วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 11:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเจริญสติปัฏฐาน ๔ กันเถิด

สติ คือ สภาวะการทำงานของจิตแบบหนึ่งที่ หน้าที่ดึงสัญญาออกมารายงานให้เราทราบ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Recaller แปลว่าระลึกย้อนหลัง สิ่งที่สติดึงขึ้นมาคือความทรงจำที่จิตเก็บไว้ในอดีต สิ่งใดสะสมอยู่ในจิตมาก สติก็จะดึงสิ่งเหล่านั้นออกมาได้ง่าย หรือ สิ่งใดที่จำไว้ใหม่ๆ สติก็จะดึงหรือระลึกได้ง่ายเช่นกัน

สัญญาก็คือความทรงจำ ข้อมูลเก่า ความรู้ ประสบการณ์ ฝังอยู่ในจิตข้ามชาติข้ามภพ

สติที่จะระลึกได้ถึงการพิจารณารูปกายก็ดี ความรู้สึกก็ดี สภาพจิตใจก็ดี หรือสรรพสิ่งรอบๆ ตัวก็ดี จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้สั่งสมประสบการณ์การพิจารณาธรรมทั้งหลายทั้งปวงนี้ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า มันไม่เที่ยงเกิดดับฯ จนข้อมูลนี้มีสะสมเป็นจำนวนมากในจิต เมื่อสติดึงสัญญาออกมา ก็จะเจอแต่ไม่เที่ยงเกิดดับฯ เรียกว่าติดจนเป็นนิสัย หรือเป็นปรกติโดยไม่รู้ตัว เกิดจากการ เจริญวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ จนเกิดสัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรค

สติปัฏฐาน ๔ นั้น จึงเป็นสภาวธรรมโดยรวมที่เกิดขึ้นในอริยบุคคล ผู้ประกอบด้วยมรรคอันมีองค์แปดแล้ว (คือ มีความเห็นตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดาฯ เป็นนิสัย)

เมื่อสภาวะหรืออาการแบบนี้เกิด เรียกว่า ผู้นั้นมีสติปัฏฐานแล้ว เป็นอริยบุคคล ต่อมา จึงสามารถเจริญ หรือ ทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไปได้ มีผลออกมาคือ อรหันตผล หากยังมีอุปธิเหลืออยู่ก็เป็นอนาคามิผล

การเจริญสติปัญฐาน ที่จริงไม่แตกต่างจากการพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ มากนัก แต่มีการพิจารณาที่ละเอียดขึ้น ถี่ขึ้น พิจารณาตลอดเวลา ทุกลมหายใจ ทุกอริยาบท เพื่อสิ้นทุกข์ทันทีภายในระยะเวลา ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี หรือในชาตินี้ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า

พระพุทธองค์ตรัสสอนพระอริยะว่า เป็นทางเอกทางเดียวที่จะสิ้นทุกข์ หมายถึงสิ้นทุกข์ได้ในชาตินี้ ไม่ต้องรออีก ๗ ชาติ

สำหรับผู้ที่ยังไม่เกิดสภาวะสติปัฏฐาน จะไปเจริญอย่างอริยบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะท่านยังไม่มีสติปัฏฐานเกิดในตัว ต้องไปสร้างมรรค ๘ ก่อน เพราะ มรรค ๘ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสติปัฏฐาน และต้องไปปฏิบัติเหตุของการเกิดมรรค ไม่ใช่เอามรรคมาเจริญ

ผลจากการเลียนแบบอริยบุคคลเจริญสติปัฏฐาน คือ เป็นอาการที่เอาสติไปจับตามอวัยวะ ตามความรู้สึก หรือจดจ้องอารมณ์ ผลออกมาเป็นสมาธิอย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่น ไม่มีปัญญาที่ดับทุกข์ได้ประกอบ จึงเป็นมิจฉาสมาธิ ไม่สามารถลด รัก โลภ โกรธ หลง ได้เลย (ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานสักสิบปีทดสอบตัวเองได้เลย)

ขอให้ท่านทั้งหลายพึงศึกษาพึงปฏิบัติแบบนี้ ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ถูกต้องครบถ้วน คือ การเจริญปัญญาที่ดับทุกข์ได้ก่อน เรียกว่าการวิปัสสนาภวนา คือ สร้างความเห็นชอบ เพื่อสร้างปัญญา เห็นจริง ตามจริง คือ ความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า ทุกทิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยงเกิดดับฯ รูปขันธ์เราก็ไม่เที่ยงเกิดดับฯ วัตถุธรรมทั้งหลายก็ล้วนไม่เที่ยงเกิดดับฯ (การพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖) การพิจารณาแบบนี้ตลอดเวลา หรือให้มากเท่าที่จะมากได้ จะทำให้จิตเราจดจำแต่ความจริงว่า ไม่เที่ยงเกิดดับฯ สัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรคจึงจะเกิด

เมื่อสัมมาทิฏฐิที่นับเนื่องเป็นองค์มรรคเกิด องค์มรรคที่เหลือก็จะเกิดตามกันมาจนครบ ๘ ประการ เมื่อองค์มรรคเกิดครบแล้ว สติปัฏฐานจึงจะเกิดตามมา องค์ธรรมในโพธิปัก ๓๗ ประการก็จะเกิดขึ้นตามๆ กันมาตามหลักของเหตุปัจจัย ท่านก็จะสามารถพ้นทุกข์ได้ในชาตินี้อย่างที่ท่านต้องการ :b42:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 01 มี.ค. 2010, 13:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคนพูดว่า สติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าไม่ใด้สอนคน แล้วคุณ Supareak นำมาแนะนำผู้คนไม่ผิดหรือ

หรือ คุณว่ายังไง

ตกลงสติปัฏฐานสอนคนได้หรือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีคนพูดว่า สติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าไม่ใด้สอนคน
ไม่ได้สอนบุคคลธรรมดา สอนอริยะบุคคล ตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป

ในมูลปริยายวรรค หลักสูตรฝึกให้เป็นอริยะบุคคลอยู่สูตรที่ ๒ สูตรสุดท้าย คือการเจริญสติปัฏฐาน

ให้ศึกษาและปฏิบัติตามครรลองนี้ คือ เจริญความเห็น สร้างปัญญา ด้วยการพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ สำเร็จเป็นอริยบุคคลแล้ว บรรลุโสดาบันแล้ว จึงเจริญสติปัฏฐานต่อ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 01 มี.ค. 2010, 13:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน เป็นอุตริมนุสสธรรม แสดงชัดเจนในพระวินัย เป็นธรรมที่เิกิดในอริยบุคคล

สติปัฏฐาน

[๒๔๘] ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ อยู่ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลัง กล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่า กล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญสติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพรางความ ถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า สติปัฏฐาน ๔ ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๔ อย่าง ... ๕ อย่าง ... ๖ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๔ อำพรางความเห็น ๕ อำพราง ความถูกใจ ๖ อำพรางความชอบใจ ๗ อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 15 มี.ค. 2010, 00:47, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2010, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกสูตรหนึ่งที่แสดงว่า องค์ธรรมทั้งหมดในโพธิปักฯ ๓๗ เกิดในอริยะบุคคลตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป ได้จากการวิปัสสนาภาวนา คือ การเห็นจริง ตามจริง เท่าทันปัจจุบัน ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้สัมมาทิฏฐิเกิด มรรคอีก ๗ องค์เกิดตามมา และองค์ธรรมที่เหลือก็เกิดตามๆ กันมาจนครบ ๓๗ ประการ

๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙) พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


ฯ .... ฯ

[๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตาม ความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูน ต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง

บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น สัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความ พยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีใน เบื้องต้นเทียว

ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ฯ ... ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 15 มี.ค. 2010, 00:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ในสติปัฏฐานสูตร แสดงไว้ตอนท้านชัดเจนว่า เป็นมรรคเบื้องสูง คือ ใช้กำจัดกิเลสที่เหลือของพระอริยะ เพื่อให้พระอริยะตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปบรรลุอรหันต์ผล

ผลแห่งการเจริญสติปัฏฐาน

[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปีเขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ... ๑ ปี ยกไว้. ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติ ปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ เมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 มี.ค. 2010, 02:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ใน คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗) มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ แสดงไว้ว่า แม้การเดินจงกลม ก็เป็นเรื่องของพระอริยะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

เมื่อบุคคลศึกษาธรรม ฟังธรรม จนเกิดมีดวงดาเห็นธรรม (โสดาปัตติมรรค) หรือมีความคิดเห็นที่ถูกต้องเกิดขึ้น (บริบูรณ์ด้วยทิฏฐิ) เมื่อออกเรือนบวช พระพุทธองค์ได้วางหลักสูตรไว้ดังนี้

๑) ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด

๒) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุมาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วจงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิดเธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด ฯ (ฝึกวิปัสสนา)

๓) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้ (บรรลุโสดาปัตติผล) ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ฯ

๔) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัวทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด

๕) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด

๖) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขาซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ

๗) เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมองทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ในพวกภิกษุที่ยัง เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบนั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 มี.ค. 2010, 03:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน มาจากคำว่า สติ + ป + ฐาน

สติ คือ อาการระลึกรู้

ในที่นี้ แปลว่า ประการต่างๆ

ฐาน หมายถึง ปัจจัยอันเป็นเหตุ

ปัฏฐาน จึงแปลว่า ความตั้งอยู่โดยประการต่างๆ หมายถึง ความตั้งอยู่ของธรรมโดยอาศัยปัจจัยต่างๆ ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลธรรมต่างๆ หรือจะกล่าวว่า ปัฏฐานเป็นผลธรรมที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยต่างๆเป็นผู้อุปการะ หรือผลธรรมที่เกิดจากปัจจัยก็ได้ ดังนั้น ปัฏฐาน จึงหมายถึงปัจจัยมีประการต่างๆ อันเป็นเหตุ (จากคู่มือการศึกษา คัมภีร์มหาปัฏฐาน โดยอาจารย์ปราโมช น้อยวัฒน์)

สติปัฏฐาน ๔ จึงหมายถึง ปัจจัย ๔ ประการอันเป็นเหตุให้เกิดการระลึกรู้ คือ ระลึกรู้ถึงกายอยู่เสนอว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนเป็นของตน ฯ ระลึกรู้ถึงเวทนาอยู่เสมอว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ฯ ระลึกรู้ถึงจิตอยู่เสมอว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ฯ ระลึกรู้ถึงธรรมอยู่เสมอว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 มี.ค. 2010, 11:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การโพสต์บทความ
ถ้าไม่ได้เขียนเอง ควรจะโพสต์ที่ไปที่มานิดนึงนะครับ (Ref/Credit)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

สติปัฏฐาน (สติ+ปัฏฐาน) แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง

การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือ มีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ

โดยหลักการ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก (ทางเดียว) เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อข้ามพ้นความโศก และ ปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์ และ โทมนัส

เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔” *

(* ที.ม.10/273/325 ; ม.มู.12131/103 สติปัฏฐานมาใน อภิ.วิ.35/431-464/257-279 ด้วย)


การเจริญสติปัฏฐาน เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว

ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้

หรือ จะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐาน

นี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้

วิปัสสนา เป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก

พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่อง ที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร

จากการศึกษาคร่าวๆ ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไป นี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดีขึ้น

ทั้งในแง่สาระสำคัญขอบเขต ความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝน

ปฏิบัติ โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปว่าเป็นไปได้ และ มีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น


ดูเต็มๆที่

viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2010, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเจริญสติปัฏฐาน เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก ..
สติปัฏฐาน ... ท่านได้แต่ใดมา?

พวกปุถุชนคนธรรมดาจะได้เจริญสติปัฏฐานได้อย่างไรละครับ ก็ยังไม่มีสติปัฏฐานเลย ถ้าท่านคิดว่าท่านมีสติปัฏฐานแล้ว ลองบอกวิธีการการเจริญบอกถึงเหตุที่มาให้กระจ่างหน่อยสิท่าน ...

อย่างที่ท่านนำมาปฏิบัติกันนี้ มันไม่ใช่วิปัสสนา ไม่ใช่การเจิรญสติปัฏฐาน มันเป็นอะไรก็ไม่รู้ องค์ธรรมพื้นฐานก็ยังไม่ปรากฏ

ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน บรรลุอรหันต์อย่างเร็วใน ๗ วัน ปุถุชนเอาไปเลียนแบบ ทั้งชาติก็ไม่ได้อะไร

การเจริญสติปัฏฐานโดยย่อ
1) ต้องประกอบด้วยศีล ด้วยการศึกษาธรรม
2) วิปัสสนาจนได้มรรค ๘ หรือ บรรลุโสดาปัตติผล
3) ฝึกรู้ตัวตลอดเวลา จนรู้ตัวทุกอริยาบท
4) พิจารณาอย่างละเอียด กาย เวทนา จิต ธรรม ตลอดเวลาเว้นตอนหลับ ทำต่อกันทุกวันไม่หยุด จนกว่าจะได้อรหันต์

อ้างคำพูด:
“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก (ทางเดียว) เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศก และ ปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์ และ โทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”
พระองค์ตรัสบอกพระอริยะ แปลว่า ถ้าจะเอาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ให้มาเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่ต้องรอถึง ๗ ชาติ

ลักษณะที่ท่านกำลังทำ เป็นการตัดบางส่วนของพระสูตรมาขยาย เป็นสัทธรรมปฏิรูป พระพุทธองค์บอกว่า เป็นเหตุของความเสื่อมและการอัตราธานหายไปของพุทธศาสนา แปลว่า ท่านกำลังตั้งหน้างตาทำลายพุทธศาสนาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว

สติปัฏฐาน เป็นอุตริมนุสสธรรม ต้องได้อริยบุคคลก่อน ถึงจะปรากฏสติปัฏฐานในบุคคลได้ ไม่ใช่การปฏิบัติของบุคคลธรรมดา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 มี.ค. 2010, 13:48, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร