วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 16:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม?
“โก จาทิ กุสลานํ ธมฺมานํ”
ธรรมดังฤๅ เป็นเบื้องต้นแห่งธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล

ตอบ
แลทรงวิสัชนาว่า “สีลญฺจ วิสุทธํ” ดูกรภิกษุทั้งหลาย .. :b42:

ศีลที่บุคคลรักษาไว้ให้บริสุทธิ์นั้นนั่นแล
เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรมคำสั่งสอนแห่งเรา


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 25 ก.ค. 2009, 10:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
ศีล แปลว่าอะไร

ตอบ
แท้จริงศีลนั้นชื่อว่ากัลยาณะ แปลว่ามีคุณอันปราชญ์พึงนับเพราะเหตุว่า
ศีลนั้นจะนำมาซึ่งคุณ มีคุณคือมิได้เดือดร้อนกินแหนงเป็นอาทิ

ตอบ2
http://www.larnbuddhism.com/visut/1.5.html
บรรทัดที่ 15 ขึ้นไป

“สีรตฺโถ สีตตฺโถ สีตลตฺโถ สีววตฺโถ”
ศีลนั้นมีอรรถคือแปลว่าอุดม
ศีลนั้นมีอรรถคือแปลว่าเป็นที่ตั้ง แปลว่าระงับเสียซึ่งกระวนกระวาย
แลมีอรรถคือแปลว่า อันปราชญ์พึงเสพ


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 25 ก.ค. 2009, 10:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
การที่จะละเสียเว้นเสียซึ่งธรรมอันลามก
กล่าวคือประกอบเนือง ๆ ด้วยสามารถยินดีในกามสุข ...

ทำได้อย่างไร... :b37:

ตอบ

อนึ่ง “สีเล กามสุขลฺลิกานุโยคสงฺขาตสฺส” การที่จะละเสียเว้นเสียซึ่งธรรมอันลามก กล่าวคือประกอบเนือง ๆ ด้วยสามารถยินดีในกามสุข
องค์พระบรมศาสดาตรัสเทศนาด้วยศีล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
จะละกิเลส
คือการที่จะละเสียซึ่งองค์แห่งอกุศล

ได้เบื้องต้น ด้วยอะไรหนอ

ตอบ
อนึ่งกิริยาที่จะละกิเลสด้วยสามารถตทังคปหาน
คือการที่จะละเสียซึ่งองค์แห่งอกุศลนัน ๆ ด้วยองค์แห่งกุศลนั้น ๆ
คือบุญกิริยาวัตถุเหมือนหนึ่งกำจัดซึ่งมืด ด้วยแสงแห่งประทีป

องค์สมเด็จพระบมศาสดาตรัสเทศนาด้วยศีล


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 27 ก.ค. 2009, 04:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
เหตุที่จะให้ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล และเป็นพระสกิทาคามิบุคคล

ได้ด้วยอะไร

ตอบ
“สีเลน โสตาปนฺนสกิทาคามิภาวสฺส” อนึ่งเหตุที่จะให้ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล และเป็นพระสกิทาคามิบุคคลนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสเทศนาแสดงด้วยศีล


http://www.larnbuddhism.com/visut/1.4.html
ประมาณ บรรทัดที่ 21ขึ้นไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
วัตถุสิ่งดังฤาชื่อว่าศีล
“กึ สีลนฺติ”

ตอบ
1.เจตนาชื่อว่าศีล
2.เจตสิกชื่อว่าศีล
3.สังขาร??ชื่อว่าศีล บางที่ ว่า สังวรชื่อว่าศีล
4. มิได้กระทำให้ล่วงสิกขาบท ชื่อว่าศีล (อวีติกกมศีล)

อธิบาย
1. เจตนา
อรรถาธิบายว่า เจตนาของบุคคลที่เว้นจากบาปธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้น และปฏิบัติยังอุปัชฌายวัตรเป็นประธานให้บริบูรณ์ดังนี้ ชื่อว่าเจตนาศีล
นัยหนึ่งกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ของบุคคลที่จะละเสียซึ่งบาปธรรมมีปาณาติบาตเป็นอาทิ ชื่อว่าเจตนาศีล

2. เจตสิก
วิรัติแห่งบุคคลอันเว้นจากบาปธรรม มีปาณาติบาตเป็นอาทิ ชื่อว่าเจตสิกศีล
ธรรม ๓ ประการ
คืออนภิชฌาไม่โลภ
คืออพยาบาทไม่พยาบาท
คือสัมมาทิฏฐิ
ที่องค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้โดยนับเป็ฯอาทิว่า “อภิชฺฌํ ปหาย”
พระภิกษุในพระพุทธศาสนาละอภิชฌาเสียแล้ว
มีจิตปราศจากอภิชฌา อยู่เป็นสุขในอิริยาบถทั้ง ๔ ธรรม ๓ ประการนี้ชื่อว่า เจตสิกศีล

3. สังขาร??
(ในwikisource ตรงนี้ เป็น สังวรศีล ไม่ตรงกัน
“ อะไรชื่อว่าศีล เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล สังวรชื่อว่าศีล การไม่ล่วงละเมิดชื่อว่าศีล”
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%91_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91_%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%99_-_%E0%B9%91%E0%B9%95
สังวร ในคำว่าสังวรชื่อว่าศีลนี้ นักศึกษาพึงทราบโดยประการ ๕ อย่าง คือปาติโมกขสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วีริยสังวร ๑

4.มิได้กระทำให้ล่วงสิกขาบท ชื่อว่าศีล
ในบทคือ “อวิติกฺกโม สีลํ” นั้นมีอรรถสังวรรณนาว่า การที่มิได้ล่วงซึ่งศีลที่ตนสมาทาน อันยุติในกายแลยุติในวาจา ชื่อว่าอวิตกกมศีล
คำว่า การไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ได้แก่การไม่ล่วงละเมิดที่เป็นไปทางกายและเป็นไปทางวาจา ของบุคคลผู้สมาทานศีลแล้ว

[บาลี]
http://www.palidict.com/content/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 27 ก.ค. 2009, 04:49, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
วัตถุที่เรียกว่าศีลนั้น ด้วยอรรถดังฤๅ
“เกนตฺเถน สีลํ”

ตอบ
อาจารย์วิสัชนาว่า อรรถที่เรียกว่าศีลนั้นด้วยอรรถว่า สีลนะ
สิ่งที่ตั้งไว้เป็นอันดี มีตั้งไว้ซึ่งกายสุจริตเป็นอาทิ
เรียกว่า สัจนะ เป็นอรรถแห่งศีล


มีอรรถาธิบายว่า
บุคคลที่ยังกุศลธรรมีกายกรรมเป็นต้น
มิให้เรี่ยรายด้วยสามารถประมวลไว้เป็นอันดีนั้น
ชื่อว่าสีลนะ

“อุธาณํ วา” อนึ่งการที่บุคคลทรงไว้ ชื่อว่าสีลนะ มีอรรถาธิบายว่า
สภาวะที่บุคคลทรงไว้สามารถอาจยัง
กุศลธรรมทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในตนชื่อว่าสีลนะ เป็นอรรถแห่งศีล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
สิ่งดังฤๅ เป็นลักษณะ เป็นกิจ เป็นผล เป็นอาสันนเหตุแห่งศีล

ตอบ
วิสัชนา “สีลนํ ลกฺขณนฺตสมฺภินฺนสฺสาปิ อเนกธา” กิริยาที่่ตั้งไว้ แลสภาวะที่ทรงไว้ ชื่อว่าเป็นลักษณะแห่งศีล อันมีประเภทต่าง ๆ โดยประการเป็นอันมาก เหมือนด้วยจักษุวิญญาณจะพึงเห็นเป็นลักษณะที่กำหนดของรูปายตนะ อันมีประเภทต่าง ๆ โดยประการเป็นอันมาก

มีคำอุปมาว่า กิริยาที่จะเป็นไปกับด้วยจักษุวิญญาณ จะพึงเห็นก็เป็นลักษณะที่กำหนดของรูปายตนะ อันมีประเภทต่าง ๆ โดยประการเป็นอันมาก คือรูปมีวรรณอันเขียวบ้าง คือรูปมีวรรณอันเหลืองบ้าง เป็นอาทิดังนี้ เพราะเหตุว่าไม่ล่วงเสียซึ่งสภาวะ ที่จะเป็นไปกับด้วยการที่จักษุวิญญาณ จะพึงเห็น เป็นลักษณะที่กำหนดของรูปายตนะมีสีเขียวเป็นอาิทิ “ยถา” อันนี้แลมีอุปมาฉันใด ก็มีอุปไมยเหมือนด้วยกิริยาที่แสดงสภาวะแห่งศีลมีประเภทต่าง ๆ มีเจตนาศีลเป็นประธาน

อรรถคือสีลนะอันใด ที่เราจะกล่าวว่าเป็นที่ทรงไว้ซึ่งกุศลธรรมทั้ง ๓ คือกายกรรม แลวจีกรรม แลมโนกรรม แลกล่าวไว้ว่าเป็นที่ตั้งไว้ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย อรรถคือศีลนั้น ชื่อว่าเป็นลักษณะที่กำหนดแห่งศีล เพราะเหตุว่าไม่ล่วงเสียได้ซึ่งสภาวะแห่งศีลอันมีประเภทต่าง ๆ มีเจตนาศีลเป็นต้น เป็นที่ทรงไว้ซึ่งกุศลธรรมทั้ง ๓ มีกายกรรมเป็นประธาน แลเป็นที่ตั้งไว้ซึ่งธรรมอันเป็นกุศล

อนึ่ง ศีลมีลักษณะที่จะทรงไว้ ตั้งไว้ซึ่งกรรมอันเป็นกุศล แลธรรมอันเป็นกุศลดังนี้แล้ว ศีลนั้นก็กำจัดเสียซึ่งสภาวะไม่มีศีล ศีลนั้นก็ปราศจากโทษ จะประกอบด้วยคุณ อาจารย์จึงกล่าวว่าชื่อว่ารสด้วยอรรถว่าเป็นกิจแลถึงพร้อม เพราะเหตุการณ์ดังนัั้น นักปราชญ์พึงรู้ว่าศีลนั้นมีการที่จะกำจัดเสียซึ่งภาวะทุศีลเป็นกิจ แลโทษหามิได้เป็นกิจ


ศีลนั้นมีสภาวะสะอาดด้วยกายแลวาจาแลจิตเป็นผล การที่กลัวแต่บาป ละอายแต่บาป นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวคำเรียกชื่อว่าอาสันนเหตุแห่งศีล

แท้จริง ในเมื่อหิริโอตตัปปะ ละอายแต่บาปกลัวแต่บาปมีอยู่แล้ว ศีลก็บังเกิดมี ศีลก็ตั้งอยู่้

เมื่อหิริโอตตัปปะ ละอายแต่บาปกลัวแต่บาป ไม่มีแล้ว ศีลก็มิได้บังเกิด ศีลก็มิได้่ตั้งอยู่

เพราะเหตุการณ์ดังนั้น ศีลจึงมีหิริโอตัปปะ เป็นอาสันนเ่หตุ


------
บันทึกช่วยจำ
1. กำจัดภาวะทุศีล เป็น กิจ
2. สภาวะสะอาดด้วยกายแลวาจาแลจิต เป็น ผล
3.หิริ โอตัปปะ เป็น อาสันนเหตุ แห่งศีล
(อาสันน ...อันใกล้ ปัจจุบัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 04:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
ศีลนั้นมีสิ่งดังฤๅเป็นอานิสงส์
ในบทปุจฉาถามว่า “กึ อานิสํสํ”

ตอบ
อาจารย์วิสัชนาว่า
ศีลนั้นมีกิริยาที่จะได้ซึ่งคุณเป็นอันมาก
มีมิได้เดือดร้อนกินแหนงเป็นอาิทิ เป็นอานิสงส์

สมด้วยพระบาลีที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนา แก่พระอานนท์เถรเจ้าว่า “อวิปฺปฏิสารตฺถานิ โข ปนานนฺท” ดูกรภิกษุชื่อว่าอานนท์ ศีลทั้งหลายนี้เป็นธรรมอันมิได้มีโทษ มีความระลึกถึงกรรมแห่งตนที่รักษาศีล เป็นธรรมอันนักปราชญ์ ไม่พึงติเตียนได้เป็นประโยชน์และมิได้เดือดร้อนกินแหนง เป็นอานิสงส์

ใช่แต่เท่านั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสพระสัทธรรมเทศนาอันอื่นอีกเล่าว่า
“ปญฺจิเม คหปตโย อานิสํสํ”
ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย
อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีแก่บุคคลอันมีศีล
ยังศีลที่ตนรักษาให้บริบูรณ์ อานิสงส์ ๕ ประการนั้นเป็นดังฤๅ

.... :b38:

1.ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ มีศีล รักษาศีลบริบูรณ์บุคคลนั้น
ย่อมจะได้กองสมบัติเป็นอันมาก บังเกิดขึ้้นแ่ก่ตน เพราะตนมิได้ประมาท
อานิสงส์นี้ เป็นอานิสงส์ปฐมที่ ๑

2. ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ รักษาศีล ยัึงศีลให้บริบูรณ์
กิตติศัพท์กิตติคุณอันสุนทรภาพไพบูลย์ของกุลบุตรนั้นย่อมจะฟุ้งเฟื่องไปในทิศานุทิศทั้งปวง
อานิสงส์นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๒

3. ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ มีศีล แลยังมีศีลให้บริบูรณ์นั้น
จะไปสู่ท่ามกลางบริษัท คือขัตติยบริษัท คือพราหมณ์บริษัท คือคฤหบดีบริษัท แลสมณบริษัท กุลบุตรผู้นั้นก็ย่อมองอาจแกล้วกล้า
เหตุว่ากุลบุตรนั้นปราศจากโทษ มิได้ประกอบด้วยโทษมิควรที่บุคคลจะพึงติเตียนตน จะได้เป็นชนนั่งก้มหน้า เก้อเขินหามิได้
อานิสงส์นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๓

4. ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ มีศีล แลบริสูทธิ์ด้วยศีลนั้น
ย่อมประกอบด้วยควา่มเลื่อมใน มิได้หลงลืมสติ
อานิสงส์นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๔

5. ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ มีศีล แลบริบูรณ์ด้วยศีล
ครั้นทำลายกาย กล่าวคืออุปาทินนกรูปเบื้องหน้าแต่มรณะ
จะได้ไปบังเกิดในมนุษย์สุคติ แลสวรรค์สังคเทวโลก
อานิสงส์นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๕ ของบุคคลที่มีศีลบริบูรณ์ด้วยศีล


...
... :b41:
ใช่แต่เท่านั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาอีกอย่างหนึ่งเล่าว่า “อากงฺเขยฺย เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ” ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าแลว่าภิกษุในพระศาสนานั้น ปรารภว่าในตนเป็นผู้ที่รักแก่สมณพรหมจรรย์ทั้งปวง และจะยังตนให้เป็นที่เลื่อมใส เป็นที่เคารพ เป็นที่สรรเสริญแห่งพระสหพรหมจรรย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพยายามกระทำตนให้ตั้งอยู่ในศีล รักษาศีลให้บริบูรณ์

อานิสงส์ศีลนั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาไว้ในเบื้องต้นนั้น คือจะให้เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ เป็นที่เคารพ เป็นที่สรรเสริญแห่งสหพรหมจรรย์ โดยนัยเป็นอาทิดังนี้

ไปในอปรภาค อานิสงส์ศีลนี้จะให้กุลบุตรในพระศาสนา ได้สำเร็จแก่พระอริยมรรคและพระอริยผล จะยังตนให้สำเร็จแก่อาสวักขยะญาณเป็นที่สุด

ศีลนี้มีอานิสงส์คุณเป็นอันมากมี มิได้เดือดร้อนกินแหนงเป็นอาทิ ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์ศีล (ต่อ)

นัยหนึ่งที่ตั้งแห่งตน กุลบุตรทั้งหลายในพระศาสนานี้ ถ้าเว้นจากศีลแล้วก็มิได้มี เมื่ีอกุลบุตรมีศีลบริสุทธิ์ในพระศาสนา บุคคลดังฤๅจะสามารถอาจเพื่อจะแสดงอานิสงส์ศีลแห่งกุลบุตรนั้นได้

1. มหานที น้ำในแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิมหาสรภู ก็มิอาจสามารถจะชำระราคามลทินแห่งสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ให้บริสุทธิ์ได้ “ยํ เว สีลชํ มลํ” อุทกธารามหานที กล่าวคือบริสุทธิ์ ศีลสังวรนี้แล สามารถอาจชำระราคามลทินโทษ อันหม่นหมองดองอยู่ในจิตสันดานแห่งสัตว์ทั้งหลายในโลกให้บริสุทธิ์ได้

2. "น ตํ สชลชา วาตา” อนึ่งลมแลฝนระคนกัน บันดาลตกลงมายังแผ่นพสุธาให้ชุ่มไปด้วยธาราวารี ยังคณานิกรสรรพสัตว์โลกทั้งปวงนี้ให้เย็นทรวงดวงหฤทัย ระงับเสียได้ซึ่งกระวนกระวายในภายนอกก็ไม่อาจระงับดับกระวนกระวาย กล่าวคือราคาทิกิเลสในกายในได้ดุจดังว่าสังวรศีลแห่งกุลบุตรในพระพุทธศาสนา

3. “นจาปิ หริจนฺทนํ” อนึ่งแก่นจันทน์มีพรรณอันแดงแลสัตตรตนะ มีแก้วมุกดาหารเป็นอาทิ แลรัศมีจันทรพิมานอันอ่อน อันอุทัยขึ้นมาในปาจีนโลกธาตุ สรรพสิ่งทั้งปวงมีสัมผัสอันเย็นนี้ก็อาจระงับกระวนกระวาย กล่าวคือ ทุจริตได้ “ยํ สเมติทํ อริยํ” ศีลอันใดที่พระโยคาวจรเจ้ารักษาดี เป็นศีลอันบริสุทธิ์ ศีลนั้นแลเย็นโดยแท้สามารถอาจระงับกระวนกระวาย กล่าวคือทุจริตได้

4. “สีลคนฺธสโม คนฺโธ กุโต ภวิสฺสติ” อนึ่งกลิ่นอันใดอาจฟุ้งซ่านไปตามลม และจะฟุ้งไปในที่ทวนลม กลิ่นอันนั้นจะเสมอด้วยกลิ่นศีล จักมีแต่ที่ดังฤๅ

5. อนึ่ง “สคฺคาโรหณโสปฺาณํ” สิ่งอื่นจะเป็นบันไดให้สัตว์ขึ้นไปสู่สวรรค์ แลจะเป็นประตูเข้าไปสู่มหานคร คือพระอมตมหานิพพานเสมอด้วยศีลนั้นมิได้มี

6. “โสภนฺเตว น ราชาโน” อนึ่งบรมขัตติยเจ้าทั้งหลาย มีพระวรกายประดับด้วยอลังการวิภูษิต อันแล้วด้วยแก้วมุกดาหารรสสรรพรตนาภรณ์ทั้งปวง ก็ไม่งามเหมือนพระยัติโยคาวจรภิกษุ อันทรงศีลวิภูษิตอาภรณ์ กล่าวคือศีลอันบริสุทธิ์

7. “อตฺตานุวาทาทิ ภยํ” อนึ่งพระภิกษุในพระพุทธศาสนาทีึ่ทรงศีลบริสุทธิ์นั้นจะกำจัดเสียซึ่งภัย คือตนก็จมิได้ติเตียนซึ่งตน บุคคลผู้อื่นก็จะมิได้ติเตียนพระภิกษุนั้น พระภิกษุนั้นก็ย่อมยังความสรรเสริญปิติโสมนัสให้บังเกิดมีแก่ตน

บัณฑิตพึงรู้เถิดว่า อานิสงส์แห่งศีลนี้ มีคุณสามารถจะฆ่าเสียซึ่งหมู่แห่งอกุศลกรรม อันประกอบไปด้วยโทษมีทุจริตเป็นมูลโดยนัยวิสัชนามา ดังนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[ตรงนี้ ไม่ใช่จาก วิสุทธิมรรค....
แต่เป็นการอธิบาย ศีลที่ควรรักษาเป็น ประจำ หรือ เป็นนิจ นิจศีล?

นิจศีล

คำแปล2

น. ศีลที่รักษาเป็นนิจ หมายถึง ศีล ๕, การสมาทานศีลมี ๒ วิธี คือ สมาทานเพื่อรักษาชั่วระยะหนึ่งๆ ก็ได้ เรียกว่า ศีล, ถ้าสมาทาน ว่าจะรักษาตลอดไป ไม่มีกำหนดเวลา เรียกว่า นิจศีล.
http://guru.sanook.com/dictionary/dict_tt/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5/
]

viewtopic.php?f=16&t=23733&p=123370&sid=4a3d4f52fbed3e2e74ac8f1b98360919#p123370


บัดนี้ เพื่อจะแสดงนิจศีลนั้น

อุตตราเทพธิดาจึงกล่าวว่า

1.เว้นขาดจากปาณาติบาตเป็นต้น.
ในคำนั้น ปาณะโดยโวหารสมมติ ได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์. การทำสัตว์ให้ตกล่วงไป การฆ่าสัตว์ การทำลายสัตว์ ชื่อว่าปาณาติบาต.
โดยอรรถได้แก่เจตนาฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตว่ามีชีวิต ซึ่งเป็นสมุฏฐานของความพยายามเด็ดชีวิตินทรีย์ เป็นไปทางกายทวารวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง.
เว้น อธิบายว่า งดหันกลับจากปาณาติบาตนั้น.

2.ในบทว่า มุสาวาทา วจีประโยคหรือกายประโยคที่หักรานประโยชน์ของผู้มุ่งจะให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่ามุสา. เจตนาที่เป็นสมุฏฐานของกายประโยคและวจีประโยคที่ทำให้คลาดเคลื่อนต่อผู้อื่น ด้วยประสงค์จะให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่ามุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้.
บทว่า วาโท ได้แก่ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้เขารู้เรื่องที่ไม่จริงไม่แท้นั้น เป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ เป็นสมุฏฐานของวิญญัติอย่างนั้น
สำรวม อธิบายว่า งดเว้นจากมุสาวาทนั้น.
จ ศัพท์ เป็นสัมปิณฑนัตถะรวมไว้.

3.ในบทว่า เถยฺยา ความเป็นขโมย เรียกเถยยะ. อธิบายว่า ขโมยของเขาด้วยเจตนาเป็นขโมย. โดยความเถยยเจตนาของผู้ที่สำคัญในของที่เจ้าของหวงแหนว่าเจ้าของหวงแหน เป็นสมุฏฐานของความพยายามที่จะขโมยของเขาชื่อว่าเถยยะ. หรือสัมพันธ์ความว่า เจตนาที่สำรวมห่างไกลจากเถยยะ เจตนาเป็นขโมยนั้น.

4.ในบทว่า อติจารา ความประพฤติล่วงชื่อว่าอติจารา. อธิบายว่า ความประพฤติล่วงขอบเขตของโลก ด้วยอำนาจความในฐานะที่ไม่ควรละเมิด ชื่อว่ามิจฉาจาร.

หญิง ๒๐ จำพวก คือ
๑๐ จำพวกได้แก่หญิงที่มารดารักษา หญิงที่บิดารักษา หญิงที่บิดามารดารักษา หญิงที่พี่ชายรักษา หญิงที่พี่สาวรักษา หญิงที่ญาติรักษา หญิงที่โคตรสกุลรักษา หญิงที่ธรรมเนียมรักษา หญิงที่มีอารักขา

หญิงที่มีสินไหมแก่ผู้ละเมิด ๑๐ จำพวก ได้แก่ หญิงที่เขาซื้อมาเป็นภริยา หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยสมัครใจ หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยโภคสมบัติ หญิงที่หอบผ้าหนีตามผู้ชาย หญิงที่แต่งงาน หญิงที่ชายสวมเทริด หญิงที่เป็นทาสีและภริยา หญิงที่เป็นคนงานและภริยา หญิงเชลย หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วขณะ ชื่อว่าอคมนียฐานๆ ที่ไม่ควรละเมิด สำหรับชายทั้งหลาย.


ส่วนชายอื่นๆ ก็ชื่อว่าอคมนียฐานในหญิงทั้งหลาย เฉพาะสำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือหญิงมีอารักขาและหญิงมีสินไหมรวม ๒ และหญิง ๑๐ จำพวกมีหญิงที่ชายซื้อมาเป็นต้น อคมนียฐานนี้เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในบทว่า มิจฉาจาร นี่.
โดยลักษณะ เจตนาก้าวล่วงอคมนียฐานที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่าอติจาร. เจตนางดเว้นจากอติจารนั้น.

5.ในบทว่า มชฺชปานา สุราและเมรัยเรียกว่ามัชชะ เพราะอรรถว่าทำให้มึนเมา.
คนทั้งหลายย่อมดื่มด้วยมัชชะนั้น เหตุนั้น มัชชะนั้นจึงชื่อว่าปานะ การดื่มมัชชะ ของมึนเมา ชื่อว่ามัชชปานะ.
สุรา ๕ ประเภท คือสุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยข้าว สุราใส่เชื้อ สุราประกอบด้วยเครื่องปรุง หรือเมรัย ๕ ประเภท คือน้ำดอกไม้ดอง น้ำ ผลไม้ดอง น้ำผึ้งหมัก น้ำอ้อยงบหมัก เมรัยที่ประกอบด้วยเครื่องปรุง. คนเอาใบพืชห่อสุราเมรัยดื่มแม้ด้วยปลายหญ้าคาด้วยเจตนาทุศีลใด เจตนานั้นชื่อว่ามัชชปานะ. เจตนาเว้นไกลจากมัชชปานะนั้น.

อุตตราเทพธิดา แสดงนิจศีลที่แยกแสดงโดยเป็นธรรมที่ควรละ ด้วยบทว่า ปาณาติปาตา วิรตา เป็นต้นอย่างนี้แล้ว

รวมกันแสดงโดยเป็นธรรมที่ควรสมาทานอีกจึงกล่าวว่า ปญฺจสิกฺขาปเท รตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขาปทํ แปลว่า บทที่ควรศึกษา. อธิบายว่า ส่วนแห่งสิกขา.
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรมแม้ทั้งหมดมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าสิกขา เพราะเป็นธรรมที่ควรศึกษา.

ก็บรรดาองค์ศีลทั้ง ๕ องค์ใดองค์หนึ่ง ชื่อว่าบท เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งศีลเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสิกขาบท เพราะเป็นบทที่ตั้งแห่งสิกขาทั้งหลาย ได้แก่องค์ศีลทั้ง ๕

ดีฉันอภิรมย์ยินดีในสิกขาบท ๕ อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่ายินดีแล้วในสิกขาบททั้ง ๕.
บทว่า อริยสจฺจาน โกวิทา

ได้แก่ กุศลละเอียดในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยอำนาจตรัสรู้ ด้วยปริญญากำหนดรู้ ปหานละ สัจฉิกิริยาทำให้แจ้ง ภาวนาทำให้มี. อธิบายว่า มีสัจจะอันแทงทะลุปรุโปร่งแล้ว.
อุตตราเทพธิดาระบุถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยมหาโคตรด้วยบทว่า โคตมสฺส. ระบุโดยพระเกียรติยศหรือปริวารยศ ด้วยบทว่า ยสสฺสิโน.
บทว่า สาหํ ได้แก่ ดีฉันผู้มีคุณตามที่กล่าวแล้วนั้น.
บทว่า สเกน สีเลน ได้แก่ ด้วยศีลตามสภาพของตนมีความเป็นผู้ไม่ริษยาเป็นต้น และด้วยศีลสมาทานมีอุโบสถศีลเป็นต้น เป็นตัวเหตุ.

จริงอยู่ ศีลนั้นเรียกว่า สกํ ของตนโดยเฉพาะ เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง และเพราะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้.


ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ตํ หิ ตสฺส สกํ โหติ ตญฺจ อาทาย คจฺฉติ
ตญฺจสฺส อนุคฺคํ โหติ ฉายาว อนุปายินี
บุญนั้นแล ย่อมเป็นของเขา เขาพาบุญนั้นไป
และบุญนั้นย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาตาม
ไปฉะนั้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2009, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี่
แสดงเรื่องของศีล ไว้ อย่างน่า สนใจ

http://www.buddhism-online.org/Section07A_03.htm
...
.. :b6:

๒. ศีล (การงดเว้นทำบาป)
ศีล คือ ธรรมชาติที่ทำให้กายกรรม วจีกรรม ตั้งไว้ด้วยดี ก็คือศีลนั้นมีหน้าที่ รักษากาย วาจา ไม่ให้เป็นไปในทางทุจริตนั่นเอง หรือ ศีล คือ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งกุศลธรรม ได้แก่ สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ เรื่องของศีลเน้นอยู่ที่ กาย วาจา มิให้กาย วาจา ไปกระทำบาปทุจริตกรรม คือ การงดเว้นจากการทำบาปทั้งปวง

ประเภทของศีล
ศีล มี ๔ ประเภท คือ
๑. ภิกขุศีล คือ ศีลของพระภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ ที่ได้แสดงไว้ในปาติโมกข์
๒. ภิกขุณีศีล คือ ศีลของภิกษุณี มี ๓๑๑ ข้อ ที่ได้แสดงไว้ในปาติโมกข์ เช่นเดียวกัน
๓. สามเณรศีล คือ ศีลของสามเณร มี ๑๐ ข้อ
๔. คฤหัสถศีล คือ ศีลของผู้ครองเรือน มี ๕ ข้อ ได้แก่ ศีล ๕
ภิกขุศีล ภิกขุณีศีล และ สามเณรศีล ไม่ต้องมีการสมาทาน ส่วนคฤหัสถศีล ต้องมีการสมาทาน



นิจศีล และ อนิจศีล


นิจศีล หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วาริตตศีล คือ ศีลที่สมาทานครั้งเดียวแล้ว รักษาตลอดไปเป็นนิตย์
ไม่ต้องสมาทานอีก เมื่อสมาทานแล้วไม่รักษาย่อมจะมีโทษ (มีบทลงโทษ) ได้แก่ ศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ศีลของภิกษุณี ๓๑๑ ศีลของสามเณร ๑๐ ศีลของอุบาสก อุบาสิกา ผู้นุ่งขาวห่มขาว (แม่ชี) อุโบสถศีล หรือ ศีล ๘
สำหรับศีล ๕ ถือว่าเป็นศีลของคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วย
อนิจศีล หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จาริตตศีล คือ ศีลที่ต้องสมาทาน ถ้าไม่รักษาก็ไม่มีโทษ เช่น การประพฤติธุดงค์ ๑๓ ข้อ ของพระภิกษุ สามเณร
สำหรับ อุโบสถศีล หรือ ศีล ๑๐ ที่สามเณรรักษาอยู่ ถือว่าเป็น อนิจศีล ด้วย


อนึ่ง ศีลอีกประเภทหนึ่ง ที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคยกัน คือ อาชีวัฏฐมกศีล เป็นศีล ๘ อีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ต้องอดอาหารมื้อเย็น เหมาะสำหรับผู้ที่ยังห่วงใย เกี่ยวกับสุขภาพของตน ซึ่งมีความแตกต่างกับศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล เล็กน้อย คือ
ความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีล และ อาชีวัฏฐมกศีล
อุโบสถศีล อาชีวัฏฐมกศีล
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการก้าวล่วงในพรหมจรรย์
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
๖. เว้นจากการรับประทานอาหาร ในยามวิกาล
๗. เว้นจากการตบแต่งเครื่องหอม เครื่องย้อม เครื่องทา
๘. เว้นจากการนอนเหนือที่นอนอันสูงใหญ่
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เว้นจากการประกอบอาชีพ ที่พระพุทธองค์ ทรงห้าม
คือ ค้าสัตว์เพื่อเอาไปฆ่า ค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ค้ายาพิษ ค้าสุราและเมรัย





การงดเว้นจากการทำบาป ๓ (วิรัติ ๓)

การงดเว้นทำบาป (วิรัติ) ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ มี ๓ ประการ คือ

๑. งดเว้นด้วยการสมาทาน หรือ สัมปัตตวิรัติ
เป็นการงดเว้นเฉพาะหน้าเมื่อมีอารมณ์สิ่งยั่วยุให้ กระทำบาป
วิธีทำใจ ให้นึกถึงชาติกำเนิดของเรา ไม่เคยมีประวัติ ในการทำความชั่ว ความเสียหายมาก่อน อายุก็ปานนี้แล้ว ใกล้ตายเข้าไปทุกวัน ๆ ถ้าไปทำชั่ว ก็ไม่มีเวลาที่จะแก้ตัวทำความดีอีกแล้ว ทั้งก็เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษามามาก น่าละอายแก่ใจที่จะทำความชั่วลงไป การงดเว้นไม่ทำชั่ว โดยคิดได้อย่างนี้ชื่อว่า สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ วิรตีเจตสิกที่ประกอบในมหากุศลจิต ๘


๒. งดเว้นด้วยการสมาทาน หรือ สมาทานวิรัติ
ได้แก่ การกล่าวงดเว้นในขณะที่สมาทานศีลของ อุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ เจตนาเจตสิกในมหากุศลจิต ๘ เช่นเดียวกัน


๓. การงดเว้นจากการทำบาปโดยเด็ดขาด หรือ สมุจเฉทวิรัติ
คือ การงดเว้นของพระอริยบุคคล มี พระโสดาบัน เป็นต้น อันได้แก่ เจตนาเจตสิกในมรรคจิต ๔


คุณลักษณะและประโยชน์ ของศีล


๑. เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง
อุปมาเสมือนแผ่นดิน ย่อมเป็นที่ตั้ง ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

๒. มีการไม่กระทำในสิ่งที่ผิดศีล
เหมือนกับคนไข้ ย่อมไม่รับประทานของ ที่แสลงกับโรค

๓. มีกาย วาจา ที่บริสุทธิ์
คือ ไม่ทำบาป (สิ่งไม่บริสุทธิ์) ด้วยกาย วาจา

๔. มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป (หิริโอตตัปปะ)
เป็นต้นเหตุทำให้เกิดศีล

๕. ความไม่โกรธ (อโทสะ)
ความไม่ประทุษร้าย จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการรักษาศีล

๖. ย่อมเป็นอุปนิสัยให้ได้มรรคเบื้องต่ำ ๓
คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค เมื่อเป็นมหากุศลที่มีทาน ศีล รองรับแล้ว จะเป็นอุปนิสัยต่ออรหัตตมรรค อรหัตตผล เมื่อมีมหากุศลภาวนา รองรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร