วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 22:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาที่สอนเรื่อง "ความจริง"

เพราะความจริง ก็คือ ความจริง

ไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่...ความจริงก็ต้องเป็นความจริง ตลอดกาล.!


พระพุทธเจ้า

ไม่ได้ทรงสอนให้ใครเชื่อตามโดยไม่เข้าใจ "เหตุ และ ผล"

ไม่ได้สอนให้เชื่อตาม...โดยไม่พิจารณาตามอย่างละเอียดรอบคอบ

จนเป็นปัญญา (ความเข้าใจ)ของตนเอง..ที่สามารถรู้ตามได้ด้วยปัญญาของตนเอง.

พระองค์ ไม่ได้บังคับใคร ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่ เข้าใจ "เหตุ และ ผล"

เพราะเป็นไปไม่ได้.!


แม้พระองค์เอง ก็ทรง "เคารพธรรม" ที่พระองค์ตรัสรู้

เพราะ"ธรรม" คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง

และต้องเป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย.

ไม่มีใคร อยู่เหนือ "กฏแห่งธรรม"


และถ้าหาก พระพุทธเจ้า สามารถบันดาลให้ทุกคนเป็นคนดี มีคุณธรรม

สูงสุด คือ พ้นทุกข์.......บรรลุเป็นพระอรหันต์กันได้ทุกคน

ทุกคนที่ได้ฟังพระธรรม...ก็คงเป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้ว

ซึ่งเป็นไปไม่ได้.!


พระธรรม...ยาก

ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าคงไม่ต้องสั่งสมบารมี ถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์

แต่ถึงจะยาก...

เพราะหลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ไม่ทรงน้อมใจที่จะแสดงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้


แต่ทรงทราบ ว่า มีผู้ที่สามารถเข้าใจได้

พระองค์ จึงทรงเทศนาสั่งสอนสาวกถึง ๔๕ พรรษา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ

ตลอดพระชนม์ชีพ...หลังจากทีทรงตรัสรู้.


แม้ในครั้งพุทธกาล (กาลสมบัติ) เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่

และ ทรงเทศนาสั่งสอนสาวก โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ

ผู้ที่บรรลุธรรม แม้มากกว่าสมัยนี้ (กาลวิบัติ)


แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน ที่ได้ยินได้ฟังพระธรรม จะบรรลุธรรม ได้ทั้งหมด

ที่บรรลุก็มี ที่ไม่บรรลุก็มี ที่ไม่เห็นด้วยก็มี ที่ริษยาก็มี ฯลฯ

ผู้บรรลุธรรมในสมัยนั้น แม้มากกว่าสมัยนี้

แต่ถ้าเทียบทั้งชมพูทวีป

ก็ไม่มากเลย.!


พระพุทธเจ้า

ทรงสอนให้เข้าใจ สภาพธรรมตามความเป็นจริง

ทรงสอนให้เข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง ว่า ธรรมนี้เป็นคุณ...ธรรมนี้เป็นโทษ

โดยความเป็นเหตุ เป็นปัจจัย.

โดยทรงแสดง เหตุ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดผล

และทรงแสดงผล ว่า มาจากเหตุปัจจัยใด.

(ซึ่งความจริงบางอย่างก็เกินวิสัยที่บุคคลอื่นจะรู้ได้เช่นพระองค์)


ส่วนสาวกไม่ว่าจะสมัยไหน จะประพฤติปฏิบัติตามหรือไม่...นั้น

ขึ้นอยู่กับ "ความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง"

เช่น เรื่องของ "ศีล"

ทรงแสดงให้เข้าใจ "ธรรมที่เป็นคุณ" และ "ธรรมที่เป็นโทษ"

ตามความเป็นจริง

เพื่อให้สาวก พิจารณาตาม

เท่าที่กำลังปัญญาของแต่ละคนจะเข้าใจได้

และ ประพฤติปฏิบัติตาม...ตามกำลัง ตามการสะสม ของแต่ละบุคคล.


สิ่งที่ยาก......ก็ต้องยาก

จะทำให้ง่ายได้อย่างไร.?


แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเข้าใจไม่ได้

ถ้าเพียงแต่จะฟัง พิจารณา...อย่างละเอียดรอบคอบ

และ ไม่ดูหมิ่นปัญญาของตนเอง และ บุคคลอื่น

เพราะไม่มีทาง ที่ใครจะรู้ ว่า ใครสะสมอะไรมาบ้างในสังสารวัฏฏ์

แม้แต่ตัวท่านเอง....?

ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินอะไร ด้วยความคิดของตัวเอง

ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถูกต้องเสมอไป.


ถ้าฟังแล้ว ไม่เชื่อ ไม่เห็นด้วย

ก็ไม่มีใครไปห้าม หรือ ไปบังคับท่านได้.!

เพราะเป็นไปไม่ได้...?


สิ่งที่ป็นความจริง ทนต่อการพิสูจน์เสมอ.


ถ้าพิสูจน์ยังไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่จริง.?


พระพุทธศาสนา

เป็น "ศาสนาแห่งความรู้"

"ความรู้" บนพื้นฐานของความเป็น เหตุ -ผล ตามความเป็นจริง

ไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้เชื่อตาม ๆ กันไป โดย "ความไม่รู้"



สิ่งที่ยาก ลึกซึ้ง แต่เป็นความจริง

ผู้ที่เห็นประโยชน์ ย่อม "เพียร" ที่จะ "เข้าใจ"

ไม่ใช่พยายามไปเปลี่ยน....ให้ง่ายที่จะเข้าใจ

เพราะนั่น ไม่ใช่ "หนทาง"

ข้อความจากพุทธรักษา

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2009, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร