วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 19:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนทางพุทธศาสนามีทุกระดับชนชั้น จากข้อธรรมพื้นๆ

ชาวบ้านๆ ครองเรือน เช่น ธรรมสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก ฯลฯ

จนถึงระดับสูงสุด คือ แนวการสอนให้มีจิตใจพ้นจากทุกข์โทมนัส

แม้พ้นทุกข์แล้ว ก็มิใช่ว่า จะไปอยู่ที่ไหน ก็ดำรงชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ตราบชั่วอายุเอง



บางที...เน้นสอนกันแต่เรื่องนิพพาน แต่ก็เป็นนิพพานแบบเลอะๆเลือนๆ

ตายแล้วไปไหน ชีวิตนี้เป็นทุกข์เหลือเกิน ไม่อยากเกิดอีกแล้วจะทำยังไงเป็นต้น

กันมากเกินไป จนมองข้ามธรรมระดับดับพื้นฐาน ข้ามข้อธรรมสำหรับใช้ปฏิบัติในการดำรงชีวิตปัจจุบัน

ที่เรียกว่าโลกียธรรม


กระทู้นี้จะผ่อนลงมา โดยนำธรรมะพื้นๆมาลงบ้าง

จะกล่าวเกริ่นหัวข้อใหญ่ก่อน ก็เช่น

-การแสวงหาทรัพย์ และ การรักษาทรัพย์

-ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี

-การใช่จ่ายทรัพย์

-อุปกรณ์สำคัญสำหรับประกอบสัมมาชีพ คือ ศิลปวิทยา


ฯลฯ.

เมื่อรู้ธรรมระดับต้นๆแนวนี้นี่แหละ อาจเข้าใจพุทธศาสนาระดับสูงง่ายขึ้นก็เป็นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มด้วยหลักธรรมนี้ก่อน


พระพุทธเจ้าตรัสจำแนกกามโภคี คือ ชาวบ้าน ออกเป็น ๑๐ ประเภท พร้อมทั้งส่วนดีส่วนเสีย

ของแต่ละประเภท มีใจความ ดังนี้


กลุ่มที่ ๑ แสวงหาไม่ชอบธรรม

๑. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน

และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิทั้ง ๓ สถาน


๒.พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์แล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน

และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิ ๒ สถาน ควรชม ๑ สถาน


๓. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน

และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิ ๑ สถาน ควรชม ๒ สถาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะ
อย่างที่อาจารย์บอก เรียนกันมาก...รู้..กันมาก
จนกระทั่งหายใจเข้า หายใจออก แบบธรรมดาก็ไม่เป็นกันเสียแล้ว
:b17: :b17: :b17:

ชีวิตนี้ขอถือแค่ศีล ๕ ให้ครบทุกข้อก่อนเจ้าค่ะ
บวชชี ถือศีล ๘ ข้อยังไกลตัว อีกอย่างกลัวผี ไม่กล้านอนวัด :b5: :b14: :b9:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กลุ่มที่ ๒ แสวงหาชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง



๔. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข

ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิ ๓ สถาน ควรชม ๑ สถาน


๕. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข

แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิ ๒ สถาน ควรชม ๒ สถาน


๖. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข

ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิ ๑ สถาน ควรชม ๓ สถาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กลุ่มที่ ๓ แสวงหาชอบธรรม



๗. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์แล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน

และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิ ๒ สถาน ควรชม ๑ สถาน


๘. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน

และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี

ควรตำหนิ ๑ สถาน ควรชม ๒ สถาน


๙. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน

และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี แต่ยังติดยังมัวเมาหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ

ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์

ควรชม ๓ สถาน ควรตำหนิ ๑ สถาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกพิเศษ แสวงหาทรัพย์และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มีจิตใจเป็นอิสระ


๑๐. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปัน

และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษ

ทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ

ประเสริฐ สูงสุด

ควรชมทั้ง ๔ สถาน


สํ.สฬ. 18/631-643/408-415 อง.ทสก.24/91/188

....

(ชุดนี้มี ๑๐ ข้อด้วยกัน สังเกตข้อ ๑๐ ไว้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณกรัชกาย
อนุโมทนาบุญกับทุกสิ่งดีดีที่คุณหมั่นทำแล้วด้วยดี

ขอบคุณนะคะสำหรับธรรมะระดับต้นๆ
และทุกระดับที่คุณหมั่นเมตตานำมาแบ่งปันกัน
ติดตามอ่านนะคะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ณ แห่งนี้ มีธรรมะและกัลยาณมิตร


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางธรรม ไม่สู้สนใจในแง่ที่ว่า ใครจะมีทรัพย์มากน้อยเท่าใด คือ ไม่เอาการมีทรัพย์มากหรือน้อยเป็นเกณฑ์

วัดความชั่วหรือดี และถือการมีทรัพย์เป็นเพียงวิถีไปสู่จุดหมายอื่น มิใช่เป็นจุดหมายในตัว

การที่จะสนับสนุนความมีทรัพย์หรือไม่ จึงอยู่ที่การปฏิบัติเพื่อจุดหมาย


ดังนั้น จุดที่ธรรมสนใจต่อทรัพย์จึงมีสองตอน คือ วิธีการที่จะได้มาซึ่งทรัพย์ ว่าได้มาอย่างไร

และ การปฏิบัติต่อทรัพย์ที่มี หรือ ได้มาแล้ว ว่าจะใช้มันอย่างไร


อย่างไรก็ดี แม้จะแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม และใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แล้ว ก็ยังหาชื่อว่า

เป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ที่ถูกต้องทางธรรมโดยสมบูรณ์ไม่

ทั้งนี้ เพราะทางธรรมเน้นคุณค่าทางจิตใจและทางปัญญาด้วย คือ การวางใจวางท่าทีต่อทรัพย์นั้น

ว่าจะต้องเป็นไปด้วยนิสสรณปัญญา มีความรู้เท่าทันเข้าใจคุณค่า หรือ ประโยชน์ที่แท้จริงของทรัพย์

และขอบเขตแห่งคุณค่า หรือ ประโยชน์นั้น มีจิตใจเป็นอิสระ ไม่เป็นทาส แต่เป็นนายของทรัพย์

ให้ทรัพย์มีเพื่อรับใช้มนุษย์ เป็นอุปกรณ์สำหรับทำประโยชน์และสิ่งดีงาม ช่วยผ่อนเบาทุกข์

ทำให้มีความสุข มิใช่เพิ่มทุกข์ทำให้เสียคุณภาพจิต ทำลายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ หรือ ทำให้

มนุษย์ต่อมนุษย์แปลกหน้ากัน

ด้วยเหตุนี้ ในการจำแนกผู้ครองเรือน หรือ ชาวบ้าน ๑๐ ประเภท

พระพุทธเจ้าทรงแสดงผู้ครองเรือนประเภทที่ ๑๐ ว่าเป็นผู้ครองเรือนที่ประเสริฐเลิศสูงสุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากคุณสมบัติของผู้ครองเรือนอย่างเลิศนั้น จะเห็นหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ที่ถูกต้องตามหลักธรรม -
(องฺ.ทสก.24/91/194)

สรุป ได้ ดังนี้


๑) การหา- แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ข่มเหง

๒) การใช้-

ก.เลี้ยงตน (และคนที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ) ให้เป็นสุข

ข. เผื่อแผ่แบ่งปัน

ค. ใช้ทรัพย์ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ เป็นบุญ (รวมทั้งใช้เผยแผ่ส่งเสริมธรรม)

๓) คุณค่าทางจิตและปัญญา - ไม่ลุ่มหลงหมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติอย่างรู้เท่าทัน

เห็นคุณโทษ มิจิตใจเป็นอิสระด้วยนิสสรณปัญญา และอาศัยทรัพย์ได้โอกาสที่จะพัฒนาจิตปัญญายิ่งๆ ขึ้นไป


ขอยกพุทธพจน์ที่ตรัสสอนในเรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์ มาดูเป็นตัวอย่าง



“ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก สามจำพวกไหน ?

คือ คนตาบอด คนตาเดียว คนสองตา


“บุคคลตาบอด เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้ได้โภคทรัพย์

ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน กับทั้งไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรมที่เป็นกุศล

เป็นอกุศล...ธรรมที่มีโทษไม่มีโทษ...ธรรมทรามธรรมประณีต ...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำหรือ

ของขาว นี้เรียกว่าคนตาบอด


“บุคคลตาเดียว เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้ได้โภคทรัพย์

ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน แต่ไม่มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรมที่เป็นกุศล

เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษไม่มีโทษ...ธรรมทรามธรรมประณีต ...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำหรือ

ของขาว นี้เรียกว่า บุคคลตาเดียว



“บุคคลสองตา เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ มีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้ได้โภคทรัพย์

ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้เพิ่มพูน อีกทั้งมีดวงตาชนิดที่จะช่วยให้รู้จักธรรมที่เป็นกุศล

เป็นอกุศล...ธรรมมีโทษไม่มีโทษ...ธรรมทรามธรรมประณีต ...ธรรมที่เปรียบได้กับของดำหรือ

ของขาว นี้เรียกว่า บุคคลสองตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“คนตาบอด ตาเสีย มีแต่กาลีเคราะห์ร้ายทั้งสองทาง คือ โภคทรัพย์อย่างที่ว่าก็ไม่มี คุณความดี

ก็ไม่กระทำ

อีกคนหนึ่ง ที่เรียกว่า ตาเดียว เที่ยวแสวงหาแต่ทรัพย์ ถูกธรรมก็เอา ผิดธรรมก็เอา ไม่ว่าจะเป็นการ

ลักขโมย คดโกง หรือโกหกหลอกลวงก็ได้ เขาเป็นคนเสวยกามที่ฉลาดสะสมทรัพย์ แต่จากนี้

ไปนรก คนตาเดียว ย่อมเดือดร้อน

ส่วนคนที่เรียกว่า สองตา เป็นคนประเสริฐ ย่อมปันทรัพย์ ซึ่งได้มาด้วยความขยัน จากกองโภคะที่ได้มา

โดยชอบธรรม ออกเผื่อแผ่ มีความคิดสูงประเสริฐ มีจิตใจแน่วแน่ ย่อมเข้าถึงสถานดีงาม ที่ไปแล้ว

ไม่เศร้าโศก

พึงหลีกเว้นคนตาบอด และ คนตาเดียวเสียให้ไกล ควรคบหาแต่คนสองตาผู้ประเสริฐ”


(องฺ.ติก.20/468/162)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



อ่านข้อธรรมต่อไปนี้ คงพอมองเห็นวัฒนธรรมประเพณีไทย (ชาวพุทธ) แต่โบราณกาลว่าชาวบ้านกับวัด
ผูกพันกันอย่างไร
เช่น เวลาชาวบ้านจะย้ายไปทำมาหากินที่อื่น เป็นต้น มักไปปรึกษาสมภารเจ้าวัด หรือ พระที่ตนศรัทธาเลื่อมใส เพื่อขอข้อคิดคำแนะนำ เป็นแนวคิดสำหรับการนั้นๆของตน ขอพรเพื่อเป็นกำลังใจ

เช่น เรื่องต่อไปนี้ คือ อุชชัยพราหมณ์ จะไปอยู่ถิ่นอื่น ก็เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอหลักธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตน ... เป็นข้อคิดสำหรับชนรุ่นหลัง

อีกด้านหนึ่งก็คือว่า การศึกษาหลักธรรมจากตำรา ที่เรียกว่าพระไตรปิฎก หรือ แหล่งอื่น พึงพิจารณาว่า
พระพุทธเจ้าใช้สอนใครไว้ ในสถานการณ์แวดล้อม ของผู้คนในยุคสมัยนั้นอย่างไร แล้วนำมาประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้พอเหมาะพอดี
ไม่พึงยึดติดตำราแน่น หรือ บางทีแน่นจนหลุดพ้นจากโลกมนุษย์




พระสูตรต่อไปนี้ แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับอาชีวะของคฤหัสถ์ ในด้านการแสวงหาทรัพย์บ้าง
การใช้จ่ายทรัพย์บ้าง ความสุขที่พึงได้รับจากอาชีวะอันชอบธรรมบ้าง
นำมาลงไว้พอประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาอาชีวะ


การแสวงหาและการรักษาทรัพย์


ครั้งหนึ่ง อุชชัยพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่าตนจะไปอยู่ต่างถิ่น จึงขอให้พระพุทธเจ้า

ทรงแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขปัจจุบัน และธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขภายหน้า

พระพุทธเจ้า ได้ตรัสว่า

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน กล่าวคือ

อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา


๑. อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน ? คือ

กุลบุตรหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรมก็ดี พาณิชยกรรมก็ดี

โครักขกรรมก็ดี ราชการทหารก็ดี ราชการพลเรือนก็ดี ศิลปะอย่างใดอย่างก็ดี

เธอเป็นผู้ขยันชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานนั้น ประกอบด้วยปัญญา เครื่องสอบสวนตรวจตรา

รู้จักวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ

นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒.อารักขสัมปทา เป็นไฉน ? คือ

กุลบุตรมีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมไว้ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ

เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอจัดการรักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้น

โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบโภคะเหล่านี้ของเราเสีย พวกโจรไม่พึงลัก

ไปเสีย ไฟไม่พึงไหม้เสีย น้ำไม่พึงพัดพาไปเสีย ทายาทร้ายจะไม่พึงเอาไปเสีย

นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ? คือ

กุลบุตรเข้าอยู่ในคามหรือนิคมไดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนมสนทนาปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็น

คหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติเป็นใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความประพฤติเป็น

ผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา

เธอศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศรัทธา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา

ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยศีล ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล

ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยจาคะ ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ

ศึกษาเยี่ยงอย่างความเพียบพร้อมด้วยปัญญา ของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา

นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔.สมชีวิตา เป็นไฉน ? คือ

กุลบุตรเลี้ยงชีวิตพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูนและ

ทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้ รายได้ของเราจึงจะเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจึงไม่เหนือ

รายได้

เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่า รายจ่ายของเราจึงจักไม่เหนือรายได้

เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่า หย่อนไปเท่านั้น หรือเกินไป

เท่านี้...

ถ้าหากกุลบุตรนี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตฟุ้งเฟ้อ ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้กินใช้ทรัพย์สมบัติ

เหมือนคนกินมะเดื่อ

ถ้ากุลบุตรนี้ มีรายได้มากแต่เลี้ยงชีวิตอย่างงฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้คงจะตาย

อย่างอนาถา

แต่เพราะกุลบุตรนี้ เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ...

นี้เรียกว่า สมชีวิตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรพราหมณ์ โภคะที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรมอย่างนี้แล้ว ย่อมมีอบายมุข (ช่องทางเสื่อม)

๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีมิตรชั่ว สหายชั่ว

ฝักใฝ่ในคนชั่ว

เปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำแหล่งใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง หากคนปิดทางน้ำ

เข้าเสีย เปิดแต่ทางน้ำออก อีกทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้อ่างเก็บน้ำใหญ่นั้น ก็เป็นอัน

หวังได้แต่ความลดน้อยลงอย่างเดียว ไม่มีความเพิ่มขึ้นได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร