วันเวลาปัจจุบัน 25 พ.ค. 2025, 06:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 4731 ครั้ง ]
นี้ Link แรก

viewtopic.php?f=7&t=28122

ได้เลือกที่ท่านแสดงความเป็นไปภายนอกพอเข้าใจง่ายๆ ผ่านไปแล้ว

ต่อไปอาจยากสักหน่อย อีกทั้งเนื้อหาสาระมีมากมาย (ไม่รู้จะลอกมาจบไหม เอาเป็นว่าได้เท่าใดก็เท่านั้น)

เพื่อให้เห็นภาพการทำงานของปฏิจจสมุปบาทภายในลงรูปให้ดูอีกครั้ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ม.ค. 2010, 13:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวกฎ หรือ ตัวสภาวะ

ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมอีกหมวดหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ

หรือ หลักความจริงที่มีอยู่โดยธรรมดา ไม่เกี่ยวกับการอุบัติของพระศาสดาทั้งหลาย

พุทธพจน์แสดงปฏิจจสมุปบาทในรูปของกฎธรรมชาติว่า ดังนี้



“ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติ หรือ ไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ

เป็นธรรมนิยาม คือ หลักอิทัปปัจจยตา *

ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้า

ใจง่าย และจึงตรัสว่า “จงดูสิ”

“เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ”

“ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา คือ หลักอิทัปปัจจยตา ดังกล่าวมานี้แล

เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท”

(สํ.นิ.16/61/30)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

(ความหมายศัพท์)

อิทัปปัจจยตา – เป็นชื่อหนึ่งของหลักปฏิจจสมุปบาท แปลตามตัวอักษรว่า การประชุมปัจจัยของสิ่งเหล่านี้

หรือ ภาวะที่มีอันนี้ ๆ เป็นปัจจัย

ในอภิธรรมนิยมเรียก ปัจจยาการ แปลว่า อาการที่เป็นปัจจัย

ตถตา- ภาวะที่เป็นอย่างนั้น

อวิตถตา- ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปได้

อนัญญถตา- ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท จะเห็นได้จากพุทธพจน์ว่า


“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”

(ม.มู. 12/346/359)


“ภิกษุทั้งหลาย แท้จริง อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ฯลฯ

เมื่อใด อริยสาวกรู้ทั่วถึงความเกิดและความดับของโลกตามที่มันเป็นอย่างนี้ อริยสาวกนี้ เรียกว่า เป็นผู้มี

ทิฐิสมบูรณ์ก็ได้ ผู้มีทัศนะสมบูรณ์ก็ได้

ผู้ลุถึงสัทธรรมนี้ก็ได้ ว่าผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบเสขวิชชาก็ได้ ผู้บรรลุกระแสธรรมแล้วก็

ได้ พระอริยะผู้มีปัญญาชำแรกกิเลสก็ได้ ผู้อยู่ชิดประตูอมตะก็ได้”

(สํ.นิ.16/184-187/94-68 ฯลฯ)

“สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับธรรมเหล่านี้

รู้จักทางดำเนินถึงความดับธรรมเหล่านี้ ฯลฯ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรแก่การยอมรับว่า เป็น

สมณะในหมู่สมณะ และยอมรับได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และจึงได้ชื่อว่า ได้บรรลุประโยชน์ของความ

เป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

(สํ.นิ.16/41,94-5,306-8/19,53,158)


อย่างไรก็ดี มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนั้นว่า

เป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย เพราะเคยมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์และได้ตรัสตอบ ดังนี้


“น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลย พระเจ้าข้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็น

ของลึกซึ้ง ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ”

“อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้งและปรากฏเป็นของลึกซึ้ง

เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง

จึงขมวดเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม จึงเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง จึงผ่านพ้น

อบาย ทุคติ วินิบาต สังสารวัฏ ไปไม่ได้”

(สํ.นิ. 16/224-5/110-1)


ผู้ศึกษาพุทธประวัติแล้ว คงจำพุทธดำริเมื่อครั้งหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนเสด็จออกประกาศ

พระศาสนาได้ว่า ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงประกาศธรรม

ดังความในพระไตรปิฎกว่า


“ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริเกิดขึ้นว่า “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก

รู้ตามได้ยาก สงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิต จึงจะรู้ได้”


“ก็แหละ หมู่ประชานี้ เป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยอาลัย * ยินดีอยู่ในอาลัย ละเริงอยู่ในอาลัย

สำหรับหมู่ประชาผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย (เช่นนี้) ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ

หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท

ถึงแม้ฐานอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง

ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน

ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่นไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา

ข้อนั้น ก็จะเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”

(วินย.4/7/8 ม.มู.12/321/323)

พุทธพจน์ตอนนี้ กล่าวถึงหลักธรรม ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน เป็นการย้ำ

ทั้งความยากของหลักธรรมข้อนี้ และความสำคัญของหลักธรรมนี้ ในฐานะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

และจะทรงนำมาสั่งสอนแก่หมู่ประชา


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

* อาลัย - ความผูกพัน ความยึดติด เครื่องอิงอาศัย ชีวิตที่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวบทและแบบความสัมพันธ์ ในหลักปฏิจจสมุปบาท


พุทธพจน์ ที่เป็นตัวบทและหลักปฏิจจสมุปบาทนั้น แยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ที่แสดงเป็นกลางๆ ไม่ระบุชื่อหัว

ข้อปัจจัย อย่างหนึ่ง

กับที่แสดงเจาะจงระบุชื่อหัวข้อปัจจัยต่างๆ ซึ่งสืบทอดต่อกันโดยลำดับเป็นกระบวนการ อย่างหนึ่ง

อย่างแรก มักตรัสไว้นำหน้าอย่างหลัง เป็นทำนองหลักกลาง หรือ หลักทั่วไป

ส่วนอย่างหลัง พบได้มากมาย และส่วนมากตรัสไว้ล้วนๆ โดยไม่มีอย่างแรกอยู่ด้วย

อย่างหลังนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นหลักแจงหัวข้อ หรือ ขยายความ เพราะแสดงรายละเอียดให้เห็น หรือเป็นหลัก

ประยุกต์ เพราะนำเอากระบวนการธรรมชาติมาแสดงให้เห็นความหมายตามหลักทั่วไปนั้น

อนึ่ง หลักทั้ง ๒ อย่างนั้น แต่ละอย่างแบ่งออกได้เป็น ๒ ท่อน คือ ท่อนแรกแสดงกระบวนการเกิด

ท่อนหลังแสดงกระบวนการดับ เป็นการแสดงให้เห็นแบบความสัมพันธ์ ๒ นัย

ท่อนแรกที่แสดงกระบวนการเกิดเรียกว่า สมุทัยวาร และถือว่าเป็นการแสดงตามลำดับ

จึงเรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท เทียบในอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ คือ ทุกขสมุทัย

ท่อนหลังแสดงกระบวนการดับ เรียกว่า นิโรธวาร และถือว่าเป็นการแสดงย้อนลำดับจึงเรียกว่า

ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท เทียบในหลักอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ คือ ทุกขนิโรธ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 17:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1240750784.jpg
1240750784.jpg [ 115.61 KiB | เปิดดู 4712 ครั้ง ]
แทรกบทความที่กล่าวก่อนหน้าอีกทีดัง ว่า


หลักธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะมีชื่อใดๆ ล้วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งสิ้น เพราะแสดงถึงหรือสืบเนื่อง

มาจากหลักสัจธรรมเดียวกัน และเป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน

แต่นำมาแสดงในชื่อต่างๆกัน โดยชี้ความจริงเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งคนละส่วนละตอนกันบ้าง

เป็นความจริงอันเดียวกัน แต่แสดงคนละรูปละแนว เพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างบ้าง

ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมบางข้อ จึงเป็นส่วนย่อยของหลักใหญ่ บางข้อเป็นหลักใหญ่ด้วยกัน

ครอบคลุมความหมายของกันและกัน

แต่มีแนวหรือรูปแบบการแสดงและความมุ่งหมายจำเพาะในการแสดงต่างกัน

ปฏิจจสมุปบาทถือว่า เป็นหลักใหญ่ที่ครอบคลุมธรรมได้ทั้งหมด
ฯลฯ

กรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเห็นได้ชัดเมื่อแยกส่วนในกระบวน

การนั้นออกเป็น 3 วัฏฏะ คือ กิเลส กรรม วิบาก

หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงถึงกระบวนการทำกรรมและการให้ผลของกรรมทั้งหมด

ตั้งแต่ กิเลสที่เป็นเหตุให้ทำกรรม จนถึงวิบากอันเป็นผลที่จะได้รับ

เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจหลักกรรมชัดเจนไปด้วย


เมื่อเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้วก็จะเข้าใจหลักกรรมด้วย นอกจากนี้ คห.บน ก็ยังเข้าใจหลักอริยสัจอีกด้วย เป็นอันว่า หลักธรรมใหญ่เชื่อมถึงกันหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงตัวบททั้ง ๒ อย่าง ดังนี้

๑)หลักทั่วไป

ก. อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ …เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ...เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

ข. อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ …เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ *...เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)

(* สํ.นิ.16/64, 144/33,78 ฯลฯ)

พิจารณาตามรูปพยัญชนะ หลักทั่วไปนี้ เข้ากับชื่อที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา *

(* วิสุทธิ. ฎีกา 3/246 ชี้ว่า หลักทั่วไปนี้ บางครั้งท่านขยายความโดยแสดงเพียงปัจจัยเดียวก็มี –

เช่น สํ.นิ.16/237/117. เรียกว่า เอกังคปฏิจจสมุปบาท –ปฏิจจสมุปบาทแบบหัวข้อเดียว)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


๒) หลักแจงหัวข้อ หรือ หลักประยุกต์

ก. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ...เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ...เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ…เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ…เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส…เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

ผสฺสปจฺจยา เวทนา…เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

เวทนาปจฺจยา ตณฺหา…เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ…เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

อุปาทานปจฺจยา ภโว…เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

ภวปจฺจยา ชาติ…เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

ชาติปจฺจยา ชรามรณํ …เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี


โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส

และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม


เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ...ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้

ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ม.ค. 2010, 22:06, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา ...เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ

สงฺขารนิโรโธ ...สังขารจึงดับ

สงฺขารนิโรธา วิญญาณนิโรโธ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

วิญญาณนิโรธา...นามรูปนิโรโธ... เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ... เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ... เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ... เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ... เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

ชาตินิโรธา ชรามรณํ ... เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ)



โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฌนฺติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ*

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้


(* วินย.4/1-3/1-5 ฯลฯ)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ขอให้สังเกตว่า คำสรุปปฏิจจสมุปบาทนี้ บ่งว่าเป็นกระบวนการเกิดขึ้น และดับไปแห่งความทุกข์

ข้อความเช่นนี้ เป็นคำสรุปส่วนมากของหลักปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏในที่ต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ม.ค. 2010, 22:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่บางแห่งสรุปว่า เป็นการเกิดขึ้นและสลาย หรือ ดับไปของโลกก็มี โดยใช้คำบาลีว่า

“อยํ โข ภิกฺขเว โลกสฺส สมุทโย – นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คือ ความเกิดขึ้นแห่งโลก”

“อยํ โข ภิกฺขเว โลกสฺส อตฺถงฺคโม-นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คือ ความสลายตัวแห่งโลก”

(สํ.นิ. 16 / 164-5 / 87-8)

หรือว่า

“เอวมยํ โลโก สมุทยติ” -โลกนี้ ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ “

“เอวมยํ โลโก นิรุชฺฌติ” - โลกนี้ ย่อมดับไป ด้วยอาการอย่างนี้ “

(สํ.นิ. 16/179-186/93-95)

อย่างไรก็ดี ว่าโดยความหมายที่แท้จริงแล้ว คำสรุปทั้งสองอย่างนี้ ได้ความตรงกันและเท่ากัน

ปัญหาอยู่ที่ความหมายของศัพท์ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจกันต่อไป



หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ในคัมภีร์อภิธรรมและคัมภีร์รุ่นอรรถกถา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

ปัจจยาการ ซึ่งแปลว่า อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ม.ค. 2010, 22:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 4643 ครั้ง ]
ข้อความต่อนี้ไป หากผู้อ่านเคยศึกษาปฏิจจสมุปบาทมาบ้างจะเข้าใจชัดขึ้น

ดูรูปเพื่อความเข้าใจง่ายอีกที สังเกตวงจรใหญ่ และวงจรเล็กซึ่งมีอวิชชาอยู่กลางด้วย




ในหลักที่แสดงเต็มรูปอย่างในที่นี้ องค์ประกอบทั้งหมดมีจำนวน ๑๒ หัวข้อองค์ประกอบเหล่านี้

เป็นปัจจัยเนื่องอาศัยสืบต่อกันไปเป็นรูปวงเวียน ไม่มีต้น ไม่มีปลาย คือไม่มีตัวเหตุเริ่มแรกที่สุด

(มูลการณ์ หรือ The First Cause)

การยกเอาอวิชชาตั้งเป็นข้อที่หนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า อวิชชาเป็นเหตุเบื้องแรก หรือ มูลการณ์ของสิ่ง

ทั้งหลาย

แต่เป็นการตั้งหัวข้อเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ โดยตัดตอนยกเอาองค์ประกอบอันใดอันหนึ่ง

ที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดขึ้นมาเป็นลำดับที่ ๑ แล้วก็นับต่อไปตามลำดับ



บางคราวท่านป้องกันมิให้มีการยึดเอาอวิชชาเป็นมูลการณ์ โดยแสดงความเกิดของอวิชชาว่า

“อวิชชาเกิด เพราะอาสวะเกิด อวิชชาดับ เพราะอาสวะดับ – อาสวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย

อาสวนิโรธา อวิชฺชานิโรโธ”

(ม.มู.12130/101)

องค์ประกอบ ๑๒ ข้อของปฏิจจสมุปบาทนั้น นับตั้งแต่อวิชชา ถึง ชรามรณะเท่านั้น

( คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ

ชรามรณะ)

ส่วน โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความคับแค้น) เป็นเพียงตัวพลอยผสม

เกิดแก่ผู้มีอาสวกิเลส เมื่อมีชรามรณะแล้ว เป็นตัวการหมักหมมอาสวะ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาหมุนวงจร

ต่อไปอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ม.ค. 2010, 11:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบประยุกต์

พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสตามลำดับ และเต็มรูปอย่างนี้ (คือ ชักต้นไปหาปลาย) เสมอไป

การแสดงในลำดับและเต็มรูปเช่นนี้ มักตรัสในกรณีเป็นการแสดงตัวหลัก แต่ในทางปฏิบัติซึ่งเป็นการเริ่มต้น

ด้วยข้อปัญหา

มักตรัสในรูปย้อนลำดับ (คือ ชักปลายมาหาต้น) เป็น



ชรามรณะ <= ชาติ <= ภพ <= อุปาทาน<= ตัณหา<= เวทนา <=ผัสสะ <= สฬายตนะ <=นามรูป

<= วิญญาณ <= สังขาร <=อวิชชา *

(* ดู สํ.นิ. 16/22-27,189/5-13,97 ฯลฯ)

ในทางปฏิบัติเช่นนี้

การแสดงอาจเริ่มต้นที่องค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดในระหว่างก็ได้ สุดแต่องค์ประกอบข้อไหนจะกลายเป็นปัญหา

ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เช่น อาจจะเริ่มที่ชาติ * ที่เวทนา* ที่วิญญาณ* อย่างใดอย่างหนึ่ง

แล้วเชื่อมโยงกันขึ้นมาตามลำดับจนถึงชรามรณะ (ชักกลางไปหาปลาย)

หรือ สืบสาวย้อนลำดับลงไปจนถึงอวิชชา (ชักกลางมาหาต้น) ก็ได้

หรืออาจเริ่มต้นด้วยเรื่องอื่นๆ ที่มิใช่ชื่อใดชื่อหนึ่งใน ๑๒ หัวข้อนี้ แล้วชักเข้ามาพิจารณา

ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ได้- (เช่น สํ.นิ.16/28,246/14,122 ฯลฯ)

การแสดงปฏิจจสมุปบาท จึงไม่จำเป็นต้องครบ ๑๒ หัวข้ออย่างข้างต้น และไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบที่ตายตัว

เสมอไป


ข้อควรทราบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ความเป็นปัจจัยแก่กันขององค์ประกอบเหล่านี้ มิใช่มีความหมายตรงกับ

คำว่า “เหตุ” ทีเดียว เช่น ปัจจัยให้ต้นไม้งอกขึ้น มิใช่หมายเพียงเมล็ดพืช

แต่หมายถึง ดิน น้ำ ปุ๋ย อากาศ อุณหภูมิ เป็นต้น เป็นปัจจัยแต่ละอย่าง และการเป็นปัจจัยแก่กันนี้

เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่จำต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลังโดยกาละหรือเทศะ เช่น พื้นกระดาน เป็นปัจจัยแก่การ

ตั้งอยู่ของโต๊ะ เป็นต้น *


(* ในคัมภีร์อภิธรรมแสดงความเป็นปัจจัยในอาการต่างๆไว้ถึง ๒๔ แบบ (ดู ปัฏฐาน พระไตรปิฎกบาลี เล่ม

40-45)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


เริ่มที่ชาติ* ( เช่น สํ.นิ.16/107/61)
-ที่เวทนา * (เช่น ม.มู.12/453/489)
-ที่ วิญญาณ* (เช่น สํ.นิ.16/178/93)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ม.ค. 2010, 19:20, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแปลความหมายหลักปฏิจจสมุปบาท


หลักปฏิจจสมุปบาท ถูกนำมาแปลความหมายและอธิบายโดยนัยต่างๆ ซึ่งพอสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆได้

ดังนี้


๑.การอธิบายแบบแสดงวิวัฒนาการของโลกและชีวิต โดยการตีความพุทธพจน์บางแห่งตามตัวอักษร เช่น

พุทธดำรัสว่า โลกสมุทัย -

(เช่น สํ.นิ.16/164/87) เป็นต้น

๒.การอธิบายแบบแสดงกระบวนการเกิด-ดับแห่งชีวิตและความทุกข์ของบุคคล ซึ่งแยกได้เป็น ๒ นัย


๑) แสดงกระบวนการช่วงกว้างระหว่า่งชีวิตต่อชีวิต คือ แบบข้ามภพข้ามชาติ เป็นการแปลความหมาย

ตามรูปศัพท์อีกแบบหนึ่ง และเป็นวิธีอธิบายที่พบทั่วไปในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา
ซึ่งขยายความหมายออกไป

อย่างละเอียดพิสดาร ทำให้กระบวนการนี้มีลักษณะเป็นแบบแผน มีขั้นตอนและคำบัญญัติเรียกต่างๆ

จนดูสลับซับซ้อนแก่ผู้เริ่มศึกษา


๒)แสดงกระบวนการที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในทุกขณะของการดำรงชีวิต เป็นการแปลความหมาย

ที่แฝงอยู่ในคำอธิบายที่ ๑ นั่นเอง แต่เล็งเอานัยอันลึกซึ้ง หรือ นัยประยุกต์ของศัพท์

ตามที่เข้าใจว่าเป็นพุทธประสงค์
(หรือ เจตนารมณ์ของหลักธรรม) เฉพาะส่วนที่เป็นปัจจุบัน

วิธีอธิบายนัยนี้ ยืนยันตัวเองโดยอ้างพุทธพจน์ในพระสูตรไ้ด้หลายแห่ง เช่น ในเจตนาสูตร

(สํ.นิ.16/145/78) ทุกขนิโรธสูตร (สํ.นิ.16/163/87) และโลกนิโรธสูตร

(สํ.นิ.16/164/87) เป็นต้น

ส่วนในอภิธรรม ก็มีบาลีแสดงกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาททั้งหมดที่เกิดครบถ้วน ในขณะจิตอันเดียวไว้

ด้วย จัดเป็นตอนหนึ่งในคัมภีร์ทีเดียว*

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* อภิธรรมภาชนีย์แห่งปัจจยาการวิภังค์ อภิ.วิ.35/274-430/185-257

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ม.ค. 2010, 17:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการอธิบายแบบที่ ๑

บางครั้งมีผู้พยายามตีความหมายในหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นทฤษฎีแสดงต้นกำเนิดของโลก

โดยถือเอาอวิชชาเป็นมูลการณ์ (The Finst Cause) * แล้วจึงวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับหัวข้อ

ทั้ง ๑๒ นั้น

การแปลความหมายอย่างนี้ ทำให้เห็นไปว่าคำสอนในพระพุทธศาสนามีส่วนคล้ายคลึงกับศาสนาและระบบ

ปรัชญาอื่นๆ ที่สอนว่ามีตัวการอันเป็นต้นเดิมสุด เช่น พระผู้สร้าง เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นกำเนินของสัตว์

และสิ่งทั้งปวง

ต่างกันเพียงว่า ลัทธิที่มีพระผู้สร้าง แสดงกำเนิดและความเป็นไปของโลกในรูปของการบันดาลโดย

อำนาจเหนือธรรมชาติ

ส่วนคำสอนในพระพุทธศาสนา (ที่ตีความหมายอย่างนี้) แสดงความเป็นไปในรูปวิวัฒนาการตามกระบวนการ

แห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติเอง

อย่างไรก็ดี การตีความหมายแบบนี้ย่อมถูกตัดสินได้แน่นอนว่า ผิดพลาดจากพุทธธรรมเพราะคำสอน

หรือ หลักลัทธิใดก็ตามที่แสดงว่า โลกมีมูลการณ์ (คือเกิดจากตัวการที่เป็นต้นเดิมที่สุด) ย่อมเป็นอันขัดต่อ

หลักอิทัปปัจจตา หรือ หลักปฏิจจสมุปบาทนี้


หลักปฏิจจสมุปบาท แสดงเหตุผลเป็นกลางๆว่า สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกัน เกิดสืบต่อกันมาตาม

กระบวนการแห่งเหตุผลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มูลการณ์ป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะในรูปพระผู้สร้าง

หรือสิ่งใดๆ

ด้วยเหตุนี้ การแปลความหมายหลักปฏิจจสมุปบาทให้เป็นคำอธิบายวิวัฒนาการของโลกและชีวิต จึงเป็นที่

ยอมรับได้เฉพาะในกรณีที่เป็นการอธิบายให้เห็นความคลี่คลายขยายตัวแห่งกระบวนการธรรมชาติ

ในทางที่เจริญขึ้น และทรุดโทรมเสื่อมสลายลงตามเหตุปัจจัยหมุนเวียนกันเรื่อยไป ไม่มีเบื้องต้น

ไม่มีเบื้องปลาย

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* มูลการณ์ (The First Cause) ผู้ตีความหมายอย่างนี้ บางพวกแปลคำว่า อวิชชา ว่า

สิ่งหรือภาวะที่ไม่มีความรู้ จึงอธิบายว่า วัตถุเป็นต้นกำเนิดแห่งชีวิต

บางพวกแปลคำว่า อวิชชา ว่า ภาวะที่ไม่อาจรู้ได้ หรือ ภาวะที่ไม่มีใครรู้ถึง จึงอธิบายอวิชชา เป็น God

ไปเสีย

ส่วนคำว่า สังขาร ก็ตีความคลุมเอาสังขตธรรมไปเสียทั้งหมด ดังนี้เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับประกอบการพิจารณาว่า การแปลความหมายอย่างใดถูกต้อง ควรยอมรับหรือ

ไม่ ก็คือ พุทธประสงค์ในการแสดงพุทธธรรม ซึ่งต้องถือว่าเป็นความมุ่งหมายของการทรงแสดงหลัก

ปฏิจจสมุปบาทด้วย

ในการแสดงพุทธธรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายและสั่งสอนเฉพาะสิ่งที่จะนำมาใช้ปฏิบัติ

ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริงได้ เกี่ยวข้องกับชีวิต การแก้ไขปัญหาชีวิต และการลงมือทำจริงๆ


ไม่ทรงสนับสนุนการพยายามเข้าถึงสัจธรรมด้วยวิธีครุ่นคิดและถกเถีงหาเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาทางอภิปรัชญา

ซึ่งเป็นไปไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ การกำหนดความเป็นพุทธธรรม จึงต้องอาศัยการพิจารณาคุณค่าทางจริยธรรมประกอบด้วย

ในกรณีการแปลความหมายแบบวิวัฒนาการชนิดหมุนเวียน ไม่มีต้นปลายนั้น แม้จะพึงยอมรับได้ ก็ยังจัดว่ามี

คุณค่าทางจริยธรรม (คือ คุณค่าในทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต) น้อย

คือ ให้เพียงโลกทัศน์หรือชีวทัศน์อย่างกว้างๆ ว่า ความเป็นไปของโลกและชีวิตดำเนินไปตามกระแสแห่ง

เหตุผล ขึ้นต่อเหตุปัจจัยในกระบวนการของธรรมชาติเอง ไม่มีผู้สร้าง ผู้บันดาล และไม่เป็นไปลอยๆ

โดยบังเอิญ

ดังนั้น ผลที่ต้องการ จึงไม่อาจให้สำเร็จเพียงด้วยความหวังความปรารถนา การอ้อนวอนต่อพระผู้สร้าง

หรืออำนาจเหนือธรรมชาติใดๆ หรือด้วยการรอคอยโชคชะตาความบังเอิญ

แต่ต้องสำเร็จด้วยการลงมือกระทำ คือ บุคคลจะต้องพึ่งตนด้วยการทำเหตุปัจจัยที่จะให้ผลสำเร็จที่ต้องการนั้น

เกิดขึ้น ๑


การกระทำเหตุปัจจัยเพื่อให้ผลที่ต้องการ จะเป็นไปได้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในตัวเหตุปัจจัย พร้อมทั้ง

ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุปัจจัยต่างๆ ภายในกระบวนการของธรรมชาตินั้นอย่างถูกต้อง

ปัญญาจึงเป็นคุณธรรมสำคัญ คือ ต้องเกี่ยวข้องและจัดการกับสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญา ๑


การรู้เข้าใจในกระบวนการของธรรมชาติ ว่าเป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัย ย่อมช่วยลด หรือ ทำลายความ

หลงผิด ที่เป็นเหตุให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายว่าเป็นตัวตนของตนลงได้ ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้อง

กับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่กลับตกไปเป็นทาสของสิ่ง

ที่เข้าไปเกี่ยวข้องนั้นเสีย ยังคงเป็นอิสระอยู่ได้ ๑



โลกทัศน์และชีวทัศน์ที่กล่าวมานี้ แม้จะถูกต้องและมีคุณค่าตรงตามความมุ่งหมายของพุทธธรรมทุกประการ

ก็ยังนับว่าหยาบ ไม่หนักแน่นและกระชั้นชิดพอที่จะให้เกิดคุณค่าทั้ง ๓ ประการนั้น (โดยเฉพาะประการที่

๓) อย่างครบถ้วนและแน่นอน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้การแปลความหมายแบบนี้มีคุณค่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะต้องพิจารณากระบวนการหมุนเวียนของธรรมชาติ

ให้ชัดเจนถึงส่วนละเอียดยิ่งกว่านี้ คือจะต้องเข้าใจรู้เท่าทันสภาวะของกระบวนการนี้ ไม่ว่า ณ จุดใดก็ตาม

ที่ปรากฏตัวให้พิจารณาเฉพาะหน้าในขณะนั้นๆ และมองเห็นกระแสความสืบต่อเนื่องอาศัยกันแห่งเหตุปัจจัย

ทั้งหลายแม้ในช่วงสั้นๆ เช่นนั้นทุกช่วง

เมื่อมองเห็นสภาวะแห่งสิ่งทั้งหลายต่อหน้าทุกขณะโดยชัดแจ้งเช่นนี้ คุณค่า ๓ ประการนั้น จึงจะเกิดขึ้น

อย่างตรบถ้วนแน่นอน และย่อมเป็นการครอบคลุมเอาความหมายแบบวิวัฒนาการช่วงยาวเข้าไว้ในตัวไปด้วย

พร้อมกัน

ในการแปลความหมายแบบที่ ๑ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ไม่ว่าจะเป็นความหมายอย่างหยาบ

หรือ อย่างละเอียดก็ตาม จะเห็นว่าการพิจารณาเพ่งไปที่โลกภายนอก
คือเป็นการมองออกไปข้างนอก

ส่วนการแปลความหมายแบบที่ ๒ เน้นหนักทางด้านชีวิตภายใน สิ่งที่พิจารณาได้แก่กระบวนการสืบต่อ

แห่งชีวิต และความทุกข์ของบุคคล เป็นการมองเข้าไปข้างใน



การแปลความหมายแบบที่ ๒ นัยที่ ๑

เป็นแบบที่ยอมรับและนำไปอธิบายกันมากในคัมภีร์รุ่นอรรถกาทั้งหลาย * มีรายละเอียดพิสดาร และมีคำ

บัญญัติต่างๆเพิ่มอีกมากมาย เพื่อแสดงกระบวนการให้เห็นเป็นระบบที่มีขั้นตอนแบบแผนชัดเจนยิ่งขึ้น

แต่ในเวลาเดียวกัน ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกตายตัวจนกลายเป็นยึดถือแบบแผน ติดระบบขึ้นได้ พร้อมกับ

ที่กลายเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนสำหรับผู้เริ่มศึกษา

ในที่นี้ จึงจะได้แยกไปอธิบายไว้ต่างหากอีกตอนหนึ่ง

ส่วนความหมายตามนัยที่ ๒ ก็มีลักษณะสัมพันธ์กับนัยที่ ๑ ด้วย จึงจะนำไปอธิบายไว้ในลำดับต่อกัน

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


* ดูวิสุทธิมัคค์ 3/107-206 วิภงฺค.อ. 168-278 (เฉพาะหน้า 260-278 แสดงกระบวนการแบบ

ที่เกิดครบถ้วนในขณะจิตอันเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




E6134436-4.jpg
E6134436-4.jpg [ 129.29 KiB | เปิดดู 4501 ครั้ง ]
ต่อ link นี้

viewtopic.php?f=7&t=28157

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร