วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 18:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


น้ำจริงๆ หรือของเหลวทุกอย่าง ถ้าต้องการให้ไหลลงสู่ที่ต่ำ
ไม่ต้องไปทำอะไรเพียงเจาะช่องให้ น้ำก็ไหลไปสู่ที่ต่ำเองโดยไม่หยุด
แต่ถ้าต้องการให้น้ำไหลขึ้นไปสู่ที่สูงจะต้องใช้เครื่องอัด
ปั๊มหรือชักดึงขึ้นไปด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะสำเร็จ


ใจของคนก็มีสภาพเหมือนน้ำ คือ ถ้าต้องการให้ตกลงไปที่ต่ำก็ไม่ต้องทำอะไร
เพียงปล่อยใจไปตามยถากรรม คือ ไม่ฝึกฝน ไม่อบรม ไม่เหนี่ยวรั้ง
ใจจะไหลลงสู่ที่ต่ำไปเรื่อยๆ
แต่ถ้าจะยกระดับใจให้สูง ก็ต้องใช้พลังพยายามฉุดดึงจึงจะสำเร็จ
พลังสำหรับฉุดดึงใจให้ขึ้นสู่ระดับสูงนั้น พระพุทธเจ้าสอนไว้ 4 ขั้นตอน


:b48: 1. พยายามป้องกันอย่าให้บาปเกิดขึ้นในใจได้
ด้วยวิธีการหักห้ามใจอย่ายินดีในสิ่งเป็นบาป
เหมือนคนป้องกันเสื้อผ้ามิให้แปดเปื้อนสกปรก



:b48: 2. อันใดที่เป็นบาปเกิดขึ้นในใจแล้ว
ต้องสละละทิ้งให้หมดไปจากใจมิให้เหลือ
เหมือนคอยซักผ้าให้สะอาด ในเมื่อมีสิ่งสกปรกมาแปดเปื้อน



:b48: 3. สร้างสมความดีทีละน้อยโดยไม่หยุด
เหมือนเอาผ้าซักแล้วมาอบกลิ่นให้หอมหวนตลอดไป



:b48: 4. ความดีใดที่สะสมไว้แล้ว ก็ควรรักษาความดีนั้นให้คงอยู่อย่าให้เสื่อม
เหมือนเก็บผ้าไว้ในตู้เก็บที่ปลอดภัย



ถ้าทำได้สมบูรณ์โดยใช้ความพยายาม 4 ขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอ
ก็จะเป็นคนมีใจสูงแล้วท่านล่ะ!
ได้ทำถึงขั้นตอนใด ตามหลัก 4 ประการนี้แล้วหรือไม่?


ที่มา...หนึ่งในคอลัมน์ของธรรมจักษุ
เรื่อง...น้ำจริง น้ำใจ
โดย...นาวาเอก(พิเศษ) วุฒิ อ่อนสมกิจ
พิมพ์ลงในนิตยสาร “ธรรมจักษุ”
ฉบับเดือน สิงหาคม 2546


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

ลูกโป่ง เขียน:
1. พยายามป้องกันอย่าให้บาปเกิดขึ้นในใจได้
ด้วยวิธีการหักห้ามใจอย่ายินดีในสิ่งเป็นบาป
เหมือนคนป้องกันเสื้อผ้ามิให้แปดเปื้อนสกปรก


2. อันใดที่เป็นบาปเกิดขึ้นในใจแล้ว
ต้องสละละทิ้งให้หมดไปจากใจมิให้เหลือ
เหมือนคอยซักผ้าให้สะอาด ในเมื่อมีสิ่งสกปรกมาแปดเปื้อน


3. สร้างสมความดีทีละน้อยโดยไม่หยุด
เหมือนเอาผ้าซักแล้วมาอบกลิ่นให้หอมหวนตลอดไป


4. ความดีใดที่สะสมไว้แล้ว ก็ควรรักษาความดีนั้นให้คงอยู่อย่าให้เสื่อม
เหมือนเก็บผ้าไว้ในตู้เก็บที่ปลอดภัย


ดีทั้งสี่ข้อเลยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร