กายมีกำลังเรี่ยวแรง เมื่อหัดออกกำลังอยู่บ่อย ๆ กำลังร่างกาย
ก็จะดีขึ้น จิตใจก็เหมือนกัน เมื่อหัดทำสมาธิอยู่บ่อย ๆ แล้ว โดยที่ปฏิบัติอยู่ในหลักของสมาธิข้อใด
ข้อหนึ่งเป็นประจำ สำหรับที่จะหัดใจให้มีพลังของสมาธิเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้พลังของสมาธินี้มากขึ้นได้
เช่นเดียวกับการออกกำลังกายทำให้พลังทางกายเพิ่มมากขึ้นได้ นี้คือสมาธิในการฝึกหัด


(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3914 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

ตามที่กล่าวมานี้ เป็นการที่แสดงให้เห็นหลักของการทำสมาธิทั่ว ๆ ไป
และก็ตั้งต้นตั้งแต่ความหมายทั่วไปของสมาธิ การหัดทำสมาธิ และการใช้สมาธิ

จะได้ให้วิธีทำสมาธิย่อ ข้อหนึ่ง ก็คือว่า ท่านสอนให้เลือกสถานที่ทำสมาธิที่สงบจากเสียงและ
จากบุคคลรบกวนทั้งหลาย เช่น ในป่า โคนไม้ เรือนว่าง มุ่งหมายก็คือว่า ที่ที่มีความสงบพอสมควร
ที่จะพึงได้ และเข้าไปสู่สถานที่นั้น


นั่งขัดบัลลังก์หรือที่เรียกว่าขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือชนกัน หรือว่ามือขวาทับมือซ้าย
ตั้งตัวตรง หรือว่าจะนั่งพับเพียบก็ได้ สุดแต่ความพอใจ หรือตามที่จะมีความผาสุก
ดำรงสติจำเพาะหน้า คือหมายความว่ารวมสติเข้ามา

กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ หากจะถามว่ารู้ที่ไหนก็คงจะตอบได้ว่า
จุดที่ง่ายนั้นก็คือว่าปลายกระพุ้ง จมูกหรือริมฝีปากเบื้องบนอันเป็นที่ลมกระทบ เมื่อหายใจเข้า
ลมหายใจเข้าจะมากระทบที่จุดนี้ ในขณะเดียวกันท้องก็จะพองขึ้น ลมหายใจออกออกที่จุดนี้
ในขณะเดียวกันท้องก็จะฟุบลงหรือว่ายุบลงไป เพราะฉะนั้น ก็ทำความรู้ลมหายใจเข้าจาก
ปลายกระพุ้งจมูกเข้าไปถึงนาภีที่พอง หายใจออกก็จากนาภีที่ยุบถึง

ปลายกระพุ้งจมูกก็ได้ ก็ลองทำความรู้ในการหายใจเข้าหายใจออกดูดังนี้ก่อน หายใจเข้าก็จาก
ปลายกระพุ้งจมูกเข้าไปถึงนาภีที่พองออกก็จากนาภีที่ยุบจนถึงปลายจมูก นี่ท่านเรียกว่า
เป็นทางเดินของลมในการกำหนดทำสมาธิ

คราวนี้ก็ไม่ต้องดูเข้าไปจนถึงนาภีดั่งนั้น แต่ว่ากำหนดอยู่เฉพาะที่ปลายจมูกแห่งเดียว หายใจเข้า
ก็ให้รู้ว่าเราหายใจเข้า หายใจออก ก็รู้ว่าหายใจออก รวมใจเข้ามาให้รู้ ดั่งนี้ และในการตั้งสติกำหนดนี้
จะใช้นับช่วยด้วยก็ได้ หายใจเข้า ๑ หายใจออก ๑ หายใจเข้า ๒ หายใจออก ๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕
แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ แล้วก็กลับ
๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙
แล้วก็กลับ ๑-๑ ๒-๒ ๓-๓ ๔-๔ ๕-๕ ๖-๖ ๗-๗ ๘-๘ ๙-๙ ๑๐-๑๐ ก็กลับ ๑-๑ ถึง ๕-๕ ใหม่
แล้วก็ กลับ ๑-๑ ถึง ๕-๕ ใหม่ แล้วก็ ๑-๑ ถึง ๖-๖ ใหม่ ดังนี้หลาย ๆ หน จนจิตรวมเข้ามาได้ดีพอควร
ก็ไม่ต้องนับคู่ แต่ว่านับ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕, ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ เป็นต้นไป เมื่อจิตรวมเข้ามาดีแล้วก็เลิกนับ
ทำความกำหนดรู้อยู่ที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปากเบื้องบนเท่านั้น


(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3909 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

วิธีนับดั่งนี้เป็นวิธีที่พระอาจารย์ท่านสอนมาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ว่าจะใช้วิธีอื่นก็ได้
เช่น นับ ๑-๑ จนถึง ๑๐-๑๐ ทีเดียว แล้วก็กลับใหม่ หรือว่าจะเลย ๑๐-๑๐ ไปก็ได้เหมือนกัน แต่ว่า
ที่ท่านไว้แค่ ๑๐-๑๐ นั้น ท่านแสดงว่าถ้ามากเกินไปแล้วจะต้องเพิ่มภาระในการนับมาก จะต้องแบ่งใจ
ไปในเรื่องการนับมากเกินไป ฉะนั้น จึงให้นับอยู่ในวงที่ไม่ต้องใช้ภาระในการนับมากเกินไป อีกอย่าง
หนึ่ง พระอาจารย์ท่านสอนให้กำหนด หายใจเข้าพุทหายใจออกโธ พุทโธพุทโธหรือธัมโมธัมโม
หรือว่าสังโฆสังโฆก็ได ้เมื่อใจสงบดีแล้วก็เลิกกำหนดอย่างนั้น ทำความรู้เข้ามาให้กำหนดอยู่แต่ลม
ที่มากระทบเท่านั้น ให้ทำดั่งนี้จนจิตรวมเข้ามาให้แน่วแน่ได้นาน ๆ นี่เป็นแบบฝึกหัดขั้นต้นที่ให้
ในวันนี้ ท่านที่สนใจก็ขอให้นำไปปฏิบัติต่อไป

สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ
สุขิตา โหนฺตุ นิพฺภยา


อธิบายเรื่องปัญญา

“ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน” นี้เป็นพระพุทธภาษิต เพราะนรชนคือคนเรามีรัตนะ
คือปัญญาติดตัวมาตั้งแต่เกิดเป็นพิเศษกว่าสัตว์ร่วมโลกทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ และสามารถ
อบรมปัญญาให้มากขึ้นได้ด้วย ฉะนั้น คนเราจึงมีความฉลาด สามารถเปลี่ยนภาวะจากความเป็นคนป่า
มาเป็นคนเมืองมีความเจริญด้วยอารยธรรม วัฒนธรรม มีบ้านเมือง มีระเบียบ การปกครอง มีศาสนา
มีเครื่องบำรุงความสุขทางกายทางใจต่าง ๆ สิ่งทั้งปวงเหล่านี้สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายหามีไม่
ทั้งนี้ด้วยอำนาจของปัญญานี้เอง

พระรัตนตรัยคือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัญญา แต่ปัญญาที่เป็นรัตนะ
ของนรชนดังกล่าวมานี้ พึงทราบว่าจะต้องเป็นปัญญาที่ชอบ มีลักษณะเป็นความฉลาดรู้ ความจัดเจน
การวินิจฉัยถูกต้อง สามัญสำนึกดี มีเหตุผลในสิ่งทั้งหลาย ปัญญาที่ชอบดังกล่าวเป็นผลสืบมาจาก
ปัญญาที่มีเป็นพื้นฐานอันได้มาแต่กำเนิดของนรชนอันเรียกว่า “สชาติปัญญา” และจากการศึกษา
อบรมที่ถูกที่ชอบ อันสชาติปัญญานั้นมีพลัง


(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3906 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

อำนาจที่ทำให้ประจักษ์ เรียนรู้เข้าใจและตระหนัก เป็นพลังใจทางปัญญาของบุคคล
ถ้าอบรมศึกษาในทางที่ผิด ก็จะเพิ่มความรู้ในทางฉลาดแกมโกง ในทางทำความชั่วร้าย
ในทางเบียดเบียนต่าง ๆ


ฉะนั้น จึงตรัสสอนไม่ให้ประมาทปัญญา คือใช้ปัญญาพิจารณาอบรมศึกษาให้เข้าถึงความจริง
ตามเหตุและผลในสิ่งทั้งหลาย เพื่อให้บรรลุถึงความชอบถูกต้องในทุกๆ สิ่ง รวมกันเข้าในมรรคมีองค์ ๘
ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติมาจนได้ตรัสรู้พระธรรมและทรงสั่งสอนไว้นั่นเอง คือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ (รวมเข้าเป็นปัญญาสิกขา) สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ
การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ (รวมเข้าเป็นศีลสิกขา) สัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ
ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ (รวมเข้าเป็น จิตตสิกขา หรือสมาธิ)


มรรคมีองค์ ๘ นี้ ก็เท่ากับ ปัญญา ศีล สมาธิ นั่นเอง อันแสดงว่าปัญญาเป็นหัวหน้า
แต่ที่แสดงไว้เป็นข้อปฏิบัติโดยลำดับทั่วไปว่า ศีล สมาธิ ปัญญา พระพุทธเจ้าได้ตรัสรับรองไว้ด้วยว่า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เพราะเมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็ย่อมรู้เห็นทุก ๆ อย่างว่าผิดหรือถูกอย่างไร และเมื่อ
มีความเพียรชอบ ความระลึกชอบเข้าประกอบ ก็จะทำให้มีความเพียร มีสติละทุกสิ่งที่ผิด ทำทุกสิ่ง
ที่ถูกให้เกิดขึ้น จนถึงเป็นความถูกต้องสมบูรณ์ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นหลักเป็นที่ตั้งแห่งทุก ๆ ข้อ
เพราะจิตที่ไม่มีสมาธิย่อมดิ้นรนกระสับกระส่าย ไม่อาจที่จะใช้ปัญญาอบรมปัญญาที่มีอยู่ให้เจริญขึ้น
ได้ เหมือนอย่างไฟฉายที่แกว่งไปแกว่งมา ไม่อาจจะส่องอะไรให้มองเห็นชัดเจนได้ จึงต้องทำจิต
ให้สงบด้วยสมาธิเป็นหลัก ก็จะปฏิบัติให้มรรคทุกข้อแวดล้อมเข้ามา


(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3901 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

ปัญญาสูงสุด

เรื่องกัมมัฏฐานสำหรับแก้นิวรณ์ เก็บจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจากที่มาต่าง ๆ
และข้อที่ตรัสกำชับไว้ให้มีเป็นประจำในการปฏิบัติแก้นิวรณ์ทุกข้อ หรือในการปฏิบัติกัมมัฏฐานทุกคราว
คือ โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ได้แก่การใช้ปัญญาพิจารณาให้ทราบตระหนักแน่
ถึงเหตุผลในการปฏิบัตินั้น ๆ ตามเป็นจริง เมื่อใช้ปัญญาดังนี้จึงจะไม่ปฏิบัติผิดทาง ทั้งจะไม่หลงตัวลืมตัว
การใช้ปัญญาจึงเท่ากับเป็นการใช้เกราะป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นจากความหลงถือเอาผิด
ดังกล่าว และการใช้ปัญญาก็เป็นการศึกษาธรรมนั่นเอง

การฝึกหัดปฏิบัติสมาธิอย่างขาดโยนิโสมนสิการ หรือขาดการใช้ปัญญาก็เท่ากับไม่เป็นการศึกษาธรรม
อาจหลงไปผิดทาง เช่น หลงติดอยู่กับนิมิตที่พบเห็นในสมาธิ หรืออำนาจบางอย่างที่ได้จากสมาธิ
ทำให้กัมมัฏฐาน (ที่ถูก) หลุดหรือหลุดจากกัมมัฏฐานได้ง่าย

พระพุทธเจ้าตรัสไว้อีกด้วยว่า “ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก” การใช้ปัญญาอบรมเพิ่มเติมปัญญา
ให้ส่องสว่างยิ่งขึ้นโดยลำดับจึงเป็นเหตุให้มองเห็นสัจจะคือให้รู้แจ้งเห็นจริง ให้บรรลุสุขประโยชน์
ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด เพราะปัญญาขั้นสูงสุดคือปัญญาที่สมบูรณ์เต็มที่ ย่อมทำให้จิตปภัสสร
คือผุดผ่องสว่างเต็มที่ ทำให้รู้แจ้งเห็นจริงและบรรลุสุขประโยชน์สูงสุดเหมือนดังพระพุทธเจ้าและ
พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเตือนไว้ว่า “อย่าประมาทปัญญา” คือให้ใช้
ปัญญานั่นเอง การที่ฝึกฝนใช้ปัญญาจนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ย่อมปฏิบัติตนไปในทางที่ถูกที่ควร
ตลอดเวลา โดยปราศจากกิเลสตัณหา เป็นไปโดยอัตโนมัติ


(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3896 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

นิวรณ์และกัมมัฏฐานสำหรับแก้

จิตที่ไม่มีสมาธิก็เพราะมีนิวรณ์ ทำให้ไม่ได้ความสงบ ไม่ใช้ปัญญา จึงจะแสดงนิวรณ์ ๕
และกัมมัฏฐานสำหรับแก้เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้


๑. ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกว่า กามฉันทะ แก้ด้วยเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
พิจารณาซากศพ หรือเจริญกายคตาสติ พิจารณาร่างกายอันยังเป็น ให้เป็นของน่าเกลียด

๒. ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า พยาบาท แก้ด้วยเจริญเมตตา กรุณา ทุทิตา อุเขกขา
หัดจิตให้คิดในทางเกิดเมตตา สงสาร กรุณา ช่วยเหลือเมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดี
ไม่ริษยา เกิดความปล่อยวางหยุดใจที่คิดโกรธได้

๓. ความท้อแท้หรือครู้าน และความหดหู่ ง่วงงุน เรียกว่า ถีนมิทธะ แก้ด้วยเจริญอนุสสติกัมมัฏฐาน
พิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง เพื่อให้จิตเบิกบาน
และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลกสัญญา กำหนดหมายแสงสว่างให้จิตสว่าง

๔. ความฟุ้งซ่านหรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็วหรือความรำคาญ เรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจะ
แก้ด้วยเพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจไว้ในอารมณ์เดียว หรือเจริญมรณสติ
อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช

๕. ความลังเลไม่แน่ลงได้ เรียกว่า วิจิกิจฉา แก้ด้วยเจริญธาตุกัมมัฏฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เพื่อกำหนดรู้สภาวธรรมที่เป็นอยู่ตามเป็นจริง อีกอย่างหนึ่ง ทำความกำหนดรู้จิตที่มีนิวรณ์ และนิวรณ์
ที่มีในจิตกับทั้งโทษ เมื่อเกิดปัญญาความรู้จักนิวรณ์และโทษของนิวรณ์ขึ้น นิวรณ์ก็จะสงบหายไป

(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3891 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

บทสวดประกอบการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน

ในการฝึกปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน ในเบื้องต้น ควรไหว้พระสวดมนต์เพื่อทำจิตใจให้ผ่องใส
มีความมั่นคงแน่วแน่ในการที่จะฝึกปฏิบัติ โดยการเริ่มด้วยการแสดงความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย
พร้อมทั้งอธิษฐานเบญจศีลให้บังเกิดขึ้นในจิต อันจะเป็นพื้นฐานของสมาธิกรรมฐาน ทั้งจะก่อ
ให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติ ไปตามลำดับดังนี้


คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบหนหนึ่ง)
สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบหนหนึ่ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบหนหนึ่ง)


คำนอบน้อมพระพุทธเจ้าและระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ หน)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิ กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

(กราบสามหน)

ไหว้พระสวดมนต์จบแล้ว นั่งราบ ตั้งใจอธิษฐานเบญจศีล (ศีลห้า) เพื่อให้เกิดศีลขึ้นในจิตใจ
อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน โดยการตั้งจิตอธิษฐานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ตัดชีวิต งดเว้นจากการลักขโมย งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดมุสา
งดเว้นจากการดื่มและเสพสุราของมึนเมาทุกชนิดอันจะเป็นที่ตั้งของความประมาท


จากนั้น จึงเริ่มการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานไปตามวิธีอันเป็นที่สบายของตน

(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3885 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

บทสวดหลังการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน

หลังการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานแล้ว ควรฝึกพิจารณาข้ออันควรพิจารณาเนือง ๆ (อภิณหปัจจเวกขณะ)
พร้อมทั้งหัดแผ่พรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และแผ่ส่วนกุศลที่ตนได้กระทำแล้ว
แก่สรรพสัตว์ เป็นการเสริมจิตใจให้มีสติไม่ประมาทมัวเมาต่อชีวิต และมีความอ่อนโยนง่ายต่อการ
ที่จะฝึกปฏิบัติในธรรมต่อ ๆ ไปด้วยบทสวดดังต่อไปนี้

อภิณหปัจจเวกขณะ

ชะราธัมโมมหิ (มามหิ)
เรามีความแก่เป็นธรรมดา
ชะรัง อะนะตีโต (อะนะตีตา)
ล่วงความแก่ไปไม่ได้
พะยาธิธัมโมมหิ (มามหิ)
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
พะยาธิง อะนะตีโต (อะนะตีตา)
ล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้
มะระณะธัมโมมหิ (มามหิ)
เรามีความตายเป็นธรรมดา
มะระณัง อะนะตีโต (อะนะตีตา)
ล่วงความตายไปไม่ได้
สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว
เราละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่าพลัดพรากจากของรัก ของเจริญใจ ทั้งหลายทั้งปวง
กัมมัสสะโกมหิ (กามหิ)
เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน
กัมมะทายาโท (ทา)
เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์
กัมมะปะฏิสะระโณ (สะระณา)
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสามิ
จะทำกรรมอันใดไว้
กัละยาณัง วา ปาปะกัง วา
ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาโท (ทา) ภิวิสสามิ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง
เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนือง ๆ อย่างนี้แล

(คำในวงเล็บสำหรับอุบาสิกา)

(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3882 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

พรหมวิหารภาวนา

(การเจริญพรหมวิหาร)
การเจริญพรหมวิหาร คือ การแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้


สัพเพ สัตตา
สัตย์ทั้งหลายทั้งปวง
อเวรา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด
อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันเถิด
อนีฆา โหนตุ
จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจเถิด
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงเป็นผู้ มีสุขรักษาตนเถิด.
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ทุกขา ปะมุจจันตุ
จงพ้นจากทุกข์เถิด.
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
มา ลัทธะสัมปัตติโต วิคัจฉันตุ
จงอย่าได้ปราศจากสมบัติอันได้แล้วเถิด.
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
กัมมัสสะกา
เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา
เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนี
เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ
เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา
เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ
จักทำกรรมอันใดไว้
ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภิวิสสันติ
จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

(มีต่อ)

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3879 ครั้ง ]
:b48: :b48: :b48:

สัพพปัตติทานคาถา

(คาถากรวดน้ำ)
พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔


ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิกะตานิ เม, เตสัญจะ ภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาปปะมาณะกา
ขอสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณจงเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้,
และแห่งบุญทั้งหลายอื่น ที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว.

เย ปิยา คุณะวันตา จะมัยหัง มาตาปิตาทะโย
คือชนเหล่าใดเป็นที่รัก ผู้มีคุณมีมารดาและบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น.

ทิฏฐา เม จาปยะทิฏฐา วา
ที่ข้าพเจ้าได้เห็นหรือแม้ไม่ได้เห็น.

อัญเญ มัชฌัตตะเวริโน สัตตา ติฏฐันติ โลกัสมิง
แลสัตว์ทั้งหลายอื่น ที่เป็นกลาง แลมีเวรกันตั้งอยู่ในโลก.

เตภุมมา จะตุโยนิกา
เกิดในภูมิ ๓ เกิดในกำเนิด ๔.

ปัจเจกะจะตุโวการา
มีขันธ์ ๕ แลขันธ์ ๑ แลขันธ์ ๔.

สังสะรันตา ภะวาภะเว
ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยแลภพใหญ่

ญาตัง เย ปัตติทานัมเม
สัตว์เหล่าใด ทราบการให้ส่วนบกุญของข้าพเจ้าแล้ว.

อะนุโมทันตุ เต สะยัง
ขอสัตว์เหล่านั้นจงอนุโมทนาเองเถิด.

เย จิมัง นัปปะชานันติ
ก็สัตว์เหล่าใด ย่อมไม่ทราบการให้ ส่วนบุญของข้าพเจ้านี้.

เทวา เตสัง นิเวทะยุง
ขอเทพทั้งหลายพึงแจ้งแก่สัตว์เหล่านั้น.

มะยา ทินนานะ ปุญญานัง อะนุโมทะนะ เหตุนา
เพราะเหตุ คืออนุโมทนาบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าให้แล้ว.

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
ขอสัตว์ทั้งปวงจงอย่ามีเวร จงเป็นสุขเสมอเถิด.

เขมัปปะทัญจะ ปัปโปนตุ
แลจงถึงทางอันเกษมเถิด.

เตสาสา สิชฌะตัง สุภา.
ขอความหวังอันดีของสัตว์เหล่านั้นจงสำเร็จเทอญ.

............................................
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร. (66) 02-6291417 ต่อ 106 , 2811085 Fax. (66) 02-6294015
http://mahamakuta.inet.co.th/practice/m ... mk7131.htm

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 65 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron