วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 21:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปความใน มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค

สรุปความโดยย่อการปฏิบัติธรรมตั้งแต่ต้นจนจบ

๑.มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง

๑.๑) กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยสามารถปุถุชน คือ ผู้ที่ยังไม่กำหนดรู้
๑.๒) กำหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยสามารถเสขบุคคล คือ บุคคลผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล เพราะเขาควรกำหนดรู้
๑.๓) กำหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยสามารถพระขีณาสพ ผู้สิ้นกิเลสแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว กำหนดรู้แล้ว
๑.๔) กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยสามารถพระขีณาสพ ผู้สิ้นกิเลสแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว เพราะปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป
๑.๕) กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยสามารถพระขีณาสพ ผู้สิ้นกิเลสแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว เพราะปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป
๑.๖) กำหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยสามารถพระขีณาสพ ผู้สิ้นกิเลสแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญาอันชอบแล้ว เพราะปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป
๑.๗) กำหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยสามารถพระศาสดา เพราะพระตถาคตกำหนดรู้แล้ว
๑.๘) กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง

๒.สัพพาสวสังวรสูตร ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้อยู่เห็นอยู่ โดยโยนิโสมนสิการ

๒.๑) ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการรู้การเห็น คือ การพิจารณาสิ่งที่กระทบทางอินทรีย์ ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) คือ อินทรีย์สังวร
๒.๒) ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณาเสพ คือ อยู่อย่างพอดี กินแต่พอดี อดกลั้น เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิวระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน การละเว้น คือ ศีล
๒.๓) ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการอบรม คือ การวิปัสสนาภสวนา

๓.ธรรมทายาทสูตร ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม กล่าวถึง การปฏิบัติตน ครองตนที่สมควรของภิกษุทั้งหลาย ในขณะปฏิบัติธรรม

๔.ภยเภรวสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นภัยและน่าหวาดกลัว กล่าวถึง ธรรมต่างๆ ที่เป็นภัยต่อการกำจัดกิเลส

๕.อนังคณสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส กล่างถึงแนวทาง เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบผลการปฏิบัติ

๖.อากังเขยยสูตร ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง กล่าวถึงผลของการปฏิบัติ

๗.วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า กล่าวถึงการกำจัดกิเลสโดยอุปมา

๘.สัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส กล่าวถึง อุบายการละทิฏฐิ เช่น

๘.๑) “เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้”
๘.๒) แสดงว่า สมาธิ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ ไม่ใช่ เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
๘.๓) ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา คือ ศีลธรรมทั้งปวง
๘.๔) ว่าด้วยทางหลีกเลี่ยงคนชั่ว
๘.๕) ว่าด้วยอุบายบรรลุนิพพาน

๙.สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ คือ ผลจากการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามหัวข้อที่ท่านแสดงมาขั้นต้น ด้วยคำถามเริ่มต้นที่ว่า “ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้”

๙.๑) เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล
๙.๒) เมื่อท่านละ ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
๙.๓) เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหารเหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๔) เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๕) เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๖) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๗) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๘) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน ความดับอุปทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๙) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๐) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๑) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๒) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๓) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูปและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๔) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณและทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๕) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๖) เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชาและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
๙.๑๗) สรุปท้ายว่า
เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันเทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

๑๐.สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน การปฏิบัติสำหรับผู้มีสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอนาสวะ หรือผู้ถอนราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า ที่มีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ได้แล้ว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 04 พ.ย. 2009, 14:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร