วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


1. หากว่า
รู้จัก ศีล ดี
รู้ อะไร คุณ
อะไร โทษ แห่ง ศีล

รู้ว่าศีลมีกี่อย่าง รู้ละเอียดทะลุแจ่มแจ้ง รูปคลำศีลได้

2. มีความเคารพ รักยิ่งใน ศีล ยิ่งขึ้นไป
มีความ ประพฤติ อนู่ใน ศีล เป็นนิจ
มีอุโบสถศีล แล กุศลกรรมบท10

3. หากว่า แม้ชีวิตก็สละได้ เพื่อศีล

ถามว่า
ถ้าบุคคลทำได้ คือสมบูรณ์พร้อม ด้วยศีลแล้ว

เขาจะมีอันไปสู่ทุคติไหม..

ตอบว่า ยอมเห็นได้ว่า มีโอกาสน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย

ศีลที่สมบูรณ์พร้อม จึงเป็นเบื้องต้น ของการ ปฎิบัติ เพื่อบรรลุธรรม
แต่ต้องระวังปฎิบัติ ด้วยความเข้าใจ มีคุณแลโทษเป็นต้น
ใช่แต่ทำตาม ตำรา หรือทำตามๆกันมาโดยมิได้มีความเข้าใจ

...


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 10:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำราที่เขียนได้ดีที่สุดเกียวกับศีล คือ
..
http://www.larnbuddhism.com/visut/saraban1.html

... :b38:

และ พระอรหันต์เจ้าเป็นผู้รจนา อยู่มากกว่า พันปีแล้ว
ของดีแบบนี้ คนไทย ควรขอบคุณบรรพบุรุษทั้งหลายที่ทิ้งสมบัติธรรมไว้ให้

แนบไฟล์:
1.JPG
1.JPG [ 71.46 KiB | เปิดดู 3374 ครั้ง ]


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 30 ส.ค. 2009, 10:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


5. อนึ่ง “สคฺคาโรหณโสปฺาณํ” สิ่งอื่นจะเป็นบันไดให้สัตว์ขึ้นไปสู่สวรรค์
แลจะเป็นประตูเข้าไปสู่มหานคร คือพระอมตมหานิพพาน
เสมอด้วยศีลนั้นมิได้มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


.... :b41: ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ศีลอันใดเป็นศีลแห่งปุถุชนทั้งหลาย
มีคุณอันนักปราชญ์จะพึงนับถือ

ย่อมประกอบในกุศลธรรม แลกระทำให้บริบูรณ์ในวิปัสสนาธรรมเป็นโลกิยะ
อันเพ่งเอาซึ่งโคตรภูญาณแล้วแลตั้งอยู่ มีเสขิยธรรมคือพระโสดามรรคนั้นเป็นแดน
มิได้อาลัยในกายแลชีวิต มีจิตอันบริจาคชนม์ชีพแห่งตน ศีลนี้ชื่อว่าปริสุทธิศีลที่ ๓

:b45: :b45:


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 06:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มา
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%AD ... 09156.html

ขอให้อธิบายโคตรภูญาณ
โครภูญาณ จิตมันอยู่ระหว่าง โลกีย์ กับ โลกุตตระ คือ ความเป็นคนกับความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเปรียบเหมือนกับ ลำรางเล็ก ๆ น่ะ คือ ขาหนึ่งยืนอยู่นี่ อีกขาหนึ่งฝ่ายโลกีย์ ยังยกไม่ขึ้น
ทีนี้อารมณ์ของโคตรภู เราต้องรู้ว่า ขณะใด เราเข้าถึงโคตรภู ไอ้พูด ตามตำรานี่ มันพูดได้ ไม่ยากหรอก แต่ตัวเข้าถึงนี่ซี ถ้าเราเป็นฝ่ายวิชชาสามนะ มันเห็นชัด คือ เวลาที่เราถอดจิตขึ้นไป ตามปกติเราจะท่อง เที่ยวแต่เฉพาะในส่วนของโลกีย์ใช่ไหม จะเป็นเมืองมนุษย์ก็ดี อบายภูมิก็ดี เทวดา พรหมก็ดี แต่ส่วนโลกุตตระเราจะเข้าไม่ได้ ไม่สามารถจะเห็น แต่ถ้าอารมณ์ของจิตเข้าถึงโคตรภู เราจะเห็นพระนิพพานชัด

ถ้าพูดถึงอารมณ์ อันดับแรก อารมณ์มันจะยึดตัว "ธรรมดา" คือ

ใครด่า เขาด่าก็ว่าเป็นธรรมดา เกิดมาต้องมีคนเขาด่าว่า
อันที่จริงก็โมโหเหมือนกันนะ แต่โมโหแล้วมันปล่อยไม่เกาะอยู่ ถ้ายังไม่ได้ อนาคามี อย่านึกว่า ไม่มีโมโห โทโส มีโกรธ เหมือนกัน โกรธเดี๋ยวเดียว แต่ไม่ไปอาฆาต ไม่ไปทำร้ายเขาแล้วมัน ก็หายไป เห็นอะไรๆ มันก็ธรรมดา ถ้าไปเจอะคน ตายมันก็วาบหวิวไปนิดหนึ่ง ประเดี๋ยวตัว "ธรรมดา" มันก็ปรากฏ
ถ้าอารมณ์เข้มขึ้น มันก็ยัน "ธรรมดา" อยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสะท้านอยู่บ้าง ในขณะเดียวกัน ก็มีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นที่สุด ใครจะพูดเรื่องอะไร ก็ฟังได้ แต่ฉันไม่เอาด้วย ฉันจะไปนิพพาน นี่สำหรับพวกมี วิชชาสาม ส่วนพวกสุกขวิปัสสโก ก็ต้องสังเกตอารมณ์ เอาว่ายึด "ธรรมดา" และรักพระนิพพานเพียงใด ถ้ารักมากก็ชื่อว่าเข้าถึง โคตรภู ต้องสังเกตตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเราไปแกล้ง "ธรรมดา" นะ ต้อง "ธรรมดา" นะ ของมันเป็นปกติ จิตจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์จริง ๆ แต่ถ้าไปนิพพานไม่ได้อย่างอื่นก็ต้องการ คือ จะไปพักสวรรค์พักพรหมโลก พักเพื่อหวังนิพพาน จะทำอะไรก็ตามไม่หวังผลตอบแทนฉันหวังจะไปนิพพาน นี่คือ อารณ์โคตรภู

ถึงโคตรภูแล้วสงสัยว่าเราจะเป็น พระโสดาบัน ก็มานั่งไล่เบี้ย สังโยชน์สาม ดูว่า
1. สักกายทิฏฐิ เราเป็นอย่างไร
เรารู้หรือเปล่าว่า ร่างกายมันจะพัง ตัวของเรา ตัวของคนอื่นน่ะ รู้หรือเปล่าว่ามันจะพัง มันจะตาย รู้ว่าจะตาย ความจริงก็มีจิตห่วงนั่นห่วงนี่บ้าง พระโสดาบันนี่ยังห่วง แต่ว่าห่วงไม่มาก ถ้ามันจะตายจริงๆก็ เอวังกิ่ม ฉันจะไปนิพพานนะ

2.สังโยชน์ที่สอง วิจิกิจฉา เราไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า "ไม่สงสัย" นี่ไม่ใช่ว่านึกเอา นะต้องปฏิบัติด้วย ต้องแน่ใจว่า เกิดแก่เจ็บตายนี่เป็นของมีจริงใช่ไหม เชื่อเหลือเกินว่า เราเกิดมานี่ต้องแก่ ไอ้การป่วยไข้ไม่สบายนี่ มันต้องมีแน่ ถ้ามันมีขึ้นมา เราก็ไม่ตกใจ การรักษาพยาบาล ถือเป็นของ ธรรมดา เพราะถือเป็นการระงับเวทนา แม้พระพุทธเจ้า แม้พระอรหันต์ทุกองค์ท่านก็ต้องรักษา แต่ในระหว่างรักษาตัว ก็นึกว่า จะระงับได้หรือไม่ได้ จะทรงอยู่ได้ หรือไม่ได้ก็ตามใจมัน ถ้าเกิดทุกเวทนามาก รักษาพยาบาลแล้ว อาการมันไม่ลด ก็ตามใจมันซี ฉันจะทนให้แกทรมาน ประเดี๋ยวเดียว แล้วฉันก็จะไปนิพพาน อารมณ์มันตัดตรงนี้นะ

ทีนี้มา

3.สังโยชน์ข้อที่ 3 ศีล 5 ไม่ต้องระวังจะทรงไว้เป็นปกติ อันนี้เป็น
พระโสดาบัน กับ สกิทาคามี แต่ ว่าพระโสดาบัน ก็ยังมีลูกมีหลานได้อย่างคนทั่วไป กิเลสมันไม่ได้ตกไป กามราคะไม่ได้ตกไป ยังมีความรัก ความโลภ ความโกรธ แต่ว่า ไม่เป็นภัยแก่คนอื่น โกรธน่ะโกรธ แต่ไม่ฆ่าใครจริง ทำท่าย๊องแย๊งๆไปยังงั้น ความรักก็ยังรักอยู่ แต่ว่า เวลามันจะไปจริง ๆ ก็คลายได้ ความหลงก็ยังมีอยู่ว่า เอ๊ะ นี่กูนี่หว่า ไอ้นั่นก็ของกู ไอ้นี่ก็ของกู ยังมีอยู่ แต่ว่าหลงไม่หนัก
มาถึง สกิทาคามี ตัวนี้ซียุ่ง ถ้าคนที่เข้าถึง สกิทาคามี ไม่รู้ตัวจริงๆ ละก็นึกว่าตัวเป็น พระอนาคามี ลักษณะอาการอย่างนี้ เคยไปไล่เบี้ยคนอื่นมาแล้ว ล่อเสียทุกองค์แหละทีแรกนึก ว่า เอ๋ ข้าว่าข้าได้ อนาคามี แล้วนี่หว่า ไปๆ มาๆ ไม่ยักใช่แฮะ เพราะ ไอ้กามารมณ์นี้น่ะ ตัวอยากมันไม่มีเลย ความรักในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส หรือเรียกว่า ความต้องการในเพศตรงกันข้าม มันไม่มีอยู่เลย แต่โน่นซี อีตอนอารมณ์ ฌานสบายๆ บางทีโผล่มาแล้ว นั่นแน่! ตัว อนุสัย ตีหัวเข้าบ้านเลย คือโผล่เข้ามานิดหนึ่ง พอเขารู้ตัวเขา ขับมันมันก็วิ่งเปิดไป นี่ตัวอนุสัย นานๆ ก็ย่องมาเสียที จนบางท่านคิดว่า ตัวเป็นอนาคามีไปแล้ว ไม่ใช่บางท่านหรอก ฉันว่า ร้อยเปอร์เซ็นต์เทียวแหละ ถามใครมันก็อีแบบนี้ทุกคน ตอนต้นดีใจ นึกว่าอนาคามีแล้วนะ ที่ไหนได้ 2-3 เดือนพ่อย่องมาโผล่หน้าแผล็บ โผล่ไม่นานนะ นาทีสองนาทีเท่านั้น
เขาคอยสะกิดหลัง บอกว่า ยังไม่ถึงหรอกโว้ย คือ ชักจะปรารภ ไอ้รูปสวยสดงดงาม ไอ้เสียงเพราะ อะไรนี่ มันชักจะต้องการ มีความรูสึกขึ้นมาเอง พอรู้สึกปั๊บ กำลังเขาสูงเสียแล้ว เขาตบหัวแล้วไปเลย จิตก็ตกไป พอรู้ตัวก็ต้องเร่งรัด ต้องเร่ง สักกายทิฏฐิ หากถึง โสดาบัน ได้ มันก็ยึดหัวหน้า ได้แล้วนี่ ยกพลขึ้นบกได้แล้ว โจมตีแหลก มองดูก่อนอีจุดไหนแข็งมาก ก็ยังไม่ตี ล่อหน่วยลาดตระเวนเล็กๆ ไปก่อนจะไปตีฐานทัพใหญ่ เราเห็นจะแหลกเอง
เมื่อถึงสกิทาคามีแล้ว อนาคามีก็ไม่ยากนักหรอก ตัดกามฉันทะความรู้สึกในทางเพศหมดไปเลย หายไปเลย อันนี้ แน่นอน ไม่กำเริบ ทีนี้ไอ้ความโกรธ ความพยาบาท ความกระทบกระทั่ง มันกระทบจิต พับตกเลย คือ ไม่พอใจเหมือนกัน แต่แป๊บเดียวหายเลย ไม่ใช่ไม่รู้สึก
พอถึง อนาคามี แล้ว ไม่ยึดหรอกเรื่อง อรหันต์ ชาตินี้ไม่ได้ เราก็ไปนิพพาน เอาตอนเป็นเทวดา น่น หมดเรื่องกัน เพราะได้อนาคามีแล้ว เขาไม่ลงมาเกิดกันอีก ไม่เป็นเทวดา เป็น พรหมแล้วอยู่นั่นบำเพ็ญ บารมีเป็นอรหันต์ไปเลย สกิทาคามี ยังลงมาอีกครั้งหนึ่ง
โสดาบัน แบ่งเป็น 3 พวก สัตตขัตตุปรมะ โกลังโกละ กับ เอกพิชี ฉันขึ้น สัตตขัตตุปรมะ ก่อน เพราะว่า ถ้ามีบารมีอ่อนอยู่ ก็ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ แช่อยู่แค่มนุษย์นี่แหละ เปรต หรือ นรก ไม่ไป บาปจะมีอยู่เท่าไร ก็ช่างมัน ไอ้เจ้าหนี้ไม่มีทางจะได้หรอกเงินต้น จะได้ก็ได้ดอกของดอกเบี้ย เท่านั้น แค่ดอกเบี้ยก็ไม่เต็มนะ คือมันจะมารบกวน ในขณะที่มีขันธ์ 5 คือเกิดเป็นมนุษย์ ไอ้บาปเก่าๆ มันก็จะทำให้เจ็บป่วยบ้าง ของหายบ้าง ไฟไหม้บ้านบ้าง น้ำท่วมบ้านบ้าง ก็ตามเรื่องตามราวไป
แต่มีเกณฑ์ว่า 7 ชาติเป็นอรหันต์ ถ้าหากว่า โกลังโกละ ก็เกิดอีก 3 ชาติเป็นอรหันต์ ถ้าเอกพิชีก็ 1 ชาติ
คือ ลงมาชาตินั้น ก็เป็นอรหันต์เลย พระสกิทาคามี ก็ลงมาเหมือนกัน แต่เขาบางกว่า สะกิดปั๊บเดียว เป็นอรหันต์เลย แต่ถ้าเป็นพระอนาคามี ไม่ลงมาเกิดเป็นเทวดา หรือพรหมแล้ว บำเพ็ญบารมีไปเลย นี่ว่ากันตามแบบนะ แต่ถ้าเราจะว่ากันอีกแบบหนึ่ง ถึงความเป็นอรหันต์นี่น่ะ ถ้าเราหากินเป็น คือ ฉลาดสักนิดหนึ่ง ชาตินี้ถ้าเราตั้งใจ พอใจธรรมส่วนไหน เช่น เวลานี้เราต้องการ พุทธานุสติกรรมฐาน พุทโธ ๆ ใครไป บ้านไหนเมืองไหนก็ช่าง ใจฉัน พุทโธ พุทโธ ด้วยความเต็มใจมากบ้าง น้อยบ้าง ดีบ้าง ชั่วบ้าง ก็ตามเรื่องของมัน วันนี้ได้ 30 นาที พรุ่งนี้ได้ 5 นาที มะรืนนี้ได้ 3 นาที บางวันได้ชั่วโมงหนึ่งก็ตามเรื่องตามราวแต่ ว่าตั้งใจจริง ๆ ด้วยอำนาจของ พุทโธ หรือ จะใช้อะไรก็ช่าง ฉันไม่จำกัด "พุทโธ" นะ จะ สัมมาอรหัง นะมะพะทะ หรือ นะโมพุทธายะ อะไรก็ตามเถอะ ตั้งใจใน ธรรมะ หรือ ในทานบารมี ศีลบารมี จุดใด จุดหนึ่ง เป็นชีวิตจิตใจ เอาจริง ๆ นะ รักจริง ๆ ตายไป ก็นั่งพักอยู่แค่เทวดา หรือพรหม พอถึงเวลา หมดอายุขัย ก็ลงมาใหม่ แต่ก็ไม่แน่นะ เทวดา หรือพรหม ไม่แน่ว่าจะรอให้หมดอายุ พวกชอบโดดลงมาก่อนก็เยอะ คือ เห็นมีจังหวะจะบำเพ็ญได้ ก็โดดปุ๋ปลงมาทีเดียว ถ้าโดดลงมาพบพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ ท่านก็ย่อมรู้นิสัย คือ หมายถึงพระอรหันต์ที่มีวิชชาสามขึ้นไป หรือไม่งั้นพระพุทธเจ้า พอท่านเห็นหน้าท่าน ก็รู้ว่าอีตานี่ "พุทโธ" มาแต่ชาติก่อน ข้ารู้ยายนี่ชอบให้ทานมาตั้งแต่ชาติก่อนข้ารู้ ท่านก็ไม่เทศน์อะไรละ เทศน์ไปแกะไอ้ผลเก่านั่นแหละ อีชาตินั้นละไปเลย เป็นอรหันต์ไม่เห็นยากหากินง่าย ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=136&p=1

อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
โคตรภูญาณนิทเทส


อรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส
[๑๓๖-๑๔๐] พึงทราบวินิจฉัยในโคตรภูญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิภุยฺย - ครอบงำ คือ ย่อมครอบงำ ย่อมก้าวล่วง.
บทว่า พหิทฺธา สงฺขารนิมิตฺตํ - สังขารนิมิตภายนอก ได้แก่ สังขารนิมิตอันเป็นภายนอกจากกุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วในสันดานของตน.

จริงอยู่ สังขารอันเป็นโลกิยะ ท่านกล่าวว่าเป็นนิมิต เพราะเป็นเครื่องหมายแห่งกิเลสทั้งหลาย, หรือเพราะตั้งขึ้นด้วยอาการของนิมิต.
บทว่า อภิภุยฺยตีติ โคตฺรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ ท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะครอบงำโคตรของปุถุชน.

บทว่า ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าแล่นไป คือท่านกล่าวถึงความเป็นโคตรภู เพราะความเกิดขึ้นแห่งโคตรพระอริยะ.
บทว่า อภิภุยฺยิตฺวา ปกฺขนฺทตีติ โคตฺรภู - ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำแล้วแล่นไป คือท่านกล่าวย่อความทั้งสอง.
บทว่า วุฏฺฐาตีติ โคตฺรภูติ จ วิวฏฺฏตีติ โคตฺรภูติ จ - ชื่อว่าโคตรภู เพราะอรรถว่าออกไป และเพราะอรรถว่าหลีกไป คือ ท่านกล่าวถึงอรรถคือความครอบงำโคตรปุถุชนโดยสมควรแก่บทว่า วุฏฐานะ - การออก, วิวัฏฏนะ - การหลีกไปแห่งมาติกา.
พึงทราบอรรถว่า ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีนิวรณ์เป็นต้นแห่งโคตรภูดังกล่าวแล้วด้วยสมถะ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีความเกิดเป็นต้น.


ในสมาบัติวาร ๖ มีอาทิว่า โสตาปตฺติผลสมาปตฺตตฺถาย - เพื่อต้องการโสดาปัตติผลสมาบัติ, ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำโคตรมีโสดาบันเป็นต้น.


ในมรรควาร ๓ มีอาทิว่า สกทาคามิมคฺคปฏิลาภตฺถาย - เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค.
อนึ่ง ในบทว่า โคตฺรภู นี้ มีอรรถว่าโคตร และมีอรรถว่าพืช.
นัยว่าในอัตตนิปกรณ์ ท่านกล่าวนิพพานว่า โคตฺตํ - โคตร เพราะคุ้มครองจากอันตรายทั้งปวง, ชื่อว่าโคตรภู เพราะดำเนินไปสู่นิพพานนั้น, แม้สมาบัติ ๘ ก็ชื่อว่า โคตฺตํ - โคตร เพราะคุ้มครองจากอันตรายของโคตรภู, โคตรนั้น ท่านกล่าวว่าโคตรภู เพราะดำเนินไปสู่โคตร.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โคตรภูแห่งมรรค ๔ มีนิพพานเป็นอารมณ์, โคตรภูแห่งผลสมาบัติ ๔ มีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะน้อมไปในผลสมาบัติ.

ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า จิตของพระโยคาวจรผู้เห็นแจ้งตามลำดับอันเป็นไปแล้วนั้น ย่อมเอิบอิ่มในนิโรธด้วยสามารถแห่งผลสมาบัติในระหว่างโคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยเหตุนั้นแล

ในมรรควารนี้พึงทราบว่า

ท่านทำจิตที่ ๑๖ แล้วถือเอาจิตที่ ๖ ในสมาบัติวารแห่งบทสังขารนิมิตภายนอกที่ถือเอาแล้ว จึงไม่ถือเอา. โดยประการนอกนี้ พึงถือเอาการถือบทอันเป็นมูลเหตุ.

[๑๔๑] ก็อาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า การผูกใจครั้งแรกในนิพพาน เป็นการรวบรวมครั้งแรก นี้ท่านกล่าวว่าโคตรภู. โคตรภูหมายถึงผลนั้นไม่ถูก.



... :b41:
ในบทนี้ว่า ปณฺณรส โคตฺรภูธมฺมา กุสลา - โคตรภูธรรมเป็นกุศล ๑๕ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้

ชื่อว่าโคตรภูย่อมไม่สมควรแก่พระอรหันต์ เพราะไม่มีนิวรณ์อันควรครอบงำ เพราะวิตกวิจารเป็นต้นพึงละได้ง่าย และเพราะอรรถว่าครอบงำ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าท่านทำไว้แล้วไม่กล่าวถึง เพราะโคตรภูเป็นอัพยากฤต.
อนึ่ง พระอรหันต์ผู้เข้าผลสมาบัติ ไม่สามารถครอบงำสังขารเข้าสมาบัติได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โคตรภูธรรมเป็นอัพยากฤตมี ๓.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมาบัติ ๘ เป็นไปในส่วนแห่งการแทงตลอดด้วยสามารถอริยมรรคที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในที่นี้, เพราะฉะนั้น โคตรภูแห่งสมาบัติ ๘ จึงเป็นกุศล.
อนึ่ง พึงทราบแม้ในสังขารุเปกขาญาณอย่างนั้น.
[๑๔๒] พึงทราบอธิบายความในคาถามีอาทิว่า สามิสญฺจ ดังต่อไปนี้.
บรรดาวัฏฏามิส โลกามิส กิเลสามิสทั้งหลาย โคตรภูญาณมีอามิสด้วยโลกามิส เพราะยังมีความอยาก.


นั่นคืออะไร? คือ สมถโคตรภูญาณ ๘ อย่าง.

บทว่า วฏฺฏามิสํ ในที่นี้ ได้แก่ วัฏฏะเป็นไปในภูมิ ๓ นั่นเอง.
บทว่า โลกามิสํ ได้แก่ กามคุณ ๕.
บทว่า กิเลสามิสํ ได้แก่ กิเลสทั้งหลายนั่นเอง.
บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ วิปัสสนาโคตรภูญาณ ๑๐ อย่าง เพราะไม่มีความอยาก.

จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายไม่ทำความอยากในโคตรภู.
ในคัมภีร์อาจารย์ทั้งหลายเขียนไว้ว่า สามิสญฺเจ นั่นไม่ดีเลย.
พึงทราบ ปณิหิตะ อัปปณิหิตะ, สัญญุตตะ วิสัญญุตตะ, วุฏฐิตะ อวุฏฐิตะ ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่าปณิหิตะ คือความปรารถนา เพราะตั้งอยู่ในความใคร่. ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้ง. ชื่อว่าสัญญุตตะ เพราะประกอบด้วยความอยาก. ชื่อว่าวิสัญญุตตะ เพราะไม่ประกอบด้วยความอยาก.
บทว่า วุฏฺฐิตํ ได้แก่ โคตรภูญาณอันเป็นวิปัสสนานั่นเอง.
จริงอยู่ โคตรภูญาณนั้น ชื่อว่าวุฏฐิตะ เพราะตัดความอยาก. นอกนั้นเป็นอวุฏฐิตะ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวุฏฐิตะ เพราะออกไปภายนอก.
พึงทราบว่า แม้ผลโคตรภูอันเป็นสังขารนิมิตภายนอกก็ชื่อว่าวุฏฐิตะ เพราะมุ่งหน้าสู่นิพพานด้วยอัธยาศัยในนิพพาน.
พึงทราบว่า แม้ในวาระแห่งการครอบงำ การออก การหลีกไปในภายหลัง ก็พึงทราบว่า ผลโคตรภูชื่อว่าย่อมครอบงำ ย่อมออกไป ย่อมหลีกไป เพราะมุ่งสู่นิพพานด้วยอัธยาศัย.
บทว่า ติณฺณํ วิโมกฺขานปจฺจยา - เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓ ได้แก่ สมถโคตรภูเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่โลกุตรวิโมกข์ ๓, วิปัสสนาโคตรภูเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย.
บทว่า ปญฺญา ยสฺส ปริจฺจิตา - พระโยคาวจรอบรมแล้วด้วยปัญญา คือปัญญาอันเป็นส่วนเบื้องต้นอันพระโยคาวจรอบรมแล้วคือสะสมแล้ว.
บทว่า กุสโล วิวฏฺเฏ วุฏฺฐาเน - พระโยคาวจรเป็นผู้ฉลาดในการออกไป ในการหลีกไป คือเป็นผู้ฉลาด เป็นผู้เฉียบแหลมในโคตรภูญาณ อันได้แก่วิวัฏฏะด้วยความไม่ลุ่มหลงนั่นแล หรือเป็นผู้ฉลาดด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
บทว่า นานาทิฏฺฐีสุ น กมฺปติ - ย่อมไม่หวั่น เพราะทิฏฐิต่างๆ คือไม่หวั่นไหวในทิฏฐิมีประการต่างๆ ที่ละได้แล้วด้วยสมุจเฉท.

จบอรรถกถาโคตรภูญาณนิทเทส
-----------------------------------------------------


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล คือ เบื้องต้น แม้นพระอรหันต์

“ธนํ จเช องฺควรสฺส เหตุ” บุคคลพึงละเสียซึ่งทรัพย์ เพราะเหตุจะรักษาซึ่งอวัยวะอันประเสริฐ

“องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน” เมื่อบุคคลจะรักษาไว้ซึ่งชีวิตก็พึงสละเสียซึ่งอวัยวะ

“องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต”
เมื่อบุคคลระลึกเนือง ๆ ซึ่งพระสัทธรรม
เป็นคำแห่งองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาสั่งสอน
ก็พึงสละเสียซึ่งวัตถุสิ่งของทั้ง ๓ ประการ
คือทรัพย์
แลอวัยวะน้อยใหญ่
แลชีวิต
อย่าได้คิดอาลัยในวัตถุสิ่งของทั้ง ๓ ประการนี้


ในเมื่อความสงสัยในชีวิตบังเกิดมี เพราะเหตุกระวนกระวายในความอยาก “สกฺขปทํ อวิติกฺกม” พระผู้เป็นเจ้าก็มิได้ล่วงสิกขาบทตั้งอยู่เหนือหลังแห่งอุบาสก บรรลุถึงพระอรหันต์ เพราะเหตุอาศัยซึ่งอปริยันตปาริสุทธิศีล

เหตุใดเหตุดังนั้น พระคันถรจนาจารย์จึงนิพนธ์พระคาถาไว้ว่า

“น ปิตา น ปิ เต มาตา ฯ ญาติ น ปิ พนฺธวา” เป็นอาทิ

แปลเนื้อความว่าพระอัมพขาทกมหาดิสสเถรเจ้านั้น ตั้งอยู่เหนือหลังอุบาสกยังสังเวชให้บังเกิดขึ้นด้วยความปริวิตกว่า อุบาสกนี้มิได้เป็นมารดาบิดาของท่าน แลจะเป็นญาติของท่านก็หามิได้ ใช่แต่เท่านั้น อุบาสกนี้จะเป็นเผ่าพันธุ์แห่งท่านก็หามิได้ อุบาสกนี้กระทำซึ่งกิจคือยังท่านให้นั่งอยู่เหนือบ่าแล้วแลพาไป ก็เพราะเหตุอาศัยแก่ท่านเป็นบรรพชิตอันมีศีล

“สมฺมสิตฺวาน โยนิโส” พระมหาเถรเจ้าบังเกิดธรรมสังเวชดังนี้ แล้วพิจารณาพระกรรมฐานด้วยวิปัสสนาปัญญา ตั้งอยู่เหนือหลังแห่งอุบาสกนั้น บรรลุถึงพระอรหันต์

“ปุถุชฺชนกลฺยาณกานํ สีลํ” ศีลแห่งพระภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชน มีคุณอันบัณฑิตพึงนับปราศจากมลทินแล้ว ก็เป็นปทัฏฐานที่ตั้งแห่งพระอรหัตต์ ด้วยประมาณแห่งจิตตุบาทคือดำริจิตคิดว่าอาตมาจะยกตนออกจากวัฏฏทุกข์ จะประพฤติเป็นไปดังนี้ ก็เพราะว่าภิกษุนั้นมีศีลอันบริสุทธิ์ยิ่งนัก ดุจดังว่าแก้วมณีอันนายช่างชำระแล้วเป็นอันดี มิฉะนั้นดุจดังว่าทองอันช่างทองกระทำบริกรรมแล้วเป็นอันดี จำเดิมแต่อุปสมบทแล้วมา เพราะเหตุการณ์นั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคจึงตรัสเรียกศีลแห่งพระภิกษุอันเป็นกัลยาณปุถุชนชื่อว่าปริปุณณปาริสุทธิศีล ดุจดังว่าศีลแห่งพระมหาสังฆรักขิตเถรเจ้าแลพระภาคิเนยยสังฆรักขิตเถรเจ้า

ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/visut/1.13.html


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 06:17, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร