วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ก า ร ช ว น ค น เ ข้ า วั ด
มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม


คำโบราณกล่าวไว้ว่า

“ประตูวัดเปิดกว้าง ๒๔ ชั่วโมง แต่ก็ยังมีคนเข้าวัดกันไม่มาก
ผิดกับประตูคุกซึ่งมีกำแพงหนาแน่นและปิดอยู่ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง
แต่ก็ยังมีคนเข้าไปแออัดกันแน่นเหลือเกิน”


นี่เป็นคำพูดในลักษณะของการเปรียบเทียบว่า

คนเข้าสู่วัดนั้นมีเป็นส่วนน้อย
วัดเป็นชื่อของความดี เป็นที่ไปของความเจริญ
แต่คุกตารางเป็นที่ไปของความเสื่อมความบาป
แต่กลับมีคนแห่ไปที่นั่นกันมาก

ส่วนบุคคลที่ข้าไปสู่วัดหรือไปสู่ความดีนั้นมีเพียงส่วนน้อย
เทียบกับบุคคลที่เข้าไปสู่สถานที่เริงรมย์
ไม่ว่าจะเป็นโรงมหรสพ ศูนย์การค้า
จะพบว่ามีคนเข้าไปที่นั่นกันมาก
แตกต่างกับวัดที่จะมีคนเข้าไปน้อย

มีปัญหาถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?

เราอาจจะตอบกันได้หลายอย่างหลายข้อ
อย่างหนึ่งนั้นก็คือ ความดีนั้นทำยาก
ผิดกับความชั่วหรืออะไรที่เป็นการกระทำ
ที่เป็นไปด้วยอำนาจความยินดีพอใจอย่างโลกๆ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำง่าย


ดังนั้นจึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้ที่ทำหน้าที่เผยแพร่สิ่งที่เรียกว่า “ธรรมะ”
หรือความดีหรือหลักของจริยธรรมนั้น
จะต้องใช้ความพยายามมากๆ


คนที่ทำหน้าที่นำคนเข้าวัดหรือเผยแพร่ความดีนั้น
มีทั้งพระภิกษุซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในหน้าที่นี้
และยังมีบุคคลที่ได้เข้าวัดแล้วเห็นประโยชน์ของธรรมของความดีว่า
เป็นสิ่งที่นำความสุขความเจริญมาให้


บุคคลที่เข้าวัดได้จริงๆ
แล้วก็ชวนคนอื่นเข้าวัดก็มีปัญหาอยู่เป็นอันมาก
บางทีวิธีการชักชวนทำให้คนถูกชักชวนนั้น
แทนที่จะเข้าวัดกลับกลายเป็นคนเกลียดวัด
หรือตั้งข้อรังเกียจคนเข้าวัด
เห็นคนเข้าวัดแล้วเกิดความรู้สึกลำบากใจ
หรืออึดอัดใจแล้วพาลไม่เข้าวัด ไม่คบคนทั้งวัด

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อย่างไรก็ตาม เรื่องการชวนคนสู่ความดีนั้น
พระพุทธเจ้าทรงถือว่า คนใดที่มีความดีตัวเอง
แล้วไม่ชวนคนอื่นถือว่าเป็นคนดีชั้นที่ ๑ ขั้นพื้นฐาน ขั้นสามัญ

ส่วนบุคคลใดที่ค้นพบความดี แล้วได้ชวนคนอื่นด้วย
คนนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีความดียิ่งกว่าคนดีทั่วไป


ถือว่าเป็นความดีชั้นสูง
เพราะว่าการที่จะชวนคนอื่นไปสู่ความดีนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเหมือนกัน


ดังนั้น คนที่มีความรู้สึกมีความปรารถนา
ที่จะชวนคนไปสู่ความดีด้วยความประสงค์ดีจริงๆนั้น
จึงถือว่า คนๆนั้นเป็นคนดี

แต่คนดีเหล่านั้นเมื่อไปชวนคนเข้าสู่ธรรม
หรือนำธรรมไปสู่คนบ้างก็ตาม
บางคนก็ทำได้ผล บางคนก็ทำไม่ได้ผล


จึงมีข้อที่น่าจะนำมาพิจารณากันในที่นี้ว่า

ความจริงการที่เราจะชวนคนไปสู่ความดีที่เราเห็นว่า ดีจริงๆ
บุคคลที่เข้าไปสู่สิ่งเหล่านี้แล้ว ชีวิตมีความสุขจริงๆนั้น
ว่าที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา

ถ้าเราพิจารณาพุทธจริยาของพระองค์ก้ดี
หรือของพระสาวกในครั้งพุทธกาลก็ดี
สรุปได้ว่า วิธีการที่ท่านนำคนเข้าวัดหรือนำธรรมจากวัดไปให้คนนั้น

ท่านจะเริ่มที่ความต้องการของผู้อื่น
คือจะเป็นความต้องการที่คนนั้นต้องการอยู่แล้ว
แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี


พระพุทธองค์ประทานวิธีหรือมรรควิธี
ที่จะทำให้คนนั้นสมประสงค์ในสิ่งที่ตนต้องการ
อาจจะมีบางคนที่ตัวเองไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร
พระองค์ก็จะบอกความต้องการให้
เพื่อผู้นั้นจะได้รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร
แล้วก็เสนอวิธีที่จะทำให้ความต้องการเหล่านั้นสำเร็จ


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


สำหรับความต้องการของคนทั่วไป
ที่เราจะใช้เป็นครื่องชักนำคนเข้าสู่ธรรม
ก็คือเราพูดเพื่อมุ่งประโยชน์หรือคำพูดที่มุ่งไปอนุเคราะห์คนอื่น

ฉะนั้นเราจึงเห็นว่าคนทั้งหลายมีปัญหาอยู่สองส่วน

คือส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่ตัวต้องการ
อีกส่วนเป็นส่วนที่ตัวไม่ต้องการ
เช่นความสุขกับความทุกข์
นี่เป็นสิ่งที่เราจะใช้เป็นเหตุที่จะนำบุคคลเข้าสู่ธรรมได้


หมายความว่า คนทั้งหลายนั้นย่อมต้องการความสุข
จะเป็นความสุขของครอบครัว ในหน้าที่การงาน ชีวิต เป็นต้น

และรังเกียจความทุกข์
คือความทุกข์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว ในหน้าที่การงาน
หรือแม้แต่ในชีวิต

ในความรู้สึกปกติประจำจิตทุกคนนั้น
จะมีความประสงค์ในทางแสวงหาความสุขอย่างนี้ด้วยกันทุกคน


ดังนั้นหากเราชวนเขาเข้าสู่ธรรมะก็คือ
เราเสนอวิธีแก้ไขให้เขาอย่างดีที่สุด
อย่างที่เราเองซึ่งเป็นผู้ชวนนั้นจะต้องแน่ชัดหรือแน่ใจเสียก่อน
แล้วก็ชักชวนด้วยความเมตตากรุณา
ไม่ได้มุ่งผลอย่างอื่น


แม้แต่จะทำให้เขาเกิดความศรัทธา
เกิดความนับถือในศาสนา หรือในตัวผู้เผยแพร่ธรรม หรือหลักธรรมนั้น


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


บางทีเราอาจรับประกันได้ว่า

ความทุกข์ที่เขามีเมื่อเขาได้หันเข้ามาสู่การกระทำอย่างนี้
ซึ่งจะพูดด้วยวิธีการหรือถ้อยคำอย่างไรก็ตาม

ชีวิตเขาจะดีขึ้นจริงๆ
ซึ่งเราอาจจะยกตัวอย่างใครต่อใครอีกหลายคนที่เราได้เห็นมาจนชิน


หรือชัดเจนเป็นที่แน่นอนว่า

คนเหล่านั้นเคยมีปัญหาชีวิตแก้ไม่ตก
ทั้งที่เจ้าตัวอาจจะมีการศึกษามาอย่างดี
จบปริญญาตรี โท เอก
หรือมีธุรกิจการงานใหญ่โต มีบ้านช่องราวกับวัง
มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างทุกประการตามที่ต้องการ

แต่ทำไมสิ่งเหล่านี้บำบัดทุกข์ในครอบครัวของเขาไม่ได้
หรือเขายังรู้สึกว่าชีวิตเขาเป็นทุกข์ด้วยประการต่างๆ
เช่น จิตใจหงุดหงิด รู้สึกว้าเหว่ เศร้าหมอง เร่าร้อนอยู่เป็นปกติทุกวัน


ทำไมสิ่งเหล่านี้จึงให้ความสุขแก่เขาไม่ได้
หรือขจัดทุกข์ให้เขาไม่ได้


เพราะฉะนั้นเราก็เสนอว่า

มีแหล่ง หรือมีหลักการที่จะทำให้เขาสมประสงค์
ในสิ่งที่ต้องการในหลักของความสุขความทุกข์นี้ได้


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อีกคู่หนึ่งคือ การอ้างหลักความชั่วกับความดี
คือบางคนต้องการแสวงหลักแห่งความดี ความบริสุทธิ์ในตัวเอง
และต้องการเอาชนะความชั่วในตัวเอง


ซึ่งคนเหล่านี้
บางคนอาจจะเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยเป็นคนขี้โกรธ
ซึ่งตัวเองก็รู้อยู่ว่า ความโกรธไม่ดี
แต่ก็ไม่รู้วิธีจะทำให้ความโกรธนั้นเบาบางได้

ซึ่งก็มีวิธีในทางธรรมในทางศาสนา
เป็นหลักที่ดีที่สุดที่จะทำให้คนนั้นดีขึ้น
เอาชนะความชั่ว และสร้างความดีงาม


เช่น ความเมตตากรุณา ให้เกิดขึ้นกับคนอื่น
อย่างที่เราจะมีความปรารถนาดี
รักใคร่บุคคลอื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ

คนที่ฟังคำพูดนี้ บางคนฟังแล้วก็เข้าใจทันที
เพราะว่าตัวเองมีความรู้สึกอย่างนี้อยู่

และมีอีกหลายคนฟังแล้วเหมือนพูดไปตามบท
ตามภาษาพระไปอย่างนั้นเอง
ไม่น่าจะมีใครทำได้

เพราะว่าผู้ที่ไม่รู้สึกว่าเป็นไปได้นั้น
ก็คือคนที่ไม่เคยมีความรู้สึกอย่างนี้


คนที่มีความรู้สึกอย่างนี้มีอยู่มากในสังคมของเรา
เรียกว่าเป็นความดีอย่างหนึ่ง
คือความรัก ความปรารถนาดีต่อคนอื่น
สิ่งเหล่านี้ไม่มีศาสตร์ใดสอน

หรือสอนแล้วก็ยังเชื่อว่า
ที่จะทำให้คนเกิดความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมา
อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่องมากๆ นั้นทำได้ยาก
คือพูดง่ายๆ ว่า สู้หลักทางศาสนาไม่ได้

คนบางคน จากคนที่เคยเห็นแก่ตัวจัด ไม่ยอมเข้าใจคนอื่น
เมื่อเขาประพฤติธรรมหรือทำธรรมให้เกิดขึ้นกับตัวเขา
ความรู้สึกเหล่านั้นก็หายไปได้
ความรู้สึกที่ดีก็เกิดขึ้นมาแทนที่
นี่คือหลักความดีความชั่ว


ฉะนั้น เวลาที่เราจะชวนคนเข้าหาธรรม
หรือนำธรรมไปเสนอให้คนรับปฏิบัตินั้น
ถ้าเรามองเห็นความต้องการของเขาตรงจุดนี้ว่า
เป็นคนที่ต้องการแสวงหาความดี
หรือทำความดีให้เกิดขึ้นกับตัวเขา

เราก็อ้างเหตุนั้นนำเสนอหลักการ
คือพูดง่ายๆว่า ดึงเขาเข้าวัด
และเขาก็จะเป็นคนดีของสังคมต่อไป
จะได้ความดีที่เขาต้องการจริงๆ


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 01:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 01:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


อีกคู่หนึ่งคือ หลักของความโง่กับความฉลาด

หลักนี้เป็นหลักที่ค่อนข้างจะมีคนในสังคมนั้น
มีความประสงค์มีความต้องการอย่างเห็นได้ชัดเจน
เหมือนหลักความสุขกับความทุกข์

คำว่าความโง่ กับความฉลาดนั้น หมายความว่า

คนทั้งหลายนั้นต้องการจะเป็นคนฉลาด
บางทีอาจจะนึกแย้งขึ้นมาว่า

ไม่น่าที่จะต้องพึ่งศาสนาก็ได้
เพราะว่าเขาจะเรียนรู้เรื่องอะไรต่างๆ
ก็มีให้เรียนรู้ประดับสติปัญญา
หรือเรียนกันเองอย่างแตกฉานลึก ซึ่งก็มีมากมาย

แต่ว่าหลักความโง่และความฉลาดในทางศาสนานั้น
ละเอียดอ่อนกว่านั้นลงไปอีก


กล่าวสั้นๆ คือ
คนบางคนเรียนรู้มากแต่ทำอะไรอย่างโง่
เพราะหลักของความโง่หรือความฉลาดนั้น
เขาถือเรื่องของกิเลสกับไม่มีกิเลสเป็นเรื่องสำคัญ

ฉะนั้นคนที่เข้ามาสู่ธรรมแล้วจะได้ความฉลาดที่พูดได้ว่า

เป็นความฉลาดของชีวิตทั้งหมด


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “การชวนคนเข้าวัด” [บรรยายโดย อ.สุเทพ โพธิสัทธา, ถอดเทปโดย คุณนพวรรณ กุลจันทมาศ, เอื้อเฟื้อเทปโดย คุณมานิตย์ ปรมาคม] ใน ธรรมเพื่อชีวิต เล่มที่ ๖๒, ฉบับวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๓, จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม, หน้า ๑-๖)

:b44: กิเลสและการดับกิเลส (วัดบุรณศิริมาตยาราม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=24059

:b44: การพูดบีบบังคับ (วัดบุรณศิริมาตยาราม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=26557

:b44: ความจริงของสัจจธรรม (วัดบุรณศิริมาตยาราม)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=21396

:b44: ประวัติและเรื่องราวของ “ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์)”
จัดทำโดย มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=45527


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 01:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool เข้ามาทักทายครับ

เป็นเรื่องที่สังคมต้องตระหนัก

อย่างน้อย ก็เป็นการสะกิด
คนที่ยังไม่เขาวัด
ให้หันมาคิดที่จะเข้าวัดบ้าง

ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อว่า มีคนจำนวนไม่น้อย
ที่เคร่งเครียดกับสถานการณ์ ของเศรษฐกิจ การเมือง
หาทางออกให้กับตนเองโดยหันไปพึงพาอบายมุข


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 01:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 02:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


Eikewsang เขียน:
เข้ามาทักทายครับ

เป็นเรื่องที่สังคมต้องตระหนัก

อย่างน้อย ก็เป็นการสะกิด
คนที่ยังไม่เขาวัด
ให้หันมาคิดที่จะเข้าวัดบ้าง

ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อว่า มีคนจำนวนไม่น้อย
ที่เคร่งเครียดกับสถานการณ์ ของเศรษฐกิจ การเมือง
หาทางออกให้กับตนเองโดยหันไปพึงพาอบายมุข


:b43: :b43: :b43:

สวัสดีค่ะ พี่ Eikewsang smiley

ขอบพระคณมากค่ะที่อุตส่าห์เข้ามาทักทายกัน
ยินดีต้อนรับสู่ลานธรรมจักรด้วยนะคะ

กลับมาจากวัดเมื่อไหร่คะ
ขออนุโมทนาสำหรับการไปปฏิบัติธรรมอย่างยิ่งด้วยนะคะ :b8:

หากมีเวลาว่าง...รบกวนเข้ามาช่วยชี้แนะ
และ "ชวนคนเข้าวัด" กันบ่อยๆนะคะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ :b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะ ช่วงนี้งานยุ่ง แค่ตามอ่าน
ไม่ได้เข้ามาทักทาย สบายดีนะคะ
ตอนนี้ก็ตะล่อมชวน 2 สาวที่บ้านลองปฏิบัติธรรมเป็นเพื่อนแม่น่ะค่ะ
แต่เพราะเราพูดให้เค้าฟังบ่อยๆ รู้สึกได้ว่าเค้าเข้าใจธรรมะมากขึ้น
ปิดเทอมนี้ จะพาทัวร์วัดมเหยงค์ค่ะ onion onion

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2015, 10:10 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2018, 08:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2019, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2021, 19:41 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร