วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 11:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ..."แห่งพระพุทธศาสนา"

ตอน

อาณาจักรไทยก่อนรับพระพุทธศาสนา


ที่มา : ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ แห่งพระพุทธศาสนา Selected Topics to Study in Development of Buddhism
โดย : พระครูศรีปริยัติสุนทร และ อุดร จันทวัน (ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตขอนแก่น)

ในยุคที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันนี้นั้น เฉพาะในไทย ได้แบ่งภาคตามหลักภูมิศาสตร์ออกเป็น ๓ ภาคชัดเจน มีอาณาจักรที่มีพัฒนาทางสังคม การเมือง การปกครองมาตามลำดับ ๆ และมีชื่อนิยมเรียกในยุคนั้นดังนี้

๑. ภาคไทยล้านเพีย หรือ ล้านเยีย

๒. ภาคไทยล้านนา

๓. ภาคไทยล้านช้าง

๑. ภาคไทยล้านเพีย หรือ ล้านเยีย

ภาคไทยล้านเพียหรือล้านเยียนี้ ได้แก่ ไทยภาคกลางทั้งหมด และไทยภาคเหนือขึ้นไปถึงสุโขทัย กับไทยภาคใต้ลงไปถึงศรีวิชัย มีอาณาจักรอยู่ในภูิมิภาคส่วนนี้ ที่สำคัญ ๆ ๕ ยุคด้วยกัน คือ

๑.๑ ยุคทราวดี
๑.๒ ยุคศรีวิชัย
๑.๓ ยุคละโว้
๑.๔ ยุคสุโขทัย
๑.๕ ยุคอู่ทองอยุธยา(อโยธยา)

๒. ภาคไทยล้านนา

ภาคไทยล้านนานี้ ได้แก่ภาคเหนือตอนบน ถึงเขตพม่าตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งหมด มีอาณาจักรภูมิภาคส่วนนี้ที่สำคัญ ๆ ๓ ยุคด้วยกัน คือ

๒.๑ ยุคโยนกเชียงแสน
๒.๒ ยุคหริภุญไชย
๒.๓ ยุคโยนกล้านนา

๓. ภาคไทยล้านช้าง

ภาคไทยล้านช้างนี้ ได้แก่ภาคอีสานของไทยปัจจุบันทั้งหมด ดินแดนลาวในเขตลุ่มน้ำโขงตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ดินแดนกัมพูชาในเขตเขมรต่ำหรืออีสานใต้ของไทยปัจจุบันทั้งหมด ในภูมิภาคส่วนนี้ มีอาณาจักรที่สำคัญ ๆ ๔ ยุคด้วยกัน คือ

๓.๑ ยุคศรีโคตบูร
๓.๒ ยุคมรุกขนครและสุวรรณภูมิ
๓.๓ ยุคชวาล้านช้างหลวงพระบาง
๓.๔ ยุคศรีสัตตนาคนหุตเวียงจันทร์

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แก้ไขล่าสุดโดย krit_2112_tt เมื่อ 08 ก.พ. 2010, 18:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ..."แห่งพระพุทธศาสนา"


ตอน


พระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่ไทย ๓ ภูมิภาค



ที่มา : ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ แห่งพระพุทธศาสนา Selected Topics to Study in Development of Buddhism
โดย : พระครูศรีปริยัติสุนทร และ อุดร จันทวัน (ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตขอนแก่น)


ภูมิภาคที่ ๑ คือ ภาคไทยล้านเยีย

นักศึกษาส่วนมากจะเข้าใจว่า พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามายังดินแดนประเทศไทยปัจจุบันครั้งแรกที่นครปฐม และเชื่อว่า เข้ามาในยุคพุทธศตวรรษที่ ๓ หลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ แล้ว ระยะเวลาโดยประมาณกาลจะอยู่ในราว พ.ศ. ๒๓๕ โดยการนำของพระมหาเถระ ๒ รูป คือพระโสณะกับพระอุตตระ ซึ่งในยุคนั้นเรียกดินแดนนี้ว่าเป็น "สุวรรณภูมิประเทศ" แต่นักปราชญ์ทางพม่ายืนยันว่า พุทธศาสนาคลื่นแรกที่เผยแผ่เข้ามาในบริเวณส่วนนี้ของโลกนั้น มิได้มานครปฐมของไทย แต่ไปที่เมืองสุธรรมวตี หรือเมืองสะเทิมปัจจุบันของพม่า แล้วจึงค่อย ๆ แผ่ขยายมายังนครปฐมในระยะกาลต่อมาตามลำดับ

เมื่อศึกษาตามแผนที่ทางภูมิศาสตร์แล้ว เมืองสุธรรมวตีหรือสะเทิมนั้นอยู่ในแนวชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย เป็นเมืองมหานคร คือ ราชธานีของอำนาจมอญ (พม่า) และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ทางประวัติศาสตร์ที่บอกว่า "ดินแดนชมพูทวีปกว้างใหญ่ไพศาลกว่า ๔๐๐ โยชน์" นั้นแล้ว เมืองสุธรรมวตีก็อยู่ในชมพูทวีปนั้นด้วย

นักปราชญ์พม่ายืนยันว่า พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามายังดินแดนส่วนนี้ของโลกครั้งแรกที่สุธรรมวตี (สะเทิม) ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ แผ่ขยายไปยังดินแดนส่วนอื่นที่อยู่ใกล้เคียง รวมทั้งที่อาณาจักรทวารวดีด้วย ถ้าจะพิจารณาตามนี้ ก็เท่ากับบอกว่า ทวารวดี รวมทั้งนครปฐมปัจจุบัน นั้น ก็คงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองเอกหัวเมืองหนึ่งของสุธรรมวตีนครเท่านั้นเอง อันที่จริงข้อถกแถลงอย่างนี้ยังไม่สิ้นสุด ยิ่งในปัจจุบันเป็นยุคของเหตุผล ยิ่งได้ข้อถกแถลงเพิ่มเติมเข้ามาอีกมากมาย ในนั้นก็มีเรื่องที่บอกว่านครปฐม หรือทวารวดีนั้นอยู่ทางอ่าวไทย ถ้าคณะพระธรรมฑูตจะมุ่งมาที่นครปฐมก็จะต้องโค้งอ้อมใต้สุดของแหลมอินโดจีน กว่าจะถึงนครปฐมก็ต้องใช้เวลานาน คำถามที่ตามมาก็คือทำไมไม่เผยแผ่ตามชุมชนทางใต้นั้นก่อน ทำไมจะต้องมุ่งมาที่นครปฐมด้วย หรือว่าดินแดนส่วนนั้นในยุคนั้นไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่อาณาจักรศรีวิชัย และ ไศเลนทระก็อยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้นมิใช่หรือ นี่เป็นคำถามสำหรับผู้สืบค้นตลอดมา เพราะในความเป็นจริงโดยธรรมชาติ จะต้องเป็นอย่างนั้น จะว่าเพราะดินแดนบริเวณนั้น มีลัทธิและศาสนาอื่นเผยแผ่อยู่ก่อนแล้ว ก็มิน่าจะใช่ เพราะศาสนาอิสลามก็เผยแผ่เข้ามายังดินแดนส่วนนั้นหลังพระพุทธศาสนาหลายร้อยปี

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แก้ไขล่าสุดโดย krit_2112_tt เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 08:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ..."แห่งพระพุทธศาสนา"



ตอน



พระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่ไทย ๓ ภูมิภาค




ที่มา : ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ แห่งพระพุทธศาสนา Selected Topics to Study in Development of Buddhism
โดย : พระครูศรีปริยัติสุนทร และ อุดร จันทวัน (ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตขอนแก่น)

ภูมิภาคที่ ๒ คือ ภาคไทยล้านนา

ในพงศาวดารโยนกและในตำนานพระธาตุดอยตุงกล่าวไว้ว่า ภายหลังปฐมสังคายนาแล้ว ๓ เดือน พระมหากัสสปะชาวมคธ พร้อมด้วยบริวาร ได้นำพระบรมอัฐิธาตุรากขวัญเบื้องซ้ายมาถวายพระเจ้าอชุตตราชวงศ์สิงหนวัติ และได้พร้อมกันนำไปบรรจุไว้บนดอยตุง ต่อมาราว พ.ศ. ๑๕๐ พระมหาวชิรโพธิ พร้อมด้วยบริวาร ก็ได้นำพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ที่เดิมอีก เจ้าเม็งรายนราชได้ก่อเจดีย์ทับไว้ เจดีย์นั้นนักโบราณคดีถือว่าเป็นปฐมเจดีย์ในล้านนาไทย พระพุทธศาสนาคลื่นแรกที่เข้าสู่ภาคไทยล้านนานี้เป็นพระพุทธศาสนาเถรวาทโดย ตรง ระยะกาลต่อมา มีพระชาวรามัญรูปหนึ่งนามว่าพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เดินทางไปยังลังกา ได้นำพระบรมธาตุจากลังกามายังแคว้นโยนกอีก ขณะเดียวกันก็ได้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ด้วย ในช่วงนี้ได้มีการสร้างพระธาตุกิตติที่ยอดกำแพงเมืองเชียงเก่า พระพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์รุ่งเรืองมาในภาคไทยล้านนามาตามลำดับต้น ๆ กระทั่งถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ลัทธิมหายานได้แผ่ขยายไปจากภาคไทยทวารวดี ไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่หริภุญไชย เมื่อพญาเม็งรายยกทัพมาปราบหริภุญไชยได้ มหายานก็เสื่อม ช่วงนั้นพระพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิพุกามจากทางภาคตะวันตกก็เผยแผ่เข้ามาแทน

ในภาคไทยล้านนาส่วนกลางนั้น เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปแล้ว ช่วงระยะเวลากว่า ๑๐๐๐ ปี ก็มีนิกายต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนาอยู่ถึง ๓ นิกาย คือ นิกายเถรวาทแบบดั้งเดิมหรือแบบลังกาวงศ์ นิกายมหายาน และนิกายเถรวาทแบบพุกาม ครั้นมาถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา คงมีเพียงนิกายแรกนิกายเดิมเท่านั้นที่เจริญรุ่งเรืองสืบมา

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ..."แห่งพระพุทธศาสนา"




ตอน




พระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าสู่ไทย ๓ ภูมิภาค





ที่มา : ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ แห่งพระพุทธศาสนา Selected Topics to Study in Development of Buddhism
โดย : พระครูศรีปริยัติสุนทร และ อุดร จันทวัน (ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตขอนแก่น)

ภูมิภาค ที่ ๓ คือ ภาคไทยล้านช้าง

ภาคไทยล้านช้างโบราณ ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้ามาและในยุคที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามานั้น มีชุมชนระดับนครสำคัญ ๆ อยู่ ๔ นครด้วยกันคือ

๑. นครศรีโคตบูร เป็นนครใหญ่อยู่ในลุ่มน้ำของ (โขง) ตอนกลาง

๒. นครหนองหานหลวง เป็นนครใหญ่อยู่ริมฝั่งหนองหาน สกลนครปัจจุบัน

๓. นครหนองหานน้อย เป็นนครใหญ่รองลงมาจากหนองหานใหญ่ อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน

๔. นครสาเกต เป็นนครใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของนครศรีโคตบูร ซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองร้อยเอ็ด (เมืองร้อยเอ็ดประตู) คือจังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน

ตามพงศาวดารล้านช้าง และพระธาตุพนมบอกว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดินแดนภาคไทยล้านช้างนี้คราวหนึ่ง ก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้เสด็จไปประทับที่ริมฝั่งหนองคันแทเสื้อน้ำ ซึ่งเป็นที่ตั้งองค์พระธาตุหลวงในเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ต่อมาพระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับที่โพนจิกเวียงงัว คือที่ตั้งพระธาตุเวียงงัว ที่ตำบลพระโค จังหวัดหนองคายปัจจุบัน จากนั้นได้เสด็จไปโปรดประภารนาค ที่ภูเขาหลวง อันเป็นที่ตั้งองค์พระธาตุบังพวนปัจจุบัน จากนั้นได้เสด็จไปประทานรอยพระบาทไว้ใกล้ฝั่งโขง ซึ่งเรียกว่าพระบาทเวินปลาในปัจจุบัน จากนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จตามลำน้ำโขงจะไปยังภูกำพร้า ได้เสด็จประทับแรมที่เมืองชายฝั่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งองค์พระธาตุเมืองนครเก่า (ปัจจุบันอยู่ฝั่งลาว) เมื่อเสด็จมาถึงภูกำพร้าได้ประทับแรม ๑ ราตรี รุ่งเช้าได้เสด็จไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร เมื่อเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้มาพักฉันภัตตาหารที่ใต้ต้นรังใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งต่อมาตรงนั้น พญาสุมิตรธรรมวงศาได้พาไพร่พลสร้างเจดีย์ไว้ เรียกว่า "พระธาตุอิงฮัง" มาถึงปัจจุบัน (อยู่แขวงสุวรรณเขตฝั่งลาว) วันต่อมาพระพุทธองค์ได้เสด็จไปยังนครหรือเมืองหนองหานหลวง ได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำลอดเชิงชุม คือที่ตั้งองค์พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนครปัจจุบัน จากเมืองหนองหานหลวงพระองค์ได้เสด็จไปยังภูเพ็ก ตรงนั้น พระองค์ได้รับสั่งกับพระสงฆ์สาวกให้นำพระอุรังคธาตุมาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า (คือที่พระธาตุพนมปัจจุบัน) ด้วย หลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว จากนั้นได้เสด็จไปยังภูพาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่น ๒ แห่ง คือที่พระธาตุบัวบก กับพระบาทหนองบัวบาน ที่ภูพระบาท ในเขตอำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี แล้วเสด็จขึ้นทางอุดรทิศ ประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูเวียน เรียกพระบาทเงินตุ่ม อยู่เหนืออำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายปัจจุบัน แล้วเสด็จข้ามโขงไปยังภูนัททกังฮี ประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่นเรียกพระบาทภูศรี อยู่ที่นครหลวงพระบาง ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน จากนั้นพระองค์ก็เสด็จกลับยังพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ต่อมาก็เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย

ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระเป็นประธานในการถวายพระเพลิงนั้น ท่านพร้อมด้วยบริวารได้เข้าไปถวายบังคม และอธิษฐาน และมีพระอุรังคธาตุมาปรากฏที่ฝ่ามือของท่าน หลังการถวายพระเพลิง และหลังจากแจกพระบรมสารีริกธาตุเสด็จแล้ว พระมหากัสสปเถระพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร ๕๐๐ รูปได้เข้าฌานและเหาะมาทางอากาศนำพระบรมธาตุมาพักที่ภูเพ็ก (อยู่ที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครปัจจุบัน) แล้วแจ้งข่าวแก่ชาวหนองหานน้อย หนองหานหลวง พญาผู้ครองเมืองทั้งสองพร้อมด้วยบริวารก็ได้มาต้อนรับ พญาผู้ครองเมืองใกล้เคียงได้ข่าวก็พาบริวารมาสมทบ แล้วได้พร้อมกันอัญเชิญพระบรมธาตุนั้นไปสู่ภูกำพร้าตรงนั้นพญาทั้ง ๕ คือ พญาสุวรรณภิงคารเจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาดำแดงเจ้าเมืองหนองหานน้อย พญานันทเสนเจ้าเมืองศรีโคตบูร พญาอินทปัตถ์เจ้าเมืองอินทปัตถนคร คือกัมพูชาปัจจุบัน และพญาจุลณีพรหมทัตเจ้าเมืองจุลณี ก็ได้ร่วมกันเป็นประธานก่อสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ เมื่อสร้างเสร็จ บรรจุพระบรมธาตุแล้ว พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์บริวารก็กลับยังกรุงราชคฤห์ เพื่อทำปฐมสังคายนาต่อไป

ในตำนานพระธาตุพนมมิได้บอกว่า ในคราวที่พระมหาเถระเจ้ากัสสปะเดินทางกลับยังชมพูทวีปนั้น พระอรหันต์ที่มาพร้อมกับท่านมิได้เดินทางกลับทั้งหมดหรือไม่ ถ้ากลับหมด ทำไมตำนานจึงบอกว่า มีศิษยืของพระมหากัสสปะ ๓ ท่าน คือ พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต และพระสังฆรักขิต ได้เกลี้ยกล่อมเอากุมารทั้ง ๕ คือโอรสของเจ้าเมืองทั้ง ๕ ที่มาร่วมสร้างพระธาตุนั้นออกบวชด้วยและเป็นพระมหารัตนะ พระจุลรัตนะ (จากเมืองจุลณี) พระสังฆวิชา (จากเมืองสาเกตุร้อยเอ็ดประตู) พระมหาพุทธวงศา และพระมหารัชชตี ที่สืบพระศาสนาต่อมา หรือว่าพระอรหันต์ท่านกลับไปยังราชคฤห์แล้ว เสด็จจากการปฐมสังคายนาแล้ว ท่านเดินทางกลับมายังดินแดนส่วนนี้อีก

การสืบค้นร่องรอยพระพุทธศาสนาในภาคไทยล้านช้าง ซึ่งรวมทั้งอีสานของไทยทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องน่าศึกษาวิเคราะห์อย่างยิ่ง แต่ถ้าไม่อ่านอุรังนิทานก่อน จะมีแนวคิดที่ไม่ค่อยปลงใจเชื่อมากนัก จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาต้นฉบับอุรังคนิทานหรืออุรังคะทาดนิทาน ทั้งของลาวและที่เผยแพร่ทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในอดีต โดยเฉพาะเอกสารโบราณชื่ออุรังคนิทาน หมายเลข ๓/๔ ฉบับอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย-อีสาน และเอกสารโบราณชื่อ อุรังคธาตุ หมายเลข ๔๔๖/๓ ฉบับ อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ที่ส่วนภาษาโบราณ ชั้น ๔ หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพมหานคร ตามที่เปรียบเทียบไว้ในบทที่ ๓ แล้วนั้น และข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องและน่าเชื่อถืออื่น ๆ ประกอบด้วย แม้แต่พระพุทธพจน์ พระไตรปิฏก บทสวดมนต์ที่ใช้สวดสืบต่อกันมา ตลอดถึงร่องรอยของจารีต ประเพณี และวิถีประชา ของคนในภาคนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ..."แห่งพระพุทธศาสนา"





ตอน





พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยในแหลมทอง






ที่มา : ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ แห่งพระพุทธศาสนา Selected Topics to Study in Development of Buddhism
โดย : พระครูศรีปริยัติสุนทร และ อุดร จันทวัน (ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตขอนแก่น)
..........................................................
เฉพาะในประเทศไทย ศาสตราจารย์พิเศษประจิตร บัวบุศย์กล่าวว่าพระพุทธศาสนาที่เป็นพื้นฐานของจารีต ประเพณี และวิถีประชาชนของชนชาติไทยมาเป็นเวลายาวนาน กว่า ๒๒๐๐ ปีเศษจนถึงปัจจุบัน เป็นศาสนาที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์พัฒนาประเทศไทย และชนชาติไทยในทุก ๆ ด้านมาแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมที่ทันสมัย และสามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวนำในการพัฒนาชีวิต พัฒนาสังคม และประเทศชาติได้อย่างเหมาะสมอย่างไม่จำกัดกาลเวลา สถาบันสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นสถาบันสำคัญในการสร้างภูมิปัญญาและขัดเกลาสังคมไทย ให้เป็นสังคมอารยะมาตามลำดับ ๆ ได้ช่วยยกฐานะสังคมไทย มิให้เป็นสังคมป่าเถื่อน ล้าหลัง และไร้มนุษยธรรม ตรงกันข้ามกลับช่วยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง ทั้งแก่ผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครองในอดีต กระทั่งถือเป็นสถาบันหลัก ในด้านการวางพื้นฐานจริยธรรมทางการเมืองการปกครอง ให้แก่ชนชาติไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแก่ประชาชาติไทย "พระพุทธศาสนานั้น มีอิทธิพลต่อท่าที และการประพฤติปฏิบัติต่าง ๆ ของคนไทยอยู่มาก เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่ มีส่วนผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น พระพุทธศาสนาจึงมีส่วนช่วยขัดเกลาจิตใจ ลักษณะนิสัย และวัฒนธรรมในด้านจิตใจของชาวไทยอยู่นานับประการ"

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ..."แห่งพระพุทธศาสนา"

ตอน

ชาวโลกกับศรัทธาและศาสนา


ที่ มา : ศึกษาเฉพาะเรื่องในการพัฒนาการ แห่งพระพุทธศาสนา Selected Topics to Study in Development of Buddhism
โดย : พระครูศรีปริยัติสุนทร และ อุดร จันทวัน (ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิทยาเขตขอนแก่น)
..........................................................

นับจากปัจจุบันย้อนยุคไปกว่า ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ประชาคมโลกมิได้สะสมประสบการณ์เฉพาะพัฒนาการด้านสังคม เศรษกิจ และการเมืองเท่านั้น แต่ยังได้สะสมประสบการณ์ และถูกหล่อหลอมด้วยหลักธรรมคำสอนทางศาสนา ในชื่อต่าง ๆ เฉพาะที่สืบประวัติได้อย่างน้อย ๕ ศาสนาด้วยกัน คือ ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลาม ซึ่งแต่ละศาสนาต่างก็มีบริบททางสังคม มีประวัติศาสตร์ และมีพัฒนาการเป็นของตนเอง จนทำให้แต่ละศาสนาได้เข้าไปมีส่วนสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตของแต่ละศาสนิกชน อันมีผลทำให้ประชาคมโลกในภาพรวม เกิดสันติสุข มั่นคง ดำรงสืบมั่นมากว่า ๕ สหัสวรรษ

ในบรรดาศาสนาสำคัญและถือเป็นศาสนาหลักของประชาคมโลกนั้น พระพุทธศาสนา ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียเมื่อกว่า ๒๖๐๓ ปีมาแล้วนั้น เป็นศาสนาที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตและช่วยหล่อหลอมกล่อมเกลา อุปนิสัยใจคอของชาวเอเชียหลายร้อยล้านคนในอดีต และพัฒนามาเป็นหลักการสำคัญของสถาบันต่าง ๆ ของสังคม ในหลากหลายสาขาอาชีพ ปัจจุบันในทางสากล พระพุทธศาสนา ได้มีบทบาทโดดเด่นมาแต่ต้น ในฐานะที่เป็นศาสนาผดุงสัจจะและประกาศแนวทางแห่งสันติ สามารถสนองตอบต่อเป้าหมายที่ดีงามแห่งชีวิตของชาวโลก ทั้งที่เป็นส่วนรวมและส่วนบุคคลอย่างไม่จำกัดกาลเวลาและสถานที่

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร