วันเวลาปัจจุบัน 16 ต.ค. 2024, 05:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ธุดงค์ ๑๓

หลังออกพรรษาก็ถึงคราที่พระภิกษุสงฆ์จะเที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาสถานที่อันสัปปายะ เพื่อเจริญสมณธรรม รวมทั้งเผยแผ่ธรรม ซึ่งเรามักจะได้ยินว่า “ออกธุดงค์” และมักจะนิยมเรียกพระภิกษุสงฆ์ที่เที่ยวจาริกไปเช่นนี้ว่า “พระธุดงค์”

คำว่า “ธุดงค์” นั้น พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายไว้ ใน หนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และฉบับประมวลธรรม ว่า

ธุดงค์ หมายถึง องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น มี ๑๓ ข้อ คือ

๑. ปังสุกูลิกังคะ
องค์แห่งผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ใช้เฉพาะแต่ผ้าบังสุกุล คือ ไม่รับจีวรจากทายก เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลมาเย็บย้อมทำจีวรเอง

๒. เตจีวริกังคะ
องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร คือ ถือผ้าเพียงสามผืน ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิ อย่างละผืนเท่านั้น ไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น

๓. ปิณฑปาติกังคะ
องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์ หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้

๔. สปทานจาริกังคะ
องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือ รับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว หรือเที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน้นที่นี่ตามใจชอบ

๕. เอกาสนิกังคะ
องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น

๖. ปัตตปิณฑิกังคะ
องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ใช้ภาชนะอื่น

๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ
องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร คือ เมื่อลงมือฉันแล้ว มีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ

๘. อารัญญิกังคะ
องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือ ไม่อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน แต่อยู่ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น

๙. รุกขมูลิกังคะ
องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงบัง

๑๐. อัพโภกาสิกังคะ
องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือในฤดูฝน)

๑๑. โสสานิกังคะ
องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คือ อยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ

๑๒. ยถาสันถติกังคะ
องค์แห่งผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามแต่เขาจัดให้เป็นวัตร ไม่เลือกเสนาสนะเอาตามพอใจตัวเอง

๑๓. เนสัชชิกังคะ
องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ถือนั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน

ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือ ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ ส่วนผู้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือ ในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป

การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทาน คือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะ ทำโมหะให้พินาศไป เป็นการกำจัดเสียซึ่งมานะ เป็นการตัดเสียซึ่งวิตกชั่วทำให้ข้ามความสงสัยได้ เป็นการกำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน เป็นการกำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้ เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

อานิสงส์การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไปตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผา และตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่านเป็นอิสระพ้นจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไปในป่าที่ดารดาษไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิตหลอมใจให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรมพุทโธอยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติก่อให้เกิดสมาธิและจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะผ่านการประหารกิเลสด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้าจึงมั่นคง เข้มแข็งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร

พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิตในพระพุทธศาสนา ดำเนินเดินตามทางรอยธรรมพ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไปตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ในการเพิ่มพูนบารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผลนิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้าแห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐานที่มีคุณูปการอเนกอนันต์ตราบนิรันดร์สมัย

อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระมหากัสสปเถระ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์


ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7783

:b43: พระมหากัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7539

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร