วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 18:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

การที่บุคคลทำชั่วได้ดี ทำดีได้ชั่วนั้น
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าขึ้นอยู่กับ อาสันนกรรม ซึ่งหมายถึง กรรมจวนเจียน
คือ กรรมที่ทำขณะจะสิ้นใจ และส่วนมากจะเป็นมโนกรรม
เพราะคนที่กำลังจะตายนั้นสังขารมักไม่อำนวยให้ประกอบวจีกรรมหรือกายกรรม
อาสันนกรรมจะส่งผลให้บุคคลที่กระทำก่อนกรรมอื่น ๆ
ถ้าเป็นกรรมดีจะส่งผลให้บุคคลที่ทำกรรมนั้นไปสู่สุคติในนาทีที่ดับจิตลงไป
เช่น บุคคลหนึ่งทำกรรมชั่วมามาก แต่มีกรรมดีอยู่บ้าง
ตอนจะตายจิตผ่องใส เพราะนึกถึงกรรมดีที่ตนเคยทำ
เมื่อจิตผ่องใส สุคติย่อมเป็นที่หมาย ดังพระบาลีว่า
“ จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา – เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ ”
จิตไม่เศร้าหมอง ก็คือ จิตผ่องใสนั่นเอง
กรรมที่นำเขาไปเกิดในสุคติเป็นกรรมดี มิใช่กรรมชั่ว
ในทำนองเดียวกัน บุคคลที่ทำกรรมดีไว้มาก มีกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย
แต่ตอนตายจิตเศร้าหมองเพราะไปนึกถึงกรรมชั่วที่ตนเคยทำไว้
เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติย่อมเป็นที่หมาย ดังพระบาลีว่า
“ จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา – เมื่อจิตเศร้าหมองแล้วทุคติเป็นอันต้องหวัง ”

ตัวอย่างของบุคคลที่ทำกรรมดีไว้มาก มีกรรมชั่วเพียงเล็กน้อย
เมื่อตายไปแล้ว ไปเกิดในทุคติภูมิก็คือ พระนางมัลลิกา
มเหสีของพระเจ้าปเสนทิ แห่งแคว้นโกศล
เมื่อตอนมีชีวิตอยู่ พระนางเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
และประกอบกรรมดีไว้มาก แต่มีกรรมชั่วอยู่เล็กน้อย
คือ เคยโกหกพระสวามี เมื่อพระนางจะสิ้นใจ
แทนที่จะนึกถึงกรรมดีที่ทำไว้มากนั้น
กลับไปนึกถึงกรรมชั่วคือการโกหกพระเจ้าปเสนทิ จิตจึงเศร้าหมอง
เมื่อตายขณะที่จิตเศร้าหมอง จึงไปเกิดในนรกอเวจีอยู่ ๗ วัน
ครั้งหมดอกุศลกรรมแล้ว กุศลกรรมก็มาให้ผล
พระนางได้จุติจากนรกอเวจีไปอุบัติเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
(จุติ หมายถึงตาย ส่วนมากใช้กับเทวดา คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า หมายถึงเกิด)

เมื่อพระนางมัลลิกาสิ้นชีพ พระเจ้าปเสนทิทรงโศกาดูรเป็นอันมาก
ได้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวัน เพื่อทูลถามว่าพระนางมัลลิกามเหสีของพระองค์
ไปอุบัติที่สวรรค์ชั้นไหน พระพุทธองค์ทรงชวนสนทนาเรื่องอื่นๆ
ให้ทรงเพลิดเพลินเพื่อให้ลืมเรื่องที่ตั้งพระทัยมาทูลถาม
การณ์เป็นอยู่อย่างนี้กระทั่ง ๗ วันผ่านไป
เมื่อพระนางมัลลิกาไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว
พระพุทธองค์จึงตรัสตอบพระเจ้าปเสนทิว่า พระนางมัลลิกาเป็นคนดี
บัดนี้พระนางได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
พระเจ้าปเสนทิได้สดับดังนั้นก็ทรงตบพระชานุเสียงดังฉาดรับสั่งว่า
“ นั่นยังไงล่ะ ถ้าคนดี ๆ อย่างพระนางมัลลิกาไม่ไปเกิดในสวรรค์ แล้วใครจะไปเกิด ”

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงรอให้เวลาผ่านไป ๗ วันเสียก่อน
ก็เพื่อจะให้พระเจ้าปเสนทิสบายพระทัย
เพราะพระองค์กำลังเศร้าโศกที่พระมเหสีจากไป
ถ้าทรงทราบว่าพระนางไปตกนรกอเวจีก็จะทรงโทมนัสหนักขึ้น
และจะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษอีกต่อไป
ด้วยทรงเห็นว่า คนทำความดีไยจึงตกนรก
แต่ถ้าพระพุทธองค์จะตรัสสาเหตุที่พระนางไปตกนรก
ก็จะเป็นการไม่สมควรเพราะพระเจ้าปเสนทิไม่ทรงทราบว่า
พระนางมัลลิกาโกหกพระองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องนี้ด้วยพระญาณ
อีกประการหนึ่งทรงเห็นว่า การนำเรื่องไม่ดีของผู้อื่นมากล่าวนั้น
ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงทรงรอให้เหตุการณ์วิกฤตนั้นผ่านพ้นไปก่อน

ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า การที่พระนางมัลลิกาไปตกนรกอเวจีนั้นถือเป็นการดี
เพราะพระนางจะได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับความทุกข์
และเกิดความเบื่อหน่ายในการที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
เมื่อพระนางไปอุบัติเป็นเทพบุตร จึงมิได้ประมาทมัวเมาหลงใหลเพลิดเพลิน
อยู่ในความสุขเหมือนเหล่าเทพบุตร เทพธิดาทั้งหลาย
แต่ท่านได้ปฏิบัติธรรมกระทั่งบรรลุโสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบันในที่สุด
เป็นอันว่าท่านสามารถทำ วิกฤต ให้เป็นโอกาส
จนสามารถเปลี่ยน ทุกขะ ให้เป็น ทุกขขัย ได้
เพราะพระโสดาบันนั้นจะเวียนว่ายอยู่ในสุคติภูมิอีกไม่เกิน ๗ ชาติ
ก็จะบรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ เป็นการตัดขาดจากสังสารวัฏโดยสิ้นเชิง

สรุปว่า ผู้ที่ตายขณะจิตผ่องใสจะไปเกิดในสุคติ
ผู้ที่ตายขณะจิตเศร้าหมองจะไปเกิดในทุคติ ดังเช่นพระนางมัลลิกาที่เล่ามา
ส่วนผู้ที่ตายขณะที่จิตเป็นกลาง ๆ
คือไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล จะไปเกิดเป็นพวกสัมภเวสี แปลว่า พวกแสวงหาภพ
(สัมภเวสีอีกความหมายหนึ่งหมายถึงผู้ที่ต้องเกิดอีก
จึงหมายตั้งแต่ปุถุชนไปจนถึงพระอนาคามี
ส่วนพระอรหันต์ไม่เป็นสัมภเวสี เพราะท่านเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกิดอีก)
พวกนี้ยังไม่ได้เกิดเป็นที่ตามกรรมที่ตนทำไว้
พวกสัมภเวสีก็คือพวกที่เราเรียกว่าผี นั่นเอง
เมื่อพวกผีเหล่านี้นึกถึงกรรมที่ตนทำไว้ก็จะไปเกิดตามกรรมนั้น ๆ
เช่น นึกถึงกรรมดีก็ไปเกิดในสุคติ นึกถึงกรรมชั่วก็ไปเกิดในทุคติ
จึงหยุดเร่รอนหาที่เกิดไปชั่วคราว เพราะไปเกิดเป็นที่เป็นทางแล้ว

จะเห็นได้ว่าเรื่องของกรรมนั้นเป็นเรื่องที่ตัวเองทำเอง ไม่มีใครมาทำให้แต่ประการใด
ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ชัดเจนมาก
ดังปรากฏในพระสูตรว่า “ หญิง ชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต
ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย
เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักได้รับผลของกรรมนั้น ”



จากหนังสือ รู้อย่างนี้ เป็นคนดีตั้งนานแล้ว...รศ.ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม
ผู้พิมพ์ สุวิภา กลิ่นสุวรรณ์
ที่ีมา...
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara70.htm
ภาพประกอบจาก... http://www.philebrity.com/wp-content/up ... d-face.jpg

:b48: :b8: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 02 ก.ย. 2009, 07:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ ชื่อว่าเป็น สัตว์ประเสริฐ
เป็นผู้รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามด้วยตนเอง และช่วยให้สังคมดำรงอยู่ในสันติสุขโดยสวัสดี
๑.มีกัลยาณมิตร แสวงแหล่งปํญญาและแบบอย่างที่ดี
๒.มีวินัยเป็นฐานของกการพัฒนาชีวิต
๓.มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์
๔.มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้
๕.ถือหลักเหตุปัจจัยมองอะไรตามเหตุและผล
๖.ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
๗.ทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม ฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง

มนุษย์โดยสมบูรณ์ มีคุณสมบัติ ๗ ประการ
๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ
๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล
๓.อัตตัญญุตา รู้ตน รู้ตนรู้ตามความเป็นจริงว่าตัวเรานั้นโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้
๔.มัตตัญญุตา รู้ประมาณ คือ รู้จักความพอเหมาะพอดี เช่น ในการกิน การพูด
๕.กาลัญญุตา รู้กาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม
๖.ปริสัญญุตา รู้ชุมชน คือ รู้ถิ่น รู้จักที่ชุมนุม และชุมชน
๗.ปุคคลัญญุตา รู้บุคคล คือ รู้จักและเข้าใจความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม

เมื่อเราเป็นพุทธบริษัทเราควรมีสัมมาทิฐิเป็นเบื้องต้น
เชื่อในเรื่องของบาปบุญคุณโทษ
เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว

ยัง กัมมัง กะริสสามิ กัลยาณัง วา ปาปะกังวา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสามิ
เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป
เราจะเป็นทายาท คือว่าเราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป


ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ............ tongue


แก้ไขล่าสุดโดย damjao เมื่อ 03 ก.ย. 2009, 09:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue อ่านแล้วเพิ่มให้มีภูมิปัญญามากขึ้น เช้าวันนี้ได้ใส่บาตร และมาอ่านธรรมะตรงนี้
ขอบคุณคุณลูกโป่ง และคุณ damjao มาก......ๆค่ะ
:b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร